ทักษะดิจิทัลที่คนไทยต้องมี มีอะไรบ้างมาสำรวจกัน
.
ETDA ( สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ) ได้รวบรวม ทักษะ และอาชีพที่มีความต้องการสูงในปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งมีหัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจ คือ
“ Top 5 ทักษะสำคัญที่เป็นที่ต้องการในไทย ”
1.ทักษะคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม (Analytical Thinking and Innovation)
เป็นคนที่รู้จักคิดวิเคราะห์ ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างถาม จับประเด็น แยกแยะและเชื่อมโยง นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
2. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complex Problem-Solving)
เป็นคนที่มีทักษะในการจัดการกับปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน มีกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และหาแนวทางการแก้ไขที่ต้นตอของปัญหา
3.การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning and Learning Strategies)
การเรียนรู้จากการลงมือทำด้วยตัวเอง ฝึกคิดวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กลุ่มพร้อมร่วมกันแก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
4.ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking and Analysis)
เป็นคนที่มีทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดวิเคราะห์ตามหลักเหตุผล และประเมินความถูกต้อง มีความสมเหตุสมผล โดยใช้วิจารณญาณของความเป็นมนุษย์
5.ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Originality and Initiative)
เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คิดต่างไม่ซ้ำใคร (คิดนอกกรอบ) มีความคิดริเริ่มและกล้าที่จะทำในสิ่งใหม่
.
ขอบคุณภาพ ข้อมูล จากบทความ “ทักษะดิจิทัลที่คนไทยต้องมี รับปี 2021”
โดย ETDA ( สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ สพธอ. ) www.etda.or.th
#iT24Hrs #ETDA #ทักษะดิจิทัล #MayDay
etda คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ผู้สนับสนุน..
TMB SME Insights - 5 เรื่องจริงปวดใจของร้านค้าออนไลน์
ถ้าถามว่า ธุรกิจอะไรที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทุกคนคงตอบได้ว่า e-Commerce
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีมูลค่าตลาด e-Commerce สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน
โดยในปี 2561 ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ประเมินตลาดนี้ว่ามีมูลค่าสูงถึง 3.15 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14%
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
มีคนไทยราว 36 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว และ 93% ของคนกลุ่มนี้ ใช้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ตโฟน
จากปัจจัยการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟนของคนไทยดังกล่าว รวมถึงเทคโนโลยีทางการเงิน และการผลักดันจากภาครัฐในด้านสังคมไร้เงินสด ทำให้การชำระเงินทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย จึงทำให้จำนวนผู้ช้อปปิ้งออนไลน์สูงถึง 12 ล้านคนในปี 2561 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกแบบก้าวกระโดดในปีนี้
เมื่อตลาด e-Commerce เป็นตลาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตสูง ก็ทำให้มีธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยภายในปีนี้คาดว่ามูลค่าตลาดที่เกินจาก SMEs ที่ขายของออนไลน์จะสูงถึง 6.8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 20% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งประเทศ
อย่างไรก็ตาม..
เมื่อตลาดมีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมมีปัญหาตามมา
TMB SME ได้ร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำของประเทศไทย ทำการสำรวจผู้ประกอบการ e-Commerce จากหลายอุตสาหกรรม ทั้งที่มีหน้าร้านและขายเฉพาะบนออนไลน์เท่านั้น จำนวน 200 คน ที่มีรายได้เฉลี่ย 10 - 100 ล้านบาทต่อปี เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆ ของเจ้าของธุรกิจออนไลน์
และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ SMEs
ออกมาเป็นผลงานวิจัยในหัวข้อ “5 เรื่องจริงปวดใจของร้านค้าออนไลน์”
1. ขายยังไงดี ของไม่มีจุดต่าง
ร้านค้าออนไลน์ถึง 60% พบว่าสินค้าของตัวเองไม่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง
เป็นเพราะซื้อสินค้าจากแหล่งเดียวกันและไม่สามารถสั่งผลิตสินค้าแยกได้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าการผลิต
แนวทางการแก้ไข
หากสินค้าไม่มีความแตกต่าง ร้านค้าออนไลน์สามารถสร้างความแตกต่างได้ด้วย
1) เน้นกลยุทธ์การตลาดสร้างความต่างให้กับสินค้า เช่น การปรับปรุงแพ็คเกจจิ้ง ให้สวยงามทันสมัย ใช้งานสะดวกมากขึ้น หรือมีบริการพิเศษ
2) เจาะตลาดกลุ่มใหม่ๆ ที่มีการแข่งขันน้อยกว่า
3) คิดสินค้าที่ใช่และมีจุดเด่นไม่เหมือนใคร แต่ต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า จากนั้นค่อยหา OEM มาช่วยผลิต โดยเริ่มจากปริมาณที่ไม่มากเกินไป ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ให้กับตัวเอง และช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ในระยะยาว
2. ยิงแอดแทบตาย... ยอดขายไม่ปัง!!!
