เป็นอีกหนึ่งบทความที่ดีมากๆค่ะ ขอนำมาแชร์ค่ะ สำหรับตัวเองแล้ว อ่านไว้เพื่อเตือน”ฉัน” ค่ะ ชอบมากๆจริงๆ 🙏ขอบคุณเจ้าของบทความมากค่ะ
เหตุใดเราจึงตื่นมาตั้งสเตตัสวิจารณ์-ด่า-บ่นคนอื่น?
---
1. เราใช้เวลาตั้งแต่เกิดจนถึงวันนี้ก่อร่างสร้าง "ฉัน" ขึ้นมาในใจตัวเอง สิ่งนี้ค่อยๆ ก่อ "อัตตา" ให้เกิดขึ้นในใจ
2. "ฉัน" คือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากการยึดมั่นในบางสิ่งหรือหลายสิ่ง เช่น ความเป็นเจ้าของ เพศ นามสกุล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ อาชีพการงาน อุดมการณ์ ความเชื่อ ฯลฯ ที่เราใช้เวลาคลุกคลีและถูกปลูกฝังมา
3. ความเป็นฉันที่สั่งสมมานี้เองที่เราใช้ตัดสินคนอื่น สิ่งอื่นว่าดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ชอบ-ไม่ชอบ ทั้งที่การตัดสินนั้นไม่ใช่ "ความจริง" เป็นเพียงผลของความคิดที่สะสมมาเท่านั้น
4. สิ่งที่เรายึดมั่นถูกทำให้กลายเป็น "ฉัน" ไปด้วย เราผสานเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งนั้น ตุ๊กตาของฉัน บ้านของฉัน ชาติของฉัน อุดมการณ์ของฉัน ความเชื่อของฉัน หากใครแตะต้องสิ่งเหล่านี้เราจะรู้สึกราวกับถูกกระทำกับตัวเอง เจ็บปวดราวกับสิ่งนั้นเป็นตัวเรา
5. อย่างที่พระท่านบอกว่า แก้วคนอื่นแตกเราไม่รู้สึกอะไร แต่พอแก้วของเราแตก เราจะเป็นจะตาย ทั้งที่เป็นแก้วแบบเดียวกัน
6. ความเป็น "ฉัน" ไม่อาจอยู่ได้ ถ้าไม่มี "คนอื่น" ซึ่งคนอื่นจะเป็นคนอื่นอย่างที่สุดเมื่อเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้างกับฉัน
7. ลึกๆ แล้วอัตตาในตัวเราจึงโหยหาศัตรู เพื่อชี้นิ้วไปตำหนิติโทษ แยกตัวเองออกจากคนนั้น เพื่อนิยามความเป็นฉันให้ชัดเจนด้วยความแตกต่าง "ฉัน" ไม่เป็นแบบ "มัน"
8. นิสัยชอบจับผิด บ่นว่าผู้อื่นจึงเป็นอาหารของอัตตา เราเปิดเฟซบุ๊กมาทุกวันแล้วเขียนคอมเมนต์วิจารณ์ใครสักคน อะไรสักอย่างเหมือนการให้อาหาร ให้ขนมกับอัตตาตัวเองให้อิ่มและเติบโต เป็น "ฉัน" ตัวอ้วนๆ จากการวิจารณ์คนอื่น
9. ทุกครั้งที่ก่นด่าคนอื่น เราจะเพิ่มความมั่นใจให้กับอัตตาของตัวเอง ถ้าคนอื่นไม่ดีแปลว่าเราดี ถ้าคนอื่นผิดแปลว่าเราถูก ถ้าคนอื่นโง่แปลว่าเราฉลาด อัตตาก็จะแข็งแรงและตัวใหญ่ขึ้นไปอีก
10. ไม่มีอะไรเสริมสร้างอัตตาได้ดีไปกว่าการเป็นฝ่ายถูก ยิ่งเชื่อว่าตัวเองถูก เราก็ยิ่งเชิดชูตัวเองให้สูงขึ้น เราจึงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ด่า บ่น หรือวิจารณ์ใคร เพราะอัตตากำลังได้กินของอร่อย
...
