เกาหลีใต้ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ในประเทศเวียดนาม /โดย ลงทุนแมน
เศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องไปในอนาคต
นั่นจึงทำให้บริษัทและนักลงทุนจากต่างชาติ ต่างก็สนใจเข้าไปลงทุนในประเทศแห่งนี้
โดยเฉพาะการลงทุนสร้างโรงงาน เพื่อให้เวียดนามกลายเป็นฐานการผลิตหลัก อย่างเช่น รองเท้าของ Nike และสมาร์ตโฟนของ Samsung รวมถึงอีกหลายบริษัทที่กำลังย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนาม เช่น Apple และ Foxconn
แต่รู้หรือไม่ว่าประเทศเวียดนามที่เนื้อหอมในสายตาโลก ผู้ที่ทุ่มเงินลงทุนในประเทศแห่งนี้มากที่สุด คือประเทศ “เกาหลีใต้”
แล้วเกาหลีใต้เข้ามาลงทุนในเวียดนาม อย่างไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เงินลงทุนจากต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนโดยตรงในประเทศเวียดนามแบบสะสม (FDI Stock) จนถึงปี ค.ศ. 2019 มีสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรก ก็คือ
อันดับ 1 เกาหลีใต้ 18.7%
อันดับ 2 ญี่ปุ่น 16.3%
อันดับ 3 สิงคโปร์ 13.7%
อันดับ 4 ไต้หวัน 8.9%
อันดับ 5 สหภาพยุโรป 7.0%
สำหรับประเทศจีนอยู่ในอันดับ 8 มีสัดส่วน 4.5% ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับ 10 มีสัดส่วน 3.0%
โดยเกาหลีใต้ คือประเทศที่ลงทุนโดยตรงในประเทศเวียดนามมากที่สุด โดยความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศนี้ เริ่มแน่นแฟ้นมากขึ้น จากจุดเปลี่ยนที่สำคัญในอดีต 2 ครั้ง
ปี ค.ศ. 2007 ประเทศเวียดนาม เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกหรือ WTO
ปี ค.ศ. 2015 ประเทศเวียดนามและเกาหลีใต้ ทำข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ที่ส่งผลให้ เกาหลีใต้ลดภาษีนำเข้าจากเวียดนามลง 95% และเวียดนามลดภาษีนำเข้าจากเกาหลีใต้ลง 89%
นอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว เรื่องโครงสร้างแรงงานในประเทศเวียดนาม ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยเติมเต็มสิ่งที่บริษัทเกาหลีใต้ต้องการ
ทั้งเรื่องอายุของคนวัยทำงาน ที่โดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุ 30 ปี ต่างจากหลายประเทศ โดยเฉพาะในเกาหลีใต้เอง ที่คนวัยทำงานโดยเฉลี่ยอยู่ในช่วงอายุ 40 ปี
รวมถึงปัจจัยด้านค่าจ้างโดยเฉลี่ย ที่นอกจากค่าจ้างแรงงานในเวียดนามจะคิดเป็นเพียง 1 ใน 8 ของค่าจ้างในเกาหลีใต้แล้ว งานที่ใช้ทักษะสูงขึ้นก็มีค่าจ้างที่ต่ำกว่าอย่างมีนัย เช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น ตำแหน่งวิศวกร ที่ค่าจ้างในเวียดนามคิดเป็น 1 ใน 5 ของค่าจ้างในเกาหลีใต้
หรือแม้แต่ตำแหน่งผู้จัดการ ที่ค่าจ้างในเวียดนามคิดเป็น 1 ใน 3 ของค่าจ้างในเกาหลีใต้
อีกปัจจัยสำคัญก็คือ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน เพราะประเทศที่เกาหลีใต้ส่งออกไปมากที่สุดตามลำดับก็คือ จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
แต่เมื่อจีนและสหรัฐอเมริกากีดกันทางการค้ากันมากขึ้น จึงช่วยเร่งให้เกาหลีใต้ตัดสินใจย้ายฐานการผลิตจากจีนมาที่เวียดนามเร็วขึ้น
แล้วเกาหลีใต้ เข้ามาลงทุนอะไรในเวียดนามบ้าง ?
