Beryl8 Plus บริษัท Digital Transformation ของคนไทยหนึ่งเดียวในอาเซียนที่ Salesforce บริษัทยักษ์ใหญ่เข้าร่วมลงทุน
Beryl8 Plus x ลงทุนแมน
ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในแทบทุกแง่มุมของชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนผ่าน Social media แทนการโทรศัพท์ การสั่งซื้อสินค้าผ่าน E-Commerce แทนการไปที่ร้าน การทำธุรกรรมการเงินผ่านทาง Internet Banking แทนการไปธนาคาร และการเรียนผ่าน Video Conference แทนการเจอตัว ไปจนถึงการทำงาน ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลก ก็สามารถทำได้ตลอด
เทคโนโลยีอยู่กับเราตลอดเวลาและมีอิทธิพลต่อผู้คนบนโลกที่ทำให้ชีวิตสะดวก และรวดเร็วขึ้น
เช่นเดียวกับในฝั่งของผู้ประกอบการและองค์กรธุรกิจก็จำต้องปรับตัวให้ทันกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป พัฒนาองค์กรไปสู่จุดที่แข็งแกร่งกว่าเดิม รวมไปถึงการปลดล็อกวิธีการทำงานในรูปแบบเดิม สู่การเพิ่มศักยภาพ และขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ระดับโลก
สำหรับวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับผู้เชี่ยวชาญด้าน Digital Transformation อย่าง บมจ. เบริล 8 พลัส หรือ BE8 ผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ให้แก่องค์กรชั้นนำมาแล้วมากมาย
แล้วบริษัทฯ แห่งนี้ทำธุรกิจอะไรบ้าง
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง…
บริษัท เบริล 8 พลัส ก่อตั้งเมื่อปี 2552 ด้วยความเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีจะเป็นพื้นฐานของทุกธุรกิจในอนาคต โดยเป็นบริษัทไทยรายแรก ๆ ที่นำเสนอ Cloud Technology ผ่านการเป็นพันธมิตรกับ Salesforce บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นผู้นำด้าน CRM Software ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงที่สุดในโลก
บริษัทฯ ให้บริการด้าน Digital Transformation แบบครบวงจรและมีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการบริหารจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Analytics) และ การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยบริษัทจะทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อวางแผนกลยุทธ์ด้าน Digital รวมถึงการออกแบบและพัฒนาระบบต่าง ๆ ไปจนถึงดูแลการใช้งานจริง เพื่อให้ตอบโจทย์ด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจของแต่ละองค์กรลูกค้า
บริษัทเบริล 8 พลัส มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเกือบ 200 คน รองรับลูกค้าองค์กรที่ต้องการทำ Digital Transformation โดยมีซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลกสนับสนุนการให้บริการเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าองค์กร ด้วยประสบการณ์ของทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยี
และ การทำ Digital Transformation ทำให้บริษัทก้าวมา เป็นที่ปรึกษาชั้นนำด้าน Digital Transformation ให้บริการลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ ภายในระยะเวลาเพียง 10 ปี
แล้วกลุ่มลูกค้าทางธุรกิจของ เบริล 8 พลัส มีใครบ้าง
ทำไมถึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าที่เป็นองค์กรชั้นนำมากมาย
ลูกค้าของเบริล 8 พลัส มีหลากหลายธุรกิจ เช่น สถาบันการเงิน, บริษัทประกัน, บริษัทพลังงาน, บริษัทอสังหาริมทรัพย์, บริษัทค้าปลีก, บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคและบริโภค, บริษัทโลจิสติกส์
โดยให้บริการลูกค้าบริษัทชั้นนำทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กกว่า 100 ราย ผ่านกว่า 250 โปรเจกต์ทั้งในและต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม เป็นต้น
การที่บริษัทฯ มีกลุ่มลูกค้าที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่หลายราย สะท้อนถึงศักยภาพการทำงานแบบมืออาชีพด้วยมาตรฐานระดับสากล ที่คู่แข่งลอกเลียนแบบได้ยาก เพราะบริษัทมีทั้งความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีและความเข้าใจในการทำงานของแต่ละอุตสาหกรรม จากการที่บริษัทฯ ได้จับมือกับพันธมิตรที่เป็นซอฟต์แวร์ระดับโลก อย่าง Salesforce บริษัทที่พัฒนา CRM สำหรับธุรกิจ และองค์กร ทำให้บริษัทฯ มีโซลูชันที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับบริการพัฒนาซอฟต์แวร์ ให้แก่ลูกค้า
