'คาโบนาร่าที่แท้จริง' ต้องไม่ใส่ครีม!?
หลายๆคนคงเป็นเหมือผม ที่ชอบกินคาโบนาร่าแบบที่มีแค่ 'ไข่ไก่' กับ 'ชีส' เพราะสูตรต้นตำรับจากอิตาลีจริงๆก็มีแค่นั้น
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้แหละว่า ชีสมันแพง 555 หลายๆคนเวลาทำก็เลยประยุกต์โดยการใช้ Dairy แบบอื่นทดแทน เช่น ครีม นม เนย ฯลฯ จนมาถึงปัจจุบันมันก็มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ชอบกินคาโบนาร่าที่มี 'ครีม' เป็นส่วนประกอบ
แต่ #ทำอาหารบ้านบูม วันนี้ เราจะมาเรียนรู้การทำ 'พาสต้าคาโบนาร่า' แบบของแท้ จากอิตาลีกัน
คาโบนาร่าแบบนี้ ในไทยถือว่าเป็นเมนูที่หากินยากหน่อย เพราะชีสที่ใช้ จะต้องเป็น 'Pecorino Romano' ซึ่งเป็นชีสที่ทำจากนมแกะ กิโลนึงขายกันสองพัน
และหมูที่ใช้ จะเป็นเบคอนก็ไม่ได้ด้วย แต่ต้องใช้ 'Guanciale' หรือแก้มหมูหมัก เป็นเนื้อสัตว์เพียงอย่างเดียวในนั้น ซึ่งก็แพง แล้วหายากอีก
ทำให้คาโบนาร่าดีๆ ขายจานละ 300-400 นี่ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย
ซึ่งนั่นแหละ คือเรื่องที่เราจะมาเรียนกันในวันนี้!
แล้วหลังจากที่รู้แล้วว่า ต้นฉบับเค้าทำมายังไง เราจะเรียนรู้วิธีทำ 'Carbonara สูตรประยุกต์' กันด้วย หลายๆคนจะได้เอาไปพลิกแพลงกันต่อได้ จนกลายเป็นคาโบนาร่าแบบที่เราถูกใจที่สุดนั่นแหละ
ALL HAIL CABONARA!
**ขอขอบคุณเนย Anchor และชีส Mainland ที่สนับสนุนคลิปนี้มากๆ นะครับ**
สามารถหาซื้อได้แล้วที่ Lotus's, Big-C, Tops, Makro, Foodland, Gourmet Market และ Villa Market ครับ
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅成波之路 my ways to get fat,也在其Youtube影片中提到,#Anchor #芝士片 #車打芝士 #較低脂 身為一個文青?,除咗試芝士畀你睇, 仲有關於紐西蘭同牛嘅小知識,等你學多啲嘢, 順便見識下我嘅畫作,嘻嘻! Sponsored by Anchor Dairy HK 【Facebook】http://www.facebook.com/mywaysto...
「anchor dairy」的推薦目錄:
- 關於anchor dairy 在 Facebook 的精選貼文
- 關於anchor dairy 在 Resepi Mutiara HATI Facebook 的精選貼文
- 關於anchor dairy 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於anchor dairy 在 成波之路 my ways to get fat Youtube 的最佳貼文
- 關於anchor dairy 在 Anchor Dairy HK - YouTube 的評價
- 關於anchor dairy 在 Anchor Dairy HK - YouTube 的評價
- 關於anchor dairy 在 Anchor Dairy US - Home | Facebook 的評價
- 關於anchor dairy 在 紅豆燒餅| Anchor Dairy HK - Pinterest 的評價
anchor dairy 在 Resepi Mutiara HATI Facebook 的精選貼文
RESEPI TEMPTATION RASPBERRY CAKE 8"
⠀
Bahan2
⠀
Biskut klasik:
5 biji telur
150gm gula
150gm tepung.
Campur semua bahan. Uli sampai jadi doh. Ratakan dalam loyang dan bakar
⠀
Kek Span Coklat:
30gm koko
200gm gula
100ml air
130ml minyak masak
5 biji telur
200gm tepung
0.5 sk soda
0.5 sk garam
0.5 sk serbuk penaik.
Campur semua bahan kacau sebati guna whisk / senduk dan bakar.
Cream Cheese
500ml Dairy Whipping Cream (anchor)
500ml mascarpone cheese
3-5 sb gula aising
Pukul WC dan gula aising hingga bertanduk. Dalam mangkuk lain pukul mascarpone cheese manja2. Kemudian satukan adunan. Kaup balikkan hingga sebati.
⠀
Respberry Cheese
70gm cream cheese
100gm puri respberry.
