ไตรภูมิพระร่วงกับแนวคิดแบบพุทธรมนิยมของพระยาลิไทย
(ปรัชญากฎหมายไทยสมัยสุโขทัย)
ไตรภูมิพระร่วงหรือชื่อตามต้นฉบับเดิมคือ “เตภูมิกถา” เป็นงานวรรณกรรมเชิงปรัชญาเรื่องแรกของไทย นักวิชาการบางท่านจัดไตรภูมิพระร่วงว่าทำหน้าที่แทนกฎหมายในยุคสมัยสุโขทัย
ศิลาจารึกหลักที่ 4 หลักที่ 5 ของพระยาลิไทยมีการกล่าวถึงสิ่งที่เป็นปณิธานเจตนารมณ์ของพระยาลิไทย ซึ่งมุ่งที่จะเป็นพระพุทธเจ้า นำสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นสังขารทุกข์ (เป็นหลักฐานที่ปรากฏเกี่ยวกับแนวคิดเชิงอุดมการณ์) ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือที่กล่าวถึงเรื่องไตรสาม สามภูมิ สามภพ สามโลก ได้อธิบายเรื่องการกำเนิดโลกเช่นเดียวกับอัคคัญสูตร แต่มีการเปลี่ยนสิ่งเป็นคุณสมบัติของผู้ปกครองในแง่ที่ว่าในอัคคัญสูตรไม่ได้ระบุว่า คนที่เป็นผู้ปกครองจะต้องเป็นพระโพธิสัตว์ ส่วนไตรภูมิพระร่วง มีการเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงใหม่ให้บุคคลที่บรรดาสัตว์ทั้งหลายเข้าไปเชื้อเชิญเป็นผู้ปกครองต้องมีคุณสมบัติเป็นพระโพธิสัตว์ เมื่อนำความคิดนี้มาใช้กษัตริย์ (หรือพระโพธิสัตว์) ก็เลยกลายเป็นบุคคลที่ภาระสำคัญในการที่จะนำประชาชนให้ก้าวไปสู่การหลุดพ้นและบุคคลที่จะต้องปลดเปลื้องทุกข์ของประชาชนไม่ใช่เพียงแค่การดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยของสังคมอย่างเดียว
ในไตรภูมิพระร่วงยังกล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ปกครองว่าต้องอยู่ใน “ทศพิศราชธรรม” แนวคิดเรื่องทศพิศราชธรรมเป็นแนวคิดที่สำคัญตัวหนึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจการปกครอง ซึ่งไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวไว้ ได้นำมาจากพระไตรปิฎกในมหาหังตชาดา
หลักทศพิศราชธรรม
ทศพิศราชธรรม เป็นเสมือนหลักธรรมที่สำคัญในการใช้อำนาจการปกครองของกษัตริย์โดยชนชั้นปกครองทั้งหลายโดยที่ผู้ใช้อำนาจปกครองนี้ มิได้หมายเฉพาะกษัตริย์เท่านั้นแต่หมายถึงบุคคลทั้งหลายที่ใช้อำนาจในการปกครองด้วย ซึ่งจะเป็นการตีความในลักษณะของการขยายความให้เข้าสังคมปัจจุบัน ในยุคปัจจุบันเราจะนำมาใช้กับคนที่เป็น นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือผู้ว่าราชการจังหวัดและแม้กระทั่งในระดับครอบครัว
ทศพิศราชธรรม ในฐานะความคิดทางศีลธรรมการเมืองมีรากฐานที่มาจากคัมภีร์ชาดกในพุทธศาสนา นับเนื่องมาจากที่พุทธศาสนาได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเมืองการปกครองสมัยพระยาลิไทย คติความคิดนี้ก็ย่อมได้รับการเผยแพร่โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในงานเขียนหรือศิลาจารึก หลักธรรมอันสำคัญยิ่งสำหรับกษัตริย์หรือผู้ปกครองประกอบด้วยเนื้อหา 10 ประการ ดังนี้คือ
1. ทาน หมายถึง การแจกวัตถุสิ่งของ การให้วิชาความรู้เพื่อเกื้อกูลผู้อื่นและการให้ประการอื่น ๆ
เช่น กำลังกาย กำลังความคิดตลอดจนคำแนะนำ
2. ศีล หมายถึงการควบคุมพฤติทางกาย วาจา และใจ ให้เป็นปกติ
3. ปริจจาจะ หมายถึง การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัวเพื่อระโยชน์สุขส่วนรวม
4. อาธชวะ หมายถึง ความซื่อตรง
5. มัทธวะ หมายถึง ความสุภาพอ่อนโยน
6. ตยะ หมายถึง ความเพียรพยายาม ในหน้าที่การงานจนกว่าจะสำเร็จโดยไม่ลดละ
7. อักโกธะ หมายถึง ความไม่แสดงการเกรี้ยวกราดโกรธแค้นต่อใคร ๆ
8. อวิหิงสา หมายถึง ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นไม่เกิดทุกข์เดือดร้อน
9. ขันติ หมายถึงความอดทนต่อความยากลำบาก
10. อวิโรธะนะ หมายถึง ความไม่ประพฤติผิดไปจากทำนองคลองธรรม
