รู้จักกับ ICO แรกในประเทศไทยที่ออกภายใต้กฎหมายไทยและการกำกับดูแลโดย กลต. เพื่อคุ้มครองนักลงทุน "Sirihub Token" โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน ที่อ้างอิงหรือมีกระแสรายรับจากอสังหาริมทรัพย์ (real estate-backed token) ที่เปิดจองแล้วผ่านแอป XSpring (ดาวน์โหลดได้ทั้ง iOS และ Android ) จองซื้อได้ถึง 4 ต.ค.64 เวลา 15.30 น. เท่านั้น และเป็นแบบ first come first serve ค่ะ
.
โดย XSpring Digital คือ ICO Portal ที่ได้รับอนุญาตจาก กลต. ทำหน้าที่ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเสนอขายโทเคนดิจิทัลที่ออกใหม่ ซึ่งทําหน้าที่กลั่นกรองลักษณะของโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขาย คุณสมบัติของผู้ออก และความครบถ้วนถูกต้องของแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายโทเคนดิจิทัลและร่างหนังสือชี้ชวน
.
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากโพสต์ที่แชร์มานี้ได้ค่ะ
https://www.facebook.com/105449194158153/posts/611055033597564/
** โพสต์นี้ไม่ใช่โพสต์แนะนำการลงทุน ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง นักลงทุนโปรดใข้วิจารณญาณและศึกษาข้อมูลให้ดีในการลงทุน และศึกษาหนังสือชี้ชวนหรือ white paper และ fact sheet ให้ดีก่อน **
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「fact sheet คือ」的推薦目錄:
- 關於fact sheet คือ 在 Facebook 的最佳解答
- 關於fact sheet คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於fact sheet คือ 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的精選貼文
- 關於fact sheet คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於fact sheet คือ 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於fact sheet คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於fact sheet คือ 在 อ่าน fund fact sheet... - หมอยุ่งอยากมีเวลา - Facebook 的評價
- 關於fact sheet คือ 在 Fund Fact Sheet คืออะไร? | กองทุนรวม The Series - YouTube 的評價
- 關於fact sheet คือ 在 อ่าน Fact Sheet หุ้นอย่างไร เข้าใจธุรกิจ - YouTube 的評價
- 關於fact sheet คือ 在 สรุปข้อมูลสาคัญของตราสาร (Fact Sheet) ชื่อเฉพาะ : หุ้น 的評價
fact sheet คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
fact sheet คือ 在 หมอๆ ตะลุยโลก Facebook 的精選貼文
ก่อนจะบินไปฉีดวัคซีนที่อเมริกา รู้หรือยัง
ตอนนี้สหรัฐอเมริกามีวัคซีน 3 ชนิดที่เปิดให้กับคนทุกคนคือ Pfizer-BioNTech / Moderna / Johnson&Johnson โดยเริ่มมีคนไทยบางส่วนที่เดินทางไปรับวัคซีนที่นี่ ผมขอสรุปสิ่งที่ควรรู้สำหรับท่านที่มีโอกาสหรือวางแผนจะไปจริงๆ
...
ช่วงเวลาแห่งความเสี่ยง
ถึงแม้ว่าตอนนี้สหรัฐอเมริกาจะมีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันที่ลดลงมาก ตั้งแต่เริ่มมีการให้วัคซีนกันอย่างแพร่หลายกับประชาชนในประเทศ แต่ต้องอย่าลืมว่าถึงแม้จะดูลดลง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันก็ยังอยู่ที่ประมาณ 25,000+ ต่อวัน และบางรัฐเริ่มมีนโยบายการลดการป้องกันลงเช่น การไม่ต้องใส่หน้ากาก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไทยที่พึ่งเดินทางไปถึงอเมริกาในช่วงนี้ได้ ค่าเฉลี่ยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใน 7 วันในรัฐที่เรานิยมไปเช่น California อยู่ที่ 1,200 คน/วัน นิวยอร์ค อยู่ที่ 1,300 คนต่อวัน นั่นคือแปลว่ากว่าภูมิต้านทานจะขึ้น ต่อให้ฉีดวัคซีนตัวใดตัวหนึ่งแล้ว 1 เข็ม ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ไม่น้อยกว่า 14 วัน ระหว่างที่ใข้ชีวิตอยู่ในสหรัฐอเมริกา
...
