สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse ทำไมคนไทยไม่ควรพลาด ในการลงทุนหุ้นเทคโนโลยี ?
BBLAM x ลงทุนแมน
หลังจาก ลงทุนแมน ได้ชวนผู้เชี่ยวชาญหุ้นเทคโนโลยีจากกองทุนบัวหลวง
มาร่วมพูดคุยในเรื่องหุ้นเทคโนโลยีกันแบบเจาะลึก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
โดยมี 2 Speakers มากประสบการณ์จากกองทุนบัวหลวง ได้เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจมากมาย
- คุณเศรณี นาคธน AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
สถานการณ์ความท้าทาย, โอกาสในอนาคต รวมทั้งแนวทางการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
คำถามที่ 1 : หุ้นเทคโนโลยีจะกลับมาอีกครั้งหรือยัง ?
สังเกตไหมว่าในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีให้ผลตอบแทนได้ดีมาโดยตลอด
โดยในปีนี้ ดัชนีที่รวบรวมบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Nasdaq ก็ให้ผลตอบแทน 12%
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่านักลงทุนเริ่มกลับมาให้ความสนใจหุ้นเทคอีกครั้ง
อย่างในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราก็คงได้มีโอกาสใช้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Grab, Lazada, Shopee หรือ Netflix
แต่ถ้าถามว่ามุมมองต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่า สิ่งที่จะทำให้โลกขับเคลื่อนต่อไปได้ก็คือเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการพัฒนา ให้ถูกขึ้น ดีขึ้น และเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
รวมไปถึงเรื่องของสังคมผู้สูงวัยทั่วโลก ส่งผลให้แรงงานมีจำนวนน้อยลง จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่าง หุ่นยนต์ หรือ AI เพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่แนวโน้มการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมกับการแพทย์อื่น ๆ เช่น การหาหมอออนไลน์, การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, 3D printing ฯลฯ
ซึ่งถ้าถามว่าถึงเวลาของหุ้นเทคโนโลยีหรือยัง ก็จะเห็นได้ว่า ตลาดเริ่มส่งสัญญาณบวกแล้ว เพราะแม้จะมีความชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่หุ้นเทคในช่วงที่ผ่านมาก็ยังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งคุณเอมได้เสริมว่า ทุกวันนี้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเทคโนโลยียังไม่เปลี่ยนแปลง และกำไรยังเติบโต อีกด้วย จากเหตุผลที่ว่ามานี้หุ้นเทคโนโลยีจึงเป็น Theme ลงทุนหลักของโลกในระยะต่อไปแน่นอน
คำถามที่ 2 : “เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย” ส่งผลต่อหุ้นเทคโนโลยีอย่างไร ?
ปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) จะส่งผลต่อหุ้นเทคโนโลยี 2 เรื่องสำคัญ นั่นคือ
- ต้นทุนในการกู้ยืมเงินของบริษัท เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการกู้ยืมเงินก็จะสูงตามไปด้วย
- การประเมินมูลค่าหุ้นแบบ Dividend Discount Model (DDM) เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราคิดลดก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อคิดเป็นมูลค่าหุ้นกลับมา จึงทำให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีลดลง
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหุ้นเทคโนโลยีค่อนข้างอ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ย นั่นเอง
ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลายประเทศเริ่มเปิดเมืองและมีการเร่งฉีดวัคซีน
จึงเป็นไปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนจึงคาดว่า Bond Yield ต้องปรับตัวขึ้นอย่างแน่นอน
ซึ่ง Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ก็เคยปรับขึ้นไปสูงถึงเกือบ 1.8% จากเดิมที่มีตัวเลข 1%
แต่แล้ว.. เมื่อประกาศอัตราเงินเฟ้อออกมาสูงตามที่นักลงทุนคาดไว้จริง ๆ Bond Yield ที่ปรับขึ้นมารออยู่แล้ว จึงเริ่มกลับปรับตัวลดลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง หรือที่เรียกว่า Real Yield ที่คำนวณจาก Bond Yield หลังหักเงินเฟ้อคาดการณ์ ยังอยู่ในระดับต่ำ -0.8%
สะท้อนได้ว่า ผลตอบแทนพันธบัตรไม่น่าจะเอาชนะเงินเฟ้อได้
จึงส่งผลให้การลงทุนในตลาดหุ้นกลับมาน่าสนใจ จากนั้นมาหุ้นเทคโนโลยีก็เริ่มปรับตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ผ่านเครื่องมือ Dot Plot
ยังมองว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (Fed Fund Rate) อาจเกิดขึ้น 2 ครั้งภายในปี 2023
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้
นักลงทุนจึงมองว่า ยิ่งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยมาเร็วมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดอัตราเงินเฟ้อย่อมลดลง
ดังนั้น Bond Yield คงไปต่อได้ไม่ไกล จึงน่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น รวมทั้งหุ้นเทคโนโลยี อีกด้วย
คำถามที่ 3 : ปัจจัยใดส่งผลต่อ “การปรับฐานของหุ้นเทคโนโลยี” ในตอนนี้ ?
