ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 1 /โดย ลงทุนแมน
เราก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เปลี่ยนโลกของการสื่อสารไปตลอดกาล
การเกิดขึ้นของคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงโซเชียลมีเดีย
ล้วนค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเราไปทีละน้อย
ท้ายที่สุด แทบทุกแง่มุมในชีวิตของเรากับโลกไอที ก็ล้วนข้องเกี่ยวจนราวกับเป็นโลกใบเดียวกัน
ซึ่งประเทศที่มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้มากที่สุด จะเป็นที่ไหนไม่ได้
นอกจาก “สหรัฐอเมริกา”
สหรัฐอเมริกาส่งออกบริการด้านไอทีคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของโลก
บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับ Top 5 ของโลก เป็นบริษัทไอทีสัญชาติอเมริกันถึง 4 แห่ง
และศูนย์รวมอุตสาหกรรมไอทีอย่าง “ซิลิคอนแวลลีย์”
คือยอดเขาแห่งเทคโนโลยี ที่คนทั้งโลกจับตามอง..
เส้นทางอุตสาหกรรมไอทีของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ?
“การเน้นการศึกษา” คือคุณสมบัติสำคัญที่สุดที่ผู้ตั้งรกรากในยุคอาณานิคมหล่อหลอมให้กับชาวอเมริกัน
นับตั้งแต่เข้ามาตั้งรกรากในศตวรรษที่ 17
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สหรัฐอเมริกาจะมีมหาวิทยาลัยหลายแห่ง
ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาก่อนการตั้งประเทศด้วยซ้ำ
ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล หรือมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
นอกจากการศึกษา ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกสั่งสมมาควบคู่กันก็คือ “การทำงานหนัก”
การมุ่งเน้นด้านการศึกษา ทำให้มีองค์ความรู้ที่พร้อมสำหรับการต่อยอด
ส่วนการทำงานหนัก เป็นการปลูกฝังว่า ใคร ๆ ก็สามารถประสบความสำเร็จ
และสั่งสมความมั่งคั่ง จนเปลี่ยนฐานะเป็นคนร่ำรวยได้ ถ้ามีความพยายามมากพอ..
คุณสมบัติทั้งหมดล้วนหล่อหลอมให้ผู้อพยพที่เข้ามายังดินแดนแห่งเสรีภาพนี้
มีความเชื่อมั่นในความพยายาม มองโลกในแง่ดี และมั่นใจในอนาคต
ซึ่งเป็นคุณสมบัติของชาวอเมริกันที่โดดเด่นเหนือใคร และยังคงมีอยู่มาจนถึงยุคปัจจุบัน
แม้สหรัฐอเมริกาจะตามหลังประเทศในยุโรปในการปฏิวัติอุตสาหกรรม
แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำอุตสาหกรรมของโลกได้ภายในระยะเวลาไม่ถึง 100 ปี
การเป็นศูนย์รวมของผู้อพยพที่มีความคิดก้าวหน้า กล้าเสี่ยง
เปี่ยมไปด้วยความพยายามและความรู้ มีรัฐบาลที่สนับสนุนในเรื่องสิทธิบัตร
ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์มากมายที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
และก้าวข้ามทุกขีดจำกัดของความเป็นมนุษย์
โดยเฉพาะโลกของการสื่อสาร..
