ยูนิคอร์นใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ทำธุรกิจอะไร ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศสวีเดน เป็นต้นกำเนิดของธุรกิจที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายบริษัท
ยกตัวอย่างชื่อที่เราน่าจะรู้จักกันดี เช่น
- IKEA ห้างค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์
- H&M ร้านเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่น
- Spotify แพลตฟอร์มสตรีมมิงเพลง
และสำหรับวงการสตาร์ตอัป
ในตอนนี้ สวีเดนก็มีสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์น ชื่อว่า “Klarna”
ซึ่งมีมูลค่าบริษัท 9.5 แสนล้านบาท
ใหญ่ที่สุดในบรรดาสตาร์ตอัปของทวีปยุโรป
แล้ว Klarna ทำธุรกิจอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Klarna เป็นบริษัทเทคโนโลยีกลุ่มธุรกิจ FinTech จากประเทศสวีเดน
ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 โดยคุณ Sebastian Siemiatkowski, คุณ Niklas Adalberth และคุณ Victor Jacobsson
โดยก่อนหน้านี้ คุณ Siemiatkowski เคยทำงานที่บริษัทบริการติดตามหนี้ให้กับร้านค้าออนไลน์
ซึ่งเขาพบว่าในขณะนั้น ระบบชำระเงินบนเว็บไซต์ E-commerce ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน
ทำให้คนไม่กล้าซื้อสินค้าออนไลน์ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงิน จนผิดนัดชำระ
ด้วยเหตุนี้ คุณ Siemiatkowski จึงเห็นโอกาสสร้างแพลตฟอร์มระบบชำระเงิน
เพื่อช่วยให้การซื้อสินค้าออนไลน์ มีความสะดวกสบายมากขึ้น
โดยมีแนวคิดเสนอทางเลือกให้ลูกค้าสามารถ “ซื้อก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง” ได้ แบบไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือดอกเบี้ย
เขาเลยเล่าไอเดียให้เพื่อนมหาวิทยาลัยฟัง คือ คุณ Adalberth กับคุณ Jacobsson
ซึ่งต่อมา ทั้ง 3 คน ก็ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Klarna ขึ้นมา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรก พวกเขากลับประสบปัญหาในการระดมทุน
เพราะนักลงทุนมองไม่ออกว่า บริษัทจะทำกำไรได้อย่างไร หากไม่มีการเก็บดอกเบี้ย รวมทั้งยังต้องรับความเสี่ยงกรณีผู้ซื้อไม่จ่ายเงินตามกำหนดแทนร้านค้าออนไลน์อีกด้วย
จนกระทั่ง คุณ Jane Walerud นักลงทุนชื่อดังของสวีเดน มีความสนใจในโมเดลธุรกิจดังกล่าว และให้เงินทุน 2.2 ล้านบาท พร้อมแนะนำนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้อีก 5 คน แลกกับหุ้นสัดส่วน 47% ของบริษัท
นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่ดูไม่น่าเกิดขึ้นได้อย่าง Klarna..
ในปัจจุบัน ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์ม Klarna มีทางเลือกในการจ่ายเงินซื้อสินค้าออนไลน์ ดังนี้
1. จ่ายเต็มจำนวน ใน 30 วันข้างหน้า ซึ่งเหมาะกับคนที่ต้องการลองใช้สินค้าก่อน เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น
2. แบ่งผ่อนชำระ 4 งวด โดยไม่มีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งมีกำหนดจ่ายทุก ๆ 2 สัปดาห์
3. ขอกู้สินเชื่อมาจ่ายค่าสินค้า โดยมีกำหนดเวลาคืนเงินกู้ 6 - 36 เดือน ซึ่งวงเงินและอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับข้อมูลเครดิตและประวัติของลูกค้า
โดยหากลูกค้าไม่จ่ายเงินตามกำหนดเวลา ก็จะมีค่าปรับประมาณ 1,000 บาท และ Klarna ก็จะขายหนี้เสียเหล่านั้น ไปให้กับบริษัทติดตามทวงหนี้ต่อไป
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงเริ่มสงสัยเหมือนกันแล้วว่า
ถ้าลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินตรงเวลา Klarna จะหากำไรมาจากไหน ?
เมื่อไม่คิดดอกเบี้ยกับฝั่งลูกค้า บริษัทจึงหันไปเก็บค่าบริการจากร้านค้าออนไลน์แทน
โดย Klarna จะหักค่าบริการคงที่ประมาณ 10 บาทต่อรายการ และคิดค่าบริการส่วนเพิ่มอีก 3.29 - 5.99% ของมูลค่าซื้อขายสินค้า ขึ้นอยู่กับรูปแบบการผ่อนชำระของลูกค้า
นอกจากนั้น ยังมีรายได้เพิ่มเติมจากการขายระบบวิเคราะห์ข้อมูล และระบบแช็ตติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ในรูปแบบ Subscription ประมาณ 900 บาทต่อเดือน
คำถามถัดมา คือ ทำไมผู้ขายสินค้าถึงยอมจ่ายค่าบริการให้กับ Klarna ?
