เบอร์ลิน เมืองเศรษฐกิจซบเซา ที่ก้าวขึ้นมาเป็น ศูนย์กลางสตาร์ตอัป /โดย ลงทุนแมน
เราอาจคุ้นเคยกับความคิดที่ว่า เมืองหลวงของประเทศ
จะเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
แต่นั่นอาจไม่ใช่สำหรับประเทศเยอรมนี
ศูนย์กลางการเงินและการบินของประเทศนี้ อยู่ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต
ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ อยู่ที่เมืองมิวนิก ชตุทท์การ์ท และโวล์ฟสบวร์ก
ส่วนเมืองฮัมบวร์กทางตอนเหนือ เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุด และศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่สำคัญ
แต่กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของเยอรมนี
กลับไม่โดดเด่นมากนักในแง่เศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของประเทศ
และยังพ่วงด้วยอัตราว่างงานที่เคยสูงถึงเกือบ 15%
แต่นั่นกำลังจะกลายเป็นอดีต
เพราะในวันนี้ เบอร์ลินคือเมืองที่กำลังคึกคักไปด้วยบริษัทสตาร์ตอัป
เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทระดับโลกอย่าง Delivery Hero เจ้าของแอปดิลิเวอรี Foodpanda และ Zalando สตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรก ของเยอรมนี
อะไรที่ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ พลิกฟื้นจากเมืองที่เศรษฐกิจซบเซา
จนก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางสตาร์ตอัปของยุโรป ได้สำเร็จ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
กรุงเบอร์ลิน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี
เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วยจำนวนประชากรราว 3.7 ล้านคน
และจัดเป็นรัฐหนึ่งในจำนวน 16 รัฐ ของประเทศเยอรมนี
ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามเย็น เบอร์ลินเคยถูกแบ่งออกเป็น 2 เมือง ใน 2 ประเทศ
และถูกแบ่งแยกจากกันด้วยกำแพงเบอร์ลิน
เบอร์ลินตะวันตก อยู่ในเยอรมนีตะวันตก มีเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี
และเบอร์ลินตะวันออก อยู่ในเยอรมนีตะวันออก มีเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์
เมื่อเยอรมนีตะวันตก และเยอรมนีตะวันออกรวมกันเป็นประเทศเยอรมนีหนึ่งเดียวในปี 1990 เบอร์ลินก็กลับมารวมกันอีกครั้ง และได้รับเลือกให้เป็นเมืองหลวงของเยอรมนี
ในช่วงแรกของการรวมเมือง ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อฟื้นฟูเบอร์ลินฝั่งตะวันออกที่เคยเป็นเขตคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ประชาชนในฝั่งตะวันออก ต่างก็อพยพไปทำงานที่เมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตก ที่มีเศรษฐกิจดีกว่า เช่น แฟรงก์เฟิร์ต มิวนิก และชตุทท์การ์ท
เนื่องจากเบอร์ลินไม่มีอุตสาหกรรมที่โดดเด่นเมื่อเทียบกับเมืองอื่นๆ ของเยอรมนี
ประชากรวัยแรงงานของเบอร์ลินจึงอพยพออกจากเมืองไปหาชีวิตที่ดีกว่า
คนที่ยังอยู่ก็ประสบปัญหาว่างงาน เมืองเต็มไปด้วยภาพของความซบเซา
อัตราว่างงานของเบอร์ลินพุ่งสูงเกือบ 15%
ท่ามกลางความสิ้นหวัง สิ่งเดียวที่ฝ่ายบริหารของรัฐเบอร์ลินมองเห็นก็คือ “ศิลปะ”
เบอร์ลินเป็นเมืองเก่าแก่ ก่อตั้งมานานตั้งแต่ศตวรรษที่ 13
