ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
「trading business คือ」的推薦目錄:
- 關於trading business คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於trading business คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於trading business คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
- 關於trading business คือ 在 บริหารโครงการดิจิทัลอย่างไรให้สำเร็จกับโครงการ CTRM พัฒนาระ... 的評價
- 關於trading business คือ 在 หุ้น ขึ้น sp คือทาง เขา ligaz888 V3.1.16 的評價
- 關於trading business คือ 在 PTT PUBLIC COMPANY LIMITED 的評價
- 關於trading business คือ 在 WHA Group - ♻พลังงานหมุนเวียน ถือเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยม ... 的評價
- 關於trading business คือ 在 กลยุทธ์การเทรด Options จาก Zero สู่ Hero - YouTube 的評價
trading business คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
NETbay บริษัทเทคโนโลยี สัญชาติไทย ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ /โดย ลงทุนแมน
หลายคนอาจแปลกใจถ้าได้รู้ว่า บริษัทเทคโนโลยีสัญชาติไทย มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท
ไม่ได้ก่อตั้งโดยคนที่จบด้านไอทีหรือด้านเทคโนโลยีเลย
บริษัทที่เรากำลังพูดถึงนี้ มีชื่อว่า บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “NETbay”
บริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร แล้วผู้ก่อตั้งคนที่เราพูดถึงนี้คือใคร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
NETbay ก่อตั้งโดยคุณพิชิต วิวัฒน์รุจิราพงศ์
ชายผู้เรียนจบทางด้านรัฐศาสตร์ แต่กลับมาเอาดีทางด้านเทคโนโลยี
แต่เดิมนั้นคุณพิชิตทำธุรกิจซื้อมาขายไป
โดยเป็นการนำเข้าเครื่องพิมพ์มาขาย
ซึ่งในช่วงแรกนั้นธุรกิจนี้ทำกำไรได้ค่อนข้างดี
แต่เมื่อเวลาผ่านไปธุรกิจนำเข้าเครื่องพิมพ์
เริ่มทำกำไรน้อยลงเรื่อย ๆ ทำให้เขาต้องเริ่มมองหาธุรกิจใหม่
ระหว่างนั้นเขาได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับการทำธุรกิจด้านไอที 2 เล่ม
หนึ่งในนั้นคือ “Business @ the Speed of Thought”
ซึ่งเขียนโดย บิลล์ เกตส์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft
ประโยคสำคัญในหนังสือของบิลล์ เกตส์
ที่เป็นการจุดประกายในการเข้าสู่ธุรกิจไอทีให้คุณพิชิตนั่นคือ
“ถ้าเราไม่รีบปรับตัวให้ทันกับโลกเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว สุดท้ายเราจะเป็นคนที่โดนกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงเข้าเล่นงาน”..
