สรุป Risk Premium คืออะไร ? ทำไมนักลงทุนควรรู้จัก /โดย ลงทุนแมน
“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน”
คนที่เป็นนักลงทุนคงคุ้นเคยกับประโยคเตือนนี้ดี
ความเสี่ยง ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ ก็คือ โอกาสที่เราจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่เราคาดหวังไว้ รวมไปถึงโอกาสในการสูญเสียเงินต้นจากการลงทุนนั้น ๆ
แต่ถ้าในเชิงวิชาการเงิน ความเสี่ยงก็อาจวัดได้จากความผันผวนของผลตอบแทน ยิ่งผันผวนมาก ในวิชาการเงินจะถือว่ามีความเสี่ยงสูง
แน่นอนว่า เมื่อเราไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยง เราก็มีโอกาสที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนที่คาดไว้ รวมถึงโอกาสในการสูญเสียเงินต้น
ดังนั้น เมื่อตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงแล้ว นักลงทุนจึงต้องการผลตอบแทนเพิ่มเติม ที่เรียกว่า “ส่วนชดเชยความเสี่ยง” หรือ “Risk Premium”
แล้ว Risk Premium คืออะไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ลองนึกภาพเล่น ๆ กันก่อนว่า ถ้าเรานำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เช่น
- เงินฝากธนาคาร เสี่ยงต่ำมาก ต้องการผลตอบแทน 1%
- หุ้นกู้บริษัทเอกชน เสี่ยงปานกลาง ต้องการผลตอบแทน 5%
- หุ้นสามัญ เสี่ยงสูง ต้องการผลตอบแทน 10%
เราจะพบว่า แต่ละสินทรัพย์นั้นมีความคาดหวังของอัตราผลตอบแทนที่แตกต่างกันออกไป
สินทรัพย์ยิ่งเสี่ยงมาก เราก็ยิ่งคาดหวังผลตอบแทนที่สูงมากตามไปด้วย
ซึ่งก็เข้ากับประโยคคลาสสิกในโลกของการลงทุนที่ว่า “High Risk High Return” นั่นเอง
ตัวอย่างหนึ่งที่ช่วยให้หลายคนเห็นภาพมากขึ้น
คือ ความแตกต่างระหว่าง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ก็สามารถใช้คำว่า Risk Premium มาอธิบายความแตกต่างนี้ได้เช่นกัน
คำถามที่หลายคนมักคาใจกันมานานคือ ทำไมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากถึงต่ำมาก เช่น อยู่ในช่วงระหว่าง 0.5% - 1.5% แต่ทำไมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นจึงสูงมาก เช่น 5.0% - 8.0%
เรื่องนี้อธิบายตามหลัก Risk Premium ก็คือ
เมื่อธนาคารรับเงินฝากจากเราไป ธนาคารก็จะมีภาระที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับเราหรือคนที่เอาเงินไปฝากตามตกลงกัน
แต่ประเด็นคือ ธนาคารไม่ได้เอาเงินฝากของเรากองไว้เฉย ๆ แต่ธนาคารเอาเงินไปปล่อยสินเชื่อต่อ ซึ่งจะทำให้ธนาคารมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระดอกเบี้ย หรือไม่ได้เงินต้นคืนจากผู้ขอสินเชื่อ
เช่น ถ้าผู้กู้เป็นบริษัทที่มีความเสี่ยงด้านการเงิน มีหนี้สูง หรือแม้แต่คนธรรมดาที่ไปขอกู้และมีเครดิตไม่ดีในการผ่อนชำระเงิน มีรายได้ไม่แน่นอน หรือไม่มีหลักประกัน
ความเสี่ยงตรงนี้ เป็นส่วนที่ธนาคารต้องแบกรับ ทำให้ธนาคารต้องคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระดับสูงขึ้น มากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ซึ่งความแตกต่างนั้น ส่วนหนึ่งก็สะท้อนคำว่า Risk Premium หรือ ส่วนชดเชยความเสี่ยง นั่นเอง
อีกกรณีหนึ่งที่อธิบายเรื่องนี้ได้คือ การจัดอันดับเครดิตเรตติงของ หุ้นกู้
โดยบริษัทที่ทำการจัดอันดับเครดิตเรตติง จะประเมินระดับเรตติงจาก ลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัท ผลประกอบการ หลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูว่าบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น มีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้มากแค่ไหน
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงมีการจัดอันดับความเสี่ยงของหุ้นกู้ ซึ่งแบ่งออกมาเป็น Investment Grade หรือกลุ่มที่มีเครดิตดีน่าลงทุน ที่มีเรตติงตั้งแต่ BBB ขึ้นไปถึง AAA