ถึงแม้จะผ่านมรสุมมาหลายยุคหลายสมัย แต่ก็มีพิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ โรงละคร
และแกลเลอรีศิลปะมากมาย ศิลปะจึงกลายเป็นนโยบายหลักที่ใช้ส่งเสริมเศรษฐกิจในช่วงแรกของการรวมเมือง
โดยมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปะหลากแขนง
และที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ก็อย่างเช่น
- Berlin International Film Festival งานนิทรรศการภาพยนตร์ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1951
ที่นำเสนอภาพยนตร์จากทุกภูมิภาคทั่วโลก จนกลายเป็น 1 ใน 3 งานเทศกาลภาพยนตร์ชั้นนำของโลก
- 48 Stunden Neukölln งานศิลปะที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1999 โดยการเนรมิตย่าน Neukölln ซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของผู้อพยพ ให้กลายเป็นพื้นที่ทดลองสำหรับงานศิลปะประเภทต่างๆ ภายในช่วงเวลา 48 ชั่วโมง
งานเทศกาลศิลปะที่จัดขึ้น กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดศิลปินจากทั่วเยอรมนีและทั่วโลก
จนเบอร์ลินกลายเป็นสวรรค์ของศิลปะแทบทุกแขนง จนเรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความฮิปสเตอร์ของยุโรป
Klaus Wowereit อดีตผู้ว่าการแห่งรัฐเบอร์ลินในช่วงทศวรรษ 2000s
เคยกล่าวคำขวัญเล่นๆ ให้กับกรุงเบอร์ลินว่า “Poor But Sexy”..
เมื่อศิลปะเริ่มเบ่งบาน สิ่งที่ฝ่ายบริหารเริ่มมองหาก็คือ
จะต่อยอดอย่างไรจากการเป็นเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์
โดยเริ่มต้นคือการมองหาจากสิ่งที่โดดเด่นของเบอร์ลิน แล้วก็พบว่ามีจุดเด่นอยู่ 3 ประการ
ประการที่ 1 ค่าครองชีพถูก
ด้วยความที่เศรษฐกิจซบเซา เมืองแห่งนี้จึงมีแต่ผู้อพยพออก อาคารบ้านเรือน สำนักงานหลายแห่งจึงถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนไม่น้อย กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เบอร์ลินมีค่าเช่าถูกกว่าที่อื่น ค่าใช้จ่ายในหลายๆ ด้านของเบอร์ลิน ไปจนถึงค่าครองชีพจึงถูกกว่าเมืองอื่นๆ ในเยอรมนีฝั่งตะวันตกมาก
ประการที่ 2 ทำเลที่ตั้งที่อยู่ใจกลางทวีปยุโรป
เบอร์ลินมีเส้นทางขนส่งเชื่อมโยงกับหลายประเทศ และเชื่อมระหว่างยุโรปตะวันตกกับยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะเมื่อประเทศในยุโรปตะวันออกเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี 2004 เบอร์ลินซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของสหภาพยุโรป จึงดึงดูดแรงงานผู้อพยพจากยุโรปตะวันออก เช่น โปแลนด์ เช็ก และ ฮังการี
ประการที่ 3 ผู้คนเปิดกว้าง และเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ๆ
เมื่อเบอร์ลินก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางศิลปะทุกแขนง ก็ยิ่งดึงดูดศิลปิน นักคิด ไปจนถึงผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้มาใช้ชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้กับเมืองแห่งนี้
เมื่อมองเห็นจุดเด่น สิ่งที่ฝ่ายบริหารทำเป็นประการแรก คือ การดึงดูดผู้ประกอบการรุ่นใหม่เข้ามาเริ่มต้นธุรกิจในเมือง
โดยเริ่มจากการดำเนินนโยบายแก้ไขทางกฎหมาย เพื่อดึงดูดผู้อพยพที่มีความสามารถ เช่น การผ่อนปรนข้อจำกัดของวีซ่าให้มีขั้นตอนที่สะดวกมากขึ้น ทั้งอายุของวีซ่า ไปจนถึงการขอวีซ่าระยะยาว
