เหรียญโอลิมปิก สัมพันธ์กับ ขนาด GDP จริงหรือไม่ ?
ลงทุนแมนชวนมาวิเคราะห์กัน
References
-http://re-design.dimiter.eu/?p=868
-https://olympics.com/tokyo-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
同時也有123部Youtube影片,追蹤數超過9萬的網紅Christina靠右邊走,也在其Youtube影片中提到,Martha's Vineyard: https://en.wikipedia.org/wiki/Martha%27s_Vineyard FAQ: Q: How old are you? A: 24 Q: Where are you from? A: Half American Half T...
「tokyo wiki」的推薦目錄:
tokyo wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เหรียญโอลิมปิก สัมพันธ์กับ ขนาด GDP จริงหรือไม่ /โดย ลงทุนแมน
ถ้าจะให้เราพล็อตเป็นโมเดลแบบง่าย ๆ ว่าจำนวนเหรียญโอลิมปิกที่ได้ของแต่ละประเทศ จะสัมพันธ์กับอะไร ?
- บางคนเลือกขนาดของประชากร ประเทศไหนมีคนมาก ย่อมมีโอกาสที่จะมีนักกีฬาเก่งมาก
แต่ทำไมประเทศที่มีประชากรใกล้เคียงกับไทย คือ สหราชอาณาจักร และ ฝรั่งเศส ได้เหรียญทองเป็นจำนวนมาก เมื่อเทียบกับไทย
แปลว่า "จำนวนเหรียญโอลิมปิก" ไม่ได้สัมพันธ์ กับ "จำนวนประชากร"
แล้วถ้าไม่ใช่ประชากร แต่เป็น "GDP ของประเทศ" หล่ะ ? มันจะสัมพันธ์กันแค่ไหน
เมื่อไปดูอันดับเหรียญโอลิมปิก เทียบกับ อันดับ GDP ประเทศ เราจะเห็นว่ามีหลายอย่างที่สัมพันธ์กันอย่างเหลือเชื่อ
- อันดับหนึ่งคือ สหรัฐอเมริกา อันดับสองคือ จีน อันดับสาม คือ ญี่ปุ่น สามอันดับนี้เหมือนกันทั้งอันดับโอลิมปิก และอันดับ GDP
- และเมื่อดูอันดับโอลิมปิกที่เหลือ เราจะพบว่ามีทั้ง สหราชอาณาจักร รัสเซีย ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เยอรมนี มีขนาด GDP มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก เช่นกัน
สำหรับคนที่เคยเรียน Econometrics หรือ เศรษฐมิติมา ถ้าให้ไปหาความสัมพันธ์ ก็น่าจะพบว่าขนาด GDP มี correlation ที่สูงเมื่อเทียบกับ อันดับเหรียญโอลิมปิก ซึ่งอย่างน้อยก็พิสูจน์แล้วในโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว และ โอลิมปิก 2016 ที่ริโอ มีคนคำนวณมาแล้วในแหล่งอ้างอิงด้านล่างมีค่า correlation ถึง 0.8 เลยทีเดียว
แล้วทำไมถึงเป็น เช่นนี้ ?
