TERBANG BERSAMA MDB (Bhg 33)
Fikiran saya pagi ini masih terperap di Jakarta di 1996 (cuma saya guna foto baru berbatik Indonesia sebagai foto hiasan kerana tiada foto lain).
Dalam seminar di sana, pertama kali saya melihat ada 3 mentol atas meja ucapan. Hijau boleh bercakap. Kuning baki 1 minit. Merah berhenti serentak dimatikan pembesar suara. Inilah cara terbaik mengawal pembicara yang tak pandai jaga masa atau rasa dia yang paling penting.
Semasa kes Gaza baru2 ini, saya banyak terlibat dalam webinar tentang Gaza. Selalunya masa hanya 10 minit seorang. Ada pembicara suka ambil 30 hingga 40 minit. Tak ada adab masa. Bagaimana Islam nak menang kalau displin pun tak ada.
Di pagi ini juga, saya melihat ke tahun 2050. Indonesia bakal menjadi negara ke-4 dunia yang paling besar dari segi GDP selepas China, India & USA. Pada Julai 2020, Bank Dunia telah menaiktaraf mereka sebagai negara berpendapatan pertengahan. Walaupun income per capita mereka masih rendah (sekitar USD 4,500 USD), GDP mereka paling cepat berkembang.
Bandung Technology Institut banyak menjalankan kajian yang Silicon Valley tak boleh buat.
Presiden Jokowi ingin menjadikan demografi Indonesia ekuiti baru. Dijemputnya syatikat2 besar seperti Amazon datang bertapak dengan pelbagai insentif. Dalam era pandemik, ICT berkembang maju. 11%. Malah ekonomi baru Indonesia adalah e-commerce sesuai dengan demografi & geografi.
Bukalapak akan disenaraikan di Bursa OJK tidak lama lagi dengan nilai lebih dari USD1 bilion. Traveloka & Goto juga akan ikut serta samada secara SPAC atau IPO. Presiden Jokowi mahu Indonesia juga ada homegrown companies bertaraf antarabangsa. Semua syarikat2 ini bermula di 2010-2012. Ada lagi banyak potensi. Gojek. Jago. Tokopedia.
Sekarang, 51% orang tinggal di kota. Di tahun 2030, 70% di urban. 51% pekerja bawah umur 30 tahun. Income per capita di tahun 2045 adalah 23k USD. Indonesia sekarang seperti China 9-10 tahun lepas.
Bukalapak menyediakan perkhidmatan kepada warung2 membeli barang terus dari pembekal & toko besar tanpa 5 lapisan orang tengah. Harga murah. Barang laku. Produksi bertambah. Rakyat gembira.
Idea adalah ekonomi baru. Idea perlu visi & impian.
MDB
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Youtube影片中提到,Grab กำลังจะเข้า ตลาดหุ้นแล้ว.. Grab เป็น Start Up หนึ่งในผู้นำตลาดแอปเรียกรถ ธุรกิจส่งอาหาร และกำลังเข้ามารุกธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย...
gojek ipo 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
DoorDash แอปส่งอาหาร ที่นิยมสุดในอเมริกา / โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงธุรกิจ Food Delivery
เชื่อว่าคนไทย คงคุ้นเคยกับการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น Grab, LINE MAN, foodpanda หรือ Gojek
แต่รู้ไหมว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ก็มีผู้ให้บริการ Food Delivery เจ้าใหญ่อยู่หลายราย
แต่แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ คือ “DoorDash”
ทำไม DoorDash ถึงครองตลาดสั่งอาหารออนไลน์ของสหรัฐอเมริกาได้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
DoorDash เป็นแพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์
เริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อปี 2013 หรือ 8 ปีที่แล้ว
