รู้จัก ฝรั่งเศส ผ่าน 10 บริษัท ที่ใหญ่สุดในประเทศ /โดย ลงทุนแมน
เมื่อเอ่ยถึง ฝรั่งเศส สิ่งแรกที่คนทั่วโลกจะนึกถึงก็คือ “ความหรูหรา”
วงการศิลปะแทบทุกแขนงของยุโรปล้วนมุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส
และผู้คนที่นี่ก็คลั่งไคล้ศิลปะมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม วรรณกรรม เครื่องแต่งกาย หรือแม้แต่อาหารการกิน
ในยุคก่อนที่วัฒนธรรมอเมริกันจะครองโลก ฝรั่งเศสคือผู้ส่งออกวัฒนธรรมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด
และแน่นอนว่าวัฒนธรรม ก็ยังคงสร้างมูลค่าให้ฝรั่งเศสอย่างมหาศาลในปัจจุบัน..
10 บริษัทที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุดของประเทศฝรั่งเศส เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรูถึง 6 บริษัท
ทั้งเครื่องแต่งกาย เครื่องดื่ม เครื่องประดับ และเครื่องสำอาง
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ นอกจากบริษัทแบรนด์หรูทั้งหลายแล้ว
ก็ยังมีบริษัทยา และบริษัทเทคโนโลยีอยู่ใน Top 10 ด้วย
เรื่องราว 10 บริษัท ที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ราชสำนักฝรั่งเศสคือจุดเริ่มต้นของความหรูหรา
ศตวรรษที่ 15 พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิชี เป็นผู้ริเริ่มอุตสาหกรรมน้ำหอมในฝรั่งเศส
ศตวรรษที่ 16 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ผู้ริเริ่มนำวิกมาสวมศีรษะ และใส่รองเท้าส้นสูง
และศตวรรษที่ 19 จักรพรรดินีเออเฌนี เป็นผู้ผลักดันให้เกิดโรงเรียนสอนการออกแบบ และผลักดันให้เกิดแบรนด์แฟชั่นชั้นนำมากมาย
ถึงแม้ราชสำนักฝรั่งเศสจะต้องประสบกับการปฏิวัติหลายต่อหลายครั้ง แต่ความหรูหราที่ได้ทิ้งไว้ก็ยังถูกนำมาสานต่อ และผ่านการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องแต่งกาย ที่มีการจัดตั้งสถาบันสอนออกแบบ ให้กำเนิดการเดินแฟชั่นโชว์ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
ดึงดูดนักออกแบบเสื้อผ้าจากทั่วฝรั่งเศสและทั่วโลกให้เข้ามาแสดงฝีไม้ลายมือ จนทำให้กรุงปารีสกลายเป็นเมืองศูนย์กลางแฟชั่นระดับโลก
การวางแผนอย่างเป็นระบบระเบียบนี้เอง ส่งผลให้วิถีชีวิตแบบฝรั่งเศสกลายเป็น Story และนำมาสู่การสร้างแบรนด์ที่เป็นตำนานระดับโลก
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หาก 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส จะเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์หรูถึง 6 บริษัท
ซึ่งหลายบริษัทเกิดจากการควบรวมหลายแบรนด์เข้าไว้ด้วยกัน
หากเรียงตามลำดับอายุที่ก่อตั้ง จะได้เป็น..