ร้านค้าออนไลน์มีค่าใช้จ่ายในการยิงโฆษณาทางออนไลน์เฉลี่ยสูงถึง 20,000 บาทต่อเดือน แต่จากผลการสำรวจพบว่า ร้านค้าออนไลน์ถึง 23% มองว่าการโฆษณาทางออนไลน์ที่ลงทุนไปไม่คุ้มค่าตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากไม่ได้ยอดขายสินค้ากลับมาตูมตามดังคาด และไม่ได้สร้างการรับรู้ของร้านค้าให้มากขึ้น มีเพียงยอด Page like ที่เพิ่ม แต่การซื้อไม่เพิ่ม
แนวทางการแก้ไข
เริ่มแรกร้านค้าออนไลน์ควรวิเคราะห์และทำความรู้จักลูกค้าของตัวเองอย่างลึกซึ้งรอบด้านก่อน เช่น เพศ อายุ อาชีพ สถานที่ รวมไปถึงความสนใจและไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
จากนั้นก็ควรเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับเทคนิคการทำโฆษณาออนไลน์ต่างๆ ซึ่งการที่ผู้ประกอบการรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น จะทำให้การทำโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยให้ต้นทุนต่ำลง
3. สต๊อกจ๋า ปัญหาใหญ่
89% ของร้านค้าออนไลน์ มีการขายสินค้าผ่านทางออฟไลน์ด้วย และทั้งหมดของกลุ่มนี้ ขายสินค้าออนไลน์มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดย 37% มีปัญหาในการบริหารสต๊อกสินค้า ทำให้สูญเสียโอกาสการขายกรณีสินค้าหมด หรือเสียพื้นที่โกดังเก็บของ กลายเป็นเพิ่มต้นทุน และทำให้เงินทุนจมในกรณีสินค้าค้างสต๊อกมาก
แนวทางการแก้ไข
หากร้านค้าออนไลน์ต้องการที่จะบริหารสต๊อกเอง ก็ควรมีระบบจัดการที่ชัดเจน มีการอัปเดตตลอดเวลา และควรเก็บข้อมูลสต๊อกไว้ที่ไฟล์เอกสารเดียว หรือ จะเลือกใช้โปรแกรมหรือระบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบริหารสต๊อกก็จะสามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้น ซึ่งทาง TMB ก็มีหลักสูตร LEAN Supply Chain by TMB ที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้
4. จะส่งของให้ลูกค้า ยังต้องลุ้น
ร้านค้าออนไลน์ถึง 84% เคยประสบปัญหาในการจัดส่งสินค้า เช่น สินค้าเสียหาย ส่งสินค้าล่าช้า ส่งสินค้าผิดที่ ลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้า พนักงานส่งสินค้าไม่สุภาพ หรือลูกค้าคืนสินค้าหลังจากได้รับสินค้าแล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่ง การเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่ง ระหว่างการขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการตรวจสอบ และรับสินค้า รวมไปถึงความผิดพลาดของบริษัทขนส่ง
แนวทางการแก้ไข
ร้านค้าออนไลน์เองก็ควรจะต้องเพิ่มความรอบคอบในการจัดเตรียมสินค้า เช่น การทำระบบ การแปะรหัส ควรตรวจสอบสินค้าก่อนการส่ง และดูแลการบรรจุสินค้าอย่างแน่นหนา และควรพิจารณาเลือกบริษัทขนส่งที่มีบริการดี น่าเชื่อถือ ก็จะช่วยลดปัญหาความไม่พึงพอใจของลูกค้าได้ หรือจ้างบริษัทรับหยิบของและแพ็คของเพื่อส่งไปรษณีย์ไปเลย
5. จะร่วมเทศกาลเซลส์ทั้งที เงินน่ะมีไหม?