พอเรื่องเป็นแบบนี้ คุณพิชิตจึงตั้งใจหันหน้าเข้าสู่โลกไอที
โลกธุรกิจใหม่ที่เขาแทบจะไม่มีความรู้เลยแม้แต่น้อย
เพียงสิ่งเดียวที่มีคือความเชื่อมั่น ว่าเทคโนโลยีและโลกดิจิทัล จะเข้ามาเปลี่ยนโลกในอนาคต
เขาเริ่มต้นด้วยการตั้งบริษัทด้วยทีมงานไม่กี่คน ช่วงแรกลองผิดลองถูกอยู่หลายอย่าง
ซึ่งคุณพิชิตบอกว่า เขาสังเกตเห็นธุรกิจลักษณะนี้เกิดขึ้น และประสบความสำเร็จในต่างประเทศมาก่อน จึงนำมาปรับใช้ทำธุรกิจที่ประเทศไทย
ธุรกิจของเขาในช่วงเริ่มต้น ถือเป็นธุรกิจ Startup ที่เริ่มจากการให้บริการ Software as a Service (SaaS) และ Platform as a Service (PaaS)
อธิบายง่าย ๆ เป็นบริษัทที่พัฒนาซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มของตัวเองขึ้นมา แล้วเปิดให้ลูกค้าเข้ามาใช้งาน จากนั้นจึงเก็บค่าบริการตามการใช้งานจากผู้ใช้บริการ
ในสมัยนั้น ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ว่านี้ ยังเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย
ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเขานั้นถือว่าทำได้ยากมาก และช่วง 4 ปีแรกที่ก่อตั้งบริษัท ธุรกิจของเขาไม่มีกำไรเลย
จุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัทคือ การเริ่มพัฒนาซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์ม สำหรับสร้างและส่งใบขนสินค้านำเข้า-ส่งออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ประกอบการใช้งานเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร
เนื่องจากสมัยก่อน ขั้นตอนพิธีการศุลกากรค่อนข้างยุ่งยาก ล่าช้า และมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบเป็นจำนวนมาก ทำให้ทั้งผู้นำเข้า-ส่งออก หรือแม้แต่กรมศุลกากรมักมีอุปสรรคในการทำงานร่วมกัน
ความสำเร็จในครั้งนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของบริษัท
ทำให้ในเวลาต่อมา NETbay เป็น 1 ใน 3 บริษัทที่ได้เป็น e-Customs Gateway หรือ ผู้ทำหน้าที่พัฒนาระบบงานในการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับขนสินค้าขาเข้าและขาออก และให้บริการรับส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
โดยปัจจุบัน ธุรกิจของ NETbay คือการคิดค้นและพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยมีลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
ทั้งนี้ NETbay จะเป็นผู้สร้าง Ecosystem ของแพลตฟอร์ม โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงกันของทุกฝ่าย และบริษัทจะเก็บค่าบริการจากลูกค้าที่เข้ามาใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์ม
ซึ่งค่าบริการที่บริษัทเรียกเก็บจากลูกค้านั้นจะมีทั้งค่าบริการต่อรายธุรกรรม (Pay per Transaction) และเรียกเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน (Monthly Fee)
การเติบโตของบริษัท ทำให้ในปี 2559 NETbay ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ซึ่งนับว่าเป็นสตาร์ตอัปเจ้าแรกในไทย ที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทยได้
ปัจจุบัน โครงสร้างรายได้ของบริษัทเกิดมาจาก 4 กลุ่ม
- ธุรกิจ E-Logistics Trading เช่น บริการพิธีการศุลกากร รายงานบัญชีสินค้าเข้า-ออกแบบไร้เอกสาร
- ธุรกิจ E-Business Services เช่น บริการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า ให้แก่สถาบันการเงิน
- ธุรกิจ E-Payment บริการรับส่งข้อมูลการรับชำระเงิน
- ธุรกิจที่มีลักษณะเป็นรายโครงการ (Projects)
โดยบริการของ NETbay นั้นครอบคลุมหลายกลุ่มตั้งแต่ ภาคธุรกิจกับภาครัฐ (B2G), ภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (B2B) และระหว่างภาคเอกชนกับประชาชนหรือผู้บริโภค (B2C)
รายได้และกำไรของ บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)
