สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US
ลงทุนแมน x BBLAM
ถ้าพูดถึงตลาดการลงทุน ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ก็แน่นอนว่าต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา”
ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนแบบนี้
คนที่สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา ก็ยิ่งต้องติดตามหลายประเด็นในโลกการลงทุน ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมไปถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่าง ๆ
อังคารที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จากกองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อเรื่อง “สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US”
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตอนนี้เป็นอย่างไร
แล้วลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา เราต้องดูอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
มาเริ่มกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจโลกช่วงที่ผ่านมา
บรรดาประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดูจะรับมือกับโควิด 19 ได้ดี ด้วยความพร้อมเรื่องวัคซีน และความพร้อมทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ดี
สำหรับสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดี เนื่องมาจากมีการอัดฉีดทั้งในนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบจัดหนัก
ในไตรมาส 2 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.7% ส่วนการนำเข้า-ส่งออกสุทธินั้นติดลบ ซึ่งหักลบกันแล้ว GDP ไตรมาส 2 สหรัฐอเมริกา เติบโต 6.5% ดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1
อย่างไรก็ตาม GDP ในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา อาจจะชะลอความร้อนแรงในการเติบโตลง
โดยมี 3 ปัจจัยที่กดดัน ได้แก่
1. โควิด 19 สายพันธุ์ Delta ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
2. ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) น่าจะเริ่มส่งสัญญาณเข้มงวดทางการเงินมากขึ้น
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง กดดันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ
คำถามสำคัญก็คือ จบปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าอ้างอิงจากการประมาณการล่าสุดของ IMF เมื่อ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา IMF คงประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเติบโต 6% เช่นเดียวกับการประเมินครั้งก่อนหน้า
แต่ที่น่าสนใจก็คือ IMF ปรับประมาณการ GDP สหรัฐอเมริกา จะเติบโตในอัตราสูงขึ้น จากเดิมที่ 6-6.5% มาเป็น 7% ขณะที่ฝั่งเอเชียหลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน โดนปรับลดประมาณการการเติบโตลง
สาเหตุเพราะ IMF มองว่าสหรัฐอเมริกาควบคุมโควิด 19 ได้ดีขึ้น และสภาคองเกรสสามารถอนุมัตินโยบายสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว
เราเห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลก และตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกาช่วงที่ผ่านมากันแล้ว
คำถามสำคัญสำหรับผู้สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกาก็คือ
ในมุมของการลงทุน เรามองแค่ GDP ได้หรือไม่ ?
เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องลองมาดูความสัมพันธ์ระหว่าง GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 ที่ถือเป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เราจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่างทิศทางกัน ไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านั้น
ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เป็นแบบนี้ ก็มาจากปัจจุบันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีครองสัดส่วนใน S&P 500 เกือบ 30% แต่เทียบกับ GDP กลุ่มเทคโนโลยีมีสัดส่วนใน GDP ประมาณ 6% เท่านั้น
นอกจากนั้นกลุ่มการแพทย์ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักมากรองลงจากกลุ่มเทคโนโลยี ในดัชนี S&P 500 ก็ไม่ได้มีสัดส่วนมูลค่าที่สูงนักใน GDP ของสหรัฐอเมริกา เพราะ GDP ของสหรัฐอเมริกาถูกขับเคลื่อนด้วยน้ำหนักของกลุ่มการเงิน
เพราะฉะนั้น สรุปคือ GDP อาจไม่สามารถอธิบายตลาดหุ้นได้เสียทีเดียว หรืออธิบายไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำหนักหรือสัดส่วนของเซกเตอร์ใน GDP กับตลาดหุ้น มีความแตกต่างกัน
คำถามต่อมาก็คือ เมื่อดูเพียง GDP ไม่ได้ แล้วต้องดูอะไรบ้าง ?
