เมื่ออายุล่วงเลยเข้าเลข 4 เลข 5 หลายคนก็เริ่มวางแผนช่วงบั้นปลายชีวิตหลังเกษียณกันแล้ว บางคนที่เตรียมตัวมาอย่างดี มีเงินเก็บมากพอที่จะไม่ลำบาก ไม่ว่าที่ไหนก็สามารถอยู่ได้ แต่สำหรับบางคนที่มีเงินเก็บจำนวนจำกัด อาจคิดไม่ตกว่า “มีเงินอยู่เท่านี้ แล้วฉันจะไปอยู่ที่ไหนดี? ถึงจะเพียงพอ หรือมีบ้านอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ แล้ว จะต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ในวัยเกษียณหลังจากไม่ได้ทำงาน” แม้จะอยู่ในไทยเหมือนเดิม แต่เพราะทุกจังหวัดมีค่าครองชีพที่ไม่เท่ากัน
.
ดังนั้น เพื่อให้ทุกคนสามารถวางแผนชีวิตหลังเกษียณให้สอดคล้องและเพียงพอกับเงินที่มีอยู่มากที่สุด สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2562 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของสมาชิกในครัวเรือน ตั้งแต่ค่าใช้จ่าย ลักษณะที่อยู่อาศัย สวัสดิการและความช่วยเหลือจากรัฐ จากทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 52,000 ครัวเรือน ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า แต่ละภาคในประเทศไทย จังหวัดใดมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุด
.
#ปริมณฑล
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “ปทุมธานี” เฉลี่ยต่อเดือน 37,086 บาท
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “สมุทรปราการ” เฉลี่ยต่อเดือน 21,423 บาท
.
#ภาคกลาง
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “สระบุรี” เฉลี่ยต่อเดือน 26,007 บาท
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “สุพรรณบุรี” เฉลี่ยต่อเดือน 14,558 บาท
.
#ภาคเหนือ
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “ลำพูน” เฉลี่ยต่อเดือน 19,115 บาท
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “แม่ฮ่องสอน” เฉลี่ยต่อเดือน 11,243 บาท
.
#ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “บึงกาฬ” เฉลี่ยต่อเดือน 22,225 บาท
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “กาฬสินธุ์” เฉลี่ยต่อเดือน 13,076 บาท
.
#ภาคใต้
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุด คือ “ภูเก็ต” เฉลี่ยต่อเดือน 32,763 บาท
จังหวัดที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด คือ “ยะลา” เฉลี่ยต่อเดือน 13,596 บาท
.
#จังหวัดกรุงเทพมหานคร
มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน 31,753 บาท
.
จากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของแต่ละจังหวัดในภาคต่างๆ ข้างต้น นอกจากจะทำให้คนที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยเกษียณและมีเงินเก็บจำกัด สามารถวางแผนการใช้ชีวิตหลังจากไม่ได้ทำงานได้แล้ว ยังทำให้คนอื่น ๆ ที่ต้องการวางแผนอนาคตล่วงหน้า คำนวณได้ว่าถ้าอยากอยู่จังหวัดไหน ต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ รวมถึงสำหรับใครที่มีบ้านอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ แล้ว เมื่อเกษียณไม่ได้ทำงาน จำเป็นต้องมีเงินเก็บเท่าไหร่ถึงจะอยู่รอด ไม่ลำบากลูกหลาน เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน ก็จะยิ่งทำให้สามารถวางแผนการเงินและชีวิตได้
.
ยกตัวอย่างเช่น คุณเกษียณตอนอายุ 60 ปี มีเงินเก็บอยู่ประมาณ 4,000,000 บาท อยากรู้ว่าถ้าต้องการไปอยู่จังหวัดนั้น ๆ จะอยู่ได้กี่ปี คำตอบคือ ถ้าคุณอยากอยู่กรุงเทพฯ ค่าใช้จ่ายเดือนละ 31,753 บาท จะอยู่ได้ประมาณ 10 ปี หรืออยากไปอยู่ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุดนั่นคือ “แม่ฮ่องสอน” 11,243 บาทต่อเดือน จะอยู่ได้ประมาณ 29 ปี
.
หรือ คุณต้องการเกษียณที่กรุงเทพฯ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 31,753 บาทต่อเดือน แต่คุณเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงประมาณ 90 ปี เท่ากับเวลาหลังจากนั้น คือ 30 ปี หรือคิดเป็นเดือนจะอยู่ที่ 360 เดือน คุณก็จำเป็นต้องมีเงินเก็บที่ประมาณ 31,753 x 360 = 11,431,080 บาท
.
อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของแต่ละจังหวัด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกปี อาจจะต่ำกว่าเดิมหรือสูงกว่าเดิมก็ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อให้วัยเกษียณของคุณ ไม่ลำบาก และพักผ่อนได้เต็มที่ คุณควรวางแผนเตรียมการไว้ดีๆ อย่าให้อิสรภาพทางการเงินกับตัวเองมากเกินไป เพียงเพราะคิดว่า อีกนานกว่าจะถึงวันนั้น ทำงาน ใช้เงิน ไปพร้อมๆ กับการเก็บเงินสม่ำเสมอ รับรองว่า เมื่อวันนั้นมาถึง คุณจะเป็นผู้ใหญ่วัยเกษียณที่น่าอิจฉาคนหนึ่งเลยทีเดียว
.
ที่มา : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_08_7_TH_.xlsx
https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/16-affordable-provinces-to-retire
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#วัยเกษียณ #วางแผนเกษียณ #วางแผนการเงิน
#เกษียณ #เก็บเงิน #วางแผนชีวิต
「สำนักงานสถิติแห่งชาติ」的推薦目錄:
- 關於สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 Little Monster Facebook 的最佳解答
- 關於สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 สำนักงานสถิติแห่งชาติ | Bangkok - Facebook 的評價
- 關於สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 วีดีทัศน์แนะนำสำนักงานสถิติแห่งชาติ - YouTube 的評價
สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 Facebook 的最佳貼文
สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้ผมมีสิ่งที่สำคัญอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ทุกคนรู้จักหน่วยงานรัฐ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการผลิตข้อมูลสถิติที่มีคุณภาพ ถูกต้อง แม่นยำ เพื่อให้ภาครัฐนำไปประกอบการวางแผน กำหนดนโยบายต่างๆ ในการแก้ปัญหาให้ทุกท่านได้อย่างตรงจุดและทันท่วงที หน่วยงานนั้นก็คือ “สำนักงานสถิติแห่งชาติ” นั่นเอง
ในแต่ละปี สำนักงานสถิติแห่งชาติ ส่ง “คุณมาดี” เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูลจากประชาชน ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกรวบรวม ประมวลผลด้วยวิธีทางสถิติ ก่อนได้เป็น “ข้อมูลสถิติ” 📊
ข้อมูลสถิติเป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับความอยู่ดีมีสุขของเราทุกคน และเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเกษตร ก็มีการสำรวจว่ามีเกษตรกรกี่ครัวเรือน มีผลผลิตได้เท่าไหร่ รายได้ของครัวเรือนเกษตรเป็นอย่างไร เมื่อทราบข้อมูลเหล่านี้ก็สามารถแก้ปัญหาทุกข์ร้อนให้ประชาชนได้
ด้านสาธารณสุข ก็มีการสำรวจเรื่องการเกิด การตาย การเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล ภาวะโภชนาการ และการพัฒนาการในเด็ก เพื่อให้ภาครัฐพัฒนาระบบสาธารณสุขให้เพียงพอ รวมทั้งการดูแลคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีในทุกช่วงวัย
ข้อมูลดี ทำให้ประเทศดี และชีวิตเราดีไปด้วย
เห็นประโยชน์ของข้อมูลสถิติแบบนี้แล้ว ผมเลยอยากเชิญชวนพ่อแม่พี่น้อง มาร่วมกันสร้างอนาคตไทย ด้วยการร่วมใจให้ข้อมูลกับสำนักงานสถิติแห่งชาติกันนะครับ ไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลส่วนตัวที่เราให้จะถูกเปิดเผย เพราะเจ้าหน้าเขาปฏิบัติงานภายใต้พระราชบัญญัติสถิติและนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลท่านต่อบุคคลอื่นเป็นอันขาด
หนึ่งพลังเล็กๆ ของเรา รวมกันก็เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ใช้ขับเคลื่อนพัฒนาประเทศของเราสู่ความยั่งยืนได้ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านที่ให้ความสนใจครับ
#สำนักงานสถิติแห่งชาติ
#ข้อมูลดีประเทศดีชีวิตดี