การให้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท โดยใช้ภาษาอังกฤษได้
เพื่อเพิ่มความเป็นนานาชาติ และดึงดูดผู้ประกอบการจากประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาเยอรมัน
ในขณะที่องค์กรภายในเมืองก็ได้ร่วมมือกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้าน
ทั้ง Investitionsbank Berlin ธนาคารเพื่อการพัฒนา ที่ก่อตั้งโดยรัฐเบอร์ลิน ที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน และมอบเงินทุนให้กับบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีแผนธุรกิจน่าสนใจ
Berlin Partner องค์กรเอกชนที่ภาครัฐก่อตั้งขึ้นมา
เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านนวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และการตลาดแก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่
กระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน คอยให้ความช่วยเหลือด้านการทำตลาดกับต่างประเทศ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีให้พร้อมสำหรับธุรกิจยุคใหม่
นอกจากนี้ยังมีการร่วมมือกันระหว่าง ฝ่ายบริหาร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชนชั้นนำ เช่น
Technische Universität Berlin, บริษัท Siemens, Deutsche Telekom
เพื่อพัฒนาพื้นที่อาคาร และสำนักงานที่ว่างเปล่าหลายแห่งในเมืองให้เป็น Co-Working Space และ Startup Incubator หรือศูนย์บ่มเพาะบริษัทสตาร์ตอัปในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ
เมื่อปัจจัยทุกอย่างเอื้อให้เกิดการพัฒนา เบอร์ลินจึงค่อยๆ เปลี่ยนไปเป็นเมืองแห่งบริษัทสตาร์ตอัป และเริ่มมีบริษัทหน้าใหม่เกิดขึ้น ณ เมืองแห่งนี้ ในช่วงทศวรรษ 2000s-2010s
ยกตัวอย่างเช่น
- Rocket Internet ก่อตั้งในปี 2007
บริษัทให้บริการด้านต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น บริการช่วยเหลือด้าน IT, บริการด้านการตลาดออนไลน์ และเป็น Venture Capital ที่คอยให้เงินทุนกับบริษัทสตาร์ตอัปเล็กๆ รายอื่น
- Zalando ก่อตั้งในปี 2008
สตาร์ตอัปที่ให้บริการด้าน E-Commerce ที่มีผู้ใช้บริการทั่วสหภาพยุโรป
เป็นสตาร์ตอัปที่มีมูลค่ามากกว่า 30,000 ล้านบาท ภายใน 6 ปีหลังก่อตั้ง
ซึ่งนับเป็นสตาร์ตอัปยูนิคอร์นตัวแรกของเยอรมนี
โดยปัจจุบัน Zalando จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ต
- Delivery Hero ก่อตั้งในปี 2011 และ Foodpanda ก่อตั้งในปี 2012
แพลตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ที่ขยายจากในประเทศเยอรมนีไปทั่วโลก
ซึ่งต่อมาในปี 2016 Foodpanda ก็กลายมาเป็นแพลตฟอร์มภายใต้บริษัท Delivery Hero
เมื่อมีกิจการใหม่ๆ มากมาย GDP ต่อหัวของคนในเบอร์ลินก็ค่อยๆ สูงขึ้น
จนตอนนี้ GDP ต่อหัวของผู้คนในรัฐเบอร์ลินอยู่ที่ปีละ 1.5 ล้านบาท
สูงกว่าผู้คนในรัฐนอร์ทไรน์ เวสต์ฟาเลีย ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมเหล็ก และเคมีที่สำคัญของเยอรมนีฝั่งตะวันตกแล้ว
ในขณะที่อัตราว่างงานของผู้คนในเบอร์ลินก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ
จากราว 15% ในช่วงปลายทศวรรษ 1990s หลังจากรวมประเทศ
