เล่าเรื่องเมืองจีน ตอน สรุปเศรษฐกิจและตลาดจีนก่อนและหลังโควิดแบบพอสังเขป
.
ก่อนโควิด จีนยังคงเน้นการลงทุนในต่างประเทศ อย่างยิ่งในแถบทวีปแอฟริกา
.
Average annual outbound direct investment หรือ การลงทุนในต่างประเทศในแต่ละปีโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 1982 -2001 อยู่ที่ประมาณ 1.73พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และ เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดถึง 43.3เท่า ไปอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 7.5หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปี 2002 -2018
.
เฉพาะในปี2018 การลงทุนในอุตสาหกรรมบริการของจีนในต่างประเทศ คิดเป็นมูลค่า 8.42หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการลงทุนในต่างประเทศทั้งหมดของจีนในปีนั้น ประมาณ 1.29แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (เติบโตจากปีก่อนหน้า ประมาณ 4.2%) เรียกได้ว่า อุตสาหกรรมบริการ ครองสัดส่วนการลงทุนต่างประเทศของจีนมากที่สุด
.
การลงทุนในต่างประเทศของจีน จะชะงักเล็กน้อยในปี2019 ตามข้อมูลที่เพิ่งเผยแพร่โดยกระทรวงพาณิชย์จีน โดยการลงทุนโดยตรงของจีนในต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาคการเงิน (non-Financial ODI) ลดลง 6% เมื่อเทียบกับ 2018
.
สำหรับไทย ปี 2019 เป็นปีที่จีนก้าวมาแทนที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ครองตำแหน่งนักลงทุนเบอร์1ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกใต้มาอย่างยาวนานราว5ทศวรรษ โดยข้อเสนอการลงทุนในไทยจากจีน คิดเป็นมูลค่า 2.62 แสนล้านบาท ซึ่งมากกว่า 50%ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด สำหรับญี่ปุ่นแชมป์เก่า ลงทุนมูลค่า 7.31หมื่นล้านบาท ตามมาด้วยฮ่องกง 3.63หมื่นล้านบาท
.
แต่ตั้งแต่จีนทำสงครามการค้าจีนอเมริกา การลงทุนและเม็ดเงินที่เกิดขึ้นจากการทำการค้าระหว่างประเทศของจีน มีการชะลอตัวและกลายเป็นแผลเรื้อรังมาจวบจนตอนนี้หลังจากทำสงครามการค้ากับอเมริกา มีการตั้งกำแพงภาษีของทั้งสองฝ่าย แม้จีนจะพยายามแสดงท่าทีออกมาว่า “ไม่มีปัญหา” แต่ต้องยอมรับว่า จีนเจ็บหนักทีเดียว
.
เมื่อเกิดสงครามการค้าจีนอเมริกา จีนเลยถือโอกาสพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ลุยเน้นเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ทั้งเร่งดำเนินนโยบาย Made in China 2025 สร้างเทคโนโลยีนวัตกรรมจีน เพื่อใช้ภายในประเทศและส่งออก ไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีของประเทศอื่นเป็นหลักดังเช่นอดีต โดยเฉพาะการพึ่งพาทางฝั่งอเมริกาและตะวันตก
.
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ การยกเว้นและลดอัตราภาษีสำหรับธุรกิจผลิตชิป เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตจีน ทำชิปออกมาให้ทัดเทียมประเทศอื่น จะได้นำมาใช้ในสินค้าประเภทไอที อิเล็กทรอนิกส์ อย่างกรณี Huawei
.
“ดิจิทัล” มีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน จีนเน้นลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่ว่าจะปัญญาประดิษฐ์ 5G (เริ่มวิจัย 6G แล้ว และวางเป้าใช้เชิงพาณิชย์ภายในปี 2030) หรือแม้แต่สกุลเงินดิจิทัล ก็เป็นสิ่งที่จีนโฟกัส การเติบโตของดิจิทัลในจีน ทำให้เมื่อจีนเจอกับโควิด เลยเป็นตัวกระตุ้นให้ Digital transformation เกิดขึ้นได้ไว ทุกภาคส่วนยินดีเต็มใจต้อนรับ Digital Transformation เกิดขึ้นกับพวกเขา
.
อย่างที่อ้ายจงเคยเล่าไปแล้วเมื่อก่อนหน้านี้เกี่ยวกับตลาด Luxury จีน การบริโภคสินค้าหรูในจีนช่วงโควิด ปี 2020 สร้างเม็ดเงิน 1.41 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
.
ตามข้อมูลจาก McKinsey เติบโตจากปีก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนหน้าร้านสินค้าแบรนด์เนมไปสู่บนโลกออนไลน์ และใช้ Livestreaming เป็นช่องทางการขายสำคัญ โดยสามารถกล่าวได้ว่า ช่วงระบาดหนักของโควิด มีตลาดจีนเพียงแห่งเดียวในโลก ที่ยังคงสร้างรายได้ให้กับสินค้าแบรนด์เนม ขณะที่ทั่วทั้งโลก ยิ่งในโซนยุโรปและสหรัฐอเมริกา ตลาดหรูซบเซา ด้วยผลกระทบจากโควิด
.
