#อ่านออก_กับ_อ่านเอาเรื่อง
.
อ่านออก VS อ่านเอาเรื่อง
ขออนุญาต ใช้คำพูดของอ.ประเสริฐ เพราะชอบมาก
ฟังแล้วเห็นภาพมากจริงๆ
.
หมอเข้าไปอ่านผลวิจัย และผลสอบ PISA ปีล่าสุด
(*ทวนให้คนที่อาจเพิ่งเคยได้ยิน คำว่า PISA
เป็นการทดสอบของเด็กอายุ 15 ปี
ระดับนานาชาติ ที่จัดสอบทุกๆ 3 ปี ปีล่าสุด 2018
การสอบนี้ represent เด็กอายุ 15 ปี 10 ล้านคนจาก 79 ประเทศ)
PISA สอบวัดกัน 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
ประเทศไทย ยังคงมีผลสอบตก mean ทั้ง 3 วิชา
แต่คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ คะแนนเฉลี่ยๆ น้อยเท่าๆเดิม
มีเพียง การอ่าน เท่านั้น #ที่คะแนนมีแนวโน้มน้อยลงทุกปี
.
🤔เกิดอะไรขึ้นกับเด็กไทย?
.
🤔เด็กไทย อ่านออกได้น้อยลง..เช่นนั้นหรือ?
.
หมอจึงไปค้นข้อมูลการรู้หนังสือ (เข้าใจว่า วัดกันที่ อ่านออกเขียนได้)
ตั้งแต่ปี 1980-2020 พบว่า
อัตราการอ่านออกเขียนได้ของคนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป
เพิ่มขึ้น จาก 85% ในปี 1980 เป็น 94% ในปี 2018 ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าพอใจ
.
🤔ถ้าเช่นนั้น...ทำไมเด็กไทย
ถึงได้คะแนนการอ่านน้อยมากในการสอบ PISA?
.
หมอจึงหาข้อมูลต่อ...ด้วยการเข้าไปทำข้อสอบ PISA ด้านการอ่าน
แล้วหมอจึงเข้าใจว่า
เหตุใด การอ่านออกของเด็กไทย จึงไม่สามารถ
อ่านเอาเรื่องได้ในข้อสอบสากล
.
ข้อสอบการอ่านของ PISA ไม่ได้วัดการอ่านได้
แต่วัดว่า เราได้ข้อมูลอะไร และเอาข้อมูลมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
.
👉เด็กของเรา ไม่มีปัญหาเรื่องสติปัญญา
แต่ถูกฝึกให้ตั้งคำถามจากข้อมูลที่ได้รับ...ไม่มากพอ🙄
.
การศึกษาของเรา เน้นให้เด็กๆหาคำตอบ
..แบบจำคำตอบกึ่งสำเร็จรูป
แต่ฝึกให้เด็ก ตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ #น้อยมากกก
ในชั้นเรียน เด็กที่ตอบคำถามครูได้มาก
จะได้รับการชื่นชม
แต่เด็กที่ตั้งคำถาม มักถูกมองว่า
ไม่ฟังเหรอ? ไม่ตั้งใจเรียนเลย? กวน ฯลฯ
เป็นการส่งสัญญาณให้เด็กๆรู้ว่า
●สงสัยก็เงียบๆไว้ ถ้าไม่อยากเป็นแกะดำ●
ทั้งที่ในความเป็นจริง
ทั้งถามเป็น และตอบได้ ก็สำคัญไม่แพ้กัน
(ในยุคนี้ การตั้งคำถาม สำคัญกว่าจำคำตอบด้วยซ้ำไป เพราะคำตอบใครๆก็หาได้จาก internet..แต่จะไปหาได้ถูกต้องมั้ย ขึ้นกับ ถามได้ตรงประเด็นมั้ย)
.
เราทำอะไรได้บ้าง กับปัญหานี้?
.