- LVMH
ถึงแม้บริษัทนี้จะเกิดจากการควบรวมบริษัทในปี 1987 แต่ประวัติของแต่ละบริษัทที่อยู่ในเครือถูกย้อนไปไกลกว่านั้น
Moët & Chandon เป็นผู้ผลิตแชมเปญ ก่อตั้งในปี 1743
Hennessy ผู้ผลิตบรั่นดีคอนญัก ก่อตั้งในปี 1765
และ Louis Vuitton ผู้ผลิตกระเป๋าเดินทางแบบทรงเหลี่ยม ในปี 1854 เพื่อให้ชนชั้นสูงวางบนรถม้าได้อย่างสะดวกสบาย ก่อนจะกลายเป็นตำนานของกระเป๋าในเวลาต่อมา
ทั้ง 3 บริษัทได้ควบรวมกันในปี 1987 แต่หลังจากนั้น 2 ปีก็เกิดสงครามแย่งกิจการ จนท้ายที่สุดก็ได้ Bernard Arnault บุคคลภายนอก เข้ามามีอำนาจในการบริหาร LVMH นับตั้งแต่นั้นมา
Arnault ได้ขยายอาณาจักร LVMH ด้วยการเข้าครอบครองกิจการแบรนด์หรูชื่อดังอย่างต่อเนื่อง
ทั้งเครื่องแต่งกาย ไวน์ นาฬิกา จน LVMH ครอบครองแบรนด์หรู กว่า 75 แบรนด์
ปัจจุบัน LVMH กลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจแบรนด์หรูที่ใหญ่สุดในโลก และถือเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในฝรั่งเศสและยุโรป ด้วยมูลค่า 13.5 ล้านล้านบาท
- Hermès
กิจการนี้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1837 โดย Thierry Hermès
แรกเริ่มบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตอานม้าสำหรับชนชั้นสูง ต่อมาลูกชายก็ได้ขยายธุรกิจ และให้กำเนิดกระเป๋าเพื่อแบกสัมภาระไปกับการเดินทางบนหลังม้า จนกลายเป็นกระเป๋าที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ และขยายไปสู่เครื่องแต่งกายต่าง ๆ
ปัจจุบัน Hermès เป็นแบรนด์หรูที่ไม่ได้ควบรวมกับแบรนด์อื่น ๆ
ซึ่งถึงแม้จะเป็นแบรนด์เดี่ยว แต่มูลค่าของ Hermès ก็สูงถึง 5.3 ล้านล้านบาท
- EssilorLuxottica
สมาคมช่างทำแว่นตาแห่งปารีส หรือ Société des Lunetiers (SL) หรือ Essel ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1849 ให้เป็นศูนย์รวมของช่างฝีมือ เพื่อพัฒนากระบวนการทำแว่นตา ทั้งกรอบแว่นและเลนส์แว่นตา
ต่อมา Essel ได้ควบรวมกับบริษัททำเลนส์ Silor กลายเป็น Essilor
และก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการผลิตและจัดจำหน่ายเลนส์สายตา โดยเฉพาะกลุ่มเลนส์ตระกูล Varilux และล่าสุดได้ควบรวมกับบริษัท Luxottica บริษัทผลิตกรอบแว่นตาที่ใหญ่สุดในโลกของอิตาลี
ทำให้บริษัทนี้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเรื่องแว่นตาของโลก ที่ครอบคลุมตั้งแต่เลนส์ ไปจนถึงแว่นตา
และมีมูลค่าตลาด 2.6 ล้านล้านบาท
- Kering
เช่นเดียวกับ LVMH ถึงแม้ Kering จะก่อตั้งในปี 1963 แต่ประวัติของแต่ละบริษัทที่อยู่ในเครือถูกย้อนไปไกลกว่านั้น
บริษัทที่เก่าแก่ที่สุดในเครือ ก็คือ Boucheron แบรนด์เครื่องประดับสุดหรูของฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1858 และเป็นที่โปรดปรานอย่างมากของชนชั้นสูงในยุคนั้น
Kering ยังเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับชั้นนำอีกมากมาย
ทั้ง Yves Saint Laurent ของฝรั่งเศส และของประเทศอื่น ๆ เช่น Gucci และ Bottega Veneta ของอิตาลี
ด้วยความที่มีแบรนด์หรูระดับโลกมากมาย มูลค่าบริษัทของ Kering จึงสูงถึง 3.7 ล้านล้านบาท
- L'Oréal
ก่อตั้งในปี 1909 โดยนักเคมีชาวฝรั่งเศส ชื่อ Eugène Schueller ได้คิดค้นน้ำยาย้อมสีผม แล้วได้รับเสียงตอบรับจากช่างทำผมในเมืองปารีสเป็นอย่างมาก