ชนิดของวัคซีน
สมมติถ้าได้ไปอเมริกาจริงๆ และได้รับวัคซีนทันทีที่ลงจากเครื่องที่สนามบิน สถานการณ์จะเป็นแบบนี้ ประสิทธิภาพหลังฉีด 2 เข็มของวัคซีนแต่ละตัว อันนี้ทุกท่านคงทราบกันดีอยู่แล้ว แต่มาดูที่ประสิทธิภาพของวัคซีนหลังได้รับเพียง 1 โดสของวัคซีนแต่ละตัวดีกว่าครับ
• Pfizer-BioNTech (1)
o หลังได้ โดสแรก 7 วัน อยู่ที่ 68.5%
o หลังได้ โดสแรก 14 วัน อยู่ที่ 92.6%
o หลังวัคซีนโดสสองวันที่ 21
o หลังได้ โดสสอง 7 วัน อยู่ที่ 94.8%
o นั่นแสดงว่า ความเสี่ยงที่สูงมากจะอยู่ที่ราวๆ อย่างน้อย 14 วันแรกหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก และจะค่อยๆลดลงเรื่อยแต่ก็ยังคงสูงอยู่จนกว่าที่เราจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 และรออีกอย่างน้อย 7 วัน
• Moderna (2)
o หลังได้ โดสแรก 14 วัน อยู่ที่ 50.8%
o รับวัคซีนโดสสองวันที่ 28
o หลังได้ โดสสอง 2 อาทิตย์ อยู่ที่ 95.6%
o นั่นแสดงว่า ความเสี่ยงที่สูงมากจะอยู่ที่ราวๆ อย่างน้อย 14 วันแรกหลังฉีดวัคซีนเข็มแรก และจะค่อยๆลดลงเรื่อยแต่ก็ยังคงสูงอยู่จนกว่าที่เราจะได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 และรออีกอย่างน้อย 14 วัน
• Johnson&Johnson (3)
o หลังได้รับวัคซีน 14 วัน อยู่ที่ 66.3%
…
14 วันแรกในสหรัฐอเมริกา คือ ช่วงเวลาแห่งความเสี่ยงในการติดเชื้อ
ตามข้อมูลด้านบนเลยครับ ว่าระหว่างที่เราภูมิต้านทานขึ้นหลังได้รับวัคซีน ช่วงนี้คือช่วงที่เรามีความเสี่ยงมากที่สุด ไม่ควรลดการป้องกันตนเองไม่ว่าจะในกรณีใดๆทั้งสิ้น
....
ควรทำอย่างไรเมื่อไปถึงสหรัฐอเมริกา
• ป้องกันตัวเท่าที่จะเป็นไปได้ ใส่หน้ากาก ล้างมือ หลีกเลี่ยงสถานที่ๆผู้คนมารวมตัวกันโดยไม่จำเป็น ประพฤติ social distancing ให้ไม่ต่างจากการที่เราอยู่ในเมืองไทย
• ถ้าจะทำ self-quarantine จนได้รับวัคซีนครบ 2 โดส น่าจะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าเป็นไปได้
• แต่ถ้าอยากจะเดินทางท่องเที่ยว ก็คงต้องเที่ยวในรัฐที่ความเสี่ยงต่ำมากๆ และเป็นการท่องเที่ยวในเขตธรรมชาติที่มีโอกาสเจอคนน้อยๆๆๆ ยิ่งน้อย ยิ่งดี เอาแบบให้มี social distancing ตามธรรมชาติ
• เลือกไปอาศัยในรัฐที่คนท้องถิ่นได้รับวัคซีนในสัดส่วนที่สูงแล้ว ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ค. 2564 ประชากรสหรัฐอเมริกาได้รับเข็มแรกแล้ว 49.5% ได้รับเข็มครบ 2 หรือ 1 เข็มแล้วแต่ชนิดคือ 39.5% โดยรัฐที่ได้รับวัคซีนคิดเป็นสัดส่วนต่อจำนวนประชากรที่สูงสุด ณ ตอนนี้เช่น (4)
o Connecticut 110,260 / 100,000 (110%)
o Massachusetts 112,494 / 100,000 (112%)
o Vermont 120,276 / 100,000 (120%)
o Maine 107,650 / 100,000 (107%)
o District of Columbia 108,793 / 100,000 (108%)
o Washington 96,570 / 100,000 (96.5%)
...
ประเด็นทีต้องพิจารณา คือ ผลข้างเคียง
ถึงแม้ผลข้างเคียงของวัคซีนทั้ง 3 ชนิด Pfizer-BioNTech / Moderna / Johnson&Johnson อาจจะถือว่าพบได้น้อย แต่ไม่ใช่ว่าไม่สามารถเกิดขึ้นได้
ดังนั้นสิ่งที่ต้องตระหนักคือ ถ้าเกิดมีผลข้างเคียงจริงๆ เราจะทำอย่างไร ถ้าอาการไม่รุนแรงหายได้เองก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าเกิดเป็นผลที่ร้ายแรง แล้วจำเป็นต้องมีการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อเมริกา เราจะวางแผนได้อย่างไร ซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในอเมริกานั้นเป็นที่รู้กันว่า แพงมหาโหด และเท่าที่ผมทราบมาตอนนี้คือ ประกันการเดินทางของทุกบริษัทในประเทศไทยนั้นไม่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลในกรณีนี้
...
