NEO Academy โดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล X ลงทุนแมน
กรณีศึกษา สังคมอายุยืนยุคดิจิทัล กับ โอกาสธุรกิจที่คาดไม่ถึง
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันประเทศไทยเรามีผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป เกือบ ๆ 12 ล้านคน
หรือคิดเป็นราว ๆ 17% ของจำนวนประชากรในประเทศทั้งหมด
ที่น่าสนใจกว่านั้นคืออีก 28 ปีข้างหน้า
มีการคาดการณ์ว่า สัดส่วนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นเป็น 30% จากจำนวนประชากรทั้งหมด
นั่นแปลว่า สมมติหากมองคนรอบ ๆ ข้างตัวเรา 10 คนจะมีถึง 3 คนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
สาเหตุหลัก ๆ ที่เป็นเช่นนี้คืออัตราการเกิดของเด็กไทย
ลดน้อยลงต่อเนื่องทุก ๆ ปี โดยปีล่าสุดต่ำกว่า 6 แสนคน
ขณะเดียวกันหากเราไปถามคนอายุ 60 ปีขึ้นไป หลายคนย่อมต้องการให้ตัวเองมีชีวิตยาวนานที่สุด
แม้บางคนอาจนึกในใจว่าไม่ขออยู่นานก็ได้
แค่ขอให้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีความสุขในทุก ๆ วันของชีวิต
เพราะฉะนั้น...สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตคงไม่ใช่แค่การดูแลสังคมสูงวัย
แต่ควรเป็นการดูแลสุขภาพกายและใจ ในทุกช่วงวัยของชีวิต เพื่อให้มีพลังสร้างคุณค่าให้โลกใบนี้ต่อไป
เพราะไม่ว่าโลกจะเปลี่ยนไปแค่ไหน
สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปเลยก็คือ “การลงทุนในสุขภาพ ยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด”
ตรงนี้เองที่เป็นโอกาสทางธุรกิจมหาศาล
NEO Academyโดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
จึงได้คิดค้น 2 หลักสูตรใหม่ ในการสร้างและต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
ที่สำคัญหลักสูตรดังกล่าว ไม่ใช่แค่สร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างเดียว
แต่ยังส่งผลรวมที่จะทำให้ ผู้สูงอายุที่มีความเก๋า เป็นจิกซอว์ชิ้นสำคัญในการพัฒนาประเทศได้
เมื่อได้ยินแบบนี้ก็น่าสนใจว่าแล้ว 2 หลักสูตรที่ว่านั้นเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ธุรกิจที่ได้ผลประโยชน์จากสังคมสูงวัยมากที่สุดก็น่าจะเป็นโรงพยาบาล
เพราะคนสูงวัยมีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ สูงกว่าคนในวัยอื่น ๆ
จนถึงการไปพบแพทย์เพื่อเช็กสุขภาพ ก็จะบ่อยครั้งกว่าด้วยเหมือนกัน
และนี่คือความคิดแรก ๆ ของใครหลาย ๆ คน
แต่… ความจริงแล้วโอกาสในธุรกิจผู้สูงวัย มันไม่ได้ถูกจำกัดแค่ธุรกิจโรงพยาบาลอย่างเดียว
ยังมีอีกหลายธุรกิจที่สามารถเติบโตไปกับเทรนด์นี้
ก็เลยเป็นที่มา ของหลักสูตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืน ซึ่งเป็นรุ่นที่ 3
โดยห้องเรียนนี้ จะสอนผู้ประกอบการที่สนใจทำธุรกิจที่กำลังมาแรงในกลุ่มผู้สูงวัย
ซึ่งก็มี 6 ธุรกิจ ที่กำลังเป็น เมกะเทรนด์ ในยุคนี้
1. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
2. ธุรกิจของใช้ในบ้านและสินค้าไลฟ์สไตล์
3. ธุรกิจที่อยู่อาศัย
4. ธุรกิจการเงินและประกันภัย
5. ธุรกิจบริการและการท่องเที่ยว
6. ธุรกิจชะลอวัยและการดูแลผู้สูงวัย
จะเห็นว่าทั้ง 6 ธุรกิจนี้ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุในเมืองไทย
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อย ที่มีเงินออมจำนวนมาก
เนื่องจากพวกท่านรู้จักการวางแผนเก็บเงินออมตลอดชีวิตการทำงาน
จนถึงได้รับเงินก้อนโตจากบริษัท เมื่อต้องเกษียณ
-------------------------
ส่วนใครอยากกระโดดลงไปในน่านน้ำสีขาวในธุรกิจก็ทำได้
ด้วยการเสาะหานวัตกรรมทันสมัยมาปรับใช้สร้างธุรกิจ
ทาง NEO Academy จึงได้คิดค้นอีกหลักสูตรมารองรับซึ่งเป็นรุ่นที่ 1
โดยชื่อหลักสูตร Reinventing Healthcare Business เป็นการสร้างโอกาสใหม่ในธุรกิจสุขภาพ
