#หุ้นIPO #HENG #สินเชื่อครบวงจร
ธุรกิจสินเชื่อเป็นธุรกิจหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน บริการสินเชื่อที่ถูกกฏหมายและเข้าถึงผู้คน จึงเป็นธุรกิจสำคัญและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคครัวเรือนของไทย โดยเฉพาะในยามวิกฤตแบบนี้
HENG หรือ เฮงลิสซิ่ง ผู้ให้บริการสินเชื่อครบวงจรที่เกิดจากการรวมตัวกันของ 4 จตุรเทพสินเชื่อในภาคเหนือ คือ “กลุ่มทวีเฮง” “กลุ่มพัฒนสิน” “กลุ่มมิตรเอื้ออารีย์” และ “กลุ่มสินปราณี” ที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน และมีประสบการณ์ในธุรกิจมากว่า 20 ปี ทำให้ HENG มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและเข้าถึงความต้องการของลูกค้า
ปัจจุบัน HENG มี 451 สาขา, 7 ศูนย์ประมูลรถ และพันธมิตรเต็นท์รถกว่า 5,100 ราย
HENG วางแผนจะเติบโตกว่า 1 เท่าตัวภายในปี 2566 ไปศึกษาธุรกิจของ HENG กัน
--------------------------
Disclaimer : การ์ตูนตอนนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้ในธุรกิจเท่านั้น ผู้จัดทำมิได้ให้ข้อมูลเรื่องมูลค่าหลักทรัพย์และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนแต่ประการใด ผู้จัดทำมิได้ให้คำแนะนำในการเสนอซื้อหรือขาย หรือส่งเสริมให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งการซื้อขายกับผู้จัดทำ ข้อมูลที่ปรากฏในการ์ตูนนำมาจากงบการเงินและเว็บไซต์ของบริษัทที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนแล้วทั้งสิ้น การลงทุนมีความเสี่ยง ราคาหลักทรัพย์เมื่อซื้อขายในตลาดรองเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของตลาดฯ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คำนวณราคาหลักทรัพย์และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนด้วยตนเองก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
「หุ้น ipo 2566」的推薦目錄:
- 關於หุ้น ipo 2566 在 Mao-Investor Facebook 的最讚貼文
- 關於หุ้น ipo 2566 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於หุ้น ipo 2566 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於หุ้น ipo 2566 在 10 หุ้น IPO ใหญ่สุดในเอเชียที่น่าจับตาในปี 2566 | เศรษฐกิจ ... 的評價
- 關於หุ้น ipo 2566 在 514 views 的評價
- 關於หุ้น ipo 2566 在 More from SET Thailand - Facebook 的評價
- 關於หุ้น ipo 2566 在 โออาร์ เคาะราคา IPO ที่ 18 บาทต่อหุ้น ยอดจองซื้อสูงสุดเป็น ... 的評價
หุ้น ipo 2566 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก CPANEL หุ้น IPO น้องใหม่ ปลุกกระแส Precast Syndrome แก้ Pain Point การก่อสร้าง
CPANEL x ลงทุนแมน
ทุกวิกฤติมักมีโอกาสดี ๆ ซ่อนอยู่เสมอ
แม้วิกฤติโควิด - 19 จะส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่น้อย
นอกจากจะปิดการขายได้ยากขึ้น จากกำลังซื้อที่ชะลอลงแล้ว
ในส่วนของงานก่อสร้างเองก็มีปัญหาไม่แพ้กัน
ทั้งในเรื่องขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง และต้นทุนที่สูงขึ้น
เมื่อตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มตึงตัว บวกกับปัญหาการก่อสร้าง ขาดแคลนแรงงาน
ผู้ประกอบการทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคก่อสร้างจำเป็นต้อง “ปรับตัว” เพื่อให้ธุรกิจมีความเสี่ยงน้อยลงและยังไปต่อได้
จุดนี้เองที่กลายเป็นโอกาสเติบโตของ Precast Concrete ที่จะเข้ามาแทนที่การก่อสร้างแบบเดิม ๆ
ซึ่งในอนาคตอันใกล้เราอาจเห็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Precast Syndrome”
หรือก็คือ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์และผู้รับเหมาก่อสร้าง จะหันมาใช้ Precast Concrete มากขึ้น
เพราะช่วยลดปัญหาในทุกขั้นตอนของงานก่อสร้างโครงการ
ด้วยเหตุนี้ทำให้บริษัท ซีแพนเนล จำกัด (มหาชน) (CPANEL) ผู้นำธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป (Precast Concrete) ด้วยระบบอัตโนมัติ (Fully Automated Precast)
จึงเตรียมระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อสร้างในอนาคต
ธุรกิจ CPANEL จะมีความน่าสนใจใดบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่าปี 2563 โครงการบ้านราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท
มีมูลค่าก่อสร้าง 1.39 แสนล้านบาท คิดเป็น 11% ของมูลค่าธุรกิจก่อสร้างทั้งหมด
โดยโครงการเหล่านี้ มีสัดส่วนการใช้ Precast Concrete สูงถึง 48%
แล้วสงสัยไหมว่า ทำไม Precast Concrete จึงเป็นที่นิยม ?
