วันนี้จะขอเล่าเรื่อง
Overtraining syndrome OTS
ใครมีอาการดังนี้ ยกมือ!!
ออกกำลังกายหนัก
อ่อนล้าง่าย
ปวดเมื่อย
นอนมาก/นอนไม่หลับ
เป้าหมายหายไป
ซึมเศร้า
หงุดหงิดง่าย
ขาดสมาธิ
นนไม่ค่อยคงที่
++
เราออกกำลังกายโดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาphysical fitness ศักยภาพหรือ performance ด้านความเร็ว ความทนทาน ความแข็งแรง และกำลัง
::
การฝึกฝนของนักกีฬา (intense athletic training) เป็นความเครียดของร่างกายเพื่อทำให้ร่างกายสูญเสียภาวะสมดุลเดิม เกิดภาวะอ่อนล้าของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท (neuromuscular fatigue ) เมื่อร่างกายได้พักเพียงพอ มีภาวะโภชนาการที่ดี ร่างกายจะเข้าสู่สมดุลใหม่ที่แข็งแรงกว่าเดิม (adaptation)
เช่นจากเคยเดินแล้วเหนื่อยก้อเหนื่อยน้อยลง
วิ่งได้นานขึ้น ทำนองนี้
การadaptation ขึ้นกับ ชนิด ปริมาณการฝึก อายุ เพศ การพักผ่อน การนอน โภชนาการ และพันธุกรรม
การ recovery มีความจำเป็นมากสำหรับนักกีฬา นั่นคือ
. การดืมน้ำ และ โภชนาการ
. การพักและการนอน
. การพักผ่อนและการคลายอารมณ์
. การยืดเหยียดและการ active rest
ระบาดวิทยา
-ความชุก (prevalence) พบได้ 10% ของ 1 รอบการเทรน (one cycle training)
Life time risk (หมายถึงสักครั้งในชีวิต)ในนักวิ่งพบได้ 64% ในผู้ชาย 60% ในผู้หญิง
-พบอุบัติการณ์ (incidence) 20-30% ในนักกีฬาระดับสูง (high level, elite)
"เยอะนะ"
และเยอะเลยในกลุ่มนักวิ่งมาราธอน อัลตร้า ironman
อธิบายโดยหลายทฤษฎี
(อ่านข้ามไปได้เลยถ้าไม่เข้าใจ สำหรับเพื่อนๆสายแข็ง จริงๆเขียนเก็บไว้อ่านเอง^^)
1. Autonomic imbalance hypothesis คือการไม่สมดุลของระบบประสาทอัตโนมัติ
- การลดลงของระดับ baseline cathecolamine (adrenaline แบะ noradrenaline)จากการมีNegative feedback จากการที่ร่างกายถูกกระตุ้นอย่างหนักให้เกิดการหลั่งของ adrenaline และ noradrenaline
- ภาวะไม่สมดุล(imbalance) ของamino acids ในกระแสเลือด และ การเปลี่ยนแปลง metabolism ของสารสื่อประสาทในสมอง ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ aromatic amino acids พวก (tryptophan phenylalanine tyrosine) ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของ tryptophan ใน hypothalamus และ dopamine ในสมอง ทำให้เกิด " metabolic error signals " ทำให้เกิด inhibitory effect ในระบบประสาทอัตโนมัติ
- การเพิ่มของอุณหภูมิแกนกลางลำตัว ทำให้เกิด inhibitory effect เช่นเดียวกัน
- การมี negative feedback ทำให้เกิด การลดลงของ catecholamine receptor ในกล้ามเนื้อที่ใช้ออกกำลังกาย(down regulation)
2. Glycogen depletion hypothesis
- การลดลงของglycogen ทำให้performance ลดลง และทำให้เกิดการสลายตัว(oxidation) ของ BCAA ไปเป็นน้ำตาลทำให้ BCAAในร่างกายลดลง ทำให้เกิด central fatigue ได้
3. Central fatigue theory