ร้านค้าออนไลน์ถึง 61% ต้องการเงินทุนที่ในการเข้าร่วมเทศกาลเซลส์ครั้งใหญ่ที่ทางแพลตฟอร์มจัดขึ้น ซึ่งถือเป็น ‘ช่วงเวลาทองคำ’ ที่ร้านค้าออนไลน์จะสามารถเพิ่มยอดขายได้มากถึง 20 - 100 เท่า โดยจะต้องนำเงินทุนไปใช้เพื่อสต๊อกสินค้า ซื้อโฆษณา และค่าจ้างโอทีของพนักงานเฉพาะช่วงเทศกาล ซึ่งปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ใช้เงินทุนจากบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หรือบัตรกดเงินสด โดยยอมแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินความคุ้มค่าระหว่างดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายกับกำไรของธุรกิจ
แนวทางแก้ไข
ร้านค้าออนไลน์ควรมีการวางแผนอย่างชัดเจน เพื่อใช้สำหรับการร่วมเทศกาลเซลส์ครั้งสำคัญ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 5 คำถาม คือ จะร่วมเมื่อไหร่ จะขายสินค้าตัวไหน เป็นการเคลียร์สต๊อกเก่าหรือหาสินค้าตัวใหม่ ต้องใช้เงินเพิ่มไหมและเท่าไร และสุดท้าย จะเอาเงินมาจากไหน
โดยงานวิจัยนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของ TMB SME ที่ต้องการสนับสนุน SMEs ให้ “ได้มากกว่า” แค่เรื่องของสินเชื่อหรือธุรกรรมการเงินจากธนาคาร
ซึ่งทาง TMB SME ก็เชื่อว่างานวิจัยในหัวข้อ ‘5 เรื่องจริงปวดใจของร้านค้าออนไลน์’ จะเป็นส่วนช่วยให้ร้านค้าออนไลน์เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน..
#เพราะSMEต้องได้มากกว่า #GetMOREwithTMB #TMBMakeTHEDifference
etda คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ผู้สนับสนุน..
TMB SME Insights - 5 เรื่องจริงปวดใจของร้านค้าออนไลน์
ถ้าถามว่า ธุรกิจอะไรที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
ทุกคนคงตอบได้ว่า e-Commerce
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีมูลค่าตลาด e-Commerce สูงสุดเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน
โดยในปี 2561 ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ประเมินตลาดนี้ว่ามีมูลค่าสูงถึง 3.15 ล้านล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14%
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
มีคนไทยราว 36 ล้านคนใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว และ 93% ของคนกลุ่มนี้ ใช้ผ่านโทรศัพท์สมาร์ตโฟน
จากปัจจัยการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสมาร์ตโฟนของคนไทยดังกล่าว รวมถึงเทคโนโลยีทางการเงิน และการผลักดันจากภาครัฐในด้านสังคมไร้เงินสด ทำให้การชำระเงินทางออนไลน์เป็นเรื่องง่าย จึงทำให้จำนวนผู้ช้อปปิ้งออนไลน์สูงถึง 12 ล้านคนในปี 2561 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกแบบก้าวกระโดดในปีนี้
เมื่อตลาด e-Commerce เป็นตลาดใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตสูง ก็ทำให้มีธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะร้านค้าออนไลน์ต่างๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยภายในปีนี้คาดว่ามูลค่าตลาดที่เกินจาก SMEs ที่ขายของออนไลน์จะสูงถึง 6.8 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 20% ของมูลค่าค้าปลีกทั้งประเทศ
อย่างไรก็ตาม..
