พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ 60
(อนึ่งบทความนี้ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า คอลัม นิสต์ ปรีชาทัศน์ วันศุกร์ ที่ 15 กับ 22 มกราคม 2564 หน้า 2)
ภายใต้รัฐ 2560 ได้กำหนดให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการตีความกฎหมายมหาชน ของพระองค์เองโดยเฉพาะ แยกพิจารณาการออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยกับการใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองแต่มิได้เป็นไปตามลำพังพระราชตามอัธยาศัย ดังนี้
1.1 การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย จะมี 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ 1 การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยที่ไม่เป็นไปตามลำพังพระองค์เอง มีดังต่อไปนี้
1) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในกรณีที่ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือทรงประชวร ทรงผนวช ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ มาตรา 16
2) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 โดยให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมตามพระราชดำริ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อให้นำแจ้ง รัฐสภาทราบ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป มาตรา 20
3) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการแต่งตั้งพระรัชทายาท ซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 แล้วแจ้งรัฐสภาทราบ มาตรา 20
4) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องราชอิสรยาภรณ์ มาตรา 9
ลักษณะที่ 2 การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเพียงลำพังพระองค์เอง เช่น
1) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการเลือก แต่งตั้ง ถอดถอนองคมนตรี อันเป็นมรดกตกทอดมาจากในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็น The Privy Council แบบของอังกฤษ เป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปรึกษาและหน้าที่อื่น ๆ มาตรา 11
2) การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระมหากษัตริย์ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย มาตรา 15
3) การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในอันที่จะยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว มาตรา 81 เมื่อรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งแล้ว ประธานรัฐสภาจะต้องส่งร่างกฎหมายนั้นให้แก่นายกรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย ภายใน 20 วันและเมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชวินิจฉัยได้ 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ทรงเห็นชอบภายใน 90 วัน พระมหากษัตริย์ทรงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
กรณีที่ 2 ทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้นและพระราชทานคืนมายังรัฐสภาภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าถวาย อันถือว่าทรงยับยั้ง (veto) โดยชัดแจ้ง
กรณีที่ 3 คือพระมหากษัตริย์ไม่ทรงผ่านพระราชทานร่างกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ และส่งมายังรัฐสภาภายใน 90 วันซึ่งเมื่อเวลา 90 วันล่วงพ้นไปก็ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรง ยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายนั้นโดยปริยาย ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์จะทรง ยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ตาม รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) จะต้องพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นอีกครั้งหนึ่ง และหากรัฐสภาลงมติร่างกฎหมายนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างกฎหมายฉบับนั้นทูลเกล้าถวายฯอีกครั้งหนึ่ง และหากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างกฎหมายฉบับนั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้ลงพระปรมาภิไธย
แต่ถ้ารัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) มีมติยืนยันร่างกฎหมาย ที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้ง (veto) โดยชัดแจ้งหรือปริยายด้วยคะแนนเสียงไม่ถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภา ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็ตกไปนำไปประกาศใช้ไม่ได้
พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในอันที่จะยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แล้วไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดถวายคำแนะนำและไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดลงนามรับรองพระบรมราชโองการซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นว่า พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจที่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับองค์กรอื่น
