“IKEA” ทรานส์ฟอร์มธุรกิจ! เปิดบริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ ประเดิม “B2B” ก่อนขยายสู่ผู้บริโภค
.
โดย MarketingOops!
.
เชนผู้ผลิต และจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์รายใหญ่ของโลก “IKEA” ที่ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 415 แห่งใน 49 ประเทศทั่วโลก ได้ปรับโมเดลธุรกิจครั้งใหญ่ จากเดิมที่ผลิต และจำหน่ายแก่ผู้บริโภคในรูปแบบ “Flat-pack” หรือแพ็คเกจจิ้งแบบแบนบรรจุชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ที่ทำให้การบริหารพื้นที่คลังสินค้า และการขนส่งมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันลูกค้าสามารถนำกลับไปประกอบเองได้สะดวก
.
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Retailer ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์สัญชาติสวีเดนรายนี้ จากเดิมเป็นโมเดลค้าปลีกอย่างเดียว แต่ขณะนี้กำลังเริ่มทดลองโมเดลธุรกิจใหม่ นั่นคือ การเปิดให้บริการ “เช่าเฟอร์นิเจอร์” แบบลิสซิ่ง (การเช่าแบบลิสซิ่ง (Leasing) มีลักษณะคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ คือ ผู้เช่าต้องชำระเงินิค่าเช่าเป็นงวด ๆ ตามจํานวนเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า ต่างกันตรงที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่าสามารถเลือกได้ว่าจะซื้อ ต่อสัญญาเช่า หรือส่งคืนทรัพย์ให้กับผู้เช่า)
.
บริการให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ครั้งแรก จะเริ่มทดลองที่ IKEA สวิสเซอร์แลนด์ภายในเดือนนี้ โดยจะให้เช่าแบบลิสซิ่งเฟอร์นิเจอร์หลายประเภท นำร่องเจาะกลุ่มลูกค้าองค์กร (B2B) และคาดหวังว่าจะขยายบริการนี้ไปยังตลาดผู้บริโภคทั่วไป (B2C) ซึ่งโมเดลให้เช่า จะทำให้ IKEA ต้องปรับเปลี่ยนการสมัครสมาชิกให้มีรูปแบบแตกต่างกัน
.
“เราทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เพื่อให้ลูกค้าเช่าเฟอร์นิเจอร์ของ IKEA และเมื่อระยะเวลาเช่าสิ้นสุดลง ลูกค้าสามารถส่งคืนมาที่เราได้ หากสนใจเช่าเฟอร์นิเจอร์อื่นเพิ่มเติม ก็ทำสัญญาเช่าต่อได้ เพราะแทนที่ลูกค้าจะทิ้งเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้แล้ว เราให้บริการรูปแบบเช่า เมื่อลูกค้าเอามาคืน เราเอามา Refurbish เฟอร์นิเจอร์เหล่านั้น” Torbjorn Loof ผู้บริหาร Inter IKEA ให้สัมภาษณ์ Financial Times
.
บริการใหม่ดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ จากเดิมตั้งสาขาขนาดใหญ่นอกเมือง และให้ลูกค้าเดินทางไปซื้อสินค้าด้วยตัวเอง แต่เมื่อไม่นานได้ยักษ์ธุรกิจค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์รายนี้ ได้เปิดสาขารูปแบบใหม่ ขนาดเล็กลง ตั้งใจกลางเมือง เพื่อเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น อีกทั้งเปิดแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อสร้างความสะดวกให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ อีกทั้งบริการให้เช่า ทำให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์ได้ง่ายขึ้น
.
ที่สำคัญเป็นการต่อจิ๊กซอว์เป้าหมายปี 2030 สินค้าทุกชิ้นที่วางจำหน่าย ต้องทำมาจากวัสดุทดแทน หรือรีไซเคิล และในกระบวนการผลิต ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 70% ต่อหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งตอบรับเทรนด์ “Circular Economy” คือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และลดของเสียที่เกิดการผลิต การบริโภค และการใช้ กลับเข้าสู่กระบวนการที่สามารถนำกลับมาสร้างคุณค่าได้อีก เพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจากการบริโภค-ใช้สิ่งของต่างๆ และทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งภายใต้นิยามของ Circular Economy ประกอบด้วยหลายแนวทาง เช่น Reuse, Refurbishing, Recycling และ Upcycling เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
.