ถ้าเรามองในแง่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
จะพบว่า การใช้ Precast Concrete สามารถลดต้นทุนแรงงาน 50%
ช่วยประหยัดเวลา และลดขั้นตอนในการก่อสร้าง 30%
ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยต้นทุนก่อสร้างโดยรวมลดลง 15%
เรียกได้ว่าสามารถแก้ Pain Point ของงานก่อสร้างได้ดีทีเดียว
ที่น่าสนใจคือ Precast Concrete ไม่เพียงจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
แต่ยังมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ในการอยู่อาศัยของผู้บริโภคอีกด้วย
เพราะ Precast Concrete สามารถทนแรงแผ่นดินไหวได้มากกว่าผนังอิฐทั่วไป 3 เท่า
สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ และทนไฟไหม้ได้นานกว่า
ที่สำคัญก็คือ ช่วยให้พื้นที่ใช้สอยดูกว้างขึ้น เพราะลดการใช้เสาและคานภายในตัวอาคารได้
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มลูกค้าหลักของ CPANEL สัดส่วน 80-85%
จึงเป็นกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยต่าง ๆ
และสัดส่วน 15-20% รองลงมา เป็นกลุ่มรับเหมา, คลังสินค้า, โรงงานอุตสาหกรรม
แล้ว CPANEL ต่างไปจาก Precast Concrete ทั่วไป อย่างไร ?
ภายใต้แบรนด์ CPANEL มีสินค้าคอนกรีตสำเร็จรูปหลากหลายประเภท
เช่น ผนังคอนกรีตสำเร็จรูป, คานคอนกรีตสำเร็จรูป, บันไดคอนกรีตสำเร็จรูป
ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญของงานก่อสร้างอาคารประเภทต่าง ๆ
สิ่งที่น่าสนใจคือ การควบคุมคุณภาพสินค้าภายใต้การผลิตของตนเอง
โดยมีโรงงานกำลังการผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป 720,000 ตารางเมตรต่อปี
ภายในโรงงานยังมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เสริมความสามารถในการผลิต เช่น
- กระบวนการผลิต ควบคุมโดยหุ่นยนต์และระบบคอมพิวเตอร์
จึงมีคุณภาพสูง ความแม่นยำสูง และยังสามารถปรับไลน์การผลิตตามความต้องการของลูกค้าได้ทันที
- ระบบการผลิต Fully Integrated Software จาก Vollert Anlagenbau GmbH บริษัทสัญชาติเยอรมัน
ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรชั้นนำของโลก
- บริหารงานก่อสร้างด้วยระบบ Building Information Modeling หรือ BIM ช่วยให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพในทุกขั้นตอน
- มีรูปแบบการทำงานที่รวดเร็ว สามารถถอดแบบ และเสนอราคาภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแบบจากลูกค้า
พูดง่าย ๆ ว่า CPANEL กลายเป็นหนึ่งในผู้นำของวงการผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป
ที่มีเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานสากล
แล้วผลประกอบการ CPANEL เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 263.28 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 322.35 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 221.16 ล้านบาท ลดลงจากผลกระทบโควิด - 19
แต่บริษัทก็สามารถปรับตัวรับมือได้ทำให้ 6 เดือนแรกปี 2564
CPANEL มีรายได้รวม 157.28 ล้านบาท โตขึ้น 57.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยสัดส่วน 99.64% มาจากการขายสินค้าคอนกรีตสำเร็จรูปทั้งหมด
มีอัตรากำไรขั้นต้น 37.34% และมีอัตรากำไรสุทธิ 10.67%
นอกจากนี้ ยังมีมูลค่างานในมือ (Backlog) จำนวน 1,156.03 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้ตลอด 3 ปี
(ข้อมูล ณ 30 มิ.ย. 64)
- ปี 2564 จำนวน 228.56 ล้านบาท (เฉพาะครึ่งปีหลัง)
- ปี 2565 จำนวน 525.60 ล้านบาท
- ปี 2566 จำนวน 401.87 ล้านบาท
สะท้อนได้ว่า CPANEL กำลังเป็นผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปที่มีอนาคตสดใสต่อเนื่อง