ข้อสังเกต การตีความกฎหมายมหาชนในกรณีพระราชอำนาจเฉพาะที่ใช้โดยพระองค์เป็นไปตามพระราชอำนาจตามอัธยาศัยเพียงลำพังในการยับยั้งร่างกฎหมายที่ไม่เด็ดขาด คือ แม้พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายใด จึงไม่ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมา รัฐสภาก็ยังสามารถลงคะแนนเสียงเพื่อยืนยันการประกาศใช้ร่างกฎหมายที่ถูกยับยั้งได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายนี้จึงเป็นเพียงการยับยั้งเพื่อการถ่วงเวลาเท่านั้น
4) การใช้พระราชอำนาจตีความตามรัฐธรรมนูญ ทึ่เป็นจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 5 วรรค 2
1.2 พระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นไปตามอัธยาศัย
พระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นไปตามอัธยาศัยเป็นการใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนผ่านทาง (คือ การใช้พระราชอำนาจที่มีบุคคลกระทำการแทน) รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือของคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) หรือผ่านทางศาล ภายใต้มาตรา 3 กำหนดไว้ ได้แก่
1. ทรงใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา ดังนี้
1) ทรงแต่งตั้งประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธาน รองประธานวุฒิสภา จากสมาชิกแห่งสถาบันนั้นๆ ตามมติของสภามาตรา 116
2) ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มาตรา 106
3) ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม มาตรา 122 เป็นต้น
2. ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล) ได้แก่
1) ทรงมีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่ มาตรา 103
2) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี มาตรา 158
3) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี มาตรา 117
4) พระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนด มาตรา 172-174
5) พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกามาตรา 175
6)พระราชอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการตามลักษณะและวิธีการที่กฎหมายกำหนดมาตรา 176
7) พระราชอำนาจในการประกาศสงครามโดยการเสนอแนะของคณะรัฐมนตรีและต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา มาตรา 177
😎 พระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ มาตรา 178
9) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง
10) การใช้พระราชอำนาจในการรับฎีการ้องทุกข์จากราษฎร ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
(1) ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการออกพระราชกฤษฎีกา และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 179
(1) ฎีการ้องทุกข์ขอความเป็นธรรม ซึ่งได้แก่ ร้องทุกข์ขอยืมเงิน ร้องทุกข์เรื่องการแบ่งมรดกไม่เป็นธรรม ร้องทุกข์ถูกข้าราชการรังแก ร้องทุกข์เรื่องรักษาพยาบาล ร้องทุกข์เรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย เป็นต้น มาตรา 5 วรรค 2
3. ทรงใช้พระราชอำนาจตีความกฎหมายมหาชนผ่านทางตุลาการ ซึ่งประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร มาตรา 3 ประกอบมาตรา 188-199
4. ทรงใช้พระราชอำนาจตีความกฎหมายมหาชนแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจ กึ่งบริหาร กึ่งนิติบัญญัติและกึ่งตุลาการผ่านทางวุฒิสภา ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 222-227 ผู้ตรวจการแผ่นดิน มาตรา 228-231 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 232-237 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มาตรา 238-245 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาตรา 246-247 เป็นต้น
สรุป นี่คือ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ในการตีความกฎหมายมหาชน ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ที่จะเกิดขึ้นนี้ไม่ว่าจะแก้ไข ในหมวดไหน แม้แต่ยกเว้นห้ามแก้ไขในหมวด 1 หมวด 2 ก็ตาม ก็กระทบกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過62萬的網紅ณัชชา พุฒ พร้อม เภา,也在其Youtube影片中提到,ติดตามเทคนิคดีๆ ของพี่บ๊อบ และเรื่องราวน่ารักๆ ของน้องณัชชา กันต่อได้ที่ http://www.clickforclever.com Click สนุก Click ฉลาด Click เพื่อการเรียนรู้ Cl...
「คณะกรรมการการเลือกตั้ง」的推薦目錄:
- 關於คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 ณัชชา พุฒ พร้อม เภา Youtube 的最讚貼文
- 關於คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง | Bangkok - Facebook 的評價
- 關於คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 รู้ทันเลือกตั้งกับ กกต. ตอน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และอำนาจหน้าที่ 的評價
คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
ข้อสังเกตเกี่ยวกับพระราชอำนาจการตีความกฎหมายของพระมหากษัตริย์
(ข้อมูลส่วนหนึ่งใน “หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาขน”)
ในกรณีของประเทศไทยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้ให้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการตีความกฎหมายมหาชน ซึ่งเป็นการใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองโดยเฉพาะ แยกพิจารณาการออกเป็น 2 ลักษณะ คือ การใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยกับการใช้พระราชอำนาจของพระองค์เองแต่มิได้เป็นไปตามลำพังพระราชตามอัธยาศัย ดังนี้
