รู้จัก “รูเพิร์ต เมอร์ด็อก” เจ้าพ่อแห่งวงการสื่อโลก /โดย ลงทุนแมน
รูเพิร์ต เมอร์ด็อก ชายที่ครองความยิ่งใหญ่ในวงการสื่อมานานหลายทศวรรษ
เรื่องราวของชายคนนี้เริ่มต้นจากธุรกิจหนังสือพิมพ์เล็กๆ ในประเทศออสเตรเลีย
ก่อนจะก้าวออกไปลงทุนซื้อกิจการสื่อชื่อดังมากมายทั่วโลก
รวมทั้งยังเกือบจะได้เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อีกด้วย
เรื่องราวของชายคนนี้เป็นอย่างไร
อาณาจักรของเขามีอะไรบ้าง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รูเพิร์ต เมอร์ด็อก (Rupert Murdoch) เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1931 ปัจจุบันมีอายุ 89 ปี
โดยเขาเป็นชาวออสเตรเลีย ที่ภายหลังเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน
พ่อของเมอร์ด็อกเป็นอดีตผู้สื่อข่าวที่หันมาเปิดบริษัทหนังสือพิมพ์ประจำท้องถิ่น จึงทำให้เขาคลุกคลีอยู่กับธุรกิจสื่อมาตั้งแต่เยาว์วัย
เมื่ออายุได้ 22 ปี เมอร์ด็อก ได้รับช่วงต่อกิจการจากคุณพ่อ และเปลี่ยนรูปแบบการนำเสนอข่าวใหม่โดยมุ่งเน้นเรื่องแนวอื้อฉาว ประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจในสังคม รวมทั้งพาดหัวข่าวด้วยข้อความชวนสงสัยน่าติดตาม
วิธีดังกล่าวดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ดีมาก โดยเฉพาะในยุคที่โลกยังไม่มีอินเทอร์เน็ตไว้ค้นหาข้อมูล จึงส่งผลให้ยอดขายหนังสือพิมพ์ของเขาเติบโตอย่างรวดเร็ว
ต่อมา เมอร์ด็อก เริ่มขยายธุรกิจไปในตลาดที่ใหญ่ขึ้น โดยก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับใหม่ชื่อว่า “The Australian” ซึ่งมีการวางขายไปทั่วประเทศออสเตรเลีย
รวมทั้งเข้าซื้อกิจการหนังสือพิมพ์รายอื่นๆ ที่ตีพิมพ์ในออสเตรเลีย เช่น The Daily Telegraph, The Daily Mirror, The Sunday Times
เมื่อประสบความสําเร็จในบ้านเกิดพอสมควรแล้ว
เป้าหมายถัดไปของเมอร์ด็อก คือ การบุกตลาดต่างประเทศ
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960 บริษัทของเขาได้ซื้อกิจการหนังสือพิมพ์ชื่อดังหลายแห่งในประเทศอังกฤษ เช่น News of the World, The Sun, The London Times
เมอร์ด็อก นำนโยบายที่เน้นเสนอข่าวอื้อฉาว มาปรับใช้กับหนังสือพิมพ์เหล่านี้ด้วย ซึ่งส่งผลให้ยอดขายแต่ละฉบับ พุ่งขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ของอังกฤษ
นอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์ เมอร์ด็อก ยังมีการลงทุนในสื่ออีกประเภทด้วย นั่นคือ สถานีโทรทัศน์
ในปี 1988 เขาก่อตั้งบริษัท Sky Television ซึ่งถือเป็นทีวีช่องแรกๆ ของอังกฤษ ที่มีการรายงานข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง
และสิ่งที่ทำให้ Sky Television ได้รับความนิยมสูงมาก คือ การชนะประมูลลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1992
อีกประเทศที่ เมอร์ด็อก เข้าไปดำเนินธุรกิจ คือ สหรัฐอเมริกา
เขาได้ก่อตั้ง Holding Company ที่ชื่อว่า News Corporation เพื่อลงทุนในธุรกิจสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ The New York Post, บริษัท Dow Jones & Company ซึ่งเป็นเจ้าของนิตยสาร The Wall Street Journal
รวมทั้งซื้อกิจการค่ายภาพยนตร์ 20th Century Fox ด้วยเงินมูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาท
ซึ่งเมอร์ด็อกได้นำชื่อแบรนด์ Fox มาต่อยอดเป็นธุรกิจสถานีโทรทัศน์ข่าวและรายการต่างๆ จนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในช่องทีวีเรตติ้งสูงของสหรัฐฯ ได้สำเร็จ
และในปี 2019 ที่ผ่านมา News Corp. ก็ทำกำไรมหาศาล จากการตกลงขายสินทรัพย์ส่วนใหญ่ของ Fox ให้กับ The Walt Disney ในราคาสูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท
ซึ่งคอนเทนต์สำคัญที่รวมอยู่ในดีลครั้งนี้ ประกอบไปด้วย ภาพยนตร์ X-Men และ Avatar, การ์ตูน The Simpsons, ช่องสารคดี National Geographic, แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง Hulu
ส่วนธุรกิจเกี่ยวกับข่าว ยังคงอยู่กับ News Corp. ต่อไป
อ่านถึงตรงนี้ เราอาจเห็นเมอร์ด็อกประสบความสําเร็จในธุรกิจสื่อมาอย่างต่อเนื่อง แต่จริงๆ แล้ว เขาก็มีการลงทุนที่ล้มเหลวเช่นกัน
ในปี 2005 บริษัท New Corp. เข้าซื้อแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์ก Myspace ด้วยเงินสูงถึง 18,000 ล้านบาท เพื่อรองรับพฤติกรรมการเสพสื่อบนโลกออนไลน์
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงกว่าอย่าง Facebook เข้ามาแทนที่ ซึ่งสุดท้ายแล้ว เมอร์ด็อก ก็ต้องยอมขายหุ้นส่วน Myspace ทั้งหมดที่ซื้อมาออกไปในราคาเพียง 1,100 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม News Corp. ก็ถือเป็นบริษัทสื่อที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่ของโลก โดยในช่วงปี 2000 เคยมีธุรกิจอยู่ภายใต้การบริหารกว่า 800 บริษัท ใน 50 ประเทศ
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ จึงทำให้ เมอร์ด็อก มีอิทธิพลสูงต่อทั้งอุตสาหกรรมสื่อ จึงมักจะถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่บ่อยครั้งว่า หนังสือพิมพ์และรายการทีวีของเขา นำเสนอข้อมูลเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ทั้งนี้ จากการประเมินทรัพย์สินล่าสุด โดย Forbes
รูเพิร์ต เมอร์ด็อก และครอบครัว มีทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ 467,000 ล้านบาท
ซึ่งร่ำรวยเป็นอันดับที่ 68 ของโลก
นอกจากนั้น มูลค่าทรัพย์สินดังกล่าว ยังสูงเป็นอันดับ 3 ของบุคคลในกลุ่มธุรกิจสื่อ
เป็นรองเพียงแค่ ไมเคิล บลูมเบิร์ก เจ้าของ Bloomberg และ เดวิด ทอมสัน เจ้าของ Thomson Reuters เท่านั้น
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในปี 1998 บริษัท Sky ของ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก เคยยื่นข้อเสนอเพื่อซื้อสโมสรฟุตบอล “แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด” (แมนยู) ด้วยมูลค่า 623 ล้านปอนด์ หรือราว 37,000 ล้านบาท (คำนวณจากค่าเงิน เดือนธันวาคม 1998 ซึ่ง 1 ปอนด์ เท่ากับ 60 บาท)
ซึ่งตอนนั้น แมนยู ได้ตอบตกลงขายหุ้นให้กับ Sky แล้ว
แต่สุดท้ายคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าของอังกฤษ มีคำสั่งให้ระงับการซื้อขาย เพราะมองว่าสถานีโทรทัศน์ Sky Television จะผูกขาดตลาดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกมากเกินไปหากบรรลุดีลนี้ และอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน
เรื่องนี้ทำให้ รูเพิร์ต เมอร์ด็อก ไม่ได้เป็นเจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
และเขาคงเสียดายโอกาสไม่น้อย
เพราะอีกไม่กี่เดือนถัดมา..
