ใครเป็นเจ้าของ Vans, The North Face และ Timberland /โดย ลงทุนแมน
ถึงแม้ว่าจุดเริ่มต้นของ Vans, The North Face และ Timberland นั้นจะไม่เหมือนกัน
แต่รู้ไหมว่า ปัจจุบัน ทั้ง 3 แบรนด์ มีเจ้าของเดียวกัน
คือบริษัท VF Corporation เจ้าของอาณาจักรเสื้อผ้าแสนล้าน จากสหรัฐอเมริกา
เรื่องราวนี้เป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มต้นที่ VANS รองเท้าแนวสตรีท ขวัญใจนักสเกตบอร์ด
VANS นั้นเป็นแบรนด์รองเท้าที่ก่อตั้งขึ้นโดยสองพี่น้อง Paul และ Jim Van Doren และเพื่อน
ในรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 1966
โดยพื้นรองเท้ายางของ VANS นั้นมีความแข็งแรงทนทาน ทำให้ถูกใจนักสเกตบอร์ด จนค่อยๆ ได้รับความนิยม และบริษัทสามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ในปี 1991
สุดท้ายกิจการของ VANS ได้ถูกขายให้กับ VF Corporation ในปี 2004 ด้วยมูลค่า 12,000 ล้านบาท
แบรนด์ต่อมาคือ
The North Face
แบรนด์เสื้อผ้าสายผจญภัยสัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1966
โดยเริ่มจากร้านขายอุปกรณ์ปีนเขา
ก่อนขยายมาทำ แบรนด์เสื้อผ้าและรองเท้า
และกิจการนี้ได้ถูกขายให้กับ VF Corporation ในปี 2000 ด้วยมูลค่า 790 ล้านบาท
และแบรนด์สุดท้ายคือ Timberland
ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1952
เป็นแบรนด์รองเท้าสำหรับกรรมกร แล้วค่อยๆ เปลี่ยนแนวและกลายมาเป็นรองเท้าที่ได้รับความนิยม ในทุกชนชั้น มีเอกลักษณ์คือ ใช้หนังสีน้ำตาล เป็นรองเท้าหุ้มข้อ และมีพื้นหนา
กิจการนี้ได้ถูกขายให้กับ VF Corporation ในปี 2011 ด้วยมูลค่า 69,000 ล้านบาท
ถึงตรงนี้หลายคนคงเกิดความสงสัยแล้วว่า
VF Corporation กลายมาเป็นเจ้าแห่งนักเทกโอเวอร์กิจการเสื้อผ้าได้อย่างไร?
ความจริงแล้ว VF Corporation นั้น เป็นบริษัทที่มีจุดเริ่มต้นมาจากบริษัทผลิตถุงมือ ที่ชื่อว่า Reading Glove and Mitten Manufacturing Company ในรัฐเพนซิลเวเนีย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1899
แต่ต่อมาก็เริ่มเข้าสู่วงการผ้าไหม และเริ่มมีไลน์สินค้าอื่นๆ เช่น ชุดชั้นในผู้หญิง
ทำให้ต่อมาบริษัทได้เปลี่ยนชื่อไปเป็น Vanity Fair Silk Mills Inc. แต่สุดท้ายก็ได้ยกเลิกการผลิตผ้าไหมไป และก็ได้จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในปี 1951
จนสุดท้ายได้ขายกิจการชุดชั้นในผู้หญิงออกไป และเปลี่ยนชื่อมาเป็น VF Corporation แบบในปัจจุบัน โดยเริ่มจากการเข้าซื้อกิจการอย่างเช่น JanSport, The North Face
หลังจากนั้นก็ซื้อแบรนด์อื่นๆ อีกเรื่อยๆ เช่น Vans, Eagle Creek, Kipling, Reef, Timberland, Dickies
นอกจากนั้นยังมีแบรนด์กางเกงยีนส์ด้วย เช่น Lee และ Wrangler
ซึ่งสุดท้าย ทางบริษัทก็ได้ Spin-Off ธุรกิจยีนส์ออกไป
เป็นบริษัทลูกที่ชื่อว่า Kontoor Brands
ซึ่งทั้ง Lee และ Wrangler จะอยู่ภายใต้บริษัทนี้
แล้วรายได้ของ VF Corporation เป็นอย่างไร
เรามาดูรายได้กัน
ปี 2018 รายได้ 321,000 ล้านบาท กำไร 39,000 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 328,000 ล้านบาท กำไร 21,000 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทนี้จะปิดรอบบัญชีที่เดือนมีนาคม
นั่นหมายความว่า งบปี 2019 ได้รวมผลกระทบจาก COVID-19 ในไตรมาสสุดท้ายด้วย (ม.ค.-มี.ค. 2020)
แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากช่วงโควิด แต่บริษัทก็สามารถทำยอดขายในปี 2019 ได้ดี โดยรายได้ทั้งปียังโตขึ้น 2.1% โดยมีสัดส่วนรายได้กว่า 7% มาจากประเทศจีน
ส่วน Kontoor Brands นั้น
ในปี 2019 บริษัทมีรายได้ 80,000 ล้านบาท
มาจาก Wrangler 60% Lee 34% และแบรนด์อื่นๆ 6%
แล้ว VF Corporation นั้นใหญ่แค่ไหน?