จนทำให้เขาตั้งเป็นบริษัท Société Française de Teintures Inoffensives pour Cheveux ขึ้นมา และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น L'Oréal
แต่หลังจากที่ Eugène Schueller เสียชีวิต แล้ว François Dalle ได้เข้ามาบริหารงานแทน
Dalle ก็ได้ขยายตลาดด้วยการซื้อบริษัทเครื่องสำอางแบรนด์อื่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อเจาะกลุ่มตลาดใหม่ และเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า
หลังจากนั้น L'Oréal ก็ซื้อบริษัทอื่นเข้ามาเรื่อย ๆ ทั้งผลิตภัณฑ์ความงามชั้นสูง เวชสำอาง เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ช่างผมมืออาชีพ
จนในที่สุด L'Oréal ก็กลายเป็นบริษัทเครื่องสำอางที่มีมูลค่าบริษัทมากที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าบริษัทกว่า 8.4 ล้านล้านบาท
- Dior
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Christian Dior ดีไซเนอร์อิสระ ได้รับจ้างออกแบบหมวกให้กับแวดวงไฮโซ ที่ผ่านชีวิตล้มลุกคลุกคลานจนได้เปิดห้องเสื้อของตัวเองในปี 1946
เขาสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับวงการแฟชั่นของปารีส ด้วยคอลเลกชันแรก ที่มีชื่อว่า “New Look” เป็นชุดเข้ารูป และกระโปรงสุ่มบาน ก่อนจะขยายผลิตภัณฑ์ไปสู่น้ำหอม “Miss Dior” อันโด่งดัง
หลังจากนั้นแบรนด์ Dior ก็ผ่านการล้มลุกคลุกคลาน จนท้ายที่สุดก็ได้มาอยู่ภายใต้การบริหารของ Bernard Arnault แห่ง LVMH ในปี 1984
Dior ก็เติบโตจนเป็นอาณาจักรแฟชั่นที่มียอดขายหลักล้านล้านบาท และมีมูลค่าตลาด 4.8 ล้านล้านบาท..
แต่ฝรั่งเศสไม่ได้มีแค่แบรนด์หรูเท่านั้น..
นอกจากทั้ง 6 บริษัทแบรนด์หรูที่กล่าวมาข้างต้น บริษัท Top 10 ของฝรั่งเศสยังประกอบไปด้วย
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า 1 บริษัท
- ยารักษาโรค 1 บริษัท
- ก๊าซ 1 บริษัท
- และพลังงาน 1 บริษัท
และเช่นเดียวกับแบรนด์หรู หากเรียงลำดับอายุของการก่อตั้ง จะเริ่มต้นจาก..
- Schneider Electric
ในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ถึงแม้อุตสาหกรรมในฝรั่งเศสจะไม่ได้โดดเด่นเท่าอังกฤษหรือเยอรมนีในยุคเดียวกัน แต่องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศสก็ไม่น้อยหน้าใคร
นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Pierre-Émile Martin เป็นผู้พัฒนาเตากระทะ หรือ Open Hearth Furnace เพื่อใช้สำหรับหลอมเหล็กกล้าซึ่งต้องใช้อุณหภูมิสูงมาก
2 พี่น้องครอบครัว Schneider เดินทางจากเมืองบ้านเกิดที่อยู่ไม่ไกลจากชายแดนเยอรมนี มาลงทุนสร้างเตาหลอมเหล็กในเมือง Le Creusot ในปี 1836 จนกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเครื่องจักร
ไม่นานก็ได้ขยายเข้าสู่อุตสาหกรรมก่อสร้างและไฟฟ้า
ปัจจุบัน Schneider Electric คือผู้นำในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ระบบอัตโนมัติ การควบคุมอาคาร และการบริหารจัดการพลังงานระดับโลก มีมูลค่าบริษัท 3.3 ล้านล้านบาท
- Sanofi
ปี 2020 ฝรั่งเศสส่งออกยารักษาโรค มากเป็นอันดับ 4 ของโลก คิดเป็นมูลค่ากว่า 9.3 แสนล้านบาท
หนึ่งในจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมยาในฝรั่งเศส มาจากห้องทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่คนทั้งโลกจะต้องคุ้นเคยกับชื่อของเขา คือ Louis Pasteur ผู้ให้กำเนิดกระบวนการพาสเจอไรซ์ หรือการใช้ความร้อนฆ่าเชื้อโรค