นับตั้งแต่วันที่ Alexander Graham Bell เป็นผู้ประดิษฐ์โทรศัพท์
สิ่งที่เปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และเดินทางไปไกลตามสายไฟฟ้า
จนนำมาสู่การก่อตั้งบริษัท AT&T ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ด้วยความที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศกว้างใหญ่ การจะส่งเสียงจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก
ข้ามทวีปไปยังฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก จำเป็นจะต้องมีสิ่งที่ช่วยขยายสัญญาณไฟฟ้า
นำมาสู่การประดิษฐ์ “หลอดสุญญากาศ” หรือ หลอดอิเล็กตรอน
ซึ่งมีหลักการคือการให้กระแสไฟฟ้า ผ่านไส้หลอดที่เป็นโลหะ จนไส้หลอดร้อน และเกิดการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน ความสามารถในการควบคุมการไหลของอิเล็กตรอนนี้เอง
ทำให้สามารถขยายสัญญาณอ่อน ๆ ให้แรงขึ้น และส่งสัญญาณไปได้ไกลกว่าเดิม
การสื่อสารผ่านโทรศัพท์ทางไกลครั้งแรก เกิดขึ้นในปี 1915 ระหว่างนครนิวยอร์ก เมืองใหญ่ทางตะวันออก กับซานฟรานซิสโก เมืองท่าที่กำลังเติบโตทางฝั่งตะวันตก
หลอดสุญญากาศนี้เองที่เป็นรากฐานและจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรม “อิเล็กทรอนิกส์”
ที่ปฏิวัติโลกของอุปกรณ์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีการสื่อสาร
องค์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์จุดประกายให้เกิดการวิจัยและพัฒนา
ในมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐอเมริกา หนึ่งในนั้นคือมหาวิทยาลัยในเมืองพาโล อัลโต
บริเวณหุบเขาทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก ที่ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด”
มหาวิทยาลัยที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1891 แห่งนี้ จะเป็นผู้พลิกโฉมบริเวณรอบอ่าวซานฟรานซิสโก
หรือเรียกว่า “เบย์แอเรีย” จากย่านที่เต็มไปด้วยสวนผักและสวนผลไม้
ให้กลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
โดยบุคลากรคนสำคัญที่มีส่วนผลักดันก็คือ ศาสตราจารย์ Frederick Terman
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้ชักชวนเพื่อนนักวิจัยด้านอิเล็กทรอนิกส์
ให้มาร่วมงานที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ และบุกเบิกการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น
พร้อม ๆ กับการพัฒนากระบวนการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักธุรกิจ ด้วยการจัดตั้ง
Business Incubator for SMEs ที่ช่วยบ่มเพาะให้ลูกศิษย์ก่อตั้งบริษัทอิเล็กทรอนิกส์
เป็นของตัวเอง โดยใช้บ้านพักของอาจารย์ที่ยังว่างอยู่เป็นที่จัดตั้งบริษัท
แล้วความพยายามก็ประสบผลสำเร็จในปี 1939
เมื่อศิษย์เก่าวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด 2 คน
คือ Bill Hewlett และ David Packard ได้นำหลอดสุญญากาศมาพัฒนาเป็น
Electronics Oscillator จนประสบความสำเร็จ และได้ก่อตั้งบริษัท Hewlett Packard หรือ HP ขึ้นที่โรงรถในเมืองพาโล อัลโต โดยลูกค้าคนสำคัญที่ซื้ออุปกรณ์นี้ไปทำภาพยนตร์ก็คือ Walt Disney Production
Hewlett Packard นับเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์แห่งแรก ๆ ที่ลงหลักปักฐานในย่านเบย์แอเรีย
หลังจากบริษัทได้ทำสัญญากับกองทัพสหรัฐฯ ดึงดูดเม็ดเงินจากการลงทุนให้สะพัดไปทั่วย่านแห่งนี้
หลอดสุญญากาศยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย รวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ แต่หลอดสุญญากาศก็มีข้อเสีย
การต้องให้ความร้อนแก่โลหะจึงจะมีการปล่อยอิเล็กตรอน
ทำให้หลอดต้องใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมหาศาล และมีราคาแพง
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมีการประดิษฐ์สิ่งที่จะมาทดแทนหลอดสุญญากาศ
เรียกว่า “ทรานซิสเตอร์”
ทรานซิสเตอร์ถูกประดิษฐ์ขึ้นในห้องทดลองของบริษัท AT&T ที่รัฐเวอร์จิเนีย ทางตะวันออกของสหรัฐอเมริกา มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ หรือ Semiconductor ทำให้ปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่อ่อนกว่า และควบคุมสัญญาณได้ดีกว่าหลอดสุญญากาศ
หนึ่งในผู้ประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลก็คือ William Shockley ได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเองเพื่อพัฒนาทรานซิสเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น ใช้ชื่อว่า Shockley Semiconductor
และก็เป็น ศาสตราจารย์ Frederick Terman แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ได้ชักชวนให้ Shockley มาเลือกทำเลที่ตั้งของบริษัทอยู่ในย่านเบย์แอเรีย ซึ่งก็คือเมืองเมาน์เทนวิว
ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จึงทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาคเอกชนกับนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
Shockley ได้ตัดสินใจจ้างวิศวกรปริญญาเอก 8 คน จากมหาวิทยาลัยชื่อดังฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทั้งฮาร์วาร์ดและ MIT ให้มารวมตัวกันในบริษัทที่เมาน์เทนวิว
นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เบย์แอเรียเริ่มมีนวัตกรรมที่ก้าวล้ำนำหน้าภูมิภาคอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา
ในช่วงแรกสารกึ่งตัวนำที่นิยมใช้ก็คือธาตุเจอร์เมเนียม (Ge) ซึ่งหายาก และมีราคาสูง
แต่ต่อมาพบว่ายังมีธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งสามารถนำมาทำสารกึ่งตัวนำได้ดี และพบได้ง่ายกว่าเจอร์เมเนียมมาก ธาตุนั้นก็คือ ซิลิคอน (Si)
การใช้ซิลิคอนมาทำสารกึ่งตัวนำนี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หุบเขาย่านเบย์แอเรีย
ถูกเรียกว่า “ซิลิคอนแวลลีย์” ในเวลาต่อมา..
