ถาม แนวคิด ของ เจเรมี เบรแธม กับแนวคิดแบบอรรถประโยชน์ที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไร
ตอบ เบนแธม: จริยธรรมอรรถประโยชน์เป็นจริยธรรมที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) อรรถประโยชน์ เบนแธม จะยึดเรื่องเกี่ยวกับความถูกต้องของจริยธรรมอรรถประโยชน์ว่า เป็นจริยธรรมที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ ในแง่ที่ว่าไม่ได้เป็นจริยธรรมที่กำหนดโดยพระเจ้า แต่สิ่งที่เป็นความถูกต้องของการกระทำนั้นดูจากผลลัพธ์ของการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขหรือก่อให้เกิดความทุกข์ยากความเจ็บปวด ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นวิธีคิดที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์
คำอธิบายของ เบนแธม นั้นมีจุดที่สำคัญ คือ เขาได้ย้ำรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องความสุขว่าเป็นสิ่งที่เป็นความสุขที่มนุษย์ต้องการมีถึง 14 ประการ คือ (1) ความสุขในประสาทสัมผัส (2) ความมั่นคง (3) ความชำนาญสามารถ (4) มิตรภาพ (5) การมีชื่อเสียง (6) อำนาจ (7) ความเชื่อในศาสนา (8) ความเมตตากรุณา (9) ความอาฆาตมาดร้าย (10) ความทรงจำ (11) จิตนาการ (12) การคาดหวัง (13) การคบค้าสมาคมและ (14) การบรรเทาจากความเจ็บปวด ความสุขทั้ง 14 ประการนี้จะมีทั้งความสุขในลักษณะที่ละเอียดและหยาบ วิธีนี้ คือ การมองลักษณะความสุขของมนุษย์ในลักษณะที่มีความซับซ้อนเพื่อจะนำไปวัดใช้ว่าการกระทำนั้นถูกหรือผิด ตัวอย่างเช่น การบรรเทาความเจ็บปวดกรณีคนเป็นมะเร็งอย่างร้ายแรงไม่ต้องการทรมานอีกต่อไป คือ การยินยอมให้เขาทำให้ตาย ซึ่งถ้าเอาทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เบนแธม เข้าไปจับก็เห็นว่าสนับสนุนในเรื่องนี้อยู่
นอกจากความสุขทั้ง 14 ประการ ของ เบนแธม แล้วยังมีการพูดถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยกอบของเรื่องความสุขด้วย การวัดความสุขไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเข้มข้น ความยาวนาน ความแน่นอน ความใกล้ชิดอันเป็นเรื่องรายละเอียดจุดสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ การที่ เบนแธม ค่อนข้างจะเน้นความสุขของปัจเจกชนว่าต้องเป็นความสุขที่ตกแก่ปัจเจกชน แต่ขณะเดียวกันปัจเจกชนนี้อาจจะหมายถึงปัจเจกชนหลาย ๆ คนที่รวมกันเป็นชุมนุมต่าง ๆ ด้วย เมื่อนำมาประยุกต์กับกฎหมาย กฎหมายที่ดีกับกฎหมายที่สอดคล้องกับจริยธรรมแบบอรรถประโยชน์ ก็คือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาหรือเขียนขึ้นแล้วก่อให้เกิดแก่สังคม ยิ่งก่อให้เกิดความสุขเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นความดีความถูกต้อง
ในทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เบนแธม นั้นได้กล่าวว่า การนำกฎหมายมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมนั้นจะต้องมีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการคือ
1. จัดหาปัจจัยสำหรับการดำรงอยู่ (Subsistence)
2. สร้างสรรค์ความมั่งคั่งสมบูรณ์ (Abundance)
3. ให้ความเสมอภาค (Equality)
4. รักษาความมั่นคง (Security)
ในบรรดาเป้าหมายทั้ง 4 ประการนี้ เบนแธม ให้ความสำคัญต่อเรื่อง ความมั่นคงของบุคคลมากที่สุด ความมั่นคงนี้เรียกร้องให้รัฐบาลปกป้องร่างกาย,ชื่อเสียง,ทรัพย์สินและสถานภาพของบุคคลถัดจากเรื่องความมั่นคงก็เป็นเรื่อง “ความเสมอภาค” โดยความเสมอภาค (เบนแธม) หมายถึง ความเสมอภาคในโอกาส มิใช่ความเสมอภาคในเงื่อนไข โดยที่ความเสมอภาคจะเป็นตัวเปิดทางให้เอกชนทุกคนได้แสวงหาความสุขของตัวเองและมีชีวิตอยู่ตามที่ตัวเองปรารถนา
ข้อสังเกต ถึงแม้ว่าอรรถประโยชน์ในแบบฉบับของ เบนแธม จะฉายลักษณะสุขนิยม (Hedonistic Principle) ปัจเจกนิยม (Individualism) หรือเน้นความมั่นคงของปัจเจกบุคคลอย่างสูงในฐานะเป้าหมายหลักการนิติบัญญัติ อีกทั้งไม่ปฏิเสธความชอบธรรมของทรัพย์สินส่วนตัว เบนแธม ก็ไม่เคยยอมรับเรื่อง “สิทธิธรรมชาติอันไม่อาจโอนแก่กันได้” (Inalienable Nature Rights) ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับลัทธิของปัจเจกบุคคลที่อิงอยู่กับเรื่อง กฎหมายธรรมชาติ เบนแธม คิดต้านความคิดเรื่องธรรมชาติว่า เป็น “เรื่องเหลวไหลไร้สาระขัดแย้งในตัวเอง” และ เป็น “ลัทธิอนาธิปัตย์” (Anarchical) ที่เป็นอันตรายต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐดีหรือรัฐเลวก็ตาม การกล่าวอ้างสิทธิธรรมชาติ คือ เป็นการหลงใหลทางความคิดด้วยความเชื่อผิดๆ เรื่องกฎหมายธรรมชาติในฐานะเป็นแหล่งที่มาหนึ่งของสิทธิธรรมชาติ ทฤษฎีสิทธิธรรมชาติจึงสมควรถูกยกเลิกไปพร้อมกับนำลัทธิอรรถประโยชน์เข้ามาแทนที่หรือใช้ตรวจสอบความเป็นรัฐบาลที่ดี
「ความมั่นคง หมายถึง」的推薦目錄:
ความมั่นคง หมายถึง 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ปรัชญากฎหมายตะวันตก
ลัทธิอรรถประโยชน์ (Utilitarianism)
การศึกษาเรื่องลัทธิอรรถประโยชน์ เป็นการศึกษาแนวคิดทางจริยธรรมสายหนึ่งที่มีการนำมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องความถูกต้องของกฎหมายหรือสิ่งที่น่าจะเป็นจริยธรรมทางกฎหมาย (Ethical Jurisprudence)
ข้อสังเกต ลัทธิอรรถประโยชน์สำแดงออกมาอย่างมากโดยผ่านการสนับสนุนของนักคิดนักทฤษฎีฝ่ายปฏิฐานนิยมทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็น เบนแธม ออสติน หรือ ฮาร์ท โดยเฉพาะ เบนแธม ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญของลัทธินี้ในศตวรรษที่ 19
ลัทธิอรรถประโยชน์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับจริยธรรมที่อาจจะนำไปใช้อธิบายความถูกต้องทางการเมือง เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย อรรถประโยชน์เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับความถูกผิดอีกสายหนึ่ง ถ้ามองเทียบกับปรัชญากฎหมายธรรมชาติแล้ว ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมันจะมีจริยธรรม เรื่องเกี่ยวกับสิทธิธรรมชาติที่แตกแขนงมาในส่วนหลัง ซึ่งการจะกล่าวถึงเรื่องสิทธิธรรมชาติ สิทธิต่างๆของมนุษย์ที่กฎหมายจะต้องบัญญัติออกมาให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ลัทธิอรรถประโยชน์จึงเป็นแนวคิดหนึ่งซึ่งอาจจะมองว่าเป็นเสมือนคู่แข่งพวกสิทธิธรรมชาติ คือ เป็นคู่แข่งในแง่ที่ว่ามันมีลักษณะที่หักล้าง ลัทธิอรรถประโยชน์เป็นเรื่องจริยธรรมที่เน้น “เรื่องความสุขเป็นสำคัญ” หลักของลัทธิอรรถประโยชน์ถือว่าความถูกผิดทั้งหลายมิได้อยู่ที่ตัวมันเอง ความถูกผิดของการกระทำอยู่ที่ตัวผลลัพธ์ว่าผลจะสร้างความสุขหรือความทุกข์ การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขก็ คือ ความถูกต้องส่วนการกระทำที่ก่อให้เกิดความทุกข์ก็ไม่ถูกต้อง อรรถประโยชน์นั้นจึงเป็นจริยธรรมที่มองอนาคตหรือผลข้างหน้ามากกว่าจะมองที่ตัวการกระทำโดยตรง เพราะตัวการกระทำนั้นไม่ถูกหรือผิดในตัวมันเอง แต่ความถูกผิดนั้นอยู่ที่ตัวผลลัพธ์อีกทีหนึ่ง
ดังนั้นการศึกษาเรื่องลัทธิอรรถประโยชน์ เป็นการศึกษาแนวคิดทางจริยธรรมสายหนึ่งที่มีการนำมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องความถูกต้องของกฎหมายหรือจริยธรรมทางกฎหมาย มีประเด็นที่น่าศึกษาดังต่อไปนี้
1.ประเด็นเรื่องความสุข
อรรถประโยชน์มองว่าความสุขเป็นสิ่งที่สมควรจะสร้างหรือส่งเสริมให้เกิดขึ้น การกระทำใดที่ก่อให้เกิดความสุขมากเท่าไหร่ก็เป็นความดีมากขึ้นเท่านั้น การกระทำในระดับรัฐ การบริหารหรือออกกฎหมายถ้าก่อให้เกิดความสุขแก่คนจำนวนมากที่สุดก็คือการกระทำที่ถูกต้อง โดยเฉพาะกฎหมายนั้นคือว่า กฎหมายที่ถูกต้อง คือ กฎหมายที่ก่อให้เกิดความสุขมากที่สุดให้กับคนจำนวนมาก
การแบ่งจริยธรรมแบบอรรถประโยชน์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อรรถประโยชน์เชิงกระทำ
2. อรรถประโยชน์เชิงกฎเกณฑ์
1.1 อรรถประโยชน์เชิงกระทำ
อรรถประโยชน์เชิงกระทำ คือ อรรถประโยชน์ที่มองเรื่องความดีความถูกต้อง ที่การกระทำ และเอาตัวผลลัพธ์ของการกระทำเป็นตัวกำหนดความถูกต้อง
ตัวอย่างเช่น การทำแท้ง ถ้าเราบอกว่าการทำแท้งเป็นสิ่งที่ผิดเพราะคำสอนในทางศาสนา อย่างนี้จะเป็นการมองความถูกผิดของการทำแท้งอยู่ที่ตัวกระทำโดยตรง แต่อรรถประโยชน์มองว่าความถูกผิดนั้นมิได้อยู่ที่ตัวกระทำ แต่อยู่ที่ตัวผลลัพธ์ คือ เมื่อเราทำแท้งแล้วสามารถที่จะดำเนินชีวิตปกติสุขได้ดีกว่าตอนที่ตั้งครรภ์ มีความสุขในการใช้ชีวิตนี่คืออรรถประโยชน์
1.2 อรรถประโยชน์เชิงกฎเกณฑ์
อรรถประโยชน์เชิงกฎเกณฑ์ คือ จะเน้นเรื่องการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เป็นสำคัญ โดยสรุปว่าการกระทำหนึ่งๆ จะมีความถูกต้องก็ต่อเมื่อถูกกำหนดหรือเป็นไปตามกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่เชื่อว่าหากมีการปฏิบัติตามเป็นการทั่วไปแล้ว ย่อมให้ผลลัพธ์ในแง่ประโยชน์ ในแง่ความสุขสูงสุด
