ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有5部Youtube影片,追蹤數超過58的網紅Jusjusruns world,也在其Youtube影片中提到,Hello everyone! Managed to do an afternoon tea just before Phase 2 Heightened Alert kicked in. Royale was having a UOB credit card one-for-one promoti...
「uob singapore」的推薦目錄:
- 關於uob singapore 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於uob singapore 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的最佳解答
- 關於uob singapore 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於uob singapore 在 Jusjusruns world Youtube 的精選貼文
- 關於uob singapore 在 THE DC EDIT Youtube 的最讚貼文
- 關於uob singapore 在 Miss Tam Chiak Youtube 的精選貼文
- 關於uob singapore 在 UOB - Home - Facebook 的評價
- 關於uob singapore 在 UOB - YouTube 的評價
uob singapore 在 Eat with Pal Li - พี่แป๋วพากินเที่ยวสิงคโปร์ฮ่องกง Facebook 的最佳解答
❗️ #รายงานโควิดวันนี้ (22 พ.ค.)
🇭🇰 [HK] ติดเชื้อใหม่ทั้งหมด +1, ติดในฮ่องกง +1
🇸🇬 [SG] ติดเชื้อใหม่ทั้งหมด +40, ติดในสิงคโปร์ +30
🇹🇭 [TH] ติดเชื้อใหม่ในท้องถิ่น +3,011, เสียชีวิต +24
.
==================
❗️ #ไฮไลท์
==================
🇭🇰 #ฮ่องกง
- รัฐบาลเตรียมให้ผู้เคยติดเชื้อโควิดและรักษาหายแล้ว ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิดได้ โดยหากต้องการฉีด BioNTech ต้องเว้นระยะหลังจากออกจาก รพ อย่างน้อย 90 วัน ส่วน SinoVac ต้องเว้นระยะอย่างน้อย 180 วัน
.
====================
🕰 #สถานการณ์ประจำวัน
====================
🇭🇰 #ฮ่องกง
- พบผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นรวม 1 คน แต่ สธ #อาจเปลี่ยนเป็นเคสติดเชื้อจากต่างประเทศในภายหลัง
รายละเอียดเคสนี้ เป็นเหมดมาจากอินโดนีเซีย กักตัวครบ 21 วันแล้ว
ต่อมาไปตรวจอีกครั้งก่อนเข้าทำงานที่บ้านนายจ้างที่ Tower 5A และ 5B Cullinan West (Sham Shui Po) ปรากฎว่า ผลเป็นบวกแบบ preliminary จึงเข้าแอดมิทและตรวจอีกครั้ง แต่ผลตรวจยังคลุมเครือ แต่พบภูมิต้านทานในร่างกาย
- สถานที่ที่ต้องถูกบังคับตรวจตามกฎหมาย >> https://gia.info.gov.hk/general/202105/21/P2021052100814_367982_1_1621602721334.pdf
.
🇸🇬 #สิงคโปร์
- ผู้ติดเชื้อในท้องถิ่น 30 คน #เมื่อวานนี้ เกี่ยวโยงกับเคสเก่า 22 คน ไม่ทราบต้นตอ 8 คน ตัวอย่างเช่น
(1) พนักงานทำความสะอาด Changi Business Park
(2) เซลล์ Platinum Yoga
(3) technician at Singapore Refining Company
(4) delivery rider for IVIC Logistic Pte Ltd and McDonald’s (Bedok Reservoir)
(5) นักศึกษา National University of Singapore
(6) operations personnel at The Meatery SG
(7) คลัสเตอร์สนามบินเทอร์มินัล 3 (4 คน) เช่น พนักงานบริษัท Samiko Enterprises & PPP International Group, พนักงาน Standard Chartered Bank
(9) คลัสเตอร์เรือนจำ Changi Prison Complex (2 คน) ทั้งคู่เป็นนักโทษ
(10) คลัสเตอร์ Jin Tai Tong Food Industries 1 คน พนักงานขายที่ Jin Tai Mart
(11) คลัสเตอร์ Pacific Law Corporation 1 คน shipping executive at Star Shipping Agencies
(12) คลัสเตอร์อื่นๆ เช่น พนักงาน UOB Kay Hian, เด็กอายุ 1 ขวบ นร Skool4kidz Centre at Punggol Way และ AWWA Early Intervention Centre @ Fernvale, associate at Standard Chartered Bank, นร รร Anglo-Chinese School (Junior), นร รร Bukit View Primary School, engineer at Flexicon Singapore, เหมดชาวฟิลิปปินส์, เหมดชาวอินโด, administrative staff at the Republic of Singapore Yacht Club, พนักงาน Seagate Singapore International Headquarters , พนักงานบริษัท Slide and Hide System, delivery rider for IVIC Logistic Pte Ltd and McDonald’s (Pasir Ris Elias Community Club), administrative personnel at Tomoe Transtech Specialty Gases
- ใน 30 คนนี้ ฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกแล้ว 1 คน ครบสองเข็มแล้ว 2 คน
.