และยังมีโอกาสที่จะได้รับงานใหม่ ๆ เพิ่มเติม Backlog อีกมาก เมื่อเศรษฐกิจค่อย ๆ ฟื้นตัวจากโควิด -19
ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการ IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ mai ครั้งนี้
ก็เพราะต้องการจะก่อสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ที่มีเทคโนโลยีการผลิตแบบ Fully Automated
เพื่อขยายฐานการผลิต รองรับงานก่อสร้างได้อย่างครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกความต้องการลูกค้า ซึ่งจะมีกำลังการผลิตสูงขึ้นถึงอีก 1 เท่าตัว
ท่ามกลางพัฒนาการของวงการก่อสร้าง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดเวลา
เราคงเห็นธุรกิจคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ Precast Concrete ขยายตัวเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ
แน่นอนว่าหนึ่งธุรกิจที่จะได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ก็คือ CPANEL ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป ที่กำลังจะ IPO เร็ว ๆ นี้ นั่นเอง..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
References
-https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3155-Precast-Construction.aspx
-https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=340070
-เอกสารประชาสัมพันธ์ CPANEL
หุ้น ipo 2566 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ข่าวประชาสัมพันธ์..
“แอสเซทไวส์” ก้าวสู่ปีที่ 17 ทะยานสู่ความสำเร็จ
เคาะขายไอพีโอหุ้นละ 9.82 บาท เตรียมเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย.นี้ ได้ฤกษ์ดีเข้า SET วันที่ 28 เม.ย.นี้
บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (AssetWise) หรือ “ASW” ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยคุณภาพ เพื่อจุดเริ่มต้นของการใช้ชีวิตที่ดี ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” (We Build Happiness) นับเป็นผู้พัฒนาโครงการที่น่าจับตาอย่างมากในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมานี้
โดยที่ในช่วงไตรมาส 1/2564 แม้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด 19 ระลอกใหม่ แต่ ASW ยังคงเดินหน้าการเปิดขายโครงการอย่างต่อเนื่อง บนทำเลศักยภาพที่รองรับการขยายของเมืองและระบบคมนาคมเส้นทางใหม่ บวกรวมกับความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์นักพัฒนารุ่นใหม่ ที่พร้อมมุ่งสู่แผนสร้างศักยภาพของบริษัทฯ ให้แข็งแกร่ง สอดรับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเทคโนโลยีที่รุดหน้าอย่างรวดเร็ว และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ผันแปร
· วิสัยทัศน์นักพัฒนารุ่นใหม่ สู่ความแข็งแกร่งของ ASW
คุณกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า ทิศทางของ ASW ในปี 2564 ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยที่คุณภาพคับแก้วทั้งแนวสูงและแนวราบ เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งมั่นสร้างสรรค์ที่อยู่อาศัยคุณภาพ ตอบโจทย์ความต้องการและไลฟ์สไตล์แห่งยุคได้หลากหลาย พร้อมตั้งเป้าขยายตัวรุกตลาดคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง และยังมีแผนระดมทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ ในอนาคต
· ลุยตลาดอสังหาฯ คนรุ่นใหม่ ตอบทุกโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง
กว่า 16 ปีที่ ASW เติบโตในฐานะผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รุ่นใหม่ที่เข้าใจตลาดเป็นอย่างดี มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยรอบด้าน ภายใต้แนวคิด “ความสุขที่ออกแบบมาเพื่อคุณ” หรือ “We Build Happiness” ผ่านแบรนด์คอนโดมิเนียมหลัก 3 แบรนด์สำคัญ ได้แก่ MODIZ (โมดิซ), ATMOZ (แอทโมซ) และ KAVE (เคฟ)
โดยในปี 2564 ASW ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ และก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง รวมถึงการพัฒนาโครงการบนทำเลที่เจาะกลุ่มตลาดบลูโอเชี่ยน เนื่องจากมีกำลังซื้อที่มีสัญญาณดีต่อเนื่อง เน้นทำเลใกล้มหาวิทยาลัย และเพิ่มฟังก์ชันสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อการอยู่อาศัยที่โดนใจไลฟ์สไตล์หนุ่ม-สาวรุ่นใหม่ อาทิ ห้องดูหนัง, ห้องเล่นเกม, ห้องร้องเพลง, Co-Working Space ที่กว้างขวาง
โดยแบรนด์คอนโดที่โดดเด่นในกลุ่มนี้คือ KAVE (เคฟ) แบรนด์คอนโดมิเนียมใกล้สถานศึกษา (Campus Condo) ที่มีการออกแบบดีไซน์พื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ มาพร้อมพื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เพื่อให้รองรับทุกไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของเด็กรุ่นใหม่
นอกจากนั้น ยังมีแบรนด์ที่เน้นตอบโจทย์วัยทำงานที่ทุกตารางนิ้วเนรมิตขึ้นมาภายใต้คอนเซปต์ “คอนโดรีสอร์ทกลางเมือง” เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะโลดแล่นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดในแต่ละวัน และสามารถคลิกสู่ “โหมดพักผ่อน” (Rest Mode) ได้ทันที ท่ามกลางธรรมชาติอันร่มรื่น เงียบ สงบ และส่วนกลางขนาดใหญ่ บนทำเลศักยภาพ NEW CBD ที่มีความคล่องตัวในการเดินทางสูง สามารถเข้า-ออกได้หลากหลายเส้นทาง อาทิ โครงการแอทโมซ รัชดา – ห้วยขวาง (Atmoz Ratchada – Huaikwang) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มเริ่มสร้างครอบครัวและกลุ่มคนเริ่มทำงานเป็นอย่างดี
· เพิ่มฟังก์ชัน “สุขภาพ” เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนยุคใหม่
หนึ่งในแนวคิดของ ASW คือ “การมีสุขภาพที่ดี คือจุดเริ่มต้นสำคัญของการอยู่อาศัยที่มีความสุข” สอดรับกับปัจจุบันที่ผู้คนต้องเผชิญกับปัญหามลพิษและสถานการณ์โรคระบาด “สุขภาพ” จึงเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรก ๆ ที่ ASW ให้ความใส่ใจในรายละเอียดการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ภายใต้คอนเซปต์ "Health Solution" ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ทำร้ายสุขภาพ ไปจนถึงมอบสิทธิประโยชน์ที่ช่วยสนับสนุนการมีสุขภาพดี ผ่าน 4 หัวใจหลัก ได้แก่
“VIRTUAL HEALTH” การจัดพื้นที่ในโครงการพร้อมเตรียมอุปกรณ์สำหรับการตรวจสุขภาพในเบื้องต้น หรือ Health Station สำหรับลูกบ้านเพื่อติดต่อและรับคำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพ จากแพทย์จากโรงพยาบาลชั้นนำผ่านระบบออนไลน์
"HEALTHY PRIVILEGE" สิทธิพิเศษและบริการด้านสุขภาพที่หลากหลาย คัดสรรมาเพื่อลูกบ้าน ASW Club เช่น ส่วนลดค่ารักษาพยาบาล เรียกรถพยาบาลฟรี ส่วนลดบริการสปา ฯลฯ
"HEALTHY ACTIVITY" กิจกรรมด้านสุขภาพทั้งกายและใจในหลากหลายมิติ ทั้งด้านการกิน การออกกำลังกาย การพักผ่อน รวมถึงการอบรม CPR เพื่อการอยู่อาศัยที่ดีและเป็นการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในโครงการ
"HEALTHY LIVING" สาระน่ารู้ด้านสุขภาพที่สรรหามาเพื่อสมาชิก ASW Club
· มั่นใจก้าวต่อไปของแบรนด์ เติบโตอย่างยั่งยืน