ปัจจัยแรกคือ Bond Yield
หากถามว่า Bond Yield เท่าไรถึงจะส่งผลต่อตลาดหุ้น คำตอบจากการสำรวจของ Bank of America นั้นอยู่ที่ 2.5% ซึ่งปัจจุบันนี้ อัตราดอกเบี้ยยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ บวกลบไม่เกิน 1.5%
ดังนั้น กว่าที่ Bond Yield จะปรับตัวสูงถึงระดับนั้น อาจใช้เวลานาน ตลาดหุ้นถึงจะเริ่มปรับฐาน
ปัจจัยที่สองคือ Sector Rotation
เมื่อต้นปีเกิดแรงขายของหุ้นเทคโนโลยี ไปลงทุนในหุ้นวัฏจักรที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง
โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาปรับสูง จนกลายเป็น Commodity Supercycle
สะท้อนได้ว่า สินค้าโภคภัณฑ์กลายเป็น Most Crowded Trade ที่อาจเข้าใกล้จุดสูงสุดไปแล้ว
ดังนั้น เมื่อนักลงทุนเริ่มคลายกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ บวกกับผลประกอบการของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีที่ออกมาดี จึงเป็นเหตุผลให้นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนหุ้นเทคโนโลยีอีกครั้ง
ปัจจัยสุดท้ายที่หลายคนกังวลคือ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น คนยังจะพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่หรือไม่ ?
ซึ่งต้องยอมรับว่า พฤติกรรมหลาย ๆ อย่างได้กลายเป็น New Normal ไปเรียบร้อยแล้ว
อาทิ Work From Home, การช็อปปิงออนไลน์, การสั่งอาหารแบบ Delivery
สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้ว่า ปัจจัยพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีจะยังคงอยู่ต่อไป ไม่เปลี่ยนแปลง
คำถามที่ 4 : “QE Tapering” กระทบหุ้นเทคโนโลยีหรือไม่ ?
การปรับลดวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า QE Tapering
แม้ว่าจะมีวงเงินลดลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในสถานะอัดฉีดเงินอยู่ดี
โดย QE Tapering เป็นหนึ่งในสัญญาณชี้ว่า สภาวะเศรษฐกิจอาจดีขึ้นแล้วจริง ๆ
เพราะแม้ว่า FED จะลดวงเงินอัดฉีดเงิน แต่เศรษฐกิจและภาคธุรกิจก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้
สะท้อนได้ว่า เราอาจจะกำลังอยู่ในช่วง Mid-cycle ของวงจรเศรษฐกิจ
ซึ่ง Mid-cycle จะเป็นช่วงที่ระดับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงมาก และเศรษฐกิจยังโตต่อเนื่องได้
โดยปกติแล้วจะส่งผลดีต่อกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก
ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าความกังวลเรื่องสภาพคล่องก็ถูก Price In ไปแล้วบางส่วน
เมื่อทุกอย่างชัดเจน เชื่อว่ากลุ่มหุ้นเทคโนโลยีก็พร้อมจะไปต่อได้
นอกจากนี้ ต้องให้เครดิตคุณเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
ผู้เป็นสุดยอดนักสื่อสาร และเข้าใจตลาดการลงทุน ซึ่งการค่อย ๆ ออกมาพูด ทำให้ตลาดปรับตัวได้
ที่น่าสนใจคือ หุ้นเทคโนโลยีตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา มีเพียงปีเดียวที่ให้ผลตอบแทนที่เป็นลบ คือปี 2018 ที่ให้ผลตอบแทน -1.1% จากมรสุมลูกใหญ่ อาทิ Trade War, ทรัมป์ ทวีต และการประกาศขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีเดียว ส่วนปีอื่นๆ ล้วนให้ผลตอบแทนในอัตราเลขสองหลัก
สะท้อนได้ว่า หุ้นเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ และให้ผลตอบแทนที่ดีได้
คำถามที่ 5 : ถ้าอนาคตเกิด “การดูดกลับสภาพคล่อง” หุ้นเทคโนโลยีจะยังไปต่อไหม ?