ค่อยๆ ลดลงจนเหลือ 8% เมื่อต้นปี 2020
ทุกวันนี้ เบอร์ลินยังคงเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาริเริ่มธุรกิจใหม่ๆ
และกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสตาร์ตอัปที่สำคัญทั้งของเยอรมนีและสหภาพยุโรป
จนเคยมีคำกล่าวว่า ในทุกๆ 20 นาที เบอร์ลินจะมีบริษัทสตาร์ตอัปก่อตั้งขึ้นอย่างน้อย 1 แห่ง
เรื่องราวของเบอร์ลินจึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
ฝ่ายบริหารของเมืองสามารถพัฒนาจากเมืองที่เงียบเหงา
ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งบริษัทสตาร์ตอัปที่คึกคัก
โดยหัวใจสำคัญที่สุดบนเส้นทางพัฒนาของเมืองหลวงแห่งนี้
คือการมองเห็นข้อดีของตัวเอง และร่วมมือกันเพื่อพัฒนาต่อยอดจากข้อดีเหล่านั้น
แต่หากสังเกตให้ดีๆ แล้ว ข้อได้เปรียบของเบอร์ลินทั้ง 3 ประการ
คือ ค่าครองชีพต่ำ ทำเลที่ดี และผู้คนที่เปิดกว้าง
ก็ล้วนเป็นข้อได้เปรียบ ที่คล้ายคลึงกับเมืองหลวงของประเทศไทย ไม่น้อยเลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.uktech.news/news/berlin-becoming-europes-number-one-tech-hub-20180905
-https://www.entrepreneur.com/article/317079
-https://hexgn.com/moving-to-berlin-a-guide-for-entrepreneurs-and-startups/
-https://www.berlin-partner.de/en/about-us/
-https://www.ceicdata.com/en/germany/registered-unemployment-rate/registered-unemployment-rate-east-germany-berlin
zalando it 在 君子馬蘭頭 - Ivan Li 李聲揚 Facebook 的精選貼文
[德國股市估值低殘]但殘得有理由,因為創科大落後
1. 經濟學人原文(https://econ.st/3feR8m4)。原文副題好妙:Germany’s leading stock market index risks becoming a corporate museum
2. 好似之前都想寫類似嘅嘢,但冇寫,結果又彈返出嚟。所以太陽底下冇乜新事。
3. 之前FT亦有篇文講(https://on.ft.com/2WdrpS4),1997年,教主回歸蘋果。當時蘋果市值30億美金,係西門子嘅十份一,而當年西門子係全歐洲最大嘅工業股(而家都仲係)。事隔廿年多啲,蘋果市值係10000億美金,唔止大過西門子N倍—其實係大過晒德國DAX指數三十隻成份股夾埋。見到分野未?德國錯過咗乜?
4. 講返,德國股市指數,DAX,三十間最大嘅公司,好多大家都識,男仔會識得更多,冇法,德國(至少以前)強項在科技,工程,汽車。你見巴黎或米蘭股市就會有啲潮牌。DAX嘅成份股,好多都老字號:Adidas,Allianz安聯,Bayer拜耳藥廠,BASF,寶馬,Daimler,德意志銀行,德國交易所,漢莎航空,德國郵政DHL,德國電訊,Merck藥廠(原來同美國分咗家!),慕尼黑再保,軟件公司SAP,西門子,福士汽車。
5. 真係間間大嘢,間間馳名,同埋 — 好似冇乜邊間有好嘢?你數下上面呢堆公司,邊間唔係近年大大鑊?
6. 一葉知秋(三十塊葉添),DAX指數嘅情況,亦都反映到呢個歐元區龍頭,全世界第四大經濟體系面對嘅困境
7. 3月,全球股災,DAX指數跌到低過1倍帳面值(*)。之前只係試過兩次,就係2009同2011年,金融海嘯同歐元區危機。
8. 當然,當時全球股市都跌啦下。但,你見到德國股市,近年都係明顯跑輸其他。跑輸美股冇得講,但連英國法國都跑輸,就比較值得關注—特別係,德國經濟其實不比英國法國差。
9. 正如頭先講,DAX入面呢堆公司,好多都多災多難。福士第一季利潤跌八成幾,而家0.6倍book。德國漢莎有機會申請破產保護,或者要政府救,0.4倍book.德意志銀行更加係衰咗好多年,而家0.2倍book.Adidas 近來股價同業績亦跑輸Nike,至於西門子更係積弱多年
10. 成個DAX,就得兩隻tech 股(舊tech 撚,特別係車撚工程撚,堅持西門子福士都係tech,隨你,正如你話田雞係野味都得,不過冇人理你咁解。你鍾意話通用汽車都係tech股波音都係都得的,其實煮米線都好高技術含量)。
11. 一隻SAP,做得相當唔錯,德國之光,好似係唯一。另一隻tech股,叫做Wirecard,近年成日見報,當然係衰嘢。造假數,醜聞。但其實未爆煲或乜,你2007-2017買,任何位都贏錢。
12. 正面啲嘅,睇下MDAX,代表DAX三十大,之後嘅六十間公司。呢個指數就表現不錯。入面就多啲Tech股,包括Teamviewer(德國公司呀,居然呢度都寫過)(https://bit.ly/3dad6Vn),Zalando(聽過個名,online fashion),Delivery Hero(外賣仔),以及其他HelloFre,Nemetschek ,Scout24,Freenet等等(唔識)。仲有生物科技股Evotec, Morphosys 同 Qiagen.
