สังคมไร้เงินสด จะนำไปสู่ สังคมไร้บัตร หรือไม่ ? / โดย ลงทุนแมน
เป็นที่รู้กันว่า การใช้จ่ายแบบไม่ใช้เงินสด กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด
โดยการไม่ใช้เงินสดก็มีช่องทางให้เลือกที่หลากหลาย เริ่มตั้งแต่บัตรเครดิตและบัตรเดบิต
จนมาถึงแอปพลิเคชันและกระเป๋าเงินดิจิทัลบนสมาร์ตโฟน
แล้วการใช้จ่ายแบบไม่ใช้บัตรเหล่านี้
จะมีโอกาสมาแทนที่บัตรแบบดั้งเดิมหรือไม่ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การใช้จ่ายแบบไม่ใช้เงินสด
ในช่วงแรกจะเป็น “ยุคบัตรพลาสติก”
โดยเริ่มมาจากบัตรเครดิตในประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงปลาย 1950s
และก็มีบัตรเดบิตตามมา ในอีกไม่กี่ทศวรรษ
ประเทศที่ใช้บัตรกันอย่างแพร่หลาย
จนกลายเป็นช่องทางหลักในการใช้จ่าย
ก็คือกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าทางการเงินสูง
อย่างเช่น ประเทศต้นกำเนิดบัตรอย่างสหรัฐอเมริกา รวมถึงในทวีปยุโรป
หรือในเอเชีย ตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และสิงคโปร์
ซึ่งกลุ่มประเทศเหล่านี้ การใช้จ่ายผ่านบัตรได้รับความนิยมมานาน
จนในปัจจุบัน มีสัดส่วนประชากรที่มีบัตรเครดิตมากเป็นครึ่งหนึ่ง
ของประชากรทั้งหมดในประเทศ
ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในสมัยนั้น มีความก้าวหน้าทางการเงินที่ช้ากว่า
อย่างเช่นในจีน, อินเดีย และประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย
การใช้จ่ายผ่านบัตรจึงไม่ได้รับความนิยมเป็นวงกว้าง สัดส่วนการใช้บัตรจึงยังมีน้อย
โดยเฉพาะบัตรเครดิต ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว กลุ่มคนที่มีบัตรเครดิต คิดเป็นไม่ถึง 10% ของประชากร
นั่นอาจเป็นเพราะว่า การสมัครบัตรเครดิต จะมีเงื่อนไขบางอย่าง
อย่างเช่น หลักฐานการได้รับเงินเดือนย้อนหลัง
หรือเกณฑ์เงินฝากในบัญชีขั้นต่ำ
รวมไปถึงมีการคิดค่าธรรมเนียมด้วย
ต่อมาเมื่อเข้าสู่ช่วงที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามาปฏิวัติโลก
โดยเฉพาะยุครุ่งเรืองของดอตคอมในช่วง 1990s
ช่องทางในการซื้อขาย ได้เพิ่มจากทางหน้าร้าน มาเป็นผ่านหน้าเว็บไซต์ออนไลน์ด้วย เช่นกัน
จุดนี้เอง ก็ได้กลายเป็นตัวเร่งให้มีการใช้บัตรจนกลายมาเป็นที่นิยมมากขึ้น
และไม่กี่ปีหลังจากนั้น ก็ได้มีทางเลือกใหม่ สำหรับใครที่ไม่ใช้บัตร
นั่นก็คือ PayPal ซึ่งถือว่าเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินออนไลน์รายแรก ๆ ของโลก
ซึ่งบัญชีของ PayPal จะผูกกับบัญชีธนาคาร และใช้ PayPal เป็นช่องทางโอนและรับเงินที่ทำได้ทั้งในประเทศไปจนถึงระหว่างประเทศ
มาถึงตรงนี้ การใช้จ่ายแบบไม่ใช้เงินสด จึงเริ่มเข้าสู่ “ยุคไร้บัตร”
และเมื่อมาถึงยุครุ่งเรืองของสมาร์ตโฟน
ก็ได้มีการพัฒนาระบบใช้จ่ายแบบไร้บัตรในอีกรูปแบบหนึ่งเพิ่มเข้ามา
นั่นก็คือการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งจะคล้ายกับการจ่ายด้วยแอปพลิเคชันของธนาคารไทยที่เราคุ้นเคย
ตัวอย่างเช่น Venmo ที่ในภายหลัง PayPal ได้เข้ามาซื้อกิจการไป