🇹🇭 #ไทย
- วันนี้ ผู้ติดเชื้อในท้องถิ่นจำนวน 3,011 ราย แบ่งเป็น พบจากระบบเฝ้าระวังและบริการ ฯลฯ 1,924 ราย, พบในเรือนจำ 605 ราย, ตรวจเชิงรุกในชุมชน 482 ราย
.
=================
💉 #สถิติฉีดวัคซีนโควิด
=================
🇭🇰 #ฮ่องกง
- วันที่ 21 พ.ค.
Sinovac (เข็มแรก) ~ 5,100 คน
SinoVac (เข็มที่ 2) ~ 4,700 คน
BioNTech (เข็มแรก) ~ 8,800 คน
BioNTech (เข็มที่ 2) ~ 12,000 คน
.
- รวมทั้งโครงการ (85 วัน)
Sinovac (เข็มแรก) ~ 527,00 คน
BioNTech (เข็มแรก) ~ 701,100 คน
รวม (เข็มแรก) ~ 1,227,100 คน
คิดเป็น 18.7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
.
SinoVac (เข็มที่ 2) ~ 388,300 คน
BioNTech (เข็มที่2) ~ 465,600 คน
รวม (เข็มที่ 2) ~ 853,900 คน
คิดเป็น 13% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
.
- ผู้ได้รับวัคซีนและต่อมาเสียชีวิต (34 คน)
(ยอดสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ ตัวเลขอย่างไม่เป็นทางการ)
SinoVac 23 คน
BioNTech 11 คน
.
- อัตราผู้มีอาการรุนแรงหลังได้รับวัคซีน = 0.16%
Sinovac = 0.2% (1,527 ราย จากผู้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 758,900 ราย)
BioNTech = 0.12% (875 ราย จากผู้ฉีดวัคซีนทั้งหมด 733,000 ราย)
เสียชีวิต 28 ราย อายุ 43-92 ปี
(หมายเหตุ: ตัวเลข ณ วันที่ 2 พค)
.
- ผู้เข้ารับการรักษาใน รพ หลังจากได้รับวัคซีน (21 พ.ค.)
จำนวน 10 คน ชาย 5 คน หญิง 5 คน อายุ 24-60 ปี
อาการ:
- SinoVac (เข็มแรก) ขาดเลือดชั่วคราว
- SinoVac (เข็มที่ 2) วิงเวียน หน้าและตาขวากระตุก
- BioNTech (เข็มแรก) หมดสติ เจ็บหน้าอกซ้าย ชัก
BioNTech (เข็มที่ 2) คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ความดันสูง
.
🇸🇬 #สิงคโปร์ (ณ วันที่ 17 พ.ค. 64)
จำนวนผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม(ทั้งหมด) 1,966,524
จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว(ทั้งหมด) 1,440,544
รวมวัคซีนที่ฉีดทั้งหมด 3,407,068 โดส
.
================
📊 #สรุปตัวเลข
.
🇭🇰 #ฮ่องกง
ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 11,831 (+1)
เสียชีวิต 210 (1.77%)
รักษาหาย 11,550 (97.62%)
.
🇸🇬 #สิงคโปร์ (ข้อมูลเมื่อวานนี้)
ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 61,770 (+40)
เสียชีวิต 32 (0.05%)
รักษาหาย 61,242 (99.15%)
.
