ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過22萬的網紅BorntoDev,也在其Youtube影片中提到,สำหรับใครที่เขียนโค้ดเป็นแล้ว แต่อยากย้ายมาสาย AI, Data Science ไปถึง Machine Learning มาดูในตอนนี้ได้เลย ที่เราจะพาทำ ML ในแบบง่าย ๆ ที่เข้าใจพื้นฐาน...
「big data คือ」的推薦目錄:
- 關於big data คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於big data คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於big data คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於big data คือ 在 BorntoDev Youtube 的最讚貼文
- 關於big data คือ 在 BorntoDev Youtube 的最讚貼文
- 關於big data คือ 在 BorntoDev Youtube 的最佳解答
- 關於big data คือ 在 Big Data คืออะไร? - YouTube 的評價
- 關於big data คือ 在 Blendata - Big Data คือข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญเป็นอย่าง ... 的評價
big data คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
กรณีศึกษา BBIK กับการเป็น IPO คอนซัลต์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันตัวแรกของไทย
Bluebik x ลงทุนแมน
ถ้าถามว่าปัจจัยที่ 5 ในการดำเนินชีวิตยุคนี้คืออะไร
หนึ่งคำตอบของใครหลายคนก็คือ เทคโนโลยีดิจิทัล
ปัจจุบันคนไทย 70% ของประเทศกำลังใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยเกือบ 9 ชั่วโมงต่อวัน
สูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลก
ผลที่ตามมาคือ ฐานข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เรียกว่า Big Data
รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายอุตสาหกรรมต่างต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อตามทันโลกดิจิทัล
เรื่องนี้กำลังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่ของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัล
หนึ่งในนั้นคือ Bluebik องค์กรเล็ก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรขนาดใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันได้ และผลักดันให้เกิดการเติบโตในระยะยาวได้
โดยล่าสุด Bluebik กำลังจะ IPO ในชื่อ BBIK (อ่านว่า บี-บิก) ในตลาดหลักทรัพย์ MAI
ซึ่งจะกลายเป็น บริษัทที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อีกด้วย
ความน่าสนใจของธุรกิจนี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Digital Transformation เป็นอีกหนึ่งคำคุ้นหูในช่วงเวลานี้
ซึ่งก็คือ การเปลี่ยนแปลงองค์กรแบบพลิกโฉมด้วยเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัล
หลายองค์กรมักจะจ้างที่ปรึกษาหรือ Consulting Firm เข้ามาช่วยดูแล
ซึ่งก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ
- ที่ปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ในระดับผู้บริหารหรือ C-Level
ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทที่ปรึกษามีชื่อเสียงระดับโลก เช่น McKinsey, BCG
มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เน้นบริการด้านกลยุทธ์ แต่อาจจะขาดการให้คำปรึกษาด้านการดำเนินการ
- ที่ปรึกษาด้านการดำเนินการ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจสัญชาติไทย
ที่มีความเชี่ยวชาญในงานระบบเฉพาะด้านตามความต้องการของลูกค้า
แต่ปัญหาก็คือ มักจะขาดความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์
สังเกตไหมว่าตลาด Consulting Firm กำลังมีช่องว่างที่น่าสนใจเกิดขึ้น
และนั่นจึงเป็นที่มาของ Bluebik หรือก็คือ บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
ธุรกิจที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ครบวงจร ที่มีบริการ 5 ด้าน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำเรียกว่า End-to-End Consulting Firm เป็นเจ้าแรกในประเทศไทย
แล้วบริการ 5 ด้านแบบ End-to-End Consulting Firm ของ Bluebik น่าสนใจอย่างไร ?
1. ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์และการจัดการ หรือ Management Consulting
เช่น กำหนดทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจ, ค้นหาปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจ, กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่ม
2. ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการโครงการเชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic PMO
เช่น บริหารโครงการขนาดใหญ่, วางโครงสร้างระบบไอทีภายในองค์กร
3. ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบดิจิทัลและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี หรือ Digital Excellence and Delivery
เช่น การออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งานและส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้กับระบบ (UX/UI) บนหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
4. ที่ปรึกษาด้านการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงด้วยปัญญาประดิษฐ์ หรือ Big Data & Advanced Analytics เช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้วย AI
5. ให้บริการทรัพยากรบุคคลชั่วคราวด้านไอที หรือ IT Staff Augmentation เช่น พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านไอทีอย่างโปรแกรมเมอร์ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
พูดง่าย ๆ ว่า Bluebik มีบริการครบถ้วนที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่โลกดิจิทัลได้ทุกรูปแบบ
สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพตัวจริงในวงการที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation นั่นเอง
ที่สำคัญไม่เพียงจะมี “รูปแบบบริการ” ครบถ้วนทุกขั้นตอนตอบโจทย์ยุค Digital Economy
แต่ Bluebik ยังมี “บุคลากรทำงาน” ที่เป็นตัวจริงในวงการธุรกิจ อีกด้วย
เราจึงเห็น “บอร์ดบริหาร” ล้วนเป็นแนวหน้าหลากหลายธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น
- คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทในเครือ SCB 10X
- คุณครรชิต บุนะจินดา ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจค้าปลีกชั้นนำ เซ็นทรัล, โรบินสัน
- คุณชลากรณ์ ปัญญาโฉม ซึ่งเป็นกรรมการธุรกิจสายงานดิจิทัลทีวีชั้นนำ เวิร์คพอยท์
- คุณวศิษฐ์ กาญจนหัตถกิจ ซึ่งมีประสบการณ์ด้านธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ศรีสวัสดิ์
- คุณพงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสื่อมากกว่า 20 ปี
รวมทั้ง “ทีมผู้บริหารและพนักงาน” ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ไฟแรง อายุน้อย แต่มากประสบการณ์
จากธุรกิจที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกกว่า 100 คนมารวมกัน
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ และความมั่นใจให้กับลูกค้าได้
จึงไม่แปลกใจที่กลุ่มลูกค้า Bluebik ล้วนเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ใน SET 100 และ SET 50
เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, กลุ่มธุรกิจประกัน, กลุ่มค้าปลีก และกลุ่มสื่อสาร
โดยล่าสุด Bluebik ยังได้ร่วมทุนกับ OR ในเครือธุรกิจ ปตท.
จัดตั้งธุรกิจ ORBIT Digital ที่มีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนหุ้น Bluebik : OR เท่ากับ 60:40
เป้าหมายก็เพื่อก้าวทันโลก ต่อยอดธุรกิจที่จะสร้างรายได้เติบโตในยุค Digital Economy อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่า Bluebik เป็นอีกหนึ่งดวงดาวจรัสแสง
ที่ครบถ้วนด้วยบริการเต็มรูปแบบ พร้อมด้วยบุคลากรทำงานคุณภาพ
และกำลังเดินเคียงข้างองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทยสู่ Digital Transformation
แล้วผลประกอบการ Bluebik เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้รวม 133 ล้านบาท กำไรสุทธิ 19 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 185 ล้านบาท กำไรสุทธิ 32 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้รวม 201 ล้านบาท กำไรสุทธิ 44 ล้านบาท
ส่วนในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีรายได้จากการขายและบริการ 126.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39.47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และกำไรสุทธิ 30.06 ล้านบาท คิดเป็นอัตราทำกำไรสุทธิที่ 23.67%
จะเห็นได้ว่า Bluebik มีรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ยังมีงานในมือ (Backlog) 161 ล้านบาท ที่จะทยอยรับรู้รายได้ภายใน 1-2 ปีนี้
ทั้งนี้ ยังไม่ได้นับรวมรายได้ที่จะมาจาก ORBIT Digital จากการร่วมมือกับ OR อีกด้วย
มาถึงตรงนี้ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เรากำลังเดินทางเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ
รู้หรือไม่ว่า ตลาด Digital Transformation ในประเทศไทยปี 2564
ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่า 280,000 ล้านบาท และจะขยายตัวเป็น 442,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า
ภายใต้เทรนด์ Digital Transformation ที่กำลังเปลี่ยนโลกนี้เอง
เราจะได้เห็น Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่ปรึกษาด้าน Digital Transformation ตัวแรกของประเทศไทย จะนำพาธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคใหม่นี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ด้วยจุดเด่นด้านบริการ End-to-End Consulting Firm และทีมบุคลากรคุณภาพระดับผู้บริหาร และระดับบุคลากรทำงาน
ซึ่งโอกาสเติบโตของ Bluebik หรือ BBIK หุ้นที่กำลังจะ IPO ในครั้งนี้ อาจจะกลายมาเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ ในตลาด Consulting Firm ระดับโลก ด้าน Digital Transformation ก็เป็นได้..