หรือ Cash App แอปพลิเคชันของบริษัท Square ฟินเทคที่มีผู้ก่อตั้งคนเดียวกับ Twitter
ซึ่งทั้งคู่ต่างใช้วิธีเดียวกัน นั่นคือการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีธนาคาร
ส่วนกระเป๋าเงินดิจิทัล เกิดมาจากการที่เหล่าผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม
ต่างต้องการสร้าง Ecosystem เพื่อใช้จ่ายในเครือข่ายแพลตฟอร์มทั้งหมดของตัวเอง
อย่างเช่น Apple Pay และ Google Pay
แต่ในกลุ่มประเทศที่บัตรเป็นที่นิยมมานาน
แม้ว่าจะมีช่องทางการชำระเงินออนไลน์แบบอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา และมีอัตราการเติบโตที่สูง แต่บัตรก็ยังเป็นที่นิยมมากที่สุดอยู่ดี
ซึ่งส่วนหนึ่งก็สะท้อนได้จาก บริษัทฟินเทคที่ยังให้ความสำคัญกับบัตรอยู่
อย่างในสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นประเทศที่ใช้เงินสดน้อยเป็นอันดับ 5 ของโลก
ฟินเทคยักษ์ใหญ่อย่าง Square ที่แม้จะมี Cash App แต่ผลิตภัณฑ์หลักก็เริ่มมาจาก Square Reader
ที่เป็นอุปกรณ์สี่เหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนเพื่อรับชำระเงินด้วยบัตร
ไปจนถึงเครื่องรับบัตรตามร้านค้า ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าเครื่องรับบัตรของธนาคาร
หรืออย่างเกาหลีใต้ ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
แม้กระเป๋าเงินดิจิทัลของแอปพลิเคชันแช็ตอันดับหนึ่งอย่าง KakaoPay จะได้รับความนิยมสูงมาก จนเป็นรองเพียงบัตรของธนาคารใหญ่ไม่กี่เจ้า
แต่ด้วยความที่คนเกาหลีใต้ยังนิยมใช้บัตร KakaoPay จึงออกบัตรเดบิตที่ผูกกับบัญชี KakaoPay ควบคู่ไปด้วย
ถ้าอย่างนั้น เจ้าตลาดในยุคไร้บัตร คือใคร ?
คำตอบก็คือกลุ่มประเทศที่สัดส่วนประชากรที่เข้าไม่ถึงบริการของธนาคาร
หรือมีบัญชีธนาคารแต่ไม่เคยใช้บริการด้านอื่น ยังมีอยู่มาก
เลยทำให้จำนวนคนที่ใช้บัตรมีน้อย
ซึ่งเมื่อโลกได้มุ่งสู่การใช้จ่ายแบบออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เมื่อไม่มีบัตร
ช่องทางการชำระเงินที่เลือกใช้ จึงเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลและแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ตัวอย่างประเทศในกลุ่มนี้ก็เช่น จีน, อินเดีย รวมถึงประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะจีนและอินเดีย เป็นสองประเทศที่มีสัดส่วนของกลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงธนาคาร มากที่สุดในโลก
ในขณะเดียวกัน ก็มีสัดส่วนการใช้กระเป๋าเงินดิจิทัลสูงที่สุด
และแม้ว่าจีนจะยังไม่ใช่ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในเอเชีย
แต่จีนก็ได้กลายเป็นเจ้าตลาดการใช้จ่ายแบบไร้บัตรที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้ว
ซึ่งจุดเริ่มต้น เกิดขึ้นหลังจากที่ฝั่งตะวันตกได้รู้จัก PayPal ไปประมาณ 5 ปี
คนจีนก็ได้รู้จักกับ Alipay ที่เป็นต้นตำรับของกระเป๋าเงินดิจิทัล
ในตอนนั้นอีคอมเมิร์ซอย่าง Alibaba ได้พัฒนา Alipay เพื่อเป็นแพลตฟอร์มใช้จ่าย
สำหรับซื้อของออนไลน์แบบไม่ต้องใช้บัตร จนต่อยอดมาเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล
รวมถึงแอปพลิเคชันเพื่อใช้จ่ายผ่านสมาร์ตโฟนด้วย
จนในปี 2013 Alipay สามารถแซง PayPal ขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มชำระเงินบนสมาร์ตโฟนที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้สำเร็จ
โดยในแถบเอเชียนั้น นอกจากเหตุผลเรื่องคนเข้าถึงบริการจากธนาคารไม่มากแล้ว
การใช้จ่ายแบบไร้บัตรยังเติบโตได้อย่างรวดเร็วตามการเติบโตของแพลตฟอร์ม
อย่างอีคอมเมิร์ซ, แช็ต, เรียกรถ หรือสั่งอาหาร
ในประเทศจีน เช่น Alipay และ WeChat Pay
ในประเทศอินเดีย เช่น Paytm
ในประเทศกลุ่มอาเซียน เช่น GrabPay, ShopeePay และ GoPay
ทำให้ในปัจจุบัน เอเชียแปซิฟิก ได้กลายเป็นภูมิภาคเดียวในโลก
ที่สัดส่วนการใช้จ่ายเมื่อซื้อของออนไลน์
มาจากช่องทางกระเป๋าเงินดิจิทัลมากที่สุด
และได้แซงการใช้บัตรไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งการเติบโตของการใช้จ่ายแบบไร้บัตร ก็ทำให้คนเริ่มตั้งคำถามว่า
หรือ Cashless Society จะกลายเป็น Cardless Society ไปด้วย
สำหรับคำตอบของเรื่องนี้ ถ้ามาดูในกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสดน้อยสุดในโลก
จะพบว่าในประเทศเหล่านั้น บัตรยังคงเป็นช่องทางหลักในการใช้จ่ายอยู่
หรือถ้าลองหาคำตอบจากเรื่องใกล้ตัว จะพอเห็นได้ว่า
การใช้จ่ายแบบไร้บัตร ยังมีข้อจำกัดในบางเรื่อง
อย่างเช่นเวลาจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนแบบตัดเงินอัตโนมัติ
หรือการซื้อขายของแบบข้ามประเทศ ก็ยังต้องใช้บัตรอยู่
แม้จะมี PayPal ที่เป็นช่องทางไร้บัตรแบบสากล
แต่ในแถบบ้านเราก็ไม่ได้รับความนิยมมากนัก
และยังรวมไปถึงบางคนที่ถ้าต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ การใช้บัตรยังรู้สึกปลอดภัยมากกว่า เช่นกัน
นอกจากนั้นบัตรเครดิต ยังมีโมเดลธุรกิจที่จะหักเงินส่วนหนึ่งจากร้านค้า
เพื่อให้ธนาคารผู้ออกบัตรมาทำส่วนลดโปรโมชัน เพื่อให้ผู้ใช้บัตรรู้สึกคุ้มค่า
และในมุมมองของผู้บริโภค การจ่ายด้วยบัตรเครดิต จะเป็นการได้สินค้าหรือบริการมาก่อน แล้วค่อยจ่ายเงินทีหลังในวันที่ครบกำหนด
ดังนั้นสำหรับผู้ที่มีบัตรเครดิต ก็มักเลือกที่จะใช้บัตรเครดิตก่อนช่องทางอื่น ๆ เพราะมีสิทธิประโยชน์มากกว่า
นั่นคงทำให้เราพอสรุปได้ว่า สังคมไร้เงินสด จะยังไม่ได้กลายเป็นสังคมไร้บัตรในเร็ววันนี้
ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว การชำระเงินแต่ละช่องทาง ก็มีจุดเด่นที่ต่างกันไป
แถมยังคอยเสริมจุดอ่อนของกันและกันไปในตัว
แม้แต่ธนาคารเอง ที่ถึงจะโดนดิสรัปต์จากการใช้จ่ายแบบไร้เงินสด
แต่แพลตฟอร์มเหล่านั้นโดยส่วนใหญ่ ยังคงต้องผูกกับบัญชีธนาคารอยู่ดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bcg.com/publications/2020/southeast-asian-consumers-digital-payment-revolutions
-https://asia.nikkei.com/Editor-s-Picks/FT-Confidential-Research/Mobile-payments-sideswipe-credit-cards-in-Southeast-Asia
-https://www.rapyd.net/resource/asia-pacific-ecommerce-and-payments-guide/