แมนยูก็สร้างประวัติศาสตร์ คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก, เอฟเอคัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ภายในฤดูกาลเดียว
อย่างไรก็ตามถ้า รูเพิร์ต เมอร์ด็อก เห็นฟอร์มของทีมแมนยูในปัจจุบัน
ก็อาจจะไม่เสียดายแล้ว ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.investopedia.com/articles/investing/083115/how-rupert-murdoch-became-media-tycoon.asp
-https://www.businessinsider.com/rupert-murdoch-wife-net-worth-family-news-corp-companies-2019-2
-https://en.wikipedia.org/wiki/Rupert_Murdoch
-https://www.forbes.com/billionaires/
-https://uk.sports.yahoo.com/news/rupert-murdoch-manchester-united-bskyb-080000242.html
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「wall street journal wiki」的推薦目錄:
- 關於wall street journal wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於wall street journal wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於wall street journal wiki 在 喬的英文筆記 Joe's English Learning Notes Facebook 的最佳解答
- 關於wall street journal wiki 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於wall street journal wiki 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於wall street journal wiki 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
wall street journal wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จักทฤษฎี TINA ตลาดหุ้นขึ้น เพราะไม่มีทางเลือก /โดย ลงทุนแมน
การที่เราเลือกสิ่งหนึ่ง อาจไม่ใช่เพราะว่ามันดี
แต่อาจเป็นเพราะ
มันไม่มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า..
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้
สามารถอธิบายได้ด้วย TINA Effect
TINA Effect คืออะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
TINA ย่อมาจาก There Is No Alternative หรือ การไม่มีทางเลือก
วลีนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ในปี 1980
หลังจากที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ Margaret Thatcher มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเมืองและเศรษฐกิจของอังกฤษ
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจ เช่น การตัดลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาล การรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง หรือการเปลี่ยนแปลงรัฐสวัสดิการ
ซึ่งนโยบายเหล่านั้นถูกวิจารณ์จากสื่ออย่างหนัก
แต่ Margaret Thatcher ตอบกลับสื่อไปว่า “There Is No Alternative” หรือมันไม่มีทางเลือก..
วลีนี้เริ่มถูกนำมาใช้ในการตลาดการเงิน
ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร The Wall Street Journal เมื่อปี 2013
ใจความสำคัญก็คือ ตลาดหุ้นเป็นทางเลือกเพียงทางเดียวสำหรับนักลงทุนจำนวนมาก ที่ต้องการผลตอบแทนในระดับหนึ่งที่พอใช้ได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำยาวนาน
คำอธิบายนี้ เป็นคำตอบที่อาจช่วยให้เราหายสงสัยว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แต่ตลาดหุ้นกลับไม่ได้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจมากนัก ถึงขนาดตลาดหุ้นบางแห่งกลับทำจุดสูงสุดใหม่ไปแล้ว
ถ้าเราย้อนกลับไปสมัยวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่มีจุดเริ่มต้นมาจากในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2007-2008
ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ได้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายด้วยการกดดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำเพียง 0.00-0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต่ำ โดยนโยบายดังกล่าวกินเวลายาวนานถึง 7 ปี
เพื่อให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวต่อเนื่อง มาตรการต่อมาที่ธนาคารกลางหลายแห่งนำมาใช้อีกก็คือ Quantitative Easing หรือ QE ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณเงินจำนวนมากเข้าสู่ตลาดการเงินโดยตรง
ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินเหล่านั้นเอาเงินไปปล่อยกู้แก่ภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ
ซึ่งทั้งนโยบายการเงินผ่อนคลายที่ยาวนาน และจำนวนเงินมหาศาลที่เข้าสู่ระบบจากมาตรการ QE ได้ส่งผลต่อทางเลือกในการลงทุนของนักลงทุน เพราะเรื่องนี้ทำให้
1. อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่บางประเทศในยุโรปและญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยถึงกับติดลบ จนทำให้แรงจูงใจการฝากเงินเพื่อหารายได้จากดอกเบี้ยนั้นลดลง
2. อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ยังจะทำให้พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ภาคเอกชนที่ออกมาหลังๆ ให้อัตราผลตอบแทนต่ำลงเรื่อยๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนก็คือ อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี
สิ้นปี 2008 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 2.25%
ปัจจุบัน อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี เท่ากับ 0.69%
นั่นหมายความว่า
หากเราไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี และถือจนครบอายุ เราจะได้รับผลตอบแทนปีละ 0.69%
จากอดีตที่จะได้ผลตอบแทนปีละ 2.25%
พอเรื่องเป็นแบบนี้
ตลาดหุ้นจึงเป็นคำตอบสุดท้าย สำหรับหลายคนที่ต้องการเพิ่มผลตอบแทน
แม้จะรู้ดีว่าสภาวะเศรษฐกิจยังตกต่ำ
โรคระบาด Covid-19 ทำให้คาดกันว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ภาวะถดถอยมากที่สุดในรอบ 75 ปี นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2
โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่สุดในโลก ในปัจจุบัน มีคนอเมริกันว่างงานอยู่ 18 ล้านคน มีอัตราการว่างงานสูงถึง 11% มากกว่าช่วงวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในปี 2007-2008 เกือบเท่าตัว
แต่ตลาดหุ้นกลับปรับตัวลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับวิกฤติในอดีต
ที่น่าสนใจคือ บางตลาดกลับทำจุดสูงสุดใหม่ด้วย
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะตลาดหุ้น Nasdaq ของสหรัฐฯ
สิ้นปี 2019 ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 8,946 จุด
ปัจจุบัน ตลาดหุ้น Nasdaq อยู่ที่ 10,434 จุด หรือเพิ่มขึ้นมาแล้วประมาณ 16%
หรือแม้แต่ประเทศไทยของเราก็ตาม ก็อาจมีปรากฏการณ์ของ TINA เช่นกัน
ปีนี้จะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยรับผลกระทบมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดว่า GDP ของไทยจะติดลบถึง 8.1% ซึ่งเทียบกับสมัยวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งในปี 1997-1998 ที่ตอนนั้น GDP ของไทยติดลบ 7.6%
โดยในช่วงนั้นตลาดหุ้นไทยติดลบไปกว่า 57% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ตลาดหุ้นไทยกลับติดลบไปเพียง 13%
ซึ่งก็อาจตีความได้ว่า
อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ต่ำ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากไม่มีทางเลือกเท่าไร และจำเป็นต้องลงทุนในตลาดหุ้นต่อไป..
ดังนั้น ถ้าเราไปถามนักลงทุนหลายคนว่า
ในตอนนี้เศรษฐกิจเป็นอย่างไร
คำตอบที่เราน่าจะได้ยินก็คือ พวกเขาก็รู้ว่าเศรษฐกิจยังไม่ดี
แต่พวกเขาก็จะบอกต่อไปว่า
แต่หุ้น ก็อาจจะดีกว่า การลงทุนอย่างอื่นอยู่ดี..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/There_is_no_alternative
-https://www.investopedia.com/terms/t/tina-there-no-alternative.asp
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/ECO/ECO49.pdf
-https://www.treasury.gov/resource-center/data-chart-center/interest-rates/pages/TextView.aspx?data=yieldYear&year=2008
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2020/06/08/covid-19-to-plunge-global-economy-into-worst-recession-since-world-war-ii
-https://www.investing.com/indices/major-indices
-https://tradingeconomics.com/united-states/unemployment-rate
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG?locations=TH
-https://www.set.or.th/th/market/market_statistics.html
wall street journal wiki 在 喬的英文筆記 Joe's English Learning Notes Facebook 的最佳解答
再次分享學習資源彙整
--
✔ 喬的著作《我的第一本英文文法 國際學村出版》購買連結
博客來: https://bit.ly/38nOl5H
【喬的部落格網誌聊英文談職場/商務英文】
☛ Blogger: http://ohjoseph86.blogspot.com/
【快追蹤IG關注第一手更新與喬生活】
☛ Instagram: http://www.instagram.com/ohjoe86
<英語學習資源大集錦分享!字典/新聞/科學/經濟/綜合類>
喬今天要分享的是英語學習資源大集錦,超多連結替各位整理好在這,其中不乏喬本身超愛用的網站,在此分享給大家!