กลุ่มบริษัท ASW มีบริษัทย่อยทั้งหมด 15 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจหลักคือ ธุรกิจพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ทั้งโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทแนวราบ ได้แก่ บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮมและโฮมออฟฟิศ จำนวน 12 บริษัท และบริษัทย่อยอีก 3 บริษัท ที่ประกอบธุรกิจอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้เช่า และธุรกิจรับฝากขายฝากเช่า
ความภาคภูมิใจที่ผ่านมาของ ASW คือการได้รับรางวัล Top 10 Developers จากเวทีใหญ่ระดับเอเชีย BCI ASIA AWARDS 2019 ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและโดดเด่น จาก 3 โครงการเด่น ได้แก่ โครงการแอทโมซ ลาดพร้าว 71, โครงการแอทโมซ ลาดพร้าว 15, โครงการโมดิซ สุขุมวิท 50 โดยทั้ง 3 โครงการเป็นโครงการที่สะท้อนคุณภาพและการใส่ใจในรายละเอียด และยังคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทั้งหมดจึงเป็นคุณภาพของการอยู่อาศัยที่ ASW จัดเตรียมไว้ให้ผู้ซื้อ ตอกย้ำแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่เพื่อคนรุ่นใหม่ที่ต้องการมีสังคมที่ดีในทุก ๆ วัน
และล่าสุด บมจ. แอสเซทไวส์ (ASW) เคาะขายไอพีโอหุ้นละ 9.82 บาท เตรียมเปิดให้จองซื้อระหว่างวันที่ 19-21 เม.ย. นี้ ได้ฤกษ์ดีเข้า SET วันที่ 28 เม.ย.นี้ ที่ปรึกษาทางการเงิน และแกนนำอันเดอร์ไรท์ฯ มั่นใจนักลงทุนให้การตอบรับคึกคัก ชูจุดเด่นเป็นผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯครบเครื่อง แบ็กล็อกรอโอนกว่า 7.8 พันล้านบาท ความสามารถการทำกำไรสูง Gross Profit Margin สูงกว่า 40% บิ๊กบอส “กรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์” ปักหมุดปี 64 เปิด 6 โปรเจคใหม่ มูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท หนุนผลงานเติบโตโดดเด่น
นางยอดฤดี สันตติกุล รองกรรมการผู้อำนวยการ หัวหน้าสายงานตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญของบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) (ASW) เปิดเผยว่า ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 206 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1.00 บาท ในราคาหุ้นละ 9.82 บาท คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 8.54 เท่า (Post-IPO Dilution) ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ โดยจะเปิดให้จองซื้อหุ้นระหว่างวันที่ 19 – 21 เมษายน นี้ และคาดว่าสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 28 เมษายน 2564 โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายว่า "ASW" เข้าเทรดในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
โดยมีผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายอีก 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
"การกำหนดราคาไอพีโอที่ 9.82 บาท/หุ้น คิดเป็น PE ที่ 8.5 เท่า คำนวณจากผลประกอบการปี 2563 เทียบกับ P/E ของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ 11 เท่า คิดเป็นส่วนลดให้กับนักลงทุนประมาณ 23% ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐาน ซึ่ง ASW เป็นหุ้นที่น่าลงทุนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลังจากที่โรดโชว์ไปแล้ว นักลงทุนมีความเข้าใจธุรกิจและทราบถึงแนวโน้มการดำเนินงานในอนาคต ซึ่งมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ทำให้ได้รับความสนใจอย่างคึกคัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักลงทุนสถาบันซึ่งได้ bookbuild เกินยอดที่จัดสรรไปประมาณ 6 เท่า" นางยอดฤดีกล่าว
