สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「european green deal 2035」的推薦目錄:
- 關於european green deal 2035 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於european green deal 2035 在 蘇治芬 Facebook 的最讚貼文
- 關於european green deal 2035 在 媽媽監督核電廠聯盟 Facebook 的最佳貼文
- 關於european green deal 2035 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於european green deal 2035 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於european green deal 2035 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於european green deal 2035 在 matching Europe's climate neutrality and competitiveness goals 的評價
european green deal 2035 在 蘇治芬 Facebook 的最讚貼文
因應氣候變遷和能源轉型(三)
碳中和是我們的事,不是下一代的事
歐盟為實現歐洲綠色協議(European Green Deal),歐盟成員國承諾 2050 年要讓歐洲成為第一個碳中和區域,為此歐盟訂出了短期目標,在 2030 年將碳排放量與 1990 年相比必須減少55% (Fit for 55),後續將投入5000億歐元支持相關綠色及永續計畫。
歐盟宣布此全面計劃後,西歐遭受致命洪水襲擊,當地緊急應變單位形容這是沒有時間準備的突發災難,德國總理梅克爾更表示這是德語都無法描述的破壞,各國政府必須更好更快地應對氣候變化的影響。臺灣今年也陸續經歷了旱災、水患,可見極端氣候正衝擊著台灣和全球。
因此歐盟逐步將「減碳口號」轉為「法律義務」,如制定更嚴格的汽車排放標準,透過邊境調整機制(Carbon Border Adjustment Mechanism, CBAM)加收碳關稅,及2035年完全禁止銷售使用化石燃料汽車,向航空用燃油開徵稅項等。治芬認為我們應效法歐盟的決心,盡速制訂相關規範,促進產業轉型,我們這一代該做的事,不要等到下一代。
而2015年發布的「溫室氣體減量及管理法」,台灣溫室氣體長期減量目標是2050年較2005年減量50%以上,明顯落後國際太多,必須盡快修法通過確立新減量目標。歐盟選擇碳定價作為具有社會補償的明確指導和基於市場的工具,以激勵消費者、生產者和創新者選擇清潔技術,轉向清潔和可持續的產品。環保署亦需盡快和相關單位如經濟部、財政部研究訂定碳價,並協助建立符合國際標準的碳權驗證機制,以助產業依循。
#治芬一直都在
#治芬心存感激
european green deal 2035 在 媽媽監督核電廠聯盟 Facebook 的最佳貼文
台灣必須高度重視積極因應,課徵碳稅歐美都有動作!(07/16/2021 經濟日報)
(編譯鍾詠翔/綜合外電)歐盟與美國14日同步傳出將課徵碳稅的消息;歐盟提出全球第一個「碳邊境稅」計畫,將對低環保標準國家的鋼鐵、鋁、水泥等產品課徵碳稅。另據知情人士說法,美國民主黨也正在推動對高碳排進口產品開徵碳稅,以實現減少溫室氣體排放的目標。
歐盟執委會14日提出「歐洲綠色新政」(European Green Deal),計劃對環保標準較低國家的鋼鐵、水泥、鋁、化肥、電力等產品課徵「碳邊境稅」,擬從2026年起分階段實施。
根據歐盟提出的計畫,進口商必須為產品的碳排購買數位憑證,而憑證的參考價格標準,是歐盟碳排放交易市場的每周許可證平均拍賣價格;今年歐盟碳價每公噸已突破58歐元,創歷史新高,且分析師普遍預料碳價將一路漲到2030年。
「歐洲綠色新政」的主要訴求,還包括2035年起禁售新款汽油車、柴油車及油電混合車,到2030年再生能源占整體能源的比率提高至40%,遠高於目前的20%。而歐盟的目標是到2030年碳排放較1990年少55%,並力拚到2050年實現「碳中和」目標。
彭博資訊報導,消息人士表示,美國參院民主黨議員也正在推動對高碳排進口產品開徵碳稅,且這些碳稅將用來資助規模達到3.5兆美元的基建投資計畫;參院預算委員會民主黨議員13日與白宮官員協商後,對這項基建投資計畫達成共識。
除了碳稅以外,這項計畫還包括擴大對再生能源和電動車的稅額減免,並提出乾淨能源的標準,以要求發電廠供應零碳電力。
在西方國家傳出課徵碳稅消息之際,北京當局也將啟動全國碳排放權交易市場,16日將在北京、上海、武漢三地同步舉行開市儀式,隨後展開第一批交易。首批納入全國碳排放配額管理的是電力產業,共計涵蓋2,225家企業。
完整內容請見:
https://udn.com/news/story/6811/5604806
♡
european green deal 2035 在 matching Europe's climate neutrality and competitiveness goals 的推薦與評價
Hitting the EU's 2050 climate neutrality targets means a steady decline in the ... Bioeconomy and the Green Deal : matching Europe's climate ... ... <看更多>