และ Non-Investment Grade หรือกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะผิดนัดชำระหนี้สูง มีเรตติงต่ำกว่า BBB ลงมา
โดยในกลุ่ม Non-Investment Grade บริษัทที่ออกหุ้นกู้ ก็จะต้องเสนอดอกเบี้ยสูง ๆ เพื่อจูงใจนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนบนความเสี่ยงที่สูงนั้น
แตกต่างกับกลุ่ม Investment Grade ที่เครดิตดีอยู่แล้ว ผู้ลงทุนจึงรู้สึกปลอดภัยในการมาลงทุน และไม่ต้องการส่วนชดเชยความเสี่ยงเยอะ ผู้ออกจึงไม่จำเป็นต้องเสนอดอกเบี้ยสูง ๆ นั่นเอง
ส่วนคนที่ลงทุนในตลาดหุ้น ก็จะมีผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยง ที่เรียกว่า “Equity Risk Premium”
ซึ่ง Equity Risk Premium ถ้าอธิบายตามหลักการ ก็เกิดมาจาก อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้น หักลบด้วย ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง
ซึ่งตามทฤษฎีแล้ว สินทรัพย์ที่มักถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนสินทรัพย์ที่ปราศจากความเสี่ยง ก็คือ พันธบัตรรัฐบาล
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น
ถ้าอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังจากการลงทุนในตลาดหุ้นเท่ากับ 10% อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลเท่ากับ 2% ในกรณีนี้ Equity Risk Premium จะเท่ากับ 8%
และด้วยความที่ตัวแปรทั้ง 2 ตัวนั้นเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพราะฉะนั้น Equity Risk Premium จะมีการเปลี่ยนไปตลอดเวลาเช่นเดียวกัน
โดยปกติแล้วเมื่อตลาดอยู่ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง
เช่น การตกต่ำของภาวะเศรษฐกิจ การเกิดสงคราม ก็จะทำให้ Equity Risk Premium มีการปรับตัวสูงขึ้น เพราะนักลงทุนคาดหวังผลตอบแทนชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงใน Equity Risk Premium ยังสามารถบอกการเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนระหว่างตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรได้อีกด้วย
โดยปกติแล้วถ้ามีเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรเข้าตลาดหุ้น Equity Risk Premium จะลดลง และกลับกัน เมื่อมีเงินไหลออกจากตลาดหุ้นเข้าสู่ตลาดพันธบัตร Equity Risk Premium จะเพิ่มขึ้น
อ่านมาถึงตรงนี้เราน่าจะพอได้ไอเดียเกี่ยวกับ Risk Premium หรือ ผลตอบแทนที่ชดเชยความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ มาพอสมควร
ซึ่งการที่เรารู้และเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ก่อนที่จะลงทุน
ก็น่าจะช่วยให้เรา เข้าใจกลไก ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโลกการลงทุน ได้ดีมากขึ้น
ดังนั้น ต่อไปนี้ ก่อนที่ใครจะชวนลงทุนอะไร ที่มันดูเสี่ยง
เราอาจต้องถามตัวเองว่า เราต้องการ Risk Premium ที่เท่าไร..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
-https://en.wikipedia.org/wiki/Risk_premium
-https://en.wikipedia.org/wiki/Credit_rating
-https://www.investopedia.com/terms/e/equityriskpremium.asp
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「equity risk premium」的推薦目錄:
- 關於equity risk premium 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於equity risk premium 在 蔡至誠。PG財經筆記Simple Is The Best Facebook 的最佳解答
- 關於equity risk premium 在 蔡至誠。PG財經筆記Simple Is The Best Facebook 的精選貼文
- 關於equity risk premium 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於equity risk premium 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於equity risk premium 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
equity risk premium 在 蔡至誠。PG財經筆記Simple Is The Best Facebook 的最佳解答
有好多朋友跟我說:
PG,我要怎麼知道我投資ETF能賺錢呢?