ผู้ที่ร่วมก่อตั้งบริษัทและดำรงตำแหน่ง CEO ในปัจจุบัน คือ คุณ Tony Xu
เขาเป็นชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในสหรัฐอเมริกา แต่ครอบครัวไม่ได้มีฐานะร่ำรวย
ทำให้ต้องคอยช่วยคุณแม่ ทำงานพิเศษที่ร้านอาหารจีน มาตั้งแต่เด็ก
อย่างไรก็ตาม ครอบครัวก็เก็บออมเงิน จนสามารถส่งเขาเรียน MBA ที่มหาวิทยาลัย Stanford ได้สำเร็จ
ซึ่งต่อมา คุณ Tony Xu ได้มีโอกาสทำโปรเจกต์ธุรกิจร่วมกับ คุณ Stanley Tang, คุณ Andy Fang และ คุณ Evan Moore
และเนื่องจากเขามีประสบการณ์เกี่ยวกับร้านอาหาร จึงเสนอไอเดียสร้างผลิตภัณฑ์ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารรายย่อย
โดยพวกเขาสำรวจข้อมูลพบว่า
ความจริงแล้ว ผู้บริโภคมีความต้องการสั่งอาหารจากร้านเล็ก ๆ ในท้องถิ่นสูงมาก
แต่ทางฝั่งร้านอาหารนั้น ไม่มีเงินทุนและกำลังคนมากพอ สำหรับจัดส่งอาหารให้ครบตามออร์เดอร์ได้
ด้วยเหตุนี้ พวกเขาจึงเลือกพัฒนาธุรกิจแพลตฟอร์ม Food Delivery เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
โดยเริ่มแรก ได้เปิดเว็บไซต์ ชื่อว่า PaloAltoDelivery.com
ทดลองรวบรวมเมนูจากร้านบริเวณมหาวิทยาลัย และผลัดกันเป็นคนจัดส่งอาหาร
จนกระทั่งปี 2013 โปรเจกต์นี้ได้รับเงินทุนจาก Y Combinator สถาบันบ่มเพาะสตาร์ตอัปชื่อดัง
พวกเขาจึงตัดสินใจก่อตั้งบริษัท และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “DoorDash”
ซึ่งต่อมาก็มีนักลงทุนสถาบันรายใหญ่ เช่น Sequoia Capital และ SoftBank เข้ามาถือหุ้นของบริษัทด้วย
โดย DoorDash ใช้กลยุทธ์การขยายธุรกิจ ที่มุ่งเน้นรวบรวมร้านอาหาร ทั้งแบรนด์ดังและร้านประจำท้องถิ่นต่าง ๆ มาไว้บนแพลตฟอร์มให้มากที่สุด
ปัจจุบัน มีร้านอาหารเข้าร่วมกว่า 450,000 แห่ง ครอบคลุม 4,000 เมือง ใน 50 รัฐ
และมีพาร์ตเนอร์คนขับรถส่งอาหาร ที่บริษัทเรียกว่า Dashers อยู่ราว 1 ล้านราย
ซึ่งทำให้ DoorDash มีเมนูที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ได้ทุกกลุ่ม ทุกพื้นที่
ต่างจากผู้เล่นรายอื่น ที่ส่วนใหญ่นำเสนอแต่ร้านดัง ๆ ในตัวเมืองใหญ่
ส่งผลให้แอปพลิเคชันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีผู้ใช้งานสูงถึง 20 ล้านราย
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาด Food Delivery ของสหรัฐอเมริกา ประจำเดือนมีนาคม 2021 จากการสำรวจของ Bloomberg Second Measure
- DoorDash ส่วนแบ่งตลาด 55%
- Uber Eats ส่วนแบ่งตลาด 22%
- Grubhub ส่วนแบ่งตลาด 17%
- Postmates ส่วนแบ่งตลาด 5%
จะเห็นได้ว่า DoorDash ครองตลาด แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของสหรัฐอเมริกา แบบนำหน้าคู่แข่งอยู่พอสมควร
แล้วอย่างนี้ ผลประกอบการของ DoorDash เป็นอย่างไร ?
การแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาสั่งอาหารผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น
ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลให้เจ้าตลาดอย่าง DoorDash เติบโตแบบก้าวกระโดด
ปี 2018 รายได้ 9,050 ล้านบาท ขาดทุน 6,400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 27,500 ล้านบาท ขาดทุน 20,700 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 89,800 ล้านบาท ขาดทุน 14,300 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงขาดทุนหนัก เพราะต้องใช้งบประมาณและโปรโมชันจำนวนมาก แข่งขันกับผู้เล่นรายอื่นอย่างดุเดือด เพื่อดึงดูดทั้งร้านอาหารและแย่งชิงผู้บริโภค ให้มาใช้งานแพลตฟอร์มตนเอง
ซึ่งเราคงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า DoorDash จะสามารถครองตลาด Food Delivery ของสหรัฐอเมริกาไปได้นานเท่าไร และจะเป็นผู้ชนะในท้ายที่สุดได้หรือไม่ ในสมรภูมิที่ไม่มีใครยอมใครอย่างตลาด Food Delivery
