Political Cycle ประกาศผลการเลือกตั้ง หุ้นจะขึ้นหรือจะลง?
.
วันที่เราจะได้รู้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐก็อยู่อีกไม่ไกลแล้ว
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์และกระแสมากมายจากสำนักข่าวทั่วโลก
นักข่าวและนักวิเคราะห์มากมายได้พูดถึงผลกระทบต่างๆในด้านนโยบายของประธานาธิบดีสองคนนี้
.
ไม่ว่าจะเป็น นโยบายต่างประเทศกับจีน, Trans-Pacific Partnership, การเพิ่มภาษีกลุ่มบริษัท Technology, ผลประโยชน์ต่อบริษัทกลุ่ม renewable energy, ถ้าไบเดนได้ หุ้นจะลง? หุ้นจะขึ้น?, ฯลฯ และอีกมากมาย
เรื่องเหล่านี้หาอ่านได้จากหลายบทความและหลายสำนักข่าว
การคาดเดาอนาคตที่ทุกคนก็พยายามจะตีความ, ทำนายและกะเก็งราคาไปต่างๆนาๆ
.
แต่...การเลือกตั้งไม่ใช่สิ่งใหม่ที่คนเพิ่งสนใจ
แน่นอน! ตั้งแต่ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งในปี 1789 สหรัฐอเมริกามีประธานาธิบดีมา 45 คน (รวมถึง Donald Trump)
และผ่านการเลือกตั้งมาหลายต่อหลายครั้ง ย่อมไม่แปลกที่จะมีนักเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยจำนวนมาก
ให้ความสนใจถึงผลกระทบของตลาดการเงินและทำการศึกษาและตีพิมพ์ผลงานวิจัยออกมาอย่างมากมายเลยครับ
.
วันนี้ผมอยากจะมาเล่าอีกมุมมองหนึ่งของการเลือกตั้งและตลาดการเงิน
ผ่านมุมมองของงานวิจัยแบบ empirical evidence (หลักฐานที่เกิดขึ้นจริงในอดีต) เรามาดูกันดีกว่าว่า มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจบ้างครับ !
.
* อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงการศึกษาจากหลักฐานและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งอาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดได้ 100% กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
** บทความนี้ไม่ได้เป็นการชี้แนะให้ซื้อหรือขายหุ้นแต่อย่างใด อยากให้ทุกคนลงทุนอย่างระมันระวังกันด้วยนะครับ
*** ผมไม่ได้เชียร์ใครเป็นพิเศษนะครับ เพียงแต่อยากจะเอา empirical fact มาพูดให้เพื่อนๆฟังกันครับ
.
=============
.
เริ่มกันเลยดีกว่า
มาดูกันว่าจากงานวิจัยมากมายที่ได้รับการตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์ชั้นนำระดับโลก มีการกล่าวถึงหัวข้อนี้อย่างไร
.
1. การเลือกตั้ง หมายถึง ความผันผวนที่เพิ่มขึ้น และ ผลตอบแทนระยะสั้นอาจะเป็นขาลง
.
(Increase Volatility & Short Term Negative Impact)
ในหนึ่งปีหลังการเลือกตั้ง ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นมักจะน้อยกว่าปีอื่นเล็กน้อย ข้อมูลจากปี 1926 - 2019 พบว่า CRSP index (ดัชนีหนึ่งที่บ่งบอกถึงผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลก อะไรคือ CRSP index? อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://riskproadvisor.com/factsheets/tpfgtamp/strategy1/models/VG_CRSP_100__Equity_063017_17-07-31-07-05.pdf)
.
ในปีมีการเลือกตั้ง ผลตอบแทนอยู่ที่ 10.6% เทียบกับปีอื่นๆที่อยู่ที่ 11.9%
ถึงแม้พิจารณาค่าเฉลี่ยดูไม่ต่างกันมาก แต่ถ้าพิจารณารายปีแล้ว 23 ครั้งที่มีการเลือกตั้ง ดัชนี CRSP มีผลตอบแทนติดลบถึง 7 ครั้ง
.