-https://www.techinasia.com/future-southeast-asias-mobile-wallets
-https://www.mckinsey.com/industries/financial-services/our-insights/joining-the-next-generation-of-digital-banks-in-asia
-https://www.mckinsey.com/industries/financial-services/our-insights/banking-matters/digital-commerce-and-the-rise-of-alternative-payments-methods
-http://documents1.worldbank.org/curated/en/332881525873182837/pdf/126033-PUB-PUBLIC-pubdate-4-19-2018.pdf
-https://www.jpmorgan.com/merchant-services/insights/reports/thailand-2020
同時也有11部Youtube影片,追蹤數超過87萬的網紅Paul Pattarapon พอล ภัทรพล,也在其Youtube影片中提到,หลังจากนี้โลกจะเป็นอย่างไรหลังจบวิกฤต COVID-19 ความปกติในรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ?! โลกจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน EP.นี้ผมจะมาอธิบายให้ทุกคนได...
「cashless society」的推薦目錄:
- 關於cashless society 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於cashless society 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於cashless society 在 ติดโปร - PRO addict Facebook 的最佳貼文
- 關於cashless society 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的最讚貼文
- 關於cashless society 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的最佳貼文
- 關於cashless society 在 iT24Hrs Youtube 的最讚貼文
- 關於cashless society 在 What does a cashless future mean? - YouTube 的評價
cashless society 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ประเทศไหน ใช้เงินสด น้อยที่สุดในโลก ? /โดย ลงทุนแมน
วิธีการชำระเงินของมนุษย์ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
จากเปลือกหอย เหรียญ ธนบัตร จนมาถึงยุคปัจจุบัน
ที่เราใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
ซึ่งเรียกกันว่ายุค Cashless Society หรือสังคมไร้เงินสด
หากให้ลองนึกถึงประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้
หลายคนก็น่าจะนึกถึงประเทศจีน หรือไม่ก็สหรัฐอเมริกา
แต่คำตอบที่ได้จะไม่ใช่ทั้ง 2 ประเทศนี้เลย
แล้วประเทศนั้นคือประเทศอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา
ประเทศแห่งนี้มีสัดส่วนการใช้เงินสดอยู่ที่ 51%
เมื่อเทียบกับธุรกรรมทางการเงินทั้งหมดในประเทศ
รองลงมาจะเป็นประเทศในแถบยุโรปฝั่งเหนือ
ซึ่งก็ได้แก่ ฟินแลนด์, เนเธอร์แลนด์, สหราชอาณาจักร และสวีเดน
ที่สัดส่วนการใช้เงินสดเฉลี่ยอยู่ที่ 55%
แต่พอมาวันนี้ หากเราลองมาดูสัดส่วนการใช้เงินสดของ 5 ประเทศ ที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในโลก
อันดับที่ 1 สวีเดน 9%
อันดับที่ 2 เนเธอร์แลนด์ 14%
อันดับที่ 3 สหราชอาณาจักร 23%
อันดับที่ 4 ฟินแลนด์ 24%
อันดับที่ 5 สหรัฐอเมริกา 28%
กลับกลายเป็นว่าแชมป์โลกเมื่อ 10 ปีก่อน อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตกไปอยู่อันดับที่ 5
และประเทศ “สวีเดน” ได้กลายมาเป็นประเทศที่ไร้เงินสดที่สุดในโลก
คำถามที่ตามมาก็คือ เพราะอะไร ?
