ข้อสังเกตเกี่ยวกับการอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย
การอุดช่องว่างแห่งกฎหมายในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดให้มีการอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย ด้วยการค้นหาหลักกฎหมายทั่วไปด้วยวิธีอุปนัย
จึงต้องคิดต่อไปว่า อุปนัย คืออะไร นิรนัย คือ อะไร
การให้เหตุผลแบบอุปนัย(Induction) หมายถึง วิธีการสรุปในการค้นคว้าความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลายครั้งจากกรณีย่อยๆแล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป เป็นการรวบรวมข้อมูลสาหรับ ประชากรส่วนย่อย เพื่อไปสรุปเป็นข้อสรุปของประชากรส่วนใหญ่
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (Deduction) เป็นการนำความรู้พื้นฐาน ความเชื่อ ข้อตกลง กฎ บทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับเป็นจริง เพื่อหาเหตุนาไปสู่ข้อสรุป
การอ้างเหตุผลแบบอุปนัย คือ การนาสิ่งที่รู้แล้วบางอย่างแล้วก็สรุปเป็นความรู้ทั้งหมด เหมือนกับคน จะซื้อเงาะแล้วทดลองชิม
การอ้างเหตุผลแบบนิรนัย คือ การเชื่อสิ่งทั้งหมดว่าเป็นอย่างนั้น และเมื่อนาบางส่วนออกมา ก็ย่อม เป็นเช่นเดียวกับทั้งหมด เหมือนกับ แม่ค้าเงาะที่เชื่อว่าเงาะทั้งหมดในเข่งหวานแล้วทดลองให้ชิม
ดังนั้นการอุดช่องว่างแห่งกฎหมายด้วยวิธีอุปนัย เป็นวิธีการสรุปในการค้นคว้าความจริงจากการสังเกตหรือทดลองหลายครั้ง (เช่น สิ่งที่เกิดจากจารีตประเพณีท้องถิ่น) จากกรณีย่อยๆแล้วนำมาสรุปเป็นความรู้แบบทั่วไป เป็นการรวบรวม เป็นหลักเกณฑ์ที่ทำให้เห็นเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม (เช่น หลักกฎหมายทั่วไป)
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過54萬的網紅FaRaDise,也在其Youtube影片中提到,แหวนถือว่าเป็น accessory ที่ช่วยให้การแต่งตัวของคุณ ยกระดับขึ้น และทำให้คุณแตกต่างจากคนอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การใส่แหวนก็เช่นเดียวกับเสื้อผ้าที่ต้องมี...
「กฎ หมายถึง」的推薦目錄:
กฎ หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
สอนออนไลน์ วิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
หัวข้อเรื่อง กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง นักศึกษาบอกว่าเนื้อหาเยอะแม้จะมีพาวเวอร์พ้อย ก็ตาม อยากให้อาจารย์ ทำสรุปให้ เพื่อประโยชน์ของนักศึกษา ก็ทำให้ครับ
1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
กฎหมายที่ควบคุมการกระทำทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 คือ ควบคุมการใช้อำนาจทางปกครองของฝ่ายปกครอง ฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหารกับฝ่ายปกครองที่มิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร มีสาระสำคัญดังนี้
1.1 คำนิยามของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ความหมายกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีความหมายดังนี้
วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หมายถึง การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ และรวมถึงการดำเนินการใดๆ ในทางปกครอง
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 5)
คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า
1.การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือเจ้าหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว การอนุมัติ การวินิจฉัย อุทธรณ์ การรับรองและการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึง กฎ
2.การอื่นที่กำหนดใน กฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 ออกตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ได้กำหนดให้การดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครอง คือ การดำเนินการเกี่ยวกับการให้สิทธิประโยชน์ในกรณีดังต่อไปนี้
1) การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่าหรือให้สิทธิประโยชน์
2) การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์
3) การสั่ง ยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอ หรือดำเนินการใดในลักษณะเดียวกัน
4) การสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานและการให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา
