พักหนี้ กู้เพิ่ม เงินเยียวยา รวมมาตรการช่วยเหลือ SME จากสถาบันการเงินและภาครัฐมาไว้ให้แล้ว เช็คเลย!
.
🔺 สถาบันการเงิน 🔺
⚪️ธนาคารแห่งประเทศไทย
🔹 โครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เป็นโครงการที่ออกมาเพื่อลดภาระหนี้ชั่วคราวให้กับลูกหนี้รายเล็กและธุรกิจรายย่อย โดยเป็นการตีโอนทรัพย์หลักประกันให้สถาบันการเงิน และมีสิทธิ์ซื้อคืนในอนาคต ซึ่งจะมีการคำนวณราคาซื้อคืนไว้ชัดเจน และให้ลูกหนี้รายเดิมสามารถมีสิทธิ์ในการซื้อคืนได้ก่อนภายในระยะเวลา 3 - 5 ปี ทั้งนี้ผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้นอยู่แล้วก่อน 1 มี.ค. 64 และไม่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3eFAqxN)
🔹 มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการที่จะให้ผู้ประกอบการได้รับสินเชื่อใหม่ ด้วยอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญาเฉลี่ยไม่เกิน 5% ต่อปี ระยะเวลา 5 ปี โดยรัฐช่วยชดเชยดอกเบี้ยช่วง 6 เดือนแรกให้ สำหรับลูกหนี้เดิมต้องมีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อรายต่อธนาคาร ณ วันที่ 28 ก.พ. 64 สามารถขอซอฟต์โลนได้สูงสุด 30% ของวงเงินสินเชื่อเดิม สูงสุด 150 ล้านบาท และสำหรับลูกหนี้ใหม่ที่ไม่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารทุกแห่ง ณ วันที่ 28 ก.พ. 64 ขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาทรวมทุกสถาบันการเงิน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/2SMD9x1)
*ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมทั้ง 2 โครงการในช่วงเวลาเดียวกันได้หากมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น เข้าโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ เพื่อลดภาระ แต่ขอสินเชื่อเพื่อดำเนินกิจการต่อ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3obcIgf )
⚪️ออมสิน
🔹 สินเชื่อเสริมพลังฐานราก ให้ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย/ด้านบริการ ผู้มีรายได้ประจำ ไม่มีหลักประกัน ไม่มีบุคคลค้ำประกันสามารถกู้ในวงเงินสูงสุด 50,000 บาท/ราย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3faG8a9 )
🔹 สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 ให้ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้มีรายได้ประจำ ผู้มีอาชีพอิสระ สามารถกู้เงินได้สูงสุด 10,000 บาท/ราย ในอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ชำระเงินกู้คืนไม่เกิน 3 ปี ปลอดดอกเบี้ย 6 งวดแรก ลงทะเบียนผ่านแอป MyMo แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.ลูกค้าในพื้นที่สีแดง 6 จังหวัด เริ่มกู้ 13 พ.ค. 64 2. ลูกค้าพื้นที่ทั่วไป เริ่มกู้ได้ 20 พ.ค. 64
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3f5N1Jy)
⚪️ธนาคารอาคารสงเคราะห์
🔹มาตรการที่ 13 : พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2564) สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ (ไม่เป็น NPL ไม่อยู่ขั้นตอนของกฎหมาย และไม่อยู่ระหว่างทำข้อตกลงประนอมหนี้) ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่ไม่เคย หรือเคยใช้ หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคาร และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 รวมถึงยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามสัญญาเงินกู้
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3uJ2eHl )
🔹 มาตรการที่ 14 : พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.90% ต่อปี ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน(1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2564) สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะพ้นสิทธิการปรับโครงสร้างหนี้ที่ใช้อยู่หากใช้มาตรการที่ 14 และต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้หรือข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หรือตามคำพิพากษา
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3uJ2eHl )
⚪️ไทยพาณิชย์
🔹สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (ยอดขายไม่เกิน 75 ล้านบาทต่อปี) ลูกค้าสามารถพักชำระค่างวดสูงสุด 3 เดือน หรือปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/2RQMiE4 )
⚪️ทีเอ็มบีและธนชาต
🔹 โครงการตั้งหลักเพื่อลูกค้าธุรกิจ
- ลูกค้า SME วงเงินกู้ระยะยาว : พักชำระเงินต้นสูงสุด 3 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ
- ลูกค้า SME วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (OD)/วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน : แปลงวงเงินกู้เบิกเกินบัญชี(OD)หรือวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะยาว
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3fb1vIg )
⚪️กสิกรไทย
🔹 สินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan – Long Term Loan) มอบมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 3 ทางเลือก
1. จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
2. ลดยอดผ่อนชำระ 30% เป็นเวลา 3 เดือน
3. พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3hg43Ym)
⚪️ธนาคารกรุงเทพ
🔹 มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย กู้ได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท (รวมทุกสถาบันการเงิน) อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี คงที่ตลอดระยะเวลา 2 ปี หลังจากนั้นคิดดอกเบี้ยตามอัตราปกติของธนาคาร ยื่นขอสินเชื่อภายใน 30 มิ.ย. 64 (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3eGel25)
⚪️กรุงศรี
🔹 มาตราการช่วยเหลือลูกค้าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า 2019 ระยะที่ 2 (2564)
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (SME BB) พักชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน, พักชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน, ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดสูงสุดไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และไม่เกิน 12 เดือน
- ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ พิจารณามาตราการช่วยเหลือตามผลกระทบที่ได้รับ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นรายกรณีไป
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3eFjd7K )
⚪️กรุงไทย
🔹 มาตรการที่ 3 ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจไม่เกิน 100 ล้านทุกราย ไม่ต้องลงทะเบียนสามารถพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยนาน 6 เดือน
🔹 มาตรการที่ 4 ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป มีเอกสารแสดงว่ารายได้ลดลง พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 เดือน และขยายเวลาชำระหนี้ P/N และ Trade Finance สูงสุด 6
🔹 มาตรการที่ 5 ลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อเกิน 500 ล้าน กู้ได้ไม่เกิน 20% เดือนของยอดคงค้าง ณ 31 ธ.ค. 62 อัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 2 ปี พักชำระนานสุด 12 เดือน ไม่คิดดอกเบี้ย 6 เดือน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3tIZfgF)
⚪️Exim Bank
🔹 มาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปีสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 พฤศจิกายน 2564
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/3uJPVud )
🔹 มาตรการเยียวยาธุรกิจไทยในเมียนมา สามารถพักชำระหนี้เงินต้นกรณีวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุด 12 เดือนต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินรวมสูงสุดไม่เกิน 180 วัน โดยแจ้งความประสงค์ได้ภายใน 30 กันยายน 2564
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : https://bit.ly/2SKNSrP )
⚪️บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
🔹 โครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู โครงการจากหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาหรือได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยจะให้วงเงินค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท/ราย/สถาบันการเงิน ระยะเวลาสูงสุด 10 ปี สิ้นสุดรับคำขอภายในวันที่ 9 ตุลาคม 2566 หรือวงเงินค้ำประกันครบ 100,000 ล้านบาท สำหรับค่าธรรมเนียมการค้ำประกันปีที่ 1 -2 อยู่ร้อยละ 1.75 ต่อปี และจะมีการปรับในปีที่ 3 เป็นต้นไป สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3hqUQg1
-------------------------------------------------------
🔺 มาตรการส่งเสริมการใช้จ่ายจากรัฐบาล 🔺
🔹 บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 สนับสนุนค่าครองชีพเพิ่มเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564
🔹 คนละครึ่งเฟส 3 เพิ่ม รัฐช่วยจ่ายสูงสุด 150บาท/วัน ในวงเงินคนละไม่เกิน 3,000 บาท เริ่มจ่ายเงินให้ในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป
🔹 เราชนะ เพิ่มวงเงินให้อีกคนละ 2,000 บาท แบ่งจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท และใช้ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
🔹 ม.33 เรารักกัน เพิ่มวงเงินให้อีกคนละ 2,000 บาท แบ่งจ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท และใช้ได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