สาเหตุของเรื่องนี้ คงไม่ได้เป็นเพราะ GDP โดยตรงที่ทำให้เหรียญโอลิมปิกมาก แต่เป็นเพราะ ตัวเลข GDP เป็นตัวชี้วัดแบบง่ายที่เอื้อให้ประเทศนั้นมีความสามารถในการมีนักกีฬาที่เก่งกว่าชาติอื่น
- ไม่ว่าจะเป็น ประชากรมีโอกาสได้รับโภชนาการที่ดีในการพัฒนาร่างกายให้แข็งแรง
- รัฐบาลสนับสนุน เครื่องมือ ผู้ฝึกสอน เงินตอบแทน แก่นักกีฬาที่สูง
นอกจากนั้น การที่แต่ละประเทศจะมี GDP สูงได้ประเทศนั้นต้อง มีจำนวนประชากรมาก และประชากรมี GDP ต่อหัวที่มากพอ
- ยกตัวอย่างอินโดนีเซีย ที่ถึงมีประชากรมาก แต่คนอินโดมี GDP ต่อหัวน้อย ก็จะทำให้มี GDP ที่น้อยกว่า คนฝรั่งเศสที่ถึงแม้มีประชากรน้อยกว่า แต่มี GDP ต่อหัวที่มากกว่าคนอินโดหลายเท่า
- หรือคนสิงคโปร์ มี GDP ต่อหัวที่สูงกว่าคนฝรั่งเศสมาก แต่มีจำนวนประชากรน้อย ก็ส่งผลให้โอกาสที่ประชากรจะเป็นนักกีฬาได้น้อยลง
- ถ้าประเทศที่มี 2 มิตินี้พร้อมคือ มี GDP ต่อหัวมาก และ ประชากรมาก ก็จะได้เหรียญมาก เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ได้อันดับหนึ่งของโอลิมปิกครั้งนี้
- และถึงแม้ประเทศจีนที่มี GDP ต่อหัวน้อยกว่าหลายประเทศในยุโรป แต่มีจำนวนประชากรมาก ก็จะมีโอกาสได้เหรียญมากเช่นกัน เพราะจีนจะมีประชากรมาเป็นนักกีฬามาก
- ส่วนประเทศไทย ที่มี GDP ต่อหัวระดับ กลาง ๆ และจำนวนประชากรอยู่ในระดับกลาง ๆ ก็เลยทำให้ประเทศไทยอยู่ กลาง ๆ ของตารางนั่นเอง
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ตอกย้ำคำครหาของหลายคนว่า ไม่ควรใช้ GDP มาเป็นเครื่องมือชี้วัดในการพัฒนาของประเทศ
จากเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ถึง GDP อาจจะมีข้อบกพร่องอยู่บางอย่าง แต่อย่างน้อย GDP ก็สามารถบ่งชี้ความสามารถในการได้เหรียญโอลิมปิกได้ และก็น่าจะบ่งชี้คุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ได้เช่นกัน
สำหรับคำถามว่า คนไทยจะทำอย่างไร ถึงจะได้เหรียญโอลิมปิกเยอะ ๆ ในอนาคต
คำตอบแบบง่าย ๆ ก็คือ ทำให้ GDP ของประเทศไทย เพิ่มเยอะ ๆ แล้วเดี๋ยวเหรียญก็น่าจะตามมาเอง
แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่
จะทำให้ GDP ของประเทศไทยเพิ่มเยอะ ๆ ได้อย่างไร..
References
-http://re-design.dimiter.eu/?p=868
-https://olympics.com/tokyo-2020
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
tokyo wiki 在 GamingDose Facebook 的最讚貼文
พลานุภาพของเกม กับพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก 2021
.
หลังจากที่เตรียมการมานานหลายปี ผ่านการตัดสินใจอย่างยากลำบากที่จะเลื่อนออกไปหนึ่งปีเนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในที่สุดมหกรรมการแข่งขันกีฬานานาชาติ โตเกียวโอลิมปิก 2021 ก็เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564
.
พิธีเปิดครั้งนี้มีไฮไลท์ที่น่าจดจำมากมาย แม้ว่าบนอัฒจันทร์จะว่างเปล่าปราศจากคนดู เนื่องด้วยมาตรการเคร่งครัดช่วงโควิด-19 แต่ในบรรดาไฮไลท์ทั้งหมดนั้น ไม่น่ามีอะไรที่ทำให้คอเกมตื่นเต้น ตื้นตัน และประทับใจเท่ากับการบรรเลงเมดเลย์ดนตรีประกอบจากเกมยอดนิยมของญี่ปุ่น เป็นเซาน์ด์แทร็กประกอบการเดินพาเหรดเข้ามาในสนามของทัพนักกีฬาจากประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมชิงชัยในโตเกียวโอลิมปิก
.