Salesforce เป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทฯ ชั้นนำหลายแห่งในไทยเลือกใช้บริการ โดยเป็นซอฟต์แวร์ด้านบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า หรือ CRM จากสหรัฐอเมริกา ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดอันดับ 1 ของโลก
ซึ่งเบริล 8 พลัส เป็นพันธมิตรรายแรก ๆ กับ Salesforce ในประเทศไทยและได้รับเลือกเป็นพันธมิตร Summit ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ผ่านการทดสอบทั้งในด้านของความเชี่ยวชาญและความสามารถในการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังเป็นพันธมิตรกับ Tableau แพลตฟอร์มการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ Data Visualization ที่เป็นการนำซอฟต์แวร์มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ให้แสดงผลออกมาในรูปแบบภาพ แผนภูมิกราฟ และอื่น ๆ ทำให้องค์กรสามารถเห็น Insight และใช้ข้อมูลในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
รวมถึง Snowflake บริษัท Cloud Data Warehouse ระดับโลก ที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ โดยเฉพาะข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล กระจายอยู่หลายแหล่ง และยังมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ไว้คอยให้บริการอีกด้วย
MuleSoft ผู้นำด้าน Integration Platform ที่ให้บริการนำระบบ แอปพลิเคชัน และฐานข้อมูลต่าง ๆ มาเชื่อมต่อถึงกันแบบไร้รอยต่อ ทำให้สามารถหยิบนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีมาสร้างประสบการณ์และบริการใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล
และยังมีอีกหลายแพลตฟอร์มชั้นนำระดับอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ เบริล 8 พลัส พร้อมให้บริการ อาทิ Google Workspace ที่เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้การทำงานร่วมกันในองค์กรเกิดความต่อเนื่อง
นอกจากนี้ เบริล 8 พลัส ยังพัฒนานวัตกรรมด้านซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันขึ้นเองเพื่อต่อยอดการให้บริการแก่ลูกค้า
เช่น ซอฟต์แวร์ BE8 Loyalty Management รองรับการสะสมคะแนนเพื่อทำโปรแกรม CRM, ซอฟต์แวร์ BE8 Corporate Banking Solution สำหรับธนาคารเพื่อใช้บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้านิติบุคคล,โปรแกรม Omni Channel Package สามารถรวมการทำงานของตัวแทนบริการลูกค้าในพื้นที่การทำงานทั้งหมดไว้ในคอนโซลเดียว
สำหรับรายได้ของ เบริล 8 พลัส มาจากการให้คำปรึกษา ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายและที่พัฒนาขึ้นเอง รวมถึงการดูแลระบบและบริการหลังการขายต่าง ๆ ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ จะมีรายได้ทั้งจากการทำโครงการและรายได้ต่อเนื่อง (Recurring Revenues) จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์และบริการสนับสนุน เช่น ดูแลหลังการขาย แก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยี จัดหาบุคลากรด้านไอที เป็นต้น
เบริล 8 พลัสยังมีโอกาสเติบโตไปอย่างก้าวกระโดด เพราะมีกลุ่มนักลงทุนที่มีชื่อเสียง อย่าง Salesforce Ventures เข้าร่วมลงทุน ซึ่ง Salesforce Ventures เป็นบริษัทด้านการลงทุนของ Salesforce ที่เลือกลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพชั้นนำทั่วโลกมากมาย การร่วมลงทุนของ Salesforce Ventures จะทำให้เบริล 8 พลัส มีช่องทางการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ของทั้ง Salesforce เองและบริษัทเทคโนโลยีในเครืออีกกว่า 400 บริษัททั่วโลก รวมทั้งจะช่วยสนับสนุนให้บริษัทขยายธุรกิจและการทำ Digital Transformation ในภูมิภาคได้อย่างแข็งแกร่ง
ที่น่าสนใจคือ เบริล 8 พลัส เป็นบริษัทคนไทยที่เข้าไปปักธงขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยขยายธุรกิจจัดตั้งสำนักงานในเวียดนามเมื่อปี 2562 นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของบริษัทไทยที่สามารถนำธงไทยไปโบกสะบัดในระดับภูมิภาค
ทั้งหมดนี้น่าจะทำให้เห็นถึงบริการการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของธุรกิจลูกค้าหรือการดิสรัปชันตัวเองด้วย Digital Transformation กันมากขึ้น
และทำให้ในวันนี้ เบริล 8 พลัส ก้าวขึ้นเป็นบริษัทชั้นนำด้าน Digital Transformation แบบครบวงจรในประเทศไทย ซึ่งวันนี้ได้ก้าวสู่การขยายธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนเป็นที่เรียบร้อย..
