#สมองลูกเกิดอะไรขึ้น_เมื่อคุณอ่านหนังสือให้เค้าฟัง
#บทความส่งเสริมการอ่าน_ตอนที่ 1
.
อ่านหนังสือให้เด็กฟัง เป็นเรื่องที่ดี
หมอคิดว่า พูดเช่นนี้ ใครๆก็คงจะรู้แล้ว😁
หากย้อนกลับไปสัก 50 ปีก่อน
ที่เทคโนโลยี ยังไม่ทันสมัยขนาดนี้
ถ้าเราจะวัดว่า อ่านหนังสือให้เด็กฟังมันดียังไง
ก็คงบอกว่า
เด็กที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ฟัง หรือเด็กที่รักการอ่าน
จะประสบความสำเร็จมากกว่า
(มักจะวัดจาก ผลการเรียน การจบมหาวิทยาลัย คะแนนสอบ ฯลฯ)
ตัวชี้วัด ในงานวิจัยส่วนใหญ่
เป็นเรื่องในอนาคตของเด็กคนนั้น
ซึ่งสำหรับนักวิจัยที่ดี การจะบอกได้ว่า
เด็กคนหนึ่งประสบความสำเร็จได้ดีกว่าอีกคนเป็นเพราะ การอ่านที่มากกว่า
คงต้องตัดปัจจัยกวนทั้งหมดออก
(confounding factors)
ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เช่น เชื้อชาติ ฐานอารมณ์ของเด็ก สติปัญญาของเด็กเอง รายได้และการศึกษาพ่อแม่ โรงเรียน ฯลฯ
แถมยังมีปัจจัยกวนที่เราไม่สามารถวัดเป็นค่าตัวเลขได้อีกมากมาย
นักวิจัยก็ได้แต่เพียงอนุมานผล
ดังนั้นในงานวิจัยยุคก่อน
แม้ผลจะชัดเจนมากแค่ไหน ก็ยังมีข้อค้านได้
ลองคิดดูดีๆ เด็กที่ได้อ่านหนังสือมากกว่า
เป็นเพราะอะไร??
👉พ่อแม่ให้ความสำคัญกับการอ่าน
👉มีเวลาให้ลูก ไม่ต้องปากกัดตีนถีบ หาเช้ากินค่ำ
👉มีเงินซื้อหนังสือ หรือพ่อแม่ขวนขวายในการหาหนังสือให้ลูกอ่าน
ซึ่งมักจะสัมพันธ์โดยตรงกับ ระดับการศึกษา รายได้ เศรษฐานะของพ่อแม่ (ถ้าเป็นยุคนี้ต้องบอกว่า ความรู้และ mindset) แม้แต่นโยบายรัฐ
.
การศึกษาที่โด่งดังมาก ในอดีต
(งานวิจัยในปี 1960) เป็นที่มาของคำว่า
“ช่องว่าง 30 ล้านคำ” ศึกษาพัฒนาการด้านภาษาในเด็กอายุ 2.5 ปี ใน 42 ครอบครัว
โดยแบ่งครอบครัวเป็น
ฐานะดี ฐานปานกลาง และกลุ่มยากจน
นักวิจัยจะเข้าไปประเมินพัฒนาการด้านภาษาของเด็กทุกเดือน เก็บข้อมูลการเลี้ยงดูอย่างละเอียด
จนเด็กอายุครบ 4 ปี พบว่า เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะดี เด็กมีคลังศัพท์ 46 ล้านคำ
ในกลุ่มปานกลาง มีคลังศัพท์ 26 ล้านคำ ในขณะที่เด็กที่อยู่ในกลุ่มฐานะยากจน มีคลังศัพท์ 13 ล้านคำ
และนักวิจัยยังรายงานอีกว่า 98%ของคำศัพท์ที่เด็กใช้ คือสิ่งคำที่พ่อแม่ใช้ พ่อแม่พูดคุยกับลูก
(พูดให้ตรงมากขึ้น คือ #เด็กเรียนรู้ภาษาเกือบทั้งหมดผ่านจากปากของพ่อแม่)
หลังจากที่วิจัยนี้ได้เผยแพร่ออกไป ก็ทำให้วงการปฐมวัย สั่นสะเทือนเลยทีเดียว (ไม่ได้เว่อนะคะ🤣)
เพราะนักวิจัยสนใจทำวิจัยเรื่องปฐมวัยมากขึ้น
และรัฐบาลของ US สมัยนั้น
ก็ทุ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาด้านปฐมวัยมากขึ้นด้วย
อย่างนั้นก็เถอะ
นักวิจัยรุ่นหลังก็มีข้อกังขาหลายอย่าง
เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมวิจัยน้อยมาก 42 ครอบครัว สามารถเป็นตัวแทนของเด็กทั้งประเทศเลยหรือ?