ตัวอย่างเช่น การตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาไม่ให้คนเดินลัดสนามอันนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนต้องปฏิบัติ จุดประสงค์ในการตั้งกฎเกณฑ์เพราะต้องการให้สนามหญ้าไม่ถูกทำลาย ในกรณีเช่นนี้เป็นอรรถประโยชน์ในเชิงกฎเกณฑ์
เมื่อพิจารณาศึกษาอรรถประโยชน์โดยทั่วไปแล้วจะเป็นอรรถประโยชน์เชิงการกระทำกล่าวคือ มองความดีถูกต้องที่กระทำหรือผลลัพธ์ของการกระทำแล้วเอาประเด็นเรื่องความสุข ความทุกข์ยากเป็นเครื่องชี้จริยธรรมแบบอรรถประโยชน์นี้เป็นจริยธรรมทางสังคมสายหนึ่ง ไม่ใช่จริยธรรมทางกฎหมายอย่างเดียวเพียงแต่นักปรัชญากฎหมายเอาสิ่งที่เป็นจริยธรรมแบบอรรถประโยชน์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบความดีความถูกต้องความชอบของกฎหมายทั้งในด้านการตัดสินหรือการบัญญัติกฎหมาย
โดยเหตุที่ความคิดอรรถประโยชน์เป็นหลักคิดที่สรุปจากธรรมชาติของคน ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ต้องการความสุขและต้องการหนีความเจ็บปวด ดังนั้นจริยธรรมสายนี้จึงเป็นจริยธรรมที่สอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์ ไม่ใช่จริยธรรมของพระเจ้า การเน้นเรื่องความสุขหรือเป็นเรื่องการหลีกหนีจากความเจ็บปวดโดยธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งลึกๆไปแล้วอรรถประโยชน์จะไม่เชื่อในสิ่งที่นักกฎหมายธรรมชาติบอกว่าความถูกต้องนั้นอยู่ที่การใช้เหตุผลในตัว เพราะนักอรรถประโยชน์มองว่าการกระทำของมนุษย์นั้นอยู่ภายใต้การกำหนดของความรู้สึกปรารถนาความสุข ความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงความทุกข์ไม่ใช่ตัวเหตุผลบริสุทธิ์แต่อย่างไร
2.ความคิดของลัทธิอรรถประโยชน์
แนวความคิดความคิดของลัทธิอรรถประโยชน์ขอกล่าวถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับลัทธิอรรถประโยชน์ที่สำคัญและวิเคราะห์เปรียบแนวคิดของแต่ท่าน ดังนี้
2.1 บุคคลที่เกี่ยวข้องกับลัทธิอรรถประโยชน์
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับลัทธิอรรถประโยชน์ที่สำคัญอยู่ 3 ท่านด้วยกันดังนี้ เดวิด ฮูม (David Hume),เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) ,จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill)
เดวิด ฮูม (David Hume) เป็นคนสำคัญที่วางรากฐานแนวคิดอรรถประโยชน์เขาพยายามจะบอกว่าเหตุผลไม่ได้เป็นตัวชี้ขาดว่าเราควรจะทำหรือไม่ควรจะทำอะไร การตัดสินใจทำหรือวินิจฉัยว่าสิ่งนั้นดีหรือสิ่งนี้ไม่ดีควรทำหรือไม่ควรทำ จะมาจากแนวโน้มของคนเราซึ่งมีรากฐานมาจากความรู้สึก ต้องการความสุข การต้องการหลีกหนีความทุกข์การที่เขาอธิบายเช่นนี้ เพราะเขาเห็นว่าธรรมชาติของคนเราเป็นอย่างนั้นกล่าวคือ มนุษย์เราเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ผู้อื่นผสมผสานกันไปมนุษย์ไม่ได้เป็นนักบุญร้อยเปอร์เซ็นต์ และไม่ได้เป็นซาตานทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้เขายังเห็นสังคมมนุษย์นั้นเราต้องยอมรับว่ามีความจำกัดของสิ่งดำรงชีวิต