คำเตือน: บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นนี้แต่อย่างใด การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
Reference
- บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
big data คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
เปิดวิธีคิดเศรษฐกิจจีน ถอยหลังเพื่อไปต่อจริงหรือ ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ตลาดจีนในช่วงเวลานี้ มีหลายคำถามที่นักลงทุนกำลังรอฟังคำตอบ
ลงทุนแมน ได้ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญตลาดจีนของกองทุนบัวหลวง
นั่นคือ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา ตำแหน่ง Chief Economist ของกองทุนบัวหลวง
และ คุณทนง ขันทอง ตำแหน่ง Head of Strategic Communications ของกองทุนบัวหลวง
ใน Clubhouse เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา
ประเด็นสำคัญของตลาดจีนในช่วงเวลานี้ จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
เริ่มต้นกันที่.. ภาพรวมเศรษฐกิจจีนที่ผ่านมา
ประเทศจีนมี GDP ไตรมาส 1 ปี 2564 อยู่ที่ 18.3% (YoY) โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด
เป็นผลมาจากนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายจากวิกฤติโควิด 19, การฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมช่วงปลายปี 2563 และภาคการค้าส่งออกตลอดช่วงต้นปี 2564
ขณะที่ล่าสุด GDP ไตรมาส 2 ปี 2564 อยู่ที่ 7.9% (YoY)
หากมองในแง่ของนักลงทุน ต้องยอมรับว่า เราผ่านช่วงเวลาที่เป็นจุดพีกของจีนกันไปแล้ว
แต่ในแง่ของพื้นฐานประเทศจีน ยังถูกมองว่าเป็น The Most Outstanding อยู่ดี
ที่น่าสนใจคือ ธนาคารกลางจีน (PBOC) พยายามปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา
เช่น การปรับลดอัตราการดำรงเงินสำรอง (RRR) เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไปยังกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบ ให้ยังคงอยู่รอดต่อไปได้
ดังนั้น หากเราเห็นว่าจีนกำลังลดสภาพคล่อง ความจริงแล้วสภาพคล่องยังคงมีอยู่ในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก และบางกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าความท้าทายของจีน ยังมีอยู่อีกมาก
เช่น ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดตลาด และปัญหาเรือ Ever Given ขวางคลองสุเอซ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าส่งออกจีน หรือปัญหาการปรับตัวสูงของสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมจีน
แล้วตอนนี้ ความท้าทายจากปัจจัยภายนอก เป็นอย่างไร ?
สิ่งที่ต้องจับตาเป็นพิเศษคือ เรื่องความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่เริ่มต้นมาจากการประชุม Alaska Summit ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เมื่อช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยภายนอกที่กำลังคุกรุ่นต่อเนื่องมาจากสงครามการค้า และประเด็นด้านเทคโนโลยี ตั้งแต่สมัยที่ ดอนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี ต่อเนื่องไปจนถึง สิทธิของแรงงานในซินเจียง
นอกจากนี้ ยังมีประเด็น Cyber Security ที่ทางสหรัฐอเมริกามีการอ้างว่าจีนได้ส่งแฮกเกอร์เข้าไปล้วงข้อมูลจาก Microsoft Exchange อีกด้วย
โดยทางกองทุนบัวหลวงมองว่าประเด็นทางด้าน Geopolitics เหล่านี้จะไม่กระทบกับภาคเศรษฐกิจจีน
เนื่องจากจีนพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นในเชิงด้านการลงทุนก็อาจกระทบกับตลาดการลงทุนได้บ้าง
ส่วนประเด็นสำคัญเรื่องความตึงเครียดระหว่างจีนกับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ในขณะนี้ คือ สหรัฐอเมริกามีการร่วมมือกับกลุ่มประเทศ G7 เพื่อสกัดกั้นการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกของจีน
เนื่องจากตอนนี้จีนกำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทั้งในเรื่องขนาดเศรษฐกิจ เทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่จีนเป็นคู่ค้าสำคัญของโลก และเมื่อตลาดเงินตลาดทุนใหญ่ขึ้น บทบาทของเงินหยวนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งจะไปมีผลกับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของโลกต่อไป เช่น ระบบชำระเงิน Digital Banking หรือสินทรัพย์ดิจิทัล
พูดง่าย ๆ ว่าตอนนี้เหมือนเป็นการต่อสู้ระหว่าง “โลกทุนนิยมจากฝั่งตะวันตก” และ “โลกอำนาจนิยมจากจีน”
เพื่อแย่งชิงการเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ของโลก นั่นเอง
ขณะเดียวกัน จีนเองก็พยายามสร้างสัมพันธ์กับรัสเซียและประเทศกำลังพัฒนาอย่างเช่น ประเทศในกลุ่มแอฟริกา ลาตินอเมริกา และประเทศตามเส้นทางสายไหม
รวมไปถึงการพัฒนาภายในประเทศเองเพื่อให้คนในประเทศหลุดพ้นจากความยากจน
โดยความคาดหวังของจีนในระยะยาว คือ ต้องการให้ประเทศมีฐานะร่ำรวยปานกลาง (Moderately Prosperous Society) สร้างพลังการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น ให้คนในประเทศเป็นคนชนชั้นกลาง ส่วนภาคแรงงานจะมีค่าแรงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักให้ประชากรจีนมีกำลังซื้อ มีความมั่งคั่ง กินดีอยู่ดีมากขึ้น และเติบโตได้ในระยะยาว
แล้วตอนนี้ ปัจจัยภายในจีน กำลังเจอความท้าทายใดบ้าง ?
จีนพยายามพัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง สังเกตได้จากแผนพัฒนาฯ ของจีน เช่น
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ จนเกิดปัญหาการเก็งกำไรภาคอสังหาริมทรัพย์
- แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 การส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิต Made in China 2025 จนเกิดปัญหาสงครามการค้าจีน-สหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า Trade War
จะเห็นได้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจจีน มักจะตามมาด้วยปัญหาต่าง ๆ
ทำให้จีน เริ่มมองหาทางเดินใหม่ ๆ ด้วยการลดความสำคัญของตัวเลข GDP สูง ๆ
แต่จะเน้น “ความเป็นสังคมอยู่ดี กินดี ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เข้ามาแทนที่
จึงมีความเป็นไปได้ว่า เส้นทางเดินใหม่ของจีนจะมุ่งไปสู่ 2 กลุ่มหลัก นั่นคือ
- กลุ่มการเติบโตแบบมีคุณภาพ (Quality Growth) เช่น ภาคธุรกิจที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ช่วยลดมลพิษ และทำให้ประเทศจีนมีคุณภาพที่ดีขึ้น
- กลุ่มเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Economies) เช่น ธุรกิจด้านการบริโภคภายในประเทศ
เราจึงเห็น แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 14 มียุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน (China’s Dual Circulation)
ที่คงความสำคัญของปัจจัยภายนอก เช่น การค้าส่งออก ไปพร้อมกับปัจจัยภายในประเทศ เช่น อุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ
ดังนั้น ความท้าทายของปัจจัยภายในจีนก็คือ พลังของการบริโภคภายในประเทศ ที่จะมาจากการทำให้ประชากรจีนมีรายได้สูงขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างทั่วถึง นั่นเอง
อีกหนึ่งประเด็นก็คือ การเข้ามาควบคุมกิจการเทคโนโลยีของจีน
สาเหตุหลักเป็นเพราะ รัฐบาลจีนต้องการจะเป็นเจ้าของ Big Data ที่อยู่ในมือของธุรกิจภาคเอกชน
จึงทำให้ธุรกิจเอกชนยักษ์ใหญ่ที่มี Big Data อย่าง Ant Group ที่ให้บริการการเงินครบวงจร หรือ DiDi แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่ที่มีข้อมูลการเดินทางของคนจีนจำนวนมาก จึงถูกรัฐบาลจีนเข้ามาจัดระเบียบอย่างที่ทราบกัน
สรุปแล้ว ช่วงเวลานี้ ควรลงทุนในตลาดจีนอย่างไร ?