Kacau sebati sahaja
⠀
Krim Ganache:
200gm Dark Coklat
200gm Dairy Whipping Cream (anchor)
Double boil dan kacau sebati.
⠀
Lemon Curd:
3 kuning telur,
90ml jus lemon
90gm mentega
10gm kulit lemon
125gm gula
5gm tepung jagung
50gm blueberry - belah 2 - untuk tabur
Sedikit garam.
Campur semua bahan kecuali blueberry dan kacau sebati atas api kecil hingga pekat
Berry Kompot
350-400gm raspberi atau strawberi,
70 gm gula
70 gm air
10 gm tepung jagung
10 gm agar2
Campur semua bahan. Dan masak higga mendidih
Untuk tabur dan hiasan
50 gm kacang pistachio - di cincang halus
blueberry dan raspberry
Nak assemble tengok gambar.. x larat nak taip panjang2 sebab banyak lapisan
Dari lapisan bawah
Kek coklat - sapu bancuhan respberry cheese
Lapisan cream cheese
Tabur kacang pistachio
Lapisan ganache
Lapisan barry kompot
Lapisan cream cheese
Kek coklat - sapu bancuhan respberry cheese
Lapisan lemon curd - tabur blueberry
Lapisan biskut
Lapisan cream cheese
Kek coklat - sapu bancuhan respberry cheese
Coated dengan lapisan cream cheese
Lapisan coklat ganache
Tabur respberry dan bluberry
Kredit: fauzi karim
anchor dairy 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ? /โดย ลงทุนแมน
ซีรีส์บทความ “Branding the Nation”
หากพูดถึงนิวซีแลนด์ สัตว์เลี้ยงที่คนทั่วโลกนึกถึง ก็คงจะเป็น “แกะ”
เพราะประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรแกะมากถึง 27.3 ล้านตัว
คิดเป็นเกือบ 6 เท่า ของประชากรคนที่มีอยู่ 5 ล้านคน
แต่นิวซีแลนด์ไม่ได้มีแค่แกะเท่านั้นที่มีจำนวนมากกว่าคน
เพราะปศุสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีมากกว่าคนก็คือ “โคนม”
นิวซีแลนด์มีวัวอยู่ราว 6.1 ล้านตัว ผลิตนมส่งออกปีละ 1.5 ล้านตัน
จนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกนมมากที่สุดในโลก มูลค่าปีละ 200,000 ล้านบาท
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของการส่งออกนมทั่วทั้งโลก
ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ยังขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ
และมีการสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม ให้สามารถตอบโจทย์กับลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นนม Anlene ที่เน้นในเรื่องของการบำรุงกระดูก
หรือนม Anmum ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมลูกน้อย
อะไรที่ทำให้ประเทศหมู่เกาะโดดเดี่ยว ที่อยู่ห่างไกลจากประเทศอื่นมากที่สุด
ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นมระดับโลก ?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1649
Abel Tasman นักสำรวจชาวดัตช์ได้ล่องเรือจากเกาะชวามาค้นพบเกาะแห่งหนึ่งโดยบังเอิญ
แต่ในตอนนั้นเขาถูกต่อต้าน และคุกคามโดยชาวพื้นเมืองบนเกาะ
ทำให้เขาต้องรีบถอยกองเรือออกมา โดยแทบไม่ได้สำรวจอะไรบนเกาะแห่งนี้เลย
Tasman ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “New Zealand”
ตามชื่อแคว้น Zeeland ทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์
ความลึกลับของนิวซีแลนด์คงอยู่ต่อมาจนถึงปี 1769 เมื่อกัปตันชาวอังกฤษ James Cook
ได้ล่องเรือมาสำรวจดินแดนแห่งนี้อย่างละเอียด พบว่าดินแดนนิวซีแลนด์มีเกาะใหญ่หลัก ๆ
อยู่ 2 เกาะคือ เกาะเหนือและเกาะใต้
ด้วยภูมิอากาศอบอุ่น และมีฝนตกตลอดทั้งปีคล้ายกับเกาะอังกฤษ จึงเริ่มมีชาวอังกฤษ
และชาวยุโรปอื่น ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนใหญ่เป็นนักเดินเรือ เป็นพ่อค้า และเป็นเกษตรกร
แต่ดินแดนแห่งนี้มีชาวพื้นเมืองอยู่แล้ว คือ “ชาวเมารี”
เมื่อชาวยุโรปอพยพมาอยู่มากเข้า ก็เริ่มมีปัญหาจนนำมาสู่ความขัดแย้งหลายครั้ง
ทั้งระหว่างชาวเมารีกับชาวยุโรป และระหว่างชาวเมารีด้วยกันเองที่ต้องการซื้อปืนจากชาวยุโรปเพื่อมาทำสงครามระหว่างเผ่า จนนำมาสู่การเสียชีวิตของชาวเมารีหลายหมื่นคน
จนในปี 1840 อังกฤษก็ได้เชิญหัวหน้าเผ่าชาวเมารีกว่า 500 เผ่า มาทำข้อตกลงร่วมกัน
ด้วยการยอมรับให้ดินแดนนิวซีแลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยชาวเมารีจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินของตนเอง และได้รับสิทธิ์อื่น ๆ เช่นเดียวกับชาวอังกฤษทุกประการ
ข้อตกลงนี้เรียกว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi)
ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของนิวซีแลนด์ ในการเป็นอาณานิคมอังกฤษอย่างเป็นทางการ..
