ขีดจำกัดของโลก 9 ประการ
เรื่องโลกร้อนเป็นแค่ 1 ใน 9 เท่านั้น ! มีอีก 8 ตัว! คุณพระ!!
-----------------------
เมื่อไม่นานมานี้ได้ดูสารคดีเรื่อง Breaking Boundaries: The Science of Our Planet ใน netflix [ https://www.imdb.com/title/tt14539726/?ref_=nv_sr_srsg_0 ] น่าสนใจมาก
หนังพูดเรื่อง The 9 planetary boundaries หรือขีดจำกัดของโลก 9 อย่างที่มนุษย์กำลังสร้างผลกระทบโดยตรง และถ้าข้ามขีดอันตรายไปเมื่อไหร่ จะเกิดผลกระทบลูกโซ่ที่ทำลายระบบนิเวศของโลกอย่างหวนกลับมาไม่ได้อีกต่อไป
ซึ่งในบรรดา 9 อย่างนี้ เรารู้จักเรื่องโลกร้อนดีที่สุด แต่ที่เหลือ มีหลายอันที่มีคนพูดถึงน้อยมากๆ
ขีดจำกัดทั้ง 9 นี้ มีที่มาจากกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นำโดย Johan Rockstrom [นามสกุลโคตรเท่] แห่งมหาวิทยาลัย Stockholm และวิล สเตฟเฟน (Will Steffen) จากมหาวิทยาลัย Australian National University เอางานวิจัยยาวนานกว่า 5 ทศวรรษ มาสรุปเป็นกระบวนการรักษาสมดุลของโลกให้เราเห็นชัดเจน 9 ประการ โดย Rockstrom เองเป็น presenter ของสารคดีชิ้นนี้ด้วย
นอกจากจะทำความรู้จักขีดจำกัดทั้ง 9 อย่างนี้แล้ว งานวิจัยก็ยังบอกเราด้วยว่าตอนนี้มนุษย์อยู่ในขีดอันตรายระดับไหนแล้วในแต่ละหัวข้อ
-----------------------
สถานการณ์: [Code Red] วิกฤติแล้วจ้า ฉิบหายแล้ว มี 2 ข้อ
1. Biodiversity loss [การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ว่าด้วยการสูญพันธ์ของสัตว์และพืช ใช่ 50 ปีที่ผ่านมา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลักๆมาจากการสูญเสียที่อยู่อาศัยจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อผลิตอาหาร น้ำ และทรัพยากร
- ต่อปี อัตราการสูญพันธุ์ในปัจจุบัน อยู่ที่ 1,000 ต่อ 1,000,000 ชนิด ต่อปี [0.1%] โดยอัตราการสูญพันธุ์ที่ปลอดภัย อยู่ที่ ไม่เกิด 10 ต่อ 1,000,000 ชนิดต่อปี [ 0.001%] เท่ากับเราเลย limit ที่ปลอดภัยมาแล้ว 100 เท่า!
2. Nitrogen Cycle and Phosphorus Cycle [ วงจรไนโตรเจนและฟอสฟอรัส] : สถานการณ์ วิกฤติ
- ใช้แล้วครับ ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัส ในปุ๋ยเคมี NPK นี่แหล่ะ
- เรื่องนี้มีคนรู้น้อยมาก หลักๆคือการที่มนุษย์ผลิตอาหารมากขนาดนี้ เราต้องใช้ปุ๋ยจำนวนมหาศาล เราไปเก็บไนโตรเจนมาจากชั้นบรรยากาศ และขุดฟอสฟอรัสมาจากในดิน แล้วในกระบวนการเกษตร สารเหล่านี้โดนเก็บไว้ในพืชแค่นิดเดียว ที่เหลือไหลลงน้ำลงทะเล หรือกลายเป็นมลพิษในอากาศ
- ซึ่งผลพวงก็มีเช่น ปุ๋ยลงน้ำไปทำให้เกิด Algae Bloom [สาหร่ายเติบโต] ซึ่งพอตายทับถมกัน ก็ทำให้ออกซิเจนในน้ำลดลงเรื่อยๆ จนบางที่กลายเป็น "Dead Zone" หรือจุดที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถอยู่ได้อีกแล้ว เพราะขาดออกซิเจน ซึ่งทั่วโลกพบอยู่หลายร้อยแห่งแล้ว ปล่อยไปเรื่อยๆจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ทำระบบนิเวศพังทั้งระบบ
- ตอนนี้เราใช้ไนโตรเจนกับฟอสฟอรัสเพื่อผลิตอาหาร เกิดขีดจำกัดที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดไว้ ประมาณ 2 เท่าในทุกๆปี
-----------------------
สถานการณ์: [Code Yellow] ต้องเฝ้าระวัง หากไม่เปลี่ยนแปลง วิกฤติแน่
3. Deforestation Land use Changes การตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงผืนโลก : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- คือการเปลี่ยนป่าเป็นพื้นที่การเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์[การผลิตเนื้อ ใช้ที่ดินเยอะมาก] ซึ่งนำไปสู่ทั้งความสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ [ข้อ 1. ] และเป็นการปล่อยคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ในต้นไม้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งก็ไปสร้างปัญหาภาวะโลกร้อนต่อ รวมถึงการเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นกรดอีกด้วย