เหตุผลเนื่องจาก เมื่อลูกค้าจ่ายเงินซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น และมีทางเลือกให้ค่อย ๆ ผ่อนชำระได้
มันส่งผลให้ยอดขายของร้านค้าออนไลน์ ดีขึ้นอย่างชัดเจน
จากผลสำรวจพบว่า แพลตฟอร์ม Klarna ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 44% และมียอดสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น 68% ซึ่งคุ้มค่ากับเงินบางส่วนที่หักไปจ่ายให้ Klarna
และไม่ว่าลูกค้าจ่ายเงินตามกำหนดหรือไม่ ร้านค้าออนไลน์ก็จะได้รับเงินจาก Klarna มาตั้งแต่แรกเลย ซึ่งลดความเสี่ยงเรื่องเงินทุนหมุนเวียนของกิจการไปได้มาก
ทำให้มีแบรนด์ดัง ตกลงร่วมเป็นพาร์ตเนอร์กับ Klarna กว่า 250,000 ราย ใน 17 ประเทศทั่วโลก เช่น H&M, Etsy, Calvin Klein, Sephora
ซึ่งทำให้ Klarna เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติการระบาดของโควิด 19 ที่คนเปลี่ยนมาชอปปิงทางโลกออนไลน์กันมากขึ้น
โดยล่าสุด มีผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม 90 ล้านราย และมียอดทำรายการกว่า 2 ล้านครั้งต่อวัน
ลองมาดูผลประกอบการของ Klarna
ปี 2018 รายได้ 20,000 ล้านบาท กำไร 400 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 26,000 ล้านบาท ขาดทุน 3,200 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 36,000 ล้านบาท ขาดทุน 5,000 ล้านบาท
จริง ๆ แล้ว ที่ผ่านมา Klarna เป็นสตาร์ตอัปที่ทำกำไรมาได้ตลอด
แต่ในระยะหลัง บริษัทมีการขยายธุรกิจไปหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา
จึงทำให้มีต้นทุนส่วนเพิ่มในการขยายกิจการ และต้องขาดทุน
ทั้งนี้ จากการระดมทุนรอบล่าสุดในปี 2021
Klarna ถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้อยู่ที่ 9.5 แสนล้านบาท
ซึ่งถือเป็นสตาร์ตอัประดับยูนิคอร์น ที่มีขนาดใหญ่สุดในทวีปยุโรป
โดยมีบริษัทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เข้ามาลงทุนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Ant Group, H&M, Visa รวมถึงบริษัทและกองทุนชื่อดังอย่าง Sequoia Capital และ BlackRock
อย่างไรก็ตาม โมเดลธุรกิจแบบ ซื้อก่อน-จ่ายทีหลัง ของ Klarna
มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้คนใช้จ่ายเกินตัว และก่อหนี้สินมากกว่าที่จำเป็น
ซึ่งหน่วยงานภาครัฐก็มีแนวโน้มเข้ามากำกับอย่างเข้มงวดในอนาคตเช่นกัน
เรื่องราวนี้แสดงให้เห็นว่า
ผู้บริโภคกำลังได้รับประโยชน์จากการพัฒนาของเทคโนโลยี ที่ทำให้ชีวิตมีทางเลือกมากมาย
ดังเช่นการซื้อสินค้าออนไลน์ ที่จะจ่ายเงินเต็ม ผ่อน หรือกู้ยืม ก็ได้
ซึ่งทำให้แพลตฟอร์มตัวกลางอย่าง Klarna
กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงกว่าธนาคารหรือธุรกิจบัตรเครดิตบางแห่งเสียอีก
แต่เราคงต้องไม่ลืมด้วยว่า
จริง ๆ แล้ว ตัวเรามีความสามารถในการซื้อสินค้าเหล่านั้นได้มากน้อยแค่ไหน
เพราะไม่ว่าจะผลักภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกไปไกลเท่าไร
สุดท้ายที่ปลายทาง เรายังคงต้องจ่ายมันทั้งหมดอยู่ดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://productmint.com/the-klarna-business-model-how-does-klarna-make-money/
-https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/121316/how-klarna-lets-you-pay-later-no-interest.asp
-https://www.cnbc.com/2021/02/25/klarna-to-raise-1-billion-at-31-billion-valuation.html
-https://www.klarna.com/international/about-us/
-https://www.klarna.com/assets/2021/02/25062747/Annual-Financial-Statement-Release-Klarna-Bank-AB-publ-2020-Final.pdf
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過7萬的網紅MELO LO,也在其Youtube影片中提到,►INSTAGRAM: http://instagram.com/imlmelo ►FACEBOOK: http://facebook.com/melosuisui ►ME WE : Melo Lo For business and other inquiries please email m...