เจ้าอาณานิคมได้เข้ามาวางรากฐานระบบต่าง ๆ ให้กับนิวซีแลนด์
ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การปกครอง และศาสนา
คณะมิชชันนารีชาวอังกฤษได้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแผ่ให้กับชาวเมารี
และก็เป็นคณะมิชชันนารีนี่เอง ที่นำแกะและวัวพันธุ์ชอร์ตฮอร์น เข้ามาสู่นิวซีแลนด์ และเริ่มส่งเสริมให้มีการทำฟาร์มเลี้ยงวัวอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษ 1840s
นิวซีแลนด์มีฝนตกตลอดทั้งปี และมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยเฉพาะที่ราบไวกาโตบนเกาะเหนือ และที่ราบแคนเทอร์เบอรี, ที่ราบโอตาโกบนเกาะใต้
บริเวณเหล่านี้ ค่อย ๆ เติบโตกลายเป็นเขตเลี้ยงวัวที่สำคัญ ที่มีการผลิตทั้งนม เนย ชีส ซึ่งในช่วงแรกก็มีไว้สำหรับบริโภคภายในประเทศ
แต่เมื่อมีการพัฒนาระบบตู้เย็นในช่วงทศวรรษ 1880s นิวซีแลนด์ก็เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์นม
ไปยังดินแดนอื่น ๆ และมีการตั้งโรงงานเนยแห่งแรก คือ “Anchor” ในปี 1886
ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในแบรนด์นม และเนยคุณภาพสูงที่คนทั้งโลกรู้จัก
ความอุดมสมบูรณ์ของนิวซีแลนด์ ดึงดูดชาวยุโรปให้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
ผู้คนเหล่านี้ก็นำองค์ความรู้และเครื่องจักรในยุคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเครื่องรีดนมวัว
ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มจำนวนวัวที่เลี้ยงได้มากขึ้น ปริมาณผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อได้เปรียบของการทำฟาร์มโคนมในนิวซีแลนด์ คือการมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ทำให้มีอาหารเพียงพอจนสามารถเลี้ยงวัวในระบบฟาร์มเปิด ที่ให้วัวเดินหาอาหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยให้วัวมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมสร้างน้ำนมคุณภาพเยี่ยม
แต่ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์สามารถโดดเด่นขึ้นมาในระดับโลก เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
ประการที่ 1 ระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง
ระบบสหกรณ์ (Cooperative) เป็นอีกหนึ่งมรดกตกทอดจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อผู้ประกอบการรายย่อย และเกษตรกรได้รวมตัวกันก่อตั้งสหกรณ์ เพื่อต่อสู้กับเหล่านายทุนเจ้าของโรงงาน
สหกรณ์จะมีการระดมทุนจากสมาชิกที่มีอาชีพเดียวกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกที่ขาดแคลนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยถูก และให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกที่เป็นผู้ฝากเงิน
สหกรณ์ยังให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ จัดหาวัตถุดิบ จัดหาตลาด กำหนดราคาสินค้า
ไปจนถึงการนำเงินทุนมาลงทุนตั้งโรงงานผลิต และผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยทรัพย์สินของสหกรณ์จะถือเป็นของส่วนรวม และสมาชิกทุกคนจะถือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน
สหกรณ์แห่งแรกของนิวซีแลนด์ คือ Otago Cooperative Cheese Co. ก่อตั้งในปี 1871
เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมในแถบที่ราบโอตาโกในเกาะใต้
เพื่อตั้งโรงงานผลิตชีส เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะถือหุ้นส่วนตามสัดส่วนผลผลิตนมที่ส่งให้กับสหกรณ์ และสมาชิกก็จะได้เงินปันผล หากสหกรณ์มีกำไร
ด้วยความที่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นิวซีแลนด์เป็นประเทศใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมากนัก ทำให้ไม่มีเจ้าของโรงงาน หรือชนชั้นนายทุนมาขัดขวาง
ระบบสหกรณ์จึงเติบโต และเจริญก้าวหน้าในนิวซีแลนด์ได้ดีกว่าหลายประเทศในยุโรป
สมาชิกทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจของสหกรณ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ใช้หลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ สมาชิก 1 คน มีสิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกัน ระบบสหกรณ์จึงค่อย ๆ หยั่งรากประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงในสังคมนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ยุคนั้น
และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index)
อันดับ Top 5 ของโลกในปัจจุบัน..