การเก็บข้อมูลทำอย่างไร นับจำนวนศัพท์อย่างไร? เด็กอายุแค่ 2.5-4 ขวบ
มีคนแปลกหน้าไปสัมภาษณ์ เด็กพูดน้อย ถือว่าเด็กมีศัพท์น้อย? มีข้อสงสัย และข้อโต้แย้งมากมาย
หลังจาก งานวิจัยนี้ ก็มีงานวิจัยเรื่อง
พัฒนาการด้านภาษาในเด็กเล็กเต็มไปหมด
.
สำหรับตัวหมอเองในฐานะนักวิจัย ก็ต้องยอมรับว่า งานวิจัย 30 million gap มีจุดบกพร่องมากมาย
แต่ก็ต้องยกย่องงานวิจัยนี้ เพราะถือว่าเป็น viral information ในยุคนั้นเลยก็ว่าได้😁😁
.
ตัดมาที่ปัจจุบันเลยค่ะ
ยุคนี้ วิทยาศาสตร์สมอง
มีเทคโนโลยีทันสมัย ไม่ต้องคาดเดา
สามารถถ่ายรูปการทำงานของสมองได้แบบ real time (เอาให้เห็นกันจะจะ😂)
งานวิจัยแรกที่จะเล่าให้ฟัง เป็นงานวิจัยของ Dr. John S. Hutton
เพื่อจะตอบคำถามว่า
❤#สื่อแบบไหนที่กระตุ้นให้สมองเด็กเกิดการเชื่อมโยงด้านภาษาได้มากที่สุด❤
โดยทำการศึกษาในเด็กอายุ 4 ขวบ 27 คน
ให้เด็กแต่ละคน ฟังนิทานเรื่องเดียวกัน จาก 3 สื่อ
และถ่ายภาพสมองเด็กจากเครื่อง fMRI ขณะที่ได้ฟังแต่ละสื่อ
👉นิทานเป็นแบบ animation
👉นิทานเป็นเล่มให้แม่อ่าน
👉นิทานที่มีแต่เสียง
•ผลคือ animation มีข้อมูล ภาพ เสียง การเคลื่อนไหว แค่รับข้อมูลอย่างเดียว สมองเด็กก็ต้องทำงานหนักมากแล้ว เมื่อดูจาก fMRI สมองส่วนอื่น ถูกกระตุ้นอย่างมาก แต่ส่วนที่ควบคุมด้านการเรียนรู้ภาษากลับถูกกระตุ้นน้อย
เพราะสมองเอาพลังงานไปรับข้อมูลที่มากล้น รวดเร็ว จนเชื่อมโยงไม่ทัน เรียกว่า #Too_hot
• นิทานภาพ: สมองของตอนเด็กขณะได้ฟังนิทานภาพ สมองส่วนรับภาพรับเสียงถูกกระตุ้น และพบว่า สมองส่วนภาษาถูกกระตุ้นมากพอกัน
อธิบายได้ว่า เมื่อมีภาพ และมีเสียง ทำให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ และเชื่อมโยงภาษาได้ดี เรียกว่า #just_right
• audio: สมองเด็กตอนฟัง นิทานเสียงไม่มีภาพ สมองถูกกระตุ้นน้อย อาจเพราะมีเสียง แต่ศัพท์บางคำเด็กไม่เคยรู้จักมาก่อน เมื่อไม่มีภาพมาให้ดู ก็ไม่เกิดการเชื่อมโยง เรียกว่า #too_cold
** การศึกษานี้ ตอกย้ำว่า ถ้าจะให้ลูกฟังนิทาน สิ่งที่ดีที่สุดคือ ฟังจากนิทานภาพ และเสียงของพ่อแม่นะคะ*
งานวิจัยที่ 2 ที่หมออยากจะเล่าให้ฟัง
เพื่อจะตอบคำถามว่า
❤ #เด็กที่ได้อ่านต่างกันที่บ้าน_เมี่อมาฟังนิทานจากครูที่โรงเรียนสมองทำงานต่างกันหรือไม่❤
การศึกษานี้ทำในประเทศอังกฤษในเด็ก 3-5 ปี
30 ราย นักวิจัยเก็บข้อมูล ระดับการอ่านของที่บ้านเด็กแต่ละคน
(เวลาที่พ่อแม่อ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง, จำนวน ความหลากหลาย)
และแบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่มีสิ่งแวดล้อมในการอ่านที่บ้านสูง
และ กลุ่มอ่านน้อย
