"หน้ากากอนามัยแบบ non-medical mask ก็ใช้ใส่ในสถานการณ์โรคโควิด-19 ได้นะครับ"
มีการแชร์รูปและข้อความทำนองว่า "รู้หรือยัง non-medical mask เป็นหน้ากากที่ไม่ใช่ทางการแพทย์ ใช้กันเชื้อโรคไม่ได้ ส่วน medical mask เป็นหน้ากากอนามัยที่ใช้ทางการแพทย์ กันเชื้อโรคได้ประสิทธิภาพสูง ดังนั้น ถ้าจะใช้กับโควิด ในพื้นที่เสี่ยงหรือแออัด ก็ต้องใช้ medical mask ขึ้นไปเท่านั้น" !?!
มันก็ไม่ขนาดนั้นนะครับ !! หน้ากากอนามัยแบบ non-medical mask ที่มีคุณภาพการผลิตดี แผ่นกรองหลายชั้น และไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อนนั้น บุคคลธรรมดาก็สามารถนำมาใช้ใส่เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ เพียงแต่ว่าระดับเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตนั้น มันยังไม่สูงถึงจุดที่ผ่านเกณฑ์ว่าเป็น medical mask เพื่อให้แพทย์เอาไปใช้ทำงาน (เช่น ผ่าตัดคนไข้) ได้อย่างมั่นใจปลอดภัย
เรื่องที่สำคัญมากกว่า คือ แหล่งผลิตของหน้ากากอนามัยที่ซื้อมา ว่าได้มาตรฐานการผลิตจริงหรือเปล่า ซึ่งถ้าเป็นโรงงานที่ผลิตในประเทศไทย ก็ค่อนข้างมั่นใจได้นะครับ ว่ามีประสิทธิภาพจริง รวมทั้งปลอดภัยในการใช้งาน ไม่มีเชื้อโรคหรือสารเคมีอันตรายปนเปื้อนมา
(แต่ที่น่าห่วงคือ พวกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ที่คุณภาพต่ำ แต่มาแพ็คใส่กล่องสวยงาม ทำให้เราเข้าใจผิด ... เจอตามตลาดเยอะเลย)
ที่สำคัญอีกอย่างคือ วิธีการสวมใส่ การถอด การทิ้ง หน้ากากอนามัย ซึ่งถ้าใช้ผิดวิธี นอกจากจะไม่ช่วยเรื่องการป้องกันโรคแล้ว อาจจะกลับเพิ่มความเสี่ยงต่อตัวเราเองในการรับเชื้อโรคเสียด้วยซ้ำ
ลองอ่านข้อมูลเกี่ยวกับหน้ากากอนามัยแบบ medical mask และแบบ non-medical mask นะครับ (ข้อมูลจาก https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/who-2019-ncov-ipc-masks-2020-4-th.pdf?sfvrsn=61f46597_2)
-----------------------------
หน้ากากทางการแพทย์ (medical mask) หมายถึง หน้ากากแบบเรียบหรือแบบมีรอยจีบ ที่แพทย์สวมขณะผ่าตัดหรือทำหัตถการ หน้ากากถูกสวมบนศีรษะ โดยคล้องสายรัดไว้ข้างหลังใบหูหรือบริเวณหลังศีรษะ หรือคล้องไว้ข้างหลังใบหูและหลังศีรษะ สมรรถนะของหน้ากากแบบนี้ถูกทดสอบตามวิธีการทดสอบมาตรฐาน (ASTM F2100, EN 14683 หรือมาตรฐานเทียบเท่า) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรักษาสมดุลระหว่างคุณสมบัติการกรองอนุภาค ความสะดวกในการหายใจ และการต้านทานของเหลวซึมผ่าน (มีหรือไม่มีก็ได้) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