ในขณะที่ปีอื่นๆที่ไม่ได้มีการเลือกตั้งนั้น ผลตอบแทนเป็นบวกทั้งหมด
นอกเหนือจากนั้น การที่ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งต่อไป หากดูจากผลตอบแทน S&P500 index ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1928 - 2019
พบว่าผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 13.9% ในปีเลือกตั้ง ในขณะที่ถ้าประธานาธิบดีคนใหม่ได้รับการเลือกตั้งนั้น ผลตอบแทนอยู่ที่ 9.3%
คนเราไม่ชอบความไม่แน่นอนครับ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความไม่มั่นใจในนโยบายทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและแน่นอนจะส่งผลต่อความผันผวนระยะสั้นดังที่ได้กล่าวไว้ในงานวิจัยโดย Zorina et al ในปี 2019 หัวข้อ With Greater Uncertainty Comes Greater Volatility ตีพิมพ์ใน Journal of Index Investing
ว่าความผันผวนในระยะสั้นนั้น (วัดโดย VIX: Cboe Volatility Index (VIX) อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.investopedia.com/terms/v/vix.asp) มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่มีความสูสีคู่คี่มากครับ
.
2. ถ้าพรรคที่เชียร์ได้ เราจะมีมุมมองบวกต่อการลงทุน
.
ทุกคนย่อมมีพรรคการเมืองที่ตนเองชอบทั้งนั้น สำหรับสหรัฐแล้วคงหนีไม่พ้นสองพรรคใหญ่อย่าง Democrat และ Republican
จากงานวิจัยโดย Yosef, et al ในปี 2012 หัวข้อ Political Climate, Optimism, and Investment Decisions พบว่า
คนที่เชียร์พรรคอะไรอยู่มักจะมองว่า พรรคที่ตัวเองได้จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น และส่งผลให้ประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าความเป็นจริงได้
.
อย่างที่ทราบกันว่า ก็มีคนที่ชื่นชอบทั้งสองพรรค ดังนั้นมุมมองและความคาดหวังของนักลงทุนในด้านที่ใครจะได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ไม่ได้เป็นปัจจัยส่งผลโดยตรงต่อตลาดหรือสามารถใช้ในการทำนายตลาดได้เลยครับ
แต่ที่น่าสนใจกว่านั่นคือ หัวข้อถัดไป
.
3. Democrat vs. Republican and Medium term
.
งานวิจัยที่โด่งดัง โดย Santa-Clara และ Valkano ตีพิมพ์ใน Journal of Finance ปี 2003 ในหัวข้อ The Presidential Puzzle: Political Cycles and the Stock Market ได้ทำการศึกษาข้อมูลตั้งแต่ปี 1927 - 1998, ตั้งแต่ Roosevelt จนถึงสมัย Clinton มีบทสรุปที่น่าสนใจว่า
.
- ผลตอบแทนจากตลาดหุ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ
ในปีที่ ประธานาธิบดี Democrat ได้รับการเลือกตั้ง ผลตอบแทนจาก Largest Firms (หุ้นกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่) สูงกว่าในปีที่ Republican ได้รับเลือก ถึง 7% และยิ่งไปกว่านนั้น สำหรับ Smallest Firms (หุ้นกลุ่มบริษัทขนาดเล็ก) ผลตอบแทนในสมัยของ Democrat มากกว่าถึง 22%! โดยเฉลี่ยแล้วผลตอบแทนของ CRSP ต่างกันมากถึง 16%!นอกจากนั้น 3 month Treasury Bill โดยเฉลี่ยแล้ว ในสมัยของ Democrat ก็ยังคงสูงกว่าถึง 9%
.
- Santa-Clara และ Valkano พิสูจน์ว่าผลตอบแทนที่ต่างกันนั้นไมเกี่ยวข้องกับ Business Cycle Variable (ปัจจัยที่เกี่ยวกับวงจรของธุรกิจ)
- ความแตกต่างของผลตอบแทนไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้ง แต่ใช้เวลาในการเกิดขึ้นหลังจากได้รับการเลือกตั้งแล้ว
- ความผันผวนมักจะสูงกว่า ในสมัยที่ ประธานาธิบดีจาก Republican ได้รับการเลือกตั้ง !