จริง ๆ แล้ว หากย้อนไปในอดีตจะพบว่าประเทศสวีเดน ถือเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงินมาอย่างยาวนาน อ้างอิงจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาตั้งแต่
ปี 1661 เป็นประเทศแรกในยุโรปที่เริ่มใช้ธนบัตร
ปี 1967 เริ่มใช้ตู้ ATM เป็นประเทศที่ 2 ของโลก ช้ากว่าประเทศแรกอย่างอังกฤษเพียง 1 สัปดาห์
และรู้หรือไม่ว่า ภายในปี 2023 เราอาจไม่ได้เห็นการใช้เงินสดในประเทศสวีเดนอีกเลย
เพราะมีการคาดการณ์ว่าภายในเดือนมีนาคม ปี 2023
ประเทศสวีเดนจะเป็นสังคมไร้เงินสดได้อย่างสมบูรณ์ เป็นประเทศแรกของโลก
นอกเหนือจากการเป็นผู้นำนวัตกรรมการเงินแล้ว
ประเทศสวีเดนยังได้รับความร่วมมือกันจากทุกฝ่าย
ทั้งผู้พัฒนาและผลักดันเทคโนโลยี รวมถึงผู้ใช้งาน
ในด้านของผู้พัฒนาเทคโนโลยี ประเทศสวีเดนถือว่าเป็นประเทศแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี
เห็นได้จากแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมไปทั่วโลกอย่าง Spotify, SoundCloud และ Skype
หรือแม้แต่ยูนิคอร์นที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่งมีชื่อว่า Klarna ก็ก่อตั้งจากประเทศแห่งนี้
และแน่นอนว่ามันเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับระบบการชำระเงินผ่านการซื้อของออนไลน์
ที่ขาดไม่ได้คือแรงผลักดันจากรัฐบาลและกลุ่มสถาบันการเงิน
ที่ได้ออกกฎเพื่อสนับสนุนให้ร้านค้ารับชำระเงินจากลูกค้าในแบบอิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งการที่ภาครัฐผลักดันให้เลิกใช้เงินสด นอกจากเรื่องของความสะดวกสบายและง่ายต่อการใช้งานแล้ว
สิ่งสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การลดการก่ออาชญากรรม ทั้งการปล้นเงินสด หรือการซื้อขายสิ่งผิดกฎหมาย เพราะธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนโลกอินเทอร์เน็ตจะสามารถตรวจสอบได้
ในขณะเดียวกัน เงินสดยังมีต้นทุนในการจัดการสูง โดยเฉพาะเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย
จุดเปลี่ยนสำคัญที่นำสวีเดนไปสู่สังคมไร้เงินสดเกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2012
โดยธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน 6 แห่ง รวมถึงธนาคารกลางสวีเดน
ได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับระบบการชำระเงินผ่านสมาร์ตโฟน ที่มีชื่อว่า “Swish”
ตรงนี้ก็น่าคิดเหมือนกันว่า จริง ๆ แล้วประเทศไทยเอง
ก็มีระบบพร้อมเพย์ รวมไปถึงแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ถูกผลักดันโดยรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน
ก็น่าคิดเหมือนกันว่าเราจะมีพัฒนาการในลักษณะเดียวกันกับสวีเดนได้หรือไม่
กลับมาที่ Swish แอปพลิเคชันดังกล่าวมีเป้าหมายหลัก เพื่อสนับสนุนให้ชาวสวีเดน
เปลี่ยนมามีวิถีชีวิตแบบที่ไม่ใช้เงินสดได้อย่างสะดวกสบาย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ
เพราะปัจจุบันมีชาวสวีเดนที่ใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันนี้ มากกว่า 60% ของประชากรแล้ว
และในปัจจุบัน ธนาคารกลางสวีเดนก็กำลังพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง
ชื่อว่า e-krona ที่คาดว่าจะใช้งานได้จริงภายในปี 2025 อีกด้วย
ในส่วนของผู้ใช้เทคโนโลยีก็สำคัญเช่นกัน เพราะชาวสวีเดนถือได้ว่าเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ได้เร็ว
สะท้อนมาจากผลสำรวจเมื่อปลายปี 2020 ที่ว่า คนสวีเดนทุก 3 ใน 4 คน
เลือกที่จะใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งถือว่าสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงประเทศเกาหลีใต้
ในขณะที่ชาวสวีเดนมีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 94% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นปัจจัยสำคัญที่ได้ขับเคลื่อนสวีเดน
ให้เข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้รวดเร็วที่สุดในโลกนั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยคำถามที่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า แล้วจีนอยู่ตรงไหน ?