หลักทั้ง 10 ประการ อาจสรุปให้เป็น 5 ประการ ได้ดังนี้คือ
1. การให้เสียสละ ( ทาน และปริจจาจะ )
2. ความซื่อสัตย์สุจริต ( ศีล และอาธชนะ )
3. ความมีไมตรีจิต ( มัทธวะ และอักโกธะ )
4. ความอดทน ความเพียร ( ตยะ และขันติ )
5. ความถูกต้องและยุติธรรม ( อวิหิงสาและอวิโรธนะ )
การตีความทศพิศราชธรรมให้เป็นดั่งหลักอุดมคติทางกฎหมายดังกล่าวอาจเทียบเคียงได้กับความในเชิงปรัชญากฎหมายธรรมในชาติของตะวันตก ในแง่ทศพิศราชธรรมอาจจัดให้มีค่าเสมือนรูปธรรมหนึ่งแห่งกฎหมายธรรมชาติตามแบบเสรีวิธีคิดของตะวันตก จริงอยู่ที่ในปรัชญากฎหมายของไทยเราไม่ถ้อยคำที่เรียกว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law) แบบตะวันตกในความของกฎหมาย ซึ่งกำหนดแยกแยะว่าอะไรถูกอะไรผิดและเป็นกฎหมายที่ได้รับอำนาจหรือความสมบูรณ์จากธรรมชาติมิได้เกิดจากอำนาจสร้างสรรค์ของมนุษย์ แต่หลักธรรมสำคัญทางพุทธศาสนาที่กำกับการใช้อำนาจรัฐทั้งในทางการเมืองและในทางกฎหมายของไทยก็จัดได้เป็นหลักธรรมที่มาจากธรรมชาติได้เช่นกัน เมื่อตีความผ่านการวิเคราะห์ รากศัพท์ คำว่า ธรรมะ ที่หมายรวมถึงธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ในเมื่อธรรมะคือธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ ทศพิศราชธรรมในฐานะหลักธรรมทางการเมืองหรือกฎหมายก็ย่อมจักเข้าเป็นกฎธรรมชาติเช่นกัน หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นธรรมะที่มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ มิได้เกิดจากการประดิษฐ์สร้างของมนุษย์ มนุษย์ (ผู้เป็นศาสดา) เป็นเพียงผู้ค้นพบธรรมนี้เท่านั้น แล้วประกาศธรรมนี้ให้แพร่หลายไปโดยเฉพาะหมู่ผู้ปกครองหรือราชาที่ต้องการ “ทรง” ทั้งอำนาจตนและสังคมที่ตนปกครองให้เป็นไปปกติสุข
ดังนั้นเมื่อเราเทียบเคียงกับตะวันตก จะมีสิ่งที่เรียกว่า บัญญัติ 10 ประการ นักบุญ (St. Thomas Aquinas) เซนต์ โทมัส อไควนัส เคยอธิบายว่าบัญญัติ 10 ประการ ก็คือ หลักกฎหมายธรรมชาติ โดยเนื้อหาสาระของบัญญัติ 10 ประการ เป็นเรื่องคุณธรรมส่วนตัว เช่น ให้คนเคารพพระเจ้า อย่าฆ่าคนอย่าโกหก อย่าไปผิดลูกผิดเมียเขา ซึ่งถ้ามองในรายละเอียด จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณธรรมส่วนตัวมนุษย์ที่ควรจะประพฤติปฏิบัติ มากกว่าจะเป็นคุณธรรมที่วางระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แต่คุณธรรมพวกนี้นักปรัชญากฎหมายธรรมชาติตะวันตกบอกว่าเป็นรากฐานกฎหมายธรรมชาติ เพราะกฎหมายธรรมชาติในยุคกลางถือว่าเอาเจตจำนงของพระเจ้าเป็นที่มาของกฎหมาย ดังนั้นถ้ามีการจัดให้มีบัญญัติ 10 ประการ เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติในเชิงคริสต์ศาสนา (Christian Natural Law) แล้วทศพิศราชธรรมก็น่าจะเป็นส่วนกฎหมายธรรมชาติในเชิงพุทธ ( Buddhist Natural Law ) เพราะทศพิศราชธรรมเป็นคุณธรรมสำคัญ ที่คัมภีร์พุทธศาสนา กล่าวว่ากษัตริย์ต้องปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรม
ข้อสังเกต เกี่ยวกับปรัชญากฎหมายในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ข้อถกเถียงกับปรัชญากฎหมายไทยในสมัยสุโขทัย คงไม่อาจสมบูรณ์ได้หากมองข้ามเลยการตรวจสอบความคิดทางกฎหมายในยุคของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ออกจะดูแปลกอยู่บ้างที่เราจัดลำดับการศึกษาความคิดทางปรัชญากฎหมายไทยในสมัยสุโขทัย จากจุดเริ่มที่พระยาลิไทย แทนที่จะเริ่มจากพ่อขุนรามคำแหง ทั้งนี้เนื่องจากจุดรวมทางความคิดด้านจริยธรรมทางสังคมในยุคสุโขทัย ซึ่งแสดงออกเด่นชัดที่สุดในสมัย พระยาลิไทย