Louis Pasteur เป็นผู้วิจัยและพัฒนาวัคซีนพิษสุนัขบ้า และผู้ก่อตั้ง Pasteur Institute สถาบันวิจัยด้านวัคซีนในปี 1887
จนในปี 1974 Pastuer Production ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นโรงงานผลิตวัคซีน และได้ถูกควบรวมเข้ากับบริษัทยาอีกหลายแห่ง จนท้ายที่สุดก็อยู่ภายใต้บริษัทยา Aventis
ต่อมาในปี 2004 Aventis ก็ได้ควบรวมกับบริษัท Sanofi และทำให้ Sanofi กลายเป็นบริษัทยาที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งยารักษาโรคเรื้อรัง ยารักษาโรคมะเร็ง วัคซีน
รวมถึงวัคซีนโควิด 19 ที่กำลังทำการวิจัยอยู่ในระยะที่ 3 ด้วย
ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย Sanofi จึงมีมูลค่าตลาดมากถึง 4.3 ล้านล้านบาท
- Air Liquide
Georges Claude วิศวกรชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนากระบวนการทำให้อากาศกลายเป็นของเหลว เพื่อแยกส่วนประกอบสำคัญในอากาศ คือก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจนออกจากกัน
กระบวนการนี้ทำให้ได้ก๊าซบริสุทธิ์ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ก๊าซไนโตรเจน ใช้สำหรับการถนอมอาหาร อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี
ในขณะที่ก๊าซออกซิเจน นอกจากจะใช้ทางการแพทย์แล้ว ยังสำคัญในอุตสาหกรรมเหล็กและกระจกอีกด้วย
ความสำเร็จนี้ทำให้ Georges Claude ได้ก่อตั้งบริษัท Air Liquide ในปี 1902
ปัจจุบัน Air Liquide ให้บริการแก๊สสำหรับอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ เคมี และอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และมีมูลค่าบริษัทกว่า 2.8 ล้านล้านบาท
- TotalEnergies
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพฝรั่งเศสประสบปัญหาขาดแคลนน้ำมันอย่างหนัก จนต้องขอความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งในเวลานั้น อุตสาหกรรมน้ำมันในสหรัฐอเมริกาครองสัดส่วนกว่า 70% ของโลก
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้มอบหมายให้ Ernest Mercier จัดตั้งบริษัทปิโตรเลียมแห่งฝรั่งเศส (CFP) ในปี 1924 เพื่อความมั่นคงทางพลังงานของฝรั่งเศสเอง
ในปัจจุบัน CFP ได้เปลี่ยนชื่อเป็น TotalEnergies เป็นบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส
เป็นผู้ผลิตน้ำมันเครื่อง และผลิตภัณฑ์หล่อลื่นทั้งกับยานยนต์และอุตสาหกรรม
มีมูลค่าบริษัทกว่า 3.9 ล้านล้านบาท
สิ่งที่น่าสนใจก็คือ 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศฝรั่งเศส
ทุกบริษัทล้วนมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1.1 ล้านล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าที่ใหญ่กว่าบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในประเทศไทย อย่างบริษัท ปตท.
หลายคนอาจคิดว่า แบรนด์ฝรั่งเศส สร้างเพียงแค่ Story ก็เพียงพอแล้วที่จะสามารถส่งออกไปขายได้ทั่วโลก
แต่ทั้งหมดจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ วิจัยและพัฒนาต่อยอดอย่างเป็นระบบ
และผ่านการบริหารกิจการ โดยเฉพาะการควบรวมแบรนด์ ที่ทำให้การบริหารมีประสิทธิภาพ และเพิ่มช่องทางกระจายสินค้าได้มากขึ้น
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ประเทศฝรั่งเศสไม่ได้เชี่ยวชาญแต่แวดวงศิลปะเท่านั้น
