Loving the Nuvit biocellulose mask that deeply moisturizing and hydrates my skin for instant restoration. The material is made up of bacterial strain and it is soak with Quintuple Hyaluronic Acid Serum. Its a 2 step mask where you first apply the serum generously onto your face before placing the mask on for 20 mins. Results were great after the first use, my skin feels lifted and more supple. There's definitely improvement on my skin. I did not apply any moisturizer after using the mask despite being in an air-conditioned room about 10 hours. My skin still feels hydrated. I will rate this product 4.5 out of 5 👏👏
Check out @nuvitmy for more info
🌐 Website
➡️ http://www.nuvit.com.my/
📲 Facebook
➡️ https://www.facebook.com/nuvitmy
📲 Instagram
➡️ https://www.instagram.com/nuvitmy/
#NUViT #Skincare #BiocelluloseMask #InstantHydrating #Restoring #BeRealBeYou
同時也有3部Youtube影片,追蹤數超過38萬的網紅台灣1001個故事,也在其Youtube影片中提到,The first nature documentary series on global endangered species in Taiwan, 《Orphans of the Earth》presents three new episodes in 2021 《Elves of Taiwan...
「rate restoration」的推薦目錄:
rate restoration 在 QiuQiu Facebook 的最讚貼文
❗️discount code❗️Tried out the ✨ new MIRACLE STEM CELL SOLUTION @PHSHAIRSCIENCE CAPSULE at Bedok Mall.
I had to do momming duties so i brought along Meredith with me and Josh. Yeah this treatment is also perfect for men! Fuss-free and time-efficient, it’s the perfect hairloss treatment for those who have busy lifestyles!
PHS HAIRSCIENCE ®️’s MIRACLE STEM CELL SOLUTION, a treatment powered by SigGrowTM, a proprietary complex of nano-sized growth factors, peptides and cytokines, has been scientifically-proven to be effective in cell repair, restoration and rejuvenation. Results can be expected as early as two months into the treatment!!! 😱
Hair problems like greying hair and loss of hair can all be solved with the MIRACLE STEM CELL SOLUTION @phshairscience 😍
For more information, go to @phshairscience! Quote “Qiuqiu” to get a special first trial rate at $58 only! ❤
#PHSHairscience #PHS #Miracles #MiraclesCanHappen #PHSxQiuQiu
rate restoration 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา
ในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี
Problem of reconciliation with justice oriented criminal dispute.
Step before prosecution.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง**
บทคัดย่อ
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา เป็นกระบวนการยุติธรรมคู่ขนานกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก เป็นการกำหนดออกมาในรูปของกฎหมายที่ทุกฝ่ายยินยอมและเห็นพ้องต้องกัน เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมลดทอนอำนาจการควบคุมสังคมของฝ่ายตนลงเพื่อให้ประชาชนเจ้าของอำนาจเดิมได้มีโอกาสมีส่วนร่วมใช้อำนาจบางส่วนควบคุม ชุมชน สังคมของตนเองต่างหาก กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้อง ซึ่งได้แก่ กระบวนการยุติธรรมของชุมชน กระบวนการยุติธรรมของฝ่ายปกครองและกระบวนการยุติธรรมของตำรวจ นั้นมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่การลดปัญหาความขัดแย้งและลดปัญหาในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในขั้นตอนดังกล่าวนั้นกฎหมายให้อำนาจให้ใช้กระบวนการยุติธรรมในทางแพ่งและทางอาญาอันเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอันยอมความได้เท่านั้น ไม่เปิดให้ใช้กระบวนการยุติธรรมกับความผิดอาญาที่เป็นความผิดเล็กๆน้อยที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความมิได้ จึงไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร เพราะข้อกฎหมายบางประการที่ไม่เปิดช่องให้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าว ดังนั้เพื่อที่ให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เขียนเห็นว่าควรใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในความผิดที่ยอมความมิได้ด้วย (ความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อรัฐ) ซึ่งควรจะเป็นความผิดอาญาเล็กๆน้อย หรือความผิดที่จำคุกระยะสั้นหรือความผิดที่มีอัตราจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดลหุโทษ รวมไปถึงความผิดอาญาที่กระทำโดยประมาท
Abtrac
Justice reconciliation analysis of criminal dispute. A process parallel to the mainstream criminal justice system. Is set out in the form of law that all parties acknowledge and agree. Is that both parties agree to reduce the power of social control of the party down to their own people the same power to have the opportunity to share some power with the community, social control of their own separate Reconciliation with justice oriented dispute resolution process before filing criminal cases in which such justice of the community. Justice of the Administration of Justice and Police. The important role that can lead to reduced conflict and reduce the problems in a case to court. However, the reconciliation process oriented steps such legal power to use justice in civil and criminal actions, which is only refrain. Not open to the justice system with criminal offense is guilty of a minor criminal offense, not a compromise. Is not able to solve the crime problem in society as efficiently and effectively as they should. Because some laws that do not open the box to justice. The Nang to the reconciliation process oriented with the dispute resolution process before filing criminal cases in the efficiency and effectiveness. The author agreed that the reconciliation process analysis in the settlement of criminal offenses with no compromise. (Earth fault or the fault of the government), which should be a minor criminal offense. Or imprisonment, although short, although the rate of imprisonment not exceeding 5 years, a petty offense. As well as criminal offenses committed by negligence.