เรื่องราวของพ่อขุนรามคำแหงในด้านต่าง ๆ คงปรากฏจากหลักฐานสำคัญ คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง “คือศิลาจารึกหลักที่1” ในฐานะวรรณคดีไทยเรื่องแรกของไทยศิลาจารึก พ่อขุนรามคำแหงได้บอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีคุณค่าอย่างมากในแง่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี รัฐศาสตร์ และเรื่องอื่นๆ รวมทั้งนิติศาสตร์ด้วย
คุณค่าศิลาจารึกนี้ในทางนิติศาสตร์ เป็นเรื่องที่พูดกันมานานแล้ว นักศึกษากฎหมายที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายต่าง ๆ ต้องจดจำความรู้ในเชิงกฎหมายต่าง ๆ ของศิลาจารึกหลักที่1 ไม่ว่าในลักษณะเสมือนกฎหมายภาษีอากร กฎหมายมรดก กฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาคดี กฎหมายปกครอง กฎหมายที่ดิน หรือกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อน่าพิจารณาในการศึกษาที่เน้นแง่มุมในลักษณะเสมือนกฎหมายของศิลาจารึกนี้อาจทำให้ผู้ศึกษาหรือผู้อ่านจำนวนมากหลงหรือเข้าใจว่าศิลาจารึกที่เป็นตัวกฎหมายแท้จริงเสียอีก อาจเป็นเพราะสาเหตุที่ลืมนึกไปถึงเรื่องสถานะหรือบทบาทของศิลาจารึกทั่วไปหรือศิลาจารึกสิ่งที่ถือเป็นธรรมชาติทั่วไปของกฎหมาย โดยเฉพาะในแง่ของสภาพบังคับหรือบทลงโทษ แท้จริงแล้วศิลาจารึกเป็นเพียงหลักฐานบันทึกเรื่องราวสำคัญของสังคม โดยเฉพาะในแง่ของพระกรณียกิจหรืออำนาจบารมีต่าง ๆ ของกษัตริย์รวมทั้งเรื่องราวสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนา เรื่องราวในลักษณะเสมือนกฎหมายต่าง ๆ ในศิลาจารึกล้วนเป็นการตีความจากข้อมูลหรือความรู้ในเชิงกฎหมายที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานแห่งความประพฤติปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ระหว่างบุคคลด้วยกันหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
สรุป เมื่อพิจารณาเรื่องอิทธิพล หรือบทบาทของปรัชญากฎหมายสมัยสุโขทัยที่เป็นแบบพุทธธรรมนิยม เราต้องสรุปว่ามีอิทธิพลหรือมีบทบาทจริงในระดับหนึ่ง แต่หากมีปฏิสัมพันธ์กับอิทธิพลหรือการกำหนดของบริบททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของสังคมขณะนั้น ข้อที่น่าสังเกตส่วนนี้ คือ
1.ประเด็นเกี่ยวกับความสันพันธ์ระหว่างกฎหมาย ความคิดทางกฎหมายกับเศรษฐกิจและการเมือง เราไม่อาจแยกพิจารณาเรื่องกฎหมาย ปรัชญาหรืออุดมการณ์ทางกฎหมายให้หลุดพ้นไปจากเหตุการณ์ปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองได้
2.เราคงมีข้อสรุปที่น่าเชื่อถืออยู่มากต่อสภาพไร้การยึดมั่นในปรัชญากฎหมายหรือสังคม แบบธรรมชาตินิยมอย่างเคร่งครัดจริงจัง ชนิดที่ถือเป็นมุ่งหมายในตัวเองของการใช้อำนาจรัฐของสุโขทัย แต่เป็นการยึดถือแบบผสมผสานในฐานะเป็นเครื่องมือทางการเมืองมากกว่าการล่มสลายของอาณาจักรสุโขทัยในท้ายที่สุดจึงอาจถือเป็นบทพิสูจน์ในความล้มเหลว ของการยึดมั่นอย่างแท้จริงในปรัชญาทางกฎหมายหรือการเมืองแบบพุทธธรรมนิยม
กฎหมายมรดก สรุป 在 สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง ข้อสังเกตเกี่ยวกับมรดก ตาม ป.พ.พ. 的推薦與評價
[ชุดภาพ] สรุปหลักกฎหมาย เรื่อง #ข้อสังเกตเกี่ยวกับมรดก ตาม ป.พ.พ. คำว่า "มรดก" นั้นปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 โดยบทบัญญัติสำคัญอย่างมาตรา 1599 ... ... <看更多>
กฎหมายมรดก สรุป 在 กฎหมายมรดก - YouTube 的推薦與評價
... 25:24 กรณีมีผู้รับมรดกแทนที่ 28:50 ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และ 2 มีสิทธิรับมรดกร่วมกัน #กฎหมาย #พินัยกรรม # กฎหมายมรดก. ... <看更多>