Torbjorn Loof กล่าวเพิ่มเติมว่า “บริการให้เช่าแบบลิสซิ่ง จะเริ่มให้บริการในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์สำนักงาน เช่น โต๊ะ – เก้าอี้ทำงานสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร ( B2B) ซึ่งจะเป็นลูกค้ากลุ่มแรกที่เราทดลองโมเดลธุรกิจใหม่นี้”
.
นอกจากนี้ใน Daily Mail รายงานว่า IKEA หวังจากขยายบริการให้เช่าแบบลิสซิ่ง ไปยังกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C)
.
“เป็นเรื่องที่น่าสนใจถ้าผู้บริโภคพูดว่า การให้เช่าเฟอร์นิเจอร์จะทำให้ฉันสามารถเปลี่ยน และปรับห้องครัวให้ดูทันสมัยขึ้นได้” Torbjorn Loof กล่าวเพิ่มเติม
.
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา “IKEA” ได้เริ่มดำเนินธุรกิจบนแนวคิด “Circular Economy” มาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยก่อนหน้านี้ ได้ให้บริการรับซื้อคืนเฟอร์นิเจอร์ เช่น IKEA ประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำชิ้นส่วนไปรีไซเคิล และเมื่อช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทดสอบโปรแกรมรับซื้อคืนแล้วที่ฟินแลนด์ โดยสมาชิกบัตร IKAM Family ในฟินแลนด์ จะได้รับบัตรกำนัลสำหรับการนำเฟอร์นิเจอร์เก่ามาเปลี่ยน จากนั้น IKEA นำเฟอร์นิเจอร์ที่รับซื้อคืน ไปบริจาคให้กับองค์กรการกุศลท้องถิ่น เพื่อทำให้เกิดประโยชน์การใช้สูงสุด
.
#Retailer #Ikea #Feb19 #ข่าวค้าปลีก
「ข่าวค้าปลีก」的推薦目錄:
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 Elizabeth Sadler Facebook 的精選貼文
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 Elizabeth Sadler Facebook 的最佳貼文
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 Elizabeth Sadler Facebook 的最佳解答
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 เทรนด์ใหม่ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” หนุนค้าปลีกโต | BUSINESS WATCH 的評價
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 มิกซ์ยูสผุด 126 โครงการค้าปลีกชิงพื้นที่! | BUSINESS WATCH 的評價
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 ข่าวค้าปลีก 的評價
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 คณะผู้บริหาร 的評價
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 ธุรกิจน้ำมัน และค้าปลีก 的評價
- 關於ข่าวค้าปลีก 在 PTT Retail Management Company Limited1 的評價
ข่าวค้าปลีก 在 Elizabeth Sadler Facebook 的最佳貼文
ชี้ช่องรวยเปิดลิสต์ “สินค้าไทย” โดนใจนักช็อปออนไลน์ “จีน-อินเดีย-อินโด”
.
โดย ประชาชาติธุรกิจ
.
อีคอมเมิร์ซไทยยังโตไม่หยุด และกลายเป็นทั้งอาชีพหลักอาชีพเสริมของหลายๆ คนในยุคนี้ แม้จะเป็นช่องทางให้สินค้าจีนบุกเข้าไทยอย่างมาก แต่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดเกี่ยวกับ “สินค้าไทย” ที่นักช็อปออนไลน์ ใน 3 ประเทศที่ประชากรมากติดอันดับโลกอย่าง จีน, อินเดีย และอินโดนีเซีย ชื่นชอบ
.
>> นักช็อปออนไลน์จีน
.
สินค้าไทยที่นักช็อปออนไลน์ “จีน”ชอบคือ ยาหม่องและสมุนไพร อาทิ ยาหม่องโพธิ์หยกสมุนไพร ยาหม่องจินยูฟู๋ ยาดมตราโป๊ยเซียน ยาอมตราตะขาบ
.
ยาหม่องและสมุนไพร
= ยาหม่องโพธิ์หยกสมุนไพร
= ยาหม่องจินยูฟู๋
= ยาดมตราโป๊ยเซียน
.
