#แม่พูดตั้งกี่ครั้งแล้ว!!
#รวมประโยคที่_ไม่พูดดีกว่า (1)
.
“แม่พูดตั้งกี่ครั้งแล้ว!”
“แม่สอนตั้งกี่ครั้งแล้ว ยังจำไม่ได้อีกเหรอ?”
“นี่พูดรอบที่เท่าไหร่แล้วเนี่ย?”
“ทำไมยังทำไม่ได้ สอนหลายครั้งแล้วนะ”
.
เราพูดประโยคนี้ ตอนที่เรารู้สึกเป็นอย่างไร?
คงไม่ได้พูด ตอนอารมณ์บวก แน่ๆ
ถึงจะพูดหน้ายิ้ม แต่นัยน์ตา คงอำมหิต😅
เราพูด เพราะเราหงุดหงิด เราไม่ได้ดังใจ
เราคาดหวัง แต่ไม่เป็นไปตามหวัง
.
ตามหลักของสมอง
เมื่อเราถูกกระตุ้นด้วยอารมณ์ลบ
สมองจะตอบสนองอย่างรวดเร็ว
ด้วยชุด พฤติกรรม แบบกึ่งสำเร็จรูป คือ
👉Fight: สู้ ใช้กำลัง สายตา คำพูด เข้าปะทะ
👉Flight: ถอยหนี ยอม เลี่ยงไป กลัว ร้องไห้
👉Freeze: ทำอะไรต่อไม่ได้ เหมือนถูกแช่แข็ง
โดยส่วนใหญ่ มนุษย์เลือกใช้ "fight" คิดว่าฝ่ายตรงข้ามหรือด้อยกว่าเรา
.
กับลูก แม่มักใช้การตอบสนอง กึ่งอัตโนมัติ แบบ fight ใช้การ ปะทะ
ไม่ว่าจะเป็น ▪︎สายตา ▪︎คำพูด ร้ายที่สุด คือ ▪︎กำลัง
เพราะสมองประเมินแล้ว ว่า #เรามีอำนาจเหนือกว่าลูก
.
วิธีแก้ ไม่ให้สมอง ใช้ชุดคำสั่งที่รวดเร็ว
เกินกว่าที่เราจะตอบสนองด้วยเหตุผลทัน
คือ การคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า
และจินตนาการว่าเราจะรับมือกับสถานการณ์นั้นๆ อย่างไร
เพราะการทำเช่นนี้
ทำให้เรามีโอกาสได้คิด (ใช้ ●สติ ●ปัญญา)
ตอนที่สมองส่วนอารมณ์ ยังไม่ถูกกระตุ้น
ทำให้เรามีคำตอบ “สำรอง” เอาไว้ให้สมอง
ถึงจะช่วยไม่หมด แต่อย่างน้อยจะยั้งเอาไว้ได้
เหมือนเวลาที่เราเงื้อมมือจะตีลูก
แต่เราดันไปคิดถึง
บทความที่เคยอ่านก่อนหน้านั้น แล้วยั้งมือไว้ทัน
ถึงจะเสียหาย แต่ก็ลดความรุนแรงลงได้
ถ้าเราฝึกหลายๆครั้ง
เราจะรู้ตัวตั้งแต่อารมณ์ลบเริ่มก่อตัว
.
ในกรณี ความหงุดหงิด ที่เกิดจากความคิดที่ว่า
●“นี่พูดตั้งกี่ครั้งแล้วนะ”●
คำพูดนี้
เป็นประโยคคำถาม
#ที่เราเองยังตอบไม่ได้
แล้วทำไมต้องไปถามลูกด้วย!
คงจะตลกดี
ถ้า “แม่สอนตั้งกี่ครั้งแล้ว”
แล้วลูกตอบ “หนูคิดว่าครั้งที่ 20 ค่ะ”
.
หมอขอแชร์ เทคนิคที่ได้ผลกับตัวเองมาก คือ
แทนที่จะถามลูกว่าเราสอนตั้งกี่ครั้งแล้ว
ให้คิดไปเลยว่า จะสอนเรื่องอะไร สักกี่ครั้งดี😁
.
