#เล็กน้อยมหาศาล
.
ในช่วงที่สับสนอลหม่าน มองไปทางไหนก็มีความเครียด มีแต่ปัญหา
แต่เราก็ต้องเป็นเสาหลักให้ลูกให้ได้
หมอคิดถึงหนังเรื่อง Life is beautiful
ซึ่งเป็นหนังที่หมอชอบมากๆอีกเรื่องหนึ่ง
สถานการณ์ตอนนี้
ลูกของเราจะจดจำชีวิตในช่วงนี้ว่าอย่างไร
ขึ้นกับพ่อแม่ว่าตอบสนองต่อปัญหาอย่างไร
เหมือนที่โจชัว แม้จะถูกจับไปที่ค่ายกักกันชาวยิว
แต่เพราะพ่อทำให้จิตใจของโจชัวไม่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงโหดร้ายในครั้งนั้น
.
หมอไม่รู้จะช่วยทุกคนได้อย่างไร
แต่หมอรู้ว่าสถานการณ์ตอนนี้
ไม่ได้กระทบแค่เรื่องงาน เศรษฐกิจ
แต่คนที่รับผลไปเต็มๆคือเด็กน้อยที่บ้านของเรา
เฉพาะการเสียโอกาสในการเติบโต ในการพัฒนาอย่างที่เค้าควรจะเป็น มันก็ประเมินค่าไม่ได้
เราที่เป็นพ่อแม่...ทำได้แต่เพียง ตั้งสติ แล้วเรียงลำดับความสำคัญ แล้วหาปมแรกของเชือกให้ได้ก่อน
.
อยากจะชวนแม่ๆมาลองอ่าน
และใช้วิธีพัฒนาตัวเองที่หมอได้ไปอ่านหนังสือมาค่ะ
ถ้าบ้านไหนกำลังเครียด และรู้สึกว่า
ความเครียดของเรา บวกกับสถานการณ์ ทำให้ลูกถดถอย
เหมาะเลยค่ะ
.
เดือนที่ผ่านมา
หมออ่านหนังสือ 2 เล่ม คือเรื่อง Atomic habit โดย Jame Clear
และเรื่อง การจดบันทึกแบบ Bullet journal โดย Ryder Carroll
และมีอีก 1 เล่มที่อ่านไปก่อนหน้านี้ คือ The power of output โดย ชิออน คาบาซาวะ
.
หมอพบว่า 3 เล่มนี้ มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก
และสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตได้ดีมากโดยเฉพาะในมุมของคนเป็นแม่นะคะ
.
หัวใจของหนังสือทั้ง 3 เล่ม คือ
#การเปลี่ยนแปลงใดใดล้วนเริ่มต้นจากการกระทำเล็กๆ
อย่างที่เรารู้กัน อะตอม เป็นหน่วยที่เล็กของสสาร เพียงแค่การเปลี่ยนแปลงที่เล็กเหมือนอะตอม
แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ ก็ส่งผลที่ยิ่งใหญ่ได้
1ยกกำลัง 365 = 1 แต่ 1.01 ยกกำลัง 365 = 37.78
ถ้าลงมือทำในสิ่งเล็กๆติดต่อกันทุกวัน เมื่อครบ 1 ปี
เราจะพัฒนามากกว่าจุดตั้งต้น 37 เท่า
เรื่องการพัฒนาความเป็นพ่อแม่ของเราก็เช่นกัน
.
ในหนังสือเรื่อง The power of output
จะมาตอบคำถามเราที่ว่า การหาความรู้เป็นเรื่องดี เหมือนการใส่ input ดีๆให้กับตัวเอง
แต่การใส่แต่ input โดยที่ไม่เคยมี output เลย
ก็ไม่เคยเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ดังนั้นจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนแนะนำคือ input/output = 30/70
นั่นคือ ความรู้ก็สำคัญ แต่การเอาความรู้มาปฏิบัติจะทำให้เกิดวงจรทักษะที่สมบูรณ์
เพราะในขณะที่เราลงมือทำ เราจะมองเห็นอุปสรรค และแก้ปัญหา เมื่อทำให้ครั้งถัดๆไปก็จะทำได้ดีขึ้น
.