เมื่อถ่ายภาพสมองเด็กด้วย fMRI ตอนเด็กฟังนิทานจากครูที่โรงเรียน
พบว่าสมองของเด็กกลุ่มสิ่งแวดล้อมอ่านสูง ถูกกระตุ้นมากกว่า เด็กอีกกลุ่มอย่างชัดเจน
(ดูภาพประกอบได้ สีแดง จะเกิดเมื่อบริเวณนั้นของสมองถูกกระตุ้น)
ซึ่งหมอเคยเขียนถึงงานวิจัยนี้เอาไว้ในบทความเรื่อง
#ช่องว่างที่ไม่มีวันตามทัน นะคะ
ลองย้อนกลับไปอ่านกันได้
.
คิดว่าเรื่องที่เล่าวันนี้ ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน
มั่นใจในแนวทางการเลี้ยงดูลูกด้วยหนังสือมากขึ้น
และหมอคิดว่า เราสามารถส่งต่อความรู้นี้ได้
เพราะวิธีการที่ลดความเหลื่อมล้ำ โดยที่พวกเราสามารถสร้างให้ลูกได้เองที่บ้าน
โดยไม่ต้องพึ่งนโยบายใดๆ คือการสร้างความเท่าเทียมให้กับสมองของลูก
ที่ต้องสร้างจากที่บ้าน เพราะถ้ารอให้ถึงอนุบาล....ก็สายไปเสียแล้วจริงๆ
ภาพถ่ายสมองก็บอกคำนี้เหมือนกันค่ะ
.
หมอแพม
ไม่ได้เขียนบทความนานมาก เหตุเกิดจากความเครียด😅
Link
1.วิจัยเรื่อง 30 million gap
https://www.aft.org/sites/default/files/periodicals/TheEarlyCatastrophe.pdf
2. เรื่องชนิดของสื่อนิทานต่อสมองเด็ก
New studies measure screen-based media use in children
https://www.eurekalert.org/pub_releases/2018-05/pas-nsm042618.php
3. เรื่อง สิ่งแวดล้อมของการอ่านในบ้านต่อสมองเด็ก
Home Reading Environment and Brain Activation in Preschool Children Listening to Stories
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26260716/
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
periodicals 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
อินโดนีเซีย ประเทศในอาเซียน ที่กำลังเนื้อหอม /โดย ลงทุนแมน
“รัฐบาลอินโดนีเซีย ออกแถลงการณ์ว่า Tesla Inc. บริษัทผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐฯ
จะส่งทีมงานมายังอินโดนีเซียในเดือนมกราคม ปี 2021 เพื่อเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านซัปพลายเชนสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า”..
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย
ปีละ 6% จนกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของโลก
ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าขนาดเศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะเติบโตขึ้นเป็น 2 เท่า
ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญมาจากการลงทุนของชาวต่างชาติ
อินโดนีเซียมีศักยภาพอะไรที่จะดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้บ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประวัติของอินโดนีเซียกันสักนิด..
อินโดนีเซียตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีเกาะมากที่สุดในโลก
ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่มากกว่า 13,000 เกาะ
ครั้งหนึ่ง หมู่เกาะน้อยใหญ่เหล่านี้ถูกเรียกว่า หมู่เกาะดัตช์อีสต์อินดีส์ เพราะถูกปกครองโดยฮอลันดาหรือเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1799 ถึง ค.ศ. 1945 นับเป็นเวลาถึง 146 ปี
จนในปี ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หมู่เกาะดัตช์อีสต์อินดีส์ประกาศเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ จากความช่วยเหลือขององค์การสหประชาชาติ ถึงแม้จะมีปัญหาจนกลายเป็นสงครามย่อยๆ แต่สุดท้ายก็รวมกันเป็นประเทศเดียวกันหมดในปี ค.ศ. 1949 ใช้ชื่อว่า อินโดนีเซีย
ด้วยความที่มีเกาะมากมาย อินโดนีเซียจึงเป็นประเทศที่มีพื้นที่และประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยขนาดพื้นที่ 1.9 ล้านตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าประเทศไทย 3 เท่า
และมีประชากรกว่า 275 ล้านคน ซึ่งประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
ด้วยประชากรมหาศาลนี้เอง อินโดนีเซียจึงมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
มีขนาดเศรษฐกิจกว่า 30 ล้านล้านบาท มากกว่าประเทศไทยที่มีขนาดเศรษฐกิจ 16 ล้านล้านบาท เกือบ 2 เท่า
นอกเหนือจากประชากรและขนาดเศรษฐกิจแล้ว
อินโดนีเซียยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุดชาติหนึ่งของเอเชีย
โดยมีการลงทุนจากต่างประเทศในปี 2019 มากถึง 7 แสนล้านบาท
เพิ่มขึ้นกว่า 14% จากปีก่อนหน้า
แล้วปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้อินโดนีเซียเนื้อหอมสำหรับนักลงทุนต่างชาติ?
ประการแรก จำนวนประชากร
การที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรที่มากที่สุดในอาเซียนกว่า 275 ล้านคน และมากเป็นอันดับ 4 ของโลก ส่งผลให้ตลาดผู้บริโภคภายในประเทศมีขนาดที่ใหญ่มาก
นอกจากขนาดแล้ว ธนาคารโลกยังได้ประกาศว่าอินโดนีเซียได้กลายเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับสูง โดยมี GDP ต่อหัวในปี 2019 เท่ากับ 1.2 แสนบาท
ถึงแม้จะน้อยกว่าคนไทยที่มี GDP ต่อหัว 2.2 แสนบาท แต่ชาวอินโดนีเซียก็มีกำลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ความต้องการของตลาดภายในประเทศกำลังเติบโตขึ้นเช่นกัน
อินโดนีเซียยังมีประชากรวัยแรงงานที่มีความพร้อมสำหรับการลงทุนของบริษัทต่างชาติ
โดยมีอายุเฉลี่ยของประชากรอยู่ที่เพียง 31.1 ปี น้อยกว่าเวียดนามที่มีอายุเฉลี่ย 31.9 ปี
และน้อยกว่าไทยที่มีอายุเฉลี่ยสูงถึง 39 ปีมาก
ประการที่ 2 ทรัพยากรธรรมชาติ
อินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
ไม่ว่าจะเป็น ป่าไม้, ทรัพยากรประมง, น้ำมัน, ก๊าซธรรมชาติ, เหล็ก และอื่นๆ
สินค้าส่งออกอันดับ 1 ของอินโดนีเซียจึงเป็นแร่เชื้อเพลิง ส่งออกมูลค่า 1.2 ล้านล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 4 ของมูลค่าส่งออกรวมทั้งหมด
ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ
โดยอุตสาหกรรมหลักๆ ที่บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียได้แก่
อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอุตสาหกรรมพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีปริมาณสำรองของแร่นิกเกิลมากที่สุดในโลก
คิดเป็นปริมาณกว่า 21 ล้านตัน และเป็นผู้ผลิตแร่นิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2019
อยู่ที่ 800,000 ตัน
ในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า
ขั้วแคโทด จะมี ลิเทียมเป็นส่วนประกอบ 14% และที่เหลือเป็น นิกเกิล 73% โคบอลต์ 11%
อะลูมิเนียม 2% ส่วนขั้วแอโนดทำจาก คาร์บอน