เพราะการพัฒนาศิลปะจะเติบโตได้ ส่วนหนึ่งจะต้องเกิดจากการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านอื่น ๆ ควบคู่กันไป โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จากการสังเกตบริษัทชั้นนำ 10 บริษัทของแต่ละประเทศ เราก็สามารถบอกได้คร่าว ๆ ว่าประเทศเหล่านั้นมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมด้านไหน และให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมอะไรในอนาคต
สำหรับฝรั่งเศส คงบอกได้ว่า
ประเทศนี้สามารถนำโลกแห่งศิลปะ กับวิทยาศาสตร์ ซึ่งดูเหมือนอยู่คนละขั้วกัน
มาผสมผสานกันได้อย่างลงตัว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://companiesmarketcap.com/france/largest-companies-in-france-by-market-cap/
-https://www.essilor.co.th/about-essilor
-https://www.vogue.co.uk/article/christian-dior
-https://www.airliquide.com/shareholders/stock-share/focus-on/air-liquide-118-years-history-individual-shareholders
-https://www.se.com/th/en/about-us/company-profile/history/schneider-electric-history.jsp
-https://www.worldstopexports.com/drugs-medicine-exports-country/
-https://www.sanofi.com/en/about-us/through-time
-https://totalenergies.com/group/identity/history
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「us stock market cap」的推薦目錄:
us stock market cap 在 綠角財經筆記 Facebook 的最佳解答
Vanguard富時全球股市美國除外ETF,英文全名 Vanguard FTSE All-World ex-US ETF ,美股代號VEU,2007年三月2日成立。
VEU追蹤FTSE All-World ex-US Index。該指數包含全球50個國家,共3428支股票。投資範圍是美國以外的已開發與新興市場。
VEU投資組合中,北美:歐洲:亞太:新興市場的比率約為6:40:28:26。
VEU需要跟VXUS進行比較。因為兩者都是投資美國以外的全球已開發市場與新興市場,投資全球四大地區的比重也相當近似。
VEU和VXUS主要差別,在於對中小型類股的涵蓋程度。
VEU追蹤的指數有3428支成份股。VXUS追蹤的指數則有7554支成份股。VXUS較多的成分股數目,使其對中小型類股有較完整的覆蓋。
持股的市值中位數(Median Market Cap),VXUS是330億美金,VEU是410億美金。VXUS持有的中小型股較多,所以市值中位數較小。
VEU跟VXUS一樣,可以與專門投資美國股市的Vanguard Total Stock Market ETF(美股代號:VTI)搭配,形成全球股市投資組合。
VEU內扣總開銷是0.08%,與2020相同。
VEU的前十大持股如下:
Taiwan Semiconductor Manufacturing (台積電)
Tencent Holdings
Alibaba Group Holdings
Samsung Electronics
Nestle
ASML
Roche
LVMH
Toyota
Novartis
跟2020同期相比,Royal Dutch Shell與Unilever退出前十名,ASML和LVMH進入前十大。前十大持股一年來的變化,跟VXUS相同。
完整討論,可見今天文章:
https://greenhornfinancefootnote.blogspot.com/2021/06/vanguard-ftse-all-world-ex-us-etfveu2021.html
us stock market cap 在 貓的成長美股異想世界 Facebook 的最佳貼文
🌻美國生活
打了疫苗後, 在上週進城了一趟.
許久未出門的感覺很奇妙. 進了城, 也感到大家的生活還是如往常一般, 只是餐廳沒甚麼人(都用電話下單, 或是當場點了東西後就走), 許多人(並不是全部)的臉上也多了個口罩. 旅館的人倒是不多. 但商家停車場的車子應該如往常一樣, 沒有減少.
每次進城, 也一定會到Chipotle打牙祭. 這次試了他們新的飯(參雜了cauliflower花椰菜), 酸酸滋味, 配上原來burrito裡面就有的料, 真的是開胃又好吃, 一口接一口.
最近吃了三家不同的burrito, 還是覺得Chipotle的最好吃. 我想原因之一(不知道我的觀察有沒有誤), 可能是他們把不同口感的配料加在一起時, 有多家一道手續, 讓新鮮脆口的生菜, 烤熟的肉類, sour cream與其他配料均勻地被融合起來, 也讓滋味豐富了起來. 不像其他家的burrito, 一口咬下去, 就是飯, 或是豆類, 分得很清楚, 而沒有不同食材所帶來的多層次的口感.
Anyway. 附上這次進城照的幾張照片在下方.
🌻My happiness project: 年報財報導讀
股市對我來說像戰場; 年報財報就像是兵書. 而一家家公司的年報財報, 對我來說, 就像是故事書一樣, 述說著公司的成長營運軌跡. 做了這些功課後, 持股也會有信心. "Buy and do homework," 是我認為投資該有的態度.