หลัก ๆ แล้ว กว่า 70% ของการเข้ามาลงทุนในเวียดนามทั้งหมด บริษัทเกาหลีใต้จะเข้ามาสร้าง “โรงงานผลิต” เพื่อหวังเป็นฐานการผลิตหลัก และผู้ลงทุนที่ทรงพลังมากที่สุดก็คือ Samsung
Samsung เริ่มเข้าไปสร้างโรงงานที่เวียดนามในปี ค.ศ. 2008 และเริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือเพื่อส่งออกในปีถัดมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ Samsung มีโรงงานผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัจจุบัน Samsung มีโรงงานในเวียดนามสำหรับผลิตสมาร์ตโฟน 2 แห่งและโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 1 แห่ง
โดยสมาร์ตโฟน Samsung ที่ส่งออกทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่ง ผลิตที่เวียดนาม โดยสินค้าจาก Samsung คิดเป็น 1 ใน 5 ของการส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม ซึ่งก็เรียกได้ว่าประเทศเวียดนามถือเป็นฐานการผลิตสำคัญของบริษัทไปแล้ว นั่นเอง
นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลเวียดนามพยายามทำมาสักพักแล้วก็คือ โน้มน้าวให้ Samsung มาตั้งโรงงานเซมิคอนดักเตอร์ผลิตชิปในประเทศด้วย
เมื่อบริษัทที่ใหญ่สุดในเกาหลีใต้อย่าง Samsung เลือกประเทศเวียดนาม จึงทำให้บริษัทอื่นก็ขยับตาม
เริ่มจากคู่แข่งอย่าง LG ที่เริ่มสร้างโรงงานผลิตที่เวียดนามในปี ค.ศ. 2014 ก่อนที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 2 ตามมา เพื่อเป็นฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและชิ้นส่วนรถยนต์ ที่เป็นจอแสดงผลและระบบสร้างความบันเทิง
แต่นอกจากประเทศเวียดนามจะได้เปรียบในเรื่องค่าแรงที่ถูกกว่าเกาหลีใต้แล้ว บุคลากรในตลาดแรงงานของเวียดนามยังมีระดับการศึกษาโดยเฉลี่ยที่สูงกว่าประเทศอาเซียนอื่นที่มีระดับค่าจ้างพอ ๆ กัน อย่างเช่น ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และลาว
นั่นจึงทำให้บริษัทจากเกาหลีใต้ ไม่เพียงสร้างโรงงานการผลิตเท่านั้น แต่ยังลงทุนสร้าง “ศูนย์วิจัยและพัฒนา” หรือ R&D Center ที่ประเทศเวียดนามด้วย
อย่าง Samsung ได้ลงทุนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาที่เมืองฮานอย ซึ่งตั้งใจว่าจะเป็นหนึ่งในศูนย์หลักของ Samsung ที่ใช้วิจัยและพัฒนาสมาร์ตโฟน รวมถึงนวัตกรรมด้านอื่น โดยคาดว่าจะเปิดในปี ค.ศ. 2022 และจะจ้างวิศวกรท้องถิ่นราว 3,000 คน
ด้าน LG ก็มีศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ฮานอยแล้ว และกำลังสร้างอีกศูนย์เพิ่มที่เมืองดานัง โดยเน้นวิจัยด้านชิ้นส่วนรถยนต์เป็นหลัก
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเหล่านี้ ทำให้ประเทศเวียดนามไม่ได้เป็นเพียงแค่ฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น แต่จะทำให้ประเทศเวียดนามมีโอกาสสูงที่จะได้เรียนรู้และถูกถ่ายโอนเทคโนโลยีมาด้วย
และนอกจากการลงทุนไปกับการสร้างโรงงานผลิตหรือศูนย์วิจัยแล้ว บริษัทเกาหลีใต้ยังสนใจลงทุนในเวียดนามผ่านการเป็น “ผู้ถือหุ้น” ในกิจการท้องถิ่นด้วย
อย่างเมื่อปี ค.ศ. 2019 บริษัท Samsung SDS ได้เข้าไปถือหุ้น 30% ในบริษัท CMC ซึ่งเป็นบริษัท IT ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเวียดนาม
แต่บริษัทที่ทุ่มเงินลงทุนในบริษัทเวียดนามมากที่สุดก็คือ SK กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้
ที่เป็นรองแค่ Samsung และ Hyundai ยกตัวอย่างเช่น
ปี ค.ศ. 2018 SK เข้าไปถือหุ้น 9.5% ใน Masan Group กลุ่มบริษัทด้านอาหารขนาดใหญ่
ปี ค.ศ. 2019 SK เข้าไปถือหุ้น 6.1% ใน Vingroup กลุ่มบริษัทที่ใหญ่สุดในเวียดนาม
ปี ค.ศ. 2021 SK เข้าไปถือหุ้น 16.3% ใน VinCommerce เชนร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ที่เพิ่งเปลี่ยนเจ้าของจาก Vingroup ไปเป็น Masan Group เมื่อปี ค.ศ. 2019
ซึ่งการลงทุน 3 ครั้งนี้ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 62,700 ล้านบาท