สำหรับคำถามที่ว่า กรณีที่ได้รับวัคซีนจากเมืองไทยไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Sinovac หรือ Astra Zaneca ควรจะไปกระตุ้นวัคซีนที่อเมริกาอีกครั้งไหม ถ้ามีโอกาส
อย่างแรกวัคซีนที่มีใช้ในบ้านเราช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น Sinovac หรือ Astra Zaneca ล้วนไม่มีในอเมริกา ดังนั้งการจะไปรับเข็มที่ 2 ในชนิดเดียวคงเป็นไปไม่ได้ ในกรณีจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
• ถ้าได้เพียง 1 เข็มไปของ Sinovac แล้วจะไปกระตุ้น Pfizer หรือ Moderna คำตอบนี้ไม่น่าจะมีใครตอบได้ และก็คงไม่มีหมอคนไหนที่แนะนำวิธีนี้แน่ๆ เพราะไม่มีข้อมูลใดๆ ณ ช่วงเวลานี้
• แต่ถ้าได้ไปแล้ว 1 เข็มของ Astra Zaneca แล้วจะไปกระตุ้นด้วย Pfizer หรือ Moderna เพิ่ม อันนี้มีการศึกษาในสเปนแล้วว่าถ้ารอ 8 สัปดาห์หลังฉีด Astra Zaneca เข็มแรกแล้วกระตุ้นด้วย Pfizer เข็มที่สอง ระดับ Neutralizing Antibody ก็สามารถขึ้นได้ดี แต่ตัวเลขนี้ไม่ใช่ระดับประสิทธิภาพของวัคซีนนะครับ แต่ข้อสรุปอันนี้ยังเป็นเพียงแนวทางหรือหลักการเพื่อรอนำไปศึกษาวิจัยเพิ่มและรอข้อสรุปต่อไปครับ สรุปคือ ก็คงไม่มีหมอคนไหนแนะนำวิธีนี้เช่นเดียวกัน (5)
...
สรุป
• ถ้าอยากไป > ไปได้
• ไปถึงแล้ว > รับเข็มแรกให้เร็วที่สุด
• ก่อนหลังรับเข็มแรก > self-quarantine ถ้าเป็นไปได้ หรือ ถ้าไม่ได้ ก็ไปที่ๆคนน้อยๆ รัฐที่ความเสี่ยงต่ำๆ คนติดเชื้อน้อย และ มีประชากรท้องถิ่นได้รับวัคซีนเยอะๆแล้ว และทำตัวเหมือนอยู่ในเมืองไทย คือ ใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ social distancing
• หลังได้รับเข็มสองครบ 2 อาทิตย์ > ณ จุดนี้ น่าจะถือว่าเป็นจุดที่ปลอดภัยเพียงพอในขั้นแรก
• ผลข้างเคียง > รับความเสี่ยงและวางแผนสำหรับการจัดการผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น หรือการต้องเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลหลังจากนั้น
...
Disclaminer ข้อมูลเรื่องวัคซีนและการระบาดมีการเปลี่ยนแปลงทุกวัน เขียนวันนี้ พรุ่งนี้ข้อมูลอาจจะกลายเป็นอดีต ไม่ควรนำไปใช้อ้างอิง และการพิจารณารับหรือไม่รับวัคซีนใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวของท่านโดยเฉพาะ
...
อ้างอิง
(1) https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc2036242
(2) https://www.modernatx.com/covid19vaccine-eua/eua-fact-sheet-providers.pdf
(3) https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/janssen.html
(4) https://covid.cdc.gov/covid-data-tracker
(5) https://studies.epidemixs.org/.../covid-study-vaccine-dose
fact sheet คือ 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
fact sheet คือ 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
fact sheet คือ 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
fact sheet คือ 在 Fund Fact Sheet คืออะไร? | กองทุนรวม The Series - YouTube 的推薦與評價
Fund Fact Sheet คือ อะไร?อยากเริ่มลงทุนกองทุนรวม แต่ไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลได้ที่ไหน ต้องดูอะไรบ้างหาคำตอบได้ใน Fund Fact Sheet ... ... <看更多>
fact sheet คือ 在 อ่าน Fact Sheet หุ้นอย่างไร เข้าใจธุรกิจ - YouTube 的推薦與評價
เรียนรู้วิธีการอ่าน “สรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน” ( Fact Sheet ) ของบริษัทต่างๆ ให้ได้ประโยชน์ เทคนิคในการอ่านงบการเงินอย่างย่อ ... ... <看更多>
fact sheet คือ 在 อ่าน fund fact sheet... - หมอยุ่งอยากมีเวลา - Facebook 的推薦與評價
อ่าน fund fact sheet เพื่อเข้าใจกองทุนรวม Fund fact sheet คือ หนังสือชี้ชวนกองทุนรวม ซึ่งถ้าจะซื้อกองทุนรวม โดยอย่างน้อยเราควรอ่าน... ... <看更多>