🇹🇭 #ไทย
ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 126,118 (+3,052)
เสียชีวิต 759 (+24)(0.60%)
รักษาหาย 82,404 (+2,900)(65.34%)
.
🌎 #ทั่วโลก
ติดเชื้อสะสมทั้งหมด 166,514,358 (+644,938)
เสียชีวิต 3,458,946 (2.08%)
รักษาหาย 147,305,238 (88.46%)
.
🇭🇰 #covid19hongkong
🇸🇬 #covid19singapore
🇹🇭 #covid19thailand
uob singapore 在 Facebook 的最佳貼文
Celebrate The Supermums and Superdads for the month of May & June with @sichuandouhua_sg!
☝🏻They are offering special set menu starting from $68++ from now till 30 June, you can also walked away with 10 bags of fortune cookies 🥠 ( that includes Signature Sichuan classic Diced Chicken, Eight Treasure tea and more!)
👇🏻Stand to win a night stay with breakfast at @parkroyalbeachroad when you share your DIY cakes with #SCDHparentsday on Instagram with your most creative design!
Here’s two ways for you to win this: #dontsaybojio 😝😝
1. Diners who opt for $88++ set menu are entitled to a complimentary DIY cake.
2. You can also purchase the DIY cake at a special price of $18++
👋🏻 DIY cake is available in 3 x @sichuandouhua_sg outlets over at UOB plaza, @parkroyalkitchener and @parkroyalbeachroad! Good luck and stay safe!!
.
.
.
.
#sgfamily #sgkids #familystaysg #sgcakes #parkroyalpickering #parkroyalbeachroad #sghotels #sggiveaways #sgcontests #sginfluencer #sgbloggers #sgmombloggers #instasg #instadaily #sgmums #sgmoms #sgmombloggers #sg #singapore #sgrestaurant #mediadrop #cakedecorating #cakesofinstagram @ Sichuan Douhua Park Royal Beach Road
uob singapore 在 Jusjusruns world Youtube 的精選貼文
Hello everyone! Managed to do an afternoon tea just before Phase 2 Heightened Alert kicked in. Royale was having a UOB credit card one-for-one promotion which made this afternoon tea all the more worthwhile! Check out the pretty tier of goodies.
Do like and subscribe to my channel!
Follow me on IG too at Jusjusruns.
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/OpUEKeQJxd4/hqdefault.jpg)
uob singapore 在 THE DC EDIT Youtube 的最讚貼文
A big part of The DC Edit's vision is spotlighting women profiles who move and inspire us. In celebration of International Women's Day 2021, we invited 3 women-in-charge to tell us about who inspires them -- to bring you their stories about identity, growth and what it's like to carve out your own distinct journey.
This year, we celebrate the dynamic female identity and the many definitions of what it means to be a woman. Happy International Women's Day!
Read more on thedcedit.com.
Wardrobe partners: Beyond The Vines, Love, Bonito, LUMINE SINGAPORE, Monica Vinader
Proudly brought to you in partnership with UOB Lady's Card and UOB Lady's Savings Account. UOB is also a proud supporter of the Celebrating SG Women movement.
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/ge0WTM_g7QU/hqdefault.jpg)
uob singapore 在 Miss Tam Chiak Youtube 的精選貼文
TungLok Group's 2019 mooncakes are developed in line with Health Promotion Board, Singapore's guidelines, so their delectable mooncakes are lower in sugar and calories but still equally delicious! The Bite-Sized set comes with 16 petite gems and 8 unique flavours. This Limited Edition box even glows in the dark!
Enjoy up to 30% off early bird promotion from now till 25 Aug 2019 for MostValuedGuest, tunglokfirst members, as well as Citi And UOB Cardmembers. For more information please visit https://www.tunglok.com
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/I1SiHDbBmGU/hqdefault.jpg)
uob singapore 在 UOB - YouTube 的推薦與評價
At UOB, we aspire to build a better future for the people and businesses in the region. ... Our 2019 Singapore Management Associates (Part 1) · UOB. UOB. ... <看更多>
uob singapore 在 UOB - Home - Facebook 的推薦與評價
Easy access to regional partners and financial services: One-stop support for SMEs expanding in Asean. Singapore companies can tap UOB's regional network and ... ... <看更多>