ก็จะมี สัญญาณสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา “4 ตัว” ซึ่งเราสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ก็คือ
1. นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED
หลังเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ปี 2008 ก็มีการเปลี่ยนประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FED บ่อยขึ้น ทำให้เริ่มเห็นว่าท่าทีของนโยบายการเงิน มีเรื่องของปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
จุดเปลี่ยนสำคัญหลังจากวิกฤติปี 2008 คือนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา มีความสุดโต่งขึ้นมาก มีการทำ QE อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างหนัก จนสภาพคล่องล้นเข้ามาอยู่ในตลาดทุน
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมนักลงทุนควรติดตามนโยบายของ FED ว่าจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยตอนไหน และจะเพิ่มหรือชะลอการอัดฉีดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ต่าง ๆ ช่วงไหนบ้าง
2. อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา
ปกติแล้ว FED จะพยายามคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 2%
แต่ตอนนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มสูงมาก จากการที่คนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันหลังเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ซึ่งประธาน FED ก็ชี้แจงว่า เงินเฟ้อที่ดีดสูงในช่วงนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น และเป็น “เรื่องชั่วคราว” ที่ต้องปล่อยให้เกิดไป เพราะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่มาจากความอัดอั้นของการบริโภคช่วงก่อนหน้านี้
3. ตัวเลขอัตราการว่างงาน และการจ้างงาน
ตัวเลขการจ้างงานและอัตราการว่างงาน ถือเป็น Lagging Indicator หรือก็คือ “ตัวชี้วัดตาม” ที่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ขยายตัวได้ดีจริง ๆ แล้วหรือยัง
โดย FED ต้องการให้ตัวชี้วัดนี้ ฟื้นตัวให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องปรับดอกเบี้ยขึ้น
ตัวเลขที่น่าสนใจติดตามคือ U.S. Nonfarm Payrolls หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ที่จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน
สำหรับตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา U.S. Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้นมา 9 แสนกว่าตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์
ถ้าฟื้นตัวในอัตราเท่านี้ต่อไป ก็คาดว่าในอีก 8-10 เดือน การจ้างงานของสหรัฐอเมริกาจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19
เมื่อการจ้างงานกลับไปที่เดิม เราจะเริ่มเห็นอะไร ? เราก็อาจจะเริ่มเห็นการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น เช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ
ดังนั้นหลังจากนี้ ก็ต้องจับตาว่า FED จะเริ่มให้ความชัดเจนเรื่องปรับนโยบายการเงินในช่วงไหน ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้ FED อาจต้องเริ่มพูดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การทำ QE Tapering หรือที่แปลว่าการชะลอหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้แปลว่าต้องลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในทันที
เพราะคำว่า Tapering หมายความถึงการ “คงระดับ” การอัดฉีดไว้ ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้เช่นกัน
และถ้าเราลองเปิดดูข้อมูลย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา กว่าที่ FED จะเริ่ม “ลด” การอัดฉีดสภาพคล่องลง ก็จะต้องรอให้อัตราดอกเบี้ยค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไประยะหนึ่งก่อน
สรุปคือ กว่าที่ FED จะทำการ “ลดการอัดฉีด” เงินเข้าสู่ระบบนั้น มันก็มีขั้นมีตอนในการทำ และต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่ใช่ทำได้ในทันทีที่ประกาศ
ตลาดหุ้นก็อาจจะตอบสนองไปก่อนแน่นอน หลังจากรู้สัญญาณการปรับนโยบายของ FED
อีกประเด็นที่น่าสนใจเรื่องการจ้างงานก็คือ
ถ้า Supply ของแรงงานปรับตัวไม่ทันความต้องการของตลาด เช่น ทักษะแรงงานไม่เหมาะสมกับความต้องการของนายจ้าง แรงงานอาจเติมเต็มในระบบได้ช้าลง ตัวเลขการว่างงานอาจจะสูงต่อไปอีกระยะ
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีประเด็นนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือทำ QE Tapering ก็อาจขยับเวลาออกไปก่อน เพราะนโยบายการเงินที่ดี ควรรอให้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ขยายตัวให้ครบก่อน
4. ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ในแต่ละนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎร (House) และ วุฒิสภา (Senate)
ซึ่งนโยบายล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติไปก็คือ The American Rescue Plan Act นโยบายต่อสู้กับวิกฤติโควิด 19 ที่มีงบประมาณกว่า 63 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนโยบายอีกหลายตัวของฝั่งรัฐบาลไบเดนที่น่าจับตามอง
ก็คือ United States Innovation and Competition Act ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแข่งขันของประเทศโดยจะเน้นไปที่ กลุ่มของเซมิคอนดักเตอร์
และอีก 2 นโยบาย ที่กำลังผลักดันก็คือ Infrastructure Investment and Jobs Act ที่สนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยล่าสุดได้ผ่านการอนุมัติจากทางฝั่งวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว และ American Family Act ที่สนับสนุนด้านการศึกษา ที่กำลังรอการพิจารณาต่อไป
ซึ่งหากนโยบายทั้ง 3 นี้ผ่านหมด จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มก่อสร้าง
และยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมย่อย ที่จะได้รับผลประโยชน์ และจะสามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงานได้อีกมาก จากนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้
ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นการสรุปภาพรวม 4 สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่เราควรต้องติดตามกันก็คือ
- นโยบายการเงินของ FED
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา
- ตัวเลขอัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงาน
- ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ท่ามกลางวิกฤติทั่วโลก หนึ่งในประเทศที่มีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วก็คือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า 4 สัญญาณสำคัญนี้ของสหรัฐอเมริกา จะเป็นไปในทิศทางไหนต่อไป..