ฟัง
อ่านออกเสียง
พจนานุกรม - ดูพจนานุกรมโดยละเอียด
บทนำ
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา (Restorative Justice) เป็นกระบวนการยุติธรรมคู่ขนานกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Criminal Justice) เป็นการกำหนดออกมาในรูปของกฎหมายที่ทุกฝ่ายยินยอมและเห็นพ้องต้องกัน ที่สำคัญคือ สังคมควรต้องมีการถกเถียงทางวิชาการอย่างจริงจังและเห็นพ้องต้องกันก่อนว่า การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้อย่างมีกฎหมายและกลไกกระบวนการทางสังคมรองรับต่อไปนั้นมิใช่เป็นการลดทอนอำนาจตุลาการและเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหารมีอำนาจจัดการด้านงานยุติธรรมในสังคมแต่อย่างใด แต่เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมลดทอนอำนาจการควบคุมสังคมของฝ่ายตนลงเพื่อให้ประชาชนเจ้าของอำนาจเดิมได้มีโอกาสมีส่วนร่วมใช้อำนาจบางส่วนควบคุม ชุมชน สังคมของตนเองต่างหาก ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาจึงมีหลักการที่สำคัญว่า การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ดังกล่าวได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการกับผู้กระทำความผิดและได้รับความยินยอมโดยอิสระและสมัครใจจากผู้เสียหาย และผู้กระทำความผิด ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดควรที่จะสามารถยกเลิกเพิกถอนความยินยอมดังกล่าวในเวลาใดๆก็ได้ในระหว่างกระบวนการยุติธรรม เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 81 ที่ได้บัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการอำนวยความยุติธรรม ไว้ว่า “ (1) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย” จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น อีกทั้งมุ่งให้มีการจัดระบบงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของประเทศไทย นั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1.รูปแบบที่มีกฎหมายรองรับนั้นส่วนมากจะเป็นกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอันเป็นความผิดที่ยอมความได้ (ความผิดต่อส่วนตัว)
2. รูปแบบที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เช่น กระบวนการยุติธรรมในชั้นทนายความ คือ ทนายความเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินเจรจาต่อรองให้ยุติในการดำเนินคดีอาญาซึ่งเป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ (ความผิดต่อส่วนตัว) เท่านั้น
ซึ่งในรูปแบบที่ที่มีกฎหมายรองรับนั้นมีอยู่หลายขั้นตอนด้วยกันดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนฟ้องคดี ซึ่ง ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นตำรวจ
2. ขั้นตอนหลังการฟ้องคดี เป็นขั้นตอนกระบวนการของอัยการ คือกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นอัยการ ซึ่งเป็นมาตรการที่สามารถกระทำได้โดยพนักงานอัยการภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาและส่งคดีมาแล้ว พนักงานอัยการสามารถเลือกที่จะเสนอคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้ในกรณีที่เป็นการฟ้องที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คดี คือ เป็นการฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ขั้นตอนก่อนมีคำพิพากษา เป็นขั้นตอนกระบวนการของศาล คือ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล ซึ่งเป็นการดำเนินการของผู้พิพากษา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างรอการพิพากษาในคดีที่มีความรุนแรงไม่มากนัก ศาลจะใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยใช้วิธีไกล่เกลี่ย คือ มีผู้ไกล่เกลี่ยที่ศาลตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำความผิดให้ฟื้นความสัมพันธ์เข้าสู่สังคมโดยปกติ
4. ขั้นตอนระหว่างรับโทษ เป็นขั้นตอนกระบวนการของราชทัณฑ์ คือ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นราชทัณฑ์ เป็นขั้นตอนการเสนอคดีเข้าสู่การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เพื่อเยียวยาความเสียหายของผู้เสียหาย ผู้กระทำความผิด ชุมชน ระหว่างผู้กระทำความผิดได้รับโทษอยู่ คือ อาจเป็นการพักการลงโทษแก่นักโทษเด็ดขาดภายใต้เงื่อนไขการควบคุมความประพฤติ โดยฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้านและตำรวจท้องที่
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี ซึ่งเป็นการกระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาขั้นตอนหนึ่งที่ประเทศไทยนำมาใช้ ประกอบด้วย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นตำรวจ ดังนี้
1. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชุมชน
ชุมชน คือ คณะกรรมการหมู่บ้านใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 ออกโดยอาศัยมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนี้
“ ข้อ 4 ให้คณะกรรมการหมู่บ้านทำการประนีประนอมข้อพิพาทได้เมื่อ
(1) เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่งหรือความอาญาอันยอมความได้
(2) คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงให้คณะกรรมการหมู่บ้านประนีประนอมข้อพิพาท และ
(3) ข้อพิพาทดังกล่าวเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้าน”
2. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นฝ่ายปกครอง
ฝ่ายปกครองใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ตามมาตรา 61/1 61/2 61/3 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550) ดังนี้
“มาตรา 61/1ให้อำเภอมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตอำเภอ ดังต่อไปนี้
(1) อำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 52/1 (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) โดยให้นำความในมาตรา 52/2 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม
(3) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม
(4) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตามมาตรา 61/2 และมาตรา 61/3”
“มาตรา 61/2ในอำเภอหนึ่ง ให้มีคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดินมรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทหรือมากกว่านั้น ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ให้นายอำเภอโดยความเห็นชอบของคณะกรมการจังหวัดจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เหมาะสมกับการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นและคู่พิพาทตกลงยินยอมให้ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามวรรคสองฝ่ายละหนึ่งคน และให้นายอำเภอพนักงานอัยการประจำจังหวัดหรือปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายคนหนึ่งเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
ให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทมีอำนาจหน้าที่รับฟังข้อพิพาทโดยตรงจากคู่พิพาท และดำเนินการไกล่เกลี่ยให้เกิดข้อตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างคู่พิพาทโดยเร็ว ถ้าคู่พิพาททั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแลประนอมข้อพิพาทจัดให้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาท และให้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ในกรณีที่คู่พิพาทไม่อาจตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจำหน่ายข้อพิพาทนั้น
ข้อตกลงตามวรรคสี่ให้มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชี การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนค่าตอบแทนของคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทวง
ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการ และให้พนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้รับข้อพิพาทไว้พิจารณา ให้อายุความในการฟ้องร้องคดีสะดุดหยุดลง นับแต่วันที่ยื่นข้อพิพาทจนถึงวันที่คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจำหน่ายข้อพิพาทหรือวันที่คู่พิพาททำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แล้วแต่กรณี
ความในมาตรานี้ให้ใช้กับเขตของกรุงเทพมหานครด้วยโดยอนุโลม”
“มาตรา 61/3 บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอใดหากเป็นความผิดอันยอมความได้ และมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ถ้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอม หรือแสดงความจำนง ให้นายอำเภอของอำเภอนั้นหรือปลัดอำเภอที่นายอำเภอดังกล่าวมอบหมายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณี และเมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอมเป็นหนังสือตามที่ไกล่เกลี่ยและปฏิบัติตามคำไกล่เกลี่ยดังกล่าวแล้ว ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาไม่ยินยอมตามที่ไกล่เกลี่ย ให้จำหน่ายข้อพิพาทนั้นแต่เพื่อประโยชน์ในการที่ผู้เสียหายจะไปดำเนินคดีต่อไป อายุความการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายอาญา ให้เริ่มนับแต่วันที่จำหน่ายข้อพิพาท
หลักเกณฑ์และวิธีในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”
3. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นตำรวจ
กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนได้ แต่เป็นความผิดอันยอมความได้กับความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 37 ประกอบมาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคามอาญา ดังนี้
“มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
(1) ........