ikea business model 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ทำไม สวีเดน จึงเป็นประเทศแห่ง ผู้ประกอบการระดับโลก? /โดย ลงทุนแมน
หากมีการจัดอันดับประเทศในโลก
ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่เหมาะแก่การทำธุรกิจมากที่สุด
หรือประเทศที่มีนวัตกรรมโดดเด่นที่สุด
จะต้องมีชื่อ “สวีเดน” ติดอันดับ Top 5 แทบทุกครั้ง
สวีเดนตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป มีทิวทัศน์อันสวยงามและเต็มไปด้วยทะเลสาบ
มีขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน
ถึงแม้จะมีประชากรน้อย แต่ชาวสวีเดนกลับสร้างสรรค์แบรนด์ระดับโลกประดับไว้ในแทบทุกวงการ
เฟอร์นิเจอร์มีแบรนด์ IKEA
เสื้อผ้ามีแบรนด์ H&M
รถยนต์มี Volvo
ส่วนเทคโนโลยีก็มี Spotify
อะไรที่ทำให้ประเทศที่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน
ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ประกอบการ ก่อตั้งบริษัทใหญ่ที่ขายสินค้าให้คนทั้งโลก?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สวีเดน จึงเป็นประเทศแห่ง ผู้ประกอบการระดับโลก?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
สวีเดนเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่เรียกว่า สแกนดิเนเวีย
ร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างเดนมาร์ก และนอร์เวย์
ผู้คนในประเทศเหล่านี้ เป็นลูกหลานของบรรพบุรุษชาวไวกิง ที่มีฝีมือขึ้นชื่อในเรื่องของการสู้รบและการเดินเรือ
ด้วยการทำอาวุธและการต่อเรือนี่เอง ที่ทำให้ทักษะงานช่าง และความเป็นนักประดิษฐ์
แฝงอยู่ในสายเลือดของชาวสวีเดนมาตั้งแต่ยุคโบราณ
สวีเดนเป็นประเทศที่มีประชากรน้อย สินค้าและบริการที่ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา
จึงจำเป็นที่จะต้องมีตลาดต่างประเทศเป็นฐานรองรับ
“การขายสินค้าให้คนทั้งโลก” จึงเป็นความตั้งใจหลักของผู้ประกอบการชาวสวีเดน
แต่การที่จะมี Vision ในการขายสินค้าให้คนทั้งโลกไม่ใช่เรื่องง่าย
ชาวสวีเดนจำเป็นต้องมี Action ซึ่งเกิดจากองค์ประกอบหลายประการร่วมกัน
ประการแรก คือ “องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์”
รู้หรือไม่ว่า สิ่งรอบตัวที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากการประดิษฐ์คิดค้น
ของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิองศาเซลเซียส,
ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต และระเบิดไดนาไมต์
ความรุ่งเรืองทางวิทยาการมีจุดเริ่มต้นย้อนไปในศตวรรษที่ 15
เมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแห่งแรกในแถบสแกนดิเนเวีย คือ มหาวิทยาลัยอุปซอลา
(Uppsala Universitet) ในเมืองอุปซอลา ทางตอนเหนือของกรุงสต็อกโฮล์ม
เมื่อสวีเดนประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่จำกัดอำนาจของราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1719
กลายเป็นรากฐานของประชาธิปไตยและเสรีภาพ นำมาสู่ความเบ่งบานทางวิชาการและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ โดยมีมหาวิทยาลัยอุปซอลาเป็นกำลังสำคัญ ที่ผลิตบุคคลป้อนเข้าสู่แวดวงวิชาการ
ทั้ง Anders Celsius ผู้พัฒนาระบบการแบ่งช่องในเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ ซึ่งต่อมาถูกเรียกว่า “องศาเซลเซียส” ตามชื่อของเขา
Carl Linnaeus นักพฤกษศาสตร์ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ นำมาสู่การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการศึกษาชีววิทยา
Linnaeus ยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ในปี ค.ศ. 1739
ซึ่งกลายเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในยุคต่อมา
โดยเฉพาะการก่อตั้ง KTH Royal Institute of Technology ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ในปี ค.ศ. 1824 ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีที่ผลิตนักประดิษฐ์มากมาย
หนึ่งในนั้นคือพ่อของนักประดิษฐ์ชาวสวีเดนผู้ยิ่งใหญ่ Alfred Nobel
Alfred Nobel ได้รับความรู้ด้านการประดิษฐ์คิดค้นมาจากผู้เป็นพ่อ ต่อมาเมื่อย้ายไปอยู่รัสเซียได้ศึกษาด้านเคมีจนสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์มากมาย โดยเฉพาะ “ระเบิดไดนาไมต์” ที่ช่วยปฏิวัติการทำเหมืองแร่
Nobel เป็นผู้นำสิ่งประดิษฐ์มาแปรเป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ทำรายได้มหาศาล
ในช่วงบั้นปลายชีวิตเขาได้ตัดสินใจก่อตั้งรางวัลโนเบล
รางวัลที่เป็นเกียรติยศสูงสุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะได้รับจากความสำเร็จของการศึกษาวิจัยค้นคว้า
ถึงแม้จะมีวิทยาการที่ก้าวหน้า แต่ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านก็ทำให้สวีเดนเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรปหลายสิบปี
แต่ข้อได้เปรียบของสวีเดนคือการมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
โดยเฉพาะป่าไม้ และแร่เหล็ก สิ่งเหล่านี้เป็นที่ต้องการอย่างมากของประเทศที่กำลังรุ่งโรจน์ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส สวีเดนจึงดึงดูดการลงทุนจากนักธุรกิจของประเทศเหล่านี้
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จึงเริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่รอบๆ กรุงสต็อกโฮล์มและเขตเมืองใหญ่
ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมก็ปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองต่อการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนจากระบบหมู่บ้านที่เกษตรกรจะอาศัยทำกินในที่ดินร่วมกัน กลายเป็นต่างคนต่างเพาะปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิต
แต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วครั้งนี้ ก็ทำให้ครัวเรือนเกษตรกรจำนวนมากปรับตัวไม่ทัน
ในขณะที่ช่วงเวลาไล่เลี่ยกันที่อีกซีกโลกหนึ่ง ประเทศน้องใหม่อย่างสหรัฐอเมริกากำลังขยายประเทศ
มีกฎหมายที่สนับสนุนให้มีการขายที่ดินในราคาถูกจนเหมือนให้เปล่าแก่ผู้ที่กล้าเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังแถบตะวันตก
สิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นคือ ครัวเรือนเกษตรกรเกือบ 1 ล้านคน ตัดสินใจอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังสหรัฐอเมริกา
ซึ่งคิดเป็นเกือบ 1 ใน 4 ของประชากรสวีเดนในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในครั้งนั้นเอง ได้นำมาสู่ปัจจัยสำคัญต่อการสร้างแบรนด์ของสวีเดน
นั่นก็คือ..
