Hong Kong recorded the highest-ever quarterly number of applications to withdraw from the city’s compulsory pension fund on emigration grounds since the scheme began, according to the latest statistics by the city’s financial regulator.
Read more: https://bit.ly/3czYrW8
港區國安法去年7月正式實施,加速港人逃亡潮。根據積金局最新數據,去年第3季(7月至9月)以「永久離開香港」申請提早提取強積金(MPF)共8,100宗,按季大增2100宗;涉額17.04億元,按季大增72.6%,後者是有季度紀錄以來新高。
___________
📱Download the app:
http://onelink.to/appledailyapp
📰 Latest news:
http://appledaily.com/engnews/
🐤 Follow us on Twitter:
https://twitter.com/appledaily_hk
💪🏻 Subscribe and show your support:
https://bit.ly/2ZYKpHP
#AppleDailyENG
pension fund us 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม นอร์เวย์ จึงเป็นประเทศแห่ง อาหารทะเล? /โดย ลงทุนแมน
ปลาแซลมอนกว่า 50% ที่อยู่บนโต๊ะอาหารทั่วโลก ล้วนส่งออกมาจากประเทศนอร์เวย์
นอกจากปลาแซลมอนแล้ว นอร์เวย์ยังเป็นอันดับ 1 ในการส่งออกปลาค็อด ปลาเทราต์
ปลาแมกเคอเรล และอยู่ในอันดับต้นๆ ของการส่งออกอาหารทะเลอีกหลายต่อหลายชนิด
ทั้งหมดล้วนส่งผลให้นอร์เวย์ เป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลมากที่สุดอันดับ 2 ของโลก
รองจากประเทศจีน
แต่สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่เรื่องของปริมาณ..
เพราะคุณภาพอาหารทะเลของนอร์เวย์
ก็เป็นสิ่งที่ประทับใจคนทั้งโลก ทั้งความสะอาด อุดมไปด้วยสารอาหาร และความสดใหม่
โดยเฉพาะเนื้อปลาเกรดพรีเมียม ที่จะละลายทันทีเมื่อถูกนำเข้าปาก
อะไรที่ทำให้ประเทศเล็กๆ อย่างนอร์เวย์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านอาหารทะเลของโลก?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม นอร์เวย์ จึงเป็นประเทศแห่ง อาหารทะเล?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ.1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ.2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╚═══════════╝
คนทั่วโลกรู้จักนอร์เวย์ในฐานะ “ดินแดนแห่งพระอาทิตย์เที่ยงคืน”
เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากขั้วโลกเหนือ ช่วงฤดูร้อนของนอร์เวย์ จึงมีเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนมาก ยิ่งใกล้ขั้วโลกเท่าไร เวลาที่พระอาทิตย์ส่องแสงก็ยิ่งยาวนานขึ้นเท่านั้น
แต่ถึงแม้จะอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์กลับไม่เป็นน้ำแข็งในช่วงฤดูหนาว
ด้วยอิทธิพลจากกระแสน้ำอุ่น Gulf Stream ที่นำพาความอบอุ่นมาให้กับชายฝั่งอันยาวเหยียดของนอร์เวย์
แต่ความโชคดียิ่งกว่า คือกระแสน้ำอุ่นที่มากระทบกับความเย็นของกระแสน้ำเย็นจากขั้วโลก
เกิดเป็นระบบนิเวศทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เรียกว่า “Dogger Bank” ที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเล เป็นแหล่งอาศัยของปลาน้อยใหญ่ และทำให้ท้องทะเลของนอร์เวย์อุดมสมบูรณ์ที่สุดในยุโรป
ด้วยแนวชายฝั่งที่ยาวกว่า 29,750 กิโลเมตร ทำให้นอร์เวย์มีพื้นที่สำหรับทำการประมงอย่างมหาศาล การทำประมงจึงแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวนอร์เวย์มาเป็นเวลาหลายศตวรรษจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญ โดยมีศูนย์กลางการค้าปลาอยู่ที่เมืองเบอร์เกน (Bergen) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญทางเศรษฐกิจของนอร์เวย์ คือการค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในทะเลเหนือช่วงทศวรรษ 1960s ที่ทำให้น้ำมันกลายเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1
ของประเทศแทนอาหารจากท้องทะเล
หลังจากนั้นมา
นอร์เวย์ได้กลายเป็นผู้ส่งออกน้ำมันที่สำคัญของยุโรป และด้วยความที่มีประชากรน้อยมาก