โดยได้ร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)
ที่จะทำให้ผู้เรียนนำเทคโนโลยีด้านชีววิทยาศาสตร์ หรือ Lifescience มาใช้ในโลกธุรกิจยุคใหม่
โดยถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. เภสัชภัณฑ์
2. เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
3. อาหารเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม
ไม่ว่าจะเป็นการนำงานวิจัยฝีมือคนไทยไปต่อยอด หรืออยากค้นคว้านวัตกรรมใหม่ ๆ
ตรงนี้ขึ้นอยู่กับว่า เราจะประเมินความสามารถของตัวเองและความพร้อมในเรื่องต่างๆ ได้ดีแค่ไหน
พอเป็นแบบนี้ จึงมีอาจารย์ด้านการสร้างผู้ประกอบการ
มาช่วยสอนและแนะนำวิธีเลือกโอกาสทางธุรกิจในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลง
ที่น่าสนใจก็คือ เมื่อเราวางรูปแบบโมเดลธุรกิจเสร็จแล้ว
ก็จะมีการทดลองปฏิบัติจริง มีช่องทางระดมทุนจริง
ข้อดีของวิธีสอนแบบนี้คือ ไม่ใช่แค่ท่องจำทฤษฎี
แต่จะสอนให้เราคิดวิเคราะห์ว่าควรลงทุนธุรกิจอะไร
มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน ที่จะประสบความสำเร็จ
โดยต้องอยู่ในภายใต้กฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศไทย
ทีนี้หลายคนคงถามว่าแล้วใครที่เหมาะจะเรียนใน 2 หลักสูตรนี้
ก็น่าจะเป็นผู้บริหารที่กำลังมองหาธุรกิจใหม่ ๆ, ฝ่าย R&D พัฒนาสินค้า, คนทำงานวงการแพทย์
จนถึงคนธรรมดาทั่วไปที่มีธุรกิจเดิมอยู่แล้ว เช่น โรงงาน โรงแรม ทำทัวร์ ร้านอาหาร
ที่สนใจจะต่อยอดธุรกิจรองรับผู้สูงอายุ
สรุปง่าย ๆ คือ ในวันที่ผู้สูงอายุอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกใบนี้
ทั้งการเกิดขึ้นของเทรนด์ Digital ต่าง ๆ ที่เร่งให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป จนถึงการระบาดของโควิด 19
ได้เปลี่ยนโลกใบเดิมไปสู่โลกใบใหม่ วิธีคิด การเรียนการสอนก็ต้องเปลี่ยนใหม่เช่นกัน
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจมองว่าผู้ได้ประโยชน์ก็น่าจะเป็น เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงวัย
หากแต่… ลองมองรอบด้าน เรื่องนี้มันยิ่งใหญ่กว่าแค่คำว่า “ธุรกิจ”
ลองคิดดูว่าหากผู้สูงวัยในประเทศมีความสุขในชีวิต มีสุขภาพสมบูรณ์อายุยืนยาว
ท่านก็สามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทำงานการใช้ชีวิตให้กับคนรุ่นหลัง
ซึ่งนั่นหมายถึงว่าคน Gen ใหม่ ๆ ก็จะได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้
ที่หาไม่ได้จากใน Google หรือแม้แต่ในห้องเรียน เพื่อมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง
ที่น่าสนใจหลายคนเชื่อว่า ประเทศที่เข้าสู่สังคมสูงวัย พัฒนาการทุกอย่างจะล่าช้า
แต่จริง ๆ แล้วมันอาจจะขึ้นอยู่กับการผสมผสานของจำนวนประชากรต่างหาก
ลองคิดดูว่า หากประเทศหนึ่งมีผู้สูงวัยจำนวนมาก ที่เต็มไปด้วยความรู้ความสามารถและยังแข็งแรง
มีพื้นที่ให้ใช้ความเก๋าพัฒนาประเทศต่อไป และช่วยสร้างคนรุ่นหลังให้ประสบความสำเร็จได้
มันก็คงจะดีกว่าอีกประเทศ ที่มีผู้สูงอายุจำนวนน้อยกว่า
แต่ถูกแบ่งแยกระหว่างวัยในการทำงานขาดโอกาสและพื้นที่ในการใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข
สังคมสูงวัยที่น่าอยู่ ต้องช่วยกันรีบสร้าง เพราะเราหยุดอายุไว้ที่เดิมไม่ได้
ส่วนใครที่สนใจเพิ่มเติมก็สามารถเข้าฟังสัมมนาออนไลน์ เพื่อรับทราบเทรนด์สุขภาพใหม่ล่าสุด
จาก NEO Academy และฟังรายละเอียดหลักสูตร
ในวันพุธที่ 21 เมษายน 2564 ได้ที่ https://www.neobycmmu.com/neo-webinar
ในรูปแบบ Webinar โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร: 092-916-4265
Line: @neobycmmu
หรือดูรายละเอียดได้ที่
https://www.neobycmmu.com/courses
หลักสูตรการสร้างโอกาสทางธุรกิจในสังคมอายุยืน รุ่นที่ 3
เรียนทุกวันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม - 17 กรกฎาคม 2564
หลักสูตรการสร้างโอกาสใหม่ในธุรกิจสุขภาพ รุ่นที่ 1
เรียนทุกวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม 2564
References
-https://www.neobycmmu.com/executive-course-longevity-batch3
-https://www.neobycmmu.com/executive-reinventing-healthcare
-https://www.bot.or.th
「ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม」的推薦目錄:
- 關於ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 #ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม - Explore | Facebook 的評價
- 關於ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 พาส่องไอเดียทั่วงาน ธุรกิจมาแรง 2022 แฟรนไชส์ อาหาร เครื่องดื่ม ค้า ... 的評價
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
TTA x ลงทุนแมน
TTA เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ ดอกเบี้ย 5% ต่อปี เปิดจองซื้อ 23 - 25 มีนาคม 2564
บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA กำลังจะเสนอขายหุ้นกู้
ครั้งที่ 1 ประจำปี 2564 และจะเปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 23 ถึง 25 มีนาคม 2564
หุ้นกู้ของ TTA ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ BBB
แนวโน้มอันดับเครดิต "Negative" และจะจ่ายอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี
TTA เป็นเจ้าของธุรกิจอะไรบ้าง
และบริษัทจะนำเงินที่ได้ ไปทำอะไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
กลุ่มโทรีเซน เริ่มเปิดบริการที่ฮ่องกง โดยดำเนินธุรกิจด้านการขนส่งทางเรือแก่บริษัทนอร์เวย์มาตั้งแต่ ปี 2447 ต่อมา 2480 เข้ามาเปิดสาขาแรกในประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นตัวแทนสายการเดินเรือ หรือว่า Ship Agency และให้บริการด้านพิธีการศุลกากรด้วย
จนกระทั่งในปี 2526 ได้จัดตั้งเป็นบริษัท โทรีเซนไทย ออฟชอร์ จำกัด ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด ในปี 2529
หลังจากนั้น บริษัทก็ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์สำเร็จในปี 2538 และเริ่มขยายพอร์ตการลงทุนไปในธุรกิจอื่น
ปัจจุบัน TTA มี 5 กลุ่มธุรกิจหลัก แบ่งออกเป็น
1. กลุ่มธุรกิจขนส่งทางเรือ ภายใต้การบริหาร ของ โทรีเซน ชิปปิ้ง
ซึ่งถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้และกำไรมากที่สุดของ TTA
ธุรกิจกลุ่มนี้ ครอบคลุมการขนส่งสินค้าทางเรือไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก
มีตั้งแต่สินค้าแห้งเทกอง เช่น แร่เหล็ก ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร จนไปถึงผลิตภัณฑ์ท่อต่าง ๆ
โทรีเซน ชิปปิ้ง ดำเนินธุรกิจให้บริการขนส่งทางเรือ ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย ได้แก่
-การให้เช่าเหมาลำตามราคาตลาดภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด
-บริการให้เช่าเรือตามการเซ็นสัญญารับส่งสินค้าล่วงหน้า
Baltic Dry Index หรือ BDI ซึ่งถือเป็นดัชนีสากล ซึ่งสะท้อนจากอัตราค่าระวางเรือ หรือค่าบริการสำหรับเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกอง
ปัจจุบัน BDI ยืนอยู่เหนือระดับ 1,800 จุด และอัตราค่าระวางเรือขึ้นไปแตะระดับมากกว่า 21,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งถือเป็นอัตราค่าระวางสูงสุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
นั่นจึงทำให้ผู้ให้บริการอย่าง โทรีเซน ชิปปิ้ง ก็จะได้ประโยชน์
เพราะทางบริษัทสามารถเรียกเก็บค่าระวางเรือได้สูงขึ้น นั่นเอง