และสิ่งที่หนังสือ 3 เล่มนี้ เขียนเหมือนกัน คือ
#ให้ลงมือเขียนสิ่งที่อยากทำหรือต้องทำลงในกระดาษ
ความคิดที่ล่องลอย เมื่อเขียนลงไป มันจับต้องได้
และการลงมือเขียน เหมือนเป็นพันธะสัญญากับตัวเอง
❤ลองดูค่ะ มันได้ผลจริงๆนะ❤
.
แล้วเกี่ยวอะไรกับการเลี้ยงลูก
เกี่ยวแน่นอน ถ้าหนึ่งใน passion ของเรา
คือการเลี้ยงลูก
เพราะฉะนั้น ทักษะการเลี้ยงลูกก็เป็นทักษะอันดับต้นๆที่เราต้องพัฒนาตัวเองทุกๆวัน
แล้วสิ่งที่เราพัฒนาตัวเราเองนั้น
จะเป็น spill over effect ไปยังลูกแน่นอน
💟💟💟💟💟💟💟💟
หมอย่อยขั้นตอนดังนี้ค่ะ
👉1.เขียนความคิดในกระดาษ
ลองให้เวลากับตัวเอง แล้วเขียนบรรยายออกมา
ว่าเป้าหมายในการเลี้ยงลูกของเรา
ณ ปัจจุบัน คืออะไร (แน่นอนเป้าหมายระยะสั้น กลาง เปลี่ยนแปลงได้เสมอ)
ถ้าคิดยาก เอาทีละเดือน เดือนละ 1 เรื่องที่เราอยากพัฒนาก็ได้ค่ะ
บรรยายให้มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม วัดผลได้
เช่น เดือนนี้ อยากให้ลูกเป็นคนที่รับมือกับอุปสรรคต่างๆได้ดี ดังนั้น เมื่อเรียนออนไลน์แล้วเกิดปัญหา
สามารถคิดแก้ไขด้วยตัวเองได้เหมาะสมกับอายุ หรือ ควบคุมสติตัวเองได้เมื่อเกิดปัญหา ไม่โทรไปร้องไห้ตลอดเวลา etc.
หรือ เดือนนี้ อยากให้ลูกสนุกกับการอ่านหนังสือด้วยกันให้ได้ (สมมติบ้านที่เพิ่งเข้าสู่วงการอ่านนิทาน)
👉2. ใส่ input ที่จำเป็นให้กับตัวเอง เช่น อยากให้ลูกรับมือกับปัญหาได้ดี มีบทความดีๆเขียนถึง?
หรือ อยากให้ลูกสนุกกับการอ่าน เราเลือกหนังสือยังไงดี หรือหนังสือนิทานแบบไหนที่ลูกน่าจะชอบ เป็นต้น
ที่เราจำเป็นต้องใส่ input ในเรื่องที่เราอยากพัฒนา เป็นเพราะเมื่อสมองของเรามีความรู้ มีมุมมองต่อเรื่องนั้นๆกว้างมากขึ้น ก็จะสามารถวิเคราะห์ ประมวลเมื่อเกิดปัญหาและอุปสรรคได้ดีกว่า....และอย่างที่บอก อย่าเสียเวลาไปกับ input มากเกินไป เอาแค่หลักการ ถ้าใครคิดว่าตัวเองมีความรู้ในเรื่องนั้นๆอยู่แล้ว ข้ามข้อนี้ไปเลย
👉3. เขียนลงกระดาษว่าตัวเราเอง จะมีการปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ลูกเกิดการพัฒนาทักษะที่เราต้องการในข้อ 1
ซึ่งพฤติกรรมใดๆ
ที่เราต้องการให้เกิดขึ้น มีหลักการ 4 ข้อ
❤#ทำให้เห็นได้ชัดเจน อยากให้อ่านหนังสือนิทานต้องเตรียมนิทานไว้ที่หยิบง่าย
อยากให้ทำการบ้าน ตารางงานชัดเจน อุปกรณ์ สถานที่ต้องพร้อม
อยากให้ช่วยงานบ้าน คำสั่งต้องชัดเจน อุปกรณ์เข้าถึงได้ เป็นต้น
❤#ทำให้น่าดึงดูดใจ....ในมุมของแม่ เป็นเรื่องที่น่าท้าทาย น่าทดลอง ว่ามันจะได้ผลมั้ย ในมุมเด็ก ความสนุก ความสุข ที่มาพร้อมกับการทำ เป็นการบ้านที่คุณแม่ต้องไปคิด เพื่อให้เกิดการกระทำนั้น