เท่ากับว่า แร่นิกเกิลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญมากสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
อินโดนีเซียซึ่งมีปริมาณแร่นิกเกิลสำรองมากที่สุดในโลก
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถดึงดูดบริษัทรถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะ Tesla Inc.ให้เข้ามาลงทุนสร้างโรงงานได้
ประการที่ 3 การสนับสนุนของภาครัฐ
รัฐบาลอินโดนีเซียได้ปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์การลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
ไม่ว่าจะเป็น อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด 100% ในธุรกิจบางประเภท
และยังมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติไม่ว่าจะเป็นการขยายเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ลดภาษีนำเข้าสินค้าหรือวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตต่อในอินโดนีเซีย หรือลดเงินลงทุนขั้นต่ำและยกเว้นภาษีแก่ผู้ประกอบการ SME ที่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ
นอกเหนือจากการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติแล้ว
รัฐบาลอินโดนีเซียยังให้ความสำคัญกับธุรกิจสตาร์ตอัปอีกด้วย
ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทให้จัดตั้งง่ายขึ้น และเอื้อต่อบริษัทสตาร์ตอัปเกิดใหม่ และยังมีการตั้งกองทุนของรัฐบาลเพื่อสนับสนุนธุรกิจสตาร์ตอัป โดยเฉพาะการวิจัยและพัฒนา
โดยปัจจุบันนี้อินโดนีเซียมีบริษัทสตาร์ตอัปที่เป็นยูนิคอร์น ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท ถึง 4 บริษัท ได้แก่
Gojek ธุรกิจเรียกรถแท็กซี่ food delivery ที่มีมูลค่ามากถึง 3 แสนล้านบาท
และยังเป็นบริษัทสตาร์ตอัปแรกของอินโดนีเซียที่มีมูลค่าแตะ 3 แสนล้านบาท
Traveloka ธุรกิจให้บริการจองและเปรียบเทียบราคาที่พักและตั๋วเครื่องบิน
Tokopedia แพลตฟอร์ม E-commerce ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในอินโดนีเซีย
และ Bukalapak แพลตฟอร์ม E-commerce ที่เป็นรองเพียงแค่ Tokopedia
ประการที่ 4 อัตราการคอร์รัปชันที่ลดลง
จากการจัดอันดับของ Transparency International
อินโดนีเซียมีอันดับความโปร่งใสด้านการเมืองที่ดีขึ้นต่อเนื่องในทุกปี โดยในปี 2019 อยู่ในอันดับที่ 85 จากทั้งหมด 180 ประเทศ ซึ่งเป็นอันดับที่ดีกว่าประเทศไทยซึ่งอยู่ในอันดับ 101
ตัวแปรที่สำคัญก็คือ การจัดตั้งองค์กรอิสระชื่อว่า “คณะกรรมการขจัดคอร์รัปชัน” หรือ KPK
ให้มีอำนาจในการสอบสวนและฟ้องร้องเจ้าหน้าที่รัฐอย่างเต็มที่ โดยผลงานที่ดีที่สุดของ KPK
ก็คือการฟ้องร้องอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร นายเซตยา โนวันโต
จากการทุจริตโครงการทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ต้องมีโทษจำคุก 15 ปี
เมื่อการเมืองของประเทศอินโดนีเซียมีความโปร่งใสมากขึ้น
จึงเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ
ถึงแม้จะมีข้อดีที่น่าสนใจมากมาย แต่ก็ยังมีสิ่งที่ประเทศอินโดนีเซียจะต้องพัฒนาและปรับปรุง
โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานและเส้นทางคมนาคม
เนื่องจากภูมิประเทศของประเทศอินโดนีเซียประกอบไปด้วยเกาะมากกว่า 13,000 เกาะ
การขนส่งภายในประเทศจึงมีความลำบาก ในขณะที่เกาะห่างไกลหลายแห่งยังขาดแคลนไฟฟ้า
โครงสร้างพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับอินโดนีเซียที่จะต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงเพื่อรองรับการขนส่งภายในประเทศ ทั้งการขนส่งผู้คนไปยังเมืองต่างๆ การขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงาน และการขนส่งสินค้าจากโรงงานสู่ผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียนับเป็นอีกประเทศหนึ่งที่น่าจับตามองในภูมิภาคอาเซียน
