ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ? /โดย ลงทุนแมน
ซีรีส์บทความ “Branding the Nation”
หากพูดถึงนิวซีแลนด์ สัตว์เลี้ยงที่คนทั่วโลกนึกถึง ก็คงจะเป็น “แกะ”
เพราะประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีประชากรแกะมากถึง 27.3 ล้านตัว
คิดเป็นเกือบ 6 เท่า ของประชากรคนที่มีอยู่ 5 ล้านคน
แต่นิวซีแลนด์ไม่ได้มีแค่แกะเท่านั้นที่มีจำนวนมากกว่าคน
เพราะปศุสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่มีมากกว่าคนก็คือ “โคนม”
นิวซีแลนด์มีวัวอยู่ราว 6.1 ล้านตัว ผลิตนมส่งออกปีละ 1.5 ล้านตัน
จนกลายเป็นประเทศที่ส่งออกนมมากที่สุดในโลก มูลค่าปีละ 200,000 ล้านบาท
และคิดเป็นสัดส่วนถึง 20% ของการส่งออกนมทั่วทั้งโลก
ไม่ใช่แค่ปริมาณ แต่ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ยังขึ้นชื่อในเรื่องของคุณภาพ
และมีการสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม ให้สามารถตอบโจทย์กับลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป
ไม่ว่าจะเป็นนม Anlene ที่เน้นในเรื่องของการบำรุงกระดูก
หรือนม Anmum ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมลูกน้อย
อะไรที่ทำให้ประเทศหมู่เกาะโดดเดี่ยว ที่อยู่ห่างไกลจากประเทศอื่นมากที่สุด
ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นมระดับโลก ?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นิวซีแลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ผลิตภัณฑ์นม ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ย้อนกลับไปในปี 1649
Abel Tasman นักสำรวจชาวดัตช์ได้ล่องเรือจากเกาะชวามาค้นพบเกาะแห่งหนึ่งโดยบังเอิญ
แต่ในตอนนั้นเขาถูกต่อต้าน และคุกคามโดยชาวพื้นเมืองบนเกาะ
ทำให้เขาต้องรีบถอยกองเรือออกมา โดยแทบไม่ได้สำรวจอะไรบนเกาะแห่งนี้เลย
Tasman ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า “New Zealand”
ตามชื่อแคว้น Zeeland ทางตอนใต้ของเนเธอร์แลนด์
ความลึกลับของนิวซีแลนด์คงอยู่ต่อมาจนถึงปี 1769 เมื่อกัปตันชาวอังกฤษ James Cook
ได้ล่องเรือมาสำรวจดินแดนแห่งนี้อย่างละเอียด พบว่าดินแดนนิวซีแลนด์มีเกาะใหญ่หลัก ๆ
อยู่ 2 เกาะคือ เกาะเหนือและเกาะใต้
ด้วยภูมิอากาศอบอุ่น และมีฝนตกตลอดทั้งปีคล้ายกับเกาะอังกฤษ จึงเริ่มมีชาวอังกฤษ
และชาวยุโรปอื่น ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ส่วนใหญ่เป็นนักเดินเรือ เป็นพ่อค้า และเป็นเกษตรกร
แต่ดินแดนแห่งนี้มีชาวพื้นเมืองอยู่แล้ว คือ “ชาวเมารี”
เมื่อชาวยุโรปอพยพมาอยู่มากเข้า ก็เริ่มมีปัญหาจนนำมาสู่ความขัดแย้งหลายครั้ง
ทั้งระหว่างชาวเมารีกับชาวยุโรป และระหว่างชาวเมารีด้วยกันเองที่ต้องการซื้อปืนจากชาวยุโรปเพื่อมาทำสงครามระหว่างเผ่า จนนำมาสู่การเสียชีวิตของชาวเมารีหลายหมื่นคน
จนในปี 1840 อังกฤษก็ได้เชิญหัวหน้าเผ่าชาวเมารีกว่า 500 เผ่า มาทำข้อตกลงร่วมกัน
ด้วยการยอมรับให้ดินแดนนิวซีแลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ โดยชาวเมารีจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินและที่ดินของตนเอง และได้รับสิทธิ์อื่น ๆ เช่นเดียวกับชาวอังกฤษทุกประการ
ข้อตกลงนี้เรียกว่า สนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi)
ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของนิวซีแลนด์ ในการเป็นอาณานิคมอังกฤษอย่างเป็นทางการ..
