#ผลกระทบของCOVID19ต่อการเติบโตของเด็ก
#เรารู้อะไรจากงานวิจัย
.
ใครๆก็รู้ว่าเด็กที่เติบโตในยุคที่มีการระบาดของโรค COVID19
ต้องได้รับผลกระทบแน่นอน...ไม่เห็นต้องไปอ่านงานวิจัยที่ไหน
แค่หันมามองลูกเราเอง ก็รู้แล้ว😅
.
แต่ข้อดีของการอ่านข้อมูลจากงานวิจัย
ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ว่าขนาดของปัญหาที่เราคิดว่า
อาจจะเกิดกับลูกของเรา มันกว้าง มันลึกประมาณเท่าไหร่
และเมื่อรู้ข้อมูลเหล่านี้ เราเองจะมีทางทำให้ดีขึ้นได้บ้างมั้ย
.
1) งานวิจัยแรกที่หยิบยกมาเล่าให้ฟัง
เป็น systematic review( เป็นงานเขียนที่รวบรวมงานวิจัยที่คล้ายๆกันมากลั่นกรองข้อมูลอีกที )
เค้าศึกษาเรื่องผลกระทบของ การระบาด COVID19
ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในเด็ก
ความน่าสนใจของงานวิจัยนี้
ไม่ใช่แค่หาข้อมูลเรื่อง COVID เพียงอย่างเดียว
แต่เค้ายังหยิบยกข้อมูลตอนที่เกิด pandemic อื่นๆมาเปรียบเทียบอีกด้วย
ในการศึกษานี้พบว่า
จากจำนวนผู้เข้าร่วมวิจัย 1210 ราย
(คนที่ตอบจะเป็นผู้หญิง เป็นตัวแทนของครอบครัวที่มีสมาชิก 2-5 คน)
53% มีคนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพจิตในระดับปานกลางถึงรุนแรง
โดย 16% มีอาการของซึมเศร้า
29% เป็นโรควิตกกังวล
8% เป็นโรคเครียด
ซึ่งเมื่อเทียบกับ การระบาดของ H1N1 การระบาดของ Ebola, การที่ครอบครัวมีคนติดเชื้อ HIV ในแอฟริกา
จะพบว่าผลกระทบต่อสุขภาพจิต
ที่เกิด COVID19 ระบาด จะส่งผลกว้างกว่า
ซึ่งโดยส่วนตัว หมอคิดว่า ไม่ว่า Pandemic อะไรก็คงส่งผลให้เกิดความเครียดทั้งนั้น มันไม่ใช่แค่ปัจจัยเรื่องตัวโรคเพียงอย่างเดียว
(ไม่ใช่ว่า COVID เครียดกว่า H1N2 หรือ Ebola)
แต่ยังมีเรื่องของสภาพสังคมปัจจุบัน ข่าวสาร
ที่ทำให้เกิดความเครียดได้มากกว่าในยุคก่อน
หรืออีกแง่มุมหนึ่งคือ การเก็บข้อมูลที่ดี ทำได้รวดเร็วกว่าในยุคก่อน ทำให้ข้อมูลเที่ยงตรงมากขึ้น
*** จุดสำคัญของงานวิจัยนี้คือ การที่มีคนในครอบครัวมีปัญหาสุขภาพจิต ก็จะไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อพัฒนาการเด็ก เพราะหากเด็กเติบโตในครอบครัวที่ผู้ใหญ่มีความเครียดสูง จะทำให้เกิดความเครียดที่รุนแรง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของโครงสร้างสมอง (toxic stress)
2) งานวิจัยที่ 2 ทำในประเทศเกาหลีใต้
พ่อแม่ 217 ครอบครัว ของเด็กวัย 7-12 ปี เป็นผู้ตอบคำถามวิจัย
และแบบทดสอบประเมินสุขภาพจิต เด็กในเกาหลีใต้กลุ่มนี้ เรียนออนไลน์ 97%
พ่อแม่บอกว่า มีปัญหาเรื่องการใช้หน้าจอ
โดยพบว่าเด็กใช้ Youtube มาก 87.6%
เล่นเกมส์ 78%
ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากเกินไป มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมด้านลบ และมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ซึ่งเมื่อดูในรายละเอียด พบว่า บ้านที่เด็กมีปัญหาเรื่องพฤติกรรม และเด็กมีปัญหาเรื่องการนอน สัมพันธ์กับแม่ที่มีภาวะซึมเศร้าชัดเจน