🔹 ยิ่งใช้ ยิ่งได้ รัฐบาลสนับสนุน E-Voucher ให้ประชาชนเพื่อซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม และค่าบริการร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในวงเงินไม่เกิน 7,000 บาท/คน โดยจะได้รับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564
🔹 โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ, ผู้พิการ ทุพพลภาพ, ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเดินทางออกจากที่พักอาศัยหรือจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออีกคนละ 200 บาท เป็นเวลา 6 เดือน ในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564
🔹 สำหรับโครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 3 และ โครงการทัวร์เที่ยวไทย ที่ประชุมครม. มีมติให้เลื่อนออกไปก่อน
-------------------------------------------------------
🔺ลดค่าน้ำ – ค่าไฟ 🔺
มาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ มีผลเป็นระยะเวลา 2 เดือนด้วยกัน คือ เดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายน 2564
🔹 ลดค่าน้ำปะปา
ลดค่าน้ำประปาลงร้อยละ 10 เปอร์เซ็นต์ ในประเภทของบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
🔹 ลดค่าไฟฟ้า
ลดค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก โดยใช้ค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนเมษายน 2564 เป็นฐานในการคำนวณ
1. ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย ได้สิทธิ์ใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
2. ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย หากหน่วยใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับบิลเดือนเมษายน 2564 ให้คิดตามหน่วยการใช้งานจริง
** กรณีใช้ไฟฟ้าเกินบิลเดือนเมษายน 2564 ให้คิดดังนี้
- ไม่เกิน 500 หน่วย คิดตามบิลเดือนเมษายน 2564
- มากกว่า 500 แต่ไม่เกิน 1,000 หน่วย ให้คิดเท่ากับบิลเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าบิลค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 50
- ใช้มากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดเท่ากับบิลเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าบิลค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 70 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
3 .กิจการขนาดเล็ก(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ)จะได้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรกของเดือนทั้ง 2 เดือน
-------------------------------------------------------
🔺 สำนักงานประกันสังคม 🔺
🔹 จ่ายเงินเยียวยากรณีว่างงานจากกรณีโควิด-19 ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน โดยลูกจ้างจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน
(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : www.sso.go.th )
.
ที่มา :
https://bit.ly/3y6zV7F
https://bit.ly/33QnzCZ
https://bit.ly/2RHnMW5
https://bit.ly/2ROtsha
https://bit.ly/3fspB1x
https://bit.ly/3bmcFZE
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#Business #ธุรกิจ #ไอเดียธุรกิจ #เยียวยาโควิด #มาตรการ #SME #พักหนี้ #กู้สินเชื่อ #ผ่อนชำระ #กู้เงิน
「กู้สินเชื่อ」的推薦目錄:
- 關於กู้สินเชื่อ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於กู้สินเชื่อ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於กู้สินเชื่อ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
- 關於กู้สินเชื่อ 在 5 สินเชื่อเงินกู้ เงินด่วน ไม่ต้องมีคนค้ำ l สรุปให้ Money - YouTube 的評價
- 關於กู้สินเชื่อ 在 ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand - Facebook 的評價
กู้สินเชื่อ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
เคยไหม ? ที่ไปขอกู้ยืมสินเชื่อ แต่ถูกปฎิเสธเพราะประวัติการชำระหนี้ในบัญชีไม่ดี วันนี้เราจะมาแนะนำ Credit Scoring หรือ คะแนนเครดิตในการชำระหนี้ เพื่อให้คุณรู้จักและวางแผนสร้างวินัยในการชำระหนี้ จนสามารถทำให้เครดิตสกอร์อยู่ในเกณฑ์ดีสร้างโอกาสในการขอสินเชื่อได้
.
Credit Scoring คืออะไร?
เป็นคะแนนชี้วัดความน่าจะเป็นในการชำระหนี้ ที่คาดการณ์ถึงพฤติกรรมหรือความตั้งใจการชำระหนี้ว่า คน ๆ นี้มีความเสี่ยงมาก หรือเสี่ยงน้อยที่จะผิดนัดชำระเงิน โดยประเมินจากสถิติประวัติการก่อหนี้ และการชำระหนี้ในอดีตที่ผ่านมาว่ามีการใช้จ่ายเป็นอย่างไร มียอดการกู้ยืมอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร มีการชำระเงินตรงเวลาไหม ผิดนัดชำระหรือไม่ หรือกระทั่งมีการขอวงเงินที่พร้อมจะกู้ยืมไว้มากน้อยขนาดไหน เป็นต้น
จากนั้นจึงมาคำนวณเป็นคะแนน ที่เรียกว่า Credit Bureau Score โดยแบ่งออกมาเป็นเกรด ตั้งแต่ HH - AA คิดเป็นคะแนนตั้งแต่ 300 - 900 คะแนน แต่ละ Score จะบอกสาเหตุของคะแนนที่ได้รับ และโอกาสที่ลูกหนี้จะชำระหนี้คือว่ามากหรือน้อยเท่าไร
.