ย้อนกลับไปที่พิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อน ห้าปีที่แล้วในกรุง ริโอ เดอ จาไนโร เมืองหลวงบราซิล ชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในสมัยนั้น ทำเซอร์ไพรส์คนดูทั้งสนามด้วยการแต่งตัวเป็น ซุปเปอร์มาริโอ พระเอกจากซีรีส์เกมยอดฮิตของค่ายนินเทนโด รับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไป
.
จากจุดนั้นคงไม่มีใครสงสัยว่า “เกม” จะเป็นส่วนสำคัญของพิธีเปิดโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ แต่ไม่มีใครคาดคิดว่า เจ้าภาพจะ “จัดเต็ม” ขนาดนี้
.
พิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ 2021 ในโตเกียว ไม่มีมาริโอแล้ว (และก็ไม่มีเกมไหนสักเกมจากค่ายนินเทนโดด้วย) แต่เราได้ยินดนตรีประกอบคุ้นหูในเกมชื่อดังของแดนอาทิตย์อุทัยอย่างเต็มอิ่มสิบกว่าเกม และเมดเลย์นี้ก็ไม่ได้มาเล่นๆ แต่ถูกเรียบเรียงและบรรเลงโดยวงออเคสตราเต็มวง และเกมที่เลือกดนตรีมาเล่นนั้นก็ครอบคลุมประวัติศาสตร์เกม ตั้งแต่ Gradius เกมตู้ชื่อดังปี 1985 กว่าสามทศวรรษที่แล้ว เรื่อยมาจนถึงเกมสมัยใหม่อย่าง NieR และ Monster Hunter ในศตวรรษที่ 21
.
การประพันธ์เพลงและดนตรีประกอบเกมแบบ “จัดเต็ม” เป็นส่วนสำคัญของวงการเกมญี่ปุ่นมาช้านาน เกมเมอร์จำนวนมากเป็นแฟนพันธุ์แท้ของนักประพันธ์ดนตรีประกอบเกมชื่อดัง คอยติดตามผลงานอย่างติดหนึบไม่แพ้เพลงของนักร้องคนโปรด และในญี่ปุ่นเองก็มีการจัดคอนเสิร์ตดนตรีประกอบเกม (ดูแหล่งข้อมูลเช่น https://ultimatepopculture.fandom.com/wiki/Orchestral_Game_Music_Concerts) มาแล้วหลายครั้ง
.
แต่แน่นอนว่า การใช้ออเคสตราบรรเลงเมดเลย์ที่เรียงร้อยดนตรีประกอบเกม 14 เกม ต่อหน้าผู้ชมผ่านจอหลายล้านคนทั่วโลก ในพิธีเปิดมหกรรมการแข่งขันที่โด่งดังที่สุดของมวลมนุษยชาติ ยาวนานเป็นชั่วโมงๆ ต้องนับเป็นจุดสูงสุดครั้งหนึ่งที่ต้องจารึกในประวัติศาสตร์เกมเลยทีเดียว
.
ด้วยความที่ญี่ปุ่นคือญี่ปุ่น จะทำอะไรต้องผ่านการคิดใครครวญอย่างรอบคอบมาก่อนเสมอ เราลองมาไล่เรียงดนตรีจากเกมแต่ละเกมที่เลือกมาบรรเลงออเคสตราในพิธีเปิดโอลิมปิกกัน (ฟังเรียงเพลงได้จาก https://www.classicfm.com/discover-music/periods-genres/video-game/tokyo-2020-opening-ceremony/)
.
(ตัวเลขในวงเล็บ บอกลำดับของการเล่นเพลงนั้นๆ ในพาเหรดนักกีฬา)
.