(2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่น เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
(3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้นๆได้เปรียบเทียบแล้ว
(4) .ในคดีซึ่งเปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว”
“มาตรา 39 สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้
(1) ...............
(2) ในคดีความผิดส่วนตัว เมื่อได้ถอนร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37
(4) ..........
(5) .........
(6) ..........
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ”
วิเคราะห์ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี
เมื่อพิจารณาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของประเทศไทย ในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี คือ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นตำรวจหรือในชั้นสอบสวน พบว่ากฎหมายเปิดช่องให้ใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาอันเป็นความผิดที่ยอมความได้และเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในความผิดลหุโทษได้เท่านั้น แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้ (ความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อรัฐ) ดังเช่น ขั้นตอนหลังการฟ้องคดี ที่ดำเนินการโดยพนักงานอัยการ ขั้นตอนก่อนพิพากษาที่ดำเนินการโดยศาล และขั้นตอนระหว่างรับโทษที่ดำเนินการโดยราชทัณฑ์ ดังนี้
1. ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาใน
ชุมชน
เมื่อพิจารณาจากการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชุมชน กระทำได้เฉพาะคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ เท่านั้น ส่วนคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้กระทำได้ จากข้อเท็จจริงในชุมชนได้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าวกับความผิดอาญาอันยอมความมิได้ โดยที่คดีดังกล่าวไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้น
ฝ่ายปกครอง
เมื่อพิจารณาจากการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นฝ่ายปกครอง ได้เฉพาะคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ เท่านั้น ส่วนคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้กระทำได้ จากข้อเท็จจริงฝ่ายปกครองได้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าวกับความผิดอาญาอันยอมความมิได้ โดยที่คดีดังกล่าวไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก แต่อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้น
ตำรวจ
เมื่อพิจารณาถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและต้นธารที่สำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักและเป็นองค์กรที่สัมผัสประชาชนโดยตรงในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันปราบปราม รวมทั้งการสืบสวนสอบสวนและทราบข้อมูลสภาพปัญหาในชุมชนนั้นๆดีที่สุด แต่ไม่ปรากฏวิธีการและขั้นตอนตามกฎหมายที่ชัดเจนจะนำมาใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา ในการกระทำที่เป็นความผิดอาญาอันเป็นความผิดอาญาที่ยอมความมิได้ มาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาในชั้นสอบสวน
จากสถิติที่ปรากฏและจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเองพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของคดีความทางอาญาที่เกิดขึ้น ไม่มีการรายงานถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีการระงับหรือยุติไปตามกระบวนการของสังคมในตัวเอง และเรื่องที่มาถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจปรากฏว่าในข้อเท็จจริงไม่ว่าจะเป็นสำนวนคดีและนำสำนวนคดีไปสู่การพิจารณาในชั้นอัยการและศาลก็มีขึ้นไปไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่ตำรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจรายงาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสังคมมีกลไกและกระบวนการในการยุติปัญหาข้อขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ในตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสมานฉันท์กันเองระหว่างคู่กรณี เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกชน กระบวนการสมานฉันท์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด และอย่างไรก็ได้ แต่ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้และความผิดลหุโทษ แต่การใช้สมานฉันท์กับการกระทำที่เป็นความผิดอันยอมความมิได้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งมีการดำเนินการอยู่แล้วทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้ทุกวันนี้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีเจตนามุ่งเน้นการสร้างความสงบสุขให้แก่สังคมนั้น ต้องเสี่ยงต่อการกลายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้หลักสุจริตและหลักนิติศาสตร์ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถคุ้มครองการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการระงับข้อพิพาทตามเหตุผล ความจำเป็น และความต้องการของคู่กรณีได้
ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดีอาญานี้ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมและไม่สามารถลดปริมาณคดีอาญาที่ขึ้นสู่ศาลได้เท่าที่ควร เพราะข้อกฎหมายบางประการที่ไม่เปิดช่องให้กระบวนการยุติธรรมในบางขั้นตอนดำเนินการได้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Criminal Justice) ก็ยังคงมีบทบาทอยู่เช่นเคย
แต่อย่างไรก็ตามได้มีความพยามที่จะใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้อง โดยเฉพาะในชั้นตอนของตำรวจ เช่น การเสนอร่างพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน ต่อสภานิติบัญญัติในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมแต่ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ตกไป ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจเล็งเห็นความสำคัญในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน (ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนหนึ่งของขั้นตอนก่อนก่อนฟ้อง) ได้มีการตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนขึ้นมาเพื่อพิจารณาศึกษาวิเคราะห์และสร้างรูปแบบและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคเพื่อเป็นแนวทางของการสร้างรูปแบบและขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญากับการระงับข้อพิพาทชั้นสอบสวน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก รวมทั้งการนำประเด็นที่วิเคราะห์ข้างต้นมาออกแบบร่างกฎหมายมารองรับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้นเพื่อที่ให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เขียนเห็นว่าควรใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญา ในความผิดที่ยอมความมิได้ด้วย (ความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อรัฐ) ซึ่งควรจะเป็นความผิดอาญาเล็กๆน้อย หรือความผิดที่จำคุกระยะสั้นหรือความผิดที่มีอัตราจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดลหุโทษ รวมไปถึงความผิดอาญาที่กระทำโดยประมาท เนื่องจากการนำความผิดอาญาที่กระทำโดยประมาทมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาขั้นตอนดังกล่าวนี้ เพราะการกระทำโดยประมาทเป็นการกระทำโดยผู้กระทำความผิดไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญาอย่างแท้จริงและไม่ประสงค์จะให้เกิดความเสียหายขึ้น เขาคงระมัดระวังขึ้นหากเขารู้ว่าจะต้องใช้ความระมัดระวัง นอกจากนี้ยังมีหลายกรณีที่คนเราบางคนอาจเกิดมาเป็นคนซุ่มซ่าม เตะโน่น ชนนี่ ขี้ลืม อยู่เป็นปกตินิสัย การจะกะเกณฑ์ให้ต้องรับโทษอาญาถึงจำคุก เพราะขาดความระมัดระวังจึงออกจะเป็นการฝืนวิสัยเกินไปและไม่สมเหตุผลเท่าใดนัก คดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทนี้
การกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นจึงสมควรที่นำไปใช้ในกระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดีได้ และเป็นความผิดที่เกิดขึ้นในครั้งแรก นั้นไม่สมควรที่จะต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักหรือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ ควรจะเบี่ยงเบนคดีไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก คือ ใช้กระบวนการยุติธรรมคู่ขนานในลักษณะกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นวิธีการต่อผู้กระทำความผิดโดยไม่ใช้วิธีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีหลักการอยู่ที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสประนีประนอมยอมความกัน เมื่อผู้กระทำความผิดสำนึกผิดและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายโดยรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นและไปตามหลักนิติสมบัติ หรือหลักคุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut) ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่กรณีและสังคมมากกว่า เพราะสามารถลดระยะเวลาและความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการยุติธรรม ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ อีกทั้งส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตามทฤษฎี “อาชญาวิทยาแนวสันติวิธี (Peacemaking Criminology) ซึ่งเป็นกระบวนการค้ำชูผู้มีส่วนร่วมได้เสียในการกระทำความผิด ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อร่วมกัน ระบุชี้และจัดการความเสียหาย ความต้องการของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถฟื้นฟูเยียวยา (Restoration) ทำให้ความเสียหายกลับคืนได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ อันเป็นวิธีการที่เหมาะสมยิ่งกว่าหลักการลงโทษผู้กระทำความผิด
ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา
ในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี
Problem of reconciliation with justice oriented criminal dispute.