❤#ทำให้เป็นเรื่องง่าย...พัฒนาแค่เพียงนิดเดียว แม่ก็มองเห็นแล้ว รับรู้ได้ ชื่นชมแล้ว ไม่ได้ยากอะไรเลย
❤#น่าพึงพอใจ.....เมื่อทำสิ่งนั้นดีขึ้น มันดีกับชีวิตอย่างไร ที่แน่ๆแม่มีความสุข แม่ไม่ดุ
เช่น พัฒนาเรื่องความรับผิดชอบในการส่งงานของลูกสาววัยประถม 2
(โปรดจำไว้ว่าเด็กแต่ละวัย แม้เป็นปัญหาเดียวกัน แต่เทคนิคจะไม่เหมือนกัน นี่เป็นเหตุผลว่าเราต้องหา input เพื่อให้ตัวเองเข้าใจเสียก่อน)
□ สร้างแรงจูงใจ หากสามารถทำงานเสร็จเร็ว จะมีเวลาวิ่งเล่นด้วยกันมากขึ้น
□ สอนให้ทำ to do list และได้ขีดฆ่างานที่ตัวเองทำเสร็จแล้ว เกิดความภูมิใจ
□ เมื่อลูกทำได้ ต้องชื่นชม ให้แรงเสริมทางบวก
เป็นต้น
👉4. วางแผนเสร็จแล้ว ก็เป็น habit tracking รายวัน เราอาจทำให้ตัวเราเองเห็นชัดๆ หรือจะทำเป็นสมุดบันทึก แล้วแต่ที่ตัวเองสะดวก
เช่น
– บันทึกว่าสามารถมองเห็นและชื่นชมการพัฒนาของลูกได้ วันนี้นั่งเรียนได้ทั้งคาบโดยไม่วิ่งจากจอเลย วันนี้ตอบคำถามครูได้ วันนี้ยกมือตอบคุณครูด้วย เป็นต้น
- บันทึกว่าอ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างสนุกสนานได้อย่างน้อย 30 นาที ไม่ว่าจะเกิดอะไรก็ตาม (เดินหนี แย่งไปอม พูดแทรก ก็ไม่หยุดอ่าน และไม่หงุดหงิด)
- บันทึกว่า วันนี้เรากดดันเรื่องการกินอาหารของลูกลดลง
** สามารถติดตามพฤติกรรมที่เราสนใจได้ทุกอย่าง แล้วแต่เราจะ design**
ข้อควรจำ ตอนนี้ คนที่ต้องเปลี่ยนแปลงหลักคือตัวเราเอง แต่เราเฝ้ามองผลที่จะเกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย ผ่านการพัฒนาทักษะที่เราต้องการของลูก อย่าลืมว่า เราต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนั้น เราต้องการแค่วันละ +0.1 วันไหนได้มากกว่านั้นคือกำไร ในทางกลับกัน ถ้าวันนี้ขาดทุน พรุ่งนี้ก็เริ่มใหม่ได้เสมอ
เดินไปข้างหน้า ช้าหรือหยุดไม่เป็นไร
ขออย่างเดียว อย่าถอยหลัง
แล้วเราจะพบว่า ไม่ทันรู้ตัว เราก็มาไกลกว่าจุดตั้งต้นมากทีเดียว
...
หมอแพม
อุปกรณ์ output คือ 在 แฟนคลับ Omron PLC - Facebook 的推薦與評價
ก่อนเข้า Input Unit….. และเราสามารถแบ่งอุปกรณ์ Input ออกเป็น 2แบบกว้างๆ ตามลักษณะของสัญญาณ คือ Digital Input Device และ Analog Input Device. 3. Output Unit : ... ... <看更多>
อุปกรณ์ output คือ 在 EP.2 ทำความรู้จักกับอุปกรณ์ Input และ Output เบื้องต้น - YouTube 的推薦與評價
EP.2 ทำความรู้จักกับ อุปกรณ์ Input และ Output เบื้องต้น. 28K views · 1 year ago ...more ... รีเลย์ คือ อะไร - การใช้งานและหน้าที่การทำงาน. ... <看更多>