เรามาดู อันดับประเทศที่ใช้เงินสดน้อยที่สุดในเอเชีย ก็คือ
อันดับที่ 1 เกาหลีใต้ ใช้เงินสด 34%
อันดับที่ 2 สิงคโปร์ ใช้เงินสด 39%
อันดับที่ 3 จีน ใช้เงินสด 41%
จะเห็นได้ว่าตอนนี้ประเทศจีนยังอยู่ในอันดับที่ 3
แต่หากเราย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน
รู้หรือไม่ว่าสมัยนั้นคนจีนยังใช้เงินสดกันทั้งประเทศ
ถึงตรงนี้ เราก็คงสรุปได้ว่าอีกหน่อยโลกของเราก็น่าจะหมุนเข้าหาสังคมไร้เงินสดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และตัวกลางในการรับชำระอย่างเหรียญและธนบัตร ที่ใช้กันมานานกว่าหลายชั่วอายุคน
อาจจะกลายเป็นของสะสม หรือเป็นวัตถุโบราณที่หาดูได้ แค่ในพิพิธภัณฑ์..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.mckinsey.com/~/media/mckinsey/industries/financial%20services/our%20insights/accelerating%20winds%20of%20change%20in%20global%20payments/2020-mckinsey-global-payments-report-vf.pdf
-https://interestingengineering.com/sweden-how-to-live-in-the-worlds-first-cashless-society
-https://www.weforum.org/agenda/2021/01/this-chart-shows-cash-cashless-finance-payment-methods-global-preference/
-https://data.worldbank.org/indicator/IT.NET.USER.ZS?most_recent_value_desc=true
-https://en.wikipedia.org/wiki/Swish_(payment)
cashless society 在 ติดโปร - PRO addict Facebook 的最佳貼文
🌈 หิวเมื่อไร รีบเข้า Robinhood แจกโค้ดลด 50 บาทเมื่อสั่งครบ 100 บาทเท่านั้น
⭐️ แอปพลิเคชั่นสั่งอาหารน้องใหม่สัญชาติไทย Robinhood ออกโปรโมชั่นพิเศษสำหรับชาวติดโปรโดยเฉพาะ แจกโค้ดลดไปเลย 50 บาท เมื่อสั่งขั้นต่ำ 100 บาท จำกัดจำนวนแค่ 200 สิทธิ์ เท่านั้นนะมาก่อนได้ก่อนแบบนี้คือห้ามพลาดเด็ดขาด
กรอกโค้ด >> TIDPRO50
.
🍔 บอกเลยแอปเดียวจบ ครบทุกของอร่อยที่อยากกิน จะเป็นอาหารไทย เกาหลี ญี่ปุ่น หรือจะของหวานก็มาหมด แถมสามารถสั่งแบบ Multiply Order ได้อีกด้วยนะ เปิดปาร์ตี้กับเพื่อนสั่งมาอร่อยหลายร้านหลายเมนูแบบไม่จำกัดได้เลย และที่สำคัญราคาไม่มีบวกเพิ่ม ปริมาณไม่มีลด เหมือนไปสั่งเองที่ร้านเลย แถมยังรวบรวม Playlist อาหารให้เลือกสั่งหลากหลายประเภทด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น รวมหลากหลายร้านเด็ด ร้านดังในตำนาน ร้านมิชลินสตาร์ ร้านยอดนิยม จากสตรีทฟู้ด ยันร้านในห้างดัง ขนมาให้เลือกสั่งมากมาย คิดไม่ออกกินเมนูอะไร ลองดูใน Playlist แล้วเลือกอร่อยได้เลย โปรก็คุ้ม แถมใช้งานง่าย
.