Step before prosecution.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง**
บทคัดย่อ
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา เป็นกระบวนการยุติธรรมคู่ขนานกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก เป็นการกำหนดออกมาในรูปของกฎหมายที่ทุกฝ่ายยินยอมและเห็นพ้องต้องกัน เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมลดทอนอำนาจการควบคุมสังคมของฝ่ายตนลงเพื่อให้ประชาชนเจ้าของอำนาจเดิมได้มีโอกาสมีส่วนร่วมใช้อำนาจบางส่วนควบคุม ชุมชน สังคมของตนเองต่างหาก กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้อง ซึ่งได้แก่ กระบวนการยุติธรรมของชุมชน กระบวนการยุติธรรมของฝ่ายปกครองและกระบวนการยุติธรรมของตำรวจ นั้นมีบทบาทสำคัญที่จะนำไปสู่การลดปัญหาความขัดแย้งและลดปัญหาในการนำคดีขึ้นสู่ศาลได้ แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในขั้นตอนดังกล่าวนั้นกฎหมายให้อำนาจให้ใช้กระบวนการยุติธรรมในทางแพ่งและทางอาญาอันเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอันยอมความได้เท่านั้น ไม่เปิดให้ใช้กระบวนการยุติธรรมกับความผิดอาญาที่เป็นความผิดเล็กๆน้อยที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความมิได้ จึงไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร เพราะข้อกฎหมายบางประการที่ไม่เปิดช่องให้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าว ดังนั้เพื่อที่ให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เขียนเห็นว่าควรใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในความผิดที่ยอมความมิได้ด้วย (ความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อรัฐ) ซึ่งควรจะเป็นความผิดอาญาเล็กๆน้อย หรือความผิดที่จำคุกระยะสั้นหรือความผิดที่มีอัตราจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดลหุโทษ รวมไปถึงความผิดอาญาที่กระทำโดยประมาท
Abtrac
Justice reconciliation analysis of criminal dispute. A process parallel to the mainstream criminal justice system. Is set out in the form of law that all parties acknowledge and agree. Is that both parties agree to reduce the power of social control of the party down to their own people the same power to have the opportunity to share some power with the community, social control of their own separate Reconciliation with justice oriented dispute resolution process before filing criminal cases in which such justice of the community. Justice of the Administration of Justice and Police. The important role that can lead to reduced conflict and reduce the problems in a case to court. However, the reconciliation process oriented steps such legal power to use justice in civil and criminal actions, which is only refrain. Not open to the justice system with criminal offense is guilty of a minor criminal offense, not a compromise. Is not able to solve the crime problem in society as efficiently and effectively as they should. Because some laws that do not open the box to justice. The Nang to the reconciliation process oriented with the dispute resolution process before filing criminal cases in the efficiency and effectiveness. The author agreed that the reconciliation process analysis in the settlement of criminal offenses with no compromise. (Earth fault or the fault of the government), which should be a minor criminal offense. Or imprisonment, although short, although the rate of imprisonment not exceeding 5 years, a petty offense. As well as criminal offenses committed by negligence.
ฟัง
อ่านออกเสียง
พจนานุกรม - ดูพจนานุกรมโดยละเอียด
บทนำ
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา (Restorative Justice) เป็นกระบวนการยุติธรรมคู่ขนานกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Criminal Justice) เป็นการกำหนดออกมาในรูปของกฎหมายที่ทุกฝ่ายยินยอมและเห็นพ้องต้องกัน ที่สำคัญคือ สังคมควรต้องมีการถกเถียงทางวิชาการอย่างจริงจังและเห็นพ้องต้องกันก่อนว่า การนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้อย่างมีกฎหมายและกลไกกระบวนการทางสังคมรองรับต่อไปนั้นมิใช่เป็นการลดทอนอำนาจตุลาการและเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหารมีอำนาจจัดการด้านงานยุติธรรมในสังคมแต่อย่างใด แต่เป็นการที่ทั้งสองฝ่ายต่างยินยอมลดทอนอำนาจการควบคุมสังคมของฝ่ายตนลงเพื่อให้ประชาชนเจ้าของอำนาจเดิมได้มีโอกาสมีส่วนร่วมใช้อำนาจบางส่วนควบคุม ชุมชน สังคมของตนเองต่างหาก ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาจึงมีหลักการที่สำคัญว่า การใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ดังกล่าวได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะดำเนินการกับผู้กระทำความผิดและได้รับความยินยอมโดยอิสระและสมัครใจจากผู้เสียหาย และผู้กระทำความผิด ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดควรที่จะสามารถยกเลิกเพิกถอนความยินยอมดังกล่าวในเวลาใดๆก็ได้ในระหว่างกระบวนการยุติธรรม เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 81 ที่ได้บัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านการอำนวยความยุติธรรม ไว้ว่า “ (1) ดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพโดยให้ประชาชนและองค์กรวิชาชีพมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม และการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย” จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น อีกทั้งมุ่งให้มีการจัดระบบงานของรัฐในกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ในปัจจุบันกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของประเทศไทย นั้นมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ
1.รูปแบบที่มีกฎหมายรองรับนั้นส่วนมากจะเป็นกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาอันเป็นความผิดที่ยอมความได้ (ความผิดต่อส่วนตัว)
2. รูปแบบที่ไม่มีกฎหมายรองรับ เช่น กระบวนการยุติธรรมในชั้นทนายความ คือ ทนายความเป็นผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินเจรจาต่อรองให้ยุติในการดำเนินคดีอาญาซึ่งเป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ (ความผิดต่อส่วนตัว) เท่านั้น
ซึ่งในรูปแบบที่ที่มีกฎหมายรองรับนั้นมีอยู่หลายขั้นตอนด้วยกันดังนี้
1. ขั้นตอนก่อนฟ้องคดี ซึ่ง ได้แก่ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นตำรวจ
2. ขั้นตอนหลังการฟ้องคดี เป็นขั้นตอนกระบวนการของอัยการ คือกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นอัยการ ซึ่งเป็นมาตรการที่สามารถกระทำได้โดยพนักงานอัยการภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาและส่งคดีมาแล้ว พนักงานอัยการสามารถเลือกที่จะเสนอคดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ได้ในกรณีที่เป็นการฟ้องที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่คดี คือ เป็นการฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ
3. ขั้นตอนก่อนมีคำพิพากษา เป็นขั้นตอนกระบวนการของศาล คือ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นศาล ซึ่งเป็นการดำเนินการของผู้พิพากษา ขณะที่คดีอยู่ระหว่างรอการพิพากษาในคดีที่มีความรุนแรงไม่มากนัก ศาลจะใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาโดยใช้วิธีไกล่เกลี่ย คือ มีผู้ไกล่เกลี่ยที่ศาลตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายกับผู้กระทำความผิดให้ฟื้นความสัมพันธ์เข้าสู่สังคมโดยปกติ
4. ขั้นตอนระหว่างรับโทษ เป็นขั้นตอนกระบวนการของราชทัณฑ์ คือ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นราชทัณฑ์ เป็นขั้นตอนการเสนอคดีเข้าสู่การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ เพื่อเยียวยาความเสียหายของผู้เสียหาย ผู้กระทำความผิด ชุมชน ระหว่างผู้กระทำความผิดได้รับโทษอยู่ คือ อาจเป็นการพักการลงโทษแก่นักโทษเด็ดขาดภายใต้เงื่อนไขการควบคุมความประพฤติ โดยฝากไว้กับเจ้าหน้าที่ปกครองท้องที่ กำนันผู้ใหญ่บ้านและตำรวจท้องที่
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี ซึ่งเป็นการกระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาขั้นตอนหนึ่งที่ประเทศไทยนำมาใช้ ประกอบด้วย กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นตำรวจ ดังนี้
1. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชุมชน
ชุมชน คือ คณะกรรมการหมู่บ้านใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการหมู่บ้าน พ.ศ. 2530 ออกโดยอาศัยมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ดังนี้
“ ข้อ 4 ให้คณะกรรมการหมู่บ้านทำการประนีประนอมข้อพิพาทได้เมื่อ
(1) เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับความแพ่งหรือความอาญาอันยอมความได้
(2) คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงให้คณะกรรมการหมู่บ้านประนีประนอมข้อพิพาท และ
(3) ข้อพิพาทดังกล่าวเกิดขึ้นในหมู่บ้านหรือคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่บ้าน”
2. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นฝ่ายปกครอง
ฝ่ายปกครองใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ ตามมาตรา 61/1 61/2 61/3 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550) ดังนี้
“มาตรา 61/1ให้อำเภอมีอำนาจหน้าที่ภายในเขตอำเภอ ดังต่อไปนี้
(1) อำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดในมาตรา 52/1 (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) โดยให้นำความในมาตรา 52/2 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
(2) ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม
(3) ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน เพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด และกระทรวง ทบวง กรม
(4) ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคมตามมาตรา 61/2 และมาตรา 61/3”
“มาตรา 61/2ในอำเภอหนึ่ง ให้มีคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทของประชาชนที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอ ในเรื่องที่พิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดินมรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทหรือมากกว่านั้น ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ให้นายอำเภอโดยความเห็นชอบของคณะกรมการจังหวัดจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลที่จะทำหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์เหมาะสมกับการทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้นและคู่พิพาทตกลงยินยอมให้ใช้วิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้คู่พิพาทแต่ละฝ่ายเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อตามวรรคสองฝ่ายละหนึ่งคน และให้นายอำเภอพนักงานอัยการประจำจังหวัดหรือปลัดอำเภอที่ได้รับมอบหมายคนหนึ่งเป็นประธาน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท
ให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทมีอำนาจหน้าที่รับฟังข้อพิพาทโดยตรงจากคู่พิพาท และดำเนินการไกล่เกลี่ยให้เกิดข้อตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างคู่พิพาทโดยเร็ว ถ้าคู่พิพาททั้งสองฝ่ายตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยแลประนอมข้อพิพาทจัดให้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่พิพาท และให้ถือเอาข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันคู่พิพาททั้งสองฝ่าย ในกรณีที่คู่พิพาทไม่อาจตกลงกันได้ ให้คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจำหน่ายข้อพิพาทนั้น
ข้อตกลงตามวรรคสี่ให้มีผลเช่นเดียวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชี การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและการจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ตลอดจนค่าตอบแทนของคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทวง
ในกรณีที่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้คู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องต่อพนักงานอัยการ และให้พนักงานอัยการดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อให้ออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เมื่อคณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทได้รับข้อพิพาทไว้พิจารณา ให้อายุความในการฟ้องร้องคดีสะดุดหยุดลง นับแต่วันที่ยื่นข้อพิพาทจนถึงวันที่คณะบุคคลผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทสั่งจำหน่ายข้อพิพาทหรือวันที่คู่พิพาททำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แล้วแต่กรณี
ความในมาตรานี้ให้ใช้กับเขตของกรุงเทพมหานครด้วยโดยอนุโลม”
“มาตรา 61/3 บรรดาความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอใดหากเป็นความผิดอันยอมความได้ และมิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ ถ้าผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอม หรือแสดงความจำนง ให้นายอำเภอของอำเภอนั้นหรือปลัดอำเภอที่นายอำเภอดังกล่าวมอบหมายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามควรแก่กรณี และเมื่อผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอมเป็นหนังสือตามที่ไกล่เกลี่ยและปฏิบัติตามคำไกล่เกลี่ยดังกล่าวแล้ว ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหาไม่ยินยอมตามที่ไกล่เกลี่ย ให้จำหน่ายข้อพิพาทนั้นแต่เพื่อประโยชน์ในการที่ผู้เสียหายจะไปดำเนินคดีต่อไป อายุความการร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายอาญา ให้เริ่มนับแต่วันที่จำหน่ายข้อพิพาท
หลักเกณฑ์และวิธีในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”
3. กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นตำรวจ
กฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวนได้ แต่เป็นความผิดอันยอมความได้กับความผิดลหุโทษ ตามมาตรา 37 ประกอบมาตรา 39 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคามอาญา ดังนี้
“มาตรา 37 คดีอาญาเลิกกันได้ ดังต่อไปนี้
(1) ........