ต้องยอมรับว่า การลงทุนในประเทศจีนช่วงนี้ อาจให้ผลตอบแทนได้ดีไม่เท่ากับตลาดอื่น ๆ
แต่ถ้าตาม Seasonal Pattern แล้ว ตลาดหุ้นจีนจะกลับมา Perform อีกครั้งในตอนช่วงท้ายปี
ประเด็นสำคัญที่นักลงทุนมักจะให้น้ำหนักต่อการเคลื่อนไหวของตลาดจีนก็คือ นโยบายของภาครัฐ ที่จะส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจระยะยาว รวมทั้งจุดเด่นของจีนที่มักจะพูดจริง ทำจริง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งประเทศที่ทำตาม KPI ของตัวเองได้ดี
ดังนั้น หากนักลงทุนเชื่อมั่นในประเทศจีนในภาพระยะยาว
จังหวะที่ตลาดหุ้นจีนลงมามาก ๆ ก็น่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการเก็บสะสมหุ้นจีนแบบระยะยาวได้
ซึ่งหนึ่งวิธีที่จะลดความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดจีนตอนนี้ ก็คือการลงทุนแบบ DCA
เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ทำให้นักลงทุนไม่ต้องสนใจภาวะตลาด ณ ตอนนั้น เนื่องจากเป็นการทยอยเข้าไปลงทุนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการลงทุนแบบนี้จะฝึกให้นักลงทุนมีวินัยในการลงทุนมากขื้น
ส่วน Theme การลงทุนที่น่าสนใจ ควรสอดคล้องกับนโยบาย Dual Circulation Economic
อย่างในกลุ่ม Domestic Play ที่จะได้ประโยชน์จากจำนวนประชากรจีนที่จะมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นการเติบโตรอบใหม่ของจีน
เช่น ธุรกิจท่องเที่ยว, ธุรกิจกีฬา, ธุรกิจการศึกษา, ธุรกิจเครื่องดื่ม
สรุปได้ว่า ช่วงเวลานี้ หากจะลงทุนระยะยาวในตลาดจีน ก็เป็นจังหวะที่ดีให้นักลงทุนได้เลือกลงทุนในบริษัทพื้นฐานดีที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าจริง นั่นเอง
ในส่วนของกองทุนบัวหลวง มีกองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน (B-CHINE-EQ) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนเป็นแบบ Dynamic โดยส่วนหนึ่งได้มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited เป็นผู้รับดำเนินงานการลงทุนในต่างประเทศของกองทุน (Outsourced Fund Manager) ซึ่งในส่วนนี้ก็มีการลงทุนผ่านกองทุน 2 กองทุน คือ กองทุน Allianz China A-Shares และกองทุน Allianz All China Equity และยังมีอีกส่วนที่กองทุนบัวหลวงคัดเลือกลงทุนหุ้นรายตัวเอง
นั่นก็หมายความว่า กองทุน B-CHINE-EQ ไม่ได้อิงผลตอบแทนของดัชนีประเทศจีน
แต่ยังมีการลงทุนธุรกิจพื้นฐานดีรายตัวในประเทศจีน ซึ่งจะช่วยกระจายความเสี่ยง และเพิ่มผลตอบแทนในระยะยาวให้กับนักลงทุนได้ นั่นเอง
big data คือ 在 BorntoDev Youtube 的最讚貼文
สำหรับใครที่เขียนโค้ดเป็นแล้ว แต่อยากย้ายมาสาย AI, Data Science ไปถึง Machine Learning มาดูในตอนนี้ได้เลย ที่เราจะพาทำ ML ในแบบง่าย ๆ ที่เข้าใจพื้นฐานใน 5 นาที จากคอมพิวเตอร์ที่บ้านเราได้เลย
.
ซึ่งต้องบอกก่อนว่า 5 นาทีนี้ เป็น 1 ในหลายพันล้านส่วนของศาสตร์ ML เท่านั้น แต่น่าจะเป็นการจุดประกายให้ใครหลาย ๆ คนอยากเริ่มศึกษาเรื่องนี้มากขึ้นนะครับผม ^_^
.
Reference แหล่งอ้างอิง: Hello World - Machine Learning Recipes #1
Google Developers (https://www.youtube.com/watch?v=cKxRvEZd3Mw)
.