ตัวอย่าง เช่นวันที่ฝนตกการตัดสินใจจะออกจากบ้านหรือไม่ ในสถานการณ์ที่เรากำลังคิดว่าควรหรือไม่ควร โดยวิธีการของ ฮูม แล้วจะบอกว่าสิ่งที่มาจากเหตุผลที่ไม่มีอารมณ์เข้ามาเจือปนนั้นไม่สามารถบอกได้ว่าเราควรออกจากบ้านหรือไม่ เพราะการที่จะออกจากบ้านหรือไม่ขึ้นอยู่กับความชอบของเรา
สรุป คือ เหตุผลบริสุทธิ์ ไม่สามารถที่จะเป็นตัวบอกว่าเราควรจะออกหรือไม่ควรจะออกจากบ้าน การตัดสินใจออกหรือไม่ออกมันไม่ใช่เรื่องเหตุผลบริสุทธิ์ แต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับความอยากความชอบ ซึ่งมิใช่เหตุผลบริสุทธิ์
เจเรมี เบนแธม (Jeremy Bentham) อรรถประโยชน์ เบนแธม จะยึดเรื่องเกี่ยวกับความถูกต้องของจริยธรรมอรรถประโยชน์ว่า เป็นจริยธรรมที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ ในแง่ที่ว่าไม่ได้เป็นจริยธรรมที่กำหนดโดยพระเจ้า แต่สิ่งที่เป็นความถูกต้องของการกระทำนั้นดูจากผลลัพธ์ของการกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขหรือก่อให้เกิดความทุกข์ความยากเจ็บปวด ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นวิธีคิดที่สอดคล้องกับชาติชาติของมนุษย์
คำอธิบายของ เบนแธม นั้นมีจุดที่สำคัญ คือ เขาได้ย้ำรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องความสุขว่าเป็นสิ่งที่เป็นความสุขที่มนุษย์ต้องการมีถึง 14 ประการ คือ (1) ความสุขในประสาทสัมผัส (2) ความมั่นคง (3) ความชำนาญสามารถ (4) มิตรภาพ (5) การมีชื่อเสียง (6) อำนาจ (7) ความเชื่อในศาสนา (8) ความเมตตากรุณา (9) ความอาฆาตมาดร้าย (10) ความทรงจำ (11) จิตนาการ (12) การคาดหวัง (13) การคบค้าสมาคมและ (14) การบรรเทาจากความเจ็บปวด ความสุขทั้ง 14 ประการนี้จะมีทั้งความสุขในลักษณะที่ละเอียดและหยาบ วิธีนี้ คือ การมองลักษณะความสุขของมนุษย์ในลักษณะที่มีความซับซ้อนเพื่อจะนำไปวัดใช้ว่าการกระทำนั้นถูกหรือผิด
ตัวอย่างเช่น การบรรเทาความเจ็บปวดกรณีคนเป็นมะเร็งอย่างร้ายแรงไม่ต้องการทรมานอีกต่อไป ซึ่งถ้าเอาทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เบนแธม เข้าไปจับก็เห็นว่าสนับสนุนในเรื่องนี้อยู่
นอกจากความสุขทั้ง 14 ประการ ของ เบนแธม แล้วยังมีการพูดถึงสิ่งที่เป็นปัจจัยกอบของเรื่องความสุขด้วย การวัดความสุขไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเข้มข้น ความยาวนาน ความแน่นอน ความใกล้ชิดอันเป็นเรื่องรายละเอียดจุดสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือ การที่ เบนแธม ค่อนข้างจะเน้นความสุขของปัจเจกชนว่าต้องเป็นความสุขที่ตกแก่ปัจเจกชน แต่ขณะเดียวกันปัจเจกชนนี้อาจจะหมายถึงปัจเจกชนหลาย ๆ คนที่รวมกันเป็นชุมนุมต่าง ๆ ด้วย เมื่อนำมาประยุกต์กับกฎหมาย กฎหมายที่ดีกับกฎหมายที่สอดคล้องกับจริยธรรมแบบอรรถประโยชน์ ก็คือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นมาหรือเขียนขึ้นแล้วก่อให้เกิดแก่สังคม ยิ่งก่อให้เกิดความสุขเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นความดีความถูกต้อง
ในทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เบนแธม นั้นได้กล่าวว่า การนำกฎหมายมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมนั้นจะต้องมีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการคือ
1. จัดหาปัจจัยสำหรับการดำรงอยู่ (Subsistence)
2. สร้างสรรค์ความมั่งคั่งสมบูรณ์ (Abundance)
3. ให้ความเสมอภาค (Equality)
4. รักษาความมั่นคง (Security)
ในบรรดาเป้าหมายทั้ง 4 ประการนี้ เบนแธม ให้ความสำคัญต่อเรื่อง ความมั่นคงของบุคคลมากที่สุด ความมั่นคงนี้เรียกร้องให้รัฐบาล ปกป้องร่างกาย, ชื่อเสียง ทรัพย์สินและสถานภาพของบุคคลถัดจากเรื่องความมั่นคงก็เป็นเรื่องความเสมอภาค โดยความเสมอภาค (เบนแธม) หมายถึง ความเสมอภาคในโอกาส มิใช่ความเสมอภาคในเงื่อนไข โดยที่ความเสมอภาคจะเป็นตัวเปิดทางให้เอกชนทุกคนได้แสวงหาความสุขของตัวเองและมีชีวิตอยู่ตามที่ตัวเองปรารถนา
ข้อสังเกต ถึงแม้ว่าอรรถประโยชน์ในแบบฉบับของ เบนแธม จะฉายลักษณะสุขนิยม (Hedonistic Principle) ปัจเจกนิยม (Individualism) หรือเน้นความมั่นคงของปัจเจกบุคคลอย่างสูงในฐานะเป้าหมายหลักการนิติบัญญัติ อีกทั้งไม่ปฏิเสธความชอบธรรมของทรัพย์สินส่วนตัว เบนแธม ก็ไม่เคยยอมรับเรื่อง สิทธิธรรมชาติอันไม่อาจโอนแก่กันได้ (Inalienable Nature Rights) ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับลัทธิของปัจเจกบุคคลที่อิงอยู่กับเรื่อง กฎหมายธรรมชาติ เบนแธม คิดต้านความคิดเรื่องธรรมชาติว่าเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระขัดแย้งในตัวเองและเป็นลัทธิอนาธิปัตย์ (Anarchical) ที่เป็นอันตรายต่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของรัฐไม่ว่าจะเป็นรัฐดีหรือรัฐเลวก็ตาม การกล่าวอ้างสิทธิธรรมชาติ คือ เป็นการหลงใหลทางความคิดด้วยความเชื่อผิด ๆ เรื่องกฎหมายธรรมชาติในฐานะเป็นแหล่งที่มาหนึ่งของสิทธิธรรมชาติ ทฤษฎีสิทธิธรรมชาติจึงสมควรถูกยกเลิกไปพร้อมกับนำลัทธิอรรถประโยชน์เข้ามาแทนที่หรือใช้ตรวจสอบความเป็นรัฐบาลที่ดี
จอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill : 1806 – 1873) มิลส์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปรัชญและนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งคนหนึ่งในอังกฤษ มิลล์ มีงานเขียนตีพิมพ์เป็นจำนวนมากแต่สำคัญที่สุดก็ คือ เรื่อง “ว่าด้วยหลักอรรถประโยชน์” (On Utilitarianism) “ว่าด้วยเสรีภาพ” (On Liberty) “การพิจารณาเรื่องรัฐบาลผู้แทน” (Considerations on Representative Government) และเรื่อง “อดีตชีวประวัติ” (Autobiography) เมื่อพิจารณางานเขียนของ มิลล์ แล้วจะเห็นได้ว่า มิลส์ สนใจยึดถืออุดมการณ์เรื่องความเสมอภาคของสตรีและโครงการสวัสดิการสังคม ซึ่งใกล้เคียงกับแนวคิดของฝ่ายสังคมนิยม สิ่งเหล่านี้นับว่าผลักดันให้เขาคอยห่างจากหลักปล่อยเสรีของ เบนแธม หรือทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ เบนแธม