ทั้งนี้ DoorDash จดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020
โดยปัจจุบัน มีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ราว 1.3 ล้านล้านบาท
ซึ่งใกล้เคียงกับ มูลค่าประเมินของ Grab ที่กำลังจะเข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ในเร็ว ๆ นี้
ปิดท้ายด้วยเรื่องราวที่น่าสนใจ
ในช่วงที่ทดลองเปิดให้บริการ เมื่อปี 2013
คุณ Tony Xu และเพื่อน ๆ ต้องนั่งรอคำสั่งซื้ออาหารอยู่หลายชั่วโมง
จนสุดท้าย ก็มีออร์เดอร์แรกเข้ามา
เมนูนั้นคือ “ผัดไทยกุ้ง”..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/DoorDash
-https://s22.q4cdn.com/280253921/files/doc_financials/2020/ar/628c3275-56ed-4bc8-a246-20e7c40742ce.pdf#page6
-https://secondmeasure.com/datapoints/food-delivery-services-grubhub-uber-eats-doordash-postmates/
-https://www.cnbc.com/2020/12/09/doordash-ipo-will-make-ceo-tony-xu-the-latest-tech-billionaire.html
-https://help.doordash.com/dashers/s/article/Where-is-DoorDash-available?language=en_US
-https://www.cbsnews.com/news/doordash-ipo-shares-up-80-percent/
-https://finance.yahoo.com/quote/DASH/
gojek ipo 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
เวียดนามมี สตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น ก่อนประเทศไทย /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง “ธุรกิจสตาร์ตอัปยูนิคอร์น” จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ก้าวไปเป็นธุรกิจยักษ์ใหญ่ คงหนีไม่พ้นบริษัทที่ชื่อว่า Sea Limited
Sea Limited เป็นบริษัทสัญชาติสิงคโปร์
ที่เริ่มมาจากแพลตฟอร์มให้บริการเกม Garena
และก็ได้ขยายธุรกิจไปยังอีคอมเมิร์ซ Shopee
ขณะนี้ มีมูลค่าบริษัท 4 ล้านล้านบาท
นอกจากบริษัท Sea Limited แล้ว ประเทศสิงคโปร์ยังมียูนิคอร์นอีกตัว
ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จอย่าง Razer เจ้าของอุปกรณ์เล่นเกม
ในขณะที่ถ้าเราพูดถึง สตาร์ตอัปยูนิคอร์นที่พอจะคุ้นหูในภูมิภาคของเรา
ก็น่าจะเป็น Gojek และ Traveloka จากอินโดนีเซีย หรือ Grab จากมาเลเซีย
แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ประเทศข้างบ้านเรา
อย่างเวียดนาม ก็มีสตาร์ตอัปยูนิคอร์นเหมือนกัน
บริษัทแห่งนี้ชื่อบริษัทว่า VNG Corporation
ที่ปัจจุบันถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 6.8 หมื่นล้านบาท
ยูนิคอร์นเวียดนาม ทำธุรกิจอะไร
แล้วมีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
VNG Corporation ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2004 หรือราว 17 ปีก่อน
สำหรับที่มาที่ไปของบริษัทแห่งนี้ เกิดขึ้นจากความหลงใหลในการเล่นเกมของผู้ก่อตั้ง
คือ คุณ Le Hong Minh
แม้ว่าเขาจะจบการศึกษาสาขาวิชาการเงินจากออสเตรเลีย
และได้เข้าไปทำงานอยู่ในบริษัทการเงินแล้ว
เขาก็ยังได้เปิดร้านเกมเล็ก ๆ เป็นของตัวเองร่วมกับเพื่อนของเขาไปด้วย
กลางวัน เขาเป็นนายธนาคาร
กลางคืน เขาเป็นเจ้าของร้านเกม
ในสมัยนั้น ร้านเกมถือเป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตและได้รับความนิยมสูงในประเทศเวียดนาม
โดยผู้เล่นส่วนใหญ่ก็จะเข้ามาเล่นเกม Red Alert, Starcraft หรือ Warcraft
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของเกมคอมพิวเตอร์สมัยก่อน
ก็คือการเล่นเกมร่วมกับผู้เล่นคนอื่น
ส่วนใหญ่ยังคงเป็นลักษณะการเล่นอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของทางร้าน
ไม่ได้มีการเชื่อมต่อแบบออนไลน์เล่นจากที่ไหนก็ได้เหมือนในสมัยนี้
ในขณะเดียวกัน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนเวียดนามอยู่ที่ 7.6% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ ซึ่งก็ถือว่ายังน้อยอยู่
