🇸🇬 #Singapore
❗️ อัพเดทมาตรการควบคุมโควิด (Phase 3)
.
เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
สิงคโปร์เจอการระบาดของโควิดจากคลัสเตอร์ KTV (Karaoke TV lounge) ซึ่งขณะนี้เกิน 100 คนแล้ว
เมื่อวานจึงมีประกาศยกระดับมาตรการควบคุมโควิดอีกครั้ง หลังจากเพิ่งผ่อนปรนไปเมื่อวันที่ 12 กค ที่ผ่านมา
.
สรุปใจความดังนี้
.
(1) [16-30 กค] ปิดไนท์คลับที่เปลี่ยนมาให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม
.
(2) บังคับตรวจตามกฎหมายผู้เคยไปสถานที่เดียวกันและช่วงเวลาเดียวกันกับผู้ติดเชื้อในคลัสเตอร์ KTV โดยจะใช้ข้อมูลจาก SafeEntry (SE) และจะส่ง SMS ไปแจ้ง
.
(3) [19 กค - 8 สค] นั่งทานในร้านได้โต๊ะละ 2 คน (จาก 5 คน) แต่มีข้อยกเว้นนั่งโต๊ะละ 5 คนได้ ตามหลักการ vaccine bubble คือ
- ฉีดวัตซีนครบแล้ว
- ผู้หายป่วยจากโควิด (ภายใน 270 วัน)
- ผู้ยังไม่ฉีดวัคซีน แต่มีผลตรวจแบบ PET (Pre Event Test) เป็นลบไม่เกิน 24 ชั่วโมง
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
อื่นๆ
- hawker centre, food court, coffee shop ที่ไม่มีระบบเช็คอิน ยังจำกัดโต๊ะละ 2 คนเช่นเดิม
- งด live performances, recorded music และ videos/TV screening ในร้านอาหาร
(หมายเหตุ: เฉพาะวัคซีน Pfizer และ Moderna ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้วอย่างน้อย 14 วัน)
.
(4) งานแต่งงาน นั่งได้โต๊ะละ 5 คนเช่นเดิม ไม่เกิน 250 คนและมีผลตรวจแบบ PET
.
(5) กิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องถอดหน้ากากอนามัยและในร่มที่ไม่ถอดหน้ากาก - ไม่เกินคลาสละ 50 คน
.
(6) กิจกรรมในร่มที่ที่ต้องถอดหน้ากากอนามัยและไม่สวมหน้ากาก - เหลือกลุ่มละ 2 คน
.
(7) ไม่อนุญาตให้รวมกลุ่มในที่ทำงาน
.
(8) ขยายเวลาโครงการเยียวยา 10% jobs support scheme ตั้งแต่ 26 กค - 8 สค
.
(9) กระตุ้นให้คนออกมาฉีดวัคซีน ตามแนวทางเปลี่ยนให้โควิดเป็นโรคประจำท้องถิ่น (Endemic)
.
Source:
https://www.moh.gov.sg/news-highlights/details/updates-on-phase-3-(heightened-alert)-measures
.
#EatwithPalLi #พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง 🇸🇬🇭🇰
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「endemic คือ」的推薦目錄:
endemic คือ 在 Drama-addict Facebook 的最佳貼文
คนไทยที่กลับมาจากอู่ฮั่น หากมีอาการผิดปรกติขอให้แจ้ง จนท ตามความเป็นจริงนะครับ
ปล ปีหนูนี่แม่งดุเป็นบ้า ผ่านปีใหม่มาไม่กี่วันมีแต่ข่าวสั่นสะเทือนทั่วโลก
BBC เตือนทั่วโลก+กระทรวงสาธารณสุขไทยประกาศเฝ้าระวัง.