การเข้ามาลงทุนของบริษัทเกาหลีใต้ที่นิยมอีกรูปแบบก็คือ การ “เปิดสาขา” ในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าบริโภค ร้านค้าปลีก และบริการต่าง ๆ อย่างเช่นบริการการเงิน ซึ่งก็น่าสนใจว่าบริษัทเหล่านี้แทบจะไม่เคยมีสาขานอกประเทศเกาหลีใต้เลย
เพราะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางในประเทศเวียดนาม ซึ่งยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว
ถูกประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นมากที่สุดและเร็วที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่สำคัญก็คือความนิยมในสื่อบันเทิงและวัฒนธรรมของเกาหลีใต้
ซึ่งมีส่วนช่วยให้ชาวเวียดนามกลุ่มหนึ่งคุ้นเคยกับแบรนด์เหล่านี้อยู่แล้ว
อย่าง Lotte หนึ่งในกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ ที่สร้าง Lotte Center ที่เมืองฮานอย โดยเป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับ 3 ในเวียดนาม มีทั้งโรงแรม 5 ดาว, ส่วนพักอาศัย, ห้างสรรพสินค้า Lotte, ซูเปอร์มาร์เก็ต Lotte Mart รวมถึงภัตตาคาร สปา และบริการอื่น ๆ คล้ายกับ Lotte Tower ในกรุงโซล
นอกจากนี้ Lotte ยังมีธุรกิจอื่นในเครือที่ประสบความสำเร็จในเวียดนาม อย่างเช่น ร้าน Lotteria ที่เริ่มเปิดสาขาเวียดนามในปี ค.ศ. 1998 จนในปัจจุบันกลายเป็นเชนฟาสต์ฟูด ที่มีสาขามากที่สุดในเวียดนาม
รวมถึงโรงภาพยนตร์ Lotte Cinema ที่เริ่มให้บริการที่เวียดนามในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งนอกจาก Lotte แล้ว กลุ่ม CJ บริษัทแม่ของผู้ผลิตสื่อบันเทิงขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้ อย่างเช่น Mnet, tvN และ Studio Dragon ก็มาเปิดสาขาโรงภาพยนตร์ CJ CGV ที่เวียดนามตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005
ซึ่งโรงภาพยนตร์จากเกาหลีใต้ ก็กลายเป็นเจ้าตลาดในเวียดนาม โดยกว่า 70% ของจำนวนโรงภาพยนตร์ทั้งหมดในประเทศเวียดนาม เป็นของ CJ CGV และ Lotte Cinema
ในส่วนของบริการทางการเงิน กลุ่มบริษัทการเงิน ธนาคาร รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ก็เลือกมาเปิดสาขาที่เวียดนาม เช่นกัน
อย่างเช่น Shinhan Financial Group กลุ่มการเงินอันดับ 2 ของเกาหลีใต้ เข้ามาเปิดสาขาธนาคาร Shinhan Bank Vietnam ตามเมืองใหญ่ในเวียดนาม รวมถึงบริษัท Shinhan Investment ที่ได้เข้าซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์ท้องถิ่น
หรือ Hana Bank ธนาคารของกลุ่มการเงินอันดับ 4 ของเกาหลีใต้ ก็เข้ามาถือหุ้น 15% ในธนาคารรัฐวิสาหกิจของเวียดนาม ที่ชื่อ Bank for Investment and Development of Vietnam (BIDV) และมีแผนจะขยายสาขาในเวียดนามผ่านเครือข่ายสาขาของ BIDV
รวมถึงบริษัทการลงทุนขนาดใหญ่อย่าง Mirae Asset Global Investments ซึ่งเป็นบริษัทแรกของเกาหลีใต้ที่ได้เปิดบริษัทจัดการกองทุนในเวียดนาม และเป็นสาขาแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเข้ามาลงทุนหลากหลายรูปแบบในประเทศเวียดนามของเกาหลีใต้ มีส่วนสำคัญในการเพิ่มการจ้างงานเกือบล้านตำแหน่งในตลาดแรงงานเวียดนาม รวมถึงยังทำให้เวียดนามมีโอกาสได้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไปด้วย
ที่สำคัญก็คือเรื่องของการส่งออก ที่ราว 1 ใน 3 ของการส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม มาจากการผลิตของโรงงานสัญชาติเกาหลีใต้
นอกจากนี้โครงสร้างการส่งออกของเวียดนาม ก็ปรับมามีสัดส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก
โดยเฉพาะอิเล็กทรอนิกส์คุณภาพสูง จากเมื่อ 20 ปีก่อน ที่แทบไม่มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เลย
ถึงตรงนี้ เราก็พอจะสรุปได้ว่าประเทศเกาหลีใต้ คือผู้มีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2019-04-10/south-korea-s-investment-bonanza-in-vietnam-doesn-t-add-up