Skin Care
= Ray
= Mistine
= THANN
= HARN
= PANBURI
=ERB
.
Skin and Body Care
= Banana Boat
= Beauty Buffet
.
Herbs and Food
= Nude
= Takarb anti-cough pills
.
Cloths and Bags
= NaRa Ya
.
>> นักช็อปออนไลน์อินเดีย
.
ส่วนนักช็อปอินเดียชอบเครื่องปรุงอาหารไทย เครื่องสำอางค์ สินค้าสปา น้ำมันเหลือง
.
>> นักช็อปออนไลน์อินโดนีเซีย
.
นักช็อปอินโดนีเซีย ชอบผัดไทยสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลาหมึกอบ ถั่วลิสงอบกรอบและนมอัดเม็ด
.
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ สพธอ. เปิดเผยว่า สินค้าไทยมีเอกลักษณ์เป็นที่นิยมของนักช็อปต่างชาติ จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ที่ไม่ควรรอให้นักท่องเที่ยว “หิ้ว”กลับไปขาย แต่ควรใช้โอกาสนี้ศึกษาหาช่องทางเป็นร้านค้าออนไลน์ตามแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมของผู้บริโภคประเทศเป้าหมาย
.
“ที่ผ่านมา สพธอ. ได้ช่วยผลักดันให้ผู้ประกอบการไทย เข้าไปเปิดร้านค้าบน Tmall แล้ว 140 ราย ตั้งเป้าจะผลักดันให้มากขึ้นอีก”
.
#FMCG #Ecommerce #Tmall #ChineseTourist #Feb19 #ข่าวค้าปลีก
ข่าวค้าปลีก 在 Elizabeth Sadler Facebook 的最佳解答
CJ Express ร้านสะดวกซื้อ แบรนด์ไทย พ่ายแค่ยักษ์ใหญ่ 7-ELEVEN เจ้าเดียว
.
โดย Marketeer
.
ถ้าถามว่า วันนี้ “ร้านสะดวกซื้อ” สัญชาติญี่ปุ่นระดับ Big Player มีใครที่ทำธุรกิจนี้ในเมืองไทยแล้วได้กำไรบ้าง?
.
คำตอบคือมีแค่ 7-ELEVEN ของ CP ALL ที่ซื้อแฟรนไชส์มาจากประเทศญี่ปุ่นเพียงเจ้าเดียวเท่านั้นที่โกยกำไรแต่ละปีมากกว่า 15,000 ล้านบาท
.
นอกนั้นร้านสะดวกซื้อรายอื่นๆ อย่าง Family Mart และ LAWSON 108 ตัวเลขในบัญชีบริษัทยังเป็นสีแดง ขาดทุนต่อเนื่อง
.
และในวันที่หลายคนมองว่า 7-ELEVEN ยากที่จะหาใครมาต่อกร และกำลังกินรวบตลาดร้านสะดวกซื้อในเมืองไทย เพราะคู่แข่งยักษ์ใหญ่อีก 2 รายที่มีสัญชาติญี่ปุ่นเหมือนกัน ยังไม่มีวี่แววว่าจะมี “กำไร” ในธุรกิจนี้
.
แต่กลับมีร้านสะดวกซื้อแบรนด์ไทยร้านหนึ่งที่มีจุดกำเนิดในจังหวัดราชบุรีเมื่อ 14 ปีที่แล้ว สามารถขยายสาขาได้ถึง 250 สาขา และมีกำไรต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2560 มีรายได้ 9,219 ล้านบาท และกำไร 205 ล้านบาท
.
>> ร้านสะดวกซื้อนี้ชื่อ CJ Express
.
คำถามที่น่าสนใจคืออะไรที่ทำให้ภายในเวลา 14 ปี CJ Express มีมากกว่า 250 สาขา (รวมสาขาที่เป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก) แถมยังมี “กำไร” ในการทำธุรกิจเป็นกอบเป็นกำ ซึ่งในขณะที่ Family Mart และ LAWSON 108 ยังไม่เคยรู้จักคำว่า “กำไร” นับตั้งแต่เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย
.