ประการที่ 2 “ความเท่าเทียม”
การอพยพออกจากประเทศครั้งใหญ่ของชาวสวีเดนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ประการ
ประการแรก ทำให้ประชากรวัยแรงงานลดลงอย่างมาก เมื่อสวีเดนปฏิวัติอุตสาหกรรมและมีโรงงานที่ต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น ผลที่ได้คือ แรงงานที่เหลืออยู่ได้รับค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น
ประการต่อมา เมื่อรัฐสภาได้สำรวจสาเหตุของการอพยพอย่างจริงจัง
เผยให้เห็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่มานาน นั่นก็คือ ความยากจน และความไม่เท่าเทียมในสังคม
เมื่อปัญหาสังคมถูกเปิดเผย ประกอบกับผู้คนที่มีรายได้มากขึ้น จึงเริ่มมีการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ท้ายที่สุดก็นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งสำคัญที่สุดของสวีเดน นั่นคือ
“ก่อกำเนิดรัฐสวัสดิการ”
สหภาพแรงงานถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1898 เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
รัฐบาลที่มาจากพรรคสังคมประชาธิปไตยได้ให้การช่วยเหลือแรงงานในการเจรจาข้อตกลงกับเหล่านายทุน จนกลายเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เหล่าแรงงานมีสวัสดิการการทำงานที่ดีมากขึ้น
ทั้งการได้รับเงินสมทบ การลาพักร้อน และการประกันอุบัติเหตุระหว่างทำงาน
ในขณะที่สังคมทั่วไปก็มีระบบบำนาญสำหรับผู้สูงอายุ เงินช่วยเหลือสำหรับคนยากจนและคนพิการ เงินอุดหนุนเด็กและการศึกษา
จากจุดเริ่มต้น ระบบสวัสดิการของสวีเดน หรือ “Swedish Model” ถูกพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ
จนได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
สร้างความรู้สึกมั่นคงให้กับชาวสวีเดนตั้งแต่ลืมตาดูโลกจนถึงลมหายใจสุดท้าย
สิ่งนี้กลายเป็นส่วนผลักดันให้การทำงานมีประสิทธิภาพ
เมื่อรวมกับการที่สวีเดนดำรงความเป็นกลางในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
ผลที่ได้คือ เศรษฐกิจของสวีเดนเริ่มเติบโตอย่างโดดเด่นในช่วงหลังสงครามโลก
ความเท่าเทียมกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของสังคมสวีเดน
การมองว่าทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี ถูกถ่ายทอดมาสู่การสร้างสินค้า
และกลายเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของแบรนด์สวีเดน..
Volvo รถยนต์ที่พลิกหน้าประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมยานยนต์ด้วยแนวคิดเรื่อง “ความปลอดภัย” นำไปสู่การคิดค้นเข็มขัดนิรภัย และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนที่นั่งอยู่บนรถ
IKEA แบรนด์เฟอร์นิเจอร์และสินค้าตกแต่งบ้านที่มีความหลากหลาย ดีไซน์สวยงาม พร้อมทั้งประโยชน์ใช้สอยคุ้มค่า ในราคาที่ผู้คนทั่วไปเป็นเจ้าของได้
H&M ร้านเสื้อผ้าแฟชั่นที่ดูดี แต่ก็ยังคงไว้ด้วยราคาที่ทำให้คนทั่วไปสามารถหาซื้อได้ง่ายในราคาสบายกระเป๋า
สินค้าสวีเดนไม่ใช่สินค้าหรูหราราคาแพง แต่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม
และด้วยความเข้าถึงได้นี่เอง จึงทำให้แบรนด์สวีเดนค่อยๆ ก้าวขึ้นมาตีตลาดโลกจนเป็นผลสำเร็จ
ทศวรรษ 1970s - 1990s เมื่อแบรนด์เหล่านี้ออกสู่ตลาดโลก เศรษฐกิจของสวีเดนจึงเติบโตอย่างก้าวกระโดด
แต่สวัสดิการสังคมที่ดีก็นำมาสู่ปัญหาค่าใช้จ่ายของภาครัฐ
อีกทั้งการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของประเทศในเอเชีย ทำให้บริษัทสวีเดนเริ่มประสบปัญหาในการแข่งขัน
แบรนด์สวีเดนจะอยู่อย่างยั่งยืนไม่ได้ โดยปราศจากปัจจัยสุดท้าย ซึ่งก็คือ..