2.2 การเปรียบเทียบแนวความคิดของ เบนแธม กับ มิลล์
เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ มิลล์ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเนื้อหาสาระเบื้องต้นจะคล้ายคลึงกับทฤษฎีของ เบนแธม กล่าวคือ ยังเน้นเรื่องความสุขสูงสุด มิลล์ ยังเห็นด้วยกับ เบนแธม ในเรื่องความสำคัญของ “ผลลัพธ์” ซึ่งถือว่าความถูกผิดของการกระทำอยู่ที่ว่ามันส่งเสริมหรือก่อให้เกิดความสุขขึ้นหรือไม่
ส่วนความแตกต่าง คือ ในเรื่องการประเมินคุณค่า “ความสุข” หรือ “ความพึงพอใจ” ที่มีต่าง ๆ กัน ในขณะที่ เบนแธม พิจารณาบรรดาความสุขทั้งหมดให้มีคุณค่าเท่ากันหมด มิลล์ กับจำแนกความสุขของมนุษย์ออกเป็นหลายระดับ โดย มิลล์ ถือว่ามนุษย์นั้นแตกต่างจากสัตว์ตรงที่มีการพัฒนาทั้งทางด้านอารมณ์ ความรู้สึกและสติปัญญา ณ จุดนี้เองที่ทำให้มนุษย์สามารถ “เข้าถึง”ความสุขที่มีความละเอียดอ่อนหรือลึกซึ้งมากกว่าความสุขจากประสาทสัมผัสทั่วไป ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีเสมอกันทั้งมนุษย์และสัตว์ ในแง่นี้ มิลล์ จึงเน้นความสำคัญของความพึงพอใจในเชิงปัญญาหรือสุนทรียศิลป์ กล่าวคือ อีกนัยหนึ่ง มิลล์ เน้นเรื่องโลกแห่งปัญญาหรือโลกแห่งเหตุผลสูงกว่าโลกแห่งความรู้สึกทางกายภาพทั่วไปทำให้ทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ มิลล์ ถูกกล่าวขานว่า เป็นลัทธิอรรถประโยชน์เชิงอุดมคติ (Ideal Utilitarianism)
ลักษณะเด่นในความคิดของ มิลล์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความสุข ความยุติธรรมหรือเสรีภาพจึงนับเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ทฤษฎีอรรถประโยชน์ของ มิลล์ มีลักษณะเชิงอุดมคติผิดแปลกกว่าลัทธิอรรถประโยชน์เก่า ๆ แต่ในอีกด้านหนึ่งจุดแตกต่างเหล่านี้ก็ทำให้เกิด ข้อวิจารณ์ตามมาในเชิงปฏิเสธสถานภาพความเป็นนักลัทธิอรรถประโยชน์หรืออย่างดีก็จัดให้เป็นอรรถประโยชน์เพียงแต่ตัวอักษรเท่านั้นด้วย เห็นว่าคำอธิบายของเขาผ่าเหล่าผ่ากอจากแบบฉบับดั้งเดิมของลัทธิอรรถประโยชน์
3.ข้อวิจารณ์ต่อลัทธิอรรถประโยชน์
สำหรับประเด็นข้อวิจารณ์ลัทธิอรรถประโยชน์ อาจสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้
1.การไม่ใส่ใจต่อปัญหาความแตกต่างของบุคคล หลักการสำคัญทางลัทธิอรรถประโยชน์ เรื่อง “ความสุขสูงสุดแก่คนจำนวนมากที่สุด” แม้ฟังดูน่าเลื่อมใส แต่เป็นเรื่องที่คาดคำนวณไม่ได้ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับผลลัพธ์เรื่องความสุขดังกล่าว เนื่องจากผลลัพธ์เรื่องความสุขหรือความทุกข์ของปัจเจกบุคคลเป็นเรื่องเฉพาะภายในจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งหยั่งวัดไม่ได้และผันแปรไปตามความแตกต่างของบุคคล
2. ปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรม (Unfairness) ในการปรับใช้หลักอรรถประโยชน์ ทำเกิดเรื่องความไม่เสมอภาคขึ้นมาและทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ กล่าวคือ ลัทธิอรรถประโยชน์ยอมให้มีการละเมิดหรือจำกัดเสรีภาพของบุคคลกลุ่มน้อยได้ หากกระทำเช่นนั้นจะส่งผลให้คนส่วนใหญ่ได้รับความสุขหรือผลประโยชน์มากขึ้น