ทั้งนี้ ในปี 2563 โทรีเซน ชิปปิ้ง มีอัตราค่าระวางเรือ สูงกว่าค่าระวางตลาดสุทธิของเรือซุปปราแมกซ์อยู่ถึงร้อยละ 22 ขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการเดินเรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่ราว 18% และยังมีอัตราการใช้งานเรือย้อนหลัง 5 ปี เกือบ 100% แม้จะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปีที่ผ่านมา
ทีนี้ เรามาดูกันว่า โทรีเซน ชิปปิ้ง ซึ่ง TTA ถือหุ้นอยู่ 100% มีโครงสร้างกองเรือ อะไรบ้าง ?
โทรีเซน ชิปปิ้ง มีชื่อเสียงและประสบการณ์เชี่ยวชาญในแวดวงพาณิชย์นาวีระดับโลกมายาวนานกว่า 110 ปี ปัจจุบันเป็นเจ้าของกองเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองขนาดซุปราแมกซ์ และอัลตร้าแมกซ์รวมกัน 24 ลำ และถือว่าเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการกองเรือซุปราแมกซ์ ขนาดใหญ่และมีผลงานระดับโลก โดยครองตำแหน่งผู้นำอุตสาหกรรม มีอัตราค่าระวางเรือต่อวันต่อลำเรือ หรือ TCE ติดอันดับที่ 3 ของโลก จากผลสำรวจในปี 2562 ของ Danish maritime advisors Liengaard & Roschmann
แล้วนอกจากธุรกิจขนส่งทางเรือ
TTA ยังทำธุรกิจอะไรอีกบ้าง ?
กลุ่มธุรกิจที่ 2 คือ ธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง ภายใต้การบริหารของ เมอร์เมด มาริไทม์
ซึ่งเป็นผู้ให้บริการงานวิศวกรรมใต้ทะเล ครอบคลุม งานสำรวจตรวจสอบและซ่อมบำรุงใต้ทะเล รวมถึงงานวางท่อและสายเคเบิ้ลใต้ทะเล
โดยกลุ่มลูกค้าก็จะเป็นบริษัทน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติชั้นนำ
หนึ่งในนั้นก็คือ Saudi Aramco หนึ่งในผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก
และนอกจากนั้นบริษัทยังมีกลุ่มธุรกิจที่ 3 คือ ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรในประเทศเวียดนาม
กลุ่มธุรกิจที่ 4 คือ ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม โดยได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการบริหาร เชนร้านอาหาร เช่น Pizza Hut และ Taco Bell ในประเทศไทย
และกลุ่มธุรกิจที่ 5 คือ กลุ่มการลงทุนอื่น ซึ่งเป็นธุรกิจอื่นที่ไม่ได้อยู่ใน 4 กลุ่มธุรกิจแรก อาทิ ธุรกิจโลจิสติกส์ และ ธุรกิจบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
ทีนี้ เรามาดูผลประกอบการของ TTA ย้อนหลัง
ปี 2560 รายได้ 13,360 ล้านบาท กำไร 588 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 13,946 ล้านบาท กำไร 210 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 15,428 ล้านบาท กำไร 563 ล้านบาท
ในขณะที่ปี 2563 บริษัทเผชิญกับความผันผวนจากเหตุการณ์โรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19
ที่กดดันให้ดัชนีตกต่ำลงไปในช่วงครึ่งปีแรกทำให้บริษัทขาดทุน
ก่อนที่ TTA จะเริ่มฟื้นตัว และกลับมาทำกำไรได้แล้วในไตรมาสที่ 4
หากเรามาดูสัดส่วนรายได้ปี 2563 ของบริษัทจะมาจาก
ธุรกิจขนส่งทางเรือ 37%
ธุรกิจบริการนอกชายฝั่ง 20%
ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อการเกษตร 22%
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และการลงทุนอื่น 21%
หากเราลองมาดูสถานะทางการเงินของบริษัท
TTA มีสินทรัพย์อยู่ราว 30,000 ล้านบาท
โดยที่มีสินทรัพย์เป็นเงินสดภายใต้การบริหารมากถึง 7,700 ล้านบาท
ซึ่งถ้าเราลองนำไปคำนวณโดยนำหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ หักด้วยเงินสดภายใต้การบริหาร
หารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้น TTA จะมีอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยสุทธิ ต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
เพียง 0.08 ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก นอกจากนี้ TTA ไม่เคยมีประวัติการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้และ/หรือ ดอกเบี้ย หรือผิดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามข้อกำหนดสิทธิหุ้นกู้