การรวมกลุ่มในลักษณะสหกรณ์ ช่วยทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับนายทุน มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาสินค้า ทิศทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
และเกษตรกรยังได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ทั้งผลตอบแทนจากการขายนมให้แก่สหกรณ์ และผลตอบแทนในรูปปันผลจากกำไรของสหกรณ์
ซึ่งในปัจจุบัน สหกรณ์ถือเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 30 แห่ง สร้างรายได้ต่อปีคิดเป็นสัดส่วนถึง 17.5% ของ GDP ประเทศ
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ Fonterra Co-operative Group Limited
ซึ่งเกิดจากการควบรวมสหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งทั่วประเทศในปี 2001
Fonterra Co-operative Group Limited ยังจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวซีแลนด์อีกด้วย และมีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 140,000 ล้านบาท
ประการที่ 2 ความร่วมมือจากภาครัฐในการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง
หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1907 รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ได้ออกกฎหมายอุตสาหกรรมโคนมในอีก 1 ปีต่อมา เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเลี้ยงวัว
มีการควบคุมโรงเลี้ยงวัวให้มีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย สายพันธุ์วัวจะต้องมีการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมอย่างเป็นระบบ ผ่านสมาคมเพาะพันธุ์วัว หรือ Breed Association ที่จัดตั้งขึ้นในปี 1914 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีที่สุด ให้น้ำนมมากที่สุด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นมมีคุณภาพ
กลุ่มสหกรณ์โคนมยังได้รวมกันตั้ง Livestock Improvement Corporation (LIC) ในปี 1909 เพื่อเป็นบริษัทที่ให้บริการข้อมูลด้านพันธุศาสตร์มาช่วยปรับปรุงสายพันธุ์วัว เก็บรักษาน้ำเชื้อพ่อวัวพันธุ์ดี และให้บริการผสมเทียมแก่แม่วัวที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s
ในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ มีการตั้งคณะกรรมการโคนมแห่งนิวซีแลนด์ หรือ
New Zealand Dairy Board เป็นคณะกรรมการด้านกฎหมายที่ควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ทั้งหมด คอยควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมส่งออกมาตั้งแต่ปี 1923
ประการที่ 3 การสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
ข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ หลังจากที่นิวซีแลนด์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลกในช่วงทศวรรษ 1970s
แต่ด้วยความที่นิวซีแลนด์เป็นประเทศรายได้สูง ซึ่งส่งผลมาสู่ค่าแรงที่สูง และดันให้ราคาของผลผลิตนมสูงตามไปด้วย การที่จะต่อสู้กับผลิตภัณฑ์นมจากประเทศอื่น ๆ ที่มีค่าแรงถูกกว่าได้
จำเป็นจะต้องสร้างความแตกต่าง และความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รัฐบาลได้จัดตั้ง New Zealand Food Innovation Network (NZFIN) หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และการจ้างงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทั้งการวิจัยผลิตภัณฑ์ การทดสอบกับกลุ่มลูกค้า การผลิตในขนาดเล็ก ไปจนถึงวางแผนการผลิตจริง
ในปี 2008 เพื่อความสะดวกในการวางแผนการตลาด และการแข่งขันกับตลาดโลก
สหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งของนิวซีแลนด์ จึงได้รวมตัวกันให้กลายเป็นสหกรณ์โคนมขนาด
ใหญ่เพียง 3 แห่ง ประกอบไปด้วย
1. สหกรณ์ Fonterra เป็นสหกรณ์โคนมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ครองส่วนแบ่งการตลาด
มากกว่า 80% มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมในเครือหลายสิบแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งนม Anlene ที่มีปริมาณแคลเซียมสูง มีหลายสูตรเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