ประการที่ 3 การวางแผนจากรัฐบาล
เมื่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ของประเทศในแถบเอเชียเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทสวีเดนเริ่มสูญเสียศักยภาพในการแข่งขัน
เมื่อรวมกับปัญหาค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้รัฐบาลสวีเดนต้องเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ
องค์กรรัฐวิสาหกิจหลายแห่งถูกปฏิรูป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
ทั้งลดจำนวนคน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาแข่งขัน
อุตสาหกรรมหลายด้าน โดยเฉพาะเหล็กและยานยนต์ ถูกปรับให้มีความเฉพาะทางมากขึ้น
และจำเป็นที่จะต้องบุกเบิกอุตสาหกรรมใหม่ๆ นั่นคือ “อุตสาหกรรมเทคโนโลยี”
ปี ค.ศ. 1991 กระทรวงอุตสาหกรรมของสวีเดน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น
กระทรวงผู้ประกอบการ และนวัตกรรม (Ministry of Enterprise and Innovation)
ที่ให้ความสำคัญในการวางนโยบายให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่จะนำมาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
การสนับสนุนงบประมาณคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีตั้งแต่ในโรงเรียน รวมถึงสนับสนุนงบประมาณร่วมกับมหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนในการวิจัยและพัฒนา
การลดภาษีนิติบุคคล จากอัตราสูงถึง 52% ในปี ค.ศ. 1990 เหลือประมาณ 22%
และลดภาษีสำหรับบริษัทที่ก่อตั้งมาไม่เกิน 10 ปี มีพนักงานไม่เกิน 50 คน และมีรายได้ไม่เกิน 80 ล้านโครนาสวีเดน หรือประมาณ 290 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กที่มีความสามารถ โดยเฉพาะบริษัทสตาร์ตอัป สามารถเข้ามาแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้
จากการทุ่มเทเป็นเวลามากกว่า 10 ปี สวีเดนก็ให้กำเนิดบริษัทใหม่ๆ ด้านเทคโนโลยีและบริการ หนึ่งในนั้นคือ..
“Spotify” บริษัทที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 2006
ทำธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มฟังเพลงออนไลน์ที่นำเอาเทคโนโลยี AI มาวิเคราะห์ประวัติการฟังเพลงในอดีต เพื่อแนะนำ Playlist ที่น่าจะเหมาะกับความชอบส่วนตัวของแต่ละคน และต่อยอดมาสู่การเป็นแพลตฟอร์ม Podcast ที่นักฟังทั่วโลกคุ้นเคย
ปัจจุบัน สวีเดนเป็นประเทศที่ใช้งบวิจัยและพัฒนาสูงมาก คิดเป็นสัดส่วนถึง 3.37% ของ GDP
และจัดอยู่ในระดับ Top 5 ของโลกที่ใช้งบวิจัยและพัฒนาต่อ GDP สูงสุด
ซึ่งนอกจากงานวิจัยด้านเทคโนโลยีแล้ว สวีเดนยังเน้นหนักไปในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ จนสามารถสร้างบริษัทระดับโลกด้านการแพทย์ เช่น
AstraZeneca บริษัทยาสัญชาติสวีเดน-อังกฤษ ที่เป็นหนึ่งในผู้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
BioGaia บริษัทที่เป็นผู้นำในด้านการพัฒนาจุลินทรีย์โพรไบโอติก
สวีเดนยังมีกฎหมายที่อนุญาตให้พนักงานบริษัทสามารถลางานได้ถึง 6 เดือน แล้วออกไปเริ่มต้นทำธุรกิจของตนเอง เพื่อต้องการกระตุ้นให้ประชาชนมีวิธีคิดแบบผู้ประกอบการ และริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆสู่สังคม
มาถึงตรงนี้ การที่แบรนด์สวีเดนเติบโตจนเป็นแบรนด์ระดับโลก
ไม่ได้เกิดจาก Vision หรือเป้าหมายของผู้ประกอบการที่จะขายคนทั้งโลกเพียงอย่างเดียว
แต่ต้องมี Action คือ การพัฒนาองค์ประกอบหลายๆ ด้านไปพร้อมกัน
ทั้งองค์ความรู้ ที่ต่อยอดจากวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มาสู่นวัตกรรมขั้นสูง
ความเท่าเทียมของผู้คน ที่ส่งผลให้แบรนด์สวีเดนสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคนส่วนใหญ่
และนโยบายจากภาครัฐ ที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เอื้อต่อการลงทุน และเปิดโอกาสให้ภาคธุรกิจได้พัฒนาต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
แบรนด์สวีเดนสามารถเข้าถึงคนได้ทั่วโลก และประเทศแห่งนี้ก็สร้างผู้ประกอบการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
บนโลกที่หมุนเร็วขึ้นทุกวัน มีไอเดียและความฝันเกิดขึ้นมากมาย
ประเทศแห่งนี้เตรียมพร้อมทุกอย่างที่จะทำให้สิ่งเหล่านั้น กลายเป็นความจริง
“สวีเดน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://eh.net/encyclopedia/sweden-economic-growth-and-structural-change-1800-2000/
-https://www.independent.co.uk/news/business/news/sweden-s-technology-powerhouse-shows-brexit-britain-positive-way-fix-its-ailing-economy-a8118641.html
-https://www.departures.com/lifestyle/home-design/swedish-companies-rule-the-world
-http://www.thaifta.com/thaifta/Portals/0/Sweden360_sep57.pdf
-https://www.government.se/contentassets/cbc9485d5a344672963225858118273b/the-swedish-innovation-strategy
-https://data.worldbank.org/indicator/GB.XPD.RSDV.GD.ZS
ikea business model 在 多益達人 林立英文 Facebook 的精選貼文
【時事英文】
Why Japan Celebrates Christmas with KFC?