#ข้อมูลคือขุมทรัพย์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 Little Monster Facebook 的最佳解答
ช่วงสถานการณ์ที่ต้องอยู่ติดบ้านแบบนี้ จินกับเรนนี่ต้องเรียนหนังสือที่บ้านผ่านออนไลน์ เราก็ยังมีหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนให้กับเด็กๆ ด้วย เพื่อช่วยเสริมจินตนาการ และความรู้ให้กับพวกเขา :)
คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คน อยากการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีนิสัยรักการอ่านนั้น เราเริ่มต้นได้ง่าย ๆ จากพ่อแม่และครอบครัวค่ะ เริ่มได้ตั้งแต่การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ลูกอยู่ในครรภ์เลยนะคะ :)
อันนี้เราไม่ได้พูดลอย ๆ นะ! เขามีข้อมูลแบ็คอัพจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ หน่วยงานรัฐที่เป็นศูนย์กลางเรื่องข้อมูลสถิติมากมาย ซึ่งข้อมูลสถิติที่เราอยากเอามาแชร์และคิดว่าเป็นประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่นั่นก็คือ เรื่องการอ่านของเด็กเล็ก หรือเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบ วัยของเรนนี่นั่นเองค่ะ
จากผลสำรวจความคิดเห็นของคนไทยเกี่ยวกับการอ่าน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า วิธีการรณรงค์ให้คนรักการอ่านที่ได้รับการเสนอแนะมากที่สุด คือ ปลูกฝังให้รักการอ่านผ่านพ่อ-แม่หรือครอบครัว รองลงมา คือ ให้โรงเรียนรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน และถ้าหนังสือมีรูปเล่ม หรือเนื้อหาน่าสนใจ หรือใช้ภาษาเข้าใจง่าย ก็จะช่วยให้คนอยากอ่านหนังสือถึง ร้อยละ 19.0
เพราะฉะนั้นช่วงที่ลูกยังเล็ก ยังอ่านหนังสือเองไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่ควรอ่านหนังสือให้ลูกฟัง อาจจะเริ่มจากการสอนและให้เขาจดจำคำศัพท์แบบที่บ้านเราใช้กับจินและเรนนี่ โดยใช้ภาพและการ์ตูนเป็นตัวช่วยเสริมก็ได้นะคะ พอลูกๆ เริ่มโต เริ่มอ่านเองได้ ก็ค่อย ๆ แนะนำหนังสือที่ช่วยเพิ่มจินตนาการให้เขา ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน หรือนิทานก่อนนอน ที่สำคัญ การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ยังเป็นการช่วยสกรีนเนื้อหาที่ลูกเราจะอ่านได้ว่ามีประโยชน์กับเขาหรือเปล่า
เห็นประโยชน์ของการอ่านหนังสือแบบนี้แล้ว เราอยากจะเชิญชวนคุณพ่อคุณแม่ทุกคน มาแบ่งเวลาในแต่ละวันอ่านหนังสือให้ลูกฟังหรืออ่านหนังสือเป็นเพื่อนลูกกันนะคะ เพราะการอ่านเป็นสิ่งที่ปลูกฝังได้ตั้งแต่เขายังเด็ก นอกจากจะเป็นการปลูกปัญญา เสริมจินตนาการให้กับลูกแล้ว ยังเป็นการใช้เวลาว่างอย่างมีคุณภาพร่วมกันของครอบครัวด้วยนะ ^^
นอกจากการสำรวจเรื่องการอ่านแล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังมีโครงการสำรวจและเก็บข้อมูลอีกมากมายตลอดปีค่ะ ถ้าเห็นเจ้าหน้าที่ ชื่อ “คุณมาดี” มาขอข้อมูลจากเรา ฝากสละเวลาให้ข้อมูลเหมือนการแบ่งเวลาอ่านหนังสือด้วยนะคะ เพราะข้อมูลเหล่านั้น จะกลับมาเป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคนแน่นอนค่ะ ;)
#สำนักงานสถิติแห่งชาติ, #ข้อมูลดีประเทศดีชีวิตดี, #ข้อมูลคือขุมทรัพย์
สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 วีดีทัศน์แนะนำสำนักงานสถิติแห่งชาติ - YouTube 的推薦與評價
วีดีทัศน์แนะนำ สำนักงานสถิติแห่งชาติ. Nso Of Thailand. Nso Of Thailand. 1.26K subscribers. Subscribe. 72. I like this. I dislike this. ... <看更多>
สำนักงานสถิติแห่งชาติ 在 สำนักงานสถิติแห่งชาติ | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 22384 คน · 692 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 6229 คนเคยมาที่นี่. สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีภารกิจในฐา. ... <看更多>