- ป่าคือ Carbon Sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนที่ดีที่สุดที่เรามีอยู่ในธรรมชาติ การสูญเสียป่า คือการสูญเสียระบบจัดการคาร์บอนของดาวโลก
- การสูญเสียพื้นที่ป่าในประเทศหนึ่ง อาจสร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศในระดับโลก (เช่นป่า Amazon เป็นต้น)
4. Climate Change ภาวะโลกร้อน : สถานการณ์ เฝ้าระวัง
- ตัวโหดที่ทุกคนรู้จักดี ตอนนี้เราผ่านจุดที่คาร์บอนในชั้นบรรยากาศ อยู่ที่ 418 ppm [Parts per million] ซึ่งอาจจะนำไปสู่โลกที่อุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 2 องศา ซึ่งเป็นสิ่งที่ Paris Agreement ในปี 2015 ตั้งใจจะทำให้ได้ แต่อย่างไรระดับคาร์บอนได้ออกไซด์ก็ไม่มีทีท่าจะลดลงมาสักกะที ถ้าหากว่าเกิน 500 ppm ขึ้นไป และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอาจจะจบที่ร้อนชึ้น 4-8 องศา ซึ่งนั่นคือ Game Over แน่นอน
- ตอนนี้น้ำแข็งทะเลในขั้วโลกเหนือลดลงจนไม่น่าจะหวนกลับมาได้แล้ว ทำให้เรายิ่งไม่มีพื้นที่สีขาวมาสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป
- น้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายเร็วขึ้นกว่าที่คาดการเอาไว้ 3-4 เท่า ถ้ากรีนแลนด์ละลายหมด น้ำทะเลจะสูงขึ้น 7 เมตร
- ตอนนี้ขั้วโลกได้ที่เชื่อว่าละลายได้ยากมาตลอด เริ่มมีอาการแปรปรวนให้เห็น ถ้าละลายหมด น้ำจะสูงขึ้นหลายสิบเมตร
- จุดที่เราจะย้อนกลับไม่ได้ ใกล้เข้ามาทุกที
-----------------------
สถานการณ์: [Code Green] ยังปลอดภัยอยู่ ต้องรักษาระดับเอาไว้
5. Freshwater Use การใช้น้ำจืด : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- เป็นตัวแปรที่ link กับเรื่อง climate change + ระบบการจัดการน้ำของมนุษย์ ซึ่งได้เปลี่ยนวงจรที่น้ำจืดแปรสภาพและไหลเวียนตามธรรมชาติไปโดยสิ้นเชิง การชลประทานนำไปสู่การเปลี่ยนในการไหลของแม่น้ำ การถางป่านำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของวงจรไอน้ำ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและส่วนใหญ่เปลี่ยนแล้วแก้คืนไม่ได้
- ถึงแม้ว่าตอนนี้จะยังไม่วิกฤติ แต่ก็ต้องระวังดีๆ หากเราเปลี่ยนวงจรน้ำจืดไปเรื่อยๆอย่างไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา อาจจะส่งผลลูกโซ่ต่อเนื่อง สร้างความเสียหายในแบบที่เรายังคาดไม่ถึงได้
6. Ocean Acidification การเป็นกรดของมหาสมุทร : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- ประมาณ 25-30% ของคาร์บอนที่เราปล่อยออกมา ถูกดูดซับโดยน้ำในมหาสมุทร ซึ่งผลพวงของมันก็คือทำให้น้ำทะเลมีความเป็นกรดมากขึ้น ซึ่งก็ไปทำให้ในน้ำมี แคลเซียมคาร์บอเนต ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งปะการัง ทั้งกุ้ง หอย ปู แพลงตอนบางประเภท หรืออะไรก็ตามที่มีเปลือก ใช้ในการสร้างเปลือกป้องกันตนเอง
- พอสัตว์เหล่านี้โตไม่ได้ ก็กระทบบ่วงโซ่อาหาร ในทะเลก็มีปลาน้อยลงเรื่อยๆ
- ตอนนี้น้ำทะเลของเรา มีความเป็นกรดมากขึ้น 30% เมื่อเทียบกับตอนก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
- อันนี้ link กับเรื่อง Climate change ในเชิงมีสาเหตุร่วมกัน แต่ถือเป็นคนละมาตรวัดกัน
- ถึงยังปลอดภัยอยู่ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนเรื่องปล่อยคาร์บอนกัน มันก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆต่อไป