หลังจากรวมตัวได้ไม่นาน วิศวกรทั้ง 8 คน ก็ตัดสินใจลาออกมาตั้งบริษัททรานซิสเตอร์ของตัวเองในปี 1957 ซึ่งต่อมาก็ได้บริษัทผลิตกล้องถ่ายรูป Sherman Fairchild เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน จึงใช้ชื่อบริษัทว่า Fairchild Semiconductor
การเข้ามาร่วมลงทุนของ Fairchild เป็นการปูทางให้นักลงทุนผู้มั่งคั่ง
เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดเป็นธุรกิจเงินร่วมลงทุน
หรือ Venture Capital (VC) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วนักลงทุนเหล่านี้
ก็มักจะนั่งในตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร และคอยให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ แก่บริษัท
ถึงแม้จะดีกว่าหลอดสุญญากาศ แต่ทรานซิสเตอร์ยังจำเป็นต้องต่อกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น
ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุ
เหล่าวิศวกรใน Fairchild Semiconductor จึงเกิดความคิดที่จะวางทรานซิสเตอร์จำนวนมาก ๆ และส่วนประกอบอื่น ๆ ไว้ในแผ่นซิลิคอนเพียงตัวเดียว
ความคิดนี้บรรลุผลสำเร็จในปี 1959
และสิ่งนั้นถูกเรียกว่า “แผงวงจรรวม” (Integrated Circuit) หรือ “ชิป”
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในอุปกรณ์
ให้สามารถติดต่อและรับส่งข้อมูลถึงกัน และทำงานประสานกันได้อย่างลงตัว
ต่อมาวิศวกรที่เคยทำงานที่นี่ทั้ง 8 คนก็ได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง
ซึ่งความสามารถทางเทคโนโลยีจะทำให้เกิดธุรกิจย่อยขึ้นมาอีกกว่า 120 ธุรกิจ
2 ใน 8 คนก็คือ Robert Noyce และ Gordon Moore
ที่ได้ออกมาก่อตั้งบริษัทผลิตชิป ในปี 1968
โดยใช้ชื่อบริษัทว่า “Intel” โดยมีสำนักงานแห่งแรกในเมืองเมาน์เทนวิว
จำนวนแผงวงจรที่สามารถวางลงในชิปหนึ่งตัว เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ในทุก ๆ 1 ปีครึ่ง
ทำให้ประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลของชิปทุก ๆ 1 ปีครึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด
ซึ่งมีมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดเป็นผู้ผลักดันงานวิจัยร่วมกับบริษัทเอกชน
ในที่สุดก็เกิดชิปที่มีขนาดเล็ก และมีแผงวงจรรวมมหาศาลที่เรียกว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์”
การพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์จะเปิดทางให้การผลิตคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงจนคนทั่วไปสามารถมีไว้ครอบครอง และถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
หรือ PC (Personal Computer)
หนึ่งในผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรก ๆ
คือผู้ช่วย 2 คน ที่เคยทำงานให้กับบริษัท Hewlett Packard
ผู้ช่วย 2 คนนั้นมีชื่อว่า “Steve Wozniak” และ “Steve Jobs”..
ติดตามซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมไอที ? ตอนที่ 2 และอ่านบทความในซีรีส์นี้ย้อนหลังได้ที่ Blockdit - blockdit.com/download
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=403&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.forbes.com/sites/gilpress/2013/04/08/a-very-short-history-of-information-technology-it/?sh=82924872440b
-https://www.stanford.edu/about/history/
-https://www.capterra.com/history-of-software/
-https://www.internetsociety.org/wp-content/uploads/2017/09/ISOC-History-of-the-Internet_1997.pdf
-https://www.businessinsider.com/silicon-valley-history-technology-industry-animated-timeline-video-2017-5
-https://historycooperative.org/history-of-silicon-valley/
-https://endeavor.org.tr/wp-content/uploads/2016/01/How-SV-became-SV.pdf
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過53萬的網紅วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB,也在其Youtube影片中提到,รับข่าวสารและสิทธิพิเศษก่อนใคร จาก วรัทภพ แอดไลน์ http://line.me/ti/p/~@warattapob หรือแอดโดยไอดี @warattapob (อย่าลืมใส่ @ นำหน้า) คนจีนชอบประเทศไทย...
ธุรกิจ smes 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
SMEs ไทย ผู้จ้างงาน 10 ล้านคนในประเทศ กำลังเจอวิกฤติ /โดย ลงทุนแมน
ธุรกิจ SMEs เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่มีความสำคัญมากกับเศรษฐกิจไทย และเป็นภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากผลกระทบของโควิด 19 ด้วยเช่นกัน
วันนี้หลายกิจการจำใจต้องปิดตัวลง ขณะที่อีกหลาย ๆ กิจการ พยายามยื้อต่อเพื่อหวังว่า ในอนาคตสถานการณ์จะดีขึ้น
หนี้ของ SMEs ทั้งระบบในตอนนี้ มีมูลค่าสูงกว่า 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งบางส่วนกลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปแล้ว
ธุรกิจ SMEs จะยืนระยะไปได้อีกนานแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Small and Medium Enterprises หรือ SMEs คือ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่การผลิต การค้า และการบริการ โดยใช้เงินลงทุนไม่มาก และโดยทั่วไปอาจไม่ได้ใช้เทคโนโลยีระดับสูง
ปัจจัยที่ใช้กำหนดว่า ธุรกิจไหนเป็นธุรกิจขนาดกลาง และธุรกิจไหนขนาดย่อม จะใช้เกณฑ์รายได้และจำนวนแรงงานในการแบ่ง
กรณีภาคการผลิตนั้น ถ้ามีการจ้างงาน 50-200 คน มีรายได้ 50-500 ล้านบาท จะเป็นธุรกิจขนาดกลาง และถ้าน้อยกว่านั้น ก็จะถือเป็นธุรกิจขนาดย่อม
กรณีภาคบริการและการค้านั้น ถ้ามีการจ้างงานอยู่ที่ 30-100 คน มีรายได้ 50-300 ล้านบาท จะเป็นธุรกิจขนาดกลาง ถ้าน้อยกว่านั้นก็เป็นธุรกิจขนาดย่อม
ด้วยความที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทำให้หลายครั้ง SMEs มักมีข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น
- การเข้าถึงเงินทุนและขาดแคลนเงินสนับสนุน
- ปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการ ขาดความโปร่งใส และการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ปัญหาการจัดทำระบบบัญชี
- การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะสูง
- การเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง
แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะมีข้อจำกัดหลายอย่าง ธุรกิจ SMEs ก็มีข้อดีหลายข้อเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- เริ่มต้นทำธุรกิจด้วยเงินทุนไม่มาก ซึ่งตรงนี้ทำให้ถูกมองว่า มีความเสี่ยงน้อยกว่าบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็เห็นหลายบริษัทที่เติบโตมาจากธุรกิจเล็ก ๆ จนมีชื่อเสียงในทุกวันนี้
- เจ้าของธุรกิจสามารถจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง มีความอิสระและคล่องตัวในการบริหารจัดการได้อย่างทั่วถึง
- มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจ
ที่สำคัญก็คือ ธุรกิจ SMEs ถือเป็นแหล่งของการจ้างงานขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย
รู้ไหมว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีจำนวน ผู้มีงานทำ ประมาณ 38 ล้านคน
โดยในจำนวนนี้ เป็นแรงงานที่อยู่ในภาคธุรกิจ SMEs จำนวน 13 ล้านคน หรือประมาณ 34% ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งประเทศ