และเมื่อจีนเจอกับการแพร่ระบาดโควิดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (2020) แน่นอนว่า การแพร่ระบาดโควิดส่งผลกระทบต่อประเทศจีน รวมถึงประเทศอื่นๆ (ไทยเองก็เช่นกัน)
.
สำหรับประเทศจีน ที่เห็นชัดเจนเลยคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและนำเข้าส่งออก ได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก แต่ ณ ปัจจุบัน เริ่มฟื้นตัว โดยมีการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเล็กน้อยจนถึงเปลี่ยนมาก
.
อย่างเช่น ธุรกิจท่องเที่ยว เน้นเที่ยวในประเทศเป็นหลัก ก่อให้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ๆขึ้น และเกิดรูปแบบการเที่ยวแบบใหม่ในจีนที่มุ่งเน้นตามเขตเมืองชนบท ตามธรรมชาติ เริ่มมองสิ่งที่บ้านตนเองมีมากขึ้น เนื่องจากออกนอกประเทศไม่ได้
.
ธุรกิจนำเข้าส่งออก หรือผู้ผลิตสินค้า ก็เน้นผู้บริโภคในประเทศมากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส
.
คือนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดโควิด ทางการจีนมีการสื่อสารออกมาต่อประชาชนใน feel “สร้างความรักชาติมากขึ้น” คนจีนซึ่งให้ความสำคัญต่อการรักชาติ หรือชาตินิยมแบบแรงมากอยู่แล้ว เลยยิ่งเพิ่มระดับทวีคูณ มีผลโดยตรงจากการวางกลยุทธ์สื่อสารของรัฐบาลจีน เลยผลักดัน Demand การบริโภคให้เป็นแบบ บริโภคแบรนด์ในประเทศ แบรนด์ของจีน (Local brand) มากขึ้น เป็นการบริโภคแบบชาตินิยม
.
ข้อมูลล่าสุดจากการสำรวจของ Global Times สื่อกระบอกเสียงทางการจีน เมื่อเดือนมีนาคม 2021 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็น “ผู้บริโภคชาวจีนพึงพอใจในการบริโภคสินค้า Local Brand มากขึ้น” แต่ รถยนต์ และ สินค้าความสวยความงาม-สกินแคร์ ยังคงพอใจ Foreign Brand มากกว่า Local
.
ทั้งนี้ ถ้าจะให้ผมยกประเภทธุรกิจอะไรสักอย่างเป็นหนึ่งในธุรกิจจีนที่เติบโตในยุคโควิด ผมขอยกให้ "ค้าปลีกออนไลน์"
ถือว่าเติบโตเป็นอย่างมากนะ สืบเนื่องมาตั้งแต่ก่อนโควิด ดูได้จากมูลค่าค้าปลีกออนไลน์เติบโตจาก 4.61 แสนล้านหยวน ในปี 2010 ใช้เวลาเพียง 10 ปี ทะลุหลัก10 ล้านล้านหยวน เมื่อปี 2020 ซึ่งการค้าปลีกออนไลน์แบบข้ามพรมแดน หรือ Cross Border E-commerce ถือว่าเป็นไฮไลท์ที่สร้างเม็ดเงินต่อการค้าออนไลน์จีนเป็นอย่างมาก เพิ่มขึ้นกว่า 31% สร้างมูลค่า 1.69 ล้านล้านหยวน แม้ปี 2020 จีนเจอโควิดกระทบหนัก
.
การค้าปลีกออนไลน์ หรือ E-commerce จีน ไม่ได้กระจุกอยู่ในเมืองหลวงหรือเมืองใหญ่ของจีนอีกต่อไป แต่หลายปีมานี้ เมืองชั้นรอง Tier 3 และ Tier 4 กลายมาเป็นฐานหลักที่บริโภค จับจ่ายใช้สอยแบบออนไลน์
.
อย่างไรก็ตาม จีนยังคงมีงานต้องแก้ไขอีกเยอะในเรื่องของเศรษฐกิจ อย่างยิ่งการ "Balance" ระหว่างมาตรการการป้องกันและควบคุมโควิดอย่างเข้มงวด จนส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนอยู่ไม่น้อย เพราะแม้จีนจะกลับมาเน้นการบริโภคอุปโภค หรือการสร้างเม็ดเงินแบบจีนทำจีนใช้ แต่นอกจีนก็ส่งผลต่อจีนอยู่มาก เป็นงานที่จีนกำลังวางแผนว่าจะจัดสมดุลอย่างไร เมื่อโควิดก็ต้องป้องกัน เศรษฐกิจก็ต้องรักษาบาดแผลที่มี (และมีมานาน ไม่ใช่เพิ่งมีตอนโควิด) และฟื้นฟูตนเองให้ผงาดเป็นมหาอำนาจโลกอย่างที่วาดหวังไว้
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
Search
การค้าปลีกออนไลน์ 在 การค้าปลีกออนไลน์ - YouTube 的推薦與評價
การค้าปลีกออนไลน์. ... 10:07. 0:00 / 10:07•Watch full video. Live. •. •. Scroll for details. วิชา ธุรกิจค้าปลีก ... ... <看更多>