..ไวรัสยังไม่ทราบชนิดทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรงที่จีน คล้ายไวรัส SAR
สรุปสถานการณ์โรคปอดอักเสบสงสัยจากSARS ประเทศจีน 3 มกราคม 2563
กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
จากการรายงานข่าวของสานักข่าวหลายแห่ง
พบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ จากเชื้อไวรัส ที่อาจมีความ เช่ือมโยงกับ SARS (Severe Acute Respiratory Syndrome) ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ทางตอนกลางของ ประเทศจีน
ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จานวน 27 ราย ซึ่งมีอาการรุนแรงจำนวน 7ราย
โดยมีอาการไข้ บางราย มีอาการหายใจไม่สะดวก ทุกรายมีการแยกรักษา และยังไม่มีรายงานการแพร่เชื้อจากคนสู่คน
ซึ่งผู้ป่วยมี ความสัมพันธ์กันคือประวัติการไปตลาดอาหารทะเล
ซึ่งนอกจากอาหารทะเลแล้วยังมีการขายทั้งแมว สุนัข งู และสัตว์ป่าอื่นๆด้วย
ท้ังนี้สาเหตุอยู่ระหว่างการสอบสวนโรค ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ ท่ียังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ในฮ่องกงจานวน 2 ราย ซึ่งเดินทางไปเมืองอู่ฮั่น
รายแรกมีไข้ และอาการของ ทางเดินหายใจส่วนบน ตรวจไม่พบ SARS ไข้หวัดใหญ่ หรือไข้หวัดนก ไม่มีประวัติไปตลาดสด
รายท่ีสองไม่มี ไข้ หรืออาการปอดอักเสบ
สาหรับประเทศจีน เคยมี SARS ระบาดเมื่อปี 2546 ซึ่งทาให้มีผู้เสียชีวิตถึง 349 ราย และในฮ่องกง อีก 299 ราย และมีผู้ติดเชื้อโลกมากถึง 8,000 ราย
นอกจากน้ีในประเทศจีนยังพบการรายงานการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก
ตั้งแต่ปี 2556 ทั้งหมด 5 สายพันธ์ุ ได้แก่ H7N9 H9N2 H7N4 H5N1 และ H5N6 ได้แก่
ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 มีการระบาด เมื่อเดือนมีนาคม 2556 มีผู้ป่วยยืนยัน 1,568 ราย เสียชีวิต 615 ราย มีการระบาดทั้งส้ิน 6 ระลอก
สำหรับปี 2562
(ข้อมูล ณ วันท่ี 12 ธันวาคม)
พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็น ชายอายุ 82 ปี เริ่มป่วยเมื่อวันท่ี 18 มีนาคม 2562 รายงานจากมณฑลกานซู่ ประเทศจีน แต่ผู้ป่วยน่าจะสัมผัส โรคจากพ้ืนท่ีในเขตปกครองตนเองมองโกเลีย
ไข้หวัดนกสายพันธ์ุ H9N2 พบผู้ป่วยยืนยันปี 2558 28 ราย
ปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยยืนยัน 7 ราย และ ปี 2562 พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกสายพันธ์ุ H9N2 8 ราย (จากจีน 6 ราย โอมาน 1 ราย และอินเดีย 1 ราย)
สำหรับไข้หวัดนกสายพันธ์ุ H7N4 พบผู้ป่วยยืนยันราย สุดท้ายเดือนกุมภาพันธ์ 2561 1 ราย
ไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5 ในปี 2557 มีผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกสายพันธ์ุ H5N6 24 ราย เสียชีวิต 7 ราย รายล่าสุดป่วยเม่ือวันที่ 18 สิงหาคม 2562 เป็นหญิง อายุ 59 ปีจากปักก่ิง และไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ซ่ึงเกิดการระบาดในปี 2546 มีผู้ป่วย 861 ราย เสียชีวิต 455 ราย ในปี 2562 มีผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย จากประเทศเนปาล