แต่คุณ Le Hong Minh ก็ได้มองว่าเรื่องนี้ถือเป็นโอกาส
เขาจึงได้เริ่มมองหาเกมออนไลน์ที่กำลังฮิตเพื่อนำมาจัดจำหน่ายในประเทศ
และก็ได้เดินทางไปประเทศเกาหลีใต้เพื่อเจรจาขอสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย
เกม MU Global ที่กำลังมาแรงในขณะนั้น แต่เขากลับโดนปฏิเสธ
นั่นจึงทำให้เขาต้องมองหาเกมใหม่
จนได้ไปพบเข้ากับเกม Swordsman Online
จากบริษัทพัฒนาเกม Kingsoft จากประเทศจีน
และก็สามารถเจรจาจนกลายมาเป็นผู้จัดจำหน่ายได้สำเร็จ
ทั้งหมดนี้เอง จึงได้ทำให้คุณ Le Hong Minh ตัดสินใจออกจากบริษัท
และรุกเข้าสู่การก่อตั้งธุรกิจอย่างเต็มตัว ในชื่อบริษัทว่า “VinaGame”
ด้วยความที่ Swordsman Online เป็นเกมออนไลน์ในยุคบุกเบิกในประเทศเวียดนาม
บวกกับอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้น
บริษัท VinaGame จึงได้ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
รวดเร็วในระดับที่มีปริมาณผู้เล่นไหลเข้ามาทะลุล้านบัญชี
จนบริษัทสามารถทำกำไรได้ตั้งแต่ปีแรกที่นำเกมเข้ามาจัดจำหน่าย
ในปี 2006 หรือ 2 ปีหลังจากก่อตั้งบริษัท
VinaGame รายงานว่ามีรายได้ 530 ล้านบาท
เติบโตขึ้นเป็น 6 เท่าเมื่อเทียบกับรายได้ในปีก่อนหน้า
และอีก 2 ปีหลังจากนั้น บริษัทแห่งนี้ มีพนักงานในบริษัททะลุ 1,000 คน
หลังจากสำเร็จจากธุรกิจเกม
เป้าหมายต่อไปของคุณ Le Hong Minh ก็คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
ในช่วงนี้เองทางบริษัทก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “VNG Corporation”
โดยธุรกิจอินเทอร์เน็ตของ VNG Corporation จะอยู่ภายใต้แบรนด์ “Zing”
ครอบคลุมตั้งแต่ Zing News เว็บไซต์ข่าวสาร, Zing Chat เว็บไซต์สนทนากับเพื่อน
รวมไปถึง Zing Me ที่ถือเป็นโซเชียลแรก ในประเทศเวียดนาม
แต่ภายหลังจากที่รัฐบาลเวียดนามปลดล็อกให้ประชากรในประเทศเล่น Facebook ได้
Facebook ก็ได้เข้ามาแย่งส่วนแบ่งฐานผู้ใช้งานโซเชียล จน Zing Me ได้รับความนิยมลดลง
จนต้องผันธุรกิจกลายเป็นแพลตฟอร์มสำหรับนักเล่นเกม
ในช่วงเวลาเดียวกัน ธุรกิจเกมของ VNG Corporation ก็ได้รุกเข้าสู่การเข้าไปเป็นผู้พัฒนาเกมเองจากแต่เดิมเป็นเพียงผู้จัดจำหน่าย ซึ่งเกมที่บริษัทสร้างขึ้นก็ได้นำไปเปิดให้บริการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น
การปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจในลักษณะนี้
ก็คล้ายกันกับ Garena ของ Sea Limited
ที่แต่เดิมนำเกมของพาร์ตเนอร์จาก Tencent
เช่น RoV หรือ PUBG MOBILE มาจัดจำหน่าย
และต่อมาก็ได้เป็นผู้พัฒนาเกม Free Fire ที่ก็ถือว่าเติบโตถล่มทลาย เช่นกัน
และเมื่อยุคของสมาร์ตโฟนมาถึง คุณ Le Hong Minh
ก็ได้เดินเครื่องหันมาพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน
และได้พัฒนาแอปพลิเคชันแช็ตที่ชื่อว่า “Zalo” ออกมา
จนแอปพลิเคชันดังกล่าว กลายมาเป็นแอปพลิเคชันแช็ตอันดับ 1 ในประเทศเวียดนาม
ที่ปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานทั้งในและต่างประเทศรวมกัน มากถึง 100 ล้านบัญชี
จากการเติบโตตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ทำให้ VNG Corporation กลายมาเป็นบริษัทที่ดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่
ให้เข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งก็มีตั้งแต่ IDG Ventures, CyberAgent Capital และ Tencent (อีกแล้ว)
จนทำให้บริษัทได้รับการประเมินมูลค่าระดับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือราว 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือเป็นระดับสตาร์ตอัปยูนิคอร์นได้สำเร็จ ในปี 2014
แล้วปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ใหญ่ขนาดไหนและทำธุรกิจอะไรบ้าง ?