และน่าสนใจไม่แพ้ประเทศเวียดนาม
เพราะถ้าอินโดนีเซียสามารถแก้ไขและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น
เชื่อว่าประเทศนี้จะมีศักยภาพในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้อีกมาก
ในวันนี้ GDP ของอินโดนีเซียมีมากกว่าไทย เนื่องด้วยจำนวนประชากรที่มากกว่า
แต่ในวันข้างหน้า
GDP ต่อหัวของชาวอินโดนีเซีย อาจจะตามติดขึ้นมาเทียบกับชาวไทย ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD?most_recent_value_desc=true
-https://www.worldometers.info/gdp/gdp-by-country/
-https://santandertrade.com/en/portal/establish-overseas/indonesia/foreign-investment
-https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/fields/343rank.html
-https://www.indonesia-investments.com/news/news-columns/economic-update-indonesia-world-bank-upgrades-indonesia-to-upper-middle-income-country/item9308
-https://kasikornbank.com/international-business/th/AEC/Intelligence/Pages/20190116_WTW_Indonesia.aspx
-https://www.mime.asia/the-indonesian-government-encourage-the-development-of-startup/
-https://pubs.usgs.gov/periodicals/mcs2020/mcs2020-nickel.pdf
-http://www.worldstopexports.com/indonesias-top-10-exports/
-https://www.statista.com/statistics/707633/number-of-international-visitor-arrivals-in-indonesia/
-https://trendeconomy.com/data/h2/Indonesia/TOTAL#:~:text=Indonesia's%20Top%20Exports%20in%202019,refined%2C%20but%20not%20chemically%20modified.
-https://www.transparency.org/en/countries/indonesia
-https://thaipublica.org/2019/05/pridi144/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/799823
periodicals 在 肯腦濕的人生相談室 Facebook 的最讚貼文
【致香港人:願我們以生命回報自由。| Hongkongers, we shall give our lives to freedom. 】
(Please scroll for English version)
二零一九年,香港抗爭者憑藉若水之志踏遍烽火戰地。政權殘民以逞,暴戾恣睢,然而槍炮卻從未使人民折服。二零二零年,政權以國家安全之名施惡法枷鎖,將屠刀架於港人項上。不過數周時間,鍾翰林、黎智英、周達權、黎耀恩、李宇軒、李宗澤以及周庭等超過二十名香港人,成為國安惡法下首批被捕者。羅織罪名、強闖報館、延後選舉、解僱教授,只會是漫長黑夜的序章。這城巿的未來,看似只有更加晦暗。
在極權黨國面前,我們或許力弱,但絕不勢孤。
歷史上,我們眼前的路,台灣和南韓在上世紀走過了。一九四七年,台灣爆發二二八事變後,《民報》等最少二十二家報館遭查封、停刊,及後蔣氏政權宣佈戒嚴、施行報禁。一九八零年,南韓光州事件半年後,全斗煥頒布「言論統廢合」政策,廢止一百七十二種定期刊物,將七間通訊社強行「統廢合」成一間。今日,兩地皆已在民主路上走得更遠。
國際間,我們眼前的路,有自由世界與我們同行。香港議題正改變地緣政治版圖,抗擊極權已成天下大勢。更值得我們振奮的是,世上每名珍愛民主自由的人,都在為我們搖旗吶喊。
大時代置我們一代香港人於十字路上。生於憂患中的我們,將用行動譜寫歷史新篇章,於時代呼召下昂首矗立,拒絕於沉默中滅亡。此刻縱然黑暗,卻仍充滿無限希望,皆因抗爭號角已將百萬港人從迷茫中喚醒。「讓牆壁堵住我的嘴唇吧,讓鐵條分割我的天空吧。只要心在跳動,就有血的潮汐。」再堅固的鐵牢亦斷不能囚禁自由的靈魂。我們就憑傘擋子彈的勇氣,於狂濤中破浪,戰勝極權與奴役。
香港大學學生會定必續與港人同行。哲學家漢娜鄂蘭在《黑暗時代群像》寫道:「即使時代黑暗,我們也有權去期待一種光明。這種光明或不來自理論和觀念。這一點明滅不定、隱約閃爍的星火,更多是由最平凡百姓所擦亮的。」淚淌過了、血流過了,我們依然同行著,因為我們相信彼此,我們相信香港,繼而願以生命去為我城追尋自由。而終有一日,香港亦終不負我們,還自由予你我每一名香港人。
香港大學學生會
二零二零年八月十四日
(此聲明已於蘋果日報頭版刊登。)
(以上為本會聲明之原文。蘋果日報於刊登此聲明前,曾諮詢其法律團隊專業意見。經過商討後,本會同意蘋果日報於報章刊登版本遮蓋部份字句。)
In 2019, Hong Kong protestors walked through the flames of the war raging across the length and breadth of the city. Yet, our people did not yield to the firearms. In 2020, the regime enacted draconian laws on the pretext of national security, putting the butcher's knife against Hongkongers’ throat. In just a few weeks time, over 20 Hongkongers, including Tony Chung Hon-lam, Jimmy Lai Chee-Ying, Royston Chow Tat-kuen, Ian Lai Yiu-yan, Andy Li, Wilson Li Chung-chak, Agnes Chow Ting, have become the first batch of arrested persons under the National Security Law. Students were arrested, a newspaper office was raided, an election was turned into a mere figurehead, a professor was dismissed - all of these are merely the prologue to a long gloomy night. It seems that the future of this city can only get ever duller.