ปัจจุบันมูลค่าของ VF Corporation อยู่ที่ 755,000 ล้านบาท
ซึ่งถ้าอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็จะใหญ่เป็นอันดับ 3 เป็นรองเพียงแค่ ปตท. และ AOT
ส่วนแบรนด์ที่ใหญ่สุดในบริษัทอย่าง VANS, The North Face, Timberland และน้องใหม่อย่าง Dickies นั้น ก็ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2019 ที่ผ่านมา ทั้ง 4 แบรนด์มียอดขายรวมกันเติบโตขึ้น 8%
หลักการของ VF Corporation คือการเลือกซื้อกิจการที่อาจดูเหมือนได้รับความนิยมน้อยลง แต่ก็ยังมีเหล่าแฟนคลับที่เหนียวแน่นอยู่
ซึ่งพวกเขาก็ทำให้เห็นแล้วว่า สามารถทำให้หลายๆ แบรนด์ที่ซื้อไปกลับมามีชีวิตชีวาขึ้นได้อีกครั้ง
อย่างเช่น VANS ที่กลับมาโตแบบก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
โดยเปลี่ยนโฉมจากรองเท้าสเกตบอร์ดกลายเป็นรองเท้าที่สวมใส่ได้แทบทุกรุ่นทุกวัย
โดยเฉพาะรุ่น Old Skool ที่เปิดตัวเมื่อ 50 ปีก่อน ซึ่งยังสามารถกลายเป็นรองเท้ารุ่นยอดนิยมจนถึงปัจจุบันนี้ได้
ก็ต้องบอกว่าวิธีการซื้อแบรนด์ไปเรื่อยๆ ของ VF Corporation เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ซึ่งก็คล้ายกับอีกหลายบริษัท
ไม่ว่าจะเป็น LVMH และ Kering ที่คอยซื้อกิจการแบรนด์หรู
L'Oréal ที่คอยซื้อกิจการเครื่องสำอาง
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็อาจเป็นเคล็ดลับสอนเราได้ว่า
วิธีที่จะทำให้ธุรกิจเราเติบโตต่อไปได้
ไม่จำเป็นต้องขยายธุรกิจด้วยตัวเราเอง
แต่การนำเงินที่เหลืออยู่ไปซื้อกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ก็อาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
สัมผัสเทคโนโลยีรูปแบบใหม่จากสตาร์ตอัปไทย Blockdit
Blockdit เป็นแพลตฟอร์มของแหล่งรวมนักคิด
ที่ช่วยอัปเดตสถานการณ์ ในรูปแบบบทความ วิดีโอ
รวมไปถึงพอดแคสต์ ที่มีให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
ลองใช้กันที่ Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://d1io3yog0oux5.cloudfront.net/_109e48991b3b9bea303fe315933da966/vfc/db/409/70380/annual_report/VF_FY2020_ShareholderLetter-DIGITAL-FINAL.pdf
-https://www.forbes.com/sites/walterloeb/2013/04/02/vf-corp-has-the-midas-touch/#2a126b181cd1
-https://d1io3yog0oux5.cloudfront.net/_4d8009b3ee5f330fcb247d7b21475442/kontoorbrands/db/700/10100/annual_report/Kontoor_2019_Annual_Report%281%29.pdf
-https://www.ft.com/content/ac502f0c-1b2b-11e9-9e64-d150b3105d21
-https://www.heddels.com/2019/06/history-timberland-waterproof-boots-rap-royalty/
-https://www.vans.com/history.html#1991
-https://en.wikipedia.org/wiki/The_North_Face
vanity fair wiki 在 張敬軒 Hins Cheung Facebook 的最佳解答
瓊呀~! 😒😂 #我眼瓊 #有一種面相叫張敬軒 #遲d出面霜
張敬軒今年抖咗一排,估唔到喺綠茵場上見到佢嘅踪影,呢位叫「麥偉利」嘅騎師,簡直同軒仔 share 同一條染色體,個樣倒模咁。
軒仔亦隨即係 ig 宣布秘密轉行,轉戰賽馬圈。軒仔一眾親友,包括英國女演員 Emma Watson 及葡萄牙球員 Pepe 都送上祝福。
(圖片來源:蘋果日報 / Sport.ro / Vanity Fair / Wiki)
vanity fair wiki 在 King Jer 娛樂台 Facebook 的最佳解答
張敬軒今年抖咗一排,估唔到喺綠茵場上見到佢嘅踪影,呢位叫「麥偉利」嘅騎師,簡直同軒仔 share 同一條染色體,個樣倒模咁。
軒仔亦隨即係 ig 宣布秘密轉行,轉戰賽馬圈。軒仔一眾親友,包括英國女演員 Emma Watson 及葡萄牙球員 Pepe 都送上祝福。
(圖片來源:蘋果日報 / Sport.ro / Vanity Fair / Wiki)