นม Anmum ที่มีแคลเซียมและโฟเลตสูง เป็นสูตรเฉพาะสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
และเนย Anchor เป็นเนยที่ผลิตจากครีมแท้ 100% จากน้ำนมที่ได้มาตรฐานสูงสุด
2. สหกรณ์ Tatua เป็นสหกรณ์ที่เน้นผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกี่ยวกับนม เช่น สารสกัดโปรตีนจากนม สารสกัดไขมันจากนม และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
3. สหกรณ์ Westland เน้นผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนมผง เวย์โปรตีน เคซีน และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ทั้ง 3 แห่ง ล้วนมี “จุดเด่น” ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ที่ต่อยอดมาจากน้ำนมธรรมดา
นิวซีแลนด์เป็นประเทศร่ำรวยไม่กี่ประเทศ ที่สินค้าส่งออกถึง 70% มาจากภาคเกษตรกรรม
โดยผลิตภัณฑ์นม ทั้งนม เนย ชีส นมผง และเวย์ คิดเป็นสัดส่วน 18% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ภาคการเกษตรใช้แรงงาน 5.5% ของแรงงานชาวนิวซีแลนด์
แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 7% ของ GDP
ซึ่งขัดกับประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศที่ใช้แรงงานในภาคการเกษตรมาก แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก
ความโชคดีของประเทศนี้ คือการที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีภูมิอากาศเหมาะสม มีหญ้ามากเพียงพอที่จะทำให้วัวมีสุขภาพดี และให้นมคุณภาพสูง
แต่สิ่งเหล่านี้จะยั่งยืนไม่ได้เลย หากขาดระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากภาครัฐ และความร่วมมือกันในการวางแผนพัฒนาจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
จนต่อไปสู่ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ สร้างความ “พรีเมียม” ให้กับแบรนด์สินค้า
และสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำนมธรรมดาอย่างมหาศาล
นับตั้งแต่ปี 1970 นิวซีแลนด์ยังคงรักษาตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลก
ในแง่ของมูลค่า มาได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีใครรู้ว่าตำแหน่งจะถูกเปลี่ยนมือไปเมื่อไร แต่จากบทความทั้งหมดที่กล่าวมา
ก็พอจะคาดเดาได้ว่า “นิวซีแลนด์” น่าจะยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ต่อไปอีกยาวนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.statista.com/statistics/974482/new-zealand-dairy-cattle-numbers/
-https://teara.govt.nz/en/dairying-and-dairy-products
-https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/182277/153930/
-https://www.ica.coop/en/newsroom/news/new-report-co-operative-economy-new-zealand
-https://theeconreview.com/2017/02/22/new-zealand-the-model-for-farms-of-the-future/
-https://www.gtreview.com/magazine/volume-15issue-5/milk-new-zealands-dairy-exports-conquered-world/
-https://www.stats.govt.nz/experimental/which-industries-contributed-to-new-zealands-gdp
anchor dairy 在 成波之路 my ways to get fat Youtube 的最佳貼文
#Anchor #芝士片 #車打芝士 #較低脂
身為一個文青?,除咗試芝士畀你睇,
仲有關於紐西蘭同牛嘅小知識,等你學多啲嘢,
順便見識下我嘅畫作,嘻嘻!
Sponsored by Anchor Dairy HK
【Facebook】http://www.facebook.com/mywaystogetfat
【誠實食後感全集】https://goo.gl/5sq8fV
【食譜全集】https://goo.gl/X2GCsQ
【Blog】http://www.mywaystogetfat.com/
#成波之路 #mywaystogetfat #誠實食後感 #試食 #食評
Keywords: 成波之路 / 試食 / 香港 / mywaystogetfat / taste test / Hong Kong / Anchor / 車打芝士片 / 芝士片 / 片裝芝士
anchor dairy 在 Anchor Dairy HK - YouTube 的推薦與評價
牛油、忌廉同芝士嘅用法可以千變萬化,想知更多用法?就要睇片攞靈感! Anchor散發美味靈感,加埋大廚Ricky教路,就係美味背後嘅秘密武器。 想跟Ricky學兩招? ... <看更多>
anchor dairy 在 Anchor Dairy US - Home | Facebook 的推薦與評價
Anchor Dairy US ... New Zealand's finest grass-fed, pasture raised cheese & European style butter made from cared for cows. Pure New Zealand Taste. ... <看更多>
anchor dairy 在 Anchor Dairy HK - YouTube 的推薦與評價
有關AnchorAnchor始於1886年,為世界著名的乳製品品牌,旗下產品包括牛油、芝士、忌廉及牛奶。Anchor奶源來自紐西蘭,當地氣候溫和濕潤,牧草長得快而茂盛, ... ... <看更多>