ชาวนอร์เวย์ 5 ล้านคน จึงมี GDP ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลนอร์เวย์ก็ได้เล็งเห็นว่า น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
ความมั่งคั่งจากน้ำมันจึงเป็นความมั่งคั่งที่ไม่ยั่งยืน จึงได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ความมั่งคั่งนี้ยังคงหล่อเลี้ยงชาวนอร์เวย์ต่อไป แม้ในวันที่ไม่มีน้ำมันอีกแล้ว
ประการแรก รัฐบาลได้จัดตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งรัฐ หรือ “Government Pension Fund” ขึ้น
โดยกองทุนนี้จะนำเงินที่เก็บจากภาษีของบริษัทน้ำมัน มาลงทุนเก็บเกี่ยวดอกผล โดยลงทุนในบริษัทต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีเงินงบประมาณเพียงพอสำหรับลูกหลานชาวนอร์เวย์ในอนาคต
ประการที่สอง การหาภาคส่วนเศรษฐกิจมาทดแทนการส่งออกน้ำมัน ซึ่งก็ย้อนกลับไปที่
ภาคเศรษฐกิจที่มีบทบาทมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่าง “การทำประมง”
นับตั้งแต่อดีต การทำประมงของนอร์เวย์เป็น ประมงนอกชายฝั่ง หรือ “Offshore” ที่เป็นการตักตวงทรัพยากรจากท้องทะเลซึ่งก็อาจหมดไปได้ในวันหนึ่งข้างหน้า
ในช่วงทศวรรษ 1970s รัฐบาลจึงริเริ่มสนับสนุนให้มีการทำประมงบนฝั่ง “Inshore” โดยเฉพาะฟาร์มเลี้ยงปลามากขึ้น
ชายฝั่งทะเลของนอร์เวย์มีความพิเศษ คือ มีลักษณะเว้าแหว่งเข้ามาในแผ่นดิน
เป็นอ่าวแคบๆ อยู่ระหว่างหน้าผาสูงชัน เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของธารน้ำแข็งตั้งแต่ยุคน้ำแข็งหลายหมื่นปีก่อน
การมีฟยอร์ดที่เว้าแหว่งกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติที่ดีสำหรับการทำฟาร์มเลี้ยงปลา เพราะมีพื้นที่เพียงพอให้ปลาว่ายน้ำ และอยู่ห่างไกลจากเส้นทางเดินเรือนอกชายฝั่งที่ปล่อยมลภาวะ
พอเรื่องเป็นแบบนี้ก็ทำให้ประเทศนอร์เวย์มีการทำฟาร์มเลี้ยงปลามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะฟาร์มปลาแซลมอน และปลาเทราต์
ซึ่งการทำฟาร์มเลี้ยงปลามีผู้ควบคุมก็คือ กระทรวงการประมงและกิจการชายฝั่ง ที่มีการจัดตั้งช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อดูแลอุตสาหกรรมประมงโดยเฉพาะ
ฟาร์มปลาทุกแห่งจะต้องทำตามข้อกำหนดของกระทรวง ไม่ว่าจะเป็นในกระชังแต่ละหลังจะต้องมีพื้นที่เพียงพอให้ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ สภาพแวดล้อมในกระชังจะต้องสะอาด
ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาจะต้องไม่อยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือ และควบคุมการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงดูปลาอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้พันธุ์ปลาที่มีคุณภาพที่สุด
จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของการทำประมงในนอร์เวย์ คือความร่วมมืออย่างเหนียวแน่นระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน
รัฐบาลนอร์เวย์ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนามาก
โดยเป็นผู้ให้งบประมาณแก่สถาบันวิจัยของรัฐ สำหรับนำมาปรับใช้กับภาคเอกชนทุกระดับ
ตั้งแต่ชาวประมงอิสระ เจ้าของฟาร์มเลี้ยงปลา ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่
หนึ่งในสถาบันสำคัญที่เป็นแรงผลักดันในกระบวนการวิจัยและพัฒนา คือ
สถาบันวิจัยทางทะเลแห่งชาตินอร์เวย์ หรือ Norwegian Institute of Marine Research
ตั้งอยู่ในเมืองเบอร์เกน ศูนย์กลางด้านประมงของประเทศ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมาสู่ภาคเอกชน
ตัวอย่างหน่วยงานวิจัยที่สำคัญ เช่น
CRISP หน่วยงานวิจัยด้านการพัฒนาการทำประมงด้วยคลื่นโซนาร์และเสียงเอคโค เพื่อให้เรือประมงนอกชายฝั่งสามารถประยุกต์ใช้คลื่นสะท้อนนี้ในการวัดขนาด และชนิดของฝูงปลา ทำให้การทำประมงมีทิศทางที่แม่นยำ และประหยัดทั้งต้นทุนด้านพลังงาน และเวลา