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ หลายสิบปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- ในปี 2537 จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีจำนวน 0.4 ล้านราย
- ในปี 2563 จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs มีจำนวน 3.1 ล้านราย
และสภาหอการค้าไทย ยังมีการประเมินกันว่า ตัวเลขจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs จริง ๆ อาจมีจำนวนสูงถึง 5 ล้านราย เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการบางส่วน ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบการ SMEs กับทางราชการ
ขณะที่ในปี 2562 ที่ผ่านมา ธุรกิจ SMEs สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ไทย สูงกว่า 7 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 43% ของมูลค่า GDP ทั้งประเทศไทย
ปัจจุบัน ถ้าเราแบ่งจำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ตามประเภทธุรกิจจะพบว่ามาจาก
- การค้าและบริการ 2.6 ล้านราย
- การผลิตและการเกษตร 0.5 ล้านราย
หมายความว่า จำนวนผู้ประกอบธุรกิจ SMEs กว่า 84% เกี่ยวข้องกับการค้าและบริการ
ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ธุรกิจการค้าและบริการ โดยเฉพาะที่พักแรม, ร้านอาหาร, ร้านเสริมสวย, ร้านขายของที่ระลึก ถือเป็นกลุ่มผู้ที่ได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก จากการแพร่ระบาดของโควิด 19
สาเหตุหลัก ๆ คือ การที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหายไปตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 และการชะลอการเดินทางของคนไทยในประเทศ
แม้ทางภาครัฐจะพยายามออกมาตรการกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เพื่อช่วยให้คนไทยในประเทศช่วยกระตุ้นการเดินทางและท่องเที่ยวภายในประเทศบ้าง แต่ก็ต้องมาพบกับการระบาดหลายระลอกที่ดับความหวังในการกระตุ้นให้หมดไป
ปี 2562 รายได้การท่องเที่ยวของประเทศไทย อยู่ที่ประมาณ 3 ล้านล้านบาท เป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท และรายได้จากคนไทยประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขแบบนี้ก็ต้องยอมรับว่า แทบเป็นไปไม่ได้ที่รายได้จากนักท่องเที่ยวไทย จะเพิ่มขึ้นจนชดเชยกับรายได้ที่หายไปจากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้
การระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 สร้างความบอบช้ำอย่างหนักให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักกว่า เมื่อเทียบกับธุรกิจในภาพรวมทั้งประเทศ
ซึ่งสะท้อนมาจาก มูลค่า GDP ที่เกิดจาก SMEs ในปี 2563 ที่ติดลบไปกว่า 9.1% จากปีก่อนหน้า
เทียบกับมูลค่า GDP ของประเทศไทย ที่ติดลบไป 6.1% จากปีก่อนหน้า
อีกทั้งในตอนนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดที่ทำท่าจะคลี่คลายไปบ้างในช่วงก่อนนี้ กลับดูเหมือนว่าเลวร้ายลงกว่าเดิมไปอีก
ยิ่งถ้าสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ภายในประเทศลากยาวไปจนถึงสิ้นปี มีการคาดกันว่า ธุรกิจ SMEs จำนวนไม่น้อย อาจต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลาย
อ้างอิงข้อมูลจาก สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ปัจจุบัน ธุรกิจ SMEs ทั้งหมดมีหนี้รวมกันกว่า 3.5 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) สูงกว่า 240,000 ล้านบาท
ทาง สสว. ยังคาดกันว่า มูลค่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ อาจเพิ่มขึ้นอีก 440,000 ล้านบาท หากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ยังไม่ดีขึ้น จนทำให้ธุรกิจ SMEs จำนวนมาก ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินกิจการได้เหมือนช่วงก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาด
ที่ผ่านมา ธุรกิจ SMEs จำนวนไม่น้อยได้พยายามปรับตัวเพื่อความอยู่รอด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่ทนบาดแผลในครั้งนี้ไม่ไหวจนต้องยอมแพ้ไปแล้ว
ขณะที่บางส่วนพยายามกัดฟัน อดทนเลือกที่จะยืนระยะต่อไป อย่างน้อยก็หวังว่า ในอนาคตอันใกล้ทุกอย่างน่าจะดีขึ้น แม้ว่ายังไม่รู้ว่าเมื่อไร เพราะถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ ความหวังจะเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว หรือเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้เต็มที่ คงไม่ใช่เรื่องง่าย