ข้อสังเกต กฎกระทรวงดังกล่าวเป็นเรื่องการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐและการให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา
สรุป คำสั่งทางปกครอง
1.ต้องเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่
2.การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่กระทำการนั้น จะต้องมีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล คือ มีผลเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางสิทธิหน้าที่ระหว่างบุคคล (ก่อให้เกิดผลเฉพาะกรณี)
3.คำสั่งทางปกครองไม่ใช่ กฎ
4.คำสั่งทางปกครองไม่ใช่มาตรการภายในฝ่ายปกครอง คือ มีผลภายนอกโดยตรง
คู่กรณีในคำสั่งทางปกครอง หมายความว่า ผู้ยื่นคำขอหรือคัดค้านคำขอ ผู้อยู่ในบังคับหรือจะอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง เนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลคำสั่งทางปกครอง
กฎ หมายถึง พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบข้อบังคับ หรือ บทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
1.2 ขอบเขตแห่งการใช้บังคับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
ขอบเขตของการใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.2.1 การเป็นกฎหมายกลาง
การเป็นกฎหมายกลางเนื่องจากประเทศไทยมีกฎหมายปกครองหลายฉบับด้วยกัน ซึ่งแต่ละฉบับก็บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครองแตกต่างกัน การบัญญัติให้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายกลางที่จะเข้าไปแทนที่กฎหมายปกครองตางๆทั้งหมดเพื่อให้มีขั้นตอนเป็นเช่นเดียวกันหมด ซึ่งเป็นเทคนิคในการบัญญัติกฎหมายอย่างหนึ่งให้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายกลางหรือกฎหมายทั่วไปสำหรับการใช้อำนาจหน้าที่ในทางปกครองขององค์กรเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
1.2.2 การออกคำสั่งต้องแสดงเหตุในการออกคำสั่ง
การออกคำสั่งตามพระราชบัญญัตินี้ จะต้องแสดงเหตุผลในการออกคำสั่งทางปกครอง ในกรณีที่ฝ่ายปกครองจะออกคำสั่งซึ่งมีผลเป็นการกระทบสิทธิของเอกชนผู้ต้องอยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ต้องให้โอกาสผู้นั้นทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน ซึ่งหมายความรวมถึงการแจ้งผลกระทบต่อสิทธิที่จะเกิดขึ้นนั้นด้วย และข้อเท็จจริงที่ต้องให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบนั้นจะต้องเพียงพอเพื่อให้คู่กรณีสามารถโต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตนได้โดยเหมาะสม
ในการออกคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะต้องคำนึงถึงปัญหานี้ก่อนเสมอ ถ้าหากมีผู้ซึ่งอาจจะถูกกระทบสิทธิอย่างสำคัญ แต่เจ้าหน้าที่มิได้ให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบ ข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสชี้แจงหรือโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน ย่อมถือเป็นความบกพร่องของการพิจารณา ซึ่งคู่กรณีอาจขอให้เพิกถอนกระบวนการเดิม และเริ่มกระบวนการใหม่ได้ การให้โอกาสแก่คู่กรณีอาจเกิดขึ้นได้ทั้งกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้ริเริ่มด้วยตนเอง หรือเมื่อได้รับคำขอจากคู่กรณีคนหนึ่งคนใดก็ได้ เช่น จะออกคำสั่งให้ปิดโรงงาน ก็ต้องแจ้งให้เจ้าของโรงงานทราบก่อนมีคำสั่งผิดโรงงาน เป็นต้น
1.2.3 ผู้ออกคำสั่งจะต้องมิใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสีย
การออกคำสั่งทางปกครองตามกฎหมายเฉพาะทุกฉบับต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ คือ เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนได้เสียในการออกคำสั่ง จะออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นมาใช้บังคับไม่ได้
ข้อสังเกต พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ฉบับนี้ไม่ใช้บังคับ 2 กรณี ดังต่อไปนี้
1. กรณีตามมาตรา 3 เป็นข้อยกเว้นไม่ให้พระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับโดยพิจารณาจากเนื้อหาที่กฎหมายเฉพาะนั้นกำหนด มีอยู่ 4 กรณี ด้วยกัน
1) กฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมไว้ไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้
2) กฎหมายเฉพาะกำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติราชการทางปกครองไว้ไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัตินี้
3) กฎหมายเฉพาะกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาหรือโต้แย้งไว้แตกต่างจากพระราชบัญญัตินี้
4) กฎหมายเฉพาะกำหนดมาตรการบังคับทางปกครองไว้
2. กรณีตามมาตรา 4 เป็นข้อยกเว้นไม่ให้พระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับโดยพิจารณาตามประเภทขององค์กรและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ มีดังนี้
1)เรื่องที่เกี่ยวกับรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
2.องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ เช่น องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
3)การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีทางนโยบายโดยตรง
4)การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดีและการวางทรัพย์
5)การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคระกรรมการกฤษฎีกา
6)การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
7)การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกประเทศและภายในประเทศ
8)การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
9)การดำเนินการขององค์กานทางศาสนา
3.ข้อยกเว้นตามกฎหมายเฉพาะ คือ การเตรียมการหรือดำเนินการเพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองในการดำเนินการบางประเภทหรือหน่วยงานบางองค์กรอาจได้รับการยกเว้นไม่ให้ตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง โดยอาจบัญญัติไว้โดยเฉพาะ เช่น พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 16 บัญญัติว่า “ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หรือ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 มาตรา 23 วรรค 1 บัญญัติว่า “บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่งหรือการกระทำตามหมวดนี้ไม่ตกอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง” หรืออาจบัญญัติยกเว้นในพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ตามมาตรา 4 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
1.3 การพิจารณาคำสั่งทางปกครอง
การพิจารณาทางปกครอง หมายถึง การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง ดังนี้
1.3.1 หลักในการพิจารณาคดีปกครอง
หลักในการพิจารณาคดีปกครอง มีดังนี้
1. หลักการไม่ยึดแบบพิธี
2. หลักความรวดเร็วและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน
3. หลักการใช้ภาษไทย
4. หลักการพิสูจน์ความจริงและการควบคุมดูแลการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่
1.3.2 การกำหนดเงื่อนไขในคำสั่งทางปกครอง สามารถพิจารณาดังนี้
1. การกำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง
2. การกำหนดให้การเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของสิทธิหรือภาระหน้าที่ต้องขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคต
3. ข้อสงวนสิทธิที่จะยกเลิกคำสั่งทางปกครอง
4. การกำหนดให้ผู้ได้รับประโยชน์ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำหรือต้องมีภาระหน้าที่ หรือยอมรับหน้าที่หรือความรับผิดชอบบางประการหรือการกำหนดข้อความในการจัดให้มี เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มข้อกำหนดดังกล่าว
ตัวอย่างเช่น อนุญาตให้ปะกอบกิจการขนส่งผู้โยสารได้ แต่ต้องเอาประกันชีวิตผู้โยสารด้วย หรืออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารชนิดหนึ่งได้ แต่ต้องจัดสรรที่จอดรถให้ได้จำนวนตามที่กำหนด เป็นต้น
1.3.3 กระบวนการหรือขั้นตอนในการออกคำสั่งทางปกครอง
กระบวนการหรือขั้นตอนในการออกคำสั่งทางปกครอง แยกออกได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คือ การตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีเฉพาะเรื่องให้ได้ความยุติเสียก่อน
ขั้นตอนที่ 2 คือ การตีความหรือการหยั่งทราบความหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ขั้นตอนที่ 3 คือ เอากฎหมายไปปรับกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในเฉพาะเรื่อง
ขั้นตอนที่ 4 คือ การตัดสินใจว่าสมควรออกคำสั่งหรือไม่ และถ้าออกคำสั่งควรจะออกคำสั่งโดยมีเนื้อหาสาระอย่างไร
ข้อสังเกต ระบบการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทางปกครองมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบไต่สวนกับระบบกล่าวหา
1.3.4 การใช้ระบบไต่สวนในการพิจารณาคำสั่งทางปกครอง