EcoNorSe หน่วยงานวิจัยด้านการศึกษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของปลานอกชายฝั่งทะเล และนำเสนอเป็นข้อมูล ทั้งการกระจายตัวของปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ และปริมาณการบริโภคแพลงก์ตอนทะเลของปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ
นอกเหนือจากสถาบันของรัฐ ยังมีสถาบันการศึกษาอย่าง University of Bergen ที่เป็นสถาบันที่เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่มีงานวิจัยร่วมกันกับทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการทำฟาร์มเลี้ยงปลา และพัฒนากระบวนการขนส่งอาหารทะเลที่จะกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
นอกเหนือจากการสนับสนุนจากภาครัฐบาลแล้ว
ทางฝั่งของภาคเอกชนก็ได้มีการลงทุนเป็นเงินมากกว่า 500 ล้านบาทในแต่ละปี
เพื่อให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งบริษัท Lerøy Seafood Group
บริษัท Marine Harvest และบริษัท SalMar ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นผู้นำในการทำฟาร์มปลาแซลมอนในระดับโลก
นอกจากด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ซึ่งเป็นศาสตร์พื้นฐาน ที่ทำให้ได้ผลผลิตอาหารทะเลที่มีคุณภาพ รัฐบาลนอร์เวย์ยังเป็นผู้นำในการสนับสนุนการทำการตลาด เพื่อให้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ถึงมือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โดยด้านการตลาด เป็นหน้าที่ของสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์
หรือ Norwegian Seafood Council (NSC) ซึ่งมีหน้าที่ในการทำการตลาดในทุกรูปแบบ
ทั้งการหาตลาดใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดของประเทศลูกค้าที่สำคัญ การวางแผนการขนส่งทางอากาศเพื่อให้อาหารทะเลสดใหม่ถึงมือผู้รับอย่างเร็วที่สุด
และเป็นผู้กำหนดตราสัญลักษณ์ “Seafood from Norway” เพื่อการันตีคุณภาพอาหารทะเลจากนอร์เวย์ ว่ามีความสด ความสะอาด และความปลอดภัย
NSC มีสำนักงานตั้งอยู่ใน 12 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย เพื่อทำการตลาดอาหารทะเลให้เฉพาะกับลูกค้าในแต่ละประเทศที่มีความต้องการแตกต่างกันไป
การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบของภาครัฐและเอกชน ทั้งภาควิจัยและพัฒนา
ที่เป็นเหมือนผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ กับภาคการตลาด ที่เป็นเหมือนบริการปลายน้ำ
กลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ทำให้อาหารทะเลจากนอร์เวย์มีคุณภาพสูง
สามารถเจาะตลาดไปสู่ลูกค้าทั่วทุกมุมโลก
นอร์เวย์เป็นประเทศที่โชคดี มีทั้งทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์
และมีทรัพยากรอย่างน้ำมันที่สร้างรายได้มหาศาล
แต่ความโชคดีก็เป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน ในเมื่อทรัพยากรที่มีล้วนเป็นสิ่งที่ใช้แล้วหมดไป
หลายประเทศบนโลกที่ร่ำรวยจากการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติ แต่ท้ายที่สุดกลับประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเพราะขาดการบริหารจัดการที่ดี
เป้าหมายหลักของรัฐบาลนอร์เวย์ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา จึงเป็นการค่อยๆ ลดสัดส่วนของการส่งออกน้ำมัน และนำรายได้จากการส่งออกน้ำมัน มาพัฒนาและวางรากฐานการทำประมงให้มีประสิทธิภาพ ทุ่มเทสร้างงานวิจัย นำมาประยุกต์ใช้กับภาคเอกชนอย่างแข็งขัน ทำการตลาดอย่างจริงจัง และวางแผนเพื่อสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
ในปี 2050 การส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ คาดว่าจะสร้างมูลค่าสูงถึง 2 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าที่มากกว่าการส่งออกอาหารทะเลในปี 2018 เกือบ 6 เท่า
