ธุรกิจ 4.0 รอบตัวแข่งขันกันอย่างดุเดือด (ตัวอย่างแอปที่มีบริการให้เลือกสารพัด ไม่ได้มีไว้แค่เรียกยานพาหนะรับส่งอย่างเดียว) ซึ่งตอบสนองผู้บริโภคยุคใหม่อย่างตรงจุด แต่ผู้ให้บริการบ้านเราบางส่วนเคยชินกับการจ่ายเงินผูกขาดแบบเดิม ๆ จนไม่คิดปรับปรุงอะไรเลย... ;_;
งานนี้จะมีกลุ่มอะไรออกมาอีกไหม???
+++ ถึงคราว Go-Jek เป็น "ฝ่ายรุก" +++
สองเดือนหลังการจากไปของ Uber
ที่ตกลงถอนทัพจากเอเชียอาคเนย์
ด้วยสัญญาสงบศึกกับ Grab
ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่รายเดียวกัน
หลายคนคิดว่าบริการเรียกรถของ Anthony Tan
น่าจะครองส่วนแบ่งในตลาดได้ไม่ยาก
แต่มาวันนี้ ตลาด ride-hailing
น่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง
เมื่อ Go-Jek สตาร์ทอัพจากอินโดนีเซีย
ประกาศขยายการให้บริการจากบ้านเกิด
มาสู่สี่ประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง
ได้แก่ ฟิลิปปินส์, เวียดนาม, สิงคโปร์ และไทย
ด้วยเงินลงทุนอย่างน้อย 500 ล้านดอลลาร์
พร้อมนโยบายการจับมือกับผู้ประกอบการท้องถิ่น รวมถึงการอ้าแขนเปิดรับพนักงานเก่าของ Uber ที่ไม่พร้อมร่วมงานกับ Grab ด้วย
.
ความน่าสนใจของ Go-Jek อีกอย่างก็คือ
Nadiem Makarim ผู้ก่อตั้ง
เป็นศิษย์เก่า MBA ของ Havard Business School รุ่นเดียวกับ Anthony และ Hooi Ling Tan
สองผู้ก่อตั้ง Grab ชาวมาเลเซีย ด้วย
ระหว่างศึกษาที่ HBS ทั้งสามคนปรึกษากัน
เรื่องการทำธุรกิจลักษณะนี้อยู่ตลอด
ก่อนจะแยกย้ายกันไปเริ่มต้นในบ้านเกิดตัวเอง
กระทั่ง เมื่อ Grab ประสบความสำเร็จในวงกว้างก่อน Tan ก็นำ GrabBike รุกเข้าสู่ อินโดนีเซีย
เพื่อแข่งขันกับ Go-Jek เมื่อสามปีที่แล้ว
ด้วยสี ภาพลักษณ์ และกลยุทธ์
ที่แทบจะถอดแบบจากอีกฝ่ายทั้งหมด
.
ถึงจะมีความพร้อมในเรื่องทุนมากกว่า
แต่เอาเข้าจริง
GrabBike กลับไม่อาจเอาชนะ Go-Jek ได้
ในธุรกิจมอเตอร์ไซค์รับจ้าง
คุณโจ้ ศิลป์ธรณ์ สันติธรณ์ Director / Marketing Director ของบริษัท อิชิตัน อินโดนีเซีย
ซึ่งใช้ชีวิตที่นั่นอยู่พักใหญ่
ให้ความเห็นถึงเรื่องนี้ ในฐานะผู้ใช้งานด้วยตัวเอง
ว่าจุดแข็งของ Go-Jek
คือราคาที่ "ถูกจนน่าตกใจ"
แทบไม่ต่างอะไรกับนั่งฟรี
รวมถึงบริการอื่นๆที่ GrabBike ไม่มี
อย่าง การทำความสะอาดบ้าน ล้างรถ และอีกสารพัด หรือแม้แต่ การนวดถึงสถานที่ ด้วย Go-Massage!?!
.
กระทั่งวันนี้ ที่ Go-Jek
กล้าก้าวเท้าออกจากบ้าน
เพื่อมาเป็น "ฝ่ายรุก" บ้าง
นั่นแปลว่าพวกเขาต้องมีดีพอตัว
และเมื่อมองรายชื่อนักลงทุนที่อยู่เบื้องหลัง
ทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้ว ก็ไม่ธรรมดาจริงๆ
#จากอินโฟกราฟฟิกที่ลงไว้เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น
เพราะเมื่อลงลึกในรายละเอียดจริงๆ ก็มีทั้ง Google, Temasek, Sequoia รวมถึง Tencent และ JD.com อยู่ด้วย
เรียกได้ว่าไม่เป็นรอง SoftBank, Hyundai, Didi Chuxing หรือ Vision Fund ที่หนุนหลัง Grab แน่นอน
.
ก่อนถอนทัพไปจากอาเซียน
Dara Khosrowshahi CEO ของ Uber ยอมรับว่าการทำธุรกิจในภูมิภาคนี้ "ทำกำไรไม่ได้"
แต่ Google มองว่า ตลาด ride-hailing
ในเอเชียตะว้นออกเฉียงใต้นั้น ยังโตได้อีกมาก
จากตัวเลข 5,100 ล้านดอลลาร์ในปีล่าสุด
จะมีมูลค่าสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์
ภายในปี 2025
และนั่นอาจเป็นเหตุผลว่าทำไมยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอ็นจินถึงเลือกหนุนหลังสตาร์ทอัพสีเขียวจากอินโดนีเซีย
และการเดินทางอาจจะเกี่ยวกับบริการแผนที่
รวมถึงข้อมูลต่างๆด้วยหรือไม่
..
.
แม้จะยังไม่มีกำหนดชัดเจน ว่า Go-Jek
จะเริ่มเดินหน้าในบ้านเราเมื่อไหร่
แต่หลายคนที่ยังเสียดาย Uber อยู่
ก็แสดงท่าทีแล้วว่าพร้อมลองของใหม่ดูบ้าง
งานนี้ต้องรอดูกันว่า
หลังจาก "ยันอยู่" มาแล้วในบ้านเกิด
ในฐานะ "ฝ่ายรับ"
เมื่อต้องเป็น "ฝ่ายรุก" บ้าง
Go-Jek ที่มีแบ็กอัพหนาปึ้ก จะทำได้ดีแค่ไหน
ในสงคราม 2 ล้อ... 4 ล้อ
เลยไปถึง Platform Economy
กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่....ชื่อ Grab
.
Better be AHEAD
#AHEADASIA
ก่อนวันนั้นจะมาถึง เราไปดูบทวิเคราะห์กรณี 'สุญญากาศ' เมื่อครั้ง Uber ถอนทัพจากเอเชียอาคเนย์กันครับ
Grab ฮุบกิจการ Uber อาเซียนแล้ว-ดึง Dara Khosrowshahi ร่วมบอร์ด
http://bit.ly/GrabtakeoverUber
บทวิเคราะห์ "Uber ไปแล้วนะ ออเจ้า"
http://bit.ly/UberIsGone
หลากมุมมอง กรณี Grab ซื้อ Uber
http://bit.ly/GirlsOnUber
Search