References
-https://www.beryl8.com/th/home
-ข้อมูลจาก Beryl8 FactSheet
-https://www.brandbuffet.in.th/2020/09/depa-forcasts-thai-digital-industries-2022-value-to-reach-8-billion-baht/
- https://today.line.me/th/v2/article/JmVy7y
同時也有37部Youtube影片,追蹤數超過251萬的網紅BNK48,也在其Youtube影片中提到,ถึงแม้เราจะไม่ได้อยู่ด้วยกัน ไม่ได้พบหน้ากัน แต่หัวใจของเรายังอยู่ด้วยกันเสมอ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร เราก็ยังคงส่งกำลังใจให้กันได้ ก็เพราะว่า .....
「conference platform」的推薦目錄:
conference platform 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
Unity แพลตฟอร์มที่ใช้สร้างวิดีโอเกม ครึ่งหนึ่งของโลก /โดย ลงทุนแมน
แม้ว่าโลกของเราจะมี เกมชื่อดังมากมาย เช่น Pokémon GO, League of Legends, Genshin Impact, Among Us, Garena Free Fire หรือ Overcooked
แต่รู้หรือไม่ว่าเกมที่ยกตัวอย่างมานี้ ถูกพัฒนาขึ้นจาก เกมเอนจิน หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างวิดีโอเกม
ที่ชื่อว่า “Unity” ซึ่งปัจจุบันครอบครองส่วนแบ่งเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์พัฒนาเกมบนโลก
แล้วเรื่องราว Unity มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ธุรกิจเกม ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจ ที่กำลังเติบโตแบบก้าวกระโดด
ตลาดเกมทั่วโลกในปี 2005 มีมูลค่า 882,000 ล้านบาท
ตลาดเกมทั่วโลกในปี 2020 มีมูลค่า 5,810,000 ล้านบาท
คิดเป็นการเติบโต 6.6 เท่า หรือเติบโตเฉลี่ย 13.4% ต่อปี ตลอดช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งการเติบโตนี้ ก็มาจากเกมบนสมาร์ตโฟนเป็นหลัก ที่มีการเติบโตสูงสุดเมื่อเทียบกับเกมบนแพลตฟอร์มอื่นอย่างเช่น PC และเกมคอนโซล และปัจจุบันเกมบนสมาร์ตโฟนก็คิดเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดกว่า 45% ของเกมทั่วโลก
หนึ่งในบริษัทที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเกมบนสมาร์ตโฟนไปเต็ม ๆ ก็คือ “Unity Technologies” ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาเกมเอนจิน หรือแพลตฟอร์มที่ใช้พัฒนาวิดีโอเกม ที่ชื่อว่า “Unity” เพราะบริษัทแห่งนี้มีส่วนแบ่งตลาดซอฟต์แวร์พัฒนาเกมเกินกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าทั้งหมดบนโลก
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอื่น ๆ อีก เช่น
- เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุด 1,000 อันดับแรกบนสมาร์ตโฟน มี 710 เกมที่พัฒนาโดยใช้ Unity
- แอปพลิเคชันที่สร้างโดยใช้ Unity มียอดดาวน์โหลดรวมกันกว่า 5 พันล้านครั้งต่อเดือน
- คอนเทนต์ทุกรูปแบบที่สร้างโดยใช้ Unity มีผู้ใช้งานรวมกันกว่า 2.5 พันล้านคนต่อเดือน
พูดง่าย ๆ ว่าเราคงเคยผ่านการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ถูกสร้างโดยใช้ Unity มาบ้างแล้ว
Unity เป็นเกมเอนจิน ที่รองรับการใช้งานได้ทุกระบบปฏิบัติการ
ไม่ว่าจะเป็น macOS, Microsoft Windows และเว็บเบราว์เซอร์
ที่ทำภาพได้ทั้งแบบ 2D และจะโดดเด่นเรื่อง 3D เป็นพิเศษ
ในสมัยก่อน บริษัทพัฒนาเกมแต่ละแห่งจะนิยมสร้างเกมเอนจินเป็นของตัวเอง แต่สมัยนี้บริษัทพัฒนาเกมจะหันมาใช้เกมเอนจินมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการประหยัดต้นทุน และความสะดวกรวดเร็ว สามารถปรับแต่งได้ง่าย
ถ้าให้นึกภาพแบบง่าย ๆ ตัวอย่างเช่น งานออกแบบกราฟิก ผู้ออกแบบจะนิยมใช้ซอฟต์แวร์ชื่อ Adobe Illustrator แต่สำหรับการพัฒนาเกมแล้ว Unity จะเป็นซอฟต์แวร์ ที่ผู้พัฒนาเกมนิยมใช้กัน
ผู้พัฒนาเกมที่ใช้งาน Unity ยังสามารถทำเกมออกมาเพียงครั้งเดียว แล้วนำไปใช้กับแพลตฟอร์มได้หลากหลายกว่า 20 แพลตฟอร์ม หรือเรียกว่า “Cross-Platform” โดยไม่ต้องเขียนโคดใหม่อีกรอบ ไม่ว่าจะเป็นเกมในเวอร์ชัน PC, Xbox, PlayStation, Nintendo Switch, iOS และ Android
ที่สำคัญก็คือ Unity เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่ายแต่ประสิทธิภาพสูง จนใครก็ตามที่อยากสร้างเกมเองสามารถใช้งานได้ ไม่จำเป็นต้องเขียนโคดเป็น ไม่ต้องเป็นนักพัฒนามืออาชีพ ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนก้อนใหญ่ นักพัฒนาเกมอินดี้หรือคนที่อยากทำเกมเป็นงานอดิเรกก็สามารถทำได้
ซึ่งจุดนี้ก็ทำให้ Unity ต่างไปจากคู่แข่งคนสำคัญอย่าง Unreal Engine ของบริษัท Epic Games ที่เลือกเจาะตลาดค่ายเกมขนาดใหญ่ ที่พัฒนาเกมคุณภาพกราฟิกสูง และเป็นเกมที่เล่นบน PC และเกมคอนโซลเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น เกม Fortnite และ PUBG
แล้ว Unity มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?