เจ้าอาณานิคมได้เข้ามาวางรากฐานระบบต่าง ๆ ให้กับนิวซีแลนด์
ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การปกครอง และศาสนา
คณะมิชชันนารีชาวอังกฤษได้นำศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์เข้ามาเผยแผ่ให้กับชาวเมารี
และก็เป็นคณะมิชชันนารีนี่เอง ที่นำแกะและวัวพันธุ์ชอร์ตฮอร์น เข้ามาสู่นิวซีแลนด์ และเริ่มส่งเสริมให้มีการทำฟาร์มเลี้ยงวัวอย่างจริงจังในช่วงทศวรรษ 1840s
นิวซีแลนด์มีฝนตกตลอดทั้งปี และมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยเฉพาะที่ราบไวกาโตบนเกาะเหนือ และที่ราบแคนเทอร์เบอรี, ที่ราบโอตาโกบนเกาะใต้
บริเวณเหล่านี้ ค่อย ๆ เติบโตกลายเป็นเขตเลี้ยงวัวที่สำคัญ ที่มีการผลิตทั้งนม เนย ชีส ซึ่งในช่วงแรกก็มีไว้สำหรับบริโภคภายในประเทศ
แต่เมื่อมีการพัฒนาระบบตู้เย็นในช่วงทศวรรษ 1880s นิวซีแลนด์ก็เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์นม
ไปยังดินแดนอื่น ๆ และมีการตั้งโรงงานเนยแห่งแรก คือ “Anchor” ในปี 1886
ซึ่งปัจจุบันได้ก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในแบรนด์นม และเนยคุณภาพสูงที่คนทั้งโลกรู้จัก
ความอุดมสมบูรณ์ของนิวซีแลนด์ ดึงดูดชาวยุโรปให้อพยพเข้ามาอยู่มากขึ้น
ผู้คนเหล่านี้ก็นำองค์ความรู้และเครื่องจักรในยุคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเครื่องรีดนมวัว
ทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มจำนวนวัวที่เลี้ยงได้มากขึ้น ปริมาณผลผลิตก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อได้เปรียบของการทำฟาร์มโคนมในนิวซีแลนด์ คือการมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ทำให้มีอาหารเพียงพอจนสามารถเลี้ยงวัวในระบบฟาร์มเปิด ที่ให้วัวเดินหาอาหารได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ช่วยให้วัวมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมสร้างน้ำนมคุณภาพเยี่ยม
แต่ข้อได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์สามารถโดดเด่นขึ้นมาในระดับโลก เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น
ประการที่ 1 ระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง
ระบบสหกรณ์ (Cooperative) เป็นอีกหนึ่งมรดกตกทอดจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อผู้ประกอบการรายย่อย และเกษตรกรได้รวมตัวกันก่อตั้งสหกรณ์ เพื่อต่อสู้กับเหล่านายทุนเจ้าของโรงงาน
สหกรณ์จะมีการระดมทุนจากสมาชิกที่มีอาชีพเดียวกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สมาชิกที่ขาดแคลนเงินทุนในอัตราดอกเบี้ยถูก และให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกที่เป็นผู้ฝากเงิน
สหกรณ์ยังให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ จัดหาวัตถุดิบ จัดหาตลาด กำหนดราคาสินค้า
ไปจนถึงการนำเงินทุนมาลงทุนตั้งโรงงานผลิต และผลิตสินค้าต่าง ๆ โดยทรัพย์สินของสหกรณ์จะถือเป็นของส่วนรวม และสมาชิกทุกคนจะถือเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน
สหกรณ์แห่งแรกของนิวซีแลนด์ คือ Otago Cooperative Cheese Co. ก่อตั้งในปี 1871
เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรเจ้าของฟาร์มโคนมในแถบที่ราบโอตาโกในเกาะใต้
เพื่อตั้งโรงงานผลิตชีส เกษตรกรผู้เป็นสมาชิกจะถือหุ้นส่วนตามสัดส่วนผลผลิตนมที่ส่งให้กับสหกรณ์ และสมาชิกก็จะได้เงินปันผล หากสหกรณ์มีกำไร
ด้วยความที่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นิวซีแลนด์เป็นประเทศใหม่ที่ยังไม่ค่อยมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมากนัก ทำให้ไม่มีเจ้าของโรงงาน หรือชนชั้นนายทุนมาขัดขวาง
ระบบสหกรณ์จึงเติบโต และเจริญก้าวหน้าในนิวซีแลนด์ได้ดีกว่าหลายประเทศในยุโรป
สมาชิกทุกคนไม่ว่าชายหรือหญิงจะมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจของสหกรณ์ ซึ่งนโยบายเหล่านี้ใช้หลักประชาธิปไตยเป็นสำคัญ สมาชิก 1 คน มีสิทธิ 1 เสียงเท่าเทียมกัน ระบบสหกรณ์จึงค่อย ๆ หยั่งรากประชาธิปไตยให้ฝังลึกลงในสังคมนิวซีแลนด์มาตั้งแต่ยุคนั้น
และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้นิวซีแลนด์ เป็นประเทศที่มีดัชนีประชาธิปไตย (Democracy Index)
อันดับ Top 5 ของโลกในปัจจุบัน..