1. Dragon’s Quest – Overture: Roto’s Theme (1)
เมดเลย์ประกอบพาเหรดนักกีฬาเปิดฉากด้วยเพลงติดหู Roto’s Theme จากเกม Dragon Quest ภาคแรก และธีมนี้ก็ปรากฎในเกมทุกเกมในซีรีส์เดียวกัน เพลงนี้ฟังดูยิ่งใหญ่ เชิดชูฮีโร่ เสียงกลองปลุกความฮึกเหิม สมกับใช้เปิดฉากพาเหรดนักกีฬาโอลิมปิก
.
2. Final Fantasy - Victory Fanfare (2), Main Theme: Prelude (13)
เพลงหลักสองเพลงในซีรีส์ Final Fantasy ที่คุ้นหูคอเกมเป็นอย่างดี โนบูโอะ อุเอมัตสึ ผู้ประพันธ์ Main Theme: Prelude เคยให้สัมภาษณ์ว่า ถ้าทั้งชีวิตของเขาจะมีคนจำผลงานเขาได้เพียงชิ้นเดียว เขาอยากให้เป็น Prelude นี่เอง เพลงเพราะเพลงนี้ครบเครื่องทุกรสชาติ ทั้งฮึกเหิม บุกตะลุย เศร้าโศก โรมานซ์ และอ้อยอิ่ง เหมือนกับทั้งเรื่องราวในซีรีส์เกมมหากาพย์ และเรื่องราวความเป็นมนุษย์ที่ฉายผ่านโอลิมปิกเกมส์
.
เวอร์ชันที่เลือกมาเรียบเรียงและให้ออเคสตราบรรเลงในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิกมาจาก Final Fantasy VII เกมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในซีรีส์ และดังนั้นจึงน่าจะติดหูคนมากที่สุด
.
3. Tales Of Zestiria - Sorey's Theme (The Shepherd) (3), Royal Capital ( 8 )
โมโตอิ ซากุราบะ นักประพันธ์ดนตรีประกอบเพลง อยู่เบื้องหลังเพลงติดหูในซีรีส์เกมมากมาย อาทิ Dark Souls, Mario Golf และ Star Ocean แต่ผลงานที่สร้างชื่อให้กับเขาที่สุดคือดนตรีประกอบซีรีส์ Tales จากค่าย Bandai Namco ด้วยความไพเราะและ “จัดเต็ม” เหมาะกับการเล่นแบบออเคสตราเต็มวง
.
4. Monster Hunter - Proof of Hero (4), Wind of Departure (9)
ธีมหลักของเกมซีรีส์ Monster Hunter ทุกเกม ปลุกเร้าให้ตื่นเต้น ฮึกเหิม และลุ้นระทึกในคราวเดียว บรรเลงระหว่างการต่อสู้กับสัตว์ประหลาดและเตรียมตัวก่อนออกเดินทางไปผจญภัย เฉกเช่นนักกีฬาที่กำลังจะเข้าสู่สังเวียนประลองกำลัง
.
5. Kingdom Hearts - Olympus Coliseum (5), Hero’s Fanfare (15)
ดนตรีบรรเลงจากสนามกีฬาโอลิมปิกในเกม Kingdom Hearts เกมแรก (และก็ใช้ในเกมต่อๆ มาในซีรีส์นี้ด้วย) นับว่าเหมาะเจาะกับพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์โดยไม่ต้องตีความใดๆ โดยเฉพาะในเมื่อ โยโกะ ชิโมมูระ ผู้ประพันธ์เกมนี้ นำแรงบันดาลใจจากกรีกโบราณมาใช้ในการรังสรรค์ผลงานชิ้นนี้
.