7. Stratospheric ozone depletion การสลายตัวของชั้นโอโซน : สถานการณ์ ยังปลอดภัย
- อย่างที่รู้กัน โอโซนช่วยกัน UV [ultraviolet] ไม่ให้เข้าสู่บรรยากาศโลก ถ้าไม่มีโอโซนเราก็จะเป็นมะเร็งผิวหนังกันหมด และระบบนิเวศโลกก็จะพัง
- อันนี้เป็นข้อเดียวที่สถานการณ์ดีขึ้นมาก นับตั้งแต่มีการค้นพบปัญหารูโอโซนบริเวณขั้วโลก และมีการระบุชัดเจนว่าสารเคมีชนิดไหนที่เป็นต้นเหตุ นานาชาติก็มีการตกลงแบนสารเหล่านั้นร่วมกันผ่าน Montreal Protocol จนได้ผลนำสถานการณ์อันตรายมาสู่ระดับที่ปลอดภัยได้
- เป็นความหวังของหมู่บ้าน ว่ามนุษย์สามารถรวมตัวกันแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ
-----------------------
สถานการณ์: [Unknown] รู้ว่าเป็นปัญหา แต่ยังไม่สามารถกำหนดขอบเขตที่เกินขีดอันตรายไปได้
- 2 ข้อนี้ คือตัวแปรที่นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่าจะมีผลกระทบกับระบบนิเวศของโลกอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ว่ายังหาคำตอบไม่ได้ว่าขีดอันตรายอยู่ที่จุดไหน
8. Particle Pollution [Atmospheric aerosol loading] สารแขวนลอยในชั้นบรรยากาศ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- ง่ายๆก็คือพวก pm10/ pm2.5 นั่นแหล่ะครับ + สารเคมีต่างๆที่มนุษย์ปล่อยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ สิ่งเหล่านี้นอกจากจะมีผลกับสุขภาพของมนุษย์แล้ว คือมีผลกับอุณหภูมิของโลกด้วย
- ในขณะที่ก๊าซเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น สารแขวนลอยและมลพิษในอากาศ มีผลกระทบในการสะท้อนแสงอาทิตย์ออกนอกชั้นบรรยากาศ พูดง่ายๆยิ่งอากาศขุ่นมัวมาก อุณหภูมิก็ยิ่งลดลง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป เพราะต้องแลกมากับคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่มากๆ เป็นผลกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
- นอกจากนั้น สารแขวนลอยเหล่านี้ยังสามารถจับตัวกับไอน้ำ มีผลกับการจับตัวของก้อนเมฆและการเปลี่ยนแปลงของอากาศอีกด้วย
- ซึ่งผลกระทบตรงนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม ทำให้ยังไม่สามารถทราบผลกระทบทั้งหมดได้
9. Chemical Pollution การปนเปื้อนของสารสังเคราะห์ : สถานการณ์ (ไม่รู้)
- มนุษย์เราสร้างสารสังเคราะห์ชนิดใหม่ขึ้นมากว่า 100,000 ชนิด ซึ่งมีทั้งโลหะหนักต่างๆ สารกัมมันตภาพรังสี ไมโครพลาสติก ฯลฯ ซึ่งผ่านอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ สารเหล่านี้ก็ถูกปล่อยกลับสู่ธรรมชาติ โดยที่เรายังไม่เข้าใจผลกระทบที่พวกมันมีต่อสัตว์ พืช และระบบนิเวศเลย รวมไปถึงผลกระทบที่มันมีต่อคนด้วย [ยกตัวอย่าง จนถึงตอนนี้ ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ ว่าการกินไมโครพลาสติกเข้าไป มีผลอะไรกับร่างกายคนบ้าง]
- ทำให้การกำหนดขอบเขตในเรื่องนี้ เป็นไปได้ยากมาก แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องกันว่า เป็นตัวแปรที่มีผลต่อระบบนิเวศของโลกแน่นอน
-----------------------
นอกจาก 9 ข้อนี้ ขอฝากคำศัพท์ไว้อีกคำ คือคำว่า [Antropocene]=แอนโทรโพซีน คือชื่ออย่างไม่เป็นทางการของโลกยุคปัจจุบัน โดยยุคก่อนหน้านี้คือยุค Holocene [โฮโลซีน] ที่เริ่มต้นประมาณ 11,700 ปีที่แล้ว หลังยุคน้ำแข็งรอบสุดท้ายจบลง เป็นยุคที่อุณหภูมิของโลกเริ่มคงที่ ทำให้สภาวะที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสังคมมนุษย์เกิดขึ้นได้ เป็นสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