ในสถาบันการเงินก็จะมีเกณฑ์การให้คะแนน Credit Score เป็นของตัวเองเช่นกัน แต่แตกต่างกันไปและไม่เท่ากัน บางสถาบันอาจให้น้ำหนักกับประวัติ Credit Bureau Score มากกว่า หรือบางสถาบันก็อาจจะใช้วิธีการคิดคะแนน Credit Score เป็นของตัวเอง
.
การมี Credit Scoring ได้ประโยชน์อะไรบ้าง
1.เพิ่มโอกาสที่จะได้รับบริการสินเชื่อ ยิ่้งคุณมีคะแนนสูงโอกาสที่จะได้บริการสินเชื่อยิ่งมาก และดอกเบี้ยถูก แต่ถ้าคุณมีคะแนนอยู่ในเกณฑ์ต่ำ การเข้าถึงสินเชื่อจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำเช่นกัน แต่ถือว่ายังไม่ถูกตัดสิทธิ์ในการขอสินเชื่อ ซึ่งเป็นข้อดีว่าคุณยังมีโอกาส
2.ทำให้คุณรู้เครดิตทางการเงิน สามารถประเมินความเป็นไปได้ในการขอสินเชื่อ และไม่สร้างหนี้ทางการเงินที่จะทำให้ตัวเองเสียเครดิตในการชำระหนี้
3.เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน และเป็นประโยชน์ต่อเกศรษฐกิจของประเทศ
.
วิธีการใดที่จะทำให้ Credit Scoring อยู่ในเกณฑ์ที่ดี
1. ชำระครบ การชำระเงินเต็มจำนวน ทำให้เห็นความสามารถการบริหารจัดการเงินในแต่ละเดือน หรือจะใช้วิธีจ่ายต่ำกว่าวงเงิน แต่เป็นจำนวนที่เราชำระได้แน่ ๆ ทุกเดือน
ยกตัวอย่างเช่น วงเงิน 15000 บาท/เดือน แต่อาจเลือกจ่ายเดือน 5,000 - 8,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่เราสามารถจ่ายแบบเต็มจำนวน วิธีนี้ถือว่าเป็นการสร้างคะแนนเครดิตที่น่าพิจารณาเช่นกัน
2. ตรงเวลา อย่าผิดนัดในการชำระเงินค่าบัตรเครดิต นอกจากทำให้เสียดอกเบี้ยบานปลายแล้ว เป็นการสะท้อนพฤติกรรมการใช้เงินที่ไม่มีวินัยและเสียเครดิต
3.มีวินัย จาก 2 ข้อที่กล่าวมานี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากคุณไม่มีวินัย คุณจะต้องรู้จักวางแผนการใช้เงิน เพื่อที่คุณจะได้ชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด และจะได้มีเครดิตที่ดีขึ้น
.
การรู้ข้อมูลถึง Credit Scoring ของตัวเองถือว่าสิ่งสำคัญในชีวิต เพราะจะทำให้เราวิเคราะห์และวางแผนการเงินได้ ช่วงเวลาใดควรขอกู้สินเชื่อ หรือคุณจะวางแผนให้เครดิตสกอร์ของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเสียก่อน แล้วค่อยขอสินเชื่อเพื่อไม่ให้ถูกปฏิเสธบ่อยครั้ง เพราะการถูกปฏิเสธในการขอสินเชื่อก็จะถูกบันทึกประวัติและทำให้เสียเครดิตได้เช่นกัน
.
การทำ Credit Scoring ให้อยู่ในเกณฑ์ดีไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าหากคุณมีวินัยทางการเงินที่ดีพอคุณก็สามารถสร้าง Credit Scoring ที่ดีได้ แถมยังแสดงให้สถาบันการเงินได้เห็นอีกด้วยว่า พฤติกรรมการใช้จ่ายของคุณนั้นน่าไว้ใจ จะขอกู้เงินหรือขอสินเชื่อ ก็มีโอกาสง่ายมากขึ้น
ที่มา :
https://www.krungsri.com/th/plearn-plearn/credit-scoring-%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b9%84%e0%b8%a3?fbclid=IwAR3rjR2RzWA5qiBUX6IaGG5JE2bAs_dippkb6p000KnzawwN2EOS4eXvk9A
https://www.ncb.co.th/check-your-credit-bureau/ncb-score
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#CreditScoring #CreditBureau #Bank #กู้สินเชื่อ #บัตรเครดิต
กู้สินเชื่อ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
เชื่อว่าผู้ประกอบการ คนทำธุรกิจ คุ้นเคยกับคำว่า สินเชื่อ หรือ เงินกู้ เป็นอย่างดี แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าตอนนี้คุณกำลัง “กู้สินเชื่อผิดประเภท” อยู่หรือเปล่า? ถ้าใช่ คุณควรรีบไปคุยกับธนาคารโดยด่วน เพราะจากเป็นผลดีกับธุรกิจ อาจกลายเป็นข้อผิดพลาด จนถึงขั้นมีหนี้ก้อนโตโดยไม่รู้ตัวก็ได้
.