11. อัตตาจะถือว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของฉันไปทั้งหมด ข่าวสารต่างๆ การเมือง ฟุตบอล ฯลฯ การแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่การก่นด่ากันแบบจะเป็นจะตายนั้นเป็นอาการออกฤทธิ์ของอัตตา
12. เราจึงยอมไม่ได้ที่จะมี "ความถูกต้องอื่น" หรือ "ความคิดแบบอื่น" ปะปนอยู่ข้างๆ กัน ลึกๆ แล้วเราอาจจะกลัวว่าเราจะกลายเป็นคนที่ไม่ได้ถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว และอัตตาของเราจะถูกรบกวน สั่นคลอน หรือต้องสูญเสียในสิ่งที่เชื่อมั่นไป
13. เวลาประกาศสนับสนุนใครหรือทัศนคติแบบใดแบบหนึ่งเสียงดังฟังชัด แท้จริงแล้วเราอาจไม่ได้ทำเพราะเชื่อในสิ่งนั้นหรือปรารถนาดีกับใคร แต่เราส่งเสียงดังอย่างรุนแรงเพราะต้องการหล่อเลี้ยงและปกป้องอัตตาของเรา
14. ถ้าเรามีเจตนาดี การถกเถียงไม่จำเป็นต้องรุนแรงเลย เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ความรู้กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและมีเมตตาต่อกันได้ โดยวางอัตตาไว้ก่อน
15. นอกจากนั้น เรายังเข้าใจผิดอีกว่า "อัตตา" ที่สะสมมาเนิ่นนานของคนอื่นเป็นตัวตนของเขา เวลาเถียงกับใครคอเป็นเอ็น ที่แท้เรากำลังเถียงกับ "อัตตา" ของเขา นั่นไม่ใช่ตัวเขาจริงๆ เป็นเพียงสิ่งที่เขายึดติดแล้วยังหาวิธีวางไม่ได้
16. เมื่ออัตตาเถียงกับอัตตา สุดท้ายก็นำมาซึ่งความรุนแรง เกลียดชัง และแตกแยก ซึ่งพอแตกกันไป ทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งยึดในความถูกต้องของตัวเองมากขึ้นไปอีก
17. เพื่อเป็นอิสระจากอัตตา เราต้องตระหนักรู้ถึงมัน ทุกครั้งที่มีอารมณ์หรือความคิดวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้น ตรวจสอบสักนิดว่าอะไรที่ทำให้เราคิดเช่นนั้น เราถูกปลูกฝัง หล่อหล่อม หรือมีประสบการณ์แบบไหนมาจนกระทั่งเชื่อมั่นใน "ความจริง" ที่เรายึดถืออยู่ มองเห็นทั้งจังหวะที่มันเกิดขึ้นและรากที่มาของมัน จังหวะที่ "เห็น" อัตตาจะหลบหน้าไป ความตระหนักรู้กับอัตตาไม่สามารถอยู่ในที่เดียวกันได้
18. อัตตานั้นต้องการความโดดเด่น เรียกร้องความสนใจ ต้องการมีความสำคัญ ต้องการอำนาจ ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตระหนักถึงอัตตา เราย่อมใจเย็นลง ซ่อนตัว ไม่จำเป็นต้องตะโกนออกมาทุกเหตุการณ์ คิดช้าๆ ใคร่ครวญ ไม่รีบตัดสิน และไม่ยืนยันเสียงแข็งว่าฉันเท่านั้นที่ถูก ไม่ชี้นิ้วไปทางคนอื่นแล้วบอกว่าเขาโง่ ไม่เห็นคนที่คิดต่างเป็นศัตรู แต่ใช้ความคิดต่างนั้นเป็นกระจกส่องอัตตาตัวเอง
19. อัตตาชอบอ้างคนใหญ่คนโต คนมีชื่อเสียง เพื่อยกตัเองให้เหนือกว่าคนอื่น เมื่อไหร่ที่เราพูดถึง เขียนถึง อ้างถึงคนใหญ่คนดังก็น่าตรวจสอบตัวเองว่าเรากำลังเพิ่มพลังให้อัตตาขึ้นมาอยู่เหนือกว่าคนอื่นหรือเปล่า
20. แม้มั่นใจเพียงใด แต่ภายในแล้วอัตตารู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะลึกๆ แล้วก็รู้ดีว่าสิ่งที่ยึดมั่นอยู่นั้นเป็นเพียง "ส่วนหนึ่ง" ของความจริงทั้งหมด ที่พร้อมจะถูกหักล้าง หรือสลายหายวับไปตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งของที่เป็นรูปธรรมหรือความคิดเชิงนามธรรม อัตตาจึงน่าสงสาร แกล้งทำเป็นแข็งแกร่งแต่ที่จริงแล้วอ่อนแอ เสียงดังแต่ขี้กลัว
...