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ระบบการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทางปกครองหรือการพิจารณาคำสั่งทางปกครองโดยใช้ระบบไต่สวน ดังนี้
1. สิทธิคู่กรณี สิทธิคู่กรณีในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีมีสิทธิ ดังนี้
1) สิทธิได้รับแจ้งผลกระทบต่อสิทธิ
2) สิทธิมีทนายความและที่ปรึกษา
3) สิทธิแต่งตั้งผู้ทำการแทน
4) สิทธิได้รับคำแนะนำและได้รับแจ้งสิทธิหน้าที่ในกระบวนการพิจารณา
5) สิทธิตรวจดูเอกสารของเจ้าหน้าที่
6) สิทธิได้รับการพิจารณาโดยรวดเร็ว
7) สิทธิได้รับทราบเหตุผลของคำสั่งทางปกครอง
😎 สิทธิได้รับแจ้งวิธีการอุทธรณ์หรือโต้แย้งคำสั่งทางปกครอง
2.ข้อยกเว้นที่เจ้าหน้าที่ไม่ต้องรับฟังคู่กรณีก่อนออกคำสั่งทางปกครอง ได้แก่
1) มีความจำเป็นเร่งด่วนหากปล่อยให้เนิ่นนานช้าไปอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
2) เมื่อจะมีผลให้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
3) เมื่อมีข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั่นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลงแล้ว
4) เมื่อโดยสภาเห็นได้ชัดว่าการรับฟังคู่กรณีไม่อาจกระทำได้
5) เมื่อคำสั่งทางปกครองนั้น เป็นมาตรการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองอีกฉบับหนึ่งที่ได้ออกมาก่อนหน้านั้น
6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7) ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่รับฟัง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ
1.3.5 ประเภทของคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองนั้นสามารถแยกประเภทของคำสั่งทางปกครอง อออก ได้ 3 ประเภทดังนี้
ประเภทแรก คือ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือหรือเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างต้องระบุ วัน เดือน ปีที่ออกคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง เป็นต้น
ประเภทที่สอง คือ คำสั่งทางปกครองที่ทำโดยวาจา
ประเภทที่สาม คือ คำสั่งทางปกครองที่ทำโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น สัญลักษณ์ หรือสัญญาณ
โดยคำสั่งทางปกครองนั้นจะต้องให้เหตุผลในการออกคำสั่งให้ผู้รับคำสั่งและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย
1.3.6 ผลของคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป และยังมีผลบังคับใช้จนกว่าคำสั่งทางปกครองนั้นได้ปฏิบัติตามคำสั่งการสิ้นผลหรือมีการสั่งให้ยกเลิกเพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น
1.3.7 มาตรการบังคับคำสั่งทางปกครอง
เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งทางปกครองมีอำนาจใช้มาตรการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งของตน คำสั่งทางปกครองที่บังคับให้บุคคลกระทำการ ผู้รับคำสั่งไม่กระทำการมีมาตรการบังคับดังนี้
1. มาตรการให้ชำระเงิน
2. มาตรการบังคับทางปกครองกรณีคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ
1) เจ้าหน้าที่ไปกระทำการแทนโดยคิดค่าใช้จ่ายจากเขา
2) ออกคำสั่งปรับเป็นรายวัน วันละไม่เกิน 20,000 บาท จนกว่าเขาจะลงมือกระทำการตามคำสั่งให้ถูกต้องครบถ้วนแล้วแต่จะเลือก
1.3.8 การแก้ไขเยียวความเสียหายที่เกิดจากคำสั่งทางปกครอง
การแก้ไขเยียวความเสียหายที่เกิดจากคำสั่งทางปกครอง มีได้ 2 กรณี ดังนี้
กรณีแรก คือ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
กรณีที่สอง คือ การชดใช้ค่าเสียหาย
กฎ หมายถึง 在 สมองไหล Facebook 的最佳解答
1 คำถาม กับ 1 ปัญหา ที่ผมได้รับจากลูกเพจบ่อยที่สุด คือ
.
อยากเริ่มต้นธุรกิจด้วยการทำแบรนด์สินค้าของตัวเองดีไหม ? กับ อีกปัญหา คือ ตอนนี้ผลิตสินค้าแบรนด์ของตัวเองออกมา แต่ขายไม่ได้ควรจะทำยังไงดี ?
.
ซึ่ง 2 คำถามนี้ เป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ เพราะ 99 เปอร์เซ็นต์ของคนที่เริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยการทำแบรนด์สินค้าของตัวเอง จะเกิดปัญหาสินค้าของค้างสต็อกขายไม่ออกตามมา
.
คำถาม คือ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ?
.
เรื่องแรก เราต้องเข้าใจคำว่า “แบรนด์” ก่อน
.
หลายคนเข้าใจผิดว่า การทำสินค้าแล้วติดโลโก้ของตัวเอง คือ แบรนด์ ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่อย่างนั้นเลย...
.