(2) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่น เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
(3) ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษหรือคดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ซึ่งเกิดในกรุงเทพมหานคร เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่นายตำรวจประจำท้องที่ตั้งแต่ตำแหน่งสารวัตรขึ้นไป หรือนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรผู้ทำการในตำแหน่งนั้นๆได้เปรียบเทียบแล้ว
(4) .ในคดีซึ่งเปรียบเทียบปรับได้ตามกฎหมายอื่น เมื่อต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว”
“มาตรา 39 สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปดังต่อไปนี้
(1) ...............
(2) ในคดีความผิดส่วนตัว เมื่อได้ถอนร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันถูกต้องตามกฎหมาย
(3) เมื่อคดีเลิกกันตามมาตรา 37
(4) ..........
(5) .........
(6) ..........
(7) เมื่อมีกฎหมายยกเว้นโทษ”
วิเคราะห์ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี
เมื่อพิจารณาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาของประเทศไทย ในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี คือ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชุมชน กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นฝ่ายปกครอง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นตำรวจหรือในชั้นสอบสวน พบว่ากฎหมายเปิดช่องให้ใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาอันเป็นความผิดที่ยอมความได้และเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในความผิดลหุโทษได้เท่านั้น แต่ไม่ได้เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้ (ความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อรัฐ) ดังเช่น ขั้นตอนหลังการฟ้องคดี ที่ดำเนินการโดยพนักงานอัยการ ขั้นตอนก่อนพิพากษาที่ดำเนินการโดยศาล และขั้นตอนระหว่างรับโทษที่ดำเนินการโดยราชทัณฑ์ ดังนี้
1. ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาใน
ชุมชน
เมื่อพิจารณาจากการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชุมชน กระทำได้เฉพาะคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ เท่านั้น ส่วนคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้กระทำได้ จากข้อเท็จจริงในชุมชนได้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าวกับความผิดอาญาอันยอมความมิได้ โดยที่คดีดังกล่าวไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
2. ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้น
ฝ่ายปกครอง
เมื่อพิจารณาจากการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นฝ่ายปกครอง ได้เฉพาะคดีอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ เท่านั้น ส่วนคดีอาญาที่เป็นการกระทำความผิดอันยอมความมิได้กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้กระทำได้ จากข้อเท็จจริงฝ่ายปกครองได้มีการใช้กระบวนการยุติธรรมดังกล่าวกับความผิดอาญาอันยอมความมิได้ โดยที่คดีดังกล่าวไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก แต่อย่างไรก็ตามการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. ปัญหาการใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้น
ตำรวจ
เมื่อพิจารณาถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและต้นธารที่สำคัญในกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักและเป็นองค์กรที่สัมผัสประชาชนโดยตรงในเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและการป้องกันปราบปราม รวมทั้งการสืบสวนสอบสวนและทราบข้อมูลสภาพปัญหาในชุมชนนั้นๆดีที่สุด แต่ไม่ปรากฏวิธีการและขั้นตอนตามกฎหมายที่ชัดเจนจะนำมาใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญา ในการกระทำที่เป็นความผิดอาญาอันเป็นความผิดอาญาที่ยอมความมิได้ มาใช้กับผู้กระทำความผิดอาญาในชั้นสอบสวน
จากสถิติที่ปรากฏและจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเองพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของคดีความทางอาญาที่เกิดขึ้น ไม่มีการรายงานถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมีการระงับหรือยุติไปตามกระบวนการของสังคมในตัวเอง และเรื่องที่มาถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจปรากฏว่าในข้อเท็จจริงไม่ว่าจะเป็นสำนวนคดีและนำสำนวนคดีไปสู่การพิจารณาในชั้นอัยการและศาลก็มีขึ้นไปไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่ตำรวจเจ้าหน้าที่ตำรวจรายงาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสังคมมีกลไกและกระบวนการในการยุติปัญหาข้อขัดแย้งและสร้างความสมานฉันท์ในตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการสมานฉันท์กันเองระหว่างคู่กรณี เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเอกชน กระบวนการสมานฉันท์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด และอย่างไรก็ได้ แต่ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้และความผิดลหุโทษ แต่การใช้สมานฉันท์กับการกระทำที่เป็นความผิดอันยอมความมิได้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งมีการดำเนินการอยู่แล้วทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ทำให้ทุกวันนี้การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีเจตนามุ่งเน้นการสร้างความสงบสุขให้แก่สังคมนั้น ต้องเสี่ยงต่อการกลายเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้หลักสุจริตและหลักนิติศาสตร์ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถคุ้มครองการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการระงับข้อพิพาทตามเหตุผล ความจำเป็น และความต้องการของคู่กรณีได้
ดังนั้นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดีอาญานี้ก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมได้อย่างประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมและไม่สามารถลดปริมาณคดีอาญาที่ขึ้นสู่ศาลได้เท่าที่ควร เพราะข้อกฎหมายบางประการที่ไม่เปิดช่องให้กระบวนการยุติธรรมในบางขั้นตอนดำเนินการได้ กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก (Main Stream Criminal Justice) ก็ยังคงมีบทบาทอยู่เช่นเคย