.
ซึ่งนี่แปลว่า พรรค Democrat ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของสหรัฐและของโลกโดยรวม ใช่หรือไม่?
อาจจะไม่ใช่! เพราะว่าอะไร? เรามาดูกันในหัวข้อถัดไปกันครับ
.
4. Risk Aversion & Risk Premium
.
Risk Aversion คือ การที่คนหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (เช่นการลงทุนในหุ้นในสัดส่วนที่น้อยลง อาจจะลงในอย่างอื่นเช่นพันธบัตรมากขึ้นหรือเลือกท่ีจะเก็บในบัญชีธนาคารมากกว่า มีความระวังมากขึ้น รอลงเมื่อหุ้นราคาลงมามากๆเท่านั้น)
.
Risk Premium คือ อัตราส่วนต่างที่เราต้องการเพื่อเป็นค่าความเสี่ยง เหมือนเป็นส่วนต่างไว้กันเหนียว (เช่น ถ้าเรามองหุ้นบริษัท ก ไก่ มีความเสี่ยงมาก เราจะขอ Risk Premium มากขึ้น คือหุ้นต้องราคาต่ำมากจริงๆ มี Risk Premium มากจริงๆ ถึงจะกล้าซื้อ)เป็นธรรมดาที่คนเราจะกล้ารับความเสี่ยงที่มากขึ้น เวลาเราคิดว่าเศรษฐกิจกำลังจะไปได้ดี, และเป็นธรรมดาที่เมื่อเรากล้ารับความเสี่ยงที่มากขึ้น โอกาสที่เราจะได้ผลตอบแทนน้อยลงก็มากขึ้นเพราะขาด Risk Premium ที่สมเหตุสมผล ในขณะเดียวกัน ถ้าเรามองเศรษฐกิจไม่ดี เราจะมี Risk Aversion ที่มากขึ้นและต้องการ Risk Premium มากขึ้น และโอกาสในการกำไรก็มากขึ้น
.
ในช่วงเวลาที่คนมีความกลัวและรู้สึกถึงความไม่แน่นอน คนมักจะเลือกพรรคการเมืองที่เป็นฝ่ายซ้าย หรือ Democrat (งานวิจัยที่สนับสนุนเรืองนี้มากมาย เช่น จาก Pastor & Veronesi, Political Cycles and Stock Returns ปี 2019 และ L. Guiso et al., Time varying risk aversion ปี 2018) ด้วยความกลัวความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจ, การตกงาน, ความฝืดเคือง และส่งผลให้คนแสวงหารัฐสวัสดิการมากขึ้น
.
ดังนั้น จากหลักฐานเท่าที่มีเราอาจจะกล่าวได้ว่า ไม่ใช่ Democrat ที่ทำให้ผลตอบแทนของตลาดทุนไปได้ดี แต่เป็นเพราะว่า คนมักเลือก Democrat ในจังหวะที่คนมี Risk Aversion และเพราะ Risk Aversion ต่างหากที่ทำให้คนมีความรอบคอบในการลงทุนที่มากขึ้น และนั่นเองส่งผลให้ผลการตอบแทนในการลงทุนเป็นไปได้ดีครับ
.
==========
.
Risk Averse นั้น สำคัญมาก เพราะไม่มีอะไรแน่นอนครับ
.
ในปี 2016 ที่ Donald Trump แข่งกับ Hillary Clinton ก็ไม่มีใครคาดคิดว่าปี Trump จะชนะ จนกระทั่งประกาศผล
อเมริกาก็เพิ่งเคยมีประธานาธิบดีแบบ Donald Trump ที่สำหรับนักวิเคราะห์หลายๆสำนักแล้ว ยากที่จะเดาทางได้ เล่นเอาปวดหัวกันไปทั่วโลก
ไม่มีใครคาดว่าจะเกิด Covid-19 และจะเกิดการระบาดขนาดนี้และส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกไปอีกหลายปี
.