ก่อนหน้านี้ สภาพคล่องได้กระจายตัวไปทั่วตลาดหุ้น แม้แต่ในหุ้นที่ขาดทุนไม่มีกำไร
ดังนั้น เมื่อสภาพคล่องลดลง หุ้นที่มีคุณภาพและมีกำไร เชื่อว่าจะยังไปต่อได้
ต่างจากหุ้นพื้นฐานไม่ดี ยังไม่มีกำไร คงยากที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในปีนี้
ทีนี้น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่า ไม่ใช่หุ้นเทคทุกตัว ที่จะน่ากลัวเสมอไป
หนึ่งวิธีที่จะช่วยเฟ้นหาหุ้นเทคในช่วงเวลานี้คือ วิธี Bottom Up
ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานจากตัวธุรกิจ ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ
ตัวอย่างเช่น Shopify ธุรกิจ E-commerce แบบครบวงจรสัญชาติแคนาดา ทั้งในด้านการตลาด โกดังเก็บของ และบริการขนส่งสินค้า แม้จะมี P/E สูงมาก แต่ก็สร้างกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเท่าตัว และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องได้ นักลงทุนจึงได้เข้าไปลงทุนจนราคาหุ้นปรับตัวสูง 150% ในปีที่ผ่านมา
ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่าหุ้นเทคโนโลยีจะยังไปต่อไหม จึงขึ้นอยู่กับการเลือกหุ้น นั่นเอง
โดยลักษณะหุ้นที่มีโอกาสไปต่อก็คือ หุ้นที่ยังไม่แพง หุ้นที่มีกำไรสม่ำเสมอ และเป็นหุ้นใหญ่
อาทิ หุ้นกลุ่ม FAANG, หุ้นกลุ่ม Software-as-a-Service (SaaS) ที่ให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ที่มี Recurring Income หรือมีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ และราคาหุ้นยังไม่แพง ก็น่าจะยังไปต่อได้
คำถามที่ 6 : หุ้นเทคโนโลยี “ลงทุนระยะยาว” ได้ไหม ?
หลายคนอาจจะยังไม่กล้าถือหุ้นเทคโนโลยีในระยะยาวเพราะกลัวปัจจัยเรื่องดอกเบี้ย
ซึ่งคำถามสำคัญคือ หากมีการขึ้นดอกเบี้ยจริง ๆ จะเกิดอะไรขึ้น ?
อิงจากสถิติตั้งแต่ช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบัน FED ได้มีการขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 7 ครั้ง บวกการทำ QE Tapering อีก 1 ครั้ง
ผลปรากฏว่า Sector ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้มาโดยตลอดก็คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกมากที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ
หรืออย่างในปัจจุบันเอง ที่มีปัจจัยมากระทบมากมาย อย่างเรื่อง Sector Rotation, ภาษีนิติบุคคลฉบับใหม่, กฎหมายเรื่องการผูกขาด แต่กองทุน B-INNOTECH ยังคงเติบโตกว่า 17%
ดังนั้น ทางกองทุนบัวหลวงก็มองว่า อาจไม่จำเป็นต้องดู Timing มาก แต่ให้เน้นจัดพอร์ตการลงทุนโดยให้คงสัดส่วนหุ้นเทคโนโลยีไว้ เพราะถือเป็น Sector ที่มีโอกาสเติบโตได้ดี เมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ ในตลาด
คำถามที่ 7 : ตอนนี้ “ควรเลือกลงทุน” หุ้นเทคโนโลยี อย่างไรดี ?