為何日本人聖誕節一定要吃肯德基?
Every Christmas, Ryohei Ando gathers his family together for a holiday tradition. Just like their father did as a child, his two children will reach deep into a red-and-white bucket and pick out the best piece of fried chicken they can find.
每年聖誕節,安藤量平都會找他的家人一起來按照傳統方式慶祝。就像安藤先生年幼時所做過的事情一樣,他的兩個孩子們會將小手伸入紅色與白色相間的紙桶內取出他們所能找到最美味部位的炸雞。
Yes, it’s a Merry KFC Christmas for the Ando family. It may seem odd anywhere outside Japan, but Ando’s family and millions of others would never let a Christmas go by without Kentucky Fried Chicken. Every Christmas season an estimated 3.6 million Japanese families treat themselves to fried chicken from the American fast-food chain, in what has become a nationwide tradition.
是的,這又是安藤一家的快樂肯德基聖誕節。或許這種慶祝方式在日本以外的地方看起來都是相當的怪異,可是安藤家及其他數百萬的日本家庭都會以享受肯德基炸雞的方式來度過聖誕佳節。每次聖誕檔期,估計都有三百六十萬戶日本家庭會從肯德基取走訂購的炸雞餐點並享用,這早已是舉國皆然的傳統了。
“My kids, they think it’s natural,” says Ando, a 40-year-old in the marketing department of a Tokyo sporting goods company.
年方四十,且任職於東京的一家體育用品公司行銷部門的安藤說:「我的小孩們認為這(聖誕節吃肯德基炸雞慶祝)是一件很自然的事情。」。
While millions do celebrate Christmas with KFC, others in Japan treat it as a romantic holiday similar to Valentine’s Day, and couples mark the occasion with dinner in upscale restaurants. For other Japanese families, Christmas is acknowledged but not celebrated in any particular way.
儘管在日本有數百萬家庭用肯德基來慶祝聖誕節,其他的人們卻將這個節日視作和西洋情人節類似的一個浪漫日子,所以情侶們會以在高檔餐廳享用耶誕大餐來為這個特別時刻留下紀念。至於對其他的日本家庭來說,他們認同聖誕節的存在,卻不會用任何特別的方式來慶祝這一天。
But for those who do partake, it’s not as simple as walking in and ordering. December is a busy month for KFC in Japan – daily sales at some restaurants during the Christmas period can be 10 times their usual take. Getting the KFC special Christmas dinner often requires ordering it weeks in advance, and those who didn’t will wait in line, sometimes for hours.
不過對於那些確實會參與這麼一個特別日子的人們來說,想吃肯德基卻不是一件簡單到只要走進店裡並點餐就好的事了。對位於日本的所有肯德基分店來說,十二月是他們接單接到手軟的時刻──有些分店在聖誕檔期的日銷售額可以多達平時的十倍。想要拿到肯德基耶誕特餐組合通常需要在好幾個禮拜前就開始預訂,而要是有沒預訂,想要現場排隊的人,那他們可能都得等上好幾個小時才能取餐。
The genesis of Japan’s KFC tradition is a tale of corporate promotion that any business heading to Japan ought to study, one that sounds almost like a holiday parable.
創下在日本這般盛行的肯德基傳統,可說是企業行銷的傳奇故事,且任何打算進軍日本的企業都應該加以學習,雖說這故事的由來聽起來幾乎像是種比喻。
According to KFC Japan spokeswoman Motoichi Nakatani, it started thanks to Takeshi Okawara, the manager of the first KFC in the country. Shortly after it opened in 1970, Okawara woke up at midnight and jotted down an idea that came to him in a dream: a “party barrel” to be sold on Christmas.
根據肯德基日本分公司的發言人中谷元一表示,在聖誕節吃肯德基這個點子是起自於日本第一位肯德基分公司的經理,大河原毅。在日本的第一家肯德基於1970年開幕後不久,店長大河原毅在半夜醒來並振筆疾書,寫下他夢到的一個主意:在聖誕節時賣「派對全家餐」。
Okawara dreamed up the idea after overhearing a couple of foreigners in his store talk about how they missed having turkey for Christmas, according to Nakatani. Okawara hoped a Christmas dinner of fried chicken could be a fine substitute, and so he began marketing his Party Barrel as a way to celebrate the holiday.