21. อัตตารู้ดีว่าสิ่งที่ยึดอยู่นั่นโยกคลอนเพียงใด จึงต้องยึดให้มั่นที่สุด ส่งเสียงให้ดังที่สุด ใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่นอันโยกคลอนของตัวเอง
22. เรามักดำเนินชีวิตอยู่บนตัวตนที่เราคิดว่าเราเป็น เราคิดว่าเราเป็นผู้ผดุงความยุติธรรม คิดว่าเราเป็นคนดี คิดว่าเราเป็นนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ เรายึดตัวตนนี้ไว้แน่นหนา สะกดจิตให้ตัวเองเชื่อว่าเป็น ทั้งที่จริงๆ แล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวตนแท้จริงของเราแต่อย่างใด
23. เมื่อไหร่ที่เราวางบทบาทที่เราสมมุติขึ้นมานั้นลง จะพบว่าเราเปิดกว้างที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจ สร้างบทสนทนาใหม่ๆ โดยไม่ต้องเป็นอะไร แค่เป็นคนคนหนึ่งที่มีพื้นที่ว่างให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ต้องแข็งแกร่ง ไม่ต้องอ่อนไหว ไม่ต้องขี้โมโห ไม่ต้องเท่ ไม่ต้องฉลาด
24. ภาวะนั้นคือภาวะว่างเปล่าจากอัตตา ซึ่งหมายความว่าว่างเปล่าจากอดีตที่เราสะสมมาเนิ่นนาน ที่เราถูกปลูกฝังมาเนิ่นนาน กลับสู่ปัจจุบันที่เบาสบาย ไม่ต้องชี้นิ้วด่าใครเพื่อให้ตัวเองสูงส่งขึ้น
25. อัตตาเสริมกำลังตัวเองด้วยความทุกข์ มันไม่ชินกับความสงบ เพราะในภาวะนั้นมันจะหายไป เราจึงตื่นมาเพื่อมองหาเรื่องวิจารณ์เพื่อจะได้รู้สึกว่า "ฉัน" ยังมีอยู่ ยังแข็งแกร่ง โดยลืมไปว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่เราโหยหาและต้องการคือความสงบในจิตใจ ซึ่งจะไม่มีวันเกิดขึ้นตราบที่ "ฉัน" ยังชี้นิ้วไปยัง "คนอื่น" แล้วดุด่าว่ากล่าว "พวกมัน" ไม่เว้นแต่ละวัน
เพราะที่ใดมี "อัตตา" ที่นั่นไม่สงบ
ที่ใด "สงบ" ที่นั่นไม่มีอัตตา
=========================================
เขียนหลังจากการอ่านหนังสือ A New Earth ของเอ็กฮาร์ต โทลเล่ แปลโดย มนตรี ภู่มี สนพ.ดีเอ็มจี
ภาพวาดฝีมือ Charles Conder
***กด like กดติดตาม หรือ กด see first เพจนี้กันไว้ได้นะครับ จะนำสาระความรู้ดีๆ มาฝากอย่างสม่ำเสมอครับ***
「ความเป็นเจ้าของ」的推薦目錄:
- 關於ความเป็นเจ้าของ 在 Parn Thanaporn Facebook 的最佳貼文
- 關於ความเป็นเจ้าของ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
- 關於ความเป็นเจ้าของ 在 Roundfinger Facebook 的最佳貼文
- 關於ความเป็นเจ้าของ 在 คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Adjective ... 的評價
- 關於ความเป็นเจ้าของ 在 การใช้ Apostrophe S ('s) กับคำนาม "เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ" 的評價
ความเป็นเจ้าของ 在 Roundfinger Facebook 的最佳解答
ขอแปะอีกครั้ง สำหรับเพื่อนๆ ที่ยังไม่ได้อ่านครับ :)
ฝากกดไลค์เพจ A piece of wisdom กันไว้สักนิดครับ จะแบ่งปันสาระดีๆ อย่างสม่ำเสมอครับ :)
เหตุใดเราจึงตื่นมาตั้งสเตตัสวิจารณ์-ด่า-บ่นคนอื่น?