หุ้นเทคโนโลยีในช่วงนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลัก ๆ 3 ประเภท คือ
1. กลุ่ม Hardware เช่น อุปกรณ์ไอที คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร อย่างบริษัท HP หรือ Logitech
2. กลุ่ม Software as a Service หรือว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในบริษัทองค์กรใหญ่ ๆ เช่น Microsoft Office, Salesforce (CRM) และ ServiceNow
3. กลุ่ม Semiconductor เช่น ชิปเซต การ์ดจอ อย่าง TSMC และ NVIDIA
ซึ่งกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้นตลาดจะให้ P/E ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของกำไรที่สูง ต่างกับกลุ่มที่ 1 ที่อาจเติบโตได้ดีแค่ในช่วงโควิด แต่เป็นสินค้าที่คนไม่ได้ซื้อบ่อย ทำให้ตลาดยังให้ราคาค่อนข้างต่ำ
อย่างบริษัท NVIDIA ผู้ผลิตการ์ดจอ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของนักขุดเหรียญคริปโทฯ ที่มี P/E สูงถึง 76 เท่า แต่ก็มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ในไตรมาสที่ผ่านมาสูงถึง 100% ในขณะที่กลุ่ม Hardware อย่าง HP หรือ Logitech นั้นจะมี P/E อยู่ที่ประมาณ 20 เท่า เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า หุ้นเทคโนโลยีแต่ละกลุ่มนั้น ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้น การเลือกกองทุนที่มีนโยบายบริหารแบบ Active Management หรือ กองทุนที่มีเป้าหมายเพื่อเอาชนะดัชนีอ้างอิง จึงเป็นนโยบายที่เหมาะกับการลงทุนใน Theme เทคโนโลยีนี้ เพราะจะช่วยให้กองทุนมีความยืดหยุ่นในการคัดเลือกหุ้นมากขึ้น โดยสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่เห็น Upside ได้เยอะกว่าได้ เมื่อเทียบกับแบบ Passive Management ที่ลงทุนอิงตามดัชนีเท่านั้น
คำถามที่ 8 : แล้ว “B-INNOTECH” เลือกหุ้นเทคโนโลยีเข้าพอร์ตอย่างไร ?
วิธีคัดเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุน Fidelity ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-INNOTECH
จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ นั่นคือ
- Growth คือ หุ้นบริษัทที่เน้นการสร้างนวัตกรรมทันสมัย มีแนวโน้มเติบโต และเป็นผู้นำได้ในระยะยาว
- Cyclical คือ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และที่จะเติบโตไปตามสภาพเศรษฐกิจได้
ตัวอย่างเช่น หุ้นผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Semiconductor ที่จะยังเติบโตต่อไปได้
- Special Situation คือ หุ้นบริษัทคุณภาพในช่วงเวลาไม่ปกติ
เมื่อกองทุนเห็นบริษัทคุณภาพที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น
หากบริษัทนั้น มีโอกาสฟื้นตัวได้สูง น่าสนใจในอนาคต ก็จะเข้าไปลงทุนเก็บสะสมไว้
ดังนั้น การเลือกหุ้นเทคโนโลยีของกองทุน B-INNOTECH ที่มักจะลงทุนในหุ้นใหญ่
ลักษณะไม่หวือหวา เช่น Alphabet, Microsoft
ด้วยพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม เป็นธุรกิจผู้นำในกลุ่ม
รวมทั้งเป็นธุรกิจมีรายได้และกำไรที่มีคุณภาพ และต้องเติบโตต่อเนื่องในอนาคตด้วย
ซึ่งการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีขนาดใหญ่, ธุรกิจเทคโนโลยีพื้นฐาน และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
ที่มีแนวโน้มผลการดำเนินการค่อยปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลให้ B-INNOTECH เป็นกองทุนที่มีความผันผวนที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับกองทุนเทคโนโลยีและ Innovation อื่น ๆ อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ สะท้อนได้ว่า B-INNOTECH เป็นอีกหนึ่งกองทุนหุ้นเทคโนโลยีที่น่าสนใจเลยทีเดียว ในตอนนี้..