การรวมกลุ่มในลักษณะสหกรณ์ ช่วยทำให้เกษตรกรมีอำนาจต่อรองกับนายทุน มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาสินค้า ทิศทางการตลาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
และเกษตรกรยังได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสม ทั้งผลตอบแทนจากการขายนมให้แก่สหกรณ์ และผลตอบแทนในรูปปันผลจากกำไรของสหกรณ์
ซึ่งในปัจจุบัน สหกรณ์ถือเป็นโครงสร้างสำคัญของเศรษฐกิจนิวซีแลนด์
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ 30 แห่ง สร้างรายได้ต่อปีคิดเป็นสัดส่วนถึง 17.5% ของ GDP ประเทศ
สหกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์ คือ Fonterra Co-operative Group Limited
ซึ่งเกิดจากการควบรวมสหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งทั่วประเทศในปี 2001
Fonterra Co-operative Group Limited ยังจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวซีแลนด์อีกด้วย และมีมูลค่าบริษัทสูงกว่า 140,000 ล้านบาท
ประการที่ 2 ความร่วมมือจากภาครัฐในการวิจัยและพัฒนาอย่างจริงจัง
หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1907 รัฐบาลนิวซีแลนด์ก็ได้ออกกฎหมายอุตสาหกรรมโคนมในอีก 1 ปีต่อมา เพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์นม ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การเลี้ยงวัว
มีการควบคุมโรงเลี้ยงวัวให้มีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย สายพันธุ์วัวจะต้องมีการเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมอย่างเป็นระบบ ผ่านสมาคมเพาะพันธุ์วัว หรือ Breed Association ที่จัดตั้งขึ้นในปี 1914 เพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีที่สุด ให้น้ำนมมากที่สุด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นมมีคุณภาพ
กลุ่มสหกรณ์โคนมยังได้รวมกันตั้ง Livestock Improvement Corporation (LIC) ในปี 1909 เพื่อเป็นบริษัทที่ให้บริการข้อมูลด้านพันธุศาสตร์มาช่วยปรับปรุงสายพันธุ์วัว เก็บรักษาน้ำเชื้อพ่อวัวพันธุ์ดี และให้บริการผสมเทียมแก่แม่วัวที่เริ่มมาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1950s
ในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ มีการตั้งคณะกรรมการโคนมแห่งนิวซีแลนด์ หรือ
New Zealand Dairy Board เป็นคณะกรรมการด้านกฎหมายที่ควบคุมการส่งออกผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ทั้งหมด คอยควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์นมส่งออกมาตั้งแต่ปี 1923
ประการที่ 3 การสร้างจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
ข้อนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์ หลังจากที่นิวซีแลนด์ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลกในช่วงทศวรรษ 1970s
แต่ด้วยความที่นิวซีแลนด์เป็นประเทศรายได้สูง ซึ่งส่งผลมาสู่ค่าแรงที่สูง และดันให้ราคาของผลผลิตนมสูงตามไปด้วย การที่จะต่อสู้กับผลิตภัณฑ์นมจากประเทศอื่น ๆ ที่มีค่าแรงถูกกว่าได้
จำเป็นจะต้องสร้างความแตกต่าง และความโดดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์
เพื่อส่งเสริมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ รัฐบาลได้จัดตั้ง New Zealand Food Innovation Network (NZFIN) หน่วยงานที่สังกัดกระทรวงธุรกิจ นวัตกรรม และการจ้างงาน เพื่อให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ทั้งการวิจัยผลิตภัณฑ์ การทดสอบกับกลุ่มลูกค้า การผลิตในขนาดเล็ก ไปจนถึงวางแผนการผลิตจริง
ในปี 2008 เพื่อความสะดวกในการวางแผนการตลาด และการแข่งขันกับตลาดโลก
สหกรณ์โคนมหลายร้อยแห่งของนิวซีแลนด์ จึงได้รวมตัวกันให้กลายเป็นสหกรณ์โคนมขนาด
ใหญ่เพียง 3 แห่ง ประกอบไปด้วย
1. สหกรณ์ Fonterra เป็นสหกรณ์โคนมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ครองส่วนแบ่งการตลาด
มากกว่า 80% มีแบรนด์ผลิตภัณฑ์นมในเครือหลายสิบแบรนด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ทั้งนม Anlene ที่มีปริมาณแคลเซียมสูง มีหลายสูตรเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ
นม Anmum ที่มีแคลเซียมและโฟเลตสูง เป็นสูตรเฉพาะสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูก
และเนย Anchor เป็นเนยที่ผลิตจากครีมแท้ 100% จากน้ำนมที่ได้มาตรฐานสูงสุด
2. สหกรณ์ Tatua เป็นสหกรณ์ที่เน้นผลิตสินค้าที่มีมูลค่าสูงเกี่ยวกับนม เช่น สารสกัดโปรตีนจากนม สารสกัดไขมันจากนม และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
3. สหกรณ์ Westland เน้นผลิตภัณฑ์สินค้าประเภทนมผง เวย์โปรตีน เคซีน และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็ก
จะเห็นได้ว่า สหกรณ์ทั้ง 3 แห่ง ล้วนมี “จุดเด่น” ของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันออกไป
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ ที่ต่อยอดมาจากน้ำนมธรรมดา
นิวซีแลนด์เป็นประเทศร่ำรวยไม่กี่ประเทศ ที่สินค้าส่งออกถึง 70% มาจากภาคเกษตรกรรม
โดยผลิตภัณฑ์นม ทั้งนม เนย ชีส นมผง และเวย์ คิดเป็นสัดส่วน 18% ของสินค้าส่งออกทั้งหมด
ภาคการเกษตรใช้แรงงาน 5.5% ของแรงงานชาวนิวซีแลนด์
แต่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 7% ของ GDP
ซึ่งขัดกับประเทศกำลังพัฒนาในหลายประเทศที่ใช้แรงงานในภาคการเกษตรมาก แต่ไม่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มาก
ความโชคดีของประเทศนี้ คือการที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ มีภูมิอากาศเหมาะสม มีหญ้ามากเพียงพอที่จะทำให้วัวมีสุขภาพดี และให้นมคุณภาพสูง
แต่สิ่งเหล่านี้จะยั่งยืนไม่ได้เลย หากขาดระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็ง ความช่วยเหลืออย่างจริงจังจากภาครัฐ และความร่วมมือกันในการวางแผนพัฒนาจุดเด่นให้กับผลิตภัณฑ์นม
จนต่อไปสู่ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ สร้างความ “พรีเมียม” ให้กับแบรนด์สินค้า
และสร้างมูลค่าเพิ่มจากน้ำนมธรรมดาอย่างมหาศาล
นับตั้งแต่ปี 1970 นิวซีแลนด์ยังคงรักษาตำแหน่งประเทศผู้ส่งออกนมอันดับ 1 ของโลก
ในแง่ของมูลค่า มาได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่มีใครรู้ว่าตำแหน่งจะถูกเปลี่ยนมือไปเมื่อไร แต่จากบทความทั้งหมดที่กล่าวมา
ก็พอจะคาดเดาได้ว่า “นิวซีแลนด์” น่าจะยังอยู่ในตำแหน่งนี้ ต่อไปอีกยาวนาน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.statista.com/statistics/974482/new-zealand-dairy-cattle-numbers/
-https://teara.govt.nz/en/dairying-and-dairy-products
-https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/download/182277/153930/
-https://www.ica.coop/en/newsroom/news/new-report-co-operative-economy-new-zealand
-https://theeconreview.com/2017/02/22/new-zealand-the-model-for-farms-of-the-future/
-https://www.gtreview.com/magazine/volume-15issue-5/milk-new-zealands-dairy-exports-conquered-world/
-https://www.stats.govt.nz/experimental/which-industries-contributed-to-new-zealands-gdp
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「cooperative economy」的推薦目錄:
cooperative economy 在 Apple Daily - English Edition Facebook 的最佳貼文
#Opinion by Peter Chow 周鉅原 | "It can thus be predicted that Biden will strengthen and repair its relations with allies in the future, but will not rush to sign any FTAs – including the Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership CPTPP), which some Asian countries have been looking forward to. These Asian countries can only keep on waiting patiently. However, Biden will reach cooperative agreements with trusted allies and partners on high-tech cooperation such as Internet of Things (Iots), artificial intelligence, 5G, cloud technology, and digital trade outside the scope of WTO regulations. Taiwan has mastered the high-end technology of chips, a product whose status in this era of the digital economy has been compared to the oil in the past. Therefore, we can be optimistic about the prospect of Taiwan and the US strengthening their relations, forming alliances and reaching a digital trade agreement."