ความโชคดีอาจเป็นสิ่งที่หลายประเทศใฝ่หา
แต่สำหรับประเทศนอร์เวย์ซึ่งเป็นเจ้าแห่งอาหารทะเลแล้ว
สิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า ก็คือ “ความยั่งยืน”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=5082&year=2018&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://ditp.go.th/contents_attach/138521/138521.pdf
-http://crisp.imr.no/en/projects/crisp/innovations
-https://seafoodfromnorway.us/Stories-from-Norway/a-perfect-environment/extreme-conditions/
-https://www.norskpetroleum.no/en/framework/norways-petroleum-history/
-https://www.uib.no/en/marine
-https://www.leroyseafood.com/en/about-us/value-chain/
-https://en.seafood.no/about-norwegian-seafood-council/about-us/
pension fund us 在 Joe's investment Facebook 的最佳解答
Joe:「最近比較強的其實是台股和NASDAQ,反而美股的Dow Jones還是相對弱,但市場情緒有增溫到是真的,空軍應該很期待要繼續進場放空了」
紐約資產顧問公司Pension Partners共同創辦人暨首席投資策略師Michael Gayed,其操盤的基金ATAC Rotation Fund今年迄今成長近60%,他在今年5月就預測債券和股市崩盤的可能性,儘管Michael Gayed自美股三月觸底以來一直看多,但他近期已轉變看法,他表示,全球中國武漢肺炎疫情持續惡化,股市卻自三月低點迅速的觸底反彈,這是市場的瘋狂時期,過於自信情緒可能成為一個嚴重的問題,美股未來極可能出現嚴重崩盤,而著名大空頭Jim Chanos亦稱,史上最大做空機會來了。
Michael Gayed稱,債市正發出美股將嚴重崩盤的訊號,目前10年期美債殖利率落在0.5%左右,而30年期美債殖利率不到1.5%,人們常說,債市投資者是精明的投資者,他們傾向於在預測經濟活動方面引領股票市場,短債殖利率沒有出現實質性的上升,這令人相當不安,因為從歷史的角度上看,這種短期走勢往往出現在股市面臨重大壓力時期之前,公用事業類股也透露股市崩盤的端倪,防禦性類股被視為抗衰退的避險投資,而過去一個月防禦性類股投資跑贏了S&P500,似乎每個人都忘記了,投資股票是有風險的,目前情勢變化迅速,似乎風險可能會捲土重來。」
此外,著名大空頭Jim Chanos也表達了悲觀的看法,他近期透過做空「德國版支付寶」Wirecard大賺1億美元,Jim Chanos預測:「這個市場將成為有史以來最大的做空機會之一。麻煩就要來了,我不知道確切是何時?但它就要來了,我們身處欺詐的黃金時,當前市場環境充斥著害怕錯過(FOMO)和川普式政治(Trumpian),這是一片真正的沃土,可以讓人們在真相面前遊手好閒,也可以讓企業違法者在很長一段時間裡逃脫懲罰。
Jim Chanos認為,Tesla CEO Elon Musk實現這波多頭的希望和夢想,他下一步將狙擊做空(TSLA-US),Tesla具有一種欺騙文化,會透過積激進的會計手段來美化財報。
美國四大網路券商嘉信、TD Ameritrade、Etrade、Robinhood的統計,新開戶數大增170%,顯示年輕人趁著這波股災進場。另外,線上券商的交易手續費降至零,也助於引爆這波散戶炒股熱,推升美股從低點反彈,不僅美股,台北股市也是如此。根據台灣證券交易所的統計,2019年台灣證券市場新開戶數共62.4萬人,但今年1到6月新開戶數已達55.6萬人,直逼2019年全年的開戶數。除了新開戶數大增,實際交易戶數也從1月的173萬戶增加至6月的220萬戶,成長超過27%,且自然人在第2季占集中市場成交比重,衝上63.6%的歷史新高,顯示散戶已超越法人,成為市場主力,不過,以過去歷史經驗來看,市場散戶增加通常不利於股市體質,此次疫情是否帶來泡沫,也令投資人關注。
外資星展銀行財富管理投資顧問部認為,「害怕錯過」和「別無選擇」是推升這波散戶大舉進場的原因。以美股來看,雖然股價看起來較高,但畢竟不是本夢比環境,特別是科技類股前景好,投資人可以警惕、但還不至於泡沫。瑞士銀行認為,四大原因將支撐下半年全球股市繼續獲得支撐。包括政策制定者傾向採取對經濟破壞較小的措施來延緩疫情傳播以及先前疫情封鎖期間,消費者可供支出的資金增加,都有望進一步支持經濟復甦。另外,美國大選前的政治環境可望促進經濟成長,且美國聯準會的表態,讓市場預期未來數年不會調升利率,長期而言,股票投資將無可替代。
https://news.cnyes.com/news/id/4509134
https://tw.stock.yahoo.com/news/%E6%95%A3%E6%88%B6%E6%90%B6%E9%80%B2-%E7%BE%8E%E8%82%A1-%E5%8F%B0%E8%82%A1%E7%9A%86%E7%84%B6-%E6%B3%A1%E6%B2%AB%E6%95%B2%E8%AD%A6%E9%90%98-042025647.html
pension fund us 在 Pension funds' assets - OECD Data 的相關結果
Pension funds ' assets are defined as assets bought with the contributions to a pension plan for the exclusive purpose of financing pension plan benefits. ... <看更多>
pension fund us 在 U.S. public pension funds may turn to more ... - Reuters 的相關結果
U.S. public pension funds will likely have to switch to more aggressive investment strategies in the coming years to fill funding gaps ... ... <看更多>
pension fund us 在 Pension fund - Wikipedia 的相關結果
In the United States, pension funds include schemes which result in a deferral of income by employees, even if retirement income provision ... ... <看更多>