【字典類】
(1) Cambridge Dictionaries Online 劍橋線上字典(美式/英式發音) http://dictionary.cambridge.org/
(2) Dictionary.com 許多查不到的字這都有
http://dictionary.reference.com/
(3) The Free Dictionary 這裡可查詢到許多專有名詞
http://www.thefreedictionary.com/
(4) Urban Dictionary 當代俚語解釋網站
http://www.urbandictionary.com/
(5) Oxford Dictionary: 有趣的網站,會解答許多關於”字彙”的故事
http://www.oxforddictionaries.com/
(6) The Online Slang Dictionary 柏客萊大學的俚語字典
https://www.ocf.berkeley.edu/~wrader/
【綜合推薦類】
(1) 美國百大名校開放課程:
http://www.baidaonline.com/index.php
(2) Debatable(作文題目網站)
http://idebate.org/debatabase
(3) VoiceTube(看影片學英語):
http://tw.blog.voicetube.com/
(4) ESL Learning for Traveling Students 留學生實用英語網站
https://www.kanetix.ca/esl-learning-for-traveling-students
(5) 美國校園俚語集合
http://www.angelfire.com/…/html-o…/usa-schoolslang/index.htm
(6) 名詞與其表達意義
http://www.homepagers.com/names/
(7) 英文文學相關資源(豐富連結)
http://andromeda.rutgers.edu/~jlynch/Lit/
(8) 收集相當多電子文本的網站
http://digital.library.upenn.edu/books/
(9) 歷史悠久的線上文學電子本免費網站
http://www.gutenberg.org/wiki/Main_Page
(10) 電影對白相關網站,此網站具有強大字幕資料庫建檔
http://subsmax.com/
(11) 電影劇本網站
http://www.awesomefilm.com/
(12) 眾多英文文法中,一般人常犯錯誤列表
http://public.wsu.edu/~brians/errors/index.html
(13) 實用英文寫作
http://www.1-language.com/
(14) 美國普渡大學(Purdue University)提供的線上英文寫作資源
https://owl.english.purdue.edu/
(15) 美國伊若斯大學(University of Illinois)提供線上英文寫作資源
http://www.cws.illinois.edu/workshop/
(16) 實用英文寫作形容詞列表集合
http://www.keepandshare.com/…/adjective-list-adjectives-list
(17) 多義字集合網站
http://www-personal.umich.edu/~cellis/heteronym.html
(18) 矛盾字集合網站
http://www-personal.umich.edu/~cellis/antagonym.html
(19) 有聲書聽講網站
http://www.storynory.com/
(20) Open Culture (線上英語教學媒體)
http://www.openculture.com/
(21) 類Youtube,提供許多幽默短片
http://www.videojug.com/
(22) 超過一千種英文聽力單元的網站
http://www.elllo.org/english/home.htm
(23) 英語會話網站,資料庫豐富,但無語音
http://www.english-at-home.com/speaking/
(24) 提供各程度的英語聽力測驗
http://www.esl-lab.com/
(25) American Accent A-Z 線上發音商業網站
http://www.americanaccent.com/
(26) 線上英文發音網站(有豐富的資料庫)
http://faculty.washington.edu/…/PhonReso…/PhonResources.html
(27) Interpals 教筆友的網站,有點像Facebook
http://www.interpals.net/
【科學類】
(1) Scientific American 60 Second系列:
60 Second Science- goo.gl/5NAmRN
60 Second Space- goo.gl/wcAlCR
60 Second Earth- goo.gl/t2aXnZ
60 Second Tech- goo.gl/X3qIaT
60 Second Mind- goo.gl/gnvmCx
60 Second Health- goo.gl/A24iQW
(2)National Geographic
http://www.nationalgeographic.com/
(3) Discovery-
https://www.discovery.com/
(4) HowStuffWorks
http://www.howstuffworks.com/
(5) NASA
http://www.nasa.gov/
(6) LiveScience
http://www.livescience.com/