สำหรับวัตถุประสงค์ และรายละเอียดของหุ้นกู้ TTA ที่กำลังจะเสนอขายครั้งที่ 1 ปี 2564
เพื่อชำระคืนหุ้นกู้เดิม โดย TTA จะใช้เงินทุนหมุนเวียนในกิจการในการชำระคืนหุ้นกู้ดังกล่าวไปก่อน ซึ่งแสดงถึงฐานะที่มั่นคงและสภาพคล่องที่สูงของ TTA และ/หรือเพื่อขยายธุรกิจ (ซื้อเรือขนส่งสินค้าแห้งเทกองเพื่อขยายกองเรือ) และ/หรือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท
ทั้งนี้ หุ้นกู้ TTA จะเสนอขายให้กับผู้ลงทุนสถาบัน และ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่
ที่มูลค่าการจองซื้อขั้นต่ำ 100,000 บาท ขึ้นไป ทวีคูณครั้งละ 10,000 บาท สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน และทวีคูณครั้งละ 100,000 บาทสำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่
โดยมีระยะเวลาการจองซื้อตั้งแต่ 23 ถึง 25 มีนาคม 2564
อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ชำระดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน ตลอดอายุหุ้นกู้
โดยตราสารมีอายุ 2 ปี 6 เดือน
สำหรับหุ้นกู้ของ TTA ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ในระดับ "BBB" แนวโน้มอันดับเครดิต " Negative" โดยบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2564
ผู้ที่สนใจในตัวของบริษัท TTA สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.thoresen.com หรือผู้ที่สนใจหุ้นกู้สามารถขอรับหนังสือชี้ชวน
และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย ซีมิโก้ จำกัด โทร 02-695-5000
บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด โทร 02-687-7549
บริษัทหลักทรัพย์ คันทรี่ กรุ๊ป จำกัด โทร 02-205-7000
บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร 02-658-8945
บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที จํากัด (มหาชน) โทร 02-351-1800
บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จํากัด (มหาชน) โทร 02-658-9500
บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โทร 02-659-8000
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จํากัด โทร 02-009-8351-6
บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด โทร 02-680-4004
บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จํากัด โทร 02-257-0720
<คำเตือนที่สำคัญ>
1. โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุน
2. ตลาดตราสารหนี้ ในประเทศไทยมีสภาพคล่องต่ำ การขายตราสารในตลาดรองนั้นอาจได้รับมูลค่าขายตราสารลดลง หรือเพิ่มขึ้นได้ โดยขึ้นอยู่กับสภาวะและความต้องการของตลาดใน ขณะนั้น
3. อันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารเป็นเพียงข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจลงทุนเท่านั้น มิใช่สิ่งชี้นำการซื้อขายตราสารหนี้ที่เสนอขายและ ไม่ได้เป็นการรับประกันความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร และเมื่อผู้ออกหุ้นกู้หยุดจ่ายดอกเบี้ย (กรณีบริษัทไม่ได้แจ้งเลื่อนการจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้) หรือเงินต้น ก็เป็นการผิดนัดชำระหนี้ หุ้นกู้ (default) ซึ่งหากผู้ออกหุ้นกู้ประกาศล้มละลายหรือผิดนัดชำระหนี้ หุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้ และเจ้าหนี้ อื่นของบริษัท ผู้ออกหุ้นกู้จะมีบุริมสิทธิเหนือผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้ ในการประเมินความเสี่ยงด้านเครดิตของผู้ออกหุ้นกู้ ผู้ลงทุนสามารถดูผลการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้ หรือผู้ออกหุ้นกู้ (credit rating) ที่จัดทำโดยสถาบันจัดอันดับความเสี่ยง ประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ถ้า credit rating ของหุ้นกู้ต่ำ หรือผู้ออก หุ้นกู้แสดงว่าความเสี่ยงด้านเครดิตของหุ้นกู้หรือผู้ออกหุ้นกู้สูง ผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับควรจะสูงด้วยเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่สูงของหุ้นกู้ดังกล่าว