ขณะที่เราสอนลูกให้ทำอะไรสักอย่าง
ทั้งลูก และ ตัวเราเอง ล้วนกำลังเป็น ♡“เด็กฝึก”♡
ลูกก็ ฝึกเอาสิ่งที่ได้รับการสอน ให้เป็นทักษะของตัวเอง
เราก็ ฝึกที่จะสอน ให้คนอีกคนหนึ่ง
เอาคำที่เราสอนไปปฏิบัติจนทำได้ด้วยตัวเอง
#เราต่างก็ใหม่ด้วยกันทั้งคู่
.
ให้ลองนึกดูว่า กว่าเราจะ “เก่งพอตัว”
ในทักษะอะไรสักอย่าง
.
เราฝึกไปกี่ครั้ง?
.
ตอนฝึกขับรถ ต้องฝึกเลี้ยว ฝึกเข้าจอด กี่รอบ
ถึงจะทำเองได้อย่างมั่นใจ
ตอนฝึก present งาน ต้องอ่านโพยกี่รอบ
อ่านหนังสือแค่ครั้งสองครั้ง เราจำได้หมดมั้ย?
.
เช่น จะสอนให้ลูก สะกดได้
#นักสอนฝึกหัดอย่างเรา ต้องสอนกี่รอบดี?
จะสอนให้ลูก ทำอะไรจนเป็นนิสัย
ต้องเตือนเค้ากี่รอบ...คิดไว้ก่อน
(ไม่มีใครตอบให้ใครได้)
.
แต่แทนที่จะถามลูกว่า
แม่สอนตั้งกี่ครั้งแล้ว
ถามใหม่
“ต้องสอนกี่รอบดี ลูกถึงจะทำได้”
.
ถ้ายังสอนไม่ถึงจำนวนครั้งที่อยู่ในใจ...
#ก็ไม่เห็นต้องโกรธเลยนี่คะ
แต่ถ้าสอนครบตามจำนวนแล้ว ลูกยังทำไม่ได้
ก็ต้องถามกลับว่า
“สอนดีจริงมั้ยเนี่ย สอนซ้ำขนาดนี้ผู้เรียนยังทำไม่ได้”
ก็หาจุดบกพร่อง แล้วเริ่มใหม่
.
ถ้าเรายังให้โอกาสตัวเอง
เพื่อพัฒนาเป็นผู้สอนที่ดี
ลูกก็ต้องได้รับโอกาส
เพื่อพัฒนาเป็นผู้เรียนที่เก่งขึ้นได้ ด้วยนะคะ
.
ลองดูค่ะ แค่เปลี่ยนวิธีคิด ชีวิตมัน work ขึ้นมาก
โดยเฉพาะแม่ที่ต้องสอนการบ้านลูกทุกวัน🤣
.
พูดบ่อย..เหมือนกันใช่มั้ยล่ะ😅😅
.
มีความสุขกับการสอนนะคะ
.
หมอแพม
Cr.ภาพ จากนิทานเรื่อง แม่จ๋า อย่าโมโห จาก สนพ.SandClock
เรามีอำนาจเหนือกว่าลูก 在 เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน มีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร ใครมี ... 的推薦與評價
โอนที่ดินให้ ลูก ตอนที่ เรามี ชีวิตอยู่ หรือ ให้เป็นมรดกหลังจากที่ เรา จากไปแล้วแบบไหนดี กว่า กัน ? kasidej thurapang. ... <看更多>
เรามีอำนาจเหนือกว่าลูก 在 #เรามีอำนาจเหนือกว่าลูก - Explore | Facebook 的推薦與評價
#เรามีอำนาจเหนือกว่าลูก · หมอแพมชวนอ่าน · Bearbear Baby นิทานเด็ก หนังสือเด็ก บัตรคำ เสื้อผ้าเด็ก บอดี้สูทเด็ก ชุดหมี. ... <看更多>