แต่มาตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์บอกว่ายุค Antropocene ได้มาถึงแล้ว มาจากคำว่า Anthropo ที่แปลว่า "คน" ในภาษากรีก ซึ่งอธิบายง่ายๆก็คือ นี่คือยุคที่มนุษย์กลายเป็นตัวแปรหลักในการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศและระบบนิเวศของโลก จากที่ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีสปีชีส์ไหนทำแบบนี้ได้มาก่อน สัตว์ทุกชนิดต้องยอมรับสภาวะที่โลกหยิบยื่นให้ มีเราเป็นสปีชีส์แรกที่สามารถเปลี่ยนระบบของโลกได้ด้วยการกระทำของเรา
ขึ้นอยู่กับว่าจะเปลี่ยนไปทางไหนเท่านั้นเอง
Ref
http://www.salforest.com/blog/planetary-boundary
https://en.wikipedia.org/wiki/Planetary_boundaries#/media/File:Planetary_Boundaries.png
https://www.stockholmresilience.org/research/planetary-boundaries/the-nine-planetary-boundaries.html
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/anthropocene/
https://www.imdb.com/title/tt14539726/
同時也有6部Youtube影片,追蹤數超過878的網紅時事英文 Podcast by ssyingwen,也在其Youtube影片中提到,上週,歐洲發生大規模洪水造成上百人死亡。橫跨大西洋, 大規模的野火正在美國西部燃燒。 科學家警告,這些極端天氣是全球暖化的明顯徵兆。 幾年前,談論氣候變遷時都覺得是未來的事,但現在已無法再等,因為它正在發生。 📝 訂閱講義 (只要 $88 /月):https://bit.ly/ssyingw...
「climate change ocean」的推薦目錄:
- 關於climate change ocean 在 Wannasingh Prasertkul (วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล) Facebook 的最讚貼文
- 關於climate change ocean 在 美國在台協會 AIT Facebook 的最讚貼文
- 關於climate change ocean 在 美國在台協會 AIT Facebook 的最讚貼文
- 關於climate change ocean 在 時事英文 Podcast by ssyingwen Youtube 的最佳貼文
- 關於climate change ocean 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的精選貼文
- 關於climate change ocean 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的最讚貼文
climate change ocean 在 美國在台協會 AIT Facebook 的最讚貼文
「惠恕仁總統(President Whipps)及倪約翰大使(Ambassador Hennessey-Niland)的來訪象徵著美國、台灣及帛琉,不論在面對疫情或因應更廣泛的挑戰上,都有著密切的合作,並也都從中受惠。我們的夥伴關係代表我們會在需要的時刻,向彼此伸出援手。…我們的夥伴關係也包括一起合作因應共同的威脅,像是氣候變遷及海洋垃圾。我們期待在下一屆的「我們的海洋大會」(Our Ocean Conference) 上,延續這樣富建設性的合作。我們的夥伴關係還包括努力增進彼此共享的價值,例如保存原住民族文化,與推動永續且具包容性的經濟成長。」美國在台協會處長酈英傑、美國駐帛琉大使倪約翰及外交部長吳釗燮聯袂發表簡短談話時說道。
✅AIT處長致詞稿:https://www.ait.org.tw/zhtw/remarks-by-ait-director-christensen-zh/
✅美國駐帛琉大使致詞稿:https://www.ait.org.tw/zhtw/remarks-by-amb-hennessey-niland-zh/
✅新聞稿:https://www.ait.org.tw/zhtw/pr-on-visit-president-palau-whipps-launch-travel-bubble-zh/
照片來源:外交部 Ministry of Foreign Affairs, ROC(Taiwan)提供
“The visit of President Whipps and Ambassador Hennessey-Niland is emblematic of the closeness and cooperation that has benefitted the United States, Taiwan, and Palau in the COVID fight and more broadly. Our partnership has meant helping one another in times of urgent need. The United States is proud to have provided COVID vaccines to Palau earlier this year, and I understand that PPE donated by Taiwan last year was critical to Palau’s COVID-19 management. Our partnership also includes cooperation to confront shared threats, such as climate change and marine debris. We look forward to constructive collaboration during the next Our Ocean Conference. Our partnership also includes efforts to advance our shared values, including preservation of indigenous cultures and fostering sustainable and inclusive economic growth,” AIT Director Brent Christensen, speaking at a joint press availability with U.S. Ambassador to Palau John Hennessey-Niland and Taiwan Foreign Minister Joseph Wu