6. Chrono Trigger - Frog's Theme (6), Robo’s Theme (10)
เชื่อว่าคอเกมรุ่นเก๋าหลายคนน่าจะได้น้ำตาซึมเมื่อได้ยินดนตรีจาก Chrono Trigger เกม JRPG คลาสสิกขึ้นหิ้ง บรรเลงคลอพาเหรดนักดนตรี หลายคนคงหวนนึกถึงตอนที่เจอ Frog (กบ) อัศวินร่างกบที่เราได้มาเป็นพวกในช่วงแรกๆ ของเกม เพราะ Frog’s Theme คือเพลงประจำตัวของเขา ส่วน Robo’s Theme ก็เป็นเพลงคึกจังหวะสนุกอีกเกมที่ฟังครั้งเดียวก็ติดหูเลย เกม Chrono Trigger ทั้งเกมมีเพลงเพราะยอดนิยมมากมาย และทีมงานประพันธ์เมดเลย์ก็บรรเลงให้เราฟังอย่างจุใจด้วยการสอดแทรกธีมนี้ในหลายจุดของเมดเลย์
.
7. Ace Combat - First Flight (7)
ครึ่งทางของเมดเลย์ ออเคสตราสลับฉากออกจากเกมแนว JRPG (เกมสวมบทบาทแบบญี่ปุ่น) มาทางเกมแนวอื่นๆ บ้าง เริ่มจากเกมเพราะจากซีรีส์ Ace Combat เกมขับเครื่องบินรบสไตล์เกมตู้จากค่าย Bandai Namco เพลงนี้อาจไม่คุ้นหูคอเกมเท่ากับเพลงจากซีรีส์ JRPG ยอดฮิตทั้งหลาย แต่พอใส่มาในเมดเลย์ช่วงครึ่งทาง เพลงต่อสู้เร้าใจจากเกมนี้ก็เหมาะเจาะเลยทีเดียว
.
8. Sonic The Hedgehog - Starlight Zone (11)
จากความเร้าใจของ Ace Combat สลับฉากมาเป็นจังหวะชิลๆ ของเพลงจาก Sonic the Hedgehog เกมแอ็กชั่น 2D คลาสสิกค้างฟ้าจากค่าย SEGA ติดหูคอเกมมาตั้งแต่เจ้าเฮดจ์ฮอกจอมซ่า คู่แข่งมาริโอ ปรากฎตัวครั้งแรกในปี 1991 มาซาโตะ นาคามูระ นักประพันธ์เพลง วันนี้ผันตัวมาเน้นการแต่งเพลงประกอบโฆษณาโทรทัศน์และภาพยนตร์มากกว่าเกมแล้ว แต่ผลงานที่เขาฝากไว้ในเกมพิภพก็จะติดหูไปอีกนานแสนนาน
.
9. Winning Eleven - eFootball Walk-On Theme (12)
เกมเด่นจาก Winning Eleven ซีรีส์เกมฟุตบอลชื่อดัง (วันนี้เปลี่ยนชื่อเป็น eFootball) ทั้งเพราะและเหมาะสมด้วยความที่เป็นเกม “กีฬา” เกมเดียวในเมดเลย์ชุดนี้
.
10. Phantasy Star Universe – Guardians (14)
เกมเพราะจาก Phantasy Star ซีรีส์ JRPG ที่ดังเป็นพลุแตกในญี่ปุ่น แต่นอกประเทศคนไม่รู้จักเท่า Chrono Trigger และ Final Fantasy ดึงอารมณ์คนฟังเข้าสู่แดนผจญภัย แม้อาจฟังดูไม่ยิ่งใหญ่และครบรสเท่ากับเพลงจาก JRPG ช่วงแรกในเมดเลย์
.
11. Gradius - 01 ACT I-1 (16)
เซอร์ไพรส์ที่ผู้เขียนบทความนี้ชอบมากเป็นการส่วนตัว การเลือกเสียงเปียโนจังหวะสนุกๆ จากเกมตู้คลาสสิกของ Konami มาอยู่ในเมดเลย์ออเคสตราที่บรรเลงประกอบพาเหรดนักกีฬา นับเป็นการให้เกียรติเกมตู้ (arcade) จากยุคที่ “เกม” ยังถูกมองว่าเป็น “เรื่องไร้สาระ” หรือ “อบายมุข” (ซึ่งผ่านมาหลายทศวรรษแล้วบางสังคมก็ยังมีทัศนคติแบบนี้อยู่)
.