---
1. เราใช้เวลาตั้งแต่เกิดจนถึงวันนี้ก่อร่างสร้าง "ฉัน" ขึ้นมาในใจตัวเอง สิ่งนี้ค่อยๆ ก่อ "อัตตา" ให้เกิดขึ้นในใจ
2. "ฉัน" คือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากการยึดมั่นในบางสิ่งหรือหลายสิ่ง เช่น ความเป็นเจ้าของ เพศ นามสกุล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ อาชีพการงาน อุดมการณ์ ความเชื่อ ฯลฯ ที่เราใช้เวลาคลุกคลีและถูกปลูกฝังมา
3. ความเป็นฉันที่สั่งสมมานี้เองที่เราใช้ตัดสินคนอื่น สิ่งอื่นว่าดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ชอบ-ไม่ชอบ ทั้งที่การตัดสินนั้นไม่ใช่ "ความจริง" เป็นเพียงผลของความคิดที่สะสมมาเท่านั้น
4. สิ่งที่เรายึดมั่นถูกทำให้กลายเป็น "ฉัน" ไปด้วย เราผสานเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งนั้น ตุ๊กตาของฉัน บ้านของฉัน ชาติของฉัน อุดมการณ์ของฉัน ความเชื่อของฉัน หากใครแตะต้องสิ่งเหล่านี้เราจะรู้สึกราวกับถูกกระทำกับตัวเอง เจ็บปวดราวกับสิ่งนั้นเป็นตัวเรา
5. อย่างที่พระท่านบอกว่า แก้วคนอื่นแตกเราไม่รู้สึกอะไร แต่พอแก้วของเราแตก เราจะเป็นจะตาย ทั้งที่เป็นแก้วแบบเดียวกัน
6. ความเป็น "ฉัน" ไม่อาจอยู่ได้ ถ้าไม่มี "คนอื่น" ซึ่งคนอื่นจะเป็นคนอื่นอย่างที่สุดเมื่อเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้างกับฉัน
7. ลึกๆ แล้วอัตตาในตัวเราจึงโหยหาศัตรู เพื่อชี้นิ้วไปตำหนิติโทษ แยกตัวเองออกจากคนนั้น เพื่อนิยามความเป็นฉันให้ชัดเจนด้วยความแตกต่าง "ฉัน" ไม่เป็นแบบ "มัน"
8. นิสัยชอบจับผิด บ่นว่าผู้อื่นจึงเป็นอาหารของอัตตา เราเปิดเฟซบุ๊กมาทุกวันแล้วเขียนคอมเมนต์วิจารณ์ใครสักคน อะไรสักอย่างเหมือนการให้อาหาร ให้ขนมกับอัตตาตัวเองให้อิ่มและเติบโต เป็น "ฉัน" ตัวอ้วนๆ จากการวิจารณ์คนอื่น
9. ทุกครั้งที่ก่นด่าคนอื่น เราจะเพิ่มความมั่นใจให้กับอัตตาของตัวเอง ถ้าคนอื่นไม่ดีแปลว่าเราดี ถ้าคนอื่นผิดแปลว่าเราถูก ถ้าคนอื่นโง่แปลว่าเราฉลาด อัตตาก็จะแข็งแรงและตัวใหญ่ขึ้นไปอีก
10. ไม่มีอะไรเสริมสร้างอัตตาได้ดีไปกว่าการเป็นฝ่ายถูก ยิ่งเชื่อว่าตัวเองถูก เราก็ยิ่งเชิดชูตัวเองให้สูงขึ้น เราจึงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ด่า บ่น หรือวิจารณ์ใคร เพราะอัตตากำลังได้กินของอร่อย
...
11. อัตตาจะถือว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของฉันไปทั้งหมด ข่าวสารต่างๆ การเมือง ฟุตบอล ฯลฯ การแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่การก่นด่ากันแบบจะเป็นจะตายนั้นเป็นอาการออกฤทธิ์ของอัตตา
12. เราจึงยอมไม่ได้ที่จะมี "ความถูกต้องอื่น" หรือ "ความคิดแบบอื่น" ปะปนอยู่ข้างๆ กัน ลึกๆ แล้วเราอาจจะกลัวว่าเราจะกลายเป็นคนที่ไม่ได้ถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว และอัตตาของเราจะถูกรบกวน สั่นคลอน หรือต้องสูญเสียในสิ่งที่เชื่อมั่นไป
13. เวลาประกาศสนับสนุนใครหรือทัศนคติแบบใดแบบหนึ่งเสียงดังฟังชัด แท้จริงแล้วเราอาจไม่ได้ทำเพราะเชื่อในสิ่งนั้นหรือปรารถนาดีกับใคร แต่เราส่งเสียงดังอย่างรุนแรงเพราะต้องการหล่อเลี้ยงและปกป้องอัตตาของเรา
14. ถ้าเรามีเจตนาดี การถกเถียงไม่จำเป็นต้องรุนแรงเลย เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ความรู้กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและมีเมตตาต่อกันได้ โดยวางอัตตาไว้ก่อน
15. นอกจากนั้น เรายังเข้าใจผิดอีกว่า "อัตตา" ที่สะสมมาเนิ่นนานของคนอื่นเป็นตัวตนของเขา เวลาเถียงกับใครคอเป็นเอ็น ที่แท้เรากำลังเถียงกับ "อัตตา" ของเขา นั่นไม่ใช่ตัวเขาจริงๆ เป็นเพียงสิ่งที่เขายึดติดแล้วยังหาวิธีวางไม่ได้
16. เมื่ออัตตาเถียงกับอัตตา สุดท้ายก็นำมาซึ่งความรุนแรง เกลียดชัง และแตกแยก ซึ่งพอแตกกันไป ทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งยึดในความถูกต้องของตัวเองมากขึ้นไปอีก