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม เจ้าของปั๊ม PT รายได้ลดลง แต่กำไรเพิ่มขึ้น /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่า ปั๊มน้ำมัน PT นั้นมีสาขามากที่สุดเป็นอันดับสองรองจาก PTT Station
โดยสิ้นปี 2563 PTG มีจำนวนสาขาของปั๊มน้ำมันเท่ากับ 2,094 สาขา
ที่น่าสนใจคือ ในปี 2563 ที่ผ่านมา แม้ว่ารายได้จากธุรกิจปั๊มน้ำมันจะลดลง
เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด 19 แต่กำไรของเจ้าของปั๊ม PT
กลับเพิ่มสูงขึ้นมา 21% จากปีก่อนหน้า
เรื่องนี้มีที่มาอย่างไร ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปั๊มน้ำมัน PT เป็นธุรกิจภายใต้ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG
ที่เป็นบริษัทพลังงานค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเสริมอื่น ๆ อีกด้วย
โดยธุรกิจของ PTG สามารถแยกออกเป็น 7 ประเภท คือ
- ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงและธุรกิจค้าปลีก
- ธุรกิจจำหน่ายแก๊ส LPG
- ธุรกิจขนส่งและการจัดการคลังสินค้า
- ธุรกิจพลังงานทดแทน และธุรกิจผลิตจำหน่ายไบโอดีเซลและน้ำมันปาล์มบริโภค
- ธุรกิจระบบการบริหารและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในสถานีบริการ
- ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
- ธุรกิจให้บริการและซ่อมบำรุงรถยนต์ และรถเชิงพาณิชย์
หากเรามาดูโครงสร้างรายได้ของ PTG จะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
กลุ่มที่มาจากธุรกิจน้ำมัน (Oil) และกลุ่มที่ไม่ได้มาจากธุรกิจน้ำมัน (Non-Oil)
โดยรายได้ในส่วนของธุรกิจน้ำมัน (Oil) มีสัดส่วนประมาณ 96% ของรายได้รวม
และที่เหลืออีก 4% ของรายได้รวมมาจากกลุ่มที่ไม่ได้มาจากธุรกิจน้ำมัน (Non-Oil)
สำหรับธุรกิจค้าปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของ PTG นั้น
จะรับซื้อน้ำมัน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโรงกลั่นในประเทศไทย
หลังจากรับซื้อมาแล้วก็จะส่งไปเก็บที่คลังน้ำมันของบริษัท
ก่อนที่ท้ายที่สุดจะส่งไปยังปั๊มน้ำมัน PT ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศอีกที
โดยน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทขาย 72% เป็นน้ำมันดีเซล และที่เหลืออีก 28% เป็นน้ำมันเบนซิน
ในปี 2563 การแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบทำให้ราคาน้ำมันดิบทั่วโลกปรับตัวลดลง
จึงส่งผลให้รายได้ของ PTG ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ธุรกิจปั๊มน้ำมันเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป
ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันที่ซื้อมาลดลง ราคาขายก็จะลดลงตามด้วย
และนั่นก็หมายความว่าปัจจัยเรื่องราคาขายที่ลดลงอาจไม่ได้มีผลกับกำไรของบริษัทมากนัก
เพราะธุรกิจการขายน้ำมันจะทำกำไรจากส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและขาย
โดยส่วนต่างที่ว่านี้ก็คือ ค่าการตลาดน้ำมัน
แต่ประเด็นก็คือ ค่าการตลาดได้ปรับเพิ่มขึ้น
โดยมาอยู่ที่ 2.30 บาทต่อลิตรในปี 2563 จากปี 2562 ที่เท่ากับ 1.98 บาทต่อลิตร
เรื่องนี้จึงส่งผลทำให้กำไรขั้นต้นของ PTG ยังเพิ่มขึ้นประมาณ 7.1% จากปีที่แล้ว
นอกจากนี้ อีกส่วนที่ทำให้ PTG มีกำไรเพิ่มขึ้น
เหตุผลเนื่องจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมค้าและร่วมทุน
จากโครงการ Palm Complex จำนวนถึง 353 ล้านบาท
แล้ว Palm Complex คืออะไร?