13. 其實就係新舊交替嘅過程,但嚟得慢。Qiagen或者Delivery Hero應該好快會入DAX,好可能係踢走漢莎航空。另一方面,柏林其實而家係歐洲創科之都(之一),聽聞主要係因為租平,大學生質素高(all due respect,唔通去意大利咩,開檔整pizza?),政府支援又好,我都有朋友過咗去。
14. 原文冇講,但我講下,香港都面對緊呢個過桯。首先like it or not ,香港股市最大嘅公司都係大陸公司,絶大多數行業都係(除咗地產,所以你睇到乜嘢係香港核心工業)。但恒指入面,正如上面講,都係銀行保險地產呢啲「舊經濟」嘢多。所謂咩BATMX,百度冇在香港上市(聽聞遲下二次上市),阿里巴巴上咗但入唔到恒指,因為同股不同權(聽聞就快會畀佢入,到時又可以噴一輪口水)(**),美團小米情況差不多。就只得一隻騰訊係恒指成份股。好多人亦認為成堆舊濟股係拖低指數,亦令個指數冇代表性。
15. 德國嘅問題,係嗰堆tech 股未夠大,慢慢壯大緊。但香港呢堆就明顯夠晒大,因為同股不同權卡住咁解。
16. 最後講遠少少,唔少人認為,扯,花無百日紅,而家就tech 股風光啫,但任何嘢都有個價,點知係咪一路增長?的確冇人知。但之後啲文可以講,而家你以為甚麼FAAMNG 甚至BATMX 佔指數佔股市市值好多?其實唔算。你睇下以前啲石油股,或者十幾廿年前啲金融股?
(*)忠實讀者都知,寫過幾次,恒指都有呢個情況,都一度 below book value。但,恒指入面好多係銀行股,特別係匯控同中資銀行,差不多佔25%,而呢堆東西,都係below book value嘅。有云話投資者「唔信大陸銀行的book」,我認為唔係,反正全世界好多銀行都係below book的。想講個分別係,銀行股為主嘅指數,below book不出奇,但DAX並非以銀行為主,就神奇啲。
(**)慎防有人唔知,再講一次我立場。由始到終我都反對同股不同權,全世界都係。理由好簡單,唔想畀短視股東廢柴散戶外行基金經理管嘅,咪撚上市咯,私人公司任撚得你點玩都得。冇錢?問銀行借咯。想上市做public company,就唔該睇下咩叫public company。但,首先我立場不代表我公司,如果我以公司身份就當然應該贊成,商機嘛,而反正我同我公司立場亦都冇人care。事實上全世界交易所都搶生意,啲科企小朋友夠惡,邊度肯就佢改例咪去邊度。所以你冇得堅持的。你間舖唔摸得?人地隔離得喎,咁咪人人去隔離。
zalando it 在 Daphale Blog Facebook 的精選貼文
Anzeige | You can feel it in the streets,
on a day like this, the heat -
It feel like summer ☀️ Whole look via @zalando #daphaleoutfit #zalandostyle
zalando it 在 Zalando - Home | Facebook 的推薦與評價
Zalando. 7866406 likes · 23953 talking about this. Benvenuto su Zalando: https://www.zalando.it/donna-home/. Il tuo negozio di moda online per uno... ... <看更多>