✅Read Director’s remarks: https://www.ait.org.tw/remarks-by-ait-director-christensen/
✅Read Ambassador Hennessey-Niland’s remarks: https://www.ait.org.tw/remarks-by-amb-hennessey-niland/
✅Read the Press Release: https://www.ait.org.tw/pr-on-visit-president-palau-whipps-launch-travel-bubble/
Photo credits: The Ministry of Foreign Affairs
climate change ocean 在 美國在台協會 AIT Facebook 的最讚貼文
為慶祝世界水資源日,AIT想跟大家介紹美台在水資源領域多年的合作。過去30多年來,美台在諸多水資源議題都有技術上的密切合作,包括水資源管理、水壩設計和建造、水庫防淤及清淤、地下水控制措施、防洪、海洋氣候變遷和透過人造衛星監控海洋油汙擴散及海洋廢棄物堆積等。2020年11月,我們透過「全球合作暨訓練架構(GCTF)運用循環經濟模式處理海洋廢棄物」線上國際研討會,將美台雙邊長期以來的環境合作,拓展成多邊合作的架構,與多國夥伴共同應對日漸嚴峻的海洋及廢棄物議題。氣候變遷所造成的水患和乾旱及海洋垃圾的問題都加劇了全球水資源的危機,這場危機有賴全球夥伴共同應對。在台灣面臨56年來最大乾旱之際,讓我們一起擔任環保尖兵,共同守護珍貴的水資源和環境!#世界水資源日 #拯救水資源 #對抗氣候變遷 #共同努力共同得益
In honor of World Water Day, AIT would like to highlight U.S.-Taiwan water cooperation. For over thirty years, the United States and Taiwan have shared technical cooperation on water issues, ranging from water resources management, dam design and construction, reservoir sedimentation and sluicing, underground water control measures, flood prevention, ocean climate change, and satellite-based monitoring for marine oil spills and marine debris. Last November 2020, our GCTF workshop on sustainable materials management solutions to marine debris expanded our long-standing environmental cooperation to a multilateral framework to address the growing ocean and waste issues facing the earth. We know that it takes a global effort to address the marine debris and climate change impacts, which have severely compounded the world's water systems through more flooding and droughts. Let’s join hands in conserving our water and be good environmental stewards amid the most severe droughts hitting Taiwan in 56 years! #WorldWaterDay #SaveOurWater #FightClimateChange #StriveTogetherThriveTogether
climate change ocean 在 時事英文 Podcast by ssyingwen Youtube 的最佳貼文
上週,歐洲發生大規模洪水造成上百人死亡。橫跨大西洋, 大規模的野火正在美國西部燃燒。 科學家警告,這些極端天氣是全球暖化的明顯徵兆。 幾年前,談論氣候變遷時都覺得是未來的事,但現在已無法再等,因為它正在發生。
📝 訂閱講義 (只要 $88 /月):https://bit.ly/ssyingwen_notes
🖼️ Instagram: https://bit.ly/ssyingwenIG
🔗 延伸閱讀:https://ssyingwen.com/ssep38
📪 ssyingwen@gmail.com
———
朗讀內容來自 VOA Learning English
👉 Podcast 裡選讀片段文字: https://www.facebook.com/groups/ssyingwen/posts/268239275062319/
👉 完整文章連結在:https://learningenglish.voanews.com/a/scientists-floods-wildfires-are-signs-of-global-warming/5971678.html
0:00 Intro
0:13 第一遍英文朗讀 (慢)
3:21 新聞單字片語解說
21:26 第二遍英文朗讀 (快)
本集提到的單字片語有:
Global warming 全球暖化
Climate change 氣候變遷
Fossil fuel 化石燃料
Greenhouse gases 溫室氣體
Greenhouse effect 溫室效應
Carbon dioxide 二氧化碳
Ozone 臭氧
Extreme weather 極端氣候
Affected area(s) 受災地區
Germany 德國
Belgium 比利時
Netherlands 荷蘭
Luxembourg 盧森堡
Death toll 死亡人數
The Atlantic (Ocean) 大西洋
Drought 乾旱
Death Valley (加州) 死亡谷
Celsius 攝氏度
Live indefinitely 無限期地活著
Humidity 濕度
Plays an important role 扮演重要角色
Wildfires 野火 / 森林大火
Hectares 公頃
Contained (火勢) 已控制