3) งานวิจัยที่ 3 ทำในประเทศจีน 1062 ครอบครัว พ่อแม่ตอบแบบสอบถาม 1062 ราย ให้เด็กตอบแบบสอบถามเองได้ 738 ราย
ทำวิจัยในเด็กประถมเช่นกัน พบว่า ทั้งพ่อแม่ และเด็กมีความเครียดเพิ่มขึ้น
18% มีปัญหาด้านพฤติกรรม นอกจากนี้โดยส่วนใหญ่มีสมาธิลดลง และมีปัญหาเรื่องการเรียน
=======================
ตัวอย่างงานวิจัยที่หมอยกมา
ทำให้เรามองเห็นภาพว่า
1) เด็กปฐมวัย (เด็กเล็ก-อนุบาล)
เด็กวัยนี้ เป็นวัยที่สำคัญสุดๆ
เพราะประสบการณ์ในวัยนี้ กำหนด โครงสร้างสมอง
เด็กไม่ได้รับรู้
เข้าใจความเลวร้ายของโรคระบาดดีนัก
เด็กไม่เข้าใจปัญหาเศรษฐกิจ
เด็กไม่เข้าใจปัญหาความล้มเหลวในการบริหารระบบอะไรใดๆ
เด็กเพียงแค่เข้าใจว่าพ่อแม่ #มีหรือไม่มีความสุข เท่านั้น
ถ้าคุณเป็น พ่อแม่ ที่ลูกที่บ้านอายุน้อยกว่า 6 ปี
หมอต้องบอกว่า....เวลานี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญยิ่ง
เวลาของ COVID19 ผ่านเข้ามา
แล้วสักวันต้องผ่านไป
แต่หากลูกเล็กของเรา
ต้องเติบโตพร้อมกับบรรยากาศที่พ่อแม่ทุกข์ระทม พ่อแม่ทะเลาะกัน มีปัญหาเรื่องปากท้อง คนในบ้านเจ็บป่วย ไม่ได้เล่น ไม่มีรอยยิ่ม (toxic stress) ฯลฯ
2-3 ปีที่ต้องอยู่ในสภาพนี้
จะกำหนดโครงสร้างสมองของลูก
และเค้าต้องอยู่กับสมองที่ได้รับผลกระทบนี้ไปตลอดชีวิต
หมอรู้ว่าปัญหาบางอย่างแก้ไม่ได้ที่ #ระดับตัวเรา
แค่ลองดูว่า ปัญหาที่เราแก้ได้ด้วยตัวเอง เราทำแะไรให้ดีขึ้นบ้างมั้ย
2) พ่อแม่วัยประถม
จะเห็นว่า ไม่ใช่แค่ประเทศเรา
พ่อแม่เด็กวัยนี้จะเป็นกังวลเรื่องการเรียนของลูก
การใช้หน้าจอ ปัญหาความสนใจในเรียนลดลง
ปัญหาสุขภาพแฝงที่มากับการไม่ได้ออกไปเล่นไปปลดปล่อยนอกบ้าน
ความเครียดของแม่ การทะเลาะกันของพ่อแม่กับลูก
หมอเองก็เป็นแม่ของเด็กวัยประถมเช่นกัน
เด็กวัยนี้ เข้าใจสถานการณ์ของสังคมได้ดีพอสมควร
แต่ตามพัฒนาการของเค้า สิ่งสำคัญคือการไปเข้าสังคมกับเพื่อน
การทำงานด้วยกัน เล่นกัน โกรธกัน คืนดีกัน
เพื่อพัฒนาทักษะสำคัญคือ
การเข้าสังคม การปรับตัว การยืดหยุ่น
ซึ่งเค้าไม่ได้ทำสิ่งที่ควรจะทำ ก็เกิดความเครียดได้มากมายแล้ว
สิ่งที่ได้กลับมา
คือ ต้องเรียนหน้าจอที่ไม่สนุก ไม่มีเพื่อน
ถามจริงว่า ถ้าคุณมีหน้าจอกับมือ มีเนื้อหาในหน้าจอที่หน้าเบื่อ กับเนื้อหาสนุกเลือกเองได้ เราจะอยากได้อย่างไหน
ตัวเลขในวิจัยก็ไม่เกินความคาดหมายใช่มั้ย
ถ้าเรามองลูกอย่างเข้าใจ
อย่างน้อย ก็อาจจะให้หงุดหงิดลูกได้น้อยลงบ้างนะคะ
3) พ่อแม่วัยรุ่น
ต้องบอกว่า เราคงทำอะไรไม่ได้มาก
นอกจากจะดูผลแห่งการเลี้ยงดูลูกในอดีตของเราเอง
ถ้าเราหล่อเลี้ยงใจเค้าตั้งแต่ปฐมวัย และประถม
วัยนี้ หมอเข้าใจว่า สิ่งที่เราทำได้คือ เฝ้าดู และบอกลูกว่า แม่อยู่ตรงนี้นะ
ถ้าอยากให้ช่วยเหลือ
===================
ข้อมูลเรื่องการแก้ปัญหา
หมอขออ้างอิง Center on developing child (Havard University)
https://developingchild.harvard.edu/resources/how-to-help-families-and-staff-build-resilience-during-the-covid-19-outbreak/
เรื่องการสร้างเด็กที่ ล้มแล้วลุกได้ไว (Resilience)