สินเชื่อเพื่อธุรกิจ ถือว่าเป็นการก่อหนี้ดี เพราะเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดโอกาสและความมั่นคงให้ธุรกิจ แต่หลายครั้งการกู้สินเชื่อกลับไม่เป็นผลดีต่อผู้ประกอบการเสมอไป หากกู้และนำไปใช้แบบผิดประเภทอาจทำให้เป็นหนี้เพิ่ม ธุรกิจเสียหาย จนถึงขั้นสูญเสียธุรกิจไปก็ได้ เพราะสินเชื่อแต่ละประเภท ย่อมมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น วงเงิน ระยะเวลาในการผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย รวมถึงการอนุมัติจากสถาบันการเงินหรือธนาคารต่าง ๆ
.
ดังนั้น ก่อนที่จะทำการกู้สินเชื่อจากธนาคาร ต้องมีวัตถุประสงค์ในการกู้เพื่อนำไปใช้ที่ชัดเจน ต้องการวงเงินเท่าไหร่ ระยะเวลาจ่ายชำระคืน และต้องมีหลักค้ำประกัน เช่น ที่ดิน อาคาร หรือเครื่องจักร เป็นต้น ที่สำคัญผู้ประกอบการทุกท่านต้องรู้ก่อนว่าธุรกิจของตัวเองนั้นต้องการหรือเหมาะกับสินเชื่อประเภทไหน โดยสามารถแบ่งสินเชื่อหรือเงินกู้หลักๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้
.
- สินเชื่อ/เงินกู้ระยะสั้น คือ เงินกู้ที่มีระยะเวลาการกู้เงินและการชำระคืนน้อยกว่า 1 ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในระยะสั้น เช่น ค่าวัตุดิบ ค่าแรงงานการผลิต ค่าใช้จ่ายการผลิต ค่าใช้จ่ายบุคลากร และเพื่อซื้อสินค้ามาจำหน่ายต่อ เป็นการรับสินค้ามาก่อน แล้วค่อยชำระเงินค่าสินค้าภายหลัง เป็นต้น ซึ่งสินเชื่อที่ผู้ประกอบการคุ้นเคยคือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน P/N (Promissory Note) และวงเงินเบิกเกินบัญชี O/D (Overdraft)
ตัวอย่างสินเชื่อในระยะสั้น ได้แก่ สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อการค้า สินเชื่อเพื่อการร่วมงานแสดงสินค้า สินเชื่อธุรกิจวัสดุก่อสร้าง
.
- สินเชื่อ/เงินกู้ระยะกลาง คือ เงินกู้ที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 1-3 ปี หรือ 1-5 ปี
มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนธุรกิจในระยะกลาง เช่น การผ่อนส่งการซื้อสินค้าคงทน และเป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ
ตัวอย่างสินเชื่อในระยะกลาง ได้แก่ สินเชื่อสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อรถจักรยานยนต์ สินเชื่อเพื่อขยายกำลังการผลิต สินเชื่อสำหรับผู้ให้บริการโลจิสติกส์
.
- สินเชื่อ/เงินกู้ระยะยาว คือ เงินกู้ที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 5 ปี หรือ 7 ปีขึ้นไป
มีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนธุรกิจในระยะยาว โดยทั่วไปจะเป็นการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ ต้องใช้เงินจำนวนมาก เช่น บ้าน สำนักงาน ที่ดิน เป็นต้น
ตัวอย่างสินเชื่อระยะยาว ได้แก่ สินเชื่อบัญชีเดียว สินเชื่อบ้าน สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการขายเครื่องจักร และสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรม
.