ย้อนกลับไปในปี 2002 หรือเมื่อ 19 ปีก่อน ที่เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
Nicholas Francis โปรแกรมเมอร์ชาวเดนมาร์ก ที่อาศัยอยู่ในเมืองโคเปนเฮเกน
และ Joachim Ante นักเรียนมัธยมปลาย ที่เรียนอยู่ในประเทศเยอรมนี
ทั้งคู่กำลังพัฒนาเกมเอนจินของตัวเอง และได้รู้จักกันผ่าน OpenGL ซึ่งเป็น API ที่เกี่ยวกับการใช้งานกราฟิก 2D และ 3D
Francis และ Ante พูดคุยกันถูกคอ เลยชวนกันมาพัฒนาระบบช่วยสร้างภาพ 3 มิติ ที่ใช้งานได้บนเกมเอนจินของเขาทั้งคู่ แต่ต่อมาเมื่อทั้งคู่ได้นัดพบและพูดคุยกัน ก็ตัดสินใจล้มเลิกแผนนั้น แล้วหันมาสร้างเกมเอนจินใหม่ด้วยกัน
ทั้งคู่เช่าแฟลตในเมืองโคเปนเฮเกนเพื่อร่วมกันพัฒนาเกมเอนจิน ซึ่งไม่ไกลจากแฟลตที่พวกเขาเช่า ก็คืออะพาร์ตเมนต์ที่เพื่อนของ Francis ที่ชื่อว่า David Helgason อาศัยอยู่
Helgason เป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ฟรีแลนซ์ เมื่อเขาได้พูดคุยและเห็นสิ่งที่ Francis และ Ante ร่วมกันทำอยู่หลายเดือน เขาจึงเริ่มสนใจและเข้ามาร่วมทีมด้วยในที่สุด
จนในปี 2004 Francis, Ante และ Helgason ใช้เงินเก็บและเงินจากพ่อของ Ante ราว 1 ล้านบาท มาร่วมกันก่อตั้งสตูดิโอทำเกมควบคู่ไปกับการพัฒนาเกมเอนจินคุณภาพสูง โดยใช้ชื่อบริษัทว่า “Over the Edge Entertainment (OTEE)”
หลังจากเปิดบริษัทไปได้สักพัก พวกเขาก็เปิดรับสมัคร CEO เพราะมองว่าเทคโนโลยีที่ดีอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเติบโตของบริษัท ต้องมีผู้นำทางธุรกิจที่เก่งด้วย แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็ไม่เจอคนที่ถูกใจและมีวิสัยทัศน์ตรงกัน
Helgason ซึ่งถูกลงความเห็นว่าเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในพวกเขา 3 คน จึงเป็น CEO ส่วน Francis เป็น COO และ Ante เป็น CTO
หลังจากพวกเขาพัฒนาเกมเอนจินสำเร็จ ก็ทดลองนำมาใช้สร้างเกม จนกระทั่ง OTEE ได้เปิดตัวเกมแรกที่ชื่อว่า GooBall ในเดือนมีนาคม ปี 2005
แต่เกม GooBall ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่ง Ante ก็ได้วิเคราะห์ว่าคงเพราะเกมเล่นยากเกินไป
แต่ความพยายามที่ผ่านมาก็ไม่ได้สูญเปล่า เพราะพวกเขาได้เห็นแล้วว่าเกมเอนจินที่ร่วมกันพัฒนามา มีศักยภาพสูงพอที่จะต่อยอดไปให้คนมากมายใช้งานได้
ทั้ง 3 คนเลยเปลี่ยนใจจากการทำเกม มาเป็นการพัฒนาเครื่องมือทำเกมแทน ซึ่งพวกเขาได้ใช้เงินที่ได้จากการขายเกม GooBall มาจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพิ่ม
อีก 3 เดือนถัดมา OTEE ได้เปิดตัวเกมเอนจินที่ชื่อ “Unity” ในงาน Apple Worldwide Developers Conference (WWDC) ที่เริ่มจากเป็นเกมเอนจินที่มีเฉพาะใน MAC OS X และหลังจากนั้นไม่นานก็มีให้ใช้งานได้ใน Microsoft Windows และเว็บเบราว์เซอร์
ช่วงแรกที่เปิดตัว ผู้ใช้งานหลักของ Unity ก็คือคนที่ทำเกมเป็นงานอดิเรกและนักพัฒนาอินดี้แบบที่ทางบริษัทได้ตั้งใจไว้ โดย OTEE มีรายได้จากการเก็บค่า Subscription หรือค่าบริการรายเดือนหรือรายปี