ความหวังตอนนี้ ก็คงอยู่ที่ภาครัฐต้องบริหารจัดการการควบคุมโรคระบาดให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และทุกฝ่ายก็ต้องร่วมด้วยช่วยกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นได้เร็วที่สุด
เรื่องนี้ ดูไปคล้าย ๆ กับเวลาที่เรากำลังนั่งรถไฟเข้าไปในอุโมงค์อันมืดมิดจนมองไม่เห็นอะไร ซึ่งเราก็คงทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการนั่งรอรถไฟให้วิ่งพ้นอุโมงค์ เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นแสงสว่าง
แต่คำถามสำคัญที่ทุกคนอยากรู้ในตอนนี้ก็คือ
รถไฟขบวนนั้น ใกล้จะถึงปลายอุโมงค์ แล้วหรือยัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210618165640.pdf
-https://www.sme.go.th/th/cms-detail.php?modulekey=332&id=1334
-https://www.smeeastern.com/page/id/1570110689241182
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-07-05/pandemic-pushes-millions-of-small-thai-businesses-into-crisis?utm_source=facebook&utm_content=asia&utm_medium=social&utm_campaign=socialflow-organic&fbclid=IwAR2GNVwqbNdZCtQc7z0pLOiK9K11VsMXylePBksw2lGF-FwB2EvRfTvzVuI
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=638&language=th
ธุรกิจ smes 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ประเทศไทยมีพันธบัตรรัฐบาลประเภท Sustainability เพื่อพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นครั้งแรก
ถ้าให้อธิบายว่า พันธบัตรรัฐบาลคืออะไร?
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ตราสารที่ผู้ถือ มีสถานะเป็น “เจ้าหนี้” ของรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรไปใช้ในโครงการต่าง ๆ
และรัฐบาลจะคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ ตามเวลาที่กำหนด
แล้วรู้หรือไม่ เวลานี้ประเทศไทยก็มีสิ่งที่เรียกว่า “Sustainability Bond” หรือ “พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน” แล้ว
แล้ว Sustainability Bond ที่ว่านี้คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร?
Sustainability Bond หรือ “พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน”
เป็นพันธบัตรที่ใช้ในการระดมทุนจากบริษัท สถาบันการเงิน และนักลงทุนรายใหญ่
โดยเงินที่ได้ จะถูกนำไปใช้เฉพาะแค่ด้าน “อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสังคม”
ต่างจากพันธบัตรรัฐบาลที่เราคุ้นเคย ที่เป็นการระดมเงินไปลงทุนในหลากหลายด้าน
โดย Sustainability Bond จะแตกต่างจากพันธบัตรเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
และพันธบัตรเพื่อสังคม (Social Bond) ตรงที่เป็นการระดมทุนเพื่อไปลงทุน
ทั้งในโครงการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพื่อสังคม
Sustainability Bond มีการออกครั้งแรก โดย Lloyds Bank ในประเทศอังกฤษ ในปี 2557 มูลค่ารวม 250 ล้านปอนด์
โดยเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ ถูกนำไปสนับสนุนธุรกิจ SMEs ในกลุ่มเกษตรกรรมและธุรกิจให้บริการสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ในโครงการต่าง ๆ เช่น สถานบริการสุขภาพ และการผลิตพลังงานทดแทน
ซึ่งผลคือ ธุรกิจ SMEs ในอังกฤษเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และมีส่วนช่วยให้ผู้คนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
จากการพัฒนาของตลาดตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเพื่อสังคม
หลาย ๆ ประเทศเองก็ได้เริ่มออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond)
โดยในปี 2559 ประเทศโปแลนด์ออก Green Bond เป็นประเทศแรก
ตามมาด้วยอีกหลากหลายประเทศ โดยในปี 2563 ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศแรกที่ออก Sustainability Bond
ในเดือน มิถุนายน 2563
ส่วนประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีมูลค่าคงค้างของ Green Bond สูงที่สุด 35,900 ล้านยูโร
หรือคิดเป็นมูลค่าราว 1.36 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ การระดมทุนผ่านการออกพันธบัตรในลักษณะนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับโลก โดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 มีจำนวนมากกว่า 250 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับทั้งปี 2562 ที่มีมูลค่า 341 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