?BorntoDev Channel คือ ช่องยูทูปที่เน้นสาระด้านเทคโนโลยี ไปพร้อมกับความสนุกสนาน และ รอยยิ้มเข้าไว้ด้วยกันทั้งในรูปแบบบทเรียน และ vlog
.
เพื่อการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม และ เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มให้เข้าถึง เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยพัฒนาเน้นไปที่รูปแบบการนำเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกคน
.
โดยมีผู้ดำเนินรายการหลัก 2 คนคือ
.
"เปรม BorntoDev" ผู้ชื่นชอบ และ หลงไหลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมเป็นชีวิตจิตใจ มีความสุขมากที่ได้ถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยนความรู้ เพราะทำให้นึกถึงสมัยยังเป็นเด็กที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมแล้วได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีในโลก Internet ที่ไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่กลับยินดีแบ่งปันให้กัน
.
"ไกด์ BorntoDev" ชายผู้ที่บอกว่าเป็นพี่น้องกับคนข้างบนหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ แต่เขาสนใจด้านเทคโนโลยี การพัฒนาแอปพลิเคชัน ชอบความสนุก จัดกิจกรรม และ ที่ไม่พลาดคือการซื้อเกมมาดองแล้วไม่ได้เล่น เห็นหน้านิ่ง ๆ แบบนี้ดองเกมใน Steam เป็นแสน ๆ นะบอกเลย
.
▲ กิจกรรมใน Channel BorntoDev เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของ บริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด ที่เปิดรับ Partners ที่สนใจร่วมเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเป็นสังคมด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น หากคุณสนใจสนับสนุน และ ก้าวไปพร้อมกัน สามารถติดต่อร่วมงานได้แล้ววันนี้
.
▲ ติดต่อโฆษณา สนับสนุน และ ร่วมงานได้ที่: borntodevth@gmail.com
big data คือ 在 BorntoDev Youtube 的最讚貼文
หันไปทางไหน ใครๆ ก็พูดถึง Data Visualization แล้วจริงๆ มันคืออะไรกันแน่ ? เอามาใช้ได้ยังไงกันนะ ? ในวันนี้เรามาลองสร้างการแสดงข้อมูลในรูปแบบนี้ที่ดีต่อใจ แถมยังง่ายมาก ๆ อีกใน Google Charts กัน !
.
ใครสนใจไปอ่าน Documents เขาต่อมานี่กันเลยย
.
https://developers.google.com/chart
.
?BorntoDev Channel คือ ช่องยูทูปที่เน้นสาระด้านเทคโนโลยี ไปพร้อมกับความสนุกสนาน และ รอยยิ้มเข้าไว้ด้วยกันทั้งในรูปแบบบทเรียน และ vlog
เพื่อการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม และ เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มให้เข้าถึง เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยพัฒนาเน้นไปที่รูปแบบการนำเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกคน
โดยมีผู้ดำเนินรายการหลัก 2 คนคือ
"เปรม BorntoDev" ผู้ชื่นชอบ และ หลงไหลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมเป็นชีวิตจิตใจ มีความสุขมากที่ได้ถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยนความรู้ เพราะทำให้นึกถึงสมัยยังเป็นเด็กที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมแล้วได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีในโลก Internet ที่ไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่กลับยินดีแบ่งปันให้กัน
"ไกด์ BorntoDev" ชายผู้ที่บอกว่าเป็นพี่น้องกับคนข้างบนหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ แต่เขาสนใจด้านเทคโนโลยี การพัฒนาแอปพลิเคชัน ชอบความสนุก จัดกิจกรรม และ ที่ไม่พลาดคือการซื้อเกมมาดองแล้วไม่ได้เล่น เห็นหน้านิ่ง ๆ แบบนี้ดองเกมใน Steam เป็นแสน ๆ นะบอกเลย
▲ กิจกรรมใน Channel BorntoDev เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของ บริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด ที่เปิดรับ Partners ที่สนใจร่วมเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเป็นสังคมด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น หากคุณสนใจสนับสนุน และ ก้าวไปพร้อมกัน สามารถติดต่อร่วมงานได้แล้ววันนี้
▲ ติดต่อโฆษณา สนับสนุน และ ร่วมงานได้ที่: borntodevth@gmail.com
big data คือ 在 BorntoDev Youtube 的最佳解答
รับแค่ 100 ท่านแรกเท่านั้นสำหรับการทดลองเรียน Essential SQL for Everyone สามารถลงทะเบียนได้ที่นี่เลย :
.
https://www.borntodev.com/sql-for-everyone/
.