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-trends/South-Korea-s-SK-Group-bets-big-on-Vietnam-s-100m-consumer-market
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-deals/SK-Group-takes-16-stake-in-Vietnam-s-top-retailer
-https://asia.nikkei.com/Business/Business-trends/South-Korean-investment-in-Vietnam-grows-amid-U.S.-China-trade-war
-https://m.koreatimes.co.kr/pages/article.asp?newsIdx=280920
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20181122000128
-https://www.kroll.com/-/media/kroll/pdfs/publications/the-rise-of-korean-investment-in-vietnam.ashx
-http://www.mpi.gov.vn/en/Pages/chuyenmuctin.aspx?idcm=277
-https://www.krungsri.com/en/research/regional-economic/RH/ih-vietnam-2021
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/country-competitiveness
u.s. bank tower 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
กรณีศึกษา การใช้ SOFT POWER ของจีนในยุค COVID-19 /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงประเทศที่ใช้ Soft Power ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราอาจนึกถึง ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกทางวัฒนธรรม อย่างเกาหลีใต้หรือญี่ปุ่น
แต่จริงๆ แล้ว Soft Power ไม่ได้มีแค่เรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว
โดยเฉพาะในสถานการณ์ตอนนี้ ที่มีการระบาดอย่างหนักของ COVID-19
จีน กลับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทโดดเด่นสุด ตอนนี้
เรื่องนี้น่าสนใจอย่างไร? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาเริ่มจากการทำความเข้าใจกับคำว่า “Soft Power”
Soft Power มาจากแนวคิดของศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ชื่อ Joseph Nye
เป็นการขยายอิทธิพล หรือทำให้ผู้อื่นคล้อยตาม โดยไม่ใช้วิธีการบังคับ
ซึ่ง Soft Power จะเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบายต่างประเทศ
ตัวอย่างประเทศ ที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ Soft Power
ฝรั่งเศส ขึ้นชื่อเรื่องอาหาร โดยถือเป็นประเทศที่ได้มิชลินสตาร์มากสุดในโลก
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น หอไอเฟล พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์
ทำให้เป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางไปเยือนมากสุดในโลก
คิดเป็นจำนวนเกือบ 90 ล้านคน ในปี 2018
สหราชอาณาจักร มีสื่อที่ได้รับการยอมรับ อย่าง BBC
ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสื่อทรงอิทธิพล ที่มีคนดูมากที่สุดในโลก
นอกจากนั้นยังมี Premier League ที่เป็นการแข่งขันฟุตบอลที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
สหรัฐอเมริกา เรียกได้ว่าเป็นอีกประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเผยแพร่วัฒนธรรม
ผ่านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพลง รวมถึงแบรนด์ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวัน
ด้านการศึกษา สหรัฐอเมริกา ถือเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยระดับโลกมากสุดในโลก
รวมถึงด้านเทคโนโลยี ก็เป็นต้นกำเนิดของบริษัทอย่าง เฟซบุ๊ก แอปเปิล กูเกิล ไมโครซอฟต์
และอย่างที่รู้กันว่า คู่แข่งที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา ก็คือ “จีน”
โดยเฉพาะ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงอย่าง COVID-19
ซึ่งกลายมาเป็นปัจจัยสำคัญ ในการแข่งขันทางขั้วอิทธิพลระหว่าง 2 ประเทศนี้
และก็ดูเหมือนว่าจีน กำลังทำคะแนนในด้านนี้ได้อย่างโดดเด่น
เพราะแม้ว่าจีน จะเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งแรกๆ