12. NieR - Song of The Ancients (17)
เพลงเพราะจาก NieR ซีรีส์ action RPG ชื่อดัง ซีรีส์นี้มีเพลงเพราะหลายเพลง แต่ที่น่าสนใจคือทีมประพันธ์เมดเลย์เลือกเพลง Song of the Ancients ซึ่งกลายเป็นเพลงเดียวในเมดเลย์นี้ที่ไม่ได้มีแต่เสียงดนตรีอย่างเดียว แต่มี “เนื้อร้อง” ด้วย เวอร์ชันในเกมขับร้องโดย เอมิโกะ อีวานส์ และประพันธ์โดย เคนิอิชิ โอกาเบะ
.
เนื้อร้องของเพลงนี้ไม่ใช่ภาษาใดๆ ที่ใครจะฟังออกเลย เพราะเขียนในภาษาปลอมที่ไม่มีอยู่จริงในโลก เรื่องราวของเกมบอกว่าภาษานี้คือ Chaos เกิดจากการผสมภาษาต่างๆ ในโลกเข้าด้วยกัน
.
การเลือกเพลงนี้จึงคล้ายจะสื่อว่า การเล่นกีฬานั้นเป็น “ภาษาสากล” ของคนทุกชาติในโลก ไม่ว่าจะแตกต่างกันมากเพียงใด
.
13. SaGa - The Minstrel's Refrain (เมดเลย์ฉบับปี 2016) (18)
ผลงานเด่นอีกชิ้นของ โนบุโอ อุเอมัตสึ นักประพันธ์ที่ดังเป็นพลุแตกจากเพลงที่เขาแต่งให้กับซีรีส์ Final Fantasy แต่ Romancing SaGa (ซึ่งจริงๆ ก็เป็นเกมที่เริ่มต้นจากการแตกแขนงมาจาก Final Fantasy) ก็เป็น JRPG อีกหนึ่งซีรีส์ที่มีเพลงเพราะๆ มากมายที่ อุเอมัตสึ ฝากผลงานเอาไว้ เวอร์ชันที่ออเคสตราบรรเลงในพิธีเปิดคือเวอร์ชันเมดเลย์ปี 2016 ที่ “จัดเต็ม” ในเกมด้วยวงออเคสตราเช่นกัน
.
14. SoulCalibur - The Brave New Stage of History (19)
เหมาะสมกับการเป็นเพลงปิดเมดเลย์ประกอบพาเหรดนักกีฬาด้วยประการทั้งปวง ผลงาน จูนิชิ นาคัทซึรุ เพลงนี้เป็นธีมหลักของ SoulCalibur VI เกมต่อสู้จากค่าย Bandai Namco เพลงให้อารมณ์ชวนออกไปผจญภัยเกมนี้บรรเลงประกอบฉากเลือกคู่ต่อสู้ 2 คน ที่จะมาประมือกันในสนามประลอง ราวกับจะบอกเราว่า ขอเชิญรับชมการประลองฝีมือของนักกีฬาจากทั่วโลก ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป!
.
เมดเลย์ดนตรีประกอบเกมญี่ปุ่นที่บรรเลงแบบ “จัดเต็ม” โดยวงออเคสตรา ไม่เพียงป่าวประกาศให้โลกรู้ว่า ญี่ปุ่นเป็น “ชาติมหาอำนาจ” เพียงใดในวงการเกมโลก หากแต่ยังเป็นการแสดงไมตรีจิตและความคารวะต่อเกม นักออกแบบเกม และการยกย่องเกมในฐานะสื่อสมัยใหม่ที่เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนหลายล้านคนทั่วโลก
.