💸 และสำหรับชาว cashless society เป็นปลื้มไปอีก เพราะสามารถจ่ายเงินเป็นแบบ cashless ผ่าน SCB Easy App และ บัตรเครดิต บัตรเดบิต ทุกธนาคาร อีกด้วยจ้า โปรปัง ใช้งานง่ายแบบนี้ มาสั่งกับ Robinhood ได้เลย
.
👨🏻💻 โหลดเลย https://apple.co/2NUD2NG
📆 ตั้งแต่วันนี้ – 4 เมษายน 2564
#Robinhood #Promotion #sale #ราคาเท่าหน้าร้าน #ปริมาณอาหารไม่ลด #ติดโปร #TIDPRO
cashless society 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的最讚貼文
หลังจากนี้โลกจะเป็นอย่างไรหลังจบวิกฤต COVID-19 ความปกติในรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ?!
โลกจะเปลี่ยนไปเป็นแบบไหน EP.นี้ผมจะมาอธิบายให้ทุกคนได้รับชมคลิปนี้ไปพร้อมๆกันครับ
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามกันมาตลอดครับ สำหรับใครที่ยังไม่ได้กดติดตาม
สามารถเข้าไปได้ที่ YouTube Channel : Paul Pattarapon พอล ภัทรพล
Link: https://www.youtube.com/channel/UCunVACpk7PRWB1tz1VrhrrA
ช่องทางการติดตาม
Facebook : https://www.facebook.com/paulpattaraponofficial
Instagram : https://www.instagram.com/paulpattarapon
Website : https://www.paulpattarapon.com
สนใจติดต่อโฆษณา และทำวีดีโอ YouTube
โทร : 02-048-5705-9
Email : [email protected]
Powered by CastingAsia
#MoneyMatters #PaulPattarapon #พอลภัทรพล #stayhome #learn #withme
cashless society 在 Paul Pattarapon พอล ภัทรพล Youtube 的最佳貼文
สิ่งสำคัญในการดูแลตัวเองช่วงสถานการณ์ COVID-19 นี้ที่คุณไม่ควรมองข้ามคือ การจับเงินสด ครับ
เพราะอะไรถึงต้องระวังด้วย EP. นี้มีคำตอบผมจะมาอธิบายให้ฟังกันครับ เข้าไปรับชมพร้อมกันได้เลยครับ
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามกันมาตลอดครับ สำหรับใครที่ยังไม่ได้กดติดตาม
สามารถเข้าไปได้ที่ YouTube Channel : Paul Pattarapon พอล ภัทรพล
Link: https://www.youtube.com/channel/UCunVACpk7PRWB1tz1VrhrrA
ช่องทางการติดตาม
Facebook : https://www.facebook.com/paulpattaraponofficial
Instagram : https://www.instagram.com/paulpattarapon
Website : https://www.paulpattarapon.com
สนใจติดต่อโฆษณา และทำวีดีโอ YouTube
โทร : 02-048-5705-9
Email : [email protected]
Powered by CastingAsia
#MoneyMatters #PaulPattarapon #พอลภัทรพล #stayhome #learn #withme
cashless society 在 iT24Hrs Youtube 的最讚貼文
วิธีเติมเงิน TrueMoney Wallet สังคมไร้เงินสด ลดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19
ในสถานการณ์การระบาดของ เชื้อโรคไวรัส โคโรนา หรือ โควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาด บางครั้งการหยิบจับแบงค์หรือเงินสดก็อาจจะมีเชื่อโรคติดมาก็เป็นได้ดังนั้น สังคมไร้เงินสด จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ แค่เพียงเรามีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ช่วยลดโอกาสการติดเชื้อได้นะ ซึ่ง e-wallet หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ อย่าง TrueMoney Wallet ไม่ว่าจะจับจ่ายใช้สอย ก็แค่หยิบมือถือขึ้นมาเปิดแอปแล้วสแกนจ่ายเงิน !! สะดวกทั้งผู้ใช้ และปลอดภัยกว่าการใช้เงินสดในช่วงโรคระบาด