แต่ก็เป็นประเทศที่สามารถจัดการกับ COVID-19 ได้เป็นแห่งแรกๆ เช่นกัน
ซึ่งเมื่อการระบาดแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น
จีน ก็ใช้โอกาสนี้ ในการส่งความช่วยเหลือไปให้ทั่วโลก
โดยรัฐบาลจีน ได้มีการส่งอุปกรณ์ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย ชุดป้องกันเชื้อโรค ชุดตรวจโรค รวมถึงทีมแพทย์ ไปให้กว่า 120 ประเทศ
มีการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตรวจหาโรค การรักษาโรค และการป้องกันโรค โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ที่จีนได้รับมาก่อน
นอกจากนั้น ยังมีการอนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และโครงการพักชำระหนี้
ให้กับประเทศซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Belt and Road ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
ในส่วนภาคเอกชนของจีนเอง ก็ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในวิกฤติ COVID-19 นี้ไม่แพ้กัน
โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ การเงิน และการขนส่ง มีการบริจาคอุปกรณ์การแพทย์ ไปยังประเทศต่างๆ
นอกจากนั้นยังมีมูลนิธิของ Alibaba และ Jack Ma ซึ่งบริจาคหน้ากากอนามัยให้เกือบ 100 ประเทศ
มีการเผยแพร่สื่อที่เกี่ยวกับวิธีการรักษาโรคใน 8 ภาษา ลงบนโลกออนไลน์
รวมถึงสร้างแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่ชื่อว่า
Global MediXchange for Combating COVID-19 หรือ GMCC
ซึ่งในขณะที่จีนกำลังทำทุกอย่างนี้ สหรัฐอเมริกาที่เป็นพี่ใหญ่ของโลก กลับยังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศได้
ดังนั้น COVID-19 จึงเปรียบเหมือนโอกาสของจีน
ในการสั่นคลอนอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา โดยใช้ Soft Power เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในมือ
และถ้าจีน สามารถผลิตวัคซีนได้สำเร็จเป็นประเทศแรก
ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า สมดุลขั้วอำนาจระหว่างจีน และสหรัฐอเมริกาจะเปลี่ยนไปอย่างไร
จริงๆ แล้ว ก่อนหน้า COVID-19 จีนได้เริ่มมีการใช้ Soft Power มาสักระยะหนึ่งแล้ว
ในด้านวัฒนธรรม เราจะเห็นได้ว่าทั้งวงการบันเทิง สถานที่ท่องเที่ยว และภาษาจีนที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ผ่านซีรีส์ ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงการให้ทุนการศึกษาจำนวนมากแก่นักเรียนต่างประเทศ
ในด้านการต่างประเทศ ก็มีโครงการ Belt and Road ที่เข้าไปช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในกว่า 60 ประเทศ
ซึ่งเมื่อมองย้อนกลับมาที่ไทย เราเองก็เป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น
เรามีวัฒนธรรม มวยไทย อาหารไทย ที่ขึ้นชื่อ
เรามีภาพยนตร์ ละคร ศิลปิน ที่เริ่มเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ
เรามีสถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
และไทยยังได้รับการจัดอันดับว่ามีความมั่นคงทางสุขภาพเป็นอันดับที่ 6 ของโลก
แปลว่าจริงๆ ถ้าเราสามารถวางกลยุทธ์เพื่อบริหารจัดการจุดเด่นเหล่านี้ได้
ประเทศไทยเรา ก็มีศักยภาพในการใช้ Soft Power ได้ไม่แพ้ใครเช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit แหล่งรวมบทความวิเคราะห์
เจาะลึกแบบ deep content
ล่าสุดมีฟีเจอร์พอดแคสต์แล้ว
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://softpower30.com
-https://www.statista.com/…/countries-ranked-by-number-of-i…/
-https://www.weforum.org/…/how-china-s-covid-19-recovery-co…/
-https://www.politico.eu/…/coronavirus-china-winning-propag…/
-https://www.silkroadbriefing.com/…/china-development-bank-…/
A case study of Chinese SOFT POWER in COVID-19 era / by investing manly.