ในฐานะกุมารแพทย์คนหนึ่ง
และมีพื้นที่เล็กๆ ในการสื่อสารกับ พ่อแม่ หรือคุณครู
หมออยากให้เราทบทวนกันอีกครั้ง
ว่า #หัวใจของการอ่าน มิใช่เพียงให้เด็กอ่านออก
แต่ การอ่าน เป็นทักษะสำคัญของชีวิต ที่ใช้เป็นสื่อ ในการ #อ่านโลก
และส่งต่อ #ความรู้ ของมนุษย์ สู่ มนุษย์
.
ดังนั้น การฝึกให้สะกดคำได้
แต่ไม่ใส่หัวใจของการอ่านลงไป
เราจะสร้างเด็กที่สะกดเป็น แต่อ่านเอาเรื่องไม่เป็น
.
#การอ่านเพื่ออ่านเอาเรื่อง เริ่มต้นที่บ้าน
และต้องสานต่อที่โรงเรียน
.
ปัญหาของประเทศเรา ในเรื่องอะไรก็ตาม
ไม่ใช่เราไม่มี แต่เรามี น้อยเกินไป
คนที่จะส่งเสริมเรื่องการอ่าน ถามว่า มีมั้ย...ตอบว่ามี
หมอได้เข้าไปสัมผัส มีคนกลุ่มหนึ่งที่อุทิศตน ทั้งผลัก ทั้งดัน เรื่องการอ่านของเด็กๆ
แต่มีแรง...ไม่มากพอ
.
เราก็ต้องหวังในระดับครอบครัวนี่แหละ!💪💪
ในฐานะพ่อแม่ สิ่งที่ทำได้ และเราทำได้ดีแน่นอน
คือการอ่านหนังสือกับลูกทุกวัน
อ่านไปเรื่อยๆ ไม่ต้องตั้งคำถามให้มากมาย
หมออ่านมาแล้วมากกว่า 2,500 วัน
แต่หมอก็จะอ่านไปเรื่อยๆ จนกว่า ผู้ฟังจะบอกว่าพอแล้ว
.
หมออ่านมากขนาดนี้
ทุกคนคงคิดถึง story
“อ๋อ ลูกของหมออ่านเองได้เลยค่ะ
ไม่ต้องสอนสะกด เหมือนเค้าเจอตัวอักษรมากพอแล้ว
ทำได้เองโดยอัตโนมัติ”😁😁
อาจจะมีเด็กที่มี story แบบนี้ในบ้านที่อ่านหนังสือกับลูกมากๆ
.
แต่เปล่าเลยค่ะ😁 ทุกวันนี้ หมอก็เป็นแม่ของเด็กป.1
ทั่วๆไปที่ต้องนั่งข้างๆลูกตอนทำการบ้าน
ช่วยเค้าอ่านโจทย์ และฝึกสะกดคำ
.
อย่างที่บอก เราเพียงแค่อ่าน ให้เค้ารู้ว่าการอ่าน
มันดีต่อชีวิตเค้า มันเป็นเรื่องสนุก
มันทำให้เค้าได้พบกับสิ่งที่ไม่ได้พบในชีวิตจริง
แต่พบได้ในจินตนาการของตัวเอง
.
ส่วนเรื่อง สะกดคล่องนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
แต่หมอมั่นใจมากว่า ลูกสาวหมอ
จะเป็นหนึ่งใน 94% ที่อ่านได้ก่อนอายุ 15 ปี
และเค้าจะเป็น จำนวนหนึ่งของเด็กไทย
#ที่อ่านเอาเรื่องได้อย่างดี
เราให้ชิ้น jigsaw แก่ลูก
ส่วนจะต่อเป็นภาพเองเมื่อไหร่ ขึ้นอยู่กับเค้า
.
สรุป อยากช่วยให้เด็กไทย อ่านเอาเรื่องได้มากขึ้น
เริ่มจาก อ่านหนังสือให้ลูกฟังที่บ้าน
แค่นี้เอง ง่ายๆ
.
หมอแพม
Search