การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองโดยใช้หลักรวมอำนาจของประเทศไทย
หลักทั่วไปในการจัดองค์กรของรัฐในรัฐเดี่ยว โดยเฉพาะประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว มีการจัดองค์กรของรัฐในการใช้อำนาจอธิปไตย คือ องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ซึ่งขอบข่ายที่จะศึกษาวิชากฎหมายปกครองในบทนี้ ก็คือ
ดังนั้นการจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองโดยใช้หลักรวมอำนาจของประเทศไทยจะกล่าวถึง การจัดองค์กรรัฐฝายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการรวมอำนาจกับการจัดองค์กรของรัฐที่เรียกว่าหน่วยงานอื่นของรัฐ ดังต่อไปนี้
1. การจัดองค์กรรัฐฝายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการรวมอำนาจ
การจัดองค์กรรัฐฝายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการรวมอำนาจ คือ การจัดระเบียบบริหารส่วนกลาง กับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
1.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
การจัดองค์กรรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองตามหลักการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ คือ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กับพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แยกอธิบายการจัดองค์กรดังนี้
1.1. 1 การจัดองค์กรในสำนักนายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดถึงการจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้สำนักนายกรัฐมนตรี คือ มีฐานะเป็นกระทรวงและให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกรม ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาช้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดอนุมัติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. การปฏิบัติการของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการของปลัดสำนายกรัฐมนตรี ให้มีรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
4. ส่วนราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในส่วนราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2545 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แก่
(1) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(2) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(3) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(4) สำนักงบประมาณ
(5) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(6) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(7) สำนักงานคณะกรรมการข้อราชการพลเรือน
(8) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(9) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น
2) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
1.1.2 การจัดองค์กรในกระทรวง ทบวง กรม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดถึง การจัดระเบียบราชการในกระทรวง ทบวง กรม แยกอธิบาย ดังนี้
1. การจัดระเบียบราชการของกระทรวง การจัดระเบียบราชการของกระทรวง นั้นสามารถแยกอธิบายภาพรวมได้ดังนี้
1)ในส่วนราชการของกระทรวง มีดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ให้ส่วนราชการตาม ข้อ ( 2) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามตาม ข้อ (3) มีฐานะเป็นกรม
2) กระทรวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
3) ให้กระทรวงมีปลัดกระทรวง 1 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง
(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวง
(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง
4) ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวง ให้มีรองปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดระทรวงมอบหมายก็ได้
5) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งข้าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการเมือง 1 คน หรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีรัฐมนตรีก็ได้
6) สำนักงานปลัดกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ
2. การจัดระเบียบราชการของกรม นั้นสามารถอธิบายในภาพรวมได้ ดังนี้
1) กรมอาจแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
กรมใดมีความจำเป็นจะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่น นอกจาก ข้อ (1) ข้อ (2) ก็ได้
2) กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ในกรมหนึ่งจะให้มีรองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี หรือมีทั้งรองอธิบดีและผู้ช่วยอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชารองจากอธิบดีและอธิบดีปฏิบัติราชการก็ได้
3) สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีเลขานุการกรมเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการกรม
4) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองหรือส่วนราชการอื่น นอกจากนั้นให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อำนวยการอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการอื่น นอกจากนั้นเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในปฏิบัติราชการ
3. การจัดตั้ง การรวม การโอนหรือการยุบส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม มีดังต่อไปนี้
1) การจัดตั้ง การรวม การโอนหรือการยุบส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
2) การรวมหรือการโอนส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
3) การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
4) การยุบส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5) การแบ่งส่วนราชการภายในกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
6) การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
1.1.3 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นั้นสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
1. ที่มาของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทนและวิธีปฏิบัติราชการ ฯลฯ
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ขึ้นเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบในงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การจัดองค์กรรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองตามหลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ คือ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กับพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนี้
2.1 การจัดองค์กรในจังหวัด อำเภอ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ..ศ. 2534 ให้จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค คือ การจัดระเบียบราชการในจังหวัดกับการจัดระเบียบราชการในอำเภอ ดังนี้
2.1.1การจัดระเบียบราชการบริหารในจังหวัด
การจัดระเบียบราชการบริหารในจังหวัด นั้นสามารถอธิบายในภาพรวมได้ดังนี้
1. ให้รวมท้องที่หลายๆอำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด 1 คน เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดและรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ
3. ในจังหวัดหนึ่งจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
4. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด สังกัดกระทรวงมหาดไทย
5. ในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม นั้นในจังหวัดนั้น
6. การแบ่งส่วนราชการจังหวัด มีดังนี้
1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจังหวัด
2) ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
7. ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด แยกอธิบาย ดังนี้
1) คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด 1 คน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บัญชาการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หรือ รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวง ทบวง กรม (เว้นแต่กระทรวงมหาดไทย) ซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดจากระทรวง ทบวง ละ 1 คน เป็นกรรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการจังหวัดและเลขานุการ
2) คณะกรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
2.1.2 การจัดระเบียบราชการในอำเภอ
การจัดระเบียบราชการในอำเภอ นั้นสามารถอธิบายในภาพได้ มีดังนี้
1) ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัด เรียกว่า อำเภอ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคลดังเช่นจังหวัด
2) ให้มีนายอำเภอ 1 คน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
3) ในอำเภอหนึ่งนอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแล้ว ให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัด กระทรวง ทบวง กรม นั้นในอำเภอ
4) ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้นๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ
(2) ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้นๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. 2 การจัดองค์กรในตำบล หมู่บ้าน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 นั้นประกอบด้วยการจัดระเบียบการปกครองตำบลและการจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้านดังนี้
2.2.1 การจัดระเบียบการปกครองตำบล
การจัดระเบียบการปกครองตำบล นั้นสามารถแยกอธิบายดังนี้
1. การจัดตั้งตำบล คือ ท้องที่หลายตำบลอันสมควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันให้จัดตั้งเป็นอำเภอหนึ่ง ซึ่งการจัดตั้งตำบลนั้นเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณากำหนดเขต แล้วรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วยก็ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตำบลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยมีหลักเกณฑ์ว่าตำบลต้องรวมหมู่บ้านราว 2 หมู่บ้านขึ้นไป
2. การปกครองตำบล มีเจ้าหน้าที่ดังนี้
1) กำนัน ในตำบลหนึ่งมีกำนัน 1 คน มาจากเลือกของผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นด้วยกันมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตำบลนั้น เช่น มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล คดีอาญา ตรวจตราดูแลและรักษาสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์
2) แพทย์ประจำตำบล ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ในวิชาแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ร่วมประชุมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบลและตรวจตราความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบลนั้น
3) สารวัตรกำนัน ในตำบลหนึ่งให้มีสารวัตรกำนันเป็นผู้ช่วยกำนัน 2 คน โดยกำนันเป็นผู้คัดเลือกด้วยความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด
2.2.2 การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน
การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน นั้นสามารถแยกอธิบายดังนี้
1. การจัดตั้งหมู่บ้าน นั้นมีหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ บ้านหลายบ้านที่อยู่ในท้องที่หนึ่งซึ่งควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันได้ ให้จัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งโดยถือเอาจำนวนราษฎรประมาณ 200 คน หรือจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้าน ถ้าเป็นท้องที่ที่ราษฎรตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ห่างไกลกันถึงแม้ว่าจำนวนจะน้อยก็ตาม
2. การปกครองหมู่บ้าน มีเจ้าหน้าที่ดังนี้
1) ผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านให้มีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ซึ่งได้รับเลือกโดยราษฎรในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้านนั้นและมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎรในหมู่บ้าน
2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านหนึ่งให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง 2 คน เว้นแต่หมู่บ้านใดจำเป็นต้องมีมากกว่า 2 คน ให้ขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย ในหมู่บ้านใดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบก็ให้มีได้ตามจำนวนที่กระทรวงมหาไทยเห็นสมควร
3) คณะกรรมการหมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านให้มีคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยดังนี้
(1) ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานโดยตำแหน่ง
(2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(3) ผู้ซึ่งราษฎรเลือกตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนตามที่นายอำเภอจะเห็นสมควร แต่ไม่น้อยกว่า 2 คน
คณะกรรมการหมู่บ้านมีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่ผู้ใหญ่บ้านจะต้องปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
3. การจัดองค์กรของรัฐที่เรียกว่าหน่วยงานอื่นของรัฐที่ใช้หลักรวมอำนาจ
การองค์กรของรัฐในหลักการรวมอำนาจที่เรียกว่า หน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่ง หน่วยงานอื่นของรัฐแยกประเภทต่างๆของหน่วยงานของรัฐ ได้ดังนี้
3.1 หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ
หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนี้
3.1.1 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3.1.2 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
3.1.3 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันปราบรามการทุจริต
3.1.4 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
3.15. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
3.2 หน่วยงานที่เป็นหน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ
หน่วยงานที่เป็นหน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วยดังนี้
2.2.1 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ คือ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องมาจากการเสนอของประธานศาลรัฐธรรมนูญและได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.2 สำนักงานศาลปกครอง
ศาลปกครองมีหน่วยธุรการของศาลที่เป็นอิสระของศาลปกครอง คือ สำนักงานศาลปกครอง โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครอง
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองต้องมาจากการเสนอของประธานศาลปกครองและได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลปกครองมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.3 สำนักงานศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระของศาลยุติธรรม คือ สำนักงานศาลยุติธรรมโดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องมาจากการเสนอของประธานศาลฎีกาและได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลยุติธรรม ตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลปกครองมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.4 องค์กรอัยการ
องค์กรอัยการมีหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ
หนังสือและเอกสารวารสารอ่านประกอบ
ชาญชัย แสวงศักดิ์ “คำอธิบายกฎหมายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน ,2542
ประยูร กาญจนดุล “ คำบรรยาย กฎหมายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,พิมพ์ครั้งที่ 4 ,2538
ปลัดจังหวัด คือ 在 แอบอ้างปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา ช่วยคดีความ เสียหาย 100000 บาท 的推薦與評價
แอบอ้าง ปลัดจังหวัด ฉะเชิงเทรา ช่วยคดีความ เสียหาย 100000 บาท ผู้เสียหาย จ. ... สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พบปัญหาที่มีการร้องทุกข์และเสนอให้รัฐบาลช่วยเหลือมากที่สุด คือ ... ... <看更多>
ปลัดจังหวัด คือ 在 เป็นปลัดอำเภอกี่ปีถึงจะได้เป็นผู้ว่า ? หลายคนถามมาใน inbox ของ ... 的推薦與評價
กรมเปิดสอบนายอำเภอต่อเลยเเล้วสมมุติว่าสอบได้เลย ก็จะใช้เวลาไม่นาน คร่าว ๆ จาก ชพ ไปเป็นนายอำเภออาจจะใช้เวลาประมาณ 4 ปี เป็นนายอำเภอปุ้ป ตำแหน่งต่อไปก็คือ ปลัดจังหวัด หรือผู้อำนวยการสำนัก ... ... <看更多>