Speaking of countries that use Soft Power effectively
We may think of a country that succeeds in cultural exports like South Korea or Japan.
But really, Soft Power isn't just a cultural thing.
Especially in this situation where COVID-19 outbreak is now.
China is one of the most iconic countries now.
How interesting is this? Investing man will tell you about it.
╔═══════════╗
Blockdit. Analytical Articles Collection.
Deep content penetrating
The latest podcast feature is available.
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
First of all, let's start by understanding the word ′′ Soft Power ′′
Soft Power comes from the concept of Harvard University professor named Joseph Nye
Expanding influences or making others follow without a force.
Soft Power will occur from 3 main factors include culture, values and foreign policy.
Examples of successful countries by using Soft Power
France is famous for food. It is the most Michelin star country in the world.
There are many famous attractions such as the Eiffel Tower, Louvre Museum.
Make it the country with foreign tourists to visit the world's most.
As many as 90 million people as 2018
The UK has BBC recognized media
Which is one of the most viewed influential media in the world.
In addition, Premier League is a popular football match all over the world.
USA is called another successful country to publish culture.
Through the film industry, music including brands we use in everyday life.
U.S. education is the country with the world's most universities.
Including technology is the origin of companies like Facebook, Apple, Google, Microsoft.
And as you know, a major U.S. rival is ′′ China
Especially when unexpected events like COVID-19
Which became an important factor in the influential competition between these 2 countries.
And it looks like China is scoring this side outstandingly.
Because although China is the center of the first outbreak.
But it's also a country that can handle COVID-19 as well.
When the outbreak spread to other countries
China also uses this opportunity to send help to the world.
Chinese government has been sent necessary equipment, hygienic mask, anti-germs, examination kit, including medical team to over 120 countries.
Information related to disease detection, treatment and prevention of disease based on the experience China has obtained before.
In addition, low interest loan band approved and debt break project.
To the country under the Belt and Road project affected by COVID-19
In China's private sector, we are cooperating and helping with this COVID-19 crisis.
Specifically, businesses involved in the production of medical equipment, finance and transportation. Medical supplies are donated to different countries.
In addition, Alibaba and Jack Ma's foundation donated almost 100 countries of hygienic masks.
Media has been published on how to cure 8 languages online.
Including creating a real-time data exchange platform called
Global MediXchange for Combating COVID-19 หรือ GMCC
While China is doing everything, the world's big brother USA can't control the COVID-19 outbreak situation in the country.
Therefore, COVID-19 is like China's opportunity.
To shake U.S. influence using Soft Power as a resource on hand.
And if China can successfully produce vaccines first country.
Interesting how the power balance between China and USA will change.
In fact, COVID-19 China has started using Soft Power for a while.
In the culture, we can see that the entertainment industry, attractions and Chinese are becoming more popular through film series, music including scholarships. cuddle students abroad.
In foreign countries, there are Belt and Road projects that help develop infrastructure in over 60 countries.
When I look back at Thailand, I am a unique country.
We have a Thai boxing culture, famous Thai food.
We have a drama film, an artist that started to be known abroad.
We have the world's top popular attractions.
And Thai is also ranked as the world's number 6 health stability.
Really means if we can strategize to manage these highlights.
Thailand, we also have the potential to use Soft Power, not allergic to anyone..
╔═══════════╗
Blockdit. Analytical Articles Collection.
Deep content penetrating
The latest podcast feature is available.
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Follow to invest manly at
Website - longtunman.com
Blockdit-blockdit.com/longtunman
Facebook-@[113397052526245:274: lngthun mæn]
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram-instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://softpower30.com
-https://www.statista.com/statistics/261726/countries-ranked-by-number-of-international-tourist-arrivals/
-https://www.weforum.org/agenda/2020/03/how-china-s-covid-19-recovery-could-bolster-its-global-influence/
-https://www.politico.eu/article/coronavirus-china-winning-propaganda-war/
-https://www.silkroadbriefing.com/news/2020/03/27/china-development-bank-provide-financial-support-belt-road-projects-affected-covid-19/Translated
u.s. bank tower 在 Michelle 米雪兒奇幻樂園 Facebook 的最佳解答
今年的生日晚餐來到了 LA 最高的景觀餐廳 - 71 Above 慶生!
