เมื่อ Bill Gross ราชาแห่งพันธบัตร กำลังบอกว่า พันธบัตรคือขยะ /โดย ลงทุนแมน
เราอาจแปลกใจถ้ามีคนพูดว่า “การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
แต่เราคงตกใจยิ่งกว่านั้น เมื่อรู้ว่าคนที่พูดประโยคนั้นคือ หนึ่งในนักลงทุนผู้ยิ่งใหญ่ของโลก ที่มีชื่อว่า บิลล์ กรอสส์ เจ้าของฉายา “ราชาแห่งพันธบัตร”
พันธบัตรเป็นหนึ่งตัวแทนของสินทรัพย์ทางการเงิน
ที่หลายคนมองว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ
แต่ทำไมตอนนี้ บิลล์ กรอสส์ ถึงมองว่า การลงทุนในพันธบัตร คือการลงทุนในขยะ..
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดหุ้น หลายคนคงนึกถึง วอร์เรน บัฟเฟตต์
แต่ถ้าพูดถึงนักลงทุนที่ยิ่งใหญ่ในตลาดพันธบัตร เราจะต้องพูดถึง บิลล์ กรอสส์ (Bill Gross)
บิลล์ กรอสส์ เป็นผู้จัดการกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ และประสบความสำเร็จ จนได้รับฉายาว่า “Bond King” หรือ “ราชาแห่งพันธบัตร”
เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจัดการลงทุน
ที่ชื่อว่า Pacific Investment Management Company หรือเรียกสั้น ๆ ว่า PIMCO ซึ่งปัจจุบัน เป็นหนึ่งในบริษัทจัดการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
PIMCO มีการลงทุนที่หลากหลายตั้งแต่ ตราสารหนี้ ตราสารทุน สินค้าโภคภัณฑ์ กองทุน ETF กองทุนเฮดจ์ฟันด์ และไพรเวทอิควิตี้
จากจุดเริ่มต้นของ PIMCO ที่มีทรัพย์สินภายใต้การบริหารไม่ถึง 400 ล้านบาท ในปี 1971 ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงกว่า 72 ล้านล้านบาท ในปี 2020
โดยการลงทุนที่สร้างชื่อเสียงให้กับตัวเขาในฐานะผู้จัดการกองทุนอย่างมาก คือการลงทุนในสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้
ในปี 2010 Morningstar องค์กรที่ให้บริการข้อมูลและจัดอันดับเปรียบเทียบกองทุนรวมทั่วโลก ระบุว่า “ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนไหนอีกแล้ว ที่จะสามารถทำเงินจากการลงทุนในตราสารหนี้ ได้มากกว่า บิลล์ กรอสส์”
แต่ประเด็นน่าสนใจที่เพิ่งเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ คือ
บิลล์ กรอสส์ ได้ออกมาบอกว่า
“การลงทุนในพันธบัตรคือ การลงทุนในขยะ”
ทำไมราชาแห่งพันธบัตร ถึงพูดแบบนี้ ?
เราลองมาทำความเข้าใจกับ ลักษณะที่สำคัญของตราสารหนี้ ไม่ว่าจะเป็นพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้เอกชนกันก่อน
ตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ทางการเงินที่นักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของ “ดอกเบี้ย” อย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
หรือพูดอีกมุมหนึ่งคือ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ จะมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของผู้ที่ออกตราสารหนี้นั้น
จุดเด่นสำคัญของตราสารหนี้ คือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น
ยิ่งถ้าผู้ที่ออกตราสารดังกล่าว เป็นรัฐบาลที่มีเครดิตดี และโอกาสน้อยมากที่จะผิดนัดจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ถือตราสาร ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารหนี้ก็ยิ่งต่ำ
อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่ำ ก็ไม่ได้แปลว่า ไม่มีความเสี่ยง
เพราะนอกจากความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้แล้ว การลงทุนในตราสารหนี้ ยังมีความเสี่ยงอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “ความเสี่ยงจากดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น”
อธิบายกลไกของตราสารหนี้ง่าย ๆ คือ
ความสัมพันธ์ของราคาตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยจะสวนทางกัน
หมายความว่า เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดลง ราคาตราสารหนี้จะเพิ่มขึ้น และเมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ราคาตราสารหนี้จะลดลง
ทีนี้ย้อนกลับมาถึงในสิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ พูดไว้ข้างต้น ซึ่งเขามองว่า การลงทุนตราสารหนี้เริ่มไม่น่าสนใจ เนื่องจาก
- นโยบายอัดฉีดเงินเข้าระบบผ่านการเข้าซื้อสินทรัพย์โดยทางธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) หรือที่เรียกว่าการทำ QE กำลังจะลดขนาดลง
การปรับตัวขึ้นของราคาสินทรัพย์ทางการเงินหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ตราสารหนี้ หรือแม้แต่สินทรัพย์ทางเลือกอย่างคริปโทเคอร์เรนซีในช่วงหลายปีที่ผ่านนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากการอัดฉีดเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกา
โดย Fed ทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อจำนองค้ำประกันของ Fed รวมกันเดือนละประมาณ 3.9 ล้านล้านบาท อย่างต่อเนื่อง
เรื่องนี้ทำให้ราคาพันธบัตรเหล่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐอเมริกา อายุ 10 ปี นั้นลดลง ซึ่งมีอยู่ช่วงหนึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวเคยลดลงไปเหลือเพียง 0.5% ในช่วงกลางปี 2020
อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ Fed เริ่มส่งสัญญาณลดการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบลง หรือที่เรียกว่า QE Tapering
ซึ่งเม็ดเงินที่ลดลงนี้ หมายความว่า ปริมาณการซื้อตราสารหนี้มีแนวโน้มจะลดลง จนทำให้ความน่าสนใจในตราสารหนี้ ลดลงไปด้วย
- แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
เราอยู่ในจุดที่อัตราดอกเบี้ยนั้นต่ำมาเป็นเวลานานพอสมควร ธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปอยู่ที่ 0% หรือแม้แต่ติดลบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวกลับมาเติบโตเหมือนเดิม
แต่สิ่งหนึ่งที่มักมาพร้อมกับการเติบโตของภาวะเศรษฐกิจคือ “เงินเฟ้อ” ซึ่งหากเงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นเร็วจนเกินไป ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ
เพราะฉะนั้น ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ อย่างเช่น Fed ก็ต้องมีมาตรการมาควบคุม ไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเร็วจนเกินไป
หนึ่งในวิธีที่ทำกันมานาน ก็คือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ดอกเบี้ยในภาพรวมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยชะลอความร้อนแรงทางเศรษฐกิจและชะลอเงินเฟ้อได้
ขณะเดียวกัน นักลงทุนหรือคนที่ถือพันธบัตรอยู่ในปัจจุบัน พอเห็นอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น พวกเขาก็จะเริ่มทยอยขายพันธบัตรที่ถืออยู่ออกมา เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ชุดใหม่ ๆ ที่จะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า หรือเอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีกว่า
เมื่อมีการขายตราสารหนี้ออกมาจำนวนมาก ก็จะทำให้ราคาตราสารหนี้นั้นปรับตัวลดลง จนทำให้ผู้ที่ถือตราสารหนี้ โดยเฉพาะยิ่งเป็นตราสารหนี้ระยะยาวอาจจะขาดทุนหนักได้
นอกจากนี้ การปรับตัวขึ้นของเงินเฟ้อ ยังทำให้อัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (อัตราผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินหักด้วยอัตราเงินเฟ้อ) จะยิ่งลดลงไป ซึ่งหมายความว่า อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการถือตราสารหนี้ ลดลงไปอีก
เมื่อเป็นแบบนี้ ก็จะทำให้มีแรงเทขายตราสารหนี้ออกมาในปริมาณมาก จนอาจทำให้หลายคนที่ลงทุนในตราสารหนี้อยู่ ต้องขาดทุนอย่างหนักมากกว่าเดิมก็เป็นได้