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過75萬的網紅志祺七七 X 圖文不符,也在其Youtube影片中提到,本集節目由 行政院國家發展委員會 獨家贊助播出 龔主委現身說法,破除台灣經濟發展2大迷思: 1️⃣ 台灣經濟發展一定要仰賴中國市場? 2️⃣ 台灣很小無法影響世界? #後疫情時代經濟發展 #國發會 國家發展委員會 Facebook粉絲專頁: https://www.facebook.com/n...
the economist imf 在 林建甫 Facebook 的最佳貼文
今天是會議第二天,還是有開幕式,由印度國家銀行主席Kumar先生及ABA會長吳一揆 (中信金控總經理)致詞, 之後有印度中央銀行副總裁Acharya 專題演講。 我的場次是第二場Plenary Session Two: Brexit and the Trump Presidency: Implications for Asia 。
Moderator: Mr. Chris Wright, Asia Editor for Euromoney.
Panelists:
Mr. Chikahisa Sumi, Director, Regional Office for Asia and the Pacific, IMF
Ms. Priyanka Kishore, Lead Asia Economist, Oxford Economics
Dr. Lin Chien-Fu, President, Taiwan Institute of Economic Research
Dr. Soumya Kanti Ghosh, GCEA, State Bank of India
Mr. Douglas Elliot, Partner, Finance & Risk/Public Policy Practice, Oliver Wyman。
我們這場次主持人很認真,在上場前一小時把我們幾個與談人找來,先見面認識,安排討論進行方式。確認後,就準備上場。
the economist imf 在 先探投資週刊 Facebook 的最讚貼文
IMF擔心加拿大房市泡沫破滅
(文/ 蘇彬貴) 加拿大家庭的債務占GDP(國內生產毛額)的比重,2000年的時候,尚不到6○%的水準。然而,至去年的第三季,該比重則一路上升為93%,並已逼近2008年9月間李曼兄弟公司(Lehman Brothers)
倒閉事件引爆美國「次級抵押房貸」(subprime-mortgage)前的美國的紀錄。
而加拿大家庭的債務裡頭,主要的又多是房屋貸款;無怪乎,當地的住宅房市會出現泡沫化。IMF等機構,就擔心泡沫會破滅。
根據經濟學人(The Economist)所作的估計,依當地長期平均房租,
抑或平均所得的基礎來計算的話,目前加拿大房價被高估的情形,是分別達76%,以及31%。
the economist imf 在 志祺七七 X 圖文不符 Youtube 的最讚貼文
本集節目由 行政院國家發展委員會 獨家贊助播出
龔主委現身說法,破除台灣經濟發展2大迷思:
1️⃣ 台灣經濟發展一定要仰賴中國市場?
2️⃣ 台灣很小無法影響世界?