ประเทศไทย ไม่เคยมีการระบาดของ SARS แต่มีบินมารักษาเมื่อปี 2546
แต่มีผู้ป่วยไข้หวัดนก ในปี 2547-2549 จานวน 25 ราย
เสียชีวิต 17 ราย
สาหรับไข้หวัดใหญ่ ในปี 2562
(1 มค.- 24 ธค 62) จากรง 506 มีผู้ป่วย 378,881 ราย เสียชีวิต 29 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 571.45 ต่อประชากรแสนคน CFR=0.01%
เมื่อเปรียบเทียบพบว่า สูงกว่าจานวนผู้ป่วยปีท่ีแล้วและค่ามัธยฐาน 1.6 เท่า ส่วนใหญ่พบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ เอ
ถึงแม้ประเทศไทยสามารถป้องกันการแพร่กระจายของ SARS ได้สาเร็จเมื่อปี 2546 แต่เคยมีการ ระบาดของไข้หวัดนก และมีควบคุมโรคจนสาเร็จ และ มีระบบเฝ้าระวังมาโดยตลอด
แต่ในสถานการณ์ ปัจจุบันประเทศจีนยังพบไข้หวัดนก และมีผู้ป่วยสงสัย SARS และมีนักท่องเที่ยวจีน หรือต่างชาติที่เดินทาง ระหว่างไทย จีน มีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อเข้ามาเมืองไทยได้ง่ายกว่าเมื่อการ ระบาดครั้งก่อน
และจากข้อมูลสายการบินจากเมืองอู่ฮั่น มายังสนามบินสุวรรณภูมิ พบว่ามีหลายสายการบินที่ ทำการบินอยู่ ทั้งสนามบินสุวรรณภูมิ คือ China Southern Airline จานวน 4เที่ยวและ Maldivian จานวน 1เที่ยว
ผู้โดยสารประมาณ 170 คนต่อเที่ยว และสนามบินดอนเมืองคือ Thai Air Asia จานวน 2 เที่ยว
ผู้โดยสารเที่ยวละ 160 คน สรุป มีผู้โดยสารที่เสี่ยงจานวน 1170 คนต่อวัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการพบ ผู้ป่วยสงสัย SARS ในประเทศจีน และโอกาสพบผู้ป่วยโรค SARS ในประเทศไทยจากการเดินทางเข้ามาทาง สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ เชียงใหม่ และสุราษฎรธานี
พบว่ามีโอกาสในการพบผู้ป่วยเพียงร้อยละ 2 (จาก โปรแกรม Insight) แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงในการท่ีจะมีการแพร่กระจายเชื้อ SARS เข้ามาได้
จึงควรกำหนดมาตรการในการควบคุมอย่างเข้มข้น
มาตรการป้องกันของประเทศไทย มีการกำหนดให้ SARS เป็นโรคติดต่ออันตราย ท่ีต้องมีการเฝ้า ระวังรายงานสอบสวนและควบคุมโรคอย่างเข้มข้น
กำหนดมาตรการเฝ้าระวังในผู้ป่วยสงสัยทั้งการเฝ้า ระวังในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ
การเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการ การเฝ้าระวังในด่านควบคุมโรคของท่าอากาศ ยาน มีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ การเตรียมความพร้อมของทีมควบคุมโรคติดต่ออันตราย ดัง ตาราง และ รายละเอียดดังนี้
1. แนวทางในการเฝ้าระวัง และสอบสวนโรค SARS ดังตาราง
2. การเฝ้าระวังจากนักท่องเที่ยว ท่ีเดินทางมาจากเมืองเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีสายการบินจากเมืองอู่ฮ่ัน มายัง สนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมืองหลายเที่ยวบิน ซ่ึงดาเนินการคัดกรองโดยด่านควบคุมโรคระหว่างประเทศ
3. การเตรียมพร้อมของทีมสอบสวนโรคติดต่ออันตราย ของทุกจังหวัด และในส่วนกลางเตรียมไว้ ท้ังหมด 8 ทีม