บริษัท VNG Corporation มี 4 ธุรกิจหลัก แบ่งออกเป็น
- ธุรกิจเกมออนไลน์ทั้งบนคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน
- ธุรกิจแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ต เช่น แอปพลิเคชันแช็ต, เพลงและวิดีโอสตรีมมิง, อีคอมเมิร์ซและเสิร์ชเอนจิน
- ธุรกิจการเงิน เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัลและตัวกลางในการรับชำระ
- ธุรกิจคลาวด์
ในปี 2020 VNG Corporation มีรายได้อยู่ที่ 8,150 ล้านบาท
โดยมีสัดส่วนรายได้มาจากธุรกิจเกม 80%
ธุรกิจแพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตและอื่น ๆ อีก 20%
ในขณะที่ธุรกิจทั้งหมดของบริษัทได้รองรับการให้บริการครอบคลุม 15 ภาษาใน 193 ประเทศทั่วโลก และล่าสุดถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 6.8 หมื่นล้านบาท
จริง ๆ แล้ว บริษัทแห่งนี้ได้มีรายงานว่าจะจดทะเบียนเข้า Nasdaq หรือตลาดหุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2018 หรือราว 3 ปีก่อน แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่แล้วเสร็จ และยังไม่ได้มีข้อมูลอัปเดตอะไรเพิ่มเติม
ก็น่าติดตามกันต่อไปว่า
หาก VNG Corporation เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จ
นักลงทุนจะให้มูลค่ากับบริษัทแห่งนี้ ไว้ที่เท่าไร
และหากเรามองจากมุมของคนไทย
ที่ส่วนใหญ่เวลาเรามีตัวเลขทางเศรษฐกิจอะไร
ก็มักจะนำไปเทียบกับเวียดนาม
แน่นอนว่าในหลายเรื่อง ประเทศไทยยังนำหน้าประเทศเวียดนามอยู่มาก
แต่ก็คงไม่ใช่ธุรกิจสตาร์ตอัปอย่าง VNG Corporation
ที่ตอนนี้ดูเหมือนว่า เขาจะนำหน้าเรา ไปไกลพอสมควร..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.crunchbase.com/organization/vng
-https://www.vng.com.vn/article/about/history.html
-https://www.techinasia.com/le-hong-minh-vng-story
-https://www.techinasia.com/world-warrior-vietnamese-unicorn-vng
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/Vietnam-s-first-unicorn-bets-on-AI-and-overseas-growth
-http://english.vietnamnet.vn/fms/business/179419/vng-corporation-to-ipo-on-nasdaq.html
gojek ipo 在 ลงทุนแมน Youtube 的精選貼文
Grab กำลังจะเข้า ตลาดหุ้นแล้ว..
Grab เป็น Start Up หนึ่งในผู้นำตลาดแอปเรียกรถ ธุรกิจส่งอาหาร และกำลังเข้ามารุกธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Grab เปิดตัวเมื่อ 8 ปีที่แล้ว และตอนนี้เพิ่งมีข่าวว่า Grab กำลังจะ IPO เพื่อระดมเงินทุนกว่า 60,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ต่อสู้ในธุรกิจ Platform และเดินหน้าสู่การเป้าหมายการเป็น Super App ในอนาคต
หาก Grab ระดมทุนสำเร็จ คาดการณ์ว่า Grab จะมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 5 แสนล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารไทยพาณิชย์
การประกาศของ Grab ที่จะเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ครั้งนี้ มีความน่าสนใจอย่างไร? ติดตามการวิเคราะห์เรื่องนี้เพิ่มเติมกันได้ ใน ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง Podcast
ลงทุนแมน ลงทุนในความรู้
การลงทุนในความรู้ไม่มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรกด Subscribe @ลงทุนแมน
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website -https://www.longtunman.com/
Blockdit - https://www.blockdit.com/longtunman
Facebook - http://facebook.com/longtunman
Twitter - http://twitter.com/longtunman
Instagram - http://instagram.com/longtunman
Line - http://page.line.me/longtunman
YouTube - https://www.youtube.com/longtunman
Spotify - http://open.spotify.com/show/4jz0qVn1...
Soundcloud - http://soundcloud.com/longtunman
Apple Podcasts - http://podcasts.apple.com/th/podcast/...
Clubhouse - @longtunman
#ลงทุนแมน #ห้องประชุมลงทุนแมน #ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง #BREAKTHROUGH #THEBRIEFCASE #longtunman #ลงทุนแมนORIGINALS #ลงทุนเกิร์ลTALK #ลงทุนเกิร์ล