1.1 การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัย จะมี 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะที่ 1 การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยที่ไม่เป็นไปตามลำพังพระองค์เอง มีดังต่อไปนี้
1) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในกรณีที่ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักรหรือทรงประชวร ทรงผนวช ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
2) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 โดยให้คณะองคมนตรีจัดทำร่างกฎมณเฑียรบาลแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลเดิมตามพระราชดำริ นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วแจ้งไปยังประธานรัฐสภาเพื่อให้นำแจ้ง รัฐสภาทราบ ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
3) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการแต่งตั้งพระรัชทายาท ซึ่งเป็นไปตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 แล้วแจ้งรัฐสภาทราบ
4) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องราชอิสรยาภรณ์
ลักษณะที่ 2 การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระองค์เองเป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเพียงลำพังพระองค์เอง เช่น
1) พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในการเลือก แต่งตั้ง ถอดถอนองคมนตรี อันเป็นมรดกตกทอดมาจากในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินเป็น The Privy Council แบบของอังกฤษ เป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์ ทำหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปรึกษาและหน้าที่อื่น ๆ
2) การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนของพระมหากษัตริย์ การแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
3) การใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนในอันที่จะยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว เมื่อรัฐสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภามีมติให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งแล้ว ประธานรัฐสภาจะต้องส่งร่างกฎหมายนั้นให้แก่นายกรัฐมนตรีเพื่อให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมาย ภายใน 20 วันและเมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชวินิจฉัยได้ 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1 ทรงเห็นชอบภายใน 90 วัน พระมหากษัตริย์ทรงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายในราชกิจจานุเบกษา
กรณีที่ 2 ทรงไม่เห็นชอบด้วยในร่างกฎหมายฉบับนั้นและพระราชทานคืนมายังรัฐสภาภายใน 90 วันนับตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าถวาย อันถือว่าทรงยับยั้ง (veto) โดยชัดแจ้ง
กรณีที่ 3 คือพระมหากษัตริย์ไม่ทรงผ่านพระราชทานร่างกฎหมายที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ และส่งมายังรัฐสภาภายใน 90 วันซึ่งเมื่อเวลา 90 วันล่วงพ้นไปก็ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรง ยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายนั้นโดยปริยาย ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์จะทรง ยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ตาม รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) จะต้องพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติฉบับนั้นอีกครั้งหนึ่ง และหากรัฐสภาลงมติร่างกฎหมายนั้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้ง 2 สภา นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างกฎหมายฉบับนั้นทูลเกล้าถวายฯอีกครั้งหนึ่ง และหากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยภายใน 30 วัน นายกรัฐมนตรีจึงนำร่างกฎหมายฉบับนั้นไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับ เสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ทรงได้ลงพระปรมาภิไธย
แต่ถ้ารัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) มีมติยืนยันร่างกฎหมาย ที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้ง (veto) โดยชัดแจ้งหรือปริยายด้วยคะแนนเสียงไม่ถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภา ร่างกฎหมายฉบับนั้นก็ตกไปนำไปประกาศใช้ไม่ได้
พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในอันที่จะยับยั้ง (veto) ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) แล้วไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดถวายคำแนะนำและไม่จำเป็นต้องมีองค์กรใดลงนามรับรองพระบรมราชโองการซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นว่า พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจที่ไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับองค์กรอื่น
