"สภาประชาชนมีได้หรือไม่ ?ตามรัฐธรรม 2550"
เรามาฟังนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จบ ดร. จากประเทศเยอรมัน คือ รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติศักดิ์ ปรกติ ให้ความเห็นว่า สภาประชาชนมีได้หรือไม่ตามรัฐธรรมนูญ 2550
วันนี้ (29 พ.ย.) เมื่อเวลา 22.35 น. นายกิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปราศรัยบนเวทีต่อต้านระบอบทักษิณ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ระบุว่า สภาประชาชนซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ระบุว่าไม่มีจริงนั้น นักกฎหมายอย่างตนเห็นว่าสภาประชาชนมีได้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ
โดยผู้ชุมนุมได้ชุมนุมตั้งแต่รัฐบาลและรัฐสภาได้ละเมิดรัฐธรรมนูญ ขณะนี้รัฐบาลและรัฐสภาทำผิดรัฐธรรมนูญซ้ำสอง ครั้งแรกเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมโดยฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ และครั้งที่สองประกาศว่าไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้แจ้งชัดว่าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น ย่อมผูกพันองค์กรของรัฐทั้งปวง ทั้งรัฐบาล รัฐสภา องค์กรอิสระ รวมทั้งหน่วยงานของรัฐ
ในเมื่อประชาชนขณะนี้มาใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่ถูกละเมิดโดยรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพที่ถูกละเมิด ตามคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญทุกประการ ในเมื่อมาตรา 27 บัญญัติว่าคำพิพากษาศาลรัฐธรรมนูญผูกพันรัฐบาล รัฐสภา และองค์กรของรัฐทั้งปวง มาตรา 69 รับรองไว้อีกว่า ถ้าหากปรากฎว่ามีผู้ใดทำการให้ได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบด้วยวิถีทางตามรัฐธรรมนูญ ปวงชนชาวไทยมีอำนาจ มีหน้าที่ มีสิทธิทุกประการในการปกป้องรัฐธรรมนูญเอาไว้ มีอำนาจปกป้องรับธรรมนูญโดยสันติวิธี
ส่วนการที่ผู้ชุมนุมทำการเข้ายึดสถานที่ราชการบางแห่งเป็นการกระทำอันไม่อยู่ในขอบเขตของสันติวิธีนั้น บทความของนายชัยวัฒน์ สถาอนันต์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่มประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ ระบุว่า การต่อสู้โดยสันติวิธีนั้นสามารถทำได้ทั้งในทางรับ คือการร้องเรียน อุทธรณ์ ฟ้องร้อง ประท้วงคัดค้าน และการยึดสถานที่ราชการนั้นอยู่ในขอบเขตของสันติวิธีเชิงรุก
การกระทำด้วยการยึดครองสถานที่โดยสันติ ไม่ใช้กำลังประทุษร้าย ไม่ใช้อำนาจข่มขู่ว่าจะทำร้ายผู้คน ไม่ทำลายทรัพย์สิน เข้าไปอยู่อย่างสงบ เป็นการแสดงการโต้แย้งคัดค้านอย่างสันติที่สุด เคยเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา เช่น ออคคิวพายวอลล์สตรีท (Occupy Wall Street) เพื่อโต้แย้งบรรดานายทุนสามานย์เอาบริษัทเงินทุนมาขูดรีด หลอกลวงประชาชนจนสหรัฐอเมริกาล่มจม ซึ่งเป็นการปิดพื้นที่ทั้งหมดของวอลล์สตรีท
ส่วนในเยอรมันที่ประท้วงคัดค้านรัฐบาลในหลายกรณี โดยเฉพาะในเวลาที่รัฐบาลดำเนินนโยบายผิดพลาดในการรื้อถอนเพื่อทำลายตึกบางตึกซึ่งเป็นแหล่งสำคัญ เกิดขึ้นในเบอร์ลิน ฮัมบูรก์ ในเมืองสำคัญ รวมทั้งในเนเธอร์แลนด์ บรรดาเยาวชนคนหนุ่มสาว และประชาชนเข้าไปในตึกที่กำลังจะถูกรื้อ และบอกว่าเราไม่ยอม ซึ่งเป็นการใช้อารยะขัดขืนหรือพลเมืองแข็งข้อยึดพื้นที่ ถือเป็นสันติวิธี
ส่วนในประเทศไทย เห็นได้ชัดในกรณีที่รัฐบาลจะทำการรื้อป้อมและโบราณสถานบางแห่ง ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยอย่างชาวบางลำภูก็เคยเข้าไปยึดครองอาคารที่จะรื้อ หลังยื่นข้อเสนอแต่ไม่รับฟัง บอกว่าเราจะไม่ยอมออกไปจนกว่าจะเลิกโครงการ ซึ่งประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้นควรเข้าใจว่าเป็นการกระทำที่ชอบ ขอฝากนายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ไปอ่านบทความของนายชัยวัฒน์และทำความเข้าใจเสียใหม่
นายกิตติศักดิ์ กล่าวต่อว่า นายชัยวัฒน์ก็ได้เตือนว่าการใช้สันติวิธีในการประท้วงคัดค้านสิ่งใด ต้องทำไปเพื่อสิ่งที่มีคุณค่าสำคัญยิ่งกว่า เพื่อสิ่งที่เป็นธรรมยิ่งกว่า จึงจะชอบธรรม การชุมนุมครั้งนี้ เป็นการช่วยกันกู้ชาติที่ถูกผลักให้ตกลงไปในท้องทะเลจนจะล่มจมอยู่ทุกวันนี้ให้กลับคืนมา ถือเป็นคุณค่าที่สำคัญ