17. เพื่อเป็นอิสระจากอัตตา เราต้องตระหนักรู้ถึงมัน ทุกครั้งที่มีอารมณ์หรือความคิดวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้น ตรวจสอบสักนิดว่าอะไรที่ทำให้เราคิดเช่นนั้น เราถูกปลูกฝัง หล่อหล่อม หรือมีประสบการณ์แบบไหนมาจนกระทั่งเชื่อมั่นใน "ความจริง" ที่เรายึดถืออยู่ มองเห็นทั้งจังหวะที่มันเกิดขึ้นและรากที่มาของมัน จังหวะที่ "เห็น" อัตตาจะหลบหน้าไป ความตระหนักรู้กับอัตตาไม่สามารถอยู่ในที่เดียวกันได้
18. อัตตานั้นต้องการความโดดเด่น เรียกร้องความสนใจ ต้องการมีความสำคัญ ต้องการอำนาจ ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตระหนักถึงอัตตา เราย่อมใจเย็นลง ซ่อนตัว ไม่จำเป็นต้องตะโกนออกมาทุกเหตุการณ์ คิดช้าๆ ใคร่ครวญ ไม่รีบตัดสิน และไม่ยืนยันเสียงแข็งว่าฉันเท่านั้นที่ถูก ไม่ชี้นิ้วไปทางคนอื่นแล้วบอกว่าเขาโง่ ไม่เห็นคนที่คิดต่างเป็นศัตรู แต่ใช้ความคิดต่างนั้นเป็นกระจกส่องอัตตาตัวเอง
19. อัตตาชอบอ้างคนใหญ่คนโต คนมีชื่อเสียง เพื่อยกตัเองให้เหนือกว่าคนอื่น เมื่อไหร่ที่เราพูดถึง เขียนถึง อ้างถึงคนใหญ่คนดังก็น่าตรวจสอบตัวเองว่าเรากำลังเพิ่มพลังให้อัตตาขึ้นมาอยู่เหนือกว่าคนอื่นหรือเปล่า
20. แม้มั่นใจเพียงใด แต่ภายในแล้วอัตตารู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะลึกๆ แล้วก็รู้ดีว่าสิ่งที่ยึดมั่นอยู่นั้นเป็นเพียง "ส่วนหนึ่ง" ของความจริงทั้งหมด ที่พร้อมจะถูกหักล้าง หรือสลายหายวับไปตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งของที่เป็นรูปธรรมหรือความคิดเชิงนามธรรม อัตตาจึงน่าสงสาร แกล้งทำเป็นแข็งแกร่งแต่ที่จริงแล้วอ่อนแอ เสียงดังแต่ขี้กลัว
...
21. อัตตารู้ดีว่าสิ่งที่ยึดอยู่นั่นโยกคลอนเพียงใด จึงต้องยึดให้มั่นที่สุด ส่งเสียงให้ดังที่สุด ใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่นอันโยกคลอนของตัวเอง
22. เรามักดำเนินชีวิตอยู่บนตัวตนที่เราคิดว่าเราเป็น เราคิดว่าเราเป็นผู้ผดุงความยุติธรรม คิดว่าเราเป็นคนดี คิดว่าเราเป็นนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ เรายึดตัวตนนี้ไว้แน่นหนา สะกดจิตให้ตัวเองเชื่อว่าเป็น ทั้งที่จริงๆ แล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวตนแท้จริงของเราแต่อย่างใด
23. เมื่อไหร่ที่เราวางบทบาทที่เราสมมุติขึ้นมานั้นลง จะพบว่าเราเปิดกว้างที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจ สร้างบทสนทนาใหม่ๆ โดยไม่ต้องเป็นอะไร แค่เป็นคนคนหนึ่งที่มีพื้นที่ว่างให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ต้องแข็งแกร่ง ไม่ต้องอ่อนไหว ไม่ต้องขี้โมโห ไม่ต้องเท่ ไม่ต้องฉลาด
24. ภาวะนั้นคือภาวะว่างเปล่าจากอัตตา ซึ่งหมายความว่าว่างเปล่าจากอดีตที่เราสะสมมาเนิ่นนาน ที่เราถูกปลูกฝังมาเนิ่นนาน กลับสู่ปัจจุบันที่เบาสบาย ไม่ต้องชี้นิ้วด่าใครเพื่อให้ตัวเองสูงส่งขึ้น
25. อัตตาเสริมกำลังตัวเองด้วยความทุกข์ มันไม่ชินกับความสงบ เพราะในภาวะนั้นมันจะหายไป เราจึงตื่นมาเพื่อมองหาเรื่องวิจารณ์เพื่อจะได้รู้สึกว่า "ฉัน" ยังมีอยู่ ยังแข็งแกร่ง โดยลืมไปว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่เราโหยหาและต้องการคือความสงบในจิตใจ ซึ่งจะไม่มีวันเกิดขึ้นตราบที่ "ฉัน" ยังชี้นิ้วไปยัง "คนอื่น" แล้วดุด่าว่ากล่าว "พวกมัน" ไม่เว้นแต่ละวัน
เพราะที่ใดมี "อัตตา" ที่นั่นไม่สงบ
ที่ใด "สงบ" ที่นั่นไม่มีอัตตา
=========================================
เขียนหลังจากการอ่านหนังสือ A New Earth ของเอ็กฮาร์ต โทลเล่ แปลโดย มนตรี ภู่มี สนพ.ดีเอ็มจี
ภาพวาดฝีมือ Charles Conder
***กด like กดติดตาม หรือ กด see first เพจนี้กันไว้ได้นะครับ จะนำสาระความรู้ดีๆ มาฝากอย่างสม่ำเสมอครับ***
ความเป็นเจ้าของ 在 Roundfinger Facebook 的最佳貼文
เหตุใดเราจึงตื่นมาตั้งสเตตัสวิจารณ์-ด่า-บ่นคนอื่น?