ข้อสังเกต การตีความกฎหมายมหาชนในกรณีพระราชอำนาจเฉพาะที่ใช้โดยพระองค์เป็นไปตามพระราชอำนาจตามอัธยาศัยเพียงลำพังในการยับยั้งร่างกฎหมายที่ไม่เด็ดขาด คือ แม้พระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายใด จึงไม่ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานคืนมา รัฐสภาก็ยังสามารถลงคะแนนเสียงเพื่อยืนยันการประกาศใช้ร่างกฎหมายที่ถูกยับยั้งได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย พระราชอำนาจยับยั้งร่างกฎหมายนี้จึงเป็นเพียงการยับยั้งเพื่อการถ่วงเวลาเท่านั้น
1.2 พระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นไปตามอัธยาศัย
พระราชอำนาจในการตีความกฎหมายมหาชนที่ไม่เป็นไปตามอัธยาศัยเป็นการใช้พระราชอำนาจการตีความกฎหมายมหาชนผ่านทาง (คือ การใช้พระราชอำนาจที่มีบุคคลกระทำการแทน) รัฐสภา (ฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือของคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร) หรือผ่านทางศาล ภายใต้มาตรา 3 กำหนดไว้ ได้แก่
1. ทรงใช้พระราชอำนาจด้านนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา ดังนี้
1) ทรงแต่งตั้งประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธาน รองประธานวุฒิสภา จากสมาชิกแห่งสถาบันนั้นๆ ตามมติของสภา
2) ทรงแต่งตั้งผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
3) ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม
2. ทรงใช้พระราชอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล) ดังนี้
1) ทรงมีอำนาจยุบสภาผู้แทนราษฎรให้มีการเลือกตั้งใหม่
2) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
3) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนรัฐมนตรี
4) พระราชอำนาจในการตราพระราชกำหนด
5) พระราชอำนาจในการตราพระราชกฤษฎีกา
6)พระราชอำนาจในการประกาศใช้และยกเลิกกฎอัยการตามลักษณะและวิธีการที่กฎหมายกำหนด
7) พระราชอำนาจในการประกาศสงครามโดยการเสนอแนะของคณะรัฐมนตรีและต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
😎 พระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึกและสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ
9) พระราชอำนาจในการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง
10) การใช้พระราชอำนาจในการรับฎีการ้องทุกข์จากราษฎร ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
(1) ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการออกพระราชกฤษฎีกา และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(1) ฎีการ้องทุกข์ขอความเป็นธรรม ซึ่งได้แก่ ร้องทุกข์ขอยืมเงิน ร้องทุกข์เรื่องการแบ่งมรดกไม่เป็นธรรม ร้องทุกข์ถูกข้าราชการรังแก ร้องทุกข์เรื่องรักษาพยาบาล ร้องทุกข์เรื่องที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย เป็นต้น
3. ทรงใช้พระราชอำนาจตีความกฎหมายมหาชนผ่านทางตุลาการ ซึ่งประกอบด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร
4. ทรงใช้พระราชอำนาจตีความกฎหมายมหาชนแต่งตั้งบุคคลในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจ กึ่งบริหาร กึ่งนิติบัญญัติและกึ่งตุลาการผ่านทางวุฒิสภา ได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น
คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
"มาตรา ๑๓๒ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ : กับการออกแบบที่สับสน"
สิทธิกร ศักดิ์แสง
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ผมได้สนทนากับอาจารย์ในคณะประเด็นการควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ว่ามีการควบคุมอย่างไร ใครเป็นผู้เสนอ ใครเป็นผู้พิจารณา เพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ นั้นรัฐสภาพิจารณาเสร็จต้องส่งให้ (อำนาจผูกพัน) ศาลรัฐธรรมนูญควบคุม แต่ในปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้เปลี่ยนหลักการไปทำให้เกิดการถกเถียงกันผมเลย เก็บมาคิดและเขียนในไอโฟน
เมื่อพิจารณาศึกษาการควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ จะปรากฎอยู่ ๒ ระยะด้วยกัน คือ ระยะที่ ๑ ภายใต้มาตรา ๑๓๒ กับระยะที่ ๒ ภายใต้มาตรา ๑๔๘ แต่ในส่วนนี้จะกล่าว การควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ในระยะที่ ๑ ภายใต้มาตรา ๑๓๒ กล่าวคือ
"มาตรา ๑๓๒ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ นอกจากที่บัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
(๑) การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อรัฐสภา และให้รัฐสภา ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน โดยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สาม ต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของรัฐสภา ถ้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่ารัฐสภาให้ความเห็นชอบตามร่างที่เสนอตามมาตรา ๑๓๑
(๒) ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความเห็น ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ไม่มีข้อทักท้วง ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับร่างดังกล่าว ให้รัฐสภาดําเนินการต่อไป