คำเตือน:
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อนู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
clubhouse nasdaq 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
Agora บริษัทที่มูลค่าเพิ่มแสนล้าน เพราะความนิยมแอป Clubhouse /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่า แอปอะไร ที่กำลังเป็นที่สนใจของคนไทยมากที่สุดตอนนี้
ก็คงต้องยกตำแหน่งนี้ให้กับ “Clubhouse”
แอปโซเชียลน้องใหม่ ที่ให้ผู้ใช้งานมาเข้าร่วมห้อง หรือ คลับ เพื่อแลกเปลี่ยนพูดคุยกันด้วยเสียง
ความร้อนแรงของ Clubhouse ในตอนนี้
ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่แอปของตัวเองเพียงเท่านั้น
แต่ Clubhouse กำลังทำให้อีกบริษัทหนึ่งได้รับประโยชน์ตามไปด้วย
บริษัทนั้น มีชื่อว่า “Agora”
แล้ว Agora ทำธุรกิจอะไร
ทำไมคนเข้ามาใช้แอป Clubhouse มากขึ้น แล้ว Agora ถึงได้ประโยชน์ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
หลังจากช่วงปลายเดือนมกราคม ที่ อีลอน มัสก์ ได้เข้าไปใช้พื้นที่ในแอป Clubhouse
เพื่อให้สัมภาษณ์และพูดคุยประเด็นต่างๆ
ความนิยมของแอป Clubhouse ก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
และกลายเป็นที่สนใจของคนในหลายประเทศทั่วโลก
ในประเทศไทย Clubhouse ก็กำลังเป็นที่สนใจของทั้ง CEO, นักธุรกิจ, นักลงทุน, ยูทูบเบอร์, ดารา, ศิลปิน และคนทั่วๆ ไป ที่เริ่มเข้ามาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ
เรียกได้ว่า Clubhouse ในตอนนี้
น่าจะเป็นแอปที่เนื้อหอมที่สุดสำหรับคนไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลกเลยก็ว่าได้
และถ้าหากว่า Clubhouse จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น
ราคาหุ้นก็คงจะพุ่งทะยานขึ้นไปแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย
แต่ความเป็นจริงก็คือ ผู้พัฒนา Clubhouse ที่ชื่อว่า Alpha Exploration
ไม่ได้เป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นแต่อย่างใด
พอเป็นแบบนี้ อานิสงส์ของความนิยมแอป Clubhouse
จึงมาตกอยู่ที่บริษัทที่ชื่อว่า “Agora” ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้น NASDAQ
แล้ว Agora มาเกี่ยวกับ Clubhouse เรื่องอะไร ?
Agora เป็นบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี และแพลตฟอร์ม
สำหรับการสื่อสารแบบ “real-time engagement”
ทั้งในรูปแบบของเสียง และวิดีโอ
โดย Agora มีรูปแบบการให้บริการหลักๆ คือเป็น “Platform-as-a-Service”
Platform-as-a-Service ในที่นี้ อธิบายง่ายๆ ก็คือ
แอปไหน ที่อยากมีฟังก์ชันให้ผู้ใช้งานพูดคุยโต้ตอบกันผ่านเสียงหรือวิดีโอ
ก็สามารถมาใช้แพลตฟอร์มของ Agora ที่เป็นพื้นฐานของฟังก์ชันเหล่านั้นได้
โดยข้อดีก็คือ แอปที่เลือกใช้บริการ Platform-as-a-Service ของ Agora
จะไม่ต้องลงทุนลงแรงพัฒนาระบบสื่อสารแบบ real-time ขึ้นมาเอง
เพราะถ้าเลือกทำเอง ต้องใช้ต้นทุนทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
ที่สำคัญก็คือ แพลตฟอร์มที่ Agora ออกแบบมา
สามารถปรับแต่ง (Customize) ให้ตรงกับความต้องการใช้งานของแต่ละแอปได้ไม่ยาก
ซึ่งนักลงทุนก็เชื่อกันว่า แอป Clubhouse ก็เป็นอีกราย
ที่ใช้ Platform-as-a-Service ของ Agora มาเป็นพื้นฐานของการพูดคุยแบบ real-time ของผู้ใช้งานภายในแอป
และด้วยโมเดลการทำรายได้ของ Clubhouse เป็นแบบ “Freemium”
คือ Agora จะให้มีทราฟฟิกบนแพลตฟอร์มได้ฟรีในช่วงแรก
แต่เมื่อจำนวนชั่วโมง real-time engagement บนแอปนั้นๆ ที่ใช้บริการแพลตฟอร์มของ Agora เกินกำหนดแล้ว Agora ก็จะเริ่มคิดค่าบริการตามการใช้งาน