การใช้สันติวิธีไม่เพียงจะต้องไม่ทำร้ายคนอื่นแล้ว ยังต้องคำนึงถึงบรรดามวลชนจะต้องได้รับหลักประกันว่าจะไม่ถูกทำร้าย จะไม่ถูกเอาชีวิต และไม่ถูกประทุษร้าย เพราะฉะนั้นต้องเรียกร้องให้ตำรวจและทหารคุ้มครองชีวิตของประชาชนไปพร้อมกัน ขณะเดียวกัน ผู้นำของผู้ชุมนุมต้องถือเอาชีวิตและความปลอดภัยของผู้ชุมนุมเป็นอันดับหนึ่ง ไม่ทำการสุ่มเสี่ยง ไม่นำเอามวลชนไปท้าทายอาจจะทำให้ต้องเสียชีวิต แต่ถ้าเกิดภยันตราย เราป้องกันตัวเองได้
อำนาจป้องกันตัวเองเป็นอำนาจที่มีโดยชอบโดยกฎหมายสำหรับประชาชนทุกคน ในกฎหมายอาญามาตรา 68 รับรองอย่างชัดเจนว่า หากมีภยันตรายโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะป้องกันได้ เป็นหลักประการเดียวกันกับมาตรา 69 ของรัฐธรรมนูญ ที่ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะลุกขึ้นต่อสู้ป้องกันรัฐธรรมนูญของตน
หลักการสำคัญของการป้องกันมีหลักการ 3 ประการ ได้แก่ ต้องมีภยันตรายอันมีมาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเกิดขึ้นกับรัฐธรรมนูญ ก็ป้องกันรัฐธรรมนูญด้วย การที่รัฐบาลโดยที่สภาฝ่ายเสียงข้างมาก ออกร่างกฎหมายนิรโทษกรรม แม้จะแช่แข็ง 180 วันตามรัฐธรรมนูญ ยังอาจจะหยิบยกพิจารณาได้ ซึ่งจะกลายเป็นกฎหมายทันที ภยันตรายอันเกิดจากละเมิดรัฐธรรมนูญ ด้วยการตรากฎหมายฉบับนี้ถือว่ายังคงมีอยู่
ขณะเดียวกัน การที่รัฐบาล สมาชิกรัฐสภาเสียงข้างมาก ประธานรัฐสภา ประกาศอย่างโจ่งแจ้งว่า ไม่อยู่ใต้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ต้องเคารพรัฐธรรมนูญ และประกาศตนเหมือนกับว่าตัวเองมีความชอบธรรมที่จะอยู่นอกกฎหมาย และอยู่เหนือกฎหมาย อันนี้เป็นภยันตรายยิ่งใหญ่ ซึ่งภยันตรายนี้ยังไม่ผ่านพ้นไป ยังข่มขู่ให้เราเห็นได้ว่า ยังจะทำซ้ำ ยังจะทำอีก และยังจะละเมิดอีกได้ เราจึงต้องออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ เว้นเสียแต่ว่าจะทำอย่างที่นายสุเทพว่ามาสาบานตนว่าต่อไปนี้ไม่ทำอีกแล้ว จะยอมรับอำนาจศาลรับธรรมนูญและเคารพรัฐธรรมนูญ
ประการต่อมา การป้องกันนั้นต้องเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าหากใช้วิธีอื่นไม่ได้ จำเป็นต้องทำให้หมดกำลัง ในการที่จะทำภยันตรายนั้น ซึ่งหากไม่มีวิธีอื่นใดที่ทำให้ภยันตรายสิ้นสุดลง มีเหลือวิธีเดียวก็ทำวิธีนั้นได้ เช่น โจรมันมาปล้นเรา ถ้าหากมันมีทางหลบเลี่ยงภยันตรายเป็นอย่างอื่น หรือภยันตรายสิ้นสุดลง เช่นมันขู่ว่าจะมาปล้นเรา เราไปแจ้งตำรวจ อันนี้ทำได้ แต่ถ้าภยันตรายมันใกล้จะถึง ไม่มีทางอื่นแล้ว เรียกตำรวจไม่ทันแล้ว เราเอาไม้ฟาดโจรหรือเอาปืนยิงโจร อันนี้คือการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ภยันตรายที่ไม่ชอบกฎหมายมีอยู่ ภยันตรายอันใกล้จะถึงและไม่มีวิถีทางอื่นที่จะกำจัดมันได้ เวลานี้โดยวิถีทางทางการเมือง เข้าชื่อขอให้ถอดถอนก็แล้ว ดำเนินการอย่างอื่น รวมทั้งร้องเรียน ประท้วงก็แล้ว ไม่ยอมออกมายอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ภยันตรายก็ยังมีอยู่ ภยันตรายก็ใกล้จะถึง เพราะฉะนั้นวิถีทางเดียวก็คือ ริบอำนาจรัฐไว้ในมือของประชาชนเอง เช่น การเรียกร้องให้ข้าราชการ หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และผู้ใหญ่ในบ้านเมืองออกมาประกาศว่า เราจะเคารพรัฐธรรมนูญ และยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แค่นี้รัฐบาลก็เป็นรัฐบาลนอกกฎหมายในสายตาของข้าราชการด้วย
การที่ประชาชนเข้าไปยึดสถานที่ราชการ หากทำไปเพื่อกระตุ้นเตือนจิตสำนึกของข้าราชการ สำนึกที่เกิดจากคำปฏิญาณตนที่ให้ไว้ และสำนึกของการที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่รับใช้ชาติบ้านเมือง ให้เขาเกิดเข้าใจเชื่อได้ว่า เจ้าของอำนาจอธิปไตยคือปวงชนนั้น มาใช้อำนาจอธิปไตยแล้วขอให้เขายอมรับเสียว่า เขาต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และยอมรับศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
อีกประการหนึ่ง ต้องทำโดยสมควรแก่เหตุ คำนึงว่าระหว่างภยันตรายที่มีมามากมายมหาศาลนั้น หากว่าได้กระทำไปแล้วทำให้อำนาจนั้นสิ้นสุดยุติลง แล้วจะสามารถรักษาคุณค่า เราต้องการปกป้องที่สำคัญคือ ชาติ รัฐธรรมนูญไว้ได้ ผลก็คือการกระทำนั้นย่อมเป็นการกระทำที่สมควรแก่เหตุ ถ้าครบสามประการประชาชนทำได้โดยชอบ