หน้ากากทางการแพทย์ควรผ่านการรับรองตามมาตรฐานระดับสากลหรือประเทศ เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณภาพเพียงพอสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ตามระดับความเสี่ยงและประเภทของการทำหัตถการในสถานพยาบาล หน้ากากทางการแพทย์ที่ออกแบบสำหรับใช้ครั้งเดียวมีคุณสมบัติการกรองเบื้องต้น (กรองละอองฝอยอย่างน้อยร้อยละ 95) ความสะดวกในการหายใจ และการป้องกันการซึมซับของเหลว (ถ้ามีข้อกำหนด) ขึ้นอยู่กับประเภท(เช่น ผ้าสปันบอนด์หรือเส้นใยสังเคราะห์แบบ meltblown) และ
ชั้นของเส้นใยสังเคราะห์ชนิดไม่ถักทอที่ผ่านกระบวนการผลิต (เช่น โพลีพรอพไพลีน โพลีเอทิลีน หรือเซลลูโลส) หน้ากากทางการแพทย์มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าและประกอบด้วย ชั้นผ้า 3 หรือ 4 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเส้นใยละเอียดถึงละเอียดมาก หน้ากากเหล่านี้ผ่านการทดสอบความสามารถในการป้องกันละอองฝอยซึมผ่าน (ขนาด 3 ไมโครเมตรตามมาตรฐาน EN 14683 และ ASTM F2100) และป้องกันอนุภาคเล็ดลอด (ขนาด 0.1 ไมโครเมตร มาตรฐาน ASTM F2100 เท่านั้น) หน้ากากต้องกันละอองฝอยและอนุภาคได้แต่ขณะเดียวกันก็ต้องปล่อยให้อากาศผ่านได้เพื่อให้หายใจสะดวกด้วย หน้ากากทางการแพทย์จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ควบคุม และจัดเป็นอุปกรณ์ประเภท PPE
--------------------
หน้ากากอนามัยชนิดทั่วไป (non-medical mask) เป็นหน้ากากที่ทำจากผ้าทอและผ้าชนิดไม่ถักทอหลายชนิด เช่น โพลีพรอพไพลีน หน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปไม่ถือว่าเป็นเครื่องมือแพทย์หรืออุปกรณ์ PPE สำหรับป้องกันส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดมาตรฐานของหน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปโดยสมาคมมาตรฐานสินค้าแห่งฝรั่งเศส (AFNOR Group) เพื่อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านสมรรถนะการกรอง (กรองอนุภาคแข็งหรือละอองฝอยอย่างน้อยร้อยละ 70) และความสะดวกในการหายใจ (ความต่างของแรงดันสูงสุด 0.6 mbar/ตร.ซม. หรือแรงต้านการหายใจเข้าสูงสุด 2.4 mbar/ตร.ซม. และแรงต้านการหายใจออกสูงสุด 3 mbar/ตร.ซม.)
ควรพิจารณาการใช้หน้ากากอนามัยชนิดทั่วไป ซึ่งทำจากผ้าทอ เช่น ผ้า และ/หรือผ้าชนิดไม่ถักทอ เพื่อควบคุมแหล่งแพร่เชื้อ (ใช้โดยผู้ติดเชื้อ) ในชุมชนเท่านั้น และไม่ใช่เพื่อการป้องกัน หน้ากากชนิดนี้เหมาะสำหรับบาง
กิจกรรมโดยเฉพาะ (เช่น ขณะอยู่บนรถโดยสารสาธารณะซึ่งการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลเป็นไปได้ยาก) และควรใช้มาตรการรักษาสุขอนามัยของมือ และการรักษาระยะห่างควบคู่กับการใช้หน้ากากชนิดนี้เสมอ