แบรนด์ กับ โลโก้ เป็นคนละเรื่องกัน
.
โลโก้ เป็น แค่ชื่อเรียก แทนสินค้าเท่านั้น เปรียบเหมือนคุณมีลูกคนหนึ่ง แล้วตั้งชื่อให้เขาว่า สมชาย เท่านั้นเอง
.
แต่คำว่า แบรนด์ หมายถึง องค์รวมของสิ่งที่ผู้คนมองเห็นและรู้สึกกับตัวธุรกิจของเรา ย้ำว่า “ผู้คน” นะครับ เพราะไม่ใช่แค่ ลูกค้า แต่รวมถึง พนักงาน ด้วย เปรียบเหมือนความรู้สึกที่เรามีต่อ สมชาย ว่าเขาเป็นคนอย่างไร มีนิสัยแบบไหน เป็นคนพูดจาดี ชอบความทันสมัย อยู่ใกล้แล้วรู้สึกมีพลัง หรือ เป็นคนที่รักสุขภาพ อยู่ด้วยแล้วสบายใจ
.
ซึ่งการที่จะทำให้ผู้คนรู้จัก และ รู้สึกกับ สมชาย แบบนี้มันไม่สามารถทำได้ภายในวันสองวัน แต่มันใช้เวลาสร้างกว่าผู้คนจะรู้จักและเข้าใจสมชาย
.
การมีสินค้าแล้วติดโลโก้ เปรียบเหมือนกับ “ร่างกาย” ของสมชาย ส่วน แบรนด์ เปรียบเหมือน “วิญญาณ” ของสมชาย
.
ดังนั้น การที่เราแค่เอาสินค้ามาติดโลโก้ ก็ไม่ต่างกับร่ายกายของสมชายที่ไร้วิญญาณ ซึ่งมันไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์อะไรกับผู้คนได้
.
ฉะนั้น แบรนด์ ก็เหมือนคน 1 คน เราจะมองเห็นหรือรู้สึกกับตัวคนหนึ่งคนได้ เกิดจากความเชื่อของเขาที่สื่อสารออกมาทางคำพูดและการกระทำ ต่อให้เขาเปลี่ยนชื่อ เสื้อผ้า หน้าผมยังไง เราก็มองเห็นและรู้สึกกับเขาเหมือนเดิมอยู่ดี
.
เรื่องที่สอง เราต้องย้อนกลับไปที่ “กฎ” ของ “การขาย” ที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่ง นั่นคือ การซื้อและขาย จะเกิดขึ้นต่อเมื่อลูกค้ารู้สึกว่าตัวเอง “ได้” มากกว่า “เสีย”
.
ดังนั้น ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้า ก็ต่อเมื่อเขามีความ “เชื่อถือ” 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ว่า ผู้ขาย สินค้า หรือ แบรนด์ จะสามารถให้ในสิ่งที่เขาต้องการได้จริงๆ โดยไม่ได้โกหกกัน
.
สิ่งที่อยากจะให้ทุกคนคิดต่อ คือ
.
วันนี้เรามีความ “น่าเชื่อถือ” กี่เปอร์เซ็นต์ ?
.
ถ้าคุณมีความน่าเชื่อถือ 80 เปอร์เซ็นต์ มันไม่ใช่เรื่องยากเลย ที่คุณจะสร้างสินค้าแบรนด์ของตัวเองออกมาขาย เพราะคุณมีความน่าเชื่อถืออยู่แล้ว 80 เปอร์เซ็นต์ บวกกับ สินค้าอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ก็จะครบ 100 พอดี
.
แต่กลับกัน ถ้าคุณมีความน่าเชื่อถือ แค่ 20 เปอร์เซ็นต์ การที่คุณทำสินค้าแบรนด์ของตัวเองที่ไม่ได้มีความน่าเชื่อถือเลย แล้วในเมื่อความเชื่อถือที่ลูกค้ามีให้กับคุณและแบรนด์ไม่ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ คุณคิดว่า เขาจะซื้อของจากคุณไหมล่ะ ?
.
และนี่แหละ คือ ปัญหาที่คนส่วนใหญ่เจอ
.
ดังนั้น ก่อนที่จะคิดทำสินค้าแบรนด์ของตัวเองออกมาขาย คุณต้องมั่นใจก่อนว่าตัวเองมีความน่าเชื่อถือในระดับไหน ?