แต่อย่างไรก็ตามได้มีความพยามที่จะใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้อง โดยเฉพาะในชั้นตอนของตำรวจ เช่น การเสนอร่างพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน ต่อสภานิติบัญญัติในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติร่วมกับสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมแต่ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ตกไป ซึ่งในปัจจุบันคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจเล็งเห็นความสำคัญในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน (ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมในขั้นตอนหนึ่งของขั้นตอนก่อนก่อนฟ้อง) ได้มีการตั้งอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนขึ้นมาเพื่อพิจารณาศึกษาวิเคราะห์และสร้างรูปแบบและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคเพื่อเป็นแนวทางของการสร้างรูปแบบและขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญากับการระงับข้อพิพาทชั้นสอบสวน เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก รวมทั้งการนำประเด็นที่วิเคราะห์ข้างต้นมาออกแบบร่างกฎหมายมารองรับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน เพื่อเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้นเพื่อที่ให้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เขียนเห็นว่าควรใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญา ในความผิดที่ยอมความมิได้ด้วย (ความผิดต่อแผ่นดินหรือความผิดต่อรัฐ) ซึ่งควรจะเป็นความผิดอาญาเล็กๆน้อย หรือความผิดที่จำคุกระยะสั้นหรือความผิดที่มีอัตราจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดลหุโทษ รวมไปถึงความผิดอาญาที่กระทำโดยประมาท เนื่องจากการนำความผิดอาญาที่กระทำโดยประมาทมาใช้ในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาขั้นตอนดังกล่าวนี้ เพราะการกระทำโดยประมาทเป็นการกระทำโดยผู้กระทำความผิดไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดทางอาญาอย่างแท้จริงและไม่ประสงค์จะให้เกิดความเสียหายขึ้น เขาคงระมัดระวังขึ้นหากเขารู้ว่าจะต้องใช้ความระมัดระวัง นอกจากนี้ยังมีหลายกรณีที่คนเราบางคนอาจเกิดมาเป็นคนซุ่มซ่าม เตะโน่น ชนนี่ ขี้ลืม อยู่เป็นปกตินิสัย การจะกะเกณฑ์ให้ต้องรับโทษอาญาถึงจำคุก เพราะขาดความระมัดระวังจึงออกจะเป็นการฝืนวิสัยเกินไปและไม่สมเหตุผลเท่าใดนัก คดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทนี้
การกระทำความผิดดังกล่าวข้างต้นจึงสมควรที่นำไปใช้ในกระบวนยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดีได้ และเป็นความผิดที่เกิดขึ้นในครั้งแรก นั้นไม่สมควรที่จะต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักหรือกระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ ควรจะเบี่ยงเบนคดีไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลัก คือ ใช้กระบวนการยุติธรรมคู่ขนานในลักษณะกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ เป็นวิธีการต่อผู้กระทำความผิดโดยไม่ใช้วิธีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีหลักการอยู่ที่ผู้เสียหายและผู้กระทำความผิดได้มีโอกาสประนีประนอมยอมความกัน เมื่อผู้กระทำความผิดสำนึกผิดและยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ขณะเดียวกันผู้เสียหายได้รับการเยียวยาและได้รับค่าชดใช้ค่าเสียหายโดยรวดเร็วทันที ซึ่งเป็นและไปตามหลักนิติสมบัติ หรือหลักคุณธรรมทางกฎหมาย (Rechtsgut) ซึ่งจะเป็นผลดีแก่คู่กรณีและสังคมมากกว่า เพราะสามารถลดระยะเวลาและความยุ่งยากซับซ้อนในกระบวนการยุติธรรม ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ อีกทั้งส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ตามทฤษฎี “อาชญาวิทยาแนวสันติวิธี (Peacemaking Criminology) ซึ่งเป็นกระบวนการค้ำชูผู้มีส่วนร่วมได้เสียในการกระทำความผิด ได้เข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เพื่อร่วมกัน ระบุชี้และจัดการความเสียหาย ความต้องการของแต่ละฝ่ายเพื่อให้สามารถฟื้นฟูเยียวยา (Restoration) ทำให้ความเสียหายกลับคืนได้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ อันเป็นวิธีการที่เหมาะสมยิ่งกว่าหลักการลงโทษผู้กระทำความผิด
บทสรุปส่งท้าย ผู้เขียนเห็นว่าถ้ามีการนำหลักการกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี ในความผิดที่ยอมความมิได้ด้วย โดยเฉพาะคดีเล็กๆน้อยๆที่มีโทษทางอาญาในประมวลกฎหมายอาญาไม่เกิน 5 ปี นั้นน่าจะผลดีต่อประชาชน ชุมชนและสังคมในลักษณะแบบ Win-Win ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องคดี ดังนี้
Win ที่ 1 เป็นประโยชน์แก่ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในการได้รับแก้ไขเยียวยา รวมทั้งการปรับสามัญสำนึกการให้อภัยแก่ผู้กระทำความผิด
Win ที่ 2 เป็นประโยชน์กับผู้กระทำความผิดที่สำนึกในการกระทำความผิด การชดใช้ค่าเสียให้กับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายให้อภัยกับผู้กระทำความผิด
Win ที่ 3 ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ลดการทุจริตของเจ้าพนักงาน และลดงบประมาณภาครัฐ
Win ที่ 4 เป็นการส่งผลให้ประชาชนทุกระดับเข้ามีส่วนร่วมในการอำนวยความยุติธรรมและป้องกันปัญหาความขัดแย้งในชุมชนเพื่อเสริมสร้างให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
Win ที่ 5 Win ที่ 5 เป็นการรองรับการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาในขั้นตอนก่อนฟ้องได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายอำเภอและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นต้น
บรรณานุกรม
หนังสือและเอกสาร งานวิจัย
ไกรฤกษ์ เกษมสันต์ (หม่อมหลวง) “บทบาทของกรมประพฤติในการป้องกันอาชญากรรม มิติใหม่
ในกระบวนการยุติธรรม” เอกสารวิจัยส่วนบุคคล สถาบันพระปกเกล้า ประจำปีการศึกษา 2539
คณิต ณ นคร “ประมวลกฎหมายอาญา หลักกฎหมายและพื้นฐานการเข้าใจ” อนุสรณ์งานฌาปนกิจ
นางเปรียบ ณ นคร วัดมกุฎกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพฯ วันที่ 4 สิงหาคม 2552
ประธาน วัฒนวาณิชย์ “การประนอมข้อพิพาทคดีอาญา : แนวทางสันติ” รายงานสัมมนาทาง
วิชาการ เรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ทางเลือกใหม่สำหรับกระบวนการยุติธรรมไทย RESTORATIVE JUSTIC : A NEW ALTERNATIVE FOR THE THAI CRIMINAL JUSTIC จัดทำโดยกระทรวงยุติธรรม ร่วมกับโครงการพัฒนาระบบกฎหมาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 16 มกราคม 2545 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์และคณะ “อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม : ปัญหาอุปสรรค
และแนวทางควบคุม” เอกสารประกอบสัมมนา, โรงแรมอิมพิเรียล กรุงเทพมหานคร, 11 มิถุนายน 2529
ศุภกิจ แย้มประชา “บทบาทของอัยการในการกันผู้กระทำความผิดออกจากการฟ้องคดีต่อศาล”
(วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ,2543
สิทธิกร ศักดิ์แสง และคณะ “กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการระงับข้อพิพาทคดีอาญาใน
ชั้นพนักงานสอบสวน” รายงานวิจัยเสนอต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปีพ.ศ.2553
กฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายอาญา
พระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2550)
ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการปฏิบัติงานประนีประนอมข้อพิพาทของคณะกรรมการ
หมู่บ้าน พ.ศ. 2530 ออกโดยอาศัยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457
rate restoration 在 台灣1001個故事 Youtube 的最讚貼文
The first nature documentary series on global endangered species in Taiwan, 《Orphans of the Earth》presents three new episodes in 2021 《Elves of Taiwan》,that reach out to the sky, the sea and the grasslands only to reveal precocious footages of the endangered endemic species that are known for extreme rarity, minimal sighting rate and videotaping challenges—Taiwan Grass Owls, the Taiwanese Humpback Dolphins, and the Formosan pangolins.