ก็หมายความว่า ถ้ามีคนเข้ามาใช้งาน Clubhouse มากขึ้นเรื่อยๆ
รายได้ของ Agora ก็จะมีโอกาสโตขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
เรื่องนี้ก็เลยทำให้ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ราคาหุ้นของ Agora ในตลาดหุ้น NASDAQ ปรับตัวขึ้นมาแล้วประมาณ 109%
ส่งผลให้มูลค่าบริษัท Agora เพิ่มขึ้นจาก 141,000 ล้านบาท เป็น 294,000 ล้านบาท
หรือเพิ่มขึ้น 153,000 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 2 สัปดาห์
และถ้าลองมาดูผลประกอบการในช่วง 9 เดือนแรกปี 2020 ของ Agora
- รายได้ 3,009 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +121% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า
- กำไร 92 ล้านบาท จากที่ขาดทุน 115 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหน้า
เรียกได้ว่า Agora เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตแรงมาอยู่แล้ว
และยิ่งมาได้อานิสงส์จากเรื่องราวความนิยมของแอป Clubhouse บวกเข้าไป
ก็ยิ่งทำให้มูลค่าบริษัทพุ่งสูงขึ้นไปอีก
ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องติดตามดูกันต่อว่า
มูลค่าที่ขึ้นไปสูงครั้งนี้ของ Agora เหมาะสมแล้วหรือไม่
แล้วถ้าเกิดว่าวันหนึ่ง Clubhouse ไม่ได้เนื้อหอมเหมือนตอนนี้แล้ว
จะส่งผลกระทบกับ Agora มากน้อยแค่ไหน..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
Agora, Inc. เพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น NASDAQ เมื่อเดือนมิถุนายน 2020 โดยมีราคาหุ้น ณ วัน IPO ที่หุ้นละ 20 ดอลลาร์สหรัฐ
มาตอนนี้ ราคาหุ้นของ Agora เพิ่มขึ้นมาเป็น 98 ดอลลาร์สหรัฐ
หรือคิดเป็น เกือบ 5 เท่า ของราคา IPO แล้ว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-Agora, Inc. Reports Third Quarter 2020 Financial Results
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-02-11/clubhouse-mania-drove-6-billion-to-this-chinese-company?sref=x0EQiAMH
-https://www.agora.io/en/
-https://www.sec.gov/Archives/edgar/data/1802883/000162828020009726/agoraf-1a2.htm#s92891237F4D9AC8B734B63F1E0D23F8F
-https://www.prnewswire.com/news-releases/agora-announces-pricing-of-initial-public-offering-301084204.html#:~:text=The%20ADSs%20are%20expected%20to,subject%20to%20customary%20closing%20conditions.
clubhouse nasdaq 在 口袋財經 Pocket Money Facebook 的最佳貼文
最近很紅 Clubhouse ,連帶著另一支股票也很紅 Agora (NASDAQ: API)
Agora 主要是幫 Clubhouse 做聲音的體驗優化
目前只知雙方有合作,但我想合作內容大概包括
- 高品質聲音內容 - 在聽音樂時會有不同的 KHz ,Agora 可以傳輸跟高的品質
- 去雜音與背景音 - 在說話時背景時都會有一些聲音,利用 AI 把背景聲音去除
- 聲音傳輸加速 - 語音或視訊通話時有時候會卡卡,他會讓你不會卡
- 聲音美化 - 跟 Instagram 的圖片濾鏡一樣,不過是讓聲音美化濾鏡
兩者合作公開後,帶動了 Agroa 的股價大漲,在上週股價從 70 元漲到 100 元,漲幅約 42 %
兩間公司的合作體現了新創科技公司不重複造輪的做法:
Clubhouse 做為社群平台,最大的核心會是 開台者(Speaker)和聽眾(Listener),而用戶(User)同時扮演兩個角色:
所以平台的核心是:
1. 讓開台者持續開 Room 的動力 - 讓開台者能吸引到對的聽眾
2. 讓聽眾持續參與 Room 的動力 - 持續推薦有趣的內容給用戶
推薦和吸引需要優秀的演算法(就想 Youtube 和 Netflix 總是能推薦一些你可能有興趣的影片)
而這些演算法需要大量的資料(ex: 收集話題參與度、不同 Room 的留存率、用戶追蹤與興趣領域的關聯...etc)
對於 Clubhouse 來說,這就是他持續發展的核心之一,這部分將會緊緊掌握在手中
除了核心之外,其他功能就找產業的領先公司進行串接
就像找 Agora 串接聲音優化一樣,付費得到業界最優秀的解決方案,把平台的功能完整,未來想收回來的時候再思考怎麼回收。
這也是現在大多軟體公司的做法,不重複造輪,大家用 SaaS / PaaS 的方式合作
*去年抖音在販售時,最不願意出售的就是他們影片演算法,在用戶取向平台,演算法是最最重要的一個
** 不重複造輪不適用科技巨頭,他們對產業有興趣,一般都是直接把輪子買下來(常常聽到 Apple、Google買下新創)