.
ถ้าคุณมีความน่าเชื่อถือแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ คุณควรจะเอาสินค้าของคนอื่นที่มีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วสัก 80 เปอร์เซ็นต์ มาขายเพื่อเติมเต็มตัวคุณก่อน
.
เมื่อคุณขายสินค้าแบรนด์คนอื่นจนความน่าเชื่อถือของคุณ เพิ่มขึ้นถึงระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ค่อยมาคิดเรื่องทำสินค้าแบรนด์ของตัวเอง
.
วันนี้เป็นวันที่ 8 ของการเปิดจอง Pre-order “หนังสือ งานประจำสอนทำธุรกิจ” ซึ่งตอนนี้ยอดขายก็ทะลุ 800 เล่มแล้ว นั่นหมายความว่า ตอนนี้ยังเหลืออีกเพียงแค่ 200 เล่มสุดท้ายเท่านั้น ก่อนผมจะปิดการจองในอีก 48 ชั่วโมง
.
สิ่งที่ผมอยากจะชวนให้คิดตาม คือ
.
ถ้าอยู่ๆ ผมเขียนหนังสือของตัวเองออกมาขาย โดยที่คนไม่รู้จัก ไม่เคยคุย ไม่เคยอ่านบทความของผมเลย ผมเป็นแค่ใครก็ไม่รู้ ที่เขียนหนังสือเล่มหนึ่งออกมาขาย คุณคิดว่าจะมีคนซื้อไหม ?
.
ใช่ครับ !! คงไม่มีใครซื้อแน่นอน เพราะผมมีความน่าเชื่อถือ ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ผมทำคือ การเปิดเพจสมองไหล เขียนบทความ ให้ความรู้ และ เอาหนังสือของคนที่มีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วมาขายก่อน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ตัวผม
.
และเมื่อถึงเวลาที่ระดับความน่าเชื่อถือของผมเพิ่มขึ้นถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว ผมก็ค่อยเขียนหนังสือแบรนด์ของตัวเองออกมา
.
และนี่คือ ความลับที่ทำให้ “หนังสือ งานประจำสอนทำธุรกิจ” มียอดขายถล่มทลาย โดยที่ผมไม่ต้องเสียเงินยิงโฆษณาเลยแม้แต่บาทเดียว
.
เพราะแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จะช่วยประหยัดค่าการตลาดของเราไปได้มหาศาล เราไม่จำเป็นต้องไปบอกผู้คนว่า ฉันเป็นคนอย่างนั้น ฉันดีอย่างนี้ เพราะผู้คนรับรู้ถึงลักษณะนิสัย ความเชื่อ ของผมผ่านการฟูมฟักแบรนด์มาตลอด 1 ปีเต็มแล้ว
.
ฉะนั้น ถ้าคุณไม่อยากจะเริ่มต้นธุรกิจแล้วเจ๊ง ทำสินค้าออกมาแล้วพัง คุณจำเป็นต้อง “สั่งจอง” หนังสือ งานประจำสอนทำธุรกิจ เล่มนี้ก่อน เพราะมันจะลดอัตราความผิดพลาด และ เพิ่มโอกาสความสำเร็จให้ธุรกิจของคุณได้ !!
.
เพราะถ้าคุณไม่อ่านเล่มนี้ คุณอาจจะต้องละลายเงินไปอย่างมหาศาลเลย
.
ฉะนั้น ใครที่ยังไม่จอง ตอนนี้ต้องรีบแล้วนะครับ เพราะเหลืออีกเพียงแค่ 200 เล่มสุดท้ายเท่านั้น ก่อนผมจะปิดการจองในอีก 48 ชั่วโมง และ ผมเปิดจองเพียงรอบเดียวเท่านั้น !!
.
พิเศษ !! รับส่วนลด 10% เพียงแชร์โพสต์นี้เป็นสาธารณะ
จากราคาปกติ 245 บาท > เหลือเพียง 220 บาท เท่านั้น !!
ค่าส่งเหมาๆ สั่งกี่เล่มก็ 60 บาท
.
.
วิธีการสั่งซื้อ
.
1.กดลิงก์ https://m.me/432860907260347?ref=sale_pYgxqDgb
.
2.กด “สั่งซื้อ”
.
3.เลือก “จำนวน” และ กด “ยืนยันคำสั่งซื้อ”
.