สังคมไร้เงินสด หรือ Cashless society ไม่ได้แปลว่าเราไม่มีสตางค์ แต่มีความหมายว่านี้คือสังคมเศษฐกิจที่ไม่นิยมพกเงินสด เวลาจับจ่ายใช้สอยไม่ว่าของจะชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ใช้มือถือก็สแกนจ่ายเงินได้เลย หรือเวลาซื้อของออนไลน์ก็กดโอนผ่านในแอป ง่ายๆไม่ต้องเดินทางไปถึงธนาคาร
True Money Wallet ก็เป็นอีกหนึ่งระบบ ที่ทำให้เกิดสังคมไร้เงินสด ด้วยรูปแบบของ E-Wallet ที่ให้คุณใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันได้ง่ายขึ้นในหลากหลายช่องทาง ดังนี้
1. สำหรับซื้อของในร้านค้าต่างๆได้ ที่คนนิยมใช้กันก็จะเป็นที่ 7-Eleven
2. สำหรับซื้อ Digital Content ประเภท item ต่างๆจาก Google Play หรือ Play Store ได้
3. สำหรับซื้ออของออนไลน์ได้ในรูปแบบ Online Payment ทั้งในแอป Lazada และร้านค้าออนไลน์อีกมากมาย
4. สำหรับซื้อ และจ่ายประกันภัยรถยนต์จากกรุงเทพประกันภัย รวมถึงการผ่อนซื้อมือถือจาก ทรูช้อป ได้อีกด้วย
วิธีการเติมเงิน TrueMoney wallet ก็ทำได้ง่ายดังนี้
1. วิธีการเติมเงิน TrueMoney Wallet ด้วยการผูกบัญชีกับธนาคาร หรือ บัตรเครดิต โดยทำแผ่านแอป TrueMoney Wallet ได้เลย
2. วิธีการเติมเงิน TrueMoney Wallet ผ่านเคานท์เตอร์ 7-Eleven โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ว่า "ต้องการเติมเงินเข้า TrueMoney Wallet" สามารถเติมได้ 50 - 2,000 บาท
3. วิธีการเติเงิน TrueMoney Wallet ผ่านตู้เติมเงินของ True หรือ ตู้บุญเติม ที่มีวางอยู่หน้า 7-Eleven, สถานีรถไฟฟ้า MRT, ห้างสรรพสินค้า และทรูช้อป
หลายคนอาจจะคิดว่าการเติมเงินเข้าทรูมันนี่วอลเล็ทเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่จริงๆแล้วไม่ยากอย่างที่คิดเลย สามารถเลือกเติมเงินทรูมันนี่วอลเล็ทได้ในช่องทางที่สะดวก เพื่อการใช้จ่ายที่สะดวกในรูปแบบของสังคมไร้เงินสด ที่ช่วยลดการติดเชื้อ ในช่วง COVID-19 กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้
สำหรับบางคนมีแอปแล้วแต่ยังไม่ทราบวิธีใช้งานและวิธีเติมเงิน เรามีวิธีมาบอกกันค่ะ
.
ดูได้จากรายการย้อนหลังตอนนี้เล้ยยยย
.
(หมายเหตุ: รายการตอนนี้ถ่ายทำก่อนสถานการณ์ COVID-19 ระบาด)
#cashlesssociety #truemoney #สังคมไร้เงินสด #โควิด19 #โควิด #covid19 #cashless #Stayhome #withme
ออกอากาศวันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2563
สามารถติดตาม รายการไอที24ชั่วโมง ทางช่อง 9MCOT HD ทุกวันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.
ติดต่อโฆษณา it24hrs@it24hrs.com
ติดตามรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
facebook.com/iT24Hrs
twitter.com/panraphee
twitter.com/it24hrs
IG: panraphee
cashless society 在 What does a cashless future mean? - YouTube 的推薦與評價
Still many countries are fast moving towards a cashless society. In Sweden the number of retail cash transactions per person has fallen by ... ... <看更多>