เหตุใดเราจึงตื่นมาตั้งสเตตัสวิจารณ์-ด่า-บ่นคนอื่น?
---
1. เราใช้เวลาตั้งแต่เกิดจนถึงวันนี้ก่อร่างสร้าง "ฉัน" ขึ้นมาในใจตัวเอง สิ่งนี้ค่อยๆ ก่อ "อัตตา" ให้เกิดขึ้นในใจ
2. "ฉัน" คือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากการยึดมั่นในบางสิ่งหรือหลายสิ่ง เช่น ความเป็นเจ้าของ เพศ นามสกุล เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ อาชีพการงาน อุดมการณ์ ความเชื่อ ฯลฯ ที่เราใช้เวลาคลุกคลีและถูกปลูกฝังมา
3. ความเป็นฉันที่สั่งสมมานี้เองที่เราใช้ตัดสินคนอื่น สิ่งอื่นว่าดี-ไม่ดี ถูก-ผิด ชอบ-ไม่ชอบ ทั้งที่การตัดสินนั้นไม่ใช่ "ความจริง" เป็นเพียงผลของความคิดที่สะสมมาเท่านั้น
4. สิ่งที่เรายึดมั่นถูกทำให้กลายเป็น "ฉัน" ไปด้วย เราผสานเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งนั้น ตุ๊กตาของฉัน บ้านของฉัน ชาติของฉัน อุดมการณ์ของฉัน ความเชื่อของฉัน หากใครแตะต้องสิ่งเหล่านี้เราจะรู้สึกราวกับถูกกระทำกับตัวเอง เจ็บปวดราวกับสิ่งนั้นเป็นตัวเรา
5. อย่างที่พระท่านบอกว่า แก้วคนอื่นแตกเราไม่รู้สึกอะไร แต่พอแก้วของเราแตก เราจะเป็นจะตาย ทั้งที่เป็นแก้วแบบเดียวกัน
6. ความเป็น "ฉัน" ไม่อาจอยู่ได้ ถ้าไม่มี "คนอื่น" ซึ่งคนอื่นจะเป็นคนอื่นอย่างที่สุดเมื่อเป็นศัตรูหรือฝ่ายตรงข้างกับฉัน
7. ลึกๆ แล้วอัตตาในตัวเราจึงโหยหาศัตรู เพื่อชี้นิ้วไปตำหนิติโทษ แยกตัวเองออกจากคนนั้น เพื่อนิยามความเป็นฉันให้ชัดเจนด้วยความแตกต่าง "ฉัน" ไม่เป็นแบบ "มัน"
8. นิสัยชอบจับผิด บ่นว่าผู้อื่นจึงเป็นอาหารของอัตตา เราเปิดเฟซบุ๊กมาทุกวันแล้วเขียนคอมเมนต์วิจารณ์ใครสักคน อะไรสักอย่างเหมือนการให้อาหาร ให้ขนมกับอัตตาตัวเองให้อิ่มและเติบโต เป็น "ฉัน" ตัวอ้วนๆ จากการวิจารณ์คนอื่น
9. ทุกครั้งที่ก่นด่าคนอื่น เราจะเพิ่มความมั่นใจให้กับอัตตาของตัวเอง ถ้าคนอื่นไม่ดีแปลว่าเราดี ถ้าคนอื่นผิดแปลว่าเราถูก ถ้าคนอื่นโง่แปลว่าเราฉลาด อัตตาก็จะแข็งแรงและตัวใหญ่ขึ้นไปอีก
10. ไม่มีอะไรเสริมสร้างอัตตาได้ดีไปกว่าการเป็นฝ่ายถูก ยิ่งเชื่อว่าตัวเองถูก เราก็ยิ่งเชิดชูตัวเองให้สูงขึ้น เราจึงรู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ด่า บ่น หรือวิจารณ์ใคร เพราะอัตตากำลังได้กินของอร่อย
...