โดยหลัก ๆ แล้ว ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักนำสินเชื่อหรือเงินกู้ที่ได้ไปใช้แบบผิด ๆ ด้วยกัน 2 กรณี ได้แก่
1. นำเงินที่กู้ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
คือการกู้สินเชื่ออีกประเภทหนึ่ง แล้วนำเงินไปใช้ในอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง เช่น คุณกู้สินเชื่อเพื่อนำไปใช้ในการผลิต ลงทุนซื้ออุปกรณ์หรือเครื่องจักร แต่กลับนำเงินที่ได้ไปใช้ในด้านอื่น เช่น จัดงานเลี้ยง จ่ายโบนัส เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักพบกรณีนี้ในธุรกิจที่ไม่ได้มีการควบคุมหรือบริหารจัดการภายในที่ดีพอ แทนที่จะนำเงินที่มีต้นทุนสูง ไปใช้เพื่อก่อเกิดรายได้ แต่กลับใช้ลงทุนในส่วนที่ไม่มีประโยชน์ นอกจากจะเพิ่มต้นทุนแล้ว ยังเป็นการสร้างภาระหนี้สินให้กับธุรกิจอีกด้วย
.
2. นำเงินกู้ไปใช้โดยไม่คำนึงถึงอายุของสินทรัพย์
อย่างที่ได้บอกข้างต้นว่าก่อนที่จะดำเนินการกู้สินเชื่อกับธนาคาร ต้องทำความเข้าใจประเภทของสินเชื่อหรือเงินกู้ ศึกษารายละเอียดและรูปแบบการให้เงินกู้สำหรับสินเชื่อแต่ละประเภท โดยรูปแบบของการให้เงินกู้นั้น จะมีทั้งแบบวงเงินกู้ธรรมดามีกำหนดชำระคืน และวงเงินกู้หมุนเวียน ซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอายุของสินทรัพย์และเงินกู้ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักลืมที่จะคำนึงถึงในเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง จนนำไปสู่ปัญหาด้านการเงินที่ยากจะจัดการได้
.
อย่างไรก็ตาม การกู้สินเชื่อ ก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจในการบริหารจัดการเงิน แต่ก่อนที่จะดำเนินการกู้สินเชื่อ ผู้ประกอบการ คนทำธุรกิจทุกท่าน ควรศึกษาและทำความเข้าใจทั้งธุรกิจของตัวเองและสินเชื่อเพื่อธุรกิจประเภทต่างๆ ด้วย เพื่อให้ธุรกิจได้รับดอกเบี้ยและการอนุมัติจากธนาคารที่ดีกว่า
.
แต่สำหรับผู้ประกอบการท่านใดที่ยังกู้สินเชื่อผิดประเภท หรือนำเงินกู้ไปใช้แบบผิดๆ อยู่ ควรรีบจัดการและเจรจากับธนาคารเพื่อขอทำการปรับโครงสร้างเงินกู้ใหม่ ให้เหมาะสมกับความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับธุรกิจที่กำลังดำเนินกิจการอยู่ ผู้ประกอบการควรกู้และใช้สินเชื่ออย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยลดต้นทุนแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ และที่สำคัญลดข้อผิดพลาดที่จะส่งผลกระทบต่อการเงินของธุรกิจอีกด้วย
.
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/beware-money-mistake-in-business.html
https://moneyhub.in.th/article/wrong-ways-using-money/
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#สินเชื่อ #เงินกู้ #กู้สินเชื่อ #สถาบันการเงิน
#ผู้ประกอบการ #ลงทุน #ธุรกิจ #ธนาคาร
กู้สินเชื่อ 在 ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand - Facebook 的推薦與評價
#แบงก์ชาติ ไม่ได้ปล่อยกู้ให้กับประชาชน!! . หากคุณพลาดโอนเงินให้มิจฉาชีพไปแล้ว สามารถแจ้งความที่ #สถานีตำรวจ ในท้องที่ ... ... <看更多>
กู้สินเชื่อ 在 5 สินเชื่อเงินกู้ เงินด่วน ไม่ต้องมีคนค้ำ l สรุปให้ Money - YouTube 的推薦與評價
ตอนนี้มี สินเชื่อ ที่ กู้ ง่ายขึ้น จากหลากหลายธนาคารออกมาแล้วไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ หรือคนค้ำประกันเราคัดโปรดีๆ เด็ดๆ มาให้แล้วอย่าลืม! ... <看更多>