เมื่อตลาดมีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมมีปัญหาตามมา
TMB SME ได้ร่วมกับบริษัทวิจัยชั้นนำของประเทศไทย ทำการสำรวจผู้ประกอบการ e-Commerce จากหลายอุตสาหกรรม ทั้งที่มีหน้าร้านและขายเฉพาะบนออนไลน์เท่านั้น จำนวน 200 คน ที่มีรายได้เฉลี่ย 10 - 100 ล้านบาทต่อปี เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคในด้านต่างๆ ของเจ้าของธุรกิจออนไลน์
และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ SMEs
ออกมาเป็นผลงานวิจัยในหัวข้อ “5 เรื่องจริงปวดใจของร้านค้าออนไลน์”
1. ขายยังไงดี ของไม่มีจุดต่าง
ร้านค้าออนไลน์ถึง 60% พบว่าสินค้าของตัวเองไม่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง
เป็นเพราะซื้อสินค้าจากแหล่งเดียวกันและไม่สามารถสั่งผลิตสินค้าแยกได้ เนื่องจากไม่คุ้มค่าการผลิต
แนวทางการแก้ไข
หากสินค้าไม่มีความแตกต่าง ร้านค้าออนไลน์สามารถสร้างความแตกต่างได้ด้วย
1) เน้นกลยุทธ์การตลาดสร้างความต่างให้กับสินค้า เช่น การปรับปรุงแพ็คเกจจิ้ง ให้สวยงามทันสมัย ใช้งานสะดวกมากขึ้น หรือมีบริการพิเศษ
2) เจาะตลาดกลุ่มใหม่ๆ ที่มีการแข่งขันน้อยกว่า
3) คิดสินค้าที่ใช่และมีจุดเด่นไม่เหมือนใคร แต่ต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า จากนั้นค่อยหา OEM มาช่วยผลิต โดยเริ่มจากปริมาณที่ไม่มากเกินไป ซึ่งแนวทางนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างแบรนด์ให้กับตัวเอง และช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนได้ในระยะยาว
2. ยิงแอดแทบตาย... ยอดขายไม่ปัง!!!
ร้านค้าออนไลน์มีค่าใช้จ่ายในการยิงโฆษณาทางออนไลน์เฉลี่ยสูงถึง 20,000 บาทต่อเดือน แต่จากผลการสำรวจพบว่า ร้านค้าออนไลน์ถึง 23% มองว่าการโฆษณาทางออนไลน์ที่ลงทุนไปไม่คุ้มค่าตามที่คาดหวังไว้ เนื่องจากไม่ได้ยอดขายสินค้ากลับมาตูมตามดังคาด และไม่ได้สร้างการรับรู้ของร้านค้าให้มากขึ้น มีเพียงยอด Page like ที่เพิ่ม แต่การซื้อไม่เพิ่ม
แนวทางการแก้ไข
เริ่มแรกร้านค้าออนไลน์ควรวิเคราะห์และทำความรู้จักลูกค้าของตัวเองอย่างลึกซึ้งรอบด้านก่อน เช่น เพศ อายุ อาชีพ สถานที่ รวมไปถึงความสนใจและไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
จากนั้นก็ควรเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับเทคนิคการทำโฆษณาออนไลน์ต่างๆ ซึ่งการที่ผู้ประกอบการรู้ถึงกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนนั้น จะทำให้การทำโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังช่วยให้ต้นทุนต่ำลง
3. สต๊อกจ๋า ปัญหาใหญ่
89% ของร้านค้าออนไลน์ มีการขายสินค้าผ่านทางออฟไลน์ด้วย และทั้งหมดของกลุ่มนี้ ขายสินค้าออนไลน์มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม โดย 37% มีปัญหาในการบริหารสต๊อกสินค้า ทำให้สูญเสียโอกาสการขายกรณีสินค้าหมด หรือเสียพื้นที่โกดังเก็บของ กลายเป็นเพิ่มต้นทุน และทำให้เงินทุนจมในกรณีสินค้าค้างสต๊อกมาก
แนวทางการแก้ไข