11. อัตตาจะถือว่าทุกอย่างเป็นเรื่องของฉันไปทั้งหมด ข่าวสารต่างๆ การเมือง ฟุตบอล ฯลฯ การแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่การก่นด่ากันแบบจะเป็นจะตายนั้นเป็นอาการออกฤทธิ์ของอัตตา
12. เราจึงยอมไม่ได้ที่จะมี "ความถูกต้องอื่น" หรือ "ความคิดแบบอื่น" ปะปนอยู่ข้างๆ กัน ลึกๆ แล้วเราอาจจะกลัวว่าเราจะกลายเป็นคนที่ไม่ได้ถูกต้องอยู่ฝ่ายเดียว และอัตตาของเราจะถูกรบกวน สั่นคลอน หรือต้องสูญเสียในสิ่งที่เชื่อมั่นไป
13. เวลาประกาศสนับสนุนใครหรือทัศนคติแบบใดแบบหนึ่งเสียงดังฟังชัด แท้จริงแล้วเราอาจไม่ได้ทำเพราะเชื่อในสิ่งนั้นหรือปรารถนาดีกับใคร แต่เราส่งเสียงดังอย่างรุนแรงเพราะต้องการหล่อเลี้ยงและปกป้องอัตตาของเรา
14. ถ้าเรามีเจตนาดี การถกเถียงไม่จำเป็นต้องรุนแรงเลย เราสามารถแลกเปลี่ยนความคิด ข้อมูล ความรู้กันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและมีเมตตาต่อกันได้ โดยวางอัตตาไว้ก่อน
15. นอกจากนั้น เรายังเข้าใจผิดอีกว่า "อัตตา" ที่สะสมมาเนิ่นนานของคนอื่นเป็นตัวตนของเขา เวลาเถียงกับใครคอเป็นเอ็น ที่แท้เรากำลังเถียงกับ "อัตตา" ของเขา นั่นไม่ใช่ตัวเขาจริงๆ เป็นเพียงสิ่งที่เขายึดติดแล้วยังหาวิธีวางไม่ได้
16. เมื่ออัตตาเถียงกับอัตตา สุดท้ายก็นำมาซึ่งความรุนแรง เกลียดชัง และแตกแยก ซึ่งพอแตกกันไป ทั้งสองฝ่ายก็ยิ่งยึดในความถูกต้องของตัวเองมากขึ้นไปอีก
17. เพื่อเป็นอิสระจากอัตตา เราต้องตระหนักรู้ถึงมัน ทุกครั้งที่มีอารมณ์หรือความคิดวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้น ตรวจสอบสักนิดว่าอะไรที่ทำให้เราคิดเช่นนั้น เราถูกปลูกฝัง หล่อหล่อม หรือมีประสบการณ์แบบไหนมาจนกระทั่งเชื่อมั่นใน "ความจริง" ที่เรายึดถืออยู่ มองเห็นทั้งจังหวะที่มันเกิดขึ้นและรากที่มาของมัน จังหวะที่ "เห็น" อัตตาจะหลบหน้าไป ความตระหนักรู้กับอัตตาไม่สามารถอยู่ในที่เดียวกันได้
18. อัตตานั้นต้องการความโดดเด่น เรียกร้องความสนใจ ต้องการมีความสำคัญ ต้องการอำนาจ ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อตระหนักถึงอัตตา เราย่อมใจเย็นลง ซ่อนตัว ไม่จำเป็นต้องตะโกนออกมาทุกเหตุการณ์ คิดช้าๆ ใคร่ครวญ ไม่รีบตัดสิน และไม่ยืนยันเสียงแข็งว่าฉันเท่านั้นที่ถูก ไม่ชี้นิ้วไปทางคนอื่นแล้วบอกว่าเขาโง่ ไม่เห็นคนที่คิดต่างเป็นศัตรู แต่ใช้ความคิดต่างนั้นเป็นกระจกส่องอัตตาตัวเอง
19. อัตตาชอบอ้างคนใหญ่คนโต คนมีชื่อเสียง เพื่อยกตัเองให้เหนือกว่าคนอื่น เมื่อไหร่ที่เราพูดถึง เขียนถึง อ้างถึงคนใหญ่คนดังก็น่าตรวจสอบตัวเองว่าเรากำลังเพิ่มพลังให้อัตตาขึ้นมาอยู่เหนือกว่าคนอื่นหรือเปล่า
20. แม้มั่นใจเพียงใด แต่ภายในแล้วอัตตารู้สึกไม่ปลอดภัย เพราะลึกๆ แล้วก็รู้ดีว่าสิ่งที่ยึดมั่นอยู่นั้นเป็นเพียง "ส่วนหนึ่ง" ของความจริงทั้งหมด ที่พร้อมจะถูกหักล้าง หรือสลายหายวับไปตลอดเวลา ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสิ่งของที่เป็นรูปธรรมหรือความคิดเชิงนามธรรม อัตตาจึงน่าสงสาร แกล้งทำเป็นแข็งแกร่งแต่ที่จริงแล้วอ่อนแอ เสียงดังแต่ขี้กลัว
...