We might be weak confronting the totalitarian party-state, but we are not alone.
Taiwan and South Korea are our predecessors in the quest for freedom. In 1947, the February 28 Massacre befell the press in Taiwan. Min Bao and at least 22 newspaper offices were seized and their publications were discontinued. The Chiang Regime introduced Martial Law and implemented a ban on newspapers. In 1980, just half a year after the May 18 Democratic Uprising, Chun Doo-hwan enacted The Basic Press Act, repealing 172 periodicals and forcefully merging seven news agencies into one. Having been through twists and turns, both of our predecessors have travelled so far on the road to democracy.
On the international field, we have the free world walking with us. The Hong Kong issue has been transforming global geopolitics. The trend of enforcing containment against totalitarianism is beyond doubt. On top of that, what we should be most uplifted by is the fact that every single person who cherishes democracy and freedom is voicing out for us in their positions.
We are now writing a new chapter in history. The time has put our generation on a cross-road. Shall we stand tall under the call of the times, or perish in silence? Hongkongers are pronouncing our choices with actions for posterity. "Let walls shut my mouth. Let prison bars divide my sky. As long as my heart keeps pounding, the ebb and flow of my blood will go on." Today, we are still hopeful as millions of Hongkongers have already been awakened by the horn of the resistance. Even the most stringent cage cannot imprison a soul yearning for freedom. With the same courage we have when we are standing against the bullets with umbrellas, we shall continue to ride with the wind and break through the waves.
The Hong Kong University Students’ Union shall continue to stand with Hongkongers. Hannah Arendt once wrote, “that even in the darkest of times we have the right to expect some illumination, and that such illumination might well come less from theories and concepts than from the uncertain, flickering, and often weak light that some men and women, in their lives and their works, will kindle.” Through blood, toil, tears and sweat, we will strive on. Out of our faith in one another, our faith in this city named Hong Kong, we will dedicate our lives to the pursuit of freedom in this city. However difficult it may be, Hongkongers will eventually restore our city.
The Hong Kong University Students’ Union
August 14, 2020
(This statement is published on the front page of Apple Daily.)
(Above is the original statement from the Union.
Apple Daily consulted professional legal advice before publication. After discussion, the Union approves of the redacted version for publication.)