(7) ScienceDaily
http://www.sciencedaily.com/
(8) ScienceDirect
http://www.sciencedirect.com/
(9) Space
http://www.space.com/
(10) Nature
http://www.nature.com/
(11) Popsci
http://www.popsci.com/
(12) Smithsonian
http://www.smithsonianmag.com/ist/?next=/
(13) Treehugger
http://www.treehugger.com/
(14) NewScientist
http://www.newscientist.com/
(15) redOrbit
http://www.redorbit.com/
(16) NIH (National Institute of Health)
http://www.nih.gov/
(17) WebMD
http://www.webmd.com/
【新聞/演講類】
(1) TED- https://www.ted.com/
(推薦APP- TuneIn Radio讓在手機上聽TED相當容易)
(2) CNN-
http://edition.cnn.com/
(3) The Times-
http://www.thetimes.co.uk/tto/news/
(4) BBC News-
http://www.bbc.com/
(5) NewsWeek 美國新聞周刊
http://www.newsweek.com/
(6) Public Broadcasting Service 美國公共電視
http://www.pbs.org/
(7) 美國政府提供經濟、政治相關領域報導的網站
http://iipdigital.usembassy.gov/#axzz3VvBY07QV
(8) HuffingtonPost
http://www.huffingtonpost.com/
(9) FoxNews
http://www.foxnews.com/
(10) Mail Online
http://www.dailymail.co.uk/home/index.html
(11) NBC News
http://www.nbcnews.com/
(12) The Guardian
http://www.theguardian.com/uk
(13) ABCNews
http://abcnews.go.com/
(14) USA Today
http://www.usatoday.com/
(15) LATimes
http://www.latimes.com/
【商業/財金/經濟類】
(1) The Economist 經濟學人雜誌-
http://www.economist.com/
(2) The Economist Times-
http://economictimes.indiatimes.com/
(3)HarvardBusinessSchool-
http://hbswk.hbs.edu/workingpapers/
(4) Forbes-
http://www.forbes.com/
(5) CNNMoney-
http://money.cnn.com/
(6) WSJ(Wall Street Journal)
http://www.wsj.com/
(7) Yahoo! Finance
http://finance.yahoo.com/
(8) Google Finance
https://www.google.com/finance
(9) Bloomberg Business
http://www.bloomberg.com/
(10) CNBC International
http://www.cnbc.com/
(11) The Motley Fool
http://www.fool.com/
(12) BusinessInsider
http://www.businessinsider.com/
(13) Marketwatch
http://www.marketwatch.com/
(14) Finantial Times
htttp://www.ft.com
(15) Seeking Alpha
http://seekingalpha.com/
(16) IBTimes
http://www.ibtimes.com/
(17) cNet
http://www.cnet.com/
(18) Mashable
http://mashable.com/
(19) Techcrunch
http://techcrunch.com/
(20) Wired
http://www.wired.com/
(21) ZDNet
http://www.zdnet.com/
(22) Webpronews
http://www.webpronews.com/
(23) Arstechnica
http://arstechnica.com/
(24) VentureBeat
http://venturebeat.com/
(25) Thenextweb
http://thenextweb.com/
(26) Gigaom
https://gigaom.com/
(27) Informationweek
http://www.informationweek.com/
(28) Sitepoint
http://www.sitepoint.com/
(29) Readwrite
http://readwrite.com/
(30) Searchengineland
http://searchengineland.com/
(31) DigitalPoint
https://forums.digitalpoint.com/