นายกิตติศักดิ์กล่าวอีกว่า สภาประชาชนที่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ โดยที่ไม่ได้บัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรไม่ใช่เพิ่งจะเรียกร้องเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น ประเทศโปแลนด์ ตกอยู่ภายใต้การปกครองตามรัฐธรรมนูญที่เรียกว่า ระบอบประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ของพรรคคอมมิวนิสต์หรือพรรคแรงงาน แต่เป็นการใช้อำนาจเผด็จการ ไม่ฟังเสียงประชาชน แล้วเกิดการฉ้อฉล คดโกง คอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวงตลอดเวลา ในที่สุดประชาชนชาวโปแลนด์ทนไม่ไหวลุกขึ้นมาคัดค้าน และจัดตั้งสภาประชาชนขึ้น เรียกว่าสภาโต๊ะกลมที่โปแลนด์เป็นแห่งแรก เมื่อรัฐบาลล้มสภาประชาชนเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่ และทำการปฏิรูปการเมืองโดยมีสภาโต๊ะกลมเป็นผู้นำ
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สภาประชาชนที่เกิดขึ้นในเยอรมันตะวันออก ก่อนที่จะมารวมกับเยอรมันตะวันตก ประชาชนออกมาคัดค้าน เรียกร้อง และยึดสถานที่ราชการทั่วประเทศ ประชาชนเดินไปพร้อมประกาศว่าเราคือประชาชน เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ในที่สุดยึดสถานที่ราชการ หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจทำการไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่เห็นด้วยกับประชาชน ก็หยุดการรับฟังคำสั่งของอำนาจรัฐส่วนกลาง ในที่สุดจัดตั้งสภาประชาชนขึ้น มีสมาชิกทั้งหมด 37 คน ประกอบด้วยตัวแทนอาชีพต่างๆ ให้มีตัวแทนของรัฐบาลเพียงคนเดียว ร่วมกันปฏิรูปการปกครองของรัฐบาลเยอรมันตะวันออก
ผลของการปฏิรูปครั้งนั้นก็คือ การรวมกันระหว่างเยอรมันตะวันออกและเยอรมันตะวันตก มีรัฐธรรมนูญใหม่ตามแบบของเยอรมันตะวันตก โดยสภาผู้แทนราษฎรของพรรคคอมมิวนิสต์ยังคงดำรงอยู่ ยังไม่ได้ออกไป แต่สภาประชาชนตั้งขึ้นเคียงคู่ และสภาประชาชนมีมติก็แจ้งให้ประชาชนทราบ ประชาชนก็มาชุมนุมอย่างมโหฬาร แล้วก็กดดันให้สภาตามกฎหมายต้องยอมรับมตินั้นเอาไปเป็นมติสภาผู้แทนราาฎร มติสุดท้ายคือยุบสภาผู้แทนราษฎร และรวมกันกับเยอรมันตะวันตก กลายเป็นประเทศเดียวกัน
หลังจากนั้นสภาประชาชนในลักษณะเดียวกันก็เกิดขึ้นตามมาในหลายประเทศ เช่น ฮังการี บลูแกเรีย และประเทศต่างๆ เวลาสภาประชาชนเกิดขึ้นนอกจากจะเกิดขึ้นในเมืองหลวงแล้วยังเกิดขึ้นตามภูมิภาคตามจังหวัดต่างๆ ประชาชนก็รวมตัวกันเอง เขารู้ว่าใครที่เห็นแก่บ้านเมือง รวมตัวจัดตั้งกัน และบอกว่าจังหวัด สำนักงานจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยราชการในจังหวัด ต้องทำดังต่อไปนี้เป็นข้อๆ นี่คือเสียงของประชาชน เสียงของเจ้าของประเทศ ปวงมหาประชาชน ผู้ทรงอำนาจอธิปไตย และพวกคุณต้องทำตาม
นายกิตติศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า สภาประชาชนใช้อำนาจปกป้องรัฐธรรมนูญ ปกป้องประโยชน์ของปวงชน มีอำนาจในการรักษาระบบไว้ และขจัดรัฐบาลที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญ แม้จะอ้างว่ารัฐบาลมีขึ้นมาตามรัฐธรรมนูญ แต่ได้ฝ่าฝืนหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ขจัดรัฐบาลนั้นไปได้ และตั้งตนเป็นผู้ทรงอำนาจอธิปไตย แสดงออกด้วยการปฏิรูปการเมืองอย่างทั่วถึง และทำให้ประเทศเปลี่ยนโฉมหน้าไปได้
เราต้องเข้าใจว่าฝ่ายเสื้อแดงกำลังรวมตัวกัน อ้างว่าปกป้องประชาธิปไตย หน้าที่ของเราในขณะนี้ไม่ใช่ทำลายประชาธิปไตย แต่สร้างประชาธิปไตยที่เป็นประชาธิปไตยยิ่งกว่าเดิม สร้างชาติไทยที่เป็นของคนไทยยิ่งกว่าเดิม และทำให้รัฐธรรมนูญของเราเป็นรัฐธรรมนูญที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่ถูกฉ้อฉล ไม่ถูกฉ้อโกง ทำให้ชาติของเราที่ถูกผลักตกลงไปในหุบเหว ตกลงไปในทะเลลึกนั้น ได้รับการกู้คืนกลับมา และประชาชนก็จะมีประเทศที่ประชาชนเป็นใหญ่อย่างแท้จริง เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริง
สำนักงานจังหวัด คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
การจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองโดยใช้หลักรวมอำนาจของประเทศไทย
หลักทั่วไปในการจัดองค์กรของรัฐในรัฐเดี่ยว โดยเฉพาะประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว มีการจัดองค์กรของรัฐในการใช้อำนาจอธิปไตย คือ องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ซึ่งขอบข่ายที่จะศึกษาวิชากฎหมายปกครองในบทนี้ ก็คือ
ดังนั้นการจัดองค์กรของรัฐฝ่ายปกครองโดยใช้หลักรวมอำนาจของประเทศไทยจะกล่าวถึง การจัดองค์กรรัฐฝายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการรวมอำนาจกับการจัดองค์กรของรัฐที่เรียกว่าหน่วยงานอื่นของรัฐ ดังต่อไปนี้