Uncontained (火勢) 未控制
Firefighters 消防人員
Climate scientists 氣候科學家
Cut emissions 減少排放
European Commission (EU) 歐盟
Paris Climate Agreement 巴黎協定
Massive 巨大、大量
Huge
Enormous
Gigantic
Colossal
————
#podcast #全球暖化 #氣候變遷 #學英文 #英文筆記 #英文學習 #英文 #每日英文 #托福 #雅思 #雅思英語 #雅思托福 #多益 #多益單字 #播客 #英文單字卡 #片語 #動詞 #國際新聞 #英文新聞 #英文聽力 #西歐洪水 #美國野火 #極端氣候
climate change ocean 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的精選貼文
Taiwan’s next referendum will soon vote on activating the nation’s fourth nuclear plant, as well as constructing a natural gas plant on an algal reef that's critical for Taiwan’s biodiversity. These decisions come as governments around the world are scrambling to meet the demands of the Paris Agreement, and as environmental activists fight for a more sustainable planet.
Green Parties propose an alternative voice in politics to tackle our environmental ruin. All over the world, there are 91 Green Parties that believe in committing our governments to environmental stewardship, through electing green movement leaders into office. In Asia, Taiwan is home to the region’s oldest Green Party, which won a National Assembly seat in 1996 - their very first election campaign.
Our guest today is Professor Dafydd Fell, a political scientist at SOAS University of London, and Director of the Centre of Taiwan Studies. Dafydd Fell is author of the new book: “Taiwan’s Green Parties: Alternative Politics in Taiwan”, published in March 2021 by Routledge.
Today’s episode is hosted by Nate Maynard - Senior Consultant at Reset Carbon, and host of Waste Not Why Not. You can check out his show for more insights on the world’s ocean, energy, and waste issues.
Waste Not Why Not Podcast: https://ghostisland.media/#wnwn
“Taiwan’s Green Parties: Alternative Politics in Taiwan”: https://www.amazon.com/Taiwans-Green-Parties-Alternative-Routledge/dp/0367650312
Routledge: https://www.routledge.com/Taiwans-Green-Parties-Alternative-Politics-in-Taiwan/Fell/p/book/9780367650315
Support us on Patreon:
http://patreon.com/taiwan
Follow us on Twitter:
https://twitter.com/taiwan
A Ghost Island Media production
https://twitter.com/ghostislandme
www.ghostisland.media
MB01WN2YRLRZWYO
climate change ocean 在 Ghost Island Media 鬼島之音 Youtube 的最讚貼文
It’s common to blame climate change on population growth. Even Dame Jane Goodall recently said so. Nature N8 used to be a population control advocate. He explains why he changed his mind.
This is a podcast about how NOT to save the environment. Hosted by Nature N8 (Nate Maynard), an environmental researcher working on energy, ocean, and waste issues.
Send your questions to ask@wastenotwhynot.com
Support us on Patreon: “Waste Not Why Not”
Follow us on Twitter @wastenotpod
SHOW CREDIT
Host - Nate Maynard (Twitter @N8May)
Executive Producer - Emily Y. Wu (Twitter @emilyywu)
Producer + Editing - Allison Chan
Editing, Mixing, Brand Design - Thomas Lee
Production Assistant - Yu-Chen Lai (Twitter @aguavaemoji)
Production Company - Ghost Island Media
https://www.ghostisland.media
MB010SL8F7ZAJWA