และในเดือนสิงหาคม 2563 ประเทศไทยก็มีการออกพันธบัตรประเภทนี้เช่นกัน
โดยการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ของประเทศไทยถือเป็นครั้งแรก
ในภูมิภาคอาเซียนที่มีพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนที่ออกโดยภาครัฐ ซึ่งมีกระทรวงการคลัง
โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นผู้ดำเนินการและดูแล
พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนรุ่นแรกนี้ มีอายุ 15 ปี และมีการเสนอขายครั้งแรกที่วงเงิน 30,000 ล้านบาท
โดยพันธบัตรดังกล่าวมีผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต รวมถึงกองทุนบำเหน็จบำนาญต่าง ๆ ให้ความสนใจและตอบรับเป็นอย่างดียิ่ง โดยมียอดแสดงความจำนงลงทุนรวมกว่า 60,911 ล้านบาท และ
สามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยได้ที่ 1.585% ซึ่งต่ำกว่า Yield ของพันธบัตรรัฐบาลแบบปกติ
ที่รุ่นอายุ 15 ปี ณ ขณะนั้น
ผลตอบรับที่ดีดังกล่าว ทำให้ สบน. ได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีวงเงินคงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ 100,000 ล้านบาท และมีแผนที่จะออกพันธบัตรรุ่นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องให้เพื่อสร้างสภาพคล่องและพัฒนาตลาดตราสารหนี้
เหตุผลหลักที่พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนได้รับความนิยมอย่างสูง
เนื่องมาจากพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำมาก
และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ เราสามารถติดตามได้ว่าเงินที่เราซื้อพันธบัตรไปนั้น ถูกนำไปใช้ตามเป้าหมายของโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมและเพื่อสังคมหรือไม่
เพราะรายละเอียดของการใช้เงินจะถูกเก็บบันทึกไว้โดยกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีการจัดทำข้อมูลการเบิกจ่ายและยอดเงินคงเหลือภายใต้การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ทำให้มั่นใจได้ว่าเงินส่วนนี้จะถูกนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์
มาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า เม็ดเงินขนาดใหญ่ที่ได้จากการระดมทุนผ่านพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) นี้ ถูกนำไปใช้ในโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใดบ้าง และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างไร
เงินระดมทุนที่ได้จากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)
จะถูกนำไปใช้ในโครงการเพื่อสังคม (Social Project) และสิ่งแวดล้อม (Green Project)
โดยมีตัวอย่าง เช่น
- การให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19
- การลงทุนพัฒนาพื้นที่และอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
- การลงทุนจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การสร้างความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาด้านการศึกษา
- การลงทุนในโครงการที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน
โดยวงเงิน 100,000 ล้านบาท ที่ระดมทุนได้มาจาก Sustainability Bond รุ่นปัจจุบัน ได้ถูกนำไปใช้ใน
1) โครงการช่วยเหลือ เยียวยา และบรรเทาความเดือดร้อน แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) หรือ โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” วงเงิน 70,000 ล้านบาท ซึ่งจัดเป็น
โครงการเพื่อสังคม ประเภทส่งเสริมการสร้างงาน (Employment Generation) และ
2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)
วงเงิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งจัดเป็นโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเภทการขนส่งพลังงานสะอาด
(Clean Transportation) เพราะมีวัตถุประสงค์หลักในการลดการจราจรติดขัดจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง และลดการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ชุดนี้ได้จดทะเบียนและขึ้นแสดงใน Luxembourg Green Exchange (LGX) ของตลาดหลักทรัพย์ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg Stock Exchange: LuxSE) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่แสดงข้อมูลตราสารหนี้เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, ตราสารหนี้เพื่อสังคม และตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน เพื่อให้ผู้ลงทุนทั่วโลกสามารถเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก
ซึ่งเป็นการจดทะเบียนตราสารครั้งแรกใน LuxSE ของประเทศไทยและแสดงให้เห็นถึงการยอมรับและความเชื่อมั่นที่ได้รับจากระดับสากล
สำหรับในต่างประเทศ พันธบัตรประเภทนี้ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่รัฐบาลเป็นผู้ขายพันธบัตรเท่านั้น แต่จะมีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอขายพันธบัตรประเภทดังกล่าว
รวมถึงภาคเอกชนเองที่ออกหุ้นกู้เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันนี้อีกด้วย
การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยจึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
ที่พันธบัตรเพื่อความยั่งยืนได้ถูกนำเสนอให้เป็นที่รู้จัก เพื่อนำเงินไปใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
จนถึงเป็นการสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจรวมถึงภาคเอกชนให้ความสำคัญกับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
References
- http://www.thaibma.or.th/EN/Investors/Individual/Blog/2019/25012019.asp
- ข้อมูลสำหรับการใช้ทำสื่อประชาสัมพันธ์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
- เอกสารข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
ธุรกิจ smes 在 วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB Youtube 的最佳解答
รับข่าวสารและสิทธิพิเศษก่อนใคร จาก วรัทภพ แอดไลน์ http://line.me/ti/p/~@warattapob หรือแอดโดยไอดี @warattapob (อย่าลืมใส่ @ นำหน้า)
คนจีนชอบประเทศไทยมาก แล้วเราจะทำยังไง
ที่ประเทศจีนค่อนข้างวุ่นวาย ไม่สงบ
คนจีนเองมักจะถามผมบ่อยๆว่า ประเทศไทย มีขโมยไหม
ผมก็บอกว่า มี แต่ไม่เยอะ เขาบอกเมืองเขาเยอะมากเลย
ไปไหนมาไหนก็ต้องคอยระวัง
ดังนั้น ประเทศไทยยังมีโอกาสอีกมาก ที่เงินจากคนจีน
จะไปใช้จ่ายในประเทศไทย หรือ อาจจะเป็นโอกาสที่สินค้าไทย
จะเปิดตลาดจีนได้ง่ายขึ้น จากชื่อเสียงในด้านคุณธรรมมีจริยธรรม
? พบกับวิดีโอใหม่ทุกวัน ?
และถ้าคุณไม่อยากพลาดวิดีโอต่อๆไปของผม
ซึ่งจะอัพเดท วิธีหาเงินรูปแบบใหม่ และ เรื่องเกี่ยวกับจีนที่คุณไม่รู้
? กด “SUBSCRIBE - ติดตาม และกดกระดิ่งแจ้งเตือน ตอนนี้เลย!! ?
https://www.youtube.com/channel/UC6GkGouzOitA6vUzOEBEqwA?view_as=subscriber
—
// ดูวิดีโอของ "วรัทภพ" ตามเพลย์ลิสต์
1. PODCAST : https://bit.ly/2SBlrHR
2. อัพเดท วิธีหารายได้และทำธุรกิจ https://bit.ly/2CR2Jqc
3.VLOG IN CHINA ชีวิตในจีน https://bit.ly/2AqaFNB
—
// วรัทภพ รชตนามวงษ์ คือ ใคร?
ผม "วรัทภพ รชตนามวงษ์" เป็นคนไทย เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่
เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจมาแล้ว 14 ธุรกิจ
ทั้งในประเทศไทย และ จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน
ผมตั้งใจทำสื่อเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
ให้คนรุ่นใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิตและรวย “เร็วขึ้น”
—
// ติดตาม วรัทภพ รชตนามวงษ์ เพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.warattapob.com
SOCIAL
Instagram : https://www.instagram.com/warattapob_rachatanamwong
Facebook : https://fb.me/WarattapobRachatanamwong
YouTube: https://www.youtube.com/c/WarattapobRachatanamwong
Line official : http://line.me/ti/p/~@warattapob
Twitter : https://twitter.com/warattapob
PODCAST
Apple Podcast : https://apple.co/2QjW5fM
Spotify : https://spoti.fi/2F4V2OL
Soundcloud : https://bit.ly/2QjfVYm
—
#คนไทยในจีน #คนจีน #นักท่องเที่ยวจีน
วิดีโอนี้เกี่ยวกับ คนจีนชอบประเทศไทยมาก แล้วเราจะทำยังไง
https://www.youtube.com/watch?v=UPn-hzlBYvk
https://www.youtube.com/watch?v=UPn-hzlBYvk
ธุรกิจ smes 在 DIPROM - นิยามใหม่ธุรกิจ SMEs SMEs คือ ธุรกิจที่ทำการดำเนินการ ... 的推薦與評價
SMEs คือ ธุรกิจที่ทำการดำเนินการด้านการผลิตและจำหน่ายขนาดย่อม เป็นธุรกิจเอกชนที่มีความเป็นอิสระ ไม่อยู่ใต้การควบคุมของธุรกิจหรือบุคคลอื่นบุคคลใด อีกทั้งยังเป็นธ ... ... <看更多>