ปี 2561 รายได้ 368 ล้านบาท กำไร 149 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 422 ล้านบาท กำไร 179 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 394 ล้านบาท กำไร 156 ล้านบาท
รายได้และกำไรที่ลดลงในปีล่าสุด
ก็เพราะการระบาดของโควิด 19 กระทบกับธุรกิจนำเข้า-ส่งออกและกลุ่ม Logistics Supply Chain ซึ่งถือเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท
อย่างไรก็ตาม จุดเด่นอย่างหนึ่ง ที่เห็นได้ชัดคือ NETbay เป็นบริษัทที่มีอัตรากำไรสุทธิค่อนข้างสูง
โดยรายได้ทุก 100 บาท จะเป็นกำไรให้บริษัทถึงประมาณ 40 บาท หรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ 40% เลยทีเดียว
ซึ่งการที่บริษัทมีอัตรากำไรสุทธิค่อนข้างสูง เนื่องจากธุรกิจของบริษัทนั้นเป็นธุรกิจให้บริการโดยลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีให้ลูกค้าใช้
โดยธุรกิจลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานหนัก ๆ ไปแล้วในช่วงแรก
และเมื่อยิ่งมีลูกค้าใช้งานมากขึ้น รายได้ก็จะเริ่มไหลเข้ามามาก
แต่ต้นทุนจะไม่เพิ่มสูงมากตามไปด้วย จากการที่ลงทุนวางพื้นฐาน วางระบบไว้แล้วในเบื้องต้น
จึงทำให้บริษัทมีอัตรากำไรที่สูงได้นั่นเอง
และด้วยความที่เป็นธุรกิจบริการที่ต่างจากธุรกิจผลิตสินค้า
บริษัทจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องจัดหาวัตถุดิบในการผลิต จึงไม่มีภาระเกี่ยวกับต้นทุนในสินค้าคงคลัง และค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าไปให้ลูกค้าเหมือนธุรกิจผลิตสินค้า
นอกจากนี้ แนวโน้มหลายธุรกิจที่เข้าสู่การทำธุรกรรมแบบไร้เอกสาร (Paperless) มากขึ้น ก็น่าจะถือเป็นโอกาสของบริษัทในการเติบโตในอนาคตเช่นกัน
ส่วนปัจจัยเสี่ยงของ NETbay ที่มีอยู่ ก็อย่างเช่น
ธุรกิจหลักของบริษัท คือ การให้บริการพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องมีการเชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร
โดยที่นอกจาก NETbay แล้ว ก็ยังมีเจ้าอื่นอีก 2 ราย ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน และทุกรายที่กรมศุลกากรเลือกใช้บริการ ก็ไม่ได้มีการให้สัมปทานแต่อย่างใด
ทำให้อาจมีความเสี่ยงเรื่องการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันกับผู้เล่นรายใหม่ได้ตลอดเวลา
นอกจากนั้นหากเกิดมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายจากภาครัฐ
ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ
หรือองค์กรในภาครัฐและเอกชนที่เลือกใช้แพลตฟอร์มของบริษัท เปลี่ยนไปใช้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มของผู้เล่นรายอื่น ก็ถือเป็นโจทย์ ที่ต้องติดตามสำหรับ NETbay ในอนาคตเช่นกัน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2563, บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)
-https://knowledge.bualuang.co.th/knowledge-base/maojummai-NETbay/
-แบบฟอร์ม 56-1 2562, บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (มหาชน)
-https://www.youtube.com/watch?v=1_mGXfsDY4Y
-https://www.youtube.com/watch?v=Hevyhw7UGq8
-https://www.tiscowealth.com/trust-magazine/issue-55/people.html
trading business คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳解答
อยากเป็นแม่ค้า อยากขายของ แต่ไม่เคยขายมาก่อน ไม่มีความรู้ ไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเลย ทั้งยังมีเงินลงทุนไม่มาก สำหรับมือใหม่หัดขายที่มีข้อจำกัดเช่นนี้ ธุรกิจแบบ “ซื้อมาขายไป” จึงเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเริ่มต้นได้ทันที ในงบประมาณที่จำกัด
.
ซึ่งจะเห็นว่าในท้องตลาดก็มีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทั้งมือสมัครเล่นและมืออาชีพมากมายที่ประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจนี้ มาดูกันดีกว่าว่า พวกเขามีเคล็ดลับในการเริ่มต้นทำธุรกิจซื้อมาขายไปอย่างไร ให้มีกำไร ไม่ขาดทุน ของหมด ไม่ล้นสต๊อก!
.