เนื่องจากปัจจุบันคำว่า “ข้อมูล” มีค่ามากกว่า “ทองคำ” การจัดการที่ดี จะทำให้ข้อมูลที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในองค์กร งานวิจัย ตลอดไปจนถึงการพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นไปด้วยความสวยงาม
? ดังนั้นภาษาที่ใช้ในการจัดการข้อมูลฐานข้อมูลอย่าง SQL หรือ Structured Query Language ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เราสามารถนำความรู้ในภาษานี้ไปประยุกต์ใช้งานเรียกค้น, เพิ่ม, ลบ, แก้ไข รวมถึงการจัดการฐานข้อมูลให้เป็นไปด้วยความราบรื่น
โดยในคอร์สเรียนนี้อยู่ในโครงการ Open Access Academy ที่เปิดให้ทุกคนสามารถเข้าเรียน และ ทำแบบฝึกหัดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นหนึ่งโครงการเพื่อสังคมของบอร์นทูเดฟ ที่เราเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย ให้เป็นสังคมแห่งเทคโนโลยี และ นวัตกรรม
.
?BorntoDev Channel คือ ช่องยูทูปที่เน้นสาระด้านเทคโนโลยี ไปพร้อมกับความสนุกสนาน และ รอยยิ้มเข้าไว้ด้วยกันทั้งในรูปแบบบทเรียน และ vlog
เพื่อการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรม และ เทคโนโลยีแบบเดิม ๆ ที่เป็นเรื่องเฉพาะกลุ่มให้เข้าถึง เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยพัฒนาเน้นไปที่รูปแบบการนำเสนอใหม่ ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกคน
โดยมีผู้ดำเนินรายการหลัก 2 คนคือ
"เปรม BorntoDev" ผู้ชื่นชอบ และ หลงไหลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมเป็นชีวิตจิตใจ มีความสุขมากที่ได้ถ่ายทอด และ แลกเปลี่ยนความรู้ เพราะทำให้นึกถึงสมัยยังเป็นเด็กที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมแล้วได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดีในโลก Internet ที่ไม่เคยเห็นหน้าตากันมาก่อน แต่กลับยินดีแบ่งปันให้กัน
"ไกด์ BorntoDev" ชายผู้ที่บอกว่าเป็นพี่น้องกับคนข้างบนหรือเปล่า คำตอบคือไม่ใช่ แต่เขาสนใจด้านเทคโนโลยี การพัฒนาแอปพลิเคชัน ชอบความสนุก จัดกิจกรรม และ ที่ไม่พลาดคือการซื้อเกมมาดองแล้วไม่ได้เล่น เห็นหน้านิ่ง ๆ แบบนี้ดองเกมใน Steam เป็นแสน ๆ นะบอกเลย
▲ กิจกรรมใน Channel BorntoDev เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของ บริษัท บอร์นทูเดฟ จำกัด ที่เปิดรับ Partners ที่สนใจร่วมเปลี่ยนแปลงให้สังคมไทยเป็นสังคมด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น หากคุณสนใจสนับสนุน และ ก้าวไปพร้อมกัน สามารถติดต่อร่วมงานได้แล้ววันนี้
▲ ติดต่อโฆษณา สนับสนุน และ ร่วมงานได้ที่: borntodevth@gmail.com
big data คือ 在 Blendata - Big Data คือข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญเป็นอย่าง ... 的推薦與評價
Data ไปได้ เพราะ Big Data คือเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรใ นการแข่งขันทางธุรกิจ จากการตัดสินใจที่รวดเร็วและการวางกลยุทธ์ ... ... <看更多>
big data คือ 在 Big Data คืออะไร? - YouTube 的推薦與評價
Big Data คือ อะไร? ในโลกที่มีการเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์เน็ตไร้สายและอุปกรณ์พกพาอย่างแพร่หลายนี้ “ข้อมูล” เปรียบเสมือนทองคำยุคใหม่ ที่สามารถสร้างมูลค่าได้มหาศาล ... ... <看更多>