3. ลักษณะที่ปราศจากหลักการหรือกฎเกณฑ์ความประพฤติอันแน่ชัดในการชี้นำความถูกผิดทางศีลธรรมต่าง ๆ
จากค่าที่ลัทธิอรรถประโยชน์เน้นความสำคัญของอนาคตหรือผลลัพธ์ของการกระทำเป็นใหญ่ รวมทั้งยืนยันในลักษณะเอกนิยม (Monistic) ทางศีลธรรมบนพื้นฐานของอรรถประโยชน์อย่างเดียว ลัทธิอรรถประโยชน์จึงปฏิเสธการดำรงอยู่ของหลักคุณค่าทางศีลธรรมอันแน่นอนตายตัวใดๆ
ลักษณะดังนี้ จึงทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า สำหรับอรรถประโยชน์แล้วพวกเขาสามารถทำหรือยอมรับสิ่งที่ผิดศีลธรรมต่าง ๆ ได้เสมอหากผลลัพธ์ของการกระทำนั้นจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สุขโดยส่วนรวมมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าผู้บริสุทธิ์ การข่มขู่ทรมาน การพูดจริงหรือการผิดคำมั่นสัญญาต่างๆ เป็นต้น
ตัวอย่าง ประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ อรรถประโยชน์ที่เป็นจริยธรรมที่มองข้ามความแตกต่างของคน เช่น โครงการวิทยุบนรถเมล์ รัฐบาลจะมองว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะทำให้เกิดความสุขกับคนบนรถเมล์ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าไม่แน่เสมอไปที่โครงการนี้จะทำให้เกิดความสุขแก่ทุกคน เพราะคนที่ไม่ชอบฟังวิทยุก็มีอาจเป็นการละเมิดหรือจำกัดสิทธิเสรีภาพของคนกลุ่มน้อยได้
แบบฝึกหัดท้ายบท
1.ทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมายดั้งเดิมมีความเกี่ยวพันกับหลักอรรถประโยชน์นิยมหรือไม่ อย่างไร
2.ในประเด็นพิจารณาเรื่องธรรมชาติของกฎหมายที่เป็นอยู่จริงและกฎหมายที่ควรจะเป็น และท่านเห็นด้วยหรือไม่กับแนวคิด/ท่าที่ของฝ่ายปฏิฐานนิยมทางกฎหมายต่อเรื่องความยุติธรรม
หนังสือและเอกสารอ่านเพิ่มเติม
หนังสือ
จรัญ โฆษณานันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2538
รองพล เจริญพันธ์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2526
รองพล เจริญพันธ์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2528
ความมั่นคง หมายถึง 在 นิสัยอะไรบ้างที่บอกว่า เราไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ - YouTube 的推薦與評價
อารมณ์ คือ สิ่งสำคัญในชีวิตของเรา มันเป็นสัญญาณเตือนที่บอกว่าเรานั้น มีความรู้สึกอย่างไรต่อเรื่องต่างๆ รวมถึงยังมีอิทธิพลต่อการกระทำของเราอีกด้วย ซึ่งอารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ควรมี ความมั่นคง ... ... <看更多>
ความมั่นคง หมายถึง 在 ความมั่นคง หมายถึง... - นักเรียนนายร้อยใต้ร่มพระบารมี's post 的推薦與評價
ความมั่นคง หมายถึง ความอยู่รอดปลอดภัย ความเจริญก้าวหน้า ตลอดจนความเป็นปึกเเผ่น พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ทุกรูปแบบได้ ซึ่งจำเเนกได้เป็นความมั่นคงภายในเเละความมั่นคง ... ... <看更多>