(๓) ในกรณีที่ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบมีข้อความใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือทําให้ ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญได้ ให้เสนอความเห็นไปยังรัฐสภา และให้รัฐสภาประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเห็นดังกล่าว ในการนี้ ให้รัฐสภามีอํานาจแก้ไขเพิ่มเติมตามข้อเสนอของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ตามที่เห็นสมควรได้ และเมื่อดําเนินการเสร็จแล้ว ให้รัฐสภาดําเนินการต่อไป"
มีประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ถึงความสับสนในการออกแบบการควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
ประเด็น รัฐสภาเสนอต่อใคร
ในประเด็น มาตรา ๑๓๒ (๒) เกี่ยวกับการ"ให้รัฐสภา"ส่งไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง พิจารณาควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมิให้ขัดกับรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจผูกพัน เมื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว "ให้รัฐสภา" (อำนาจผูกพัน)
แต่พบปัญหาในการออกแบบที่สับสนก่อปัญหาให้เกิดการตีความว่าส่งให้ "ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญหรือ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง" พิจารณาควบคุมมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ประเด็นนี้ จะว่าจะเป็น"อำนาจผูกพัน"หรือ "อำนาจดุลพินิจ" ดังนี้
๑.ถ้าเป็นอำนาจผูกพัน รัฐสภา มี 2 แนวทาง
๑)รัฐสภาต้องส่งให้ศาลฎีา ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง คือ กำหนดผูกพันเลยว่า ทุกพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องส่ง ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง
๒) รัฐสภาต้องส่งให้องค์กรที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ อาจเป็นศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้ที่รักษาการให้เป็นไปตามกฎหมาย
๒.ถ้าเป็นดุลพินิจ รัฐสภาจะส่งให้ใครก็ได้ ศาลฎีกา ส่งศาลรัฐธรรมนูญ ส่งองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมด
ในความเห็นผู้เขียน เห็นว่า มาตรา ๑๓๒ (๒) มีเจตนารมณ์ให้รัฐสภาใช้อำนาจผูกพันส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไปให้อง์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ตามองค์กรที่เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นและองค์กรที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นเช่นกัน
อนึ่งถ้ารัฐสภาใช้อำนาจดุลพินิจที่ จะต้องการ ส่งให้ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับและส่งให้องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องพิจารณาควบคุมมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ จะทำได้หรือไม่
ประเด็นผู้พิจารณา
เมื่อมาตรา ๑๓๒ (๒) มีเจตนารมณ์ให้รัฐสภาใช้อำนาจผูกพันส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไปให้องค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ ตามองค์กรที่เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นและองค์กรที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับนั้นเช่นกัน เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้รักษาการตามกฎหมาย ซึ่งมีประเด็นเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง ต้องถือว่า คณะกรรมการเลือกตั้ง (องค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง) ต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน คือ ศาลรัฐธรรมนูญด้วยกับรัฐสภา แต่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่เห็นด้วยกับรัฐสภา หรือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่เห็นด้วยกับรัฐสภาแต่ คณะกรรมาการการเลือกตั้งเห็นด้วยกับรัฐสภา ต้องส่งไปยังรัฐสภาพิจารณาแก้ไข แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน "ให้รัฐสภาดำเนินการต่อไป"
ซึ่งคำว่า "ให้รัฐสภาดำเนินการต่อไป" ดำเนินไปไหนอย่างไร ไม่ได้เขียนไว้จึงเกิดความสับสน ออกแบบมาตราที่ไม่เคลียร์ก่อปัญหาให้เกิดการตีความสร้างความยุ่งยากในการบังคับใช้กฎหมาย
สรุป มาตรา ๑๓๒ การควบคุมร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ สุดท้ายเป็นอำนาจของรัฐสภาอยู่ ไม่ได้เป็นการถ่วงดุลอำนาจตามแนวคิดทฤษฎีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญที่เขาใช้กันทั่วๆไป ในอารยประเทศที่วางหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 ณัชชา พุฒ พร้อม เภา Youtube 的最讚貼文
ติดตามเทคนิคดีๆ ของพี่บ๊อบ และเรื่องราวน่ารักๆ ของน้องณัชชา กันต่อได้ที่ http://www.clickforclever.com
Click สนุก Click ฉลาด Click เพื่อการเรียนรู้ ClickforClever
คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 รู้ทันเลือกตั้งกับ กกต. ตอน คณะกรรมการการเลือกตั้ง และอำนาจหน้าที่ 的推薦與評價
Your browser can't play this video. Learn more. Switch camera. ... <看更多>
คณะกรรมการการเลือกตั้ง 在 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 288081 คน · 623 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 3936 คนเคยมาที่นี่.... ... <看更多>