การใช้หน้ากากอนามัยชนิดทั่วไปควรพิจารณาคุณลักษณะต่าง ๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรอง (filtration efficiency หรือ FE) หรือคุณสมบัติการกรอง ความสะดวกในการหายใจ จำนวน แลประเภทของวัสดุที่ใช้ประกอบเป็นหน้ากาก รูปทรง การเคลือบ และการดูแลรักษา ประสิทธิภาพการกรองและความสะดวกในการหายใจขึ้นอยู่กับผ้าที่ใช้ เช่น ชั้นผ้าสปันบอนด์แบบไม่ทอ 2 ชั้น ซึ่งเป็นวัสดุเดียวกันที่ใช้เป็นชั้นนอกของหน้ากากทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง มีคุณสมบัติการกรองและความสะดวกในการหายใจที่ดีพอ
who searo 在 Drama-addict Facebook 的最佳解答
ข่าวนี้มีคนถามมาเยอะว่าไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยงั้นเรอะ
พ่อแม่บางคนจะเลิกใส่หน้ากากอนามัยละหลังอ่านข่าวนี้
จริงๆแล้วให้อ่านเนื้อหาข่าวให้จบก่อนเด้อ
คือตามคำแนะนำของ who จะเน้นให้คนที่ป่วยใส่หน้ากากอนามัย
คือจริงๆมันควรเป็นงั้นน่ะ เพราะการใส่หน้ากากอนามัยในคนป่วย
ถ้าเขาไอจามมันก็จะป้องกันไม่ให้เกิดละอองฝอยน้ำลายแพร่ให้ชาวบ้าน
การใส่หน้ากากให้คนป่วยคนนึง คุ้มค่ากว่าการใส่ให้คนไม่ป่วยร้อยคนอีกนะ
ซึ่งตามอุดมคติควรเป็นงั้น นอกนั้นเขายังพูดถึงกรณี ถ้าใส่หน้ากากอนามัย แล้วใส่ไม่ถูกวิธี
หรือทิ้งไม่ถูกวิธี ก็อาจสัมผัสเชื้อโรคได้ เหมือนไม่ใส่แหละ แถมยังอาจทำให้หน้ากากอนามัยมีไม่พอใช้
กลายเป็นว่าบุคลากรการแพทย์จะไม่มีหน้ากากใช้กันซะงั้น ดังนั้นทางฝั่งยุโรป อเมริกา จะเน้นแนะนำว่า คนป่วย มึงใส่หน้ากาก คนไม่ป่วยมึงไม่ต้อง
แต่ สำหรับบ้านเรา ซึ่งคนป่วยไม่ยอมใส่หน้ากาก เดินไอจามกันพรวดๆ
ใส่ไปเหอะว่ะ โดยเฉพาะตอนเข้าพื้นที่พลุกพล่าน แต่ตัองจำไว้ว่าใส่หน้ากากไม่พอ
ต้องล้างมือบ่อยๆ และไม่เอามือไปจับปาก จับตา จับจมูกด้วย ถึงจะป้องกันได้เต็มที่
แค่หน้ากากอย่างเดียวไม่พอ
และคำแนะนำของ who เขาก็เผื่อกรณีนี้ไว้ละ คือขนบประเพณีของแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป ของฝรั่งนั่นเขาเอาแบบนั้น แต่ถ้าของบ้านเรา คนที่ไม่ป่วย จะใส่หน้ากากตอนไปในพื้นท่เสี่ยงก็ไม่ผิด ขอแค่ใส่หน้ากากให้ถูกวิธีก็พอละ ตามนั้นครับ
ปล กรูไปเดินห้าง จะเข้าร้านขายของ เจอลุงคนนึงยืนไอแค่กๆอยู่ตรงแคชเชียร์หน้ากากก็ไม่ใส่ กรูนี่เดินถอยหลังออกจากร้านเลยสัส
ปล 2 ลูกหลานบ้านไหนพ่อแม่จะเลิกใส่หน้ากากอนามัยหลังอ่านข่าวนี้ เอาโพสนี้ไปให้อ่านอีกรอบด่วนๆ
ปล3 ก่อนพูดถึงประเด็นนี่ เราต้องหาซื้อหน้ากากให้ได้ก่อน
เอกสารอ้างอิง https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/advice-on-the-use-of-masks-thai-final1e13d6b2e98a4b568c02c288922173a8.pdf?sfvrsn=35999d4c_0