หากร้านค้าออนไลน์ต้องการที่จะบริหารสต๊อกเอง ก็ควรมีระบบจัดการที่ชัดเจน มีการอัปเดตตลอดเวลา และควรเก็บข้อมูลสต๊อกไว้ที่ไฟล์เอกสารเดียว หรือ จะเลือกใช้โปรแกรมหรือระบบอัตโนมัติที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบริหารสต๊อกก็จะสามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้น ซึ่งทาง TMB ก็มีหลักสูตร LEAN Supply Chain by TMB ที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้
4. จะส่งของให้ลูกค้า ยังต้องลุ้น
ร้านค้าออนไลน์ถึง 84% เคยประสบปัญหาในการจัดส่งสินค้า เช่น สินค้าเสียหาย ส่งสินค้าล่าช้า ส่งสินค้าผิดที่ ลูกค้าปฏิเสธการรับสินค้า พนักงานส่งสินค้าไม่สุภาพ หรือลูกค้าคืนสินค้าหลังจากได้รับสินค้าแล้ว ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้ตั้งแต่กระบวนการตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่ง การเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่ง ระหว่างการขนส่ง ไปจนถึงกระบวนการตรวจสอบ และรับสินค้า รวมไปถึงความผิดพลาดของบริษัทขนส่ง
แนวทางการแก้ไข
ร้านค้าออนไลน์เองก็ควรจะต้องเพิ่มความรอบคอบในการจัดเตรียมสินค้า เช่น การทำระบบ การแปะรหัส ควรตรวจสอบสินค้าก่อนการส่ง และดูแลการบรรจุสินค้าอย่างแน่นหนา และควรพิจารณาเลือกบริษัทขนส่งที่มีบริการดี น่าเชื่อถือ ก็จะช่วยลดปัญหาความไม่พึงพอใจของลูกค้าได้ หรือจ้างบริษัทรับหยิบของและแพ็คของเพื่อส่งไปรษณีย์ไปเลย
5. จะร่วมเทศกาลเซลส์ทั้งที เงินน่ะมีไหม?
ร้านค้าออนไลน์ถึง 61% ต้องการเงินทุนที่ในการเข้าร่วมเทศกาลเซลส์ครั้งใหญ่ที่ทางแพลตฟอร์มจัดขึ้น ซึ่งถือเป็น ‘ช่วงเวลาทองคำ’ ที่ร้านค้าออนไลน์จะสามารถเพิ่มยอดขายได้มากถึง 20 - 100 เท่า โดยจะต้องนำเงินทุนไปใช้เพื่อสต๊อกสินค้า ซื้อโฆษณา และค่าจ้างโอทีของพนักงานเฉพาะช่วงเทศกาล ซึ่งปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ใช้เงินทุนจากบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หรือบัตรกดเงินสด โดยยอมแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินความคุ้มค่าระหว่างดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายกับกำไรของธุรกิจ
แนวทางแก้ไข
ร้านค้าออนไลน์ควรมีการวางแผนอย่างชัดเจน เพื่อใช้สำหรับการร่วมเทศกาลเซลส์ครั้งสำคัญ เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสทางธุรกิจ ด้วย 5 คำถาม คือ จะร่วมเมื่อไหร่ จะขายสินค้าตัวไหน เป็นการเคลียร์สต๊อกเก่าหรือหาสินค้าตัวใหม่ ต้องใช้เงินเพิ่มไหมและเท่าไร และสุดท้าย จะเอาเงินมาจากไหน
โดยงานวิจัยนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของ TMB SME ที่ต้องการสนับสนุน SMEs ให้ “ได้มากกว่า” แค่เรื่องของสินเชื่อหรือธุรกรรมการเงินจากธนาคาร
ซึ่งทาง TMB SME ก็เชื่อว่างานวิจัยในหัวข้อ ‘5 เรื่องจริงปวดใจของร้านค้าออนไลน์’ จะเป็นส่วนช่วยให้ร้านค้าออนไลน์เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน..
#เพราะSMEต้องได้มากกว่า #GetMOREwithTMB #TMBMakeTHEDifference