下半年時間比較多, 所以想抽一點時間出來, 跟對看年報財報有興趣的投資人一起來讀資料, 順便藉此分享我是如何抓重點&透過年報財報來做思考的. 也想要藉此來宣揚看年報財報的好處&消除投資人對英文年報財報可能會有的恐懼感. Anyway. 這只是初步的想法. 若要實行也會是九月的事情了.
不過先錄了一段影片, 解釋我是怎麼做財報內容&電話會議內容整理的: https://youtu.be/vvkrs6CiWdw
🌻本周做的功課與閱讀
https://makingsenseofusastocks.blogspot.com/2021/05/blog-post_19.html
這次的閱讀中, 跟成長股比較有關的是這段. 目前成長股也被重新定價中, 所以建議成長股投資人在挑股的時候, 盡量找有現金流, 還有獲利的公司.
"That’s true even for the highflying growth stocks that have been getting hit so hard recently—as long as they have earnings. Adam Parker, founder of Trivariate Research, notes that following large growth selloffs, S&P 500 growth stocks with both free cash flow and expanding margins tend to outperform in the months ahead. That means favoring stocks like ServiceNow (ticker: NOW) and Advanced Micro Devices (AMD) over shares of Chegg (CHGG) and Twitter (TWTR). “Buy some growth stocks on the selloff, but they have to have positive free cash flow and margin expansion,” Parker says."
🌻投資金句
"I learned that you may be right, but if enough people believe you're wrong the markets can really hurt you." --BlackRock bond chief Rick Rieder
🌻The Future of Work
看到BofA寫的這一段, 覺得挺感動的. 這也是投資的目的之一, 能夠藉著這個方式, 來接觸到世界的脈動.
The Future of Work
Thematic Research
BofA Global Research
bofa.com
May 12: The future of work is not zero-sum between humanity and technology. We believe humans can collaborate with and work alongside robots, rather than be displaced by them, and that technology can create more jobs than it destroys. By 2025 alone, the WEF [World Economic Forum] thinks automation will add 12 million net new jobs, with robots eliminating 85 million jobs but creating 97 million new ones. Other grounds for optimism include: (1) 65% of children starting school today will work in jobs that have not been invented yet; (2) “new” collar jobs will be generated from well-placed thematic sectors like healthcare, renewables, new mobility, or even moonshot technologies; and (3) we might actually be more productive and have more leisure time if robots can relieve us of more mundane, repetitive everyday tasks. We have identified $14 trillion in market cap of enablers for the future of work. Technology, industrials, and medtech are some key beneficiaries. We also see opportunities in education and the upskilling/retraining of workers by corporates. Conversely, commercial real estate/offices and legacy transport are some of the sectors facing headwinds...
So, what are the truly futuristic jobs that could be invented? Data-privacy managers, nanomedicine surgeons, lab-meat scientists, blockchain strategists, space-tourist guides, freelance biohackers, AI avatar designers, 3D food-printer chefs, leisure-time planners, ethical algorithm programmers, and brain simulation specialists, to name but a few.
🌻Dividend Growers’ Allure
這段從股息的角度, 來講解傳統價值股跟成長股的不同處.
Dividend Growers’ Allure
Insights & Commentaries
Washington Crossing Advisors
washingtoncrossingadvisors.com
May 10: Buy quality stocks that increase dividends regularly. This simple strategy takes a long-term view of investing and focuses on the dividend, not the stock price. Passive income generated from dividend growth has two main benefits. First, it focuses your investment strategy on cash-generating, growing companies. Second, it tends to lead to quality businesses that are neither too young nor too old.
Why is this so? Almost by definition, a dividend-growing company tends to cover expenses with rising cash flow. And which companies do these tend to be? They tend to be profitable, established companies in the middle of their corporate life cycle. By contrast, young companies tend to be burning cash, constantly in need of capital, and face a higher risk of failure. Such young firms tend to not pay dividends at all as they are consumed with growth. On the other hand, older companies often funnel most or all cash to investors as dividends because viable investments can no longer be found. These firms are often in decline and offer little growth, often reflected in a high current yield.
Picture:
1. Chipotle內部. 可以看到有個取餐的架子. 餐廳人員也不時在電腦螢幕前, 看進來的訂單, 備菜.
2. 旅館外一區. 面向密西根湖.
3. CSX, Union Pacific的火車廂(這兩家都有上市)