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนลงทุนอย่างระมัดระวังและรอบคอบครับ
Risk Averse ไม่ใช่การไม่รับความเสี่ยงแต่คือการรับความเสี่ยงแต่พอประมาณ
ลงทุนด้วยความไม่ประมาท กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
และขอให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยกันนะครับ
.
ขอบคุณข้อมูลจาก
.
https://www.forbes.com/sites/kristinmckenna/2020/08/18/heres-how-the-stock-market-has-performed-before-during-and-after-presidential-elections/?sh=595fb9754f86
ช่อง Common Sense Investing by Ben Felix: https://www.youtube.com/watch?v=HYHu9PMY_C4
https://eprints.pm-research.com/17511/34817/index.html?49834
[2019] Pageant Media. Republished with permission of PMR Journal of Index Investing [With Greater Uncertainty Comes Greater Volatility, Inna Zorina, Jamie Khatri, Carol Zhu, and James J. Rowley Jr., Volume 10, Issue 3]
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=1509168
Bonaparte, Yosef and Kumar, Alok and Page, Jeremy K., Political Climate, Optimism, and Investment Decisions (February 26, 2012). AFA 2012 Chicago Meetings Paper, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=1509168 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.1509168
Pastor, Lubos and Veronesi, Pietro, Political Cycles and Stock Returns (May 26, 2019). Chicago Booth Research Paper No. 17-01, Fama-Miller Working Paper, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=2909281 or http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.2909281
https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=2909281
Luigi Guisoa,b , Paola Sapienza b,c,d, Luigi Zingales, Time varying risk aversion / Journal of Financial Economics 128 (2018) 403–421
http://www.eief.it/eief/images/Guiso-Sapienza-Zingales_JofFE_2018.pdf
แอดโจ
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「khatri」的推薦目錄:
- 關於khatri 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳貼文
- 關於khatri 在 愛卡‧ 愛占星 Facebook 的最佳貼文
- 關於khatri 在 阿賊RJ Facebook 的最佳解答
- 關於khatri 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
- 關於khatri 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於khatri 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於khatri 在 Why I hate Sangeet functions | Stand-up comedy by Atul Khatri 的評價
- 關於khatri 在 KHATRI - Facebook 的評價
- 關於khatri 在 Hemant Khatri 的評價
khatri 在 愛卡‧ 愛占星 Facebook 的最佳貼文
【印度星絮】
去年冬至第一次到訪 齋浦爾 Jaipur
簡塔·曼塔 天文台是 Rita 老師指定的校外教學地點
經由 Khatri ji 的解說
這19座儀器霎那間生動起來
彷彿搭上時光機,穿越時空
一窺古印度人觀天的智慧
浩瀚宇宙
這般迷人
讓我欲罷不能
khatri 在 阿賊RJ Facebook 的最佳解答
美國史丹佛大學的醫學教授卡崔(Purvesh Khatri)和同事仔細檢視人類的基因組之後,發現有三個基因可用來檢測結核病,他們更發展出從血液中偵測這三個基因的方法。
khatri 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最讚貼文
khatri 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
khatri 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
khatri 在 KHATRI - Facebook 的推薦與評價
KHATRI, New Delhi, India. 10941 likes · 5 talking about this. Rapper,Singer,Music Producer,Liricist Latest Hits - Yaar Ki Shaadi, Yaar Purane,... ... <看更多>
khatri 在 Hemant Khatri 的推薦與評價
I am a Research Associate in the Department of Earth, Ocean and Ecological Sciences at the University of Liverpool, UK. Before this, I was a Postdoctoral ... ... <看更多>
khatri 在 Why I hate Sangeet functions | Stand-up comedy by Atul Khatri 的推薦與評價
The title says it all :-)Also doing my World Tour in 2023 which includes cities like Nashik, Mumbai, Delhi, Bangkok, Dubai, Nagpur & cities ... ... <看更多>