ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過100萬的網紅Taiwan Bar,也在其Youtube影片中提到,探險家 黑啤 Beer 自2008金融海嘯的大災難後就開始尋找開闢未來的道路,終於找到高科技文明 #芬特克城 。黑啤在這裡探索芬特克居民如何運用 #區塊鏈、#銀行學、#物聯網、#人工智慧 建立彼此信任與共治的時代👐!究竟這幾年很夯的名詞金融科技(FinTech)會對未來造成什麼變化? 訂閱頻道不漏...
fintech banking 在 今周刊 Facebook 的精選貼文
【數位金融服務已不再是年輕人的專利❓ 】
後疫情時代來臨,零接觸宅金融當道,過去只把手機📱當成通話工具的四年、五級生,這段期間也「順應潮流」,學習使用手機來轉帳、繳費、投資布局。
「數位金融」需求不再限於年輕族群,我們正朝向「生活即金融,金融即生活」的 願景邁進!現在有哪些便利又安全的數位金融應用呢?快來和我們一窺究竟!👀
#數位金融 #FinTech #零接觸 #開放銀行 #富邦金控
fintech banking 在 Facebook 的精選貼文
Blockchain start-ups raised a record $4.4 billion in the second quarter despite the slump in crypto prices
Blockchain start-ups ระดมทุนได้กว่า 4 พันล้าน แม้ราคาคริปโตร่วง!
By Ryan Browne
เงินทุนสำหรับ blockchain start-ups มีมูลค่าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์ เป็นครั้งแรกในไตรมาสที่2 ถึงแม้ว่าราคา cryptocurrency จะตกลงอย่างมาก
บริษัทต่างๆ ที่เป็น start-ups สามารถระดมทุนได้ 4.38 พันล้านดอลลาร์ จากข้อมูลของบริษัทวิเคราะห์CB Insights เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นเกือบ 9 เท่า จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
รอบการจัดหาเงินทุนที่ใหญ่ที่สุดของ บริษัทที่เกี่ยวกับ blockchain ในไตรมาสที่สองคือการลงทุน 440 ล้านดอลลาร์ใน Circle บริษัทชำระเงินและสกุลเงินดิจิทัล โดย Circle เพิ่งผ่านการควบรวมกิจการมูลค่า 4.5 พันล้านดอลลาร์กับ blank-check company
ด้าน Ledger ผู้พัฒนา hardware wallets สำหรับในการจัดเก็บสกุลเงินดิจิทัล โดยระดมทุนได้ 380 ล้านดอลลาร์ ในการให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนธันวาคม Pascal Gauthier ซีอีโอของ Ledger บอกว่าตลาด crypto กำลังเติบโตเต็มที่ โดยมีสถาบันรายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมด้วย
“ในปี 2018 สถาบันการเงินไม่ได้อยู่ในเกมส์” เขากล่าว และเสริมว่า ตอนนี้สถาบันการเงินรายใหญ่ทุกแห่งในโลก มีแผนหรือกำลังดำเนินการเพื่อลงทุนในคริปโต
การระดมทุนครั้งนี้ นักลงทุนกำลังหาวิธีอื่นในการเปิดรับอุตสาหกรรม crypto โดยการซื้อหุ้นในบริษัทเอกชนที่เริ่มพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับสกุลเงินดิจิทัลและเครือข่ายแบบกระจายที่สนับสนุนพวกเขา
นักลงทุนร่วมลงทุนโดยไม่กังวลกับราคาสกุลเงินดิจิตอลที่ลดลงอย่าง Bitcoin ที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง นับตั้งแต่ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่เกือบ 65,000 ดอลลาร์ในเดือนเมษายน เมื่อCoinbase เข้าตลาด
ส่วน Ether ซึ่งเป็นเหรียญดิจิทัลที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ก็ร่วงลงกว่า 50% เช่นกัน นับตั้งแต่ทำสถิติสูงสุดที่มากกว่า $4,000 ในเดือนพฤษภาคม
“ในปัจจุบัน blockchain funding จะทำลายสถิติสิ้นปีก่อนหน้า มากกว่า 3เท่า ของยอดรวมที่ได้รับในปี 2018” Chris Bendtsen นักวิเคราะห์อาวุโสของ CB Insights กล่าว
“การระดมทุนของ Blockchain ได้รับแรงหนุนจากความต้องการของนักลงทุนและสถาบันที่เพิ่มขึ้นสำหรับ cryptocurrencies” เขากล่าวเสริม
“แม้จะมีความผันผวนของราคาในระยะสั้น แต่บริษัท VC ก็ยังคงเชื่อในอนาคตของ crypto ในฐานะสินทรัพย์ประเภทหลัก และศักยภาพของบล็อคเชนในการทำให้ตลาดการเงินมีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้ และปลอดภัยยิ่งขึ้น”
เมื่อเดือนที่แล้ว Andreessen Horowitz เปิดตัวกองทุน $ 2.2 พันล้าน “เราเชื่อว่าคลื่นต่อไปของนวัตกรรมคอมพิวเตอร์จะถูกขับเคลื่อนด้วยคริบโต”
Fintech ระดมทุนกันอย่างบ้าคลั่ง!