4. การสื่อสารความเส่ียงสาหรับประชาชนที่เดินทางไปต่างประเทศ เพ่ือป้องกันตนเอง รวมทั้งผู้ท่ี เดินทางกลับเข้าประเทศไทยเพื่อเฝ้าระวังอาการ
11. โรคซาร์ส
พื้นที่ที่พบ การระบาดของโรค
ประเทศที่พบการ ระบาดของโรคล่าสุด
สถานท่ีกักกัน ผู้สงสัย/ผู้ป่วย
สถานทสี่ ง่ ตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ
อาการ
ประวัติปัจจัยเสี่ยง
ผู้ป่วยที่มีอาการตามเกณฑ์ ดังนี้ กรณีที่ 1 ผู้ป่วยที่มีไข้ตั้งแต่ 38
องศาเซลเซียสขึ้นไป ร่วมกับ
ไอ หายใจเหนื่อย หรือ หายใจลาบาก
กรณีที่ 2 ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อ ทางเดินหายใจเฉียบพลันที่
หาสาเหตุไม่ได้
ร่วมกับ มีประวัติในช่วงเวลา 10 วันก่อนวันเริ่มป่วย อย่างใดอย่าง หนึ่งต่อไปนี้
: มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สงสัย
การติดเชื้อโรคซาร์ส
: เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดหรือ
เขตติดโรคโรคซาร์ส
: อาศัยอยู่ในพื้นที่ระบาดหรือ
เขตติดโรคโรคซาร์ส
: สัมผัสสัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรค
ซาร์ส เช่น ชะมด
: พ.ศ. 2546 พบผู้ป่วยในประเทศ จีน
ฮ่องกง สิงคโปร์ และหลาย ประเทศ
ในยุโรป ที่มีประวัติเดินทางไป
ประเทศจีนและฮ่องกง หลังจาก นั้น
ไม่มีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่
: จีน
(เมษายน 2546)
PUI: ห้องแยกความดัน ลบ โรงพยาบาลของรัฐ ในท้องที่ Confirmed: ห้อง แยกความดันลบ ระดับ เขต หรือ ระดับกรม
Lab centers:
- Thai NIH (Real-time RT-PCR) - TRC-EID
(1. Real-time RT- PCR 2.Conventional RT-PCR + sequencing)
Samples:
Respiratory tract swab/sputum
Other tests:
Endemic and novel pathogen such as AI or novel influenza
เรียน ท่านผู้ตรวจฯ, นพ.สสจ. และ ผอ.รพศ./รพท.
ขณะนี้พบการะบาดของโรคปอดบวมชนิดรุนแรงโดยยังไม่ทราบสาเหตุที่ประเทศจีน แถบเมืองอู๋ฮั่น
(ตามไฟล์ที่แนบมา)
กรมควบคุมโรคได้ออกมาตรการเพื่อเตรียมการป้องกันและควบคุมการระบาดหากพบโรคนี้ โดยเพิ่มการเฝ้าระวังโรค (เช่น ติดตั้ง thermo scan, การคัดกรองโรค, การให้ข้อมูลแก่ผู้เดินทางไปยังเมืองที่พบการระบาด) ณ ช่องทางเข้าออกประเทศโดยเฉพาะช่องทางสนามบินที่มีสายการบินตรงจากประเทศจีน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเมืองอู๋ฮั่น)
และติดตามข่าวการระบาดจากต่างประเทศอย่างใกล้ชิด
โดย กรม คร. ได้เปิด EOC โดยมี ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไปเป็น IC ส่วนของ สคร./สสจ./รพ. ให้เตรียมพร้อม PPE, ยาต้านไวรัส flu
, รวมถึงเวชภัณฑ์อื่นที่จำเป็น และ เตรียมพร้อมห้อง negative pressure , ทีมสอบสวนโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง
จึงเรียนมาเพื่อโปรดเตรียมความพร้อมของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปครับ หากมีข้อมูลใดเพิ่มเติม จะนำเรียนให้ทราบต่อไป
Cr กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
China pneumonia outbreak: Mystery virus probed in Wuhan