#後疫情時代經濟發展
#國發會
國家發展委員會 Facebook粉絲專頁: https://www.facebook.com/ndc.gov.tw/
--
✔︎ 成為七七會員(幫助我們繼續日更,並享有會員專屬福利):http://bit.ly/shasha77_member
✔︎ 購買黃臭泥周邊商品: https://reurl.cc/Ezkbma 💛
✔︎ 訂閱志祺七七頻道: http://bit.ly/shasha77_subscribe
✔︎ 追蹤志祺IG :https://www.instagram.com/shasha77.daily
✔︎ 來看志祺七七粉專 :http://bit.ly/shasha77_fb
✔︎ 如果不便加入會員,也可從這裡贊助我們:https://bit.ly/support-shasha77
(請記得在贊助頁面留下您的email,以便我們寄送發票。若遇到金流問題,麻煩請聯繫:service@simpleinfo.cc)
各節重點:
00:00 前導
01:34 世界各國2020年的經濟表現
03:05 疫情如何影響經濟?
04:44 疫情還帶來哪些改變?
06:56 主委來了!
07:09 國發會是一個怎麼樣的政府單位?
08:12 疫情期間,台灣經濟、產業有哪些舉措?
11:20 後疫情時代,台灣會有哪些因應的政策呢?
13:37 台灣經濟發展一定要依賴中國市場嗎?
14:23 台灣很小,無法為世界帶來影響或貢獻?
15:27 結尾
【 製作團隊 】
|客戶/專案經理:Pony
|企劃:冰鱸、宇軒
|腳本:冰鱸、宇軒
|編輯:土龍
|剪輯後製:Pookie
|剪輯助理:歆雅、珊珊
|演出:志祺
——
【 本集參考資料 】
→《後疫情時代的關鍵趨勢》:Ivan Krastev 著 /三采文化出版
→《後疫情時代的新經濟》:Daniel Stelter 著 / 商周出版
→《一口氣讀懂經濟指標》 :The Economist 著 /臉譜出版
→【安倍辭職之後】世界第三大經濟體的淪落,日本政府不願面對的巨額負債:https://bit.ly/3dD381T
→Unemployment rate (OECD):https://bit.ly/3v7qYbT
→Gross debt position % of GDP (IMF):https://bit.ly/3n7C8L4
→World Economic Situation And Prospects: February 2021 Briefing, No. 146:https://bit.ly/3grxbvb
→Coronavirus: How the pandemic has changed the world economy:https://bbc.in/3sGW88q
→World Economic Outlook Update:https://bit.ly/3sCwRwb
→武漢一週年:新冠疫情受控背後中國的「制度優勢」與個體代價:https://bbc.in/3xbKYMo
→經濟前景樂觀 主計長籲企業調薪分享經濟果實:https://bit.ly/3sEd7bB
→疫情使各國債務飆增 台灣防疫得當表現穩健:https://bit.ly/3tFQbKd
→台灣2020年失業率3.85%創4年新高 但優於美、加及南韓:https://bit.ly/3gtS9ts
→IMF上調今年全球經濟成長:https://bit.ly/3tETgdF
→OECD上修全球經濟成長預測:https://bit.ly/3vl8jK3
→全球摔跤,台灣起跑!疫後天時地利人和,重返四小龍第一:https://bit.ly/2QLXC3P
→四張圖看懂:台灣GDP「坐4望5」的真相:https://bit.ly/3sCa4R2
→抗疫週年/疫情與貿易戰淬鍊下 台灣成為世界最重要地方:https://bit.ly/3tJjbRy
→台灣2020年經濟表現亞洲居首 外媒:半導體業帶動:https://bit.ly/3asXbCH
→今年經濟成長率估4.64% 大幅上修創7年新高:https://bit.ly/2P6qzai
→經濟和疫情,今晚,你選哪一道?經濟學家找出各國的「最佳防疫政策」:https://bit.ly/3n7CHEG
→新冠全球大流行 聯合國哪裡去了?:https://bit.ly/3atdXBE
\每週7天,每天7點,每次7分鐘,和我們一起了解更多有趣的生活議題吧!/
🥁七七仔們如果想寄東西關懷七七團隊與志祺,傳送門如下:
106台北市大安區羅斯福路二段111號8樓
🟢如有引用本頻道影片與相關品牌識別素材,請遵循此規範:http://bit.ly/shasha77_authorization
🟡如有業務需求,請洽:hi77@simpleinfo.cc
🔴如果影片內容有誤,歡迎來信勘誤:hey77@simpleinfo.cc