ก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า สิ่งที่ บิลล์ กรอสส์ คาดการณ์ไว้เช่นนี้ จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ก็ต้องยอมรับว่า นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตราสารหนี้ กำลังจะต้องเจอความท้าทายจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกที่กำลังจะปรับตัวขึ้นหลังจากนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-09-01/bill-gross-says-bonds-are-investment-garbage-just-like-cash
-https://www.investopedia.com/terms/w/william-h-gross.asp
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bill_H._Gross
-https://www.ft.com/content/f1a48ac2-36fb-4e7f-8d23-71477f1fc0a4
-https://www.sunsigns.org/famousbirthdays/d/profile/bill-gross/
fed tapering 2021 在 永豐期貨洪慈憶。Violet的金融生活 Facebook 的最佳解答
【永豐投顧】#永豐總經與產業週報09062021
🔺美 8 月 ISM 製造業與非農就業數據顯示疫情確實對景氣造成衝擊,關注 PPI 與 CPI 數據,預期短期內資金將持續往大型科技股與防禦類股流入,本週 S&P 500 預估 區間 4,400~4,600;市場認為 8 月非農報告不會影響 Fed 的 tapering 計畫,GT10 週線上升 2bps 至 1.32%。展望本週,由於目前美國疫情仍未見頂,基建法案與債 務上限等議題也未明朗,預期 GT10 維持低檔震盪;NFP 報告表現不佳令美元進一 步下滑,DXY 週線收黑 0.70%至 92.04。展望本週,Fed 貨幣政策路徑已被市場充 分解讀,市場焦點轉往 9/9 ECB 利率決策會議,預期 DXY 震盪偏空,歐元偏多。
🔺台灣 7 月景氣對策信號分數減少 2 分至 38 分,燈號連 6 紅;台股本週多頭可能再 攻高,但是容易出現套牢陷阱,建議忽略突破訊號,等待拉回,本週指數區間看 17300 點至 17600 點;市場持續反應 Fed 年內縮減購債預期,然台灣央行無升息 急迫性,預期台債殖利率量縮盤整;NFP 不佳,國際美元回落整理,外資熱錢大幅 匯入,台幣 9/3 盤中最高漲至 27.650 元的 2 個半月高,連 6 日上揚。
🔺中國 8 月景氣放緩既有暫時性也有結構性因素,但上週呈現股債匯三漲實為罕見, 外有市場充分消化 QE 縮減預期的熱錢派對,內有寬鬆流動性托底及官方正在加強 政策溝通。隨著疫情影響減弱以及跨週期政策發酵期,或重新提振風險性資產走勢。
🔺Qualcomm 3QFY21 營收 80.6 億美元,稅後獲利 20.3 億美元,Non-GAAP 稅後 EPS1.77 美元,優於市場預期與公司目標值,Qualcomm 預估 4QFY21 營收 84~92 億美元,QoQ+4%~+14%,YoY+1%~+10%,Non-GAAP 稅後 EPS2.15~2.35 美 元,營收與 EPS 目標值優於市場預估的 85.05 億美元與 2.07 美元。營收係受蘋果 與 premium 高階機種挹注而 margin 隨產品組合優化(premium 高階機種攀升)與 Auto、IOT 持續放量而推升,維持 2021 年全球 5G 手機 4.5 億~5.5 億支預估。
#永豐期貨洪慈憶Violet💜
fed tapering 2021 在 永豐期貨洪慈憶。Violet的金融生活 Facebook 的最佳解答
【永豐投顧】#永豐總經與產業月報2021年09月報
🔺東南亞 Delta 疫情衝擊供應鏈,車用晶片尤其嚴重;Powell 於 Jackson Hole 年會 上表示支持年底前縮減購債,但不能將此視為升息訊號,我們預期 Fed 將於 11 月 FOMC 宣布,並於 12 月正式啟動 tapering,明年 7 月初正式結束 QE;台灣 1Q/21 經濟成長由 8.92%上修至 9.27%,創 2010 年 4Q 以來高,2Q/21 實質 GDP 初步 統計成長 7.43%;中國第十次中央經濟工作會議宣布”共同富裕”,經濟上,透過 第三次所得分配重塑未來五年經濟分配藍圖,擺脫”中所得陷阱”,政治上,鞏固 習近平的治理正當性,好比全面小康之於十八大,共同富裕則為二十大鋪路;與此 同時,共同富裕是人文與科學的結合,光明面的背後必然存在利弊得失,在政策翻 轉結構的過程,長期投資必然需要將其納入風險。
🔺預估九月份台股進入盤整,指數區間約在 16300 點至 17300 點,往上面對上半年 大量區,目前量能難有作為;隨風險情緒好轉,美股再創史高,加上 Fed 持續釋放 tapering 訊號,8 月底長端殖利率緩步回升;展望 9 月,聚焦美國就業數據、FOMC、 債務上限,預期美債殖利率偏升。Delta 病毒襲來,美國就業數據亮眼、Fed 官員 釋出鷹派訊號,加上市場避險情緒偏強,導致 8 月美元偏強;展望 9 月,聚焦美國 就業數據,與 Fed、ECB 利率決策會議,預期 DXY 續多。
🔺重點產業近、遠期趨勢評析—晶圓代工:近期展望:下游雜音浮現,但供給吃緊下 上游訂單未見改變,長期展望:產能吃緊尤以 8 吋和成熟製程更為嚴重且全年難解, ASP 有望逐季改善;晶圓封測:近期展望:OSAT 產能供不應求,設備交期仍長限 制短期成長,但仍不會漲價,長期展望:疫情、地緣政治氛圍強化台灣代工廠地位, 後段封測廠隨之受惠。
—————————————————
海期手續費優惠❤️ 國內期貨手續費優惠❤️
😊😊歡迎洽詢😊😊
#永豐期貨洪慈憶 💜
#全台皆可開戶 #線上開戶🎈
#手續費及開戶或交易相關洽詢📊
#粉絲團私訊 #專線:02-23829310
#LINE: vivibaby_hung0428
💯現場開戶:台北市重慶南路一段2號8樓
💯線上開戶:https://www.spf.com.tw/spfopenact?strProd=0035&strWeb=0077&s=090494
💯部落格:https://violethung1664.pixnet.net/blog
fed tapering 2021 在 Fed's FOMC meeting: July 2021: Focus will be on ... - YouTube 的推薦與評價
Fed's FOMC meeting: July 2021 : Focus will be on ' tapering,' says strategist. Watch later. Share. Copy link. Info. Shopping. Tap to unmute. ... <看更多>