21. อัตตารู้ดีว่าสิ่งที่ยึดอยู่นั่นโยกคลอนเพียงใด จึงต้องยึดให้มั่นที่สุด ส่งเสียงให้ดังที่สุด ใช้ถ้อยคำรุนแรงเพื่อตอกย้ำความเชื่อมั่นอันโยกคลอนของตัวเอง
22. เรามักดำเนินชีวิตอยู่บนตัวตนที่เราคิดว่าเราเป็น เราคิดว่าเราเป็นผู้ผดุงความยุติธรรม คิดว่าเราเป็นคนดี คิดว่าเราเป็นนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ เรายึดตัวตนนี้ไว้แน่นหนา สะกดจิตให้ตัวเองเชื่อว่าเป็น ทั้งที่จริงๆ แล้วสิ่งนี้ไม่ใช่ตัวตนแท้จริงของเราแต่อย่างใด
23. เมื่อไหร่ที่เราวางบทบาทที่เราสมมุติขึ้นมานั้นลง จะพบว่าเราเปิดกว้างที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจ สร้างบทสนทนาใหม่ๆ โดยไม่ต้องเป็นอะไร แค่เป็นคนคนหนึ่งที่มีพื้นที่ว่างให้กับความเป็นไปได้ใหม่ๆ ไม่ต้องแข็งแกร่ง ไม่ต้องอ่อนไหว ไม่ต้องขี้โมโห ไม่ต้องเท่ ไม่ต้องฉลาด
24. ภาวะนั้นคือภาวะว่างเปล่าจากอัตตา ซึ่งหมายความว่าว่างเปล่าจากอดีตที่เราสะสมมาเนิ่นนาน ที่เราถูกปลูกฝังมาเนิ่นนาน กลับสู่ปัจจุบันที่เบาสบาย ไม่ต้องชี้นิ้วด่าใครเพื่อให้ตัวเองสูงส่งขึ้น
25. อัตตาเสริมกำลังตัวเองด้วยความทุกข์ มันไม่ชินกับความสงบ เพราะในภาวะนั้นมันจะหายไป เราจึงตื่นมาเพื่อมองหาเรื่องวิจารณ์เพื่อจะได้รู้สึกว่า "ฉัน" ยังมีอยู่ ยังแข็งแกร่ง โดยลืมไปว่า แท้จริงแล้วสิ่งที่เราโหยหาและต้องการคือความสงบในจิตใจ ซึ่งจะไม่มีวันเกิดขึ้นตราบที่ "ฉัน" ยังชี้นิ้วไปยัง "คนอื่น" แล้วดุด่าว่ากล่าว "พวกมัน" ไม่เว้นแต่ละวัน
เพราะที่ใดมี "อัตตา" ที่นั่นไม่สงบ
ที่ใด "สงบ" ที่นั่นไม่มีอัตตา
=========================================
เขียนหลังจากการอ่านหนังสือ A New Earth ของเอ็กฮาร์ต โทลเล่ แปลโดย มนตรี ภู่มี สนพ.ดีเอ็มจี
ภาพวาดฝีมือ Charles Conder
***กด like กดติดตาม หรือ กด see first เพจนี้กันไว้ได้นะครับ จะนำสาระความรู้ดีๆ มาฝากอย่างสม่ำเสมอครับ***
ความเป็นเจ้าของ 在 การใช้ Apostrophe S ('s) กับคำนาม "เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ" 的推薦與評價
การใช้ Apostrophe S ('s) กับคำนาม "เพื่อแสดง ความเป็นเจ้าของ " #เรียนภาษาอังกฤษกับเจ๊หยก #เจ๊หยกสอนภาษาอังกฤษและการละคร #เจ๊หยกเป็นครูหรือเป็นตลก... ... <看更多>
ความเป็นเจ้าของ 在 คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive Adjective ... 的推薦與評價
คำสรรพนามแสดง ความเป็นเจ้าของ จะมีใช้ 2 รูป ซึ่ง คำจะคล้ายๆกัน ทำให้หลายคนสับสน ใช้ไม่ถูก คลิปนี้จะมาให้วิธีสังเกต และอธิบายการใช้ทั้งสองแบบ อย่างละเอียดเลย. ... <看更多>