ผ่านไป 2 ปี ในปี 2007 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Unity Technologies
ในปีเดียวกันนี้ บริษัท Apple ก็ได้เปิดตัว iPhone เป็นครั้งแรก
ซึ่งทำให้ Unity ได้เริ่มพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันสำหรับใช้งานบน iPhone
แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ iPhone ได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ตลาดเกมทั่วโลกเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากเกมบนสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต จนกลายมาเป็นจุดพลิกผันที่ทำให้ผู้ใช้งาน Unity เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปี 2009 Unity Technologies ได้ย้ายสำนักงานไปยังเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการเติบโตของสตาร์ตอัป
จนในที่สุด Unity Technologies ก็สามารถระดมทุน Series A ได้จาก Sequoia Capital ซึ่งเป็น Venture Capital อันดับต้น ๆ ของโลก
แต่ในปี 2013 หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทอย่าง Francis ก็ขอลาออกจากตำแหน่ง COO ของบริษัท
หลังจากนั้นเพียงปีเดียว Helgason ก็ขอลงจากตำแหน่ง CEO แต่ยังคงเป็นกรรมการบริษัทอยู่ ซึ่งเขาให้เหตุผลว่าบริษัทเริ่มใหญ่ขึ้นแล้ว ปัจจุบันมีเพียง Ante ที่ยังคงเป็น CTO ต่อจนถึงปัจจุบัน
CEO ที่ได้รับความไว้วางใจให้มารับตำแหน่งต่อจาก Helgason ก็คือ “John Riccitiello” อดีต CEO ของ Electronic Arts (EA) โดย Helgason บอกว่า Riccitiello คือคนที่เหมาะสมกับตำแหน่งนี้ที่สุด
และก็เป็นไปตามที่ Helgason พูด เพราะตั้งแต่ที่ Riccitiello เข้ามา ก็ได้ทำให้ Unity เป็นมากกว่าเกมเอนจิน
Unity เริ่มให้บริการอื่นเพื่อสนับสนุนผู้พัฒนาเกมในหลาย ๆ ด้าน ให้ครบวงจรมากขึ้น
โดยเฉพาะบริการที่ดูแลเรื่องการหารายได้จากเกมให้กับผู้พัฒนา
ยกตัวอย่างเช่น การเป็นพันธมิตรกับบริษัทโฆษณาขนาดใหญ่เพื่อดึงให้มาโฆษณาในเกม
ซึ่งก็จะทำให้ผู้พัฒนาเกมมีรายได้จากค่าโฆษณา และ Unity ก็ได้ส่วนแบ่งค่าโฆษณานั้นด้วย
และหนึ่งในจุดพลิกผันที่สำคัญที่สุด เกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อเกม Pokémon GO ที่สร้างความฮือฮาด้วยการใช้ AR ในเกมบนสมาร์ตโฟน จนได้รับความนิยมแบบถล่มทลายไปทั่วโลก เป็นเกมที่พัฒนาโดยใช้ Unity
ความสำเร็จของ Pokémon GO ก็ทำให้ในปีนั้น Unity กลายเป็นสตาร์ตอัปเนื้อหอมที่ดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาระดมทุนอย่างรวดเร็ว จนบริษัทได้มีมูลค่าประเมินทะลุ 32,000 ล้านบาท กลายเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นทันที
ในที่สุด Unity ก็เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กในปลายปี 2020 ซึ่งปัจจุบันบริษัท Unity มีมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท
แล้วผลประกอบการที่ผ่านมาของ Unity เป็นอย่างไร ?