รวมถึงแสดงพลานุภาพของ “เกม” ในการเป็นเครื่องมือที่สามารถผนึกความสมัครสมานสามัคคี มิตรภาพที่เบ่งบานระหว่างการต่อสู้หรือขับเคี่ยวแข่งขัน สะท้อนความมุมานะไม่เลิกราของมนุษย์ และชวนให้ขบคิดถึง “ความเหมือน” มากกว่า “ความต่าง” ระหว่างคนชาติต่างๆ
.
“เกม” ทั้ง 14 เกมที่ถูกเลือกดนตรีมาบรรเลงในพิธีเปิดโตเกียวโอลิมปิก และเกมอีกมากมาย มีจุดร่วม “กีฬาโอลิมปิก” ในแง่นี้เอง
tokyo wiki 在 Christina靠右邊走 Youtube 的最佳解答
Martha's Vineyard:
https://en.wikipedia.org/wiki/Martha%27s_Vineyard
FAQ:
Q: How old are you? A: 24
Q: Where are you from? A: Half American Half Taiwanese (currently in USA)
Q: My major? A: Graduated with BA in Film
問:你幾歲?答:二十四,準備幹大事
問:你來自哪裡?答:台灣美國混血寶寶
問:你畢業的系?答:電影學士學位
tokyo wiki 在 ayokoi Youtube 的最讚貼文
2006年から10年にかけて、有楽町線・副都心線用車両として36編成360両が製造された、東京メトロ10000系。
基本的に全車両10両編成で組成されているため、通常東急東横線内は、特急、通勤特急、急行のみの運用になっています。
2021年5月より7000系8連の廃車が始まり、既に7113F,7115Fの2編成が廃車陸送されていますが、17000系の8連(17184Fまで4本甲種輸送済)がまだ運用に入っていないため、8連が不足している状況になっています。
その関係からか、10000系の10105Fが5,6号車を抜いて8両編成化され、8月22日より運用を開始しました。
運用初日は、東横線内運用の全列車が各停となる、11S運用に入りました。
今回2017年以来約4年ぶりに8連となったのですが、副都心線と東横線の直通運転前の2012年にも乗務員訓練の関係で8連化されて東横線に入線しており、渋谷地上駅でのシーンを最後に収録してあります。
Tokyo Metro 10000 series.
https://en.wikipedia.org/wiki/Tokyo_Metro_10000_series
tokyo wiki 在 ポケトリンク Youtube 的精選貼文
【情報元】
タイトル
→ https://wiki.xn--rckteqa2e.com/wiki/%E6%96%B0%E7%84%A1%E5%8D%B0%E7%B7%A8%E3%82%B5%E3%83%96%E3%82%BF%E3%82%A4%E3%83%88%E3%83%AB%E4%B8%80%E8%A6%A7
あらすじ
→ https://pokemon-matome.net/articles/242729.html
(C)Nintendo・Creatures・GAME FREAK・TV Tokyo・ShoPro・JR Kikaku (C)Pokémon
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
メンバーシップ加入はこちら
→https://www.youtube.com/channel/UCJQl7j6QDdq5-DDDiPJ25GA/join
ゲーム実況アカウントはこちら
→https://www.youtube.com/channel/UC4cV2BgSTXbbrbzDCgr9qJA
ED音源の作曲者「こおろぎ」様
→https://twitter.com/Kohrogi34?s=21
Twitterやってます
→https://twitter.com/kohei_link
インスタやってます
→https://www.instagram.com/kohei_link/
noteやってます
→https://note.com/000koohi
お仕事の連絡などはこちらのメールアドレスへ
→afgtz131@icloud.com
#アニポケ #Anime #Pokémon
tokyo wiki 在 黃明志東京奧運洗腦歌【東京盆踊りTokyo Bon 2020】Ft. 二宮 ... 的推薦與評價
... <看更多>