The production crew of “Elves of Taiwan” partakes in perhaps the most difficult animal rescue operations in line with conservation efforts and the most dignified science-based survey projects. The program unveils diversified local landscapes and endemic species completed by various angles and perspectives—from aerial rescues, ocean investigations, to underground bone excavations; it is indeed a brutally honest series that documents the conservation and restoration of the terrestrial, oceanic, and airborne endemic species in Taiwan.
A pangolin is hunted every five minutes in the world on average. It’s the most seriously poached mammal on earth. The film crew climbs the rock and follows Dr. Ching-Min Sun, a renowned pangolin researcher, in his tracking for pangolins. We monitor their life journeys and try to dig out burrows and the truth behind their deaths. In 50 years, Taiwan has transformed from a hunting ground to a breeding ground for pangolins. After years of conservation, pangolins in Taiwan are increasing with the highest wildlife density in the world. The island has become the last fortress for pangolins worldwide.
■台灣1001個故事 說不完的故事
每周日晚間9點,請鎖定東森新聞【台灣1001個故事】唷!
更多精彩內容鎖定《台灣1001個故事》
https://www.youtube.com/user/ettvtaiwan1001
#台灣的精靈 #地球的孤兒 #台灣穿山甲 #白心儀 #台灣1001個故事 #孫敬閔 #野生動物急救站 #暨南大學神獸 #自然科學紀實節目
rate restoration 在 台灣1001個故事 Youtube 的最佳貼文
The first nature documentary series on global endangered species in Taiwan, 《Orphans of the Earth》presents three new episodes in 2021 《Elves of Taiwan》,that reach out to the sky, the sea and the grasslands only to reveal precocious footages of the endangered endemic species that are known for extreme rarity, minimal sighting rate and videotaping challenges—Taiwan Grass Owls, the Taiwanese Humpback Dolphins, and the Formosan pangolins.
The production crew of “Elves of Taiwan” partakes in perhaps the most difficult animal rescue operations in line with conservation efforts and the most dignified science-based survey projects. The program unveils diversified local landscapes and endemic species completed by various angles and perspectives—from aerial rescues, ocean investigations, to underground bone excavations; it is indeed a brutally honest series that documents the conservation and restoration of the terrestrial, oceanic, and airborne endemic species in Taiwan.
The film crew participates in Taiwan humpback dolphin surveys by Ocean Conservation Administration on the sea, captures a rare humpback dolphin group, and explores root causes behind their dwindling populations. Also, we document the largest pygmy killer whale rescue effort by 2,000 people over 56 days. We follow researchers to Orchid Island, an outer islet of Taiwan, to uncover the bones of a baby sperm whale, and record the tragic deaths of stranded melon-headed whales and blue whales. Their survivals and deaths are symptomatic of a deteriorating marine environment.
■台灣1001個故事 說不完的故事
每周日晚間9點,請鎖定東森新聞【台灣1001個故事】唷!
更多精彩內容鎖定《台灣1001個故事》
https://www.youtube.com/user/ettvtaiwan1001
#台灣的精靈 #地球的孤兒 #台灣白海豚 #白心儀 #台灣1001個故事 #海洋保育署 #成大鯨豚研究中心 #四草鯨豚搶救站 #台大獸醫系 #蘭嶼 #小虎鯨救援 #自然科學紀實節目
rate restoration 在 台灣1001個故事 Youtube 的精選貼文
The first nature documentary series on global endangered species in Taiwan, 《Orphans of the Earth》presents three new episodes in 2021 《Elves of Taiwan》,that reach out to the sky, the sea and the grasslands only to reveal precocious footages of the endangered endemic species that are known for extreme rarity, minimal sighting rate and videotaping challenges—Taiwan Grass Owls, the Taiwanese Humpback Dolphins, and the Formosan pangolins.
The production crew of “Elves of Taiwan” partakes in perhaps the most difficult animal rescue operations in line with conservation efforts and the most dignified science-based survey projects. The program unveils diversified local landscapes and endemic species completed by various angles and perspectives—from aerial rescues, ocean investigations, to underground bone excavations; it is indeed a brutally honest series that documents the conservation and restoration of the terrestrial, oceanic, and airborne endemic species in Taiwan.
In the Southwestern badlands in Taiwan, there is a very mysterious owl of terrestrial habitats, the Taiwan grass owls, and as of today, scientists are still unable to decipher its whereabouts and behaviors. Against all odds, the production team followed up all kinds of clues for two years— from bird net rescues, follow-up research, to nocturnal studies— and is finally able to present the stirring life story of these aerial elves of Taiwan as they face the changes and destructions in their habitats.
■台灣1001個故事 說不完的故事
每周日晚間9點,請鎖定東森新聞【台灣1001個故事】唷!
更多精彩內容鎖定《台灣1001個故事》
https://www.youtube.com/user/ettvtaiwan1001
#台灣的精靈 #地球的孤兒 #台灣草鴞 #白心儀 #台灣1001個故事 #屏科大鳥類生態研究室 #嘉大棲地生態研究室 #台灣雪景 #野生梅花鹿 #自然科學紀實節目