เงินทุนสำหรับบริษัทฟินเทค โดยรวมก็ทำสถิติใหม่เช่นกัน จากข้อมูลของ CB Insights บริษัท fintech start-ups ทำเงินได้มากถึง 30.8 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่สอง เพิ่มขึ้น 30% จากไตรมาสก่อนหน้า และเกือบสามเท่าของจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น
ภาคธุรกิจ fintech ของยุโรป ได้รับแรงฉุดอย่างมากกว่า 50% ของข้อตกลงร่วมทุน ในไตรมาสนี้ตกเป็นของบริษัทในยุโรป
Trade Republic แอพซื้อขายหุ้นในเยอรมนีทำเงินได้มากถึง 900 ล้านดอลลาร์จาก Sequoia Capital และ Peter Thiel’s Founders Fund มอลลีคู่แข่งชาวดัตช์กับการชำระเงิน บริษัท สแควร์และลาย Adyen, ตาข่าย $ 800 ล้าน
การประเมินมูลค่า fintech ก็เพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยบริษัท Klarna ที่ซื้อตอนนี้และจ่ายภายหลังของสวีเดนได้รับมูลค่าตลาดเกือบ 46 พันล้านดอลลาร์ในเดือนมิถุนายน
สิ่งนี้นำไปสู่ความกลัวว่า จะเกิดฟองสบู่ในฟินเทค Iana Dimitrova ซีอีโอของ OpenPayd บริษัท Fintech แห่งสหราชอาณาจักร กล่าวว่า แนวโน้มขาขึ้นของการเงินภาคเอกชนนั้น “เป็นอันตรายต่อความยั่งยืนในระยะยาวของอุตสาหกรรม” เฉลี่ยแล้วฟินเทค เพิ่มขึ้น 28% ในไตรมาสที่สอง ตามข้อมูลของ CB Insights
Fintech อยู่ในภาวะฟองสบู่หรือไม่?
Stefano Vaccino หัวหน้าฝ่าย fintech จาก Yapily ในลอนดอน กล่าวว่า ไม่เห็นด้วย “ฉันจะไม่เห็นว่ามันเป็นฟองสบู่” “เราได้เห็นในช่วง 12 ถึง 18 เดือนที่ผ่านมา บริการทางการเงินเร่งตัวขึ้น” Andreas Weiskam หุ้นส่วนของ Sapphire Ventures นักลงทุนของ Yapily กล่าวว่า นี่เป็น “ภาพสะท้อนของโอกาสครั้งสำคัญ” ในด้านการเงินดิจิทัล
Yapily ระดมเงินทุนครั้งใหม่ได้ 51 ล้านดอลลาร์ในสัปดาห์นี้ เป็นหนึ่งในหลายบริษัทที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อก้าวไปสู่การเคลื่อนไหวใหม่ในด้านการเงินที่เรียกว่า open banking
ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเปิดข้อมูลของธนาคารและการเริ่มต้นการชำระเงินแก่ฟินเทคและบุคคลที่สามอื่นๆ
open bankingได้รับแรงผลักดันอย่างมาก โดยเมื่อเร็วๆ นี้ Visa ตกลงที่จะซื้อ Tinkซึ่งเป็นopen banking ของสวีเดน ในราคา 2.1 พันล้านดอลลาร์ หลังจากที่ล้มเหลวในการซื้อกิจการ Plaid ซึ่งเป็นบริษัทที่คล้ายกันในสหรัฐฯ เนื่องจากแรงกดดันด้านกฎระเบียบ
สำหรับนักลงทุนที่ สนใจ ข้อมูลการลงทุนเชิงลึก
จากบทวิเคราะห์ระดับโลก รวมหลักแสนต่อปี
สามารถ สมัครเข้าดูได้ที่ห้องเรียนวงในครับ
สนใจ คอมเม้นใต้บทความได้เลย
--------------------------------
แอดปลา
fintech banking 在 Taiwan Bar Youtube 的精選貼文
探險家 黑啤 Beer 自2008金融海嘯的大災難後就開始尋找開闢未來的道路,終於找到高科技文明 #芬特克城 。黑啤在這裡探索芬特克居民如何運用 #區塊鏈、#銀行學、#物聯網、#人工智慧 建立彼此信任與共治的時代👐!究竟這幾年很夯的名詞金融科技(FinTech)會對未來造成什麼變化?
訂閱頻道不漏看🤜 http://bit.ly/subscribe-taiwanbar
需要您幫忙字幕讓全世界看見臺灣🤜 http://bit.ly/FinTSub
〔芬特克 FinTech│關鍵字🏷🏷🏷〕
區塊鏈Blockchain、銀行學Banking、物聯網Internet of Things、人工智慧AI、金融科技FinTech
-
►Facebook│https://www.facebook.com/taiwanbarstudio
►Instagram│https://www.instagram.com/taiwan_bar
►LINE貼圖│http://bit.ly/BeerLineStickerII
►線上賣場│http://bit.ly/TaiwanBarShop
►訂閱集資│ https://taiwanbar.cc/subscribe
►合作邀約 taiwanbarstudio@gmail.com
-
本節目由 元大 和 臺灣吧 Taiwan Bar 共同製作