1.เพิ่มความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ด้วยการปรับแต่ง หรือสร้าง Story เรื่องราวความเป็นมาของสินค้าให้น่าสนใจ
แม้สินค้าที่นำมาขายจะเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่เราซื้อมาอีกทีหนึ่ง เพื่อให้ไม่ซ้ำและแตกต่างจากร้านอื่นๆ ที่รับสินค้ามาจากแหล่งเดียวกัน อาจจะนำสินค้ามาปรับแต่งเพิ่มเติม ทั้งจากการตัดเย็บ วาดลวดลาย หรือแม้แต่การสร้าง Story ให้สินค้ามีเรื่องราวน่าจดจำ ก็ยิ่งทำได้น่าสนใจมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้สินค้าที่ร้านมีมูลค่ามากขึ้นเท่านั้น
.
2.ขายแบบธรรมดาคนไม่สนใจ ต้องขายแบบจัดเต็ม “โปรโมชัน” ลด แลก แจก แถม ต้องมาให้ครบ!
แม้การขายราคาเต็มจะทำให้ร้านได้กำไรมากกว่า แต่บางครั้งก็ไม่อาจสร้างความสนใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าที่ร้านได้ เท่ากับว่ายอดขายก็ไม่พุ่งเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงต้องมีการทำโปรโมชันเพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า ซึ่งไม่จำเป็นต้องทำตลอด อาจจะทำในช่วงของเทศกาล วันสำคัญ วันเปิดร้าน วันครบรอบของร้าน วันปีใหม่ วันวาเลนไทน์ เช่น โปรโมชัน 1 แถม 1, ลดราคา 50%, ขายสินค้าเป็นเซ็ตในราคาที่ถูกกว่าซื้อแยกชิ้น เป็นต้น โปรโมชันเหล่านี้ จะยิ่งช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าที่ร้านได้ไม่ยาก
.
3.สินค้าที่จะขาย ต้องเลือกให้ตรงตามกระแสความนิยม เทรนด์ ณ ตอนนั้น
เพราะสินค้าบางประเภทในธุรกิจซื้อมาขายไป มักมาตามกระแสนิยมใช่วงเวลานั้นๆ เพื่อให้ขายสินค้าได้ ไม่ค้างสต๊อก ร้านค้าจะต้องเลือกสินค้าให้ตรงกับกระแสนิยม เพราะถ้าขายแบบตามใจฉัน แต่ไม่ตรงใจลูกค้า ต่อให้สินค้าดีแค่ไหน หรือสวยแค่ไหน ก็ไม่สร้างยอดขายให้ธุรกิจได้ ดังนั้นิ ร้านค้าจะต้องหมั่นศึกษา และตามเทรนด์ กระแสความนิยมของโลกอยู่ตลอดเวลา ว่าช่วงไหน เขาฮิตอะไรและต้องขายอะไร
.
4.เลือกแต่สินค้าดี มีคุณภาพ จากแหล่งรับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และน่าเชื่อถือ
เมื่อรู้ว่าจะขายอะไร สิ่งต่อไปที่ต้องคิดคือ จะเอาสินค้ามาจากที่ไหน แหล่งไหนที่เชื่อถือได้ว่าสินค้ามีคุณภาพดีจริง ไม่จกตา เพราะเรื่องคุณภาพสินค้า เป็นอะไรที่ต้องคิดให้หนัก เพราะในมุมของลูกค้าแล้ว ไม่ว่าสินค้าจะถูกหรือแพง แต่ถ้าสินค้าที่พวกเขาซื้อมามีคุณภาพสมราคาหรืออาจเกินราคา พวกเขาก็ยอมจ่ายให้แน่นอน
.
ดังนั้น ร้านค้าต้องไม่คิดแต่จะเอากำไรเยอะๆ เพียงอย่างเดียว แล้วนำสินค้าเกรดต่ำราคาถูกมาขายในราคาเท่าเกรดคุณภาพ แต่ต้องศึกษารายละเอียดให้ดี ตั้งแต่แหล่งสินค้า ไปจนถึงตัวสินค้าว่ามีคุณภาพจริง เพื่อให้ทั้งเราและลูกค้าคุ้มค่ามากที่สุด
.