จากนั้น ชำระเงิน ตามเลขบัญชีที่ให้ไว้ใน Inbox
.
1 เล่ม 280 บาท
2 เล่ม 500 บาท
.
ปล. เริ่มจัดส่งหนังสือวันที่ 15 เมษายน 2021
กฎ หมายถึง 在 FaRaDise Youtube 的最佳貼文
แหวนถือว่าเป็น accessory ที่ช่วยให้การแต่งตัวของคุณ ยกระดับขึ้น และทำให้คุณแตกต่างจากคนอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การใส่แหวนก็เช่นเดียวกับเสื้อผ้าที่ต้องมีแนวทาง และกฎ รวมถึงความหมายของการใส่ในแต่ล่ะนิ้ว
วันนี้ผมจะมาพูดถึง ความหมายของการใส่แหวนในแต่ล่ะนิ้ว วิธีการเลือกแหวน กฎ5 ข้อของการใส่แหวนที่จะทำให้คุณดูดีที่สุด
? ⚠️ถ้าชอบก็อย่าลืมกด Like, Share และกด SUBSCRIBE ช่องผมด้วยน่ะครับและถ้าคุณมีคำถามหรืออยากให้ผมทำคลิปเกี่ยวกับอะไรก็ Comment บอกได้เลยน่ะครับ⚠️?
?✌️SUBSCRIBE TO MY CHANNEL‼️?https://www.youtube.com/channel/UCIxDuzLz53b1urvfQQKdH_Q
⚠️FOLLOW ME ON SOCAIL MEDIA ‼️
MY FACEBOOK ► chalermpong koykul
MY INSTAGRAM ► @iamchalermpong
?ติดต่องาน โฆษณา/สปอนเซอร์?
For Business ► [email protected]
For Business ► Facebook: chalermpong koykul
MUSIC BY:
Ryan Little - Drowning
https://www.youtube.com/user/TheR4C2010
Song: Ikson - Bloom (Vlog No Copyright Music)
Music promoted by Vlog No Copyright Music.
Video Link: https://youtu.be/nE2W1oX4YFA
Flying High by FREDJI https://soundcloud.com/fredjimusic
https://www.facebook.com/fredjimusic/
Music promoted by Audio Library https://youtu.be/RYgKd-6_Fc4
กฎ หมายถึง 在 Nakama Channel Youtube 的最佳解答
กฎ : เล่นโหมด Definitely Not Dominion
- Random Champions ตามประเภท (มี 6 ประเภทดังนี้)
1. ดาเมจกึ่งแทงค์ 36 ตัว *(แบนได้)
2. นักเวทย์ 30 ตัว *(แบนได้)
3. มือสังหาร 15 ตัว
4. แทงค์ 17 ตัว
5. เอดี ยิงไกล 21 ตัว *(แบนได้)
6. ซับพอร์ต 12 ตัว
อ้างอิง https://lol.garena.in.th/champions/
- ทั้ง 2 ทีมจะได้ประเภทแชมป์เปี้ยนที่ไม่เหมือนกัน
เพิ่มเติม *แบนได้* หมายถึง เนื่องจากประเภทแชมป์เปี้ยนมีจำนวนมากน้อยไม่เหมือนกัน ประเภทไหนแชมป์เปี้ยนเยอะก็สามารถแบนก็ตามปกติ
■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■
Donation(บริจาค) เพื่อเป็นกำลังใจกันได้ครับ
Paypal ► https://goo.gl/GjneM8
True Money ► https://goo.gl/sJLhn4
Music ► https://www.youtube.com/user/leagueof...
■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■
กดติดตาม
Fanpage ► https://www.facebook.com/NakamaCh08
และอย่าลืม Subscribe Like Share เพื่อเป็นกำลังใจกันได้ครับ
ติดต่อด้านอื่น ► nakama_ch@hotmail.com
■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■ ■
ติชมหรือคอมเม้นได้นะครับ
ผิดพลาดตรงไหนแนะนำกันได้จ้า
กฎ หมายถึง 在 นิติกรรมทางปกครองประเภท "กฎ"... - หลักกฎหมายปกครองวันละเรื่อง 的推薦與評價
ศ. 2539 มาตรา 5 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 3 สามารถสรุปความหมายได้ดังนี้. “กฎ” หมายถึง ... ... <看更多>