นางศิริพร เหล่ารัตนกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ที่ปรึกษา เอเซีย พลัส จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.แอสเซทไวส์ (ASW) เป็นบริษัทที่มีความสามารถในการพัฒนาโครงการที่ตรงความต้องการลูกค้า มีความโดดเด่นในด้านทำเลที่ตั้ง มีแบรนด์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ขณะที่ความสามารถในการทำกำไรสูง เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ปีที่ผ่านมา อยู่ในระดับสูงกว่า 40% จากการบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมายาวนาน
"เชื่อมั่นว่า ASW จะเป็นหุ้นที่สามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ลงทุน เนื่องจากมีการเติบโตต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นปีที่แล้ว มีแบ็กล็อกรอโอนกว่า 7,800 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปีนี้ ไปจนถึงปี 2566”
นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แอสเซทไวส์ (ASW) กล่าวว่า บริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ไปใช้ในการพัฒนาโครงการ ชำระคืนเงินกู้สถาบันการเงิน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทฯ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการเปิดตัวโครงการใหม่ และการซื้อที่ดินเพื่อรองรับแผนการเปิดโครงการใหม่เพิ่มเติมในอนาคต โดยในปีนี้ เตรียมเปิด 6 โครงการใหม่ มูลค่า 10,850 ล้านบาท
“หลังการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้สถานะทางการเงินของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ต้นทุนทางการเงินลดลง ยกระดับชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับประเทศ เพิ่มโอกาสการเติบโตในอนาคต และมั่นใจว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนในระยะยาวอย่างต่อเนื่องได้” นายกรมเชษฐ์ กล่าวในที่สุด
อนึ่ง ASW มีโครงการในมือทั้งหมด 33 โครงการ มูลค่า 30,420 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแล้วเสร็จ 25 โครงการมูลค่า 19,043 ล้านบาท, โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างและเปิดขาย 8 โครงการ มูลค่า 11,377 ล้านบาท และ 11 โครงการ มูลค่ารวม 21,202 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการในอนาคต ที่จะเปิดขายและพัฒนาในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า
สามารถดูรายละเอียดบริษัทเพิ่มเติมได้ที่
https://market.sec.or.th/public/ipos/IPOSEQ01.aspx?TransID=298870
หรือดูรายละเอียดโครงการต่าง ๆ และติดตามข่าวสารของ AssetWise ได้ที่
เว็บไซต์ : www.assetwise.co.th
เฟซบุ๊ก : https://www.facebook.com/AssetWiseThailand
ไลน์ : @assetwise (https://lin.ee/7PPfGRN)
ยูทูบ : www.youtube.com/AssetwiseChannel
อินสตาแกรม : www.instagram.com/assetwisethailand
หุ้น ipo 2566 在 514 views 的推薦與評價

รู้ทันก่อนลงทุนหุ้น IPO | EP.25/2566 SINO :: บริษัท ไซโน โลจิสติกส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณนันท์มนัส วิทยศักดิ์พันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซโน โลจิสติกส์ ... ... <看更多>
หุ้น ipo 2566 在 More from SET Thailand - Facebook 的推薦與評價
รู้ทันก่อนลงทุน หุ้น IPO | EP.20/ 2566 KCG :: บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ลักษณะธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค... ... <看更多>
หุ้น ipo 2566 在 10 หุ้น IPO ใหญ่สุดในเอเชียที่น่าจับตาในปี 2566 | เศรษฐกิจ ... 的推薦與評價
สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ขณะที่ทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) อาจยังห่างไกล แต่บริษัทในเอเชียอย่างน้อย 10 แห่งกำลังดำเนินการ ... ... <看更多>