อันดับแรกสุด คือทำเล เพราะหากสังเกตสาขาของ CJ Express ใน 22 จังหวัดที่ตัวเองเข้าไปทำตลาด ถึงจะมีบางทำเลชนกับ 7-ELEVEN และร้านสะดวกซื้อรายอื่นๆ โดยตรง แต่นั่นคือส่วนน้อย เพราะทำเลที่ CJ Express ปักหมุดส่วนใหญ่คือ พื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก และปริมณฑล รวมทั้งในภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก และใต้ตอนบน ที่เป็นแหล่งชุมชน ย่านโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งคนพลุกพล่านพักอาศัย
.
และหากสังเกตรูปแบบการขยายสาขาของ CJ Express คือในแต่ละจังหวัดจะค่อยๆ เริ่มต้นด้านนอกรอบๆ ตัวเมือง จากนั้นจึงค่อยๆ ขยับเข้าสู่ใกล้ๆ ใจกลางเมือง
.
อีกหนึ่ง “จุดขาย” ของ CJ Express ก็คือ การมีสินค้าแบรนด์เล็กๆ ที่มีราคาขายถูกกว่าร้านสะดวกซื้อญี่ปุ่นทุกราย เพราะหากใครเข้าไปในร้านนี้จะเจอแบรนด์สินค้าที่หาไม่ได้ตามร้านสะดวกซื้ออื่นๆ อาทิ แบรนด์ “ยกนิ้ว” ที่ขายสินค้าประเภทสารพัดเครื่องปรุงรสราคาถูก, ขนมขบเคี้ยวแบรนด์ “เลเยอร์”, ครีมอาบน้ำ ”จอย” หรือแม้แต่สารพัดน้ำพริกสำเร็จรูป ร้านนี้ก็มีให้เลือกซื้อมากมาย อีกทั้งสินค้าเกือบทุกประเภทยังมีราคาขายแบบ “ยกลัง” หรือจะซื้อปลีกก็แล้วแต่ลูกค้า
.
“สวนทาง” กับร้านสะดวกซื้อรายอื่นๆ ที่ผันตัวเองไปสู่ร้าน “อิ่มสะดวก” ที่เกือบทุกรายต่างเดินตามรอย 7-ELEVEN ที่มีสารพัดเมนูอาหาร RTE และอาหารรับประทานเล่นมากมาย
.
แต่ CJ Express เลือกเน้นขายสินค้าของใช้ในชีวิตประจำวันที่ราคาถูกกว่าคู่แข่ง ที่มาพร้อมน้ำพริกรสเด็ด อาหารรับประทานเล่นแบบบ้านๆ
.
ด้วยกลยุทธ์ราคาสินค้า แน่นอนกลุ่มลูกค้าหลักของ CJ Express จะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหาเช้ากินค่ำเป็นหลัก ทำให้มีการจัดโปรโมชั่นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะโปรโมชั่นราคาที่จะหมุนเวียนเปลี่ยนในทุกๆ 2 สัปดาห์
.
โดยโปรโมชั่นเด็ดที่โดนใจมหาชน ก็คือ ลูกค้าที่ถือบัตร “สวัสดิการแห่งรัฐ” ที่จะได้ส่วนลดในการซื้อสินค้าหรือสะสมยอดซื้อสินค้าเพื่อรับแลกของรางวัล
.
>> เมื่อ “คาราบาวแดง” อยากเป็นเจ้าของร้านสะดวกซื้อ
.
ส่วนที่เป็น “จุดเปลี่ยน” ครั้งสำคัญของ CJ Express ก็คือการเปลี่ยนมือเจ้าของในช่วงกลางปี พ.ศ.2556
.
เมื่อ“เสถียร เศรษฐสิทธิ์” ประธานกรรมการบริหารเครื่องดื่ม “คาราบาวแดง” และพันธมิตร เข้ามาซื้อหุ้นบริษัทต่อจากนาย “วิทย์ ศศลักษณานนท์” เจ้าของเดิม
.
ทำให้ “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่า 80% ของบริษัท ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด
.
และเมื่อได้เจ้าของใหม่ที่มีเงินทุนหนา CJ Express ก็มีพลังในการทำธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
.