我只看到每個月的配息,但是價差我又不到什麼時候會出現。
為什麼我們想賺錢會想到投資股票?或者說股票為什麼會帶來報酬?為什麼股票需要那麼高的風險補償?
綜觀20世紀的美國,在大多數的時候股票每年的表現都比債券來好上7%左右,這是為什麼?
經濟學家也同樣在思考這個問題,針對這個問題,我在《投資心理戰》這本書看到的觀點也值得跟大家分享。
股票比一些資產來得更多,是因為「股權溢價(Equity risk premium)」。
股權溢價(Equity risk premium),簡單來講是投資組合或具有市場平均風險的股票報酬率與無風險報酬率的差額。
至於為什麼會有股權溢價,這個謎團被稱為「股權溢價之謎」。
所謂「股權溢價之謎」(Equity Premium Puzzle),最早是在1976年,由芝加哥大學教授羅傑·伊博森(Roger Ibbotson)提出的。
伊博森教授將眼光拉長,計算從1925年末開始,一直到現在,1美元的不同資產,比如股權類資產、債權類資產的收益率情況。
哪種資產收益率最高呢?
以截止到2016年底為例,91年的時間,如果持有的是小公司股票,到期末將為3.3萬元,竟然翻了3.3萬倍,換算成年化收益率為12%。
持有大公司股票,期末為6千元,年化收益率為10%;
持有長期國債,期末為130元,年化收益率為5.5%;
持有短期國債,期末為20元,年化收益率只有3.4%。
equity risk premium 在 蔡至誠。PG財經筆記Simple Is The Best Facebook 的精選貼文
你有買單一債嗎?買單一公司債券好嗎?到期保本?
美國前耶魯大學校務基金操盤人David Swensen,在他的書《耶魯操盤手 – 非典型成功》中提到:
單一公司債券對於投資者的價值其實用政府債券就可以達到,完全不需要去投資單一公司債券。
如果投資人去投資單一公司債券,除了要承擔債券的利率風險、通膨風險外,還有公司違約風險、公司贖回風險(Call Option)、流動性風險與匯率風險。
投資人完全沒有必要去承擔這些額外的風險。
美國著名對沖基金AQR的兩位經濟學家 Attakrit Asvanunt 與 Scott Richardson
其中在2015年的論文《The Credit Risk Premium》中提到:
投資單一公司債券就像投資股票一樣,你就是會面臨這家公司經營的風險,學術稱為「非系統性風險」,所以投資公司債券看似波動較低,但一樣會有所謂的經營風險存在。
如果投資美國的單一公司債券,從1936年到2014年投資人能夠獲得的違約風險溢酬(Default Risk Premium)大約僅為每年1.3%左右。
也就是說,在這78年期間,投資單一公司債券僅比投資政府債券每年平均多獲得1.3%左右的報酬。
但1.3%只是平均報酬而已。
在經濟擴張時期,違約風險溢酬會比較高,報酬較好。
但是到了經濟蕭條的悲觀時期,同樣的違約風險溢酬就縮小甚至消失了,同時單一公司債券的違約風險溢酬和股票的風險溢酬(Equity Risk Premium)成正比,也就是說投資者以為自己買了風險低的債券,實際上持有至少半隻股票。