https://www.bbc.co.uk/news/world-asia-china-50984025
endemic คือ 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的最佳貼文
"Rinjani กับ Travel medicine"
ผมเจอคนไทยเยอะมากบนยอด Rinjani เมื่อช่วงวันหยุดยาวที่ผ่านมา ขนาดที่แบบว่าพูดภาษาไทยกันได้บนนั้นเลย ถ้าเอาเรื่อง Travel medicine มาจับจะมีอยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆเลยที่ต้องนึกถึงคือ เรื่อง "Malaria" และ "Altitude illness"
Rinjani ตั้งอยู่บนเกาะ Lombok ถือว่าเป็นเขต Malaria endemic area อีกแห่งหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ถือว่าเป็นพื้นที่ Low risk โดยธรรมชาติยุงก้นปล่องที่นี่มักจะออกหากินในช่วงเวลากลางคืนเป็นหลัก ถ้าป้องกันดีๆ ทายาให้เหมาะสมก็เพียงพอ ผมอ่านเจอใน TripAdvisor ฝรั่งมาที่นี่เขากินยาป้องกัน Malaria กันด้วยเลยครับ แบบกังวลมากๆ
แต่สำหรับคนที่จะมา trekking ที่นี่โดยเฉพาะ ทุกๆคืนเรานอนอยู่ที่ระดับความสูง > 2,000 เมตร ขึ้นไปบน crater rim ทั้งสองข้าง หรือที่ lake ซึ่งถือว่าเป็นระดับความสูงที่ไม่มียุงมาตามรังควานอีกแล้ว ดังนั้นถ้าพูดถึง Rinjani อย่างเดียวเน้นๆ Malaria คงไม่ใช่ปัญหาหลัก
อีกประเด็นหนึ่งคือเราไปในช่วงหน้าแล้งของที่นี่ด้วยคือ ฝนตกน้อยมาก (ว่ากันตามสถิติ) เมื่ออากาศร้อนฝนตกน้อย จำนวนยุงก็น้อยลงไปด้วย
ต่อมาเรื่อง "Altitude illness" ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นที่เมื่อเราไปนอนในพื้นที่ๆมากกว่า 2,800 เมตรขึ้นไป แต่ในโปรแกรมทัวร์ปกติเรานอนกันที่ Crater rim และที่ lake ซึ่งความสูงตามนี้ (Crater rim ~ 2,700 เมตร
Lake Segara Anak ~ 2,000 เมตร) และในวันที่จะขึ้น Summit ก็เป็นการขึ้นแล้วก็ลงภายในเวลา 6-8 ชั่วโมง ไม่ได้ไปค้างคืนบนนั้น ดังนั้นโอกาสจะเป็น altitude sickness ก็คงน้อยมาก
แต่สิ่งที่ต้องเตรียมตัวมากกว่า คือ น้ำสะอาด ถึงจะมีให้ตลอดการเดินทางสำหรับคนที่ไปกับทัวร์ แต่ถ้าไปกับทัวร์แบบถูกๆ จะเห็นเลยว่าน้ำที่กินไม่ใช่น้ำขวดที่เปิดใหม่ แต่เป็นการแชร์กันไปกันมา ซึ่งโอกาสจะติดโรคทางนี้ เช่น ตับอักเสบ A ก็อาจเกิดขึ้นได้ หรือพวกท้องเสียอะไรแบบนี้ แถมพวกอาหารก็ทำกันแบบง่ายๆนี่แหละ การเกิดการปนเปื้อนจากพวกของสกปรกที่อยู่บนพื้นดินดูแล้วเป็นเรื่องธรรมดา
ห้องน้ำเป็นแบบขุดหลุมจากธรรมชาติทั้งหมด เวลาเดินต้องระวังให้ดีครับ โดยเฉพาะบริเวณที่มีมนุษย์อาศัยอยู่เช่นที่ตั้งแคมป์
เรื่องความฟิตก็เป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆ ในระยะเวลา 3 วันเราจะต้องเดินเท้าเป็นระยะทางประมาณ 32-33 กิโลเมตร แต่นั่นไม่ได้เป็นปัญหา สิ่งที่ยากกว่าคือความต่างของความสูงที่เราต้องเดินทุกๆวันนั่นเองครับ เดินขึ้นเดินลงวันความสูงต่างกันเป็นหลักพันเมตร ถ้าไม่ฟิตมาให้ดีพอ ขาเดี้ยงตั้งแต่วันแรกๆเลยครับ
สุดท้าย ผมว่า Rinjani เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีมากที่น่ารู้ เพราะคนไทยมาโคตรเยอะ จะได้เอาประสบการณ์มาผสมผสานกับความรู้เอาไว้ให้คำแนะนำคนต่อๆไปครับ