ซึ่งหมอเคยได้เขียนไปในบทความก่อนหน้านี้
ปัจจัยสำคัญของการสร้างเด็กที่มี Reilience ต้องการ 4 ข้อ
1. จะต้องมีสายสัมพันธ์ที่มั่นคง กับผู้เลี้ยงดูอย่างน้อย 1 คน
2. จะต้องไม่มี toxic stress กล่าวคือ เหตุการณ์ที่ทำให้สมองหลั่งสารความเครียดอย่างต่อเนื่อง กระทบต่อพัฒนการโครงสร้างสมองโดยตรง
โดยความเครียดที่ว่า เด็ก(รู้สึก)ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการตอบสนองเมื่อเค้าตต้องการ พ่อแม่ที่มีภาวะสุขภาพจิตรุนแรง เช่น โรคซึมเศร้า เป็นจิตเภท
ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกล่วงละเมิด เป็นต้น
3. มี positive stress กล่าวคือ มีการฝึกวินัย ที่เด็กต้องบังคับ ฝึกตนเองให้ก้าวผ่านอุปสรรคไปได้ เป็นอุปสรรคที่คาดเดาได้ เช่น
แม่ให้ล้างจมูก ไม่อยากล้าง แต่ก็ต้องทำ
แม่ให้ช่วยทำงานบ้าน ไม่อยากทำ แต่ท้ายที่สุดก็ทำจนเสร็จ
ทำการบ้านได้เสร็จ
เรียนออนไลน์ ไม่สนุกแต่ก็บังคับตัวเองให้เรียนได้
4. เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง ตามความสามารถที่เพิ่มขึ้นในแต่ละวัย
สำหรับอุปสรรคที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทั้งโลก
อย่างการระบาดของ COVID19
ในบทความได้เขียนบรรยาย และวาดภาพเอาไว้เข้าใจง่าย
เค้าเปรียบเทียบ สิ่งที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
ในช่วงชีวิตของเด็กจะต้องมีทั้งด้านบวก และด้านลบ
การที่เราจะสร้างเด็กที่มีคุณสมบัติ Resilience ได้
ตาชั่ง ด้านบวกต้องมากกว่า หรือเท่ากับด้านลบ
เราจะทำอย่างไร
1) ลดปัจจัยด้านลบ ที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก
ลองกลับไปทบทวนดูว่า ในตอนนี้เราสามารถลดปัจจัยนั้นได้มากน้อยแค่ไหน เช่น หงุดหงิดใส่ลูกบ่อยๆ เพราะเครียดจากเรื่องอื่น เราจะลดได้มั้ย
หรือ รู้ตัวว่าเริ่มมีภาวะซึมเศร้า...เราจะขอความช่วยเหลือจากใครได้บ้าง
(เห็นแผนภาพแล้วหมอก็เศร้า....เราอยู่ในประเทศ ที่ต้องพึ่งตัวเองเป็นหลักเลยค่ะ...อะไรที่พอทำได้ ก็ต้องทำไปค่ะ เพื่อลูก)
2) เพิ่มปัจจัยด้านบวก
อย่างที่บอก คือ เด็กต้องการเงื่อนไข 4 ข้อ ลองขึ้นไปอ่านด้านบน ว่าเราได้ทำได้หรือยัง ถ้ายัง จะเพิ่มเติมตรงไหนได้อีกบ้าง แต่บอกเลยว่า ข้อ 1 สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีข้อ 1 ไม่ต้องคิดถึงข้อถัดๆไป ดังนั้น อย่าไปคิดอะไรไกลตัว...ไม่ต้องไปคิดถึงคะแนนสอบ ไม่ต้องไปคิดว่าเราไม่ค่อยมีเวลาสอนการบ้านลูก.....แค่บรรยากาศในบ้าน ที่ไม่เครียด ลูกยังรู้ว่าเรารักเค้า...นั่นก็ดีพอแล้วค่ะ
.....
หมอแพม
ปล. ไม่ได้เขียนบทความนานมากแล้ว เพราะมาเติมปัจจัย Resilience ของตัวเองและเด็กในบ้าน
Search
มีหรือไม่มีความสุข 在 โรคสูญเสียความสามารถในการมีคว... - สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 的推薦與評價
จนตอนนี้คนที่อยู่ด้วยก้พากันไม่มีความสุขไปด้วย หาคำตอบให้ไม่ได้จริงๆ มันเหมือนอาการมันซึมเข้ามาเรื่อยๆ ไม่ยินดียินร้ายอะไร ไม่อยากรับรู้อะไร บาง ... ... <看更多>