ปี 2018 รายได้ 12,400 ล้านบาท ขาดทุน 4,300 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 17,700 ล้านบาท ขาดทุน 5,300 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 25,200 ล้านบาท ขาดทุน 9,200 ล้านบาท
รายได้เติบโตได้ปีละกว่า 40% และบริษัทยังมีอัตรากำไรขั้นต้น หรือรายได้หักต้นทุนสินค้าและบริการสูงถึงเกือบ 80% แต่ที่บริษัทยังขาดทุนก็เพราะว่า Unity ใช้เงินไปกับการลงทุนวิจัยและพัฒนาที่สูงเช่นกัน
ซึ่งสูงในระดับที่เป็นสัดส่วนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้
สำหรับการคิดค่า Subscription ของ Unity จะเป็นระบบ Freemium คือมีทั้งแบบใช้งานได้ฟรีและแบบจ่ายเงิน ที่มีให้เลือก 3 แพ็กเกจ จากระดับราคาน้อยไปมาก คือ Pro, Premium และ Enterprise
Unity ยังกำหนดเพิ่มเติมว่า ผู้พัฒนาจะยังใช้บริการแบบฟรีได้
แต่ถ้ารายได้หรือเงินทุนของผู้พัฒนามากกว่า 3.2 ล้านบาท ใน 12 เดือนที่ผ่านมา จะต้องใช้แพ็กเกจระดับ Plus หรือสูงกว่า และถ้ารายได้หรือเงินทุนของผู้พัฒนามากกว่า 6.4 ล้านบาท ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา จะต้องใช้แพ็กเกจระดับ Pro หรือ Enterprise
อย่างไรก็ตาม รายได้ที่มาจากค่า Subscription กลับไม่ใช่รายได้หลักของ Unity เพราะมีสัดส่วนเพียง 26.5% ของรายได้ทั้งหมด
แต่รายได้หลักของ Unity ที่เป็นสัดส่วนรายได้ 66.8% มาจาก Operate Solutions หรือบริการที่ช่วยสนับสนุนการทำเงินจากเกมให้กับผู้พัฒนาเกม เช่น ค่าโฆษณา ซึ่งเป็นส่วนที่ CEO อย่างคุณ Riccitiello เริ่มต่อยอดมาตั้งแต่เข้ารับตำแหน่ง
ส่วนรายได้อีก 6.7% มาจากบริการอื่น ๆ เช่น จาก Asset Store ที่เป็น Marketplace ให้ผู้ใช้งานไปซื้อขายงานและโคดกันได้
นอกจากวิดีโอเกมแล้ว Unity ยังกลายมาเป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้กับงาน 3D ในงานอื่นด้วย อย่างเช่น งานออกแบบ 3D งานภาพยนตร์ งานออกแบบสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบรถยนต์
ยกตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ BMW ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวจำลองเพื่อทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ และ Honda ใช้ออกแบบรถ หรือในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ Disney ใช้ Unity ทำภาพแบ็กกราวนด์ในภาพยนตร์เรื่อง The Lion King เวอร์ชันปี 2019
แต่ที่น่าจับตามองที่สุด ก็คงเป็นเมกะเทรนด์อย่าง AR และ VR ซึ่งข้อมูลในปัจจุบันระบุว่ากว่า 60% ของคอนเทนต์ AR และ VR ทั้งหมด ทำโดยใช้ Unity
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ Unity ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากการพัฒนาเครื่องมือสร้างวิดีโอเกมให้ใครก็ตามที่อยากสร้างเกมได้ใช้ และต่อยอดจนกำลังจะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างโลกเสมือน
ซึ่งก็ไม่แปลกเลยที่ปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ได้กลายเป็นผู้อยู่เบื้องหลังวิดีโอเกม กว่าครึ่งหนึ่งของโลก เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://techcrunch.com/2019/10/17/how-unity-built-the-worlds-most-popular-game-engine/
-https://techcrunch.com/2009/08/14/interview-nicholas-francis-coo-of-unity-the-leading-iphone-game-development-platform/
-https://techcrunch.com/2020/09/10/how-unity-built-a-gaming-engine-for-the-future/
-https://theorg.com/insights/with-news-unity-technologies-is-going-public-the-org-looks-into-the-key
-https://www.cbinsights.com/research/game-engines-growth-expert-intelligence/
-http://web.wpi.edu/Pubs/E-project/Available/E-project-030614-143124/unrestricted/Haas_IQP_Final.pdf
-https://investors.unity.com/overview/default.aspx
conference platform 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ตลาดหลักทรัพย์ฯ จับมือ ก.ล.ต. ส่งเสริม SMEs และ Startups เข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุน เปิดเวที LiVE Demo Day ตอกย้ำการขับเคลื่อน 14 ก.ย. นี้