Read more: https://bit.ly/3vbz301
"由此觀之,未來拜登會加強跟盟邦修補關係,但是不會急著簽訂任何FTA,甚至是一些亞洲國家所期待的重返CPTPP(跨太平洋夥伴全面進步協定),亞洲國家只能耐心等待。但是拜登會跟可信賴的盟邦與夥伴,就高科技的合作如Iots(物聯網)、人工智慧、5G、雲端科技及在WTO規範範圍之外的數位貿易,達成合作協定。台灣掌握了晶片的高端技術,晶片在數位經濟的地位,被比喻為「昔日的石油」,所以台美兩國在數位貿易方面強化關係、結成聯盟,達成數位貿易協定是可以樂觀期待的。"
____________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
cooperative economy 在 台灣主權和平獨立 Facebook 的精選貼文
【台灣與 #索馬利蘭共和國 將互設代表處】
各位賓友~
今天 #JW部長 召開記者會向大家宣布一項消息
#台灣 將與非洲之角🥐 #索馬利蘭
互設代表處啦 👏👏👏
今年2月下旬 📆
穆雅辛外長 (H.E. Yasin Hagi Mohamoud) 率團訪台
與JW部長在 #台北賓館 共同簽署 ✍️
中華民國(台灣)政府與索馬利蘭共和國政府雙邊議定書
將以 #台灣代表處 及 #索馬利蘭代表處 名稱
互設官方代表機構
進一步推動 #台非合作 實質關係
開展台灣在東部非洲的布局 🌍
其實 #魔法人 在今年2月就已經前進索國囉 😲
目前設處作業進行 ing
雙邊將展開 #農漁礦 #能源 #衛生 #教育 #資通訊 合作
深化兩國互惠互利的友好關係 🤝
至於有關索馬利蘭的大小事
就讓我們進入 #外交資訊補給站 ⛽️ 時間吧👇🏻
◾️索馬利蘭位於非洲之角,人口約有390萬人,漁業資源豐富,是國際重要漁場,並擁有豐富的石油、天然氣等礦藏資源。
◾️索馬利蘭自1991年宣布獨立以來,已經進行3次總統大選,政治情勢穩定,民主持續深化,與我同為 #民主自由 的 #理念相近國家。
◾️我國自2009年起,與索馬利蘭逐步建立良好的互動關係,雙方在提升海事安全、醫衛及教育等領域進行合作,截至目前為止,我國曾透過 #國合會 友好國家醫事人員訓練計畫代訓23位索馬利蘭醫事人員,目前也有3名索國年輕學生透過 #台灣獎學金 的機制在台攻讀學位。
We're pleased to announce that Taiwan will set up a representative office in the Republic of #Somaliland, which itself will set up a representative office in #Taiwan. This move is aimed at strengthening our cooperative relationship with African nations, particularly in #EastAfrica. The country's foreign minister, H.E. Yasin Hagi Mohamoud, signed a bilateral protocol to this effect while he was leading a delegation to Taiwan in February of this year. The two countries will launch cooperative initiatives on fisheries, agriculture, energy, mining, public health, education and ICT.
Due to the #COVID19 pandemic, arrangements for the establishment of the representative offices are still underway!
Extra Credit:
Somaliland is located in the Horn of Africa and has a population of around 3.9 million. The country's economy is based mainly on livestock and agriculture. Somaliland declared independence in 1991 and has held three presidential elections since then, strengthening its democratic institutions. We have gradually built up friendly relations with the country since 2009, with increasing cooperation on maritime security, medicine and public health and education. TaiwanICDF財團法人國際合作發展基金會 previously trained 23 medical personnel from the country under a cooperative initiative. Currently three young students from the country are studying in Taiwan with scholarships.