1. การจัดองค์กรรัฐฝายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการรวมอำนาจ
การจัดองค์กรรัฐฝายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการรวมอำนาจ คือ การจัดระเบียบบริหารส่วนกลาง กับการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
1.1 การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
การจัดองค์กรรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองตามหลักการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ คือ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กับพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 แยกอธิบายการจัดองค์กรดังนี้
1.1. 1 การจัดองค์กรในสำนักนายกรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดถึงการจัดระเบียบราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้สำนักนายกรัฐมนตรี คือ มีฐานะเป็นกระทรวงและให้ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกรม ดังนี้
1. นายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาช้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดอนุมัติ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือมีทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ
2. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 1 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ยกเว้นข้าราชการของส่วนราชการซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
3. การปฏิบัติการของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในการปฏิบัติราชการของปลัดสำนายกรัฐมนตรี ให้มีรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการ และจะให้มีผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการด้วยก็ได้
4. ส่วนราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ในส่วนราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม พ.ศ. 2545 แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้แก่
(1) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(2) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
(3) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
(4) สำนักงบประมาณ
(5) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
(6) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
(7) สำนักงานคณะกรรมการข้อราชการพลเรือน
(8) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(9) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น
2) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการอยู่ใต้บังคับบัญชาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
1.1.2 การจัดองค์กรในกระทรวง ทบวง กรม
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดถึง การจัดระเบียบราชการในกระทรวง ทบวง กรม แยกอธิบาย ดังนี้
1. การจัดระเบียบราชการของกระทรวง การจัดระเบียบราชการของกระทรวง นั้นสามารถแยกอธิบายภาพรวมได้ดังนี้
1)ในส่วนราชการของกระทรวง มีดังนี้
(1) สำนักงานรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ให้ส่วนราชการตาม ข้อ ( 2) และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามตาม ข้อ (3) มีฐานะเป็นกรม
2) กระทรวงหนึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้
3) ให้กระทรวงมีปลัดกระทรวง 1 คน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในกระทรวง
(2) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในกระทรวง
(3) เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง
4) ในการปฏิบัติราชการของปลัดกระทรวง ให้มีรองปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการตามที่ปลัดระทรวงมอบหมายก็ได้
5) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง มีเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งข้าราชการเมืองเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการเมือง 1 คน หรือหลายคนเป็นผู้ช่วยสั่งหรือปฏิบัติราชการแทนเลขานุการรัฐมนตรีรัฐมนตรีก็ได้
6) สำนักงานปลัดกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวงและราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะ
2. การจัดระเบียบราชการของกรม นั้นสามารถอธิบายในภาพรวมได้ ดังนี้
1) กรมอาจแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากอง
กรมใดมีความจำเป็นจะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่น นอกจาก ข้อ (1) ข้อ (2) ก็ได้
2) กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ในกรมหนึ่งจะให้มีรองอธิบดีหรือผู้ช่วยอธิบดี หรือมีทั้งรองอธิบดีและผู้ช่วยอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชารองจากอธิบดีและอธิบดีปฏิบัติราชการก็ได้
3) สำนักงานเลขานุการกรม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมและราชการที่มิได้แยกให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดโดยเฉพาะ มีเลขานุการกรมเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและการรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเลขานุการกรม
4) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกองหรือส่วนราชการอื่น นอกจากนั้นให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้นๆ โดยให้มีผู้อำนวยการอง หัวหน้ากอง หรือหัวหน้าส่วนราชการอื่น นอกจากนั้นเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในปฏิบัติราชการ
3. การจัดตั้ง การรวม การโอนหรือการยุบส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม มีดังต่อไปนี้
1) การจัดตั้ง การรวม การโอนหรือการยุบส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
2) การรวมหรือการโอนส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
3) การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
4) การยุบส่วนราชการที่เป็นกระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5) การแบ่งส่วนราชการภายในกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
6) การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในสังกัดคณะกรรมการการอุดมศึกษาของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
1.1.3 คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ นั้นสามารถแยกอธิบายได้ดังนี้
1. ที่มาของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) นายกรัฐมนตรีเป็นประธานและมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง
2. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น ซึ่งรวมถึงโครงสร้างระบบราชการ ระบบงบประมาณ ระบบบุคลากร มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม ค่าตอบแทนและวิธีปฏิบัติราชการ ฯลฯ
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ให้มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ขึ้นเป็นส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อรับผิดชอบในงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
2. การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การจัดองค์กรรัฐฝ่ายบริหารในฐานะฝ่ายปกครองตามหลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ คือ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กับพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนี้
2.1 การจัดองค์กรในจังหวัด อำเภอ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ..ศ. 2534 ให้จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค คือ การจัดระเบียบราชการในจังหวัดกับการจัดระเบียบราชการในอำเภอ ดังนี้
2.1.1การจัดระเบียบราชการบริหารในจังหวัด
การจัดระเบียบราชการบริหารในจังหวัด นั้นสามารถอธิบายในภาพรวมได้ดังนี้
1. ให้รวมท้องที่หลายๆอำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัด 1 คน เป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดและรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ
3. ในจังหวัดหนึ่งจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
4. ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด สังกัดกระทรวงมหาดไทย
5. ในจังหวัดหนึ่งนอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม นั้นในจังหวัดนั้น
6. การแบ่งส่วนราชการจังหวัด มีดังนี้
1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจังหวัด
2) ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
7. ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัด แยกอธิบาย ดังนี้
1) คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วย ผู้ว่าราชการังหวัด เป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัด 1 คน ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บัญชาการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หรือ รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวง ทบวง กรม (เว้นแต่กระทรวงมหาดไทย) ซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดจากระทรวง ทบวง ละ 1 คน เป็นกรรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรรมการจังหวัดและเลขานุการ
2) คณะกรมการจังหวัด ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
2.1.2 การจัดระเบียบราชการในอำเภอ
การจัดระเบียบราชการในอำเภอ นั้นสามารถอธิบายในภาพได้ มีดังนี้
1) ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัด เรียกว่า อำเภอ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคลดังเช่นจังหวัด
2) ให้มีนายอำเภอ 1 คน สังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอและรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
3) ในอำเภอหนึ่งนอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแล้ว ให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัด กระทรวง ทบวง กรม นั้นในอำเภอ
4) ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้นๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาและรับผิดชอบ
(2) ส่วนราชการต่างๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้นๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรม นั้นๆมีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. 2 การจัดองค์กรในตำบล หมู่บ้าน
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 นั้นประกอบด้วยการจัดระเบียบการปกครองตำบลและการจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้านดังนี้
2.2.1 การจัดระเบียบการปกครองตำบล
การจัดระเบียบการปกครองตำบล นั้นสามารถแยกอธิบายดังนี้
1. การจัดตั้งตำบล คือ ท้องที่หลายตำบลอันสมควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันให้จัดตั้งเป็นอำเภอหนึ่ง ซึ่งการจัดตั้งตำบลนั้นเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะพิจารณากำหนดเขต แล้วรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย เมื่อกระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วยก็ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งตำบลโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยมีหลักเกณฑ์ว่าตำบลต้องรวมหมู่บ้านราว 2 หมู่บ้านขึ้นไป
2. การปกครองตำบล มีเจ้าหน้าที่ดังนี้
1) กำนัน ในตำบลหนึ่งมีกำนัน 1 คน มาจากเลือกของผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นด้วยกันมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตตำบลนั้น เช่น มีอำนาจ หน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบล คดีอาญา ตรวจตราดูแลและรักษาสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์
2) แพทย์ประจำตำบล ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่มีความรู้ในวิชาแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ร่วมประชุมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยในตำบลและตรวจตราความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแก่ราษฎรในตำบลนั้น
3) สารวัตรกำนัน ในตำบลหนึ่งให้มีสารวัตรกำนันเป็นผู้ช่วยกำนัน 2 คน โดยกำนันเป็นผู้คัดเลือกด้วยความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด
2.2.2 การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน
การจัดระเบียบการปกครองหมู่บ้าน นั้นสามารถแยกอธิบายดังนี้
1. การจัดตั้งหมู่บ้าน นั้นมีหลักเกณฑ์ ดังนี้คือ บ้านหลายบ้านที่อยู่ในท้องที่หนึ่งซึ่งควรอยู่ในความปกครองอันเดียวกันได้ ให้จัดเป็นหมู่บ้านหนึ่งโดยถือเอาจำนวนราษฎรประมาณ 200 คน หรือจำนวนบ้านไม่ต่ำกว่า 5 บ้าน ถ้าเป็นท้องที่ที่ราษฎรตั้งบ้านเรือนกระจายอยู่ห่างไกลกันถึงแม้ว่าจำนวนจะน้อยก็ตาม
2. การปกครองหมู่บ้าน มีเจ้าหน้าที่ดังนี้
1) ผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านให้มีผู้ใหญ่บ้าน 1 คน ซึ่งได้รับเลือกโดยราษฎรในหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้านมีอำนาจหน้าที่ปกครองราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้านนั้นและมีอำนาจหน้าที่ในทางปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยของราษฎรในหมู่บ้าน
2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้านหนึ่งให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง 2 คน เว้นแต่หมู่บ้านใดจำเป็นต้องมีมากกว่า 2 คน ให้ขออนุมัติกระทรวงมหาดไทย ในหมู่บ้านใดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรให้มีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบก็ให้มีได้ตามจำนวนที่กระทรวงมหาไทยเห็นสมควร
3) คณะกรรมการหมู่บ้าน ในแต่ละหมู่บ้านให้มีคณะกรรมการหมู่บ้านประกอบด้วยดังนี้
(1) ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานโดยตำแหน่ง
(2) ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
(3) ผู้ซึ่งราษฎรเลือกตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีจำนวนตามที่นายอำเภอจะเห็นสมควร แต่ไม่น้อยกว่า 2 คน
คณะกรรมการหมู่บ้านมีหน้าที่เสนอข้อแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับกิจการที่ผู้ใหญ่บ้านจะต้องปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน
3. การจัดองค์กรของรัฐที่เรียกว่าหน่วยงานอื่นของรัฐที่ใช้หลักรวมอำนาจ
การองค์กรของรัฐในหลักการรวมอำนาจที่เรียกว่า หน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่ง หน่วยงานอื่นของรัฐแยกประเภทต่างๆของหน่วยงานของรัฐ ได้ดังนี้
3.1 หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ
หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ คือหน่วยงานของรัฐที่เป็นส่วนราชการ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนี้
3.1.1 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3.1.2 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
3.1.3 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันปราบรามการทุจริต
3.1.4 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
3.15. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ อำนาจหน้าที่และการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
3.2 หน่วยงานที่เป็นหน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ
หน่วยงานที่เป็นหน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วยดังนี้
2.2.1 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญมีหน่วยธุรการของศาลรัฐธรรมนูญที่เป็นอิสระ คือ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญต้องมาจากการเสนอของประธานศาลรัฐธรรมนูญและได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.2 สำนักงานศาลปกครอง
ศาลปกครองมีหน่วยธุรการของศาลที่เป็นอิสระของศาลปกครอง คือ สำนักงานศาลปกครอง โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครอง
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองต้องมาจากการเสนอของประธานศาลปกครองและได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลปกครองมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.3 สำนักงานศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระของศาลยุติธรรม คือ สำนักงานศาลยุติธรรมโดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องมาจากการเสนอของประธานศาลฎีกาและได้รับความเห็นชอบของคณะตุลาการศาลยุติธรรม ตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลปกครองมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ตามกฎหมายบัญญัติ
2.2.4 องค์กรอัยการ
องค์กรอัยการมีหน่วยงานที่เป็นอิสระในการบริหารงานงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติ
หนังสือและเอกสารวารสารอ่านประกอบ
ชาญชัย แสวงศักดิ์ “คำอธิบายกฎหมายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน ,2542
ประยูร กาญจนดุล “ คำบรรยาย กฎหมายปกครอง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,พิมพ์ครั้งที่ 4 ,2538
สำนักงานจังหวัด คือ 在 สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ 的推薦與評價
แฟนเพจเพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. ... ด้วยการแบ่งกลุ่มตามประเด็นการพัฒนา คือ ท่องเที่ยวสร้างสรรค์มูลค่าสูง ,เกษตรและอาหารปลอดภัย ... ... <看更多>