大河原是在聽到一對外國夫婦在店內用餐時,聊到很思念在聖誕節吃火雞的日子後才夢到該點子的。於是他期望炸雞可能是個在聖誕節晚餐桌上,取代火雞的絕佳替代品,便開始行銷起「派對全家餐」來作為慶祝聖誕節的方式。
In 1974, KFC took the marketing plan national, calling it Kurisumasu ni wa Kentakkii, or Kentucky for Christmas. It took off quickly, and so did the Harvard-educated Okawara, who climbed through the company ranks and served as president and CEO of Kentucky Fried Chicken Japan from 1984 to 2002.
肯德基在1974年起,於全日本採用這項叫做《聖誕節就是要肯德基》的行銷計畫,並很快地獲得成功,而曾於哈佛念書的大河原也從1984至2002年期間,一路從店長晉升到日本肯德基總裁兼執行長的職位。
The Party Barrel for Christmas became almost immediately a national phenomenon, says Joonas Rokka, associate professor of marketing at Emlyon Business School in France. He has studied the KFC Christmas in Japan as a model promotions campaign.
法國里昂商學院行銷學副教授羅卡表示,肯德基的聖誕節「派對全家餐」幾乎馬上成為一種風靡全國的現象。羅卡自過去就開始了解日本的聖誕節吃肯德基風潮,並將其作為推銷活動範本來研究。
“It filled a void,” Rokka says. “There was no tradition of Christmas in Japan, and so KFC came in and said, this is what you should do on Christmas.”
羅卡表示:「它填補了一種虛榮。原本日本並沒有過聖誕節的傳統,因此肯德基就適時地切入告訴日本民眾,這是你們應該在聖誕節做的事。」
Advertisements for the company’s Christmas meals show happy Japanese families crowding around barrels of fried chicken. But it’s not just breasts and thighs – the meals have morphed into special family meal-sized boxes filled with chicken, cake, and wine. This year, the company is selling Kentucky Christmas dinner packages that range from a box of chicken for 3,780 yen, ($32), up to a “premium” whole-roasted chicken and sides for 5,800 yen. According to KFC, the packages account for about a third of the chain’s yearly sales in Japan.
在肯德基的聖誕歡樂餐廣告中,我們可以看到許許多多的日本家庭都一臉歡喜的圍繞在一桶桶的炸雞餐旁等著大快朵頤一番。但是這些全家餐裡頭並非只有雞胸肉和雞腿肉──這些套餐已經轉型成特殊家庭號尺寸的盒子,裡面裝有炸雞,蛋糕,還有紅酒。今年,肯德基販售聖誕外帶全家餐的套裝組合從3,780日圓(折合32塊美金)的純炸雞基本款,到所謂「高級款」的烤全雞加配餐,要價5,800日圓。根據肯德基所述,他們在日本的聖誕檔期販售的套餐業績,足佔全年營銷的三分之一。
It also helped that the stores dressed up the company mascot, the smiling white-haired Colonel Sanders, in Santa outfits. In a country that puts high value on its elders, the red satin-suited Sanders soon became a symbol of a holiday.
當肯德基的各家分店為公司的吉祥物,也就是一頭白髮,臉上掛著微笑的桑德斯上校(肯德基爺爺)加上聖誕裝扮後,更有刺激買氣的效果。在日本這麼一個重視年長者的國家,換上一身紅色聖誕服裝的肯德基爺爺,更是馬上成為了這個節日的最佳象徵。
“KFC on Christmas. It’s one of the strangest things I’ve heard,” Gillespie says. “If you brought a bucket of fried chicken to Christmas dinner, honestly, I’d be mad at you.”
「聖誕節吃肯德基,是我所聽過最奇怪的其中一件事了」一位外國人吉列斯比這麼認為。「坦白地說,如果你在聖誕節的晚餐桌上,擺上一桶炸雞,我會對你感到大為光火。」
It isn’t a crack on KFC’s products necessarily, says Gillespie. The general idea of bringing fast food to Christmas dinner “would be viewed as rude by most anyone,” Gillespie says.
吉列斯比繼續表示,並不是說一定要對肯德基的產品這樣子的感到不滿,而是一般歐美民眾的想法都認為,要是將速食帶到聖誕晚餐的場合,「大多數的人都會認為這是一件很無禮的舉動。」
In Japan, however, where around 1% of the population is Christian, Christmas isn’t an official holiday, Rokka says. So the idea that families are going to spend all day cooking a ham or turkey and side dishes just isn’t practical. Instead, they show up with a bucket of chicken.
不過,羅卡則說,在日本,只有百分之一人口是基督徒,且聖誕節又沒放假,所以日本的家庭根本沒空在家花一整天烹製火腿、火雞,和製作配菜以供聖誕大餐。相反地,當日本民眾下班後,帶一桶炸雞回家團聚,就成為相當實際的傳統。
“This is another sign of globalisation, where consumer rituals spread to other countries and often get translated in different ways,” Rokka says. “It’s not abnormal now to have an Ikea store everywhere in the world. This KFC for Christmas is just taking our consumerism and turning it into a holiday.”