位於 U.S. Bank Tower 的 71 樓
這棟是 LA 第二高樓 (若以屋頂高度不算天線的話,這棟是最高樓)。
71 Above 餐廳與下面兩層的觀景台 OUE Skyspace 開幕於 2016 年
是洛杉磯相當新穎的景觀台與餐廳。
這天我們晚上訂了 7:45pm 的位置
提早一個小時左右來到餐廳。
首先在一樓大廳報到
搭乘電梯來到 54 樓轉另外一台電梯
一路來到了 71 樓的餐廳。
由於我們的預約時間還沒到
便先來到旁邊的酒吧點調酒看風景。
點了 Sea Breeze $16
這杯以伏特加為基底,加入覆盆子冰沙、葡萄柚以及萊姆
在桌邊才加入伏特加
顏色非常繽紛可愛
帶著水果的香味超級好喝。
Little Osaka $16
我自己很喜歡加入紫蘇梅的調酒
這杯以琴酒為基底,加入柚子酒、梨子白蘭地以及柚子蘇打水
裡面再附上一片紫蘇梅葉。
沒過多久服務生便來帶位
來到座位發現並不是窗邊的座位
便特別詢問服務生是否可以換窗邊。
後來再度返回酒吧區等了十幾分鐘
就有窗邊的座位了!
面相南邊的靠窗座位
可以清楚看到洛杉磯市中心的高樓群
還可以看到 I-10 高速公路另外一頭的 USC 校園
隨著天色越來越暗
白天的景色漸漸變成夜景
更加璀璨浪漫。
從 71 Above 餐廳還可以看到下面的 OUE Skyspace 景觀台
不過這裡不用吹風又可以小酌一杯
感覺更加舒適。
71 Above 的菜單有三道 $75
每一道都有六種不同的選擇
排序以口味清淡至口味較重
還可以另外加上 wine pairing $45
由餐廳搭配最適合你點的三道菜色的酒。
首先上桌的是主廚贈送的開胃菜
有著孜然粉芒果醬醃黃瓜、開心果醬搭配堅果與櫻桃蘿蔔、以及雞蛋酥搭配蛋黃醬與辣粉
非常精緻。
另外附上的餐前麵包。
第一道我們都選了 Oyster
生蠔中加入了海膽、魚子醬、龍蒿以及香檳醬
擺盤非常美。
這道搭配的酒是來自德國酒莊 Michael Fröhlich 的 Escherndorfer Lump Silvaner trocken 2016
這杯白酒聞起來感覺比較重
但入口之後帶著果香與花香
相對比較淡,與奶油海膽生蠔超級相配。
第二道分別選了 Asparagus
烤蘆筍配上了黑大蒜蜂蜜、碗豆醬、綠色蔬菜、夏威夷豆以及柚子
以及 Octopus
搭配草莓辣醬以及大蒜蛋黃醬的烤章魚
附上綠色的草莓、檸檬以及巧克力薄荷
口味相當特別。
這道菜搭配來自匈牙利的 Royal Tokaji 酒莊的 2015 The Oddity Dry Tokaji
這杯白酒帶著花朵與青蘋果與梨子的香味
不過特別乾適合搭配蘆筍沙拉。
第三道菜分別選了 Spring Lamb
一塊大羊排配上酥脆的法式炸餅、豆類、核桃、以及醃葡萄乾
上桌之後淋上醬汁。
羊排份量很大
選了三分熟
味道還不錯。
以及 New York
紐約牛排搭配芹菜根、骨髓、旁邊附上馬鈴薯塊
上桌之後淋上洋蔥牛排醬。
選了五分熟
整體感覺普通。
這道菜搭配的酒是來自加州 Napa 的 Chappellet 酒莊的 2016 Mountain Cuvee
以 Cabernet Sauvignon 為主,混入 Merlot, Malbec, Petit Verdot 以及 Cabernet Franc
帶著莓果的香味
相當柔滑有層次
放久了之後還是很好喝。
甜點點了 Key Lime Curd $14
以木炭塊搭配牛奶酒冰淇淋、小黃瓜冰沙、以及黑檸檬蛋白霜
服務生特別點上一根蠟燭端上桌
整體相當有特色!
很喜歡 71 Above 的氣氛與景觀
吃到一半還贈送了兩杯玫瑰氣泡酒
並祝我生日快樂
是一家非常適合慶生觀看璀璨景色的餐廳!
71Above
With Michelle Hsieh
Yelp: https://www.yelp.com/biz/71-above-los-angeles-2