- เกิดจาก การสร้าง 5HT มากขึ้นในระบบประสาทส่วนกลาง เวลาเราออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องไกลโคเจนในกล้ามเนื้อถูกใช้ไปทำให้ปริมาณลดน้อยลง กล้ามเนื้อต้องดึงพลังงานสำรองมาเป็นพลังงานแทน ซึ่งก็คือ BCAA BCAA ถูกสลายให้เป็นน้ำตาล ในขณะเดียวกันกรดไขมันเพิ่มปริมาณมากขึ้นไปแย่งกับ tryptophan จับที่ albumin binding site ทำให้ระดับ tryptophan ในเลือดสูงขึ้น (เพราะจับกับ receptorไม่ได้) ทั้ง BCAA และ tryptophan ใช้ transporter ตัวเดียวกันในการผ่านเข้าสมอง ดังนั้นเมื่อ BCAA ในเลือดลดลง ทำให้ tryptophan ผ่านเข้าสมองมากขึ้น tryptophan จะถูกเปลี่ยนเป็น 5HT เป็นสารสื่อประสาทในสมองอีกที
4. Cytokines hypothesis คือการฟื้นของเนื้อเยื่อเฉพาะที่ต่างๆไม่สมบูรณ์ทำให้การอักเสบเฉพาะที่กลายเป็นการอักเสบทั้งร่างกาย มีการเพิ่มของ pro inflammatory cytokines IL-1beta TNFalpha IL-6 การเพิ่มขึ้นนี้ทำให้เกิด central และ peripheral fatigue
อาการแสดง
-fatigue อ่อนล้า
-เจ็บกล้ามเนื้อทั้งตัว persistant muscle soreness
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแม้ว่าออกกำลังกายเบาๆ
-ขาดmotivation และspiritของการแข่งขัน
-นอนมาก
-ซึมเศร้า
-หงุดหงิดง่าย
-ขาดการจอจ่อหรือสมาธิ
-ขาดการให้ความร่วมมือกับทีม
-มีประวัติการเทรนอย่างหนักและperformance ลดลง
ตรวจร่างกาย
-อาจพบว่าปกติ** มีเยอะที่ปกติ
-อัตราการเต้นหัวใจ ความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าปกติ เช่นตื่นเช้ามาHR เดิมเคย50 สูงขึ้นเป็น 65 (ตามเกณฑ์ปกติแต่มันไม่ปกติสำหรับเราในช่วงเวลานั้น)
-อาจพบบาดเจ็บซ้ำๆๆ (recurrent overuse injury), เบื่ออาหาร(anorexia), นนลด, การติดเชื้อทางเดินหายใจ(หวัด)บ่อยๆ
ควรตรวจเชคโรคอื่นๆคือ (พบแพทย์)
1. ภาวะโภชนาการ
2. ภาวะซีด
3. ภาวะทางจิตเวช burnout
4. ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ (ต่ำ)
5. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ (cardiomyopathy)
การรักษา
"พัก" "2-3สัปดาห์"
ลดความหนักของการฝึกลง
Light to moderate exercise
- cross training
- Bike
- Swimming
ไม่เกิน 65-70% max HR
ไม่เกิน 30นาทีต่อวัน
Light weight workout
12-15 light weight 2 sets (ไม่เกิน 40-50% 1RM)
ไม่เกิน 5 exercises
ไม่เกินวันเว้นวัน
นอนให้เหมาะสม เข้านอนก่อน3ทุ่ม เพื่อปรับสมดุลให้ growth hormone หลั่งช่วยซ่อมแซมร่างกาย พักให้พอ 6-8ชม
การนอนจำนวนชมเท่ากันแต่เวลาต่างกันส่งผลอย่างมาก เรื่องเล็กน้อยที่สำคัญมากๆ
เน้นอาหาร โปรตีน good carb good fat
Antioxidant vitamin ลด inflammationในร่างกาย
+++
ลองปรับกับตนเองดูนะคะ
ถ้ายังไม่หายควรพบแพทย์เพื่อเชคสภาวะโรคอื่นที่ต้องตรวจหา
++
จะได้สนุกกับการออกกำลังกายได้นานๆ
Cr ขอบคุณภาพจากน้องนุ่นค่ะ
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...