羅卡以為:「這是另一種全球化的象徵,在如此的情況下,消費者慣例被散播到其他國家去,又再被當地民眾用不同方式去加以詮釋。」他繼續表示:「當我們看到全世界都有宜家家居的分店時,已不再會感到任何怪異之處。所以在日本的肯德基,也只是利用我們的消費者主義並將其與節日的意義相結合罷了。」
Having done some travelling abroad, Ando knows that his country might is alone in celebrating Christmas with a bucket of KFC. But for him, he sees the tradition as more than just a company promotion.
在經過一些出國旅遊的歷練後,安藤了解到他的出生地,日本,可能是唯一一個會以肯德基桶餐來慶祝聖誕節的國家。但是對他來說,他把這件事情看作一項傳統,多過於只是公司的行銷手法。
For Ando, he’s still planning to get KFC for his kids this year. But he goes to a bakery for the Christmas cake. On Christmas night, the family will gather around the KFC bucket, just as Ando once did as a child, and just as his children will do in another generation.
對安藤來說,他今年的聖誕節一樣打算要買肯德基歡樂餐給他的孩子們享用。但是他也會去烘焙坊買些聖誕節蛋糕。在聖誕夜的時候,這一家人將會圍繞在肯德基炸雞桶旁,這是安藤小時候曾做過的舉動,而且也是他的孩子們,另一個世代同樣會做的事情。
“It’s kind of a symbol of family reunion,” Ando says. “It’s not about the chicken. It’s about getting the family together, and then there just happens to be chicken as part of it.”
「聖誕節吃肯德基全家餐有點像是全家團聚的一種象徵」,安藤這麼表示,「這並不是跟那些炸雞有關,而是讓一家人能夠團圓,只不過剛好炸雞是團圓場合中的一部分就是了。」
#高雄人 #學習英文 請找 #多益達人林立英文
#時事英文
#多益全修班1月開課
ikea business model 在 MELO LO Youtube 的最佳貼文
►INSTAGRAM: http://instagram.com/imlmelo
►FACEBOOK: http://facebook.com/melosuisui
►ME WE : Melo Lo
For business and other inquiries please email me at
►CONTACT: melosuisui@yahoo.com.hk ◄
V Neck Rhombus Knitwear In Brown from @asuni.style : https://as-uni.com/products/v-neck-rhombus-knitwear-in-brown-pre-order-1
-------------------------------
MY OTHER VIDEOS :
- 收樓+驗樓日【VLOG】!? 香港 $6百萬買到咩上車盤?開箱378呎2房單位✨ 嚴重空鼓 + 漏水?HOUSE TOUR ► https://youtu.be/z_MN3cUjgCw
- 【VLOG】終於買了Tesla Model 3 !? 在公路上兩車駕駛是什麼體驗?汔油車轉電動車?| 小司機Melo EP.3 ► https://youtu.be/PVpsrGFUkao
- 超浪漫香港求婚紀錄!? I SAID YES! ❤️ 男友籌備過半年的大驚喜~Surprise proposal VLOG ► https://youtu.be/avSpcRuXnJY
- 【香港90後情侶 】一天給男朋友五個驚喜!❤️ 一週年 + 聖誕節禮物 ?? 5 Christmas Surprise + PRANK? ► https://youtu.be/WprUTmoXjnM
- [ 澳洲??EP1] 墨爾本9天遊 (必拍 ! 最美的日落 ~) | Travel to Melbourne VLOG 2018 ► https://youtu.be/qt0fv4nb-Ng
- 我在倫敦遇到扒手!??總結出:10個歐遊要知道的小貼士✈️ (內含整個手袋被偷經過) ► https://youtu.be/T29-cUDhcGU
- 閒遊台北 Taipei VLOG (自由行吃到飽 + 藥妝買到瘋) ► https://youtu.be/lZVPoNgK0Vw
- 50facts about me : 50 個關於我的小秘密 ► https://youtu.be/cDfGpWDgcKU
-------------------------------
FILMED & EDITED BY MELO LO
EDITING SOFTWARE
► Final Cut Pro X
CAMERA
►Canon G7x Markiii
FTC * ♥ This video is not sponsored ♥
Love,
Melo ♥
ikea business model 在 デューリー想乃 / Sono Duly Youtube 的最佳貼文
IKEAの商品紹介🤗
袋留めクリップ 1:45~
香り付きキャンドル 2:02~
ライトニングUSBケーブル 2:56~
クリアグラスボトル 3:26~
ふた付き容器 4:04~
ホワイトチョコ 5:20~
オーガニックジンジャーエール 6:00~
エルダーフラワードリンク 7:02~
love, xx
Follow me!
----------------------------------------------------------------------------------------------------
twitter...
▶http://www.twitter.com/sono_duly
instagram...
▶http://www.instagram.com/sonoduly
tiktok...
▶https://www.tiktok.com/@sonoduly
business...
▶sonoduly@gmail.com
----------------------------------------------------------------------------------------------------