5.ต้องมีใจรักในการค้าขายและการบริการอย่างแท้จริง
การทำธุรกิจซื้อมาขายไป จำเป็นต้องมีการติดต่อพูดคุยกับผู้คนมากมายอยู่ตลอด ทั้งแหล่งรับสินค้า พ่อค้าคนกลาง และลูกค้า เพราะฉะนั้น ก่อนตัดสินใจเดินหน้าค้าขาย ต้องถามตัวเองก่อนว่า ชอบพูดคุย เจรจากับผู้อื่นหรือไม่ มีใจรักในการค้าขาย ชอบงานบริการหรือเปล่า เพราะถ้าไม่รักไม่ชอบ แต่แค่อยากทำ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากคุณจะหาข้ออ้างในการหยุดทำได้ตลอด เมื่อคุณเบื่อ หรือหมดความอดทนกับมันแล้ว
.
อย่างไรก็ตาม นอกจาก 5 ข้อที่กล่าวมา อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้สำคัญหากต้องการให้ธุรกิจซื้อมาขายไปของคุณประสบความสำเร็จ คือ “การบริหารจัดการร้านและสต๊อกสินค้า” ถึงแม้ว่าธุรกิจนี้จะเริ่มได้ง่าย ไม่ต้องลงทุนมาก แต่เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ของร้านคือการซื้อสินค้าจากคนอื่นมาขายอีกที เท่ากับว่าเงินทุนของเราจะจมอยู่ที่สินค้าเป็นหลัก
.
ดังนั้น จึงต้องบริหารจัดการสต๊อกให้ดี อย่าสั่งมาทีละมากๆ เกินไป เพราะเมื่อไหร่ที่กระแสเปลี่ยน สินค้าที่เหลืออยู่ จะกลายเป็นค้างสต๊อก ขายไม่ออก สุดท้ายแทนที่จะได้กำไร กลับขาดทุนยับเยิน นอกจากนี้เพื่อให้คุณทราบว่าสิ่งที่คุณลงทุนลงแรงไปเป็นอย่างไรบ้าง ต้องปรับปรุงแก้ไขในส่วนไหน ควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายทุกครั้ง เพราะผลสรุปจากตัวเลขจะปรากฏให้เห็นความจริงของสถานการณ์ที่ร้านกำลังเผชิญ และมันจะช่วยให้คุณสามารถปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของคุณให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
.
ที่มา : https://www.page365.net/all-articles/how-to-start-trading-business
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#ธุรกิจซื้อมาขายไป #ซื้อมาขายไป #แม่ค้า #ค้าขาย #เจ้าของกิจการ #กำไร #ผู้ประกอบการ
trading business คือ 在 หุ้น ขึ้น sp คือทาง เขา ligaz888 V3.1.16 的推薦與評價
หุ้นขึ้น SP (Trading Suspension) คืออะไร ? และเกณฑ์ SP ใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ ... Business Business; การขาดแคลน 'ซอสศรีราชา' ในอเมริกา ทำให้ราคาขายต่อพุ่งขึ้นจาก 175 บาท เป็น 2,500 ... ... <看更多>
trading business คือ 在 PTT PUBLIC COMPANY LIMITED 的推薦與評價
... คือ. 1. (First Line of Defense) คือ หน วยงานผู ปฏิบัติงาน ซึ่งทําหน าที่ ... 2.9. คณะกรรมการแผนกลยุทธ ธุรกิจการค าระหว างประเทศ (Trading Business Strategic. ... <看更多>
trading business คือ 在 บริหารโครงการดิจิทัลอย่างไรให้สำเร็จกับโครงการ CTRM พัฒนาระ... 的推薦與評價
ทีม PTT Trading ผู้เข้าร่วมให้ Business Requirement โดยมีทีม Full Time (พนักงานของ ... “ สิ่งที่สำคัญที่สุดของระบบควบคุมความเสี่ยงของ Trading คือการทำให้ PTT ... ... <看更多>