Palm Complex คือ โครงการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มครบวงจร
ซึ่งโรงงานแห่งนี้ สามารถผลิตได้ทั้งน้ำมันไบโอดีเซลเท่ากับ 0.52 ล้านลิตรต่อวัน
และผลิตน้ำมันพืชเพื่อการบริโภค 0.18 ล้านลิตรต่อวัน
โดย ไบโอดีเซล ที่ผลิตได้จะถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในน้ำมันดีเซลที่พวกเราใช้กันนั่นเอง
ราคาน้ำมันปาล์มได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของปีที่แล้ว
เนื่องจากปริมาณผลผลิตปาล์มนั้นออกสู่ตลาดน้อย จากผลกระทบเรื่องภัยแล้ง
ทำให้ราคาปาล์มในช่วงกลางปี 2563 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ในระยะเวลาเพียง 6 เดือน
เมื่อรวมกับการที่บริษัทสามารถดำเนินโครงการดังกล่าวได้เต็มกำลังการผลิต
เรื่องนี้ก็ส่งผลบวกต่อธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผลิตน้ำมันปาล์มที่ PTG มีการถือหุ้นอยู่ 40%
นอกจากนี้ PTG ยังมีแผนที่จะต่อยอดโครงการ Palm Complex
เพื่อไปสู่อุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมโอเลโอ เคมิคอล หรือ การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์ด้วย
แล้วผลประกอบการของ บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) เป็นอย่างไร ?
ปี 2561 รายได้ 108,142 ล้านบาท กำไร 625 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 120,291 ล้านบาท กำไร 1,561 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 105,078 ล้านบาท กำไร 1,894 ล้านบาท
ก็น่าติดตามว่า PTG จะสามารถต่อยอดโครงการดังกล่าวไปได้ไกลแค่ไหน
และจะสร้างกำไรให้ PTG มากขึ้นกว่านี้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องไม่ลืมว่า ปาล์มเป็นสินค้าเกษตรที่มีลักษณะเป็น Soft commodities
คือ ราคาจะขึ้นลงตามวัฏจักร อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ช่วงไหนผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาก็มักสูง
หรือถ้าผลผลิตออกสู่ตลาดเยอะ ราคาก็จะลดลง
เรื่องนี้ก็อาจจะส่งผลต่อผลประกอบการของ PTG ในอนาคตได้เช่นกัน..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2562, บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2563, PTG, https://www.set.or.th/dat/news/202102/21023432.pdf
-https://www.set.or.th/
-http://investor.ptgenergy.co.th/th/corporate-information/business-overview/renewable-energy-business
-https://agri.dit.go.th/index.php/department_doc/3/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99/28
-http://www.dsdw2016.dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2560-2561/PDF/8552sc/5.%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%202.pdf
-http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/structure-oil-price?issearch=1&isc=1&xf_6=19
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 พาส่องไอเดียทั่วงาน ธุรกิจมาแรง 2022 แฟรนไชส์ อาหาร เครื่องดื่ม ค้า ... 的推薦與評價
20 นาทีทั่วงานเหมือนไปเดินเอง งาน TRAFS / TFBO / ASEAN Retail ธุรกิจ มาแรง 2022 แฟรนไชส์ อาหาร เครื่องดื่ม ค้าปลีกเพียบ 10-13 มี.ค. ... <看更多>
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 在 #ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม - Explore | Facebook 的推薦與評價
. พัฒนาทักษะครบทุกด้านเกี่ยวกับ #ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ไม่ว่าจะเป็น Business Management, Service Marketing, Supply ... ... <看更多>