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับ ก.ล.ต. จัดงาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” ตอกย้ำบทบาทการส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startups เข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุนเต็มรูปแบบ โดยได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ปาฐกถาพิเศษถึงยุทธศาสตร์การยกระดับความสามารถผู้ประกอบการไทย พร้อมชวนผู้ลงทุน ผู้ประกอบการ ผู้สนใจ รับฟังการนำเสนอข้อมูลจาก 21 บริษัท SMEs และ Startups ที่มีศักยภาพ วันที่ 14 กันยายน 2564 ในรูปแบบ virtual conference
นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ เล็งเห็นความสำคัญของผู้ประกอบการรายเล็กโดยเฉพาะ SMEs และ Startups ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ โดยมีแผนกลยุทธ์สำคัญในการเสริมศักยภาพและสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจเหล่านี้ ล่าสุด ร่วมกับ ก.ล.ต. จัดงาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” ตอกย้ำบทบาทการส่งเสริมครบทุกมิติ สอดคล้องนโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs และ Startups ให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งเพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่อนาคต โดยได้รับเกียรติจาก รมว. คลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ปาฐกถาพิเศษ “ยุทธศาสตร์ส่งเสริม SMEs / Startups เพื่อยกระดับขีดความสามารถและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”
“ตลาดหลักทรัพย์ฯ เดินหน้าบทบาทในการส่งเสริม SMEs และ Startups ให้เติบโตไปอีกขั้นผ่านกลไกตลาดทุน” มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการผ่าน LiVE Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเตรียมความพร้อมในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในตลาดทุนสำหรับผู้ประกอบการ โดยได้ร่วมกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน พัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อมุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ อาทิ การจัดทำ e-Learning เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ขั้นพื้นฐานและเชิงลึก การให้บริการ Business Coaching ผ่านโครงการ LiVE Acceleration Program และ LiVE Incubation Program เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังเตรียมจัดตั้ง LiVE Exchange ซึ่งเป็นตลาดรองสำหรับ SMEs และ Startups ที่มีการระดมทุนในวงกว้าง (IPO) โดยได้ทำงานร่วมกับ ก.ล.ต. พัฒนาหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในวงกว้าง และการจดทะเบียนและซื้อขายในตลาดรองสำหรับ SMEs และ Startups หวังเพิ่มช่องทางการระดมทุนสำหรับ SMEs และ Startups ซึ่งได้เปิดรับฟังความคิดเห็น (Public Hearing) ไปเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์ ในการพัฒนาระบบซื้อขายสำหรับ LiVE Exchange ซึ่งจะมีกลไกการซื้อขายและการกำกับดูแลที่แตกต่างจาก SET และ mai โดยรูปแบบการซื้อขายจะเป็นลักษณะ Auction-based วันละ 1 รอบ และชำระราคาและส่งมอบหุ้นภายในวัน โดยจะมีการจำกัดประเภทผู้ลงทุนให้สอดคล้องกับความเสี่ยงในการลงทุน เบื้องต้นมีบริษัทหลักทรัพย์ที่สนใจเข้าร่วมทดสอบระบบเพื่อให้บริการ LiVE Exchange แล้วกว่า 25 ราย คาดเปิดให้บริการได้ภายในสิ้นปี 2564 นี้
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาตลาดทุน เล็งเห็นความสำคัญและบทบาทของ SMEs และ Startups ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ก.ล.ต. จึงดำเนินนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมที่จะทำให้ตลาดทุนเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง (Capital Market for All) โดยมุ่งหวังให้ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญสำหรับกิจการทุกขนาดและทุกประเภท ซึ่งรวมถึง SMEs และ Startups สอดคล้องแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2561 - 2580) และแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 3 (ปี 2560 - 2564)