จริงอยู่ แม้การซื้อครั้งนี้จะเป็นการให้เครื่องดื่ม “คาราบาวแดง” ลดภาระค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าไปวางขายในร้าน CJ Express แต่นั่น แค่ผลพลอยได้
.
เพราะเป้าหมายของ “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” คือการให้ CJ Express ไปไกลกว่าที่อยู่ในมือเจ้าของคนเดิม
.
โดยเริ่มต้น CJ Express ในยุค “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” ก็คือการโฆษณาผ่านทาง TVC เพราะที่ผ่านมาแม้ธุรกิจจะมีกำไร แต่หากถามคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัด ที่แถวบ้านตัวเองไม่มี CJ Express ไปเปิดสาขานั้น
.
หลายคนยังไม่รู้จัก CJ Express และเมื่อค่อยๆ ทำให้คนทั่วประเทศค่อยๆ รู้จักร้านสะดวกซื้อสัญชาติไทยรายนี้มากขึ้นกว่าในอดีต
.
เป้าหมายของ “เสถียร เศรษฐสิทธิ์” ก็คือการกระจายสาขาให้ครอบคลุมมากกว่าที่เป็นอยู่แค่ 22 จังหวัด
M
แผนการลงทุน 4,000 ล้านบาทในช่วง 3 ปีต่อจากนี้ นอกจากปรับปรุงสาขาที่มีอยู่ 250 สาขาแล้วนั้น ก็คือการขยายสาขาให้ครบ 600 สาขา ภายในปี พ.ศ.2563 และในอนาคตจะมีแผนใช้โมเดลแฟรนไชส์ เพื่อเร่งสปีดจำนวนสาขา รวมทั้งการขยายสาขาไปในกลุ่มประเทศ AEC
.
>> พร้อมกับตั้งเป้าหมายรายได้ในปี พ.ศ.2563 คือ 20,000 ล้านบาท
.
ความสำเร็จของ CJ Express กลายเป็นโมเดลร้านสะดวกซื้อแบรนด์ไทย 100% ที่แสดงให้เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเดินตามรอยเท้ายักษ์ใหญ่เหมือนร้านสะดวกซื้อแบรนด์ญี่ปุ่นที่เสิร์ฟเมนูอาหารญี่ปุ่น, ไส้กรอกฟุตลอง, ข้าวผัดอเมริกัน
.
แต่ CJ Express เลือกจะเสิร์ฟน้ำพริกบ้านๆ ราคาถูก ซึ่งเป็น “จุดขาย” และคาแรกเตอร์ที่ “แตกต่าง” ของตัวเอง
.
แถมเป็นความ “ต่าง” ที่สามารถชนะใจลูกค้าของตัวเอง
.
#Retailer #CJexpress #Feb19 #ข่าวค้าปลีก
ข่าวค้าปลีก 在 มิกซ์ยูสผุด 126 โครงการค้าปลีกชิงพื้นที่! | BUSINESS WATCH 的推薦與評價
... #ที่ดิน #อสังหา #ภาษีที่ดิน #โครงการมิกซ์ยูส # ค้าปลีก พบกับรายการ BUSINESS WATCH ... ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานี ข่าว ที่ถือหลักการของการนำเสนอ ข่าว ตรงประเด็น ... ... <看更多>
ข่าวค้าปลีก 在 ข่าวค้าปลีก 的推薦與評價
Case Study แคมเปญการตลาดแบบ #บ้าบิ่น แต่ช่วย ROI ตามโมเดลของ Domino's Pizza . โดย MarketingOops! . “ในยุคที่คู่แข่งธุรกิจอยู่รายล้อมเรา สิ่งเดียวที่ทำได้ คือ ... <看更多>
ข่าวค้าปลีก 在 เทรนด์ใหม่ “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” หนุนค้าปลีกโต | BUSINESS WATCH 的推薦與評價
... 1 หมื่นบาทปีหน้า ส่งผลดีธุรกิจใด พบเทรนด์ช้อป “ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง” ดัน ค้าปลีก โต ... ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานี ข่าว ที่ถือหลักการของการนำเสนอ ข่าว ตรงประเด็น รวดเร็ว ... ... <看更多>