“ก.ล.ต. ได้ดำเนินการให้ SMEs และ Startups สามารถเข้าถึงแหล่งทุนในตลาดทุนมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้นมาตั้งแต่กลางปี 2562 ทั้งในเรื่องการออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในตลาดทุนของ SMEs และ Startups ควบคู่กับการให้ความรู้และวิธีการระดมทุนผ่านตลาดทุน โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการเสนอขายหลักทรัพย์ในวงจำกัด (SME-PP) ของบริษัทจำกัด และปรับปรุงการระดมทุนผ่านระบบคราวด์ฟันดิง (crowdfunding) ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ระดมทุนผ่าน SME-PP และ crowdfunding จำนวน 83 ราย มูลค่าระดมทุนรวม 795 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ส.ค. 2564) นอกจากนี้ เพื่อให้การระดมทุนในตลาดทุนครอบคลุมกิจการ SMEs และ Startups ก.ล.ต. จึงได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ออกหลักเกณฑ์รองรับการระดมทุนในวงกว้างของ SMEs และ Startups (SME-PO) และ
นำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดรอง (LiVE Exchange) โดยพิจารณาผ่อนปรนหลักเกณฑ์เพื่อให้มีความเหมาะสม และยังคงหลักการเรื่องการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เหมาะสม ซึ่งคาดว่าหลักเกณฑ์ SME-PO จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2564”
การขับเคลื่อนการพัฒนา SMEs และ Startups ผ่าน LiVE Platform ของกลุ่มตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ผ่านมา ได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรกว่า 25 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลาดทุน มหาวิทยาลัย ในการร่วมพัฒนาบริการต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนผ่านกลไกตลาดทุนได้อย่างมีคุณภาพ รวมทั้งได้รับเงินทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการ และเงินทุนสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs / Startups จากกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF)
งาน “LiVE Demo Day : The New Road to Capital Market” จัดขึ้นในวันที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 10.00–16.30 น. ในรูปแบบ virtual conference โดยมีหลากหลายหัวข้อสัมมนาน่าสนใจ และมี 21 บริษัท SMEs และ Startups จาก LiVE Acceleration Program 2020 มานำเสนอข้อมูลธุรกิจและศักยภาพการเติบโตสู่การระดมทุนในอนาคต ผู้สนใจดูรายละเอียดและติดตามรับชมที่ www.facebook.com/LiVE.Platform.SET/, www.facebook.com/set.or.th หรือ www.youtube.com/setgroupofficial
conference platform 在 BNK48 Youtube 的最佳貼文
ถึงแม้เราจะไม่ได้อยู่ด้วยกัน ไม่ได้พบหน้ากัน แต่หัวใจของเรายังอยู่ด้วยกันเสมอ
ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นเช่นไร เราก็ยังคงส่งกำลังใจให้กันได้ ก็เพราะว่า ...
“หัวใจใกล้กัน.... Touch by Heart”
Lyrics : ตนุภพ โนทยานนท์ (ครูแมน)
Melody & Music : พงศ์จักร พิษฐานพร (ครูเอ๊ะ)
Arrangement : โพธิ์ศิวะ โสตถิพันธุ์ (ครูยุ่น)
Pruduced By Platform Makkasan
“บทเพลงพิเศษ เป็นตัวแทนของกำลังใจจากน้อง BNK48 และ CGM48 ที่บอกเล่าเรื่องราวของการที่เราต้องอยู่ห่างไกลกัน แต่หัวใจ และกำลังใจของเรายังใกล้กันเสมอ
การผลิตงานเพลงชิ้นนี้ ใช้วิธีการบันทึกเสียง และทำงานในรูปแบบ Work from Home ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น การเรียนร้องเพลงผ่าน Video Conference การอัดเสียงผ่านโทรศัพท์มือถือตัวเอง ซึ่งเป็นการอัดเสียง ที่ต้องใช้ความตั้งใจเป็นอย่างมาก แต่ทุกความตั้งใจ และความทุ่มเทครั้งนี้ เพราะพวกเราอยากส่งมอบให้กำลังใจทุก ๆ คน”
พวกเราอยากให้เพลงนี้เป็นตัวแทนของทุก ๆ คน ขอเป็นกำลังใจ ให้กันและกัน
ให้เราจะผ่านพ้นวิกฤตเหล่านี้ไปได้อย่างมั่นคง เพี่อรอวันที่จะได้กลับมาพบกัน และสนุกสนานร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
#หัวใจใกล้กัน #TouchByHeart
#BNK48 #CGM48
====================================
BNK48 Official Facebook :
www.facebook.com/bnk48official
BNK48 Official Twitter :
www.twitter.com/bnk48official
BNK48 Official Instagram :
www.instagram.com/bnk48
BNK48 Official Website :
www.bnk48.com
conference platform 在 TechaLook 中文台 Youtube 的最佳解答
ASUS Strix Radeon R9 380 2GB GPU 規格一公佈後大家都開始說它是加強版的 R9 280!這樣就是Tommy 一直想測試它的原因之一還有到底有什麼進步。
更多評測內容:http://www.techalook.com.tw/asus-strix-radeon-r9-380-2gb-review/
conference platform 在 巴哈姆特電玩瘋 Youtube 的精選貼文
由電玩瘋小鈺至 東京電玩展 2015 現場試玩 「PlayStation VR」 PS4《夏日課程 Summer Lesson》,完整體驗在炎炎夏日與金髮碧眼美少女共度美好時光,體驗純真